View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 07/08/2006 11:07 pm Post subject: ชู'บางกล่ำ'ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ท่าเรือปากบารา-จะนะรอรัฐบาลให |
|
|
ชู'บางกล่ำ'ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ท่าเรือปากบารา-จะนะรอรัฐบาลใหม่
31ก.ค. ที่ผ่านมา พาณิชย์จังหวัดสงขลา ร่วมกับหอการค้าจังหวัดสงขลา และหอการค้าจังหวัดสตูล จัดสัมมนาเขิงปฏิบัติการ "การพัฒนายุทธศาสตร์โลจิสติกส์สงขลา-สตูล" ที่รร.เจ.บี.หาดใหญ่
นายกุดั่น อินทร์พรหม นักผังเมือง สำนักผังเมืองเฉพาะ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังจัดทำผังประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาในระยะ 50 - 60 ปี ที่จะเริ่มดำเนินการปี 2549 ซึ่งเป็นผังระดับนโยบาย ประกอบด้วย ผังภาคของประเทศ ผังนโยบายกลุ่มจังหวัด ในส่วนนี้จะดำเนินการในปี 2550 - 2554 ต่อด้วยผังนโยบายการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ และผังเมืองรวมจังหวัดซึ่งจะดำเนินการร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา ในส่วนการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองว่าจ้างบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการยังไม่เป็นที่พอใจจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดรับนโยบายผังเมือง
โดยเฉพาะผังเมืองรวมระดับเมืองและชุมชน ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ผังชุมชน โดยจะกำหนดบทบาทหน้าที่ของชุมชน 2.ผังเขตพื้นที่สี คือ สีแดงเป็นพื้นที่พาณิชย์ ,สีม่วง เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม,สีเขียว เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และ3.ผังโลจิสติกส์ที่ต้องมีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดสงขลา - สตูล
ทั้งนี้ การจัดทำผังของกลุ่มจังหวัดสงขลา - สตูล อาจเริ่มต้นการกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมก่อน เนื่องจากเชื่อว่าหากมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะเกิดการจ้างงานและมีอาชีพบริการตามมา
โดยการจ้างแรงงาน 1 คน จะเกิดการจ้างงานตามมาอีก 1.5 คน มากกว่าอาชีพข้าราชการ ที่จ้างข้าราชการ 1 คน จะมีการจ้างงานตามมาเพียง 0.5 - 0.7 คน เท่านั้น และที่สำคัญจะต้องพัฒนาศักยภาพท่าเรือ รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบโครงข่ายการขนส่งน้ำเพื่อรองรับระ
บบโลจิสติกส์ควบคู่ไปด้วย
"เดิมการจัดทำผังเมืองรวมสงขลา - สตูล ได้กำหนดให้อำเภอหาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อพิจารณาทางด้านภูมิศาสตร์ พบว่าไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงและคับแคบเกินไป ดังนั้นจึงต้องปรับแผนใหม่โดยขยายไปยังพื้นที่อำเภอรอบนอกที่มีศักยภาพให้เป็นศูนย์กลางที่กว้างขึ้น เช่น อำเภอบางกล่ำ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมอยู่แล้วนำมาเชื่อมให้เป็นศูนย์กลางเข้าด้วยกัน โดยการเร่งเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เท่าเทียม และ
เชื่อมระบบคมนาคมเข้าด้วย" นายกุดั่น กล่าว
ด้านนายกุญญพันธ์ แรงขำ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีท่าเรือขนส่งสินค้าไปทางด้านตะวันออกของประเทศอยู่ 3 แห่ง คือท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกสงขลา
ขณะที่ท่าเรือทางฝั่งทะเลอันดามันเพียงแห่งเดียว คือ ท่าเรือระนอง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น เป็นท่าเรือแม่น้ำรองรับเรือขนาดไม่เกิน 3 หมื่นตันเท่านั้น ซึ่งไม่พอรองรับการขนส่งสินค้าไปทางตะวันตก ขณะที่ระบบการคมนาคมก็ไม่พร้อม
ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟที่ยังไปไม่ถึงจังหวัดระนอง และถนนที่เป็นทางลาดชันคดเคี้ยวไม่เหมาะกับรถบรรทุกขนาดใหญ่
ดังนั้นโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่ใช้งบประมาณ9,469 ล้านบาท จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับการลงทุนที่สามารถลดระยะเวลาขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังผ่านช่องแคมมะละกา ได้ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ปัจจุบันได้ตั้งคณะกรรมการปรองดองราคาที่ดินก่อสร้างท่าเรือนำลึกปากบาราและอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้
ซึ่งอาจต้องย้ายจุดก่อสร้างเพราะที่ดินราคาสูงมากประกอบกับไม่มีความชัดเจนในการก่อสร้างเพราะล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้สั่งชะลอการก่อสร้างออกไปก่อนจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่
ส่วนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เพื่อทดแทนท่าเรือสงขลาที่ปัจจุบันมีปัญหาการตื้นเขินต้องขุดลอกตะกอนทุกปี ทำให้เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถเทียบท่าได้ โดยได้เล็งพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งก็ยังไม่ได้ข้อสรุป
เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม
ที่มา:http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=8184) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
|
Posted: 07/08/2006 11:15 pm Post subject: |
|
|
พี่มิ้ง ตกลงกะ บังหม้อ บ้านสะกอม ที่จะนะแล้วยังถึงคิด จะให้ท่าเรือสงขลาไปที่จะนะ |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 08/08/2006 12:20 am Post subject: |
|
|
จริงๆ แล้วจะนะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
เพราะ TPI มีที่ดินตรงนั้นเหมาะแก่การเป็นนิคมอุตสาหกรรม
มีโรงไฟฟ้า ซึ่งเหมาะกับนิคมอุตสาหกรรมอีก
ระยะห่างจากเส้นทางรถไฟไม่มากนัก (ประมาณว่าเดินจากทางรถไฟไปริมทะเลได้เลย)
สิ่งที่ต้องคำนึงคือ
- ร่องน้ำ ความลึก การบำรุงรักษา การพัดพาตะกอนมาทับถมร่องน้ำ
- ชาวบ้าน
- ที่สำคัญ กลับมามองที่ วัตถุประสงค์ของการมีท่าเรือ
- ต้นทาง และปลายทางของสินค้าที่จะส่ง อยู่ที่ไหนกันมั่ง
ถ้าสร้างท่าเรือแล้วยังต้องไป Transfer ที่สิงคโปร์ ก็อย่าสร้างเลย
ทุ่มงบประมาณไปให้ท่าเรือสตูลจะยังดีกว่า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
|
Posted: 17/10/2006 12:15 am Post subject: ฝันเฟื่องเรือ่ง Logistic ของคน 2 แคว |
|
|
สภาพัฒน์ติงคนสองแควตั้ง"ศูนย์ลอจิสติกส์" ย้ำต้องดูความพร้อมตัวเอง-ยืนอยู่บนข้อเท็จจริง
โดย ผู้จัดการรายวัน 15 ตุลาคม 2549 15:03 น.
พิษณุโลก - สภาพัฒน์ติงสร้างศูนย์ ลอจิสติกส์-ฮับ ต้องถามตัวเองว่า สินค้าอะไร ขนจากไหนไปไหน เผย "สี่แยกอินโดจีน"พูดกันมา 5-10 ปีไม่ไปไหน ยังย่ำที่เดิม ระบุต้องมองถึงข้อเท็จจริง ด้านรองเลขาธิการหอการค้าไทยยืนยัน พิษณุโลกพร้อมตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า(DC)
เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดบรรยายเชิงวิชาการ หัวข้อ "การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านลอจิสติกส์ของภาคเหนือ"โดยมีผู้ร่วมฟังประมาณ 100 คนเศษ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวในประเด็นหลักๆ ว่า จังหวัดใดๆก็ตาม ต้องการพัฒนาพื้นที่ตัวเองให้เป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะกับการเป็นลอจิสติกส์-ฮับจะต้องพิจารณาว่า
1.ขนส่งคนหรือสินค้าจากไหนไปไหน
2. มีกิจกรรมใดๆ สอดรับกับฮับ
3.มีความพร้อมด้านการลงทุนแค่ไหน
ทั้งนี้ ต้องรู้ว่าในพื้นที่หรือจังหวัดนั้นๆ มีจุดแข็งหรือ จุดอ่อนใดบ้าง การผลักดันให้เป็น ลอจิสติกส์-ฮับ จะเน้นที่ภาคราชการ เพราะบุคคลเหล่านี้มาแล้วก็ไป ควรต้องปล่อยให้เอกชนเริ่มดำเนินการหรือบริหาร เพื่อจะได้รู้ว่า หากมีเงิน 100 ล้านบาท ควรจะทำอย่างไรก่อน และค่อยมาพิจารณาว่าควรทำลอจิสติกส์-ฮับหรือไม่
Quote: | หลายจังหวัดเช่น ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม ก็อยากเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งกำลังคนและศักยภาพมีแค่ไหน และเชื่อว่า รัฐบาลชุดนี้ ไม่ลงทุนฟุ้งเฟ้อ ต้องการพอเพียงมากกว่า และหวั่นว่าหากดื้อรั้นที่จะทำกันจริง ๆ เกรงจะเป็นเหมือนคลังสินค้าร้างมากกว่า |
(ข้อนี้จริงเลยครับ งานนี้ political Pork Barrel ของแท้และดั้งเดิมเหมือนเมืองมะกันเลยหละครับ)
ด้านดร.จุฬา สุขมานพ หัวหน้ากลุ่มการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่พิษณุโลกจะเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน ในแง่ การลงทุน การค้า การท่องเที่ยว ว่า มีศักยภาพสูงเพียงใด จากนั้นค่อยเอาคำว่า ลอจิสติกส์-ฮับ ไปใส่เชิงการค้าแนวตะวันออก-ตะวันตก คงไม่มีการเคลื่อนไหวของสินค้ามากนัก แต่ก็ต้อง พิจารณาตัวเลขของสินค้าและคน ถนนเส้นทางสายแม่สอด-พิษณุโลก-หล่มสัก ที่มีถนน 2 เลน กำลังพัฒนาเป็น 4 เลน เชื่อว่า การขนส่งด้วยรถยนต์ลำบาก เพราะเส้นทางสูงชัน
"ตนไม่สรุปว่า พิษณุโลกไม่เหมาะเป็นศูนย์กลางการขนส่ง แต่ควรดูว่าภูมิภาคเหนือล่างเป็นอย่างไร เพราะทุกคนย่อมรู้ดีว่า ลอจิสติกส์-ฮับ การค้า การท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เริ่มแรกเดิมที สี่แยกอินโดจีน หรือ ข้อตกลง GMS หรือความร่วมมือต่างๆ บอกว่า ให้คนทั่วโลกมีการเชื่อมติดต่อไปมาหาสู่กัน ไม่ระบุว่า ต้องขนถ่ายสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง"
ผู้แทนของบริษัททรานส์คอนชัลท์ จำกัด กล่าวว่า ตามข้อมูล ตัวเลขการค้าการลงทุนในแถบภาคเหนือนั้นสูงจริง แต่การลงทุนเป็น ลอจิสติกส์-ฮับ ที่พิษณุโลก ควรมีข้อมูลด้วยว่า สินค้าจำนวนเท่าใดแน่ ที่ผ่านสินค้าจากประเทศจีน ขึ้นที่ เชียงของ จ.เชียงราย ผ่านมาพิษณุโลก และแวะไปยังจังหวัดเป้าหมาย จะต้องทราบตัวเลขสินค้าในแต่ละประเภทด้วย ว่า มีการเคลื่อนไหวจำนวนเท่าใด
Quote: | [งานนี้ไอ้ประเภท Build and They'll come ซึ่งเป็น Fallacy [ความเห็นผิดเป็นชอบ กลับชัวเป็นดี] อย่างเอกเลยหละ เพราะ Logistic หนะมันเป็นเรื่องความต้องการของลูกค้าที่จะใช้ Logistic ไม่ใช้เรื่องของผู้จัดหา Logistic อย่างที่หลงผิดจนเลอะเทอะ เลยแม้แต่น้อย] |
เบื้องต้น ยังเชื่อว่า สินค้าที่แลกเปลี่ยนกับชายแดนไทย-พม่า ทั้งฝั่งตะวันตกและภาคเหนือ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หรือ ชายแดนไทย-ลาว และสี่แยกอินโดจีน ซึ่งก็พูดกันมา 5-10 ปีแล้ว ยังย่ำที่เดิม ทั้งการศึกษา และการวิจัย ก็ไม่ไปไหน อยากให้ลงลึกในรายละเอียดและข้อเท็จจริงตามข้อมูลที่ได้ศึกษาพบว่า
1) เส้นทางขนส่งทางรถไฟ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย ไม่มีความต้องการเส้นทางรถไฟรางคู่ แต่จำเป็นต้องเพิ่มหัวรถจักร แรงๆ (น้องๆ พี่เสือฟ้า) และสถานีการสับเปลี่ยนรางเท่านั้น
2) ขณะที่ภาคใต้ต้องการ เส้นทางรถไฟรางคู่ (ขั้นต่ำ นครปฐม - ราชบุรี และ เพชรบุรี - ชุมพร ขั้นกลาง นครปฐม - สุราษฎร์ธานี ขั้นสูง นครปฐม - ปาดังเบซาร์)
อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ลอจิสติกส์-ฮับ พิษณุโลกมีความพร้อมหลังจากที่ม.หอการค้าไทย ศึกษาวิจัย ว่า ที่ต.บึงพระ จ.พิษณุโลก มีความเหมาะสม ทั้งอยู่ใกล้ระบบรางรถไฟ (สถานีบึงพระ) และทางอากาศ
ดังนั้น พิษณุโลกควรเร่งรีบพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางฏษณกระจายสินค้าDistribution Center-DC ส่วนศูนย์กลางขนส่งคนมีอยู่แล้ว แทบไม่ต้องพัฒนาเลย
" พิษณุโลก ควรเดินหน้าตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)พิษณุโลกรับหน้าที่เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ โดยให้ภาคเอกชนบริหารต่อ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนงานของอบจ.พิษณุโลก ได้ตั้งงบฯศึกษาความเป็นไปได้ปี 2550 ว่าด้วยศึกษาระบบการขนส่งสินค้าและบริการลอจิสติกส์ รองรับการพัฒนาสี่แยกอินโดจีนงบประมาณ 4 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างเตรียมการให้ มหาวิยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ศึกษา
ทั้งนี้อบจ.พิษณุโลกตั้งงบปี 2551 ก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารและรับ-ส่งสินค้า บริเวณสี่แยกอินโดจีน ต.สมอแข อ.เมือง พิษณุโลกด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท ผุดศูนย์กลางการกระจายสินค้าใน 4 มุมเมือง แบ่งแยกสินค้าในแต่ละโซน ซึ่งอยู่ในการศึกษาเจาะลึกรายละเอียดเพิ่มขึ้น อาทิ มีสินค้าเกษตรชนิดใด มีจำนวนกี่ตัน ที่ผ่านพิษณุโลก
หลังจาก ม.หอการค้าไทย ได้ศึกษาไว้กว้างๆก่อนหน้านี้ ถึงจุดที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า โดยมี 3 จุด คือ บึงพระ หัวรอ และวัดจันทน์ ท่ามกลางกระแสคนหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกท้วงติงการเปลี่ยนย้ายสถานที่ และให้มีการศึกษาอีกครั้ง |
|
Back to top |
|
|
narita_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 28/03/2006 Posts: 1170
Location: PSU. Original Campus
|
Posted: 17/10/2006 9:21 am Post subject: |
|
|
rodfaithai wrote: | จริงๆ แล้วจะนะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
เพราะ TPI มีที่ดินตรงนั้นเหมาะแก่การเป็นนิคมอุตสาหกรรม
มีโรงไฟฟ้า ซึ่งเหมาะกับนิคมอุตสาหกรรมอีก
ระยะห่างจากเส้นทางรถไฟไม่มากนัก (ประมาณว่าเดินจากทางรถไฟไปริมทะเลได้เลย)
สิ่งที่ต้องคำนึงคือ
- ร่องน้ำ ความลึก การบำรุงรักษา การพัดพาตะกอนมาทับถมร่องน้ำ
- ชาวบ้าน
- ที่สำคัญ กลับมามองที่ วัตถุประสงค์ของการมีท่าเรือ
- ต้นทาง และปลายทางของสินค้าที่จะส่ง อยู่ที่ไหนกันมั่ง
ถ้าสร้างท่าเรือแล้วยังต้องไป Transfer ที่สิงคโปร์ ก็อย่าสร้างเลย
ทุ่มงบประมาณไปให้ท่าเรือสตูลจะยังดีกว่า |
ดูแล้วจะนะน่าจะมีความเหมาะสมจริงๆนะครับ เพราะทางรถไฟอยู่ใกล้กับทะลเละเขตอุตสาหกรรมต่างๆมาก และยังมีโรงไฟฟ้าใหม่ตั้งอยู่อีกด้วย
แต่ปัญหาหลักคงเป็นเรื่องชาวบ้านกับสภาพแวดล้อมนี่ซิครับ ขนาดโรงงานท่อก๊าซไทย-มาเลย์ที่ทำโครงการอยู่ยังเกือบแย่เลย ดังนั้นงานนี้ถ้าจะดันจริงคงต้องศึกษาผลกระทบกันยกใหญ่ แต่อะไรก็ไม่เท่าการทำความเข้าใจกับชาวบ้านนะครับหากจะทำโครงการจริงๆ |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 17/10/2006 1:42 pm Post subject: |
|
|
narita_express wrote: | rodfaithai wrote: | จริงๆ แล้วจะนะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
เพราะ TPI มีที่ดินตรงนั้นเหมาะแก่การเป็นนิคมอุตสาหกรรม
มีโรงไฟฟ้า ซึ่งเหมาะกับนิคมอุตสาหกรรมอีก
ระยะห่างจากเส้นทางรถไฟไม่มากนัก (ประมาณว่าเดินจากทางรถไฟไปริมทะเลได้เลย)
สิ่งที่ต้องคำนึงคือ
- ร่องน้ำ ความลึก การบำรุงรักษา การพัดพาตะกอนมาทับถมร่องน้ำ
- ชาวบ้าน
- ที่สำคัญ กลับมามองที่ วัตถุประสงค์ของการมีท่าเรือ
- ต้นทาง และปลายทางของสินค้าที่จะส่ง อยู่ที่ไหนกันมั่ง
ถ้าสร้างท่าเรือแล้วยังต้องไป Transfer ที่สิงคโปร์ ก็อย่าสร้างเลย
ทุ่มงบประมาณไปให้ท่าเรือสตูลจะยังดีกว่า |
ดูแล้วจะนะน่าจะมีความเหมาะสมจริงๆนะครับ เพราะทางรถไฟอยู่ใกล้กับทะลเละเขตอุตสาหกรรมต่างๆมาก และยังมีโรงไฟฟ้าใหม่ตั้งอยู่อีกด้วย
แต่ปัญหาหลักคงเป็นเรื่องชาวบ้านกับสภาพแวดล้อมนี่ซิครับ ขนาดโรงงานท่อก๊าซไทย-มาเลย์ที่ทำโครงการอยู่ยังเกือบแย่เลย ดังนั้นงานนี้ถ้าจะดันจริงคงต้องศึกษาผลกระทบกันยกใหญ่ แต่อะไรก็ไม่เท่าการทำความเข้าใจกับชาวบ้านนะครับหากจะทำโครงการจริงๆ |
พี่มิ้ง กะ คุณนน ในรื่องนี้
โพย รายละเอียด ปลายเดือนไปประชุมกะสามที่หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพร่วม คือ
จะไปขอเจ้าภาพ ที่สะพานขาว (สภาพัฒน์) ,ทางขึ้นทางด่วนอุรุพงษ์(สนข)ฆ กะ กรมขนส่งทางน้ำ มาให้ อ่านะ
รอสักแป็บใหญ่ เดี๋ยวเอามาเม้าท์ กันน่อ ใจเย็นๆๆ... อิอิ.... |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 17/10/2006 2:36 pm Post subject: |
|
|
ปัญหาที่สำคัญของชายทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนล่างก็คือ กระแสน้ำกับตะกอนทรายครับ เคยมีตัวอย่างที่นครศรีธรรมราช สร้างเขื่อนกันคลื่นทำท่าเรือประมง ไม่นาน...ชายฝั่งด้านเหนือตัวเขื่อนกันคลื่น ถูกกระแสคลื่นกัดเซาะที่ดินชาวบ้านหายลงไปในทะเล
คงไม่ลืมกรณีพี่น้องชาวบ้านสะกอม อ.จะนะ ที่ประท้วงยืดเยื้อกับท่อก๊าซไปมาเลเซียจนต้องไปขึ้นฝั่งตรงที่ดินทหารเรือด้วยนะครับ ยอมรับว่ามีปัญหายืดเยื้อมาราธอนกันจริงๆ |
|
Back to top |
|
|
narita_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 28/03/2006 Posts: 1170
Location: PSU. Original Campus
|
Posted: 18/10/2006 11:01 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณพี่นัฐครับสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่พี่จะนำมาฝากกันต่อไปครับ
ส่วนประเด็นเรื่องการสร้างเขื่อนและผลกระทบเกี่ยวกับกระแสน้ำกับตะกอนทรายนั้น อันนี้ผมเห็นด้วยกับพี่ตึ๋งมากๆถึงมากที่สุด เพราะมีอีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวผมคือ มีการสร้างเขื่อนกันน้ำเพื่อเปิดปากอ่าวที่แม่น้ำใกล้มหาวิทยาลัยผม เพราะที่ผ่านมาปากน้ำตื้นเขินบ่อยเพราะตะกอนดินจากปากแม่น้ำ ทำให้เรือเข้าออกลำปากโดยเฉพาะเรือประมงขนาดใหญ่ จึงมีการสร้างเขื่อนกั้นไว้ ซึ่งหวังกันว่าน่าจะช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่ปรากฏว่ากลับมีผลเสียตามมามาก และกระทบกับพวกผมที่สุดคือเรื่อง ดินงอก
หลายๆคนฟังแล้วอาจจะงงว่าดินงอกมันเกี่ยวอะไร อธิบายนิดนึงนะครับว่า มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่ติดทะเลจริงๆ คือมีชายหาดในมหาวิทยาลัย แต่ทว่าไม่สามารถเล่นน้ำได้เพราะเป็นทะเลโคลน แต่ข้อดีคือ นอกจากจะเป็นที่ตั้งป่าชายเลนที่สุมบูรณ์แห่งหนึ่ง และเป็น Lab ธรรมชาติทางทะเลให้กับนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนักเรียนในภาคใต้ และคณะทางด้านประมงที่กำลังจากแยกจากภาควิชาในคณะวิทย์ฯมาตั้งเป็นคณะใหม่แล้ว เรื่องสำคัญที่สุดคือนับจากที่ตั้งมหาวิทยาลัยในปี 2511 มาจนถึงปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยไมได้รับการบริจาคหรือใช้เงินซื้อที่ดินเพิ่มเลย เพราะมีตะกอนจากปากแม่น้ำไหลลงทะเล ทำให้ที่ดินที่ชายหาดของมหาวิทยาลัยด้านอ่าวไทยริมทะเลงอกขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ขยายในช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมานี้เป็นร้อยไร่เลยละครับ แต่หลังจากสร้างเขื่อนก็แทบจะไม่มีที่ดินงอกออกไปเลย
แต่ในส่วนของจะนะอาจไม่มีเรื่องตะกอนดินจากปากแม่น้ำมากนัก แต่ที่นั้นเป็นดินทรายมาก ก็คงจะเป็นปัญหาอีกอย่างเช่นที่พี่ตึ๋งว่ามาที่จะต้องพิจารณาประกอบกันให้ดีอีกประเด็นนะครับ |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 18/10/2006 6:52 pm Post subject: |
|
|
Quote: | ปัญหาที่สำคัญของชายทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนล่างก็คือ กระแสน้ำกับตะกอนทรายครับ เคยมีตัวอย่างที่นครศรีธรรมราช สร้างเขื่อนกันคลื่นทำท่าเรือประมง ไม่นาน...ชายฝั่งด้านเหนือตัวเขื่อนกันคลื่น ถูกกระแสคลื่นกัดเซาะที่ดินชาวบ้านหายลงไปในทะเล
|
ที่สงขลาก็เช่นกันครับ
เขื่อนกันคลื่นของท่าเรือสงขลาทำให้
- สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้แล้ว "หาดทรายแก้ว" มั๊ง) ชายฝั่งโดนกัดเซาะไปมาก
สำนักสงฆ์นี้อยู่ทางเหนือของท่าเรือ
- ชายหาดสมิหลา บริเวณเก้าเส้ง (อยู่ทางทิศใต้ของท่าเรือ) นำเซาะเข้ามาเกือบถึงถนน
ต้องเอาหินไปทิ้งบริเวณนั้นตั้งมากมาย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 19/10/2006 1:12 pm Post subject: |
|
|
ขออธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งนะครับ เกี่ยวกับลักษณะคลื่นในอ่าวไทย
จะเป็นลูกคลื่นตามลักษณะการหมุนของโลก ทำให้เกิดกระแสน้ำพัดจากทิศตะวันออกไปทางตะวันตก พอปะทะกับแหลมมะลายู จะเบนทิศเป็นแนวด้านตะวันตกเฉียงเหนือครับ จนถึงอ่าวไทยตอนใน
เมื่อสร้างเขื่อนขวางทางคลื่น ผลที่ตามมาก็เป็นดังว่าครับ....
ลักษณะนี้ จะไม่ปรากฎในบริเวณชายฝั่งอันดามัน ( ยกเว้นกรณีคลื่นซูนามิแถวเกาะสุมาตราหรือหมู่เกาะอันดามันนะครับ ) |
|
Back to top |
|
|
|