View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 8:13 am Post subject: เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง |
|
|
สวัสดีครับชาวรถไฟไทยดอทคอมทุกท่าน
วันนี้ผมขอนำเสนอสถานีรถไฟในอดีตอีกแห่ง ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ครับ
คือสถานีเขาฝาชี อ.ละอุ่น จ.ระนอง
|
|
Back to top |
|
|
umic2000
2nd Class Pass
Joined: 06/07/2006 Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.
|
Posted: 13/05/2009 8:42 am Post subject: |
|
|
ขอตามอ.เอกไปจ.ระนองเพื่อไปดูร่องรอยทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สายชุมพร-ปากจั่นด้วยคนครับ
ผมเคยแต่นั่งรถผ่านระนอง ตอนล่องใต้ไปเที่ยวภูเก็ต-พังงาแค่ครั้งเดียวเอง
Last edited by umic2000 on 13/05/2009 9:59 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 13/05/2009 9:30 am Post subject: |
|
|
รอติดตามชมครับ อาจารย์เอก
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 10:03 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับน้องเอกและคุณบอมบ์
กระทู้นี้คงไม่ใช่การสำรวจเส้นทางรถไฟครับ แต่เป็นการเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ตั้ง และศึกษาหาข้อมูลเพื่อรวบรวมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต
ภาพป้ายแนะนำสถานที่ข้างบนนี้ ถ่ายเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2552 เวลา 14.14 น.
จะเห็นว่าอยู่ในสภาพทรุดโทรม ตัวอักษรหลุดลอกและเลอะเลือนหายไป
อ่านออกได้ไม่หมด ผมจึงขอนำภาพจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดระนอง
ซึงจัดทำโดยสำนักงานจังหวัดระนองที่ www.ranong.go.th มาประกอบครับ
Quote: |
สถานีเขาฝาชี่
KHAO FACHI RAILWAY STATION
* สถานีเขาฝาชี เป็นสถานีปลายทางของชุมทางรถไฟ
สายชุมพร-กระบุรี-เขาฝาชี (ผ่านคอคอดกระ) เริ่มจากสถานี
วังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่น สถานีทับหลี สถานีกระบุรี
สถานีคลองลำเลียง และสถานีเขาฝาชี กม.90+815.09 อาคาร
สถานีชั้นเดียวทำด้วยไม้ เปิดทำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2486
___________________
|
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 10:29 am Post subject: |
|
|
อาจารย์สารภี นิลเขียว ได้เขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสารฟ้าขาว วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์โรงเรียนสตรีระนอง ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ปีการศึกษา 2544
มีรายละเอียดที่น่าสนใจสำหรับคนรักรถไฟครับ
http://www.ranong.go.th/war2.htm
อาจารย์สารภี นิลเขียว ได้รับมอบหมายจากจังหวัดให้เป็นกรรมการศูนย์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บันทึกจากการสัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 (2484 - 2488 ) จำนวน 5 คน เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2544 และเรียบเรียงจากบันทึกเหตุการณ์ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ของ พ.ต.แสง จุละจาริตต์ ผู้แทนกรมการรถไฟประจำกองบัญชาการสูงสุด
ผมขอคัดข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไว้ที่นี่ครับ
Quote: | ก่อนปีพุทธศักราช 2484 บริเวณบ้านเขาฝาชีหรือตลาด กม. 30 ริมคลองละอุ่น ยังมีสภาพเป็นป่าชายเลนน้ำทะเลท่วมถึง อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้โกงกาง ไม้แสม ปราศจากบ้านเรือนหรือชุมชนดังเช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เส้นทางคมนาคม มีเพียงทางหลวงแผ่นดินสายเพชรเกษม หมายเลข 4 ซึ่งมาสิ้นสุดเพียงแค่คลองละอุ่นเพราะไม่มีสะพานข้าม หากจะเดินทางไปยังตัวเมืองระนองต้องใช้ เส้นทางเรือเท่านั้น
บ้านเรือนคนไทยดั้งเดิมมีประมาณ 5 หลังคาเรือน ตั้งเรียงรายอยู่ที่บ้านบางลัด ห่างจากบ้านเขาฝาชีไปทางทิศเหนือเยื้องไปด้านตะวันตกของเขาฝาชี ประมาณ 3 กิโลเมตร
ปีพุทธศักราช 2484 กองกำลังทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ณ ปากน้ำจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ได้ขอผ่านประเทศไทยเพื่อยกพลไปบุกยึดประเทศสหภาพพม่า และสามารถยึดเกาะสอง (วิคตอเรียปอยต์) ซึ่งอยู่เขตพม่าได้ในตอนเช้าวันที่ 9 ธันวาคม 2484
การเคลื่อนกำลังภาคพื้นดินระยะแรกได้อาศัยเส้นทางหลวงแผ่นดินเพชรเกษม หมายเลข 4 สายชุมพร - กระบุรี - คลองละอุ่น แต่ด้วยข้อจำกัดของสภาพถนนและภูมิประเทศ ทำให้การเคลื่อนย้ายลำเลียงกำลังพล เสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์กระทำได้อย่างลำบากเพราะถนนแคบ คดโค้ง บางช่วงสูงชัน การลำเลียงอาวุธหนัก ไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้ ซึ่งต่อมาได้มีแนวคิดที่จะสร้างเส้นทางรถไฟขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 |
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 10:37 am Post subject: |
|
|
Quote: | สำหรับการสร้างเส้นทางรถไฟ สายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลำเลียงเสบียงอาหาร กำลังพล อาวุธหนักจากจังหวัดชุมพรไปฝั่งอันดามัน2 การสำรวจเริ่มเมื่อ 16 พฤษภาคม 2486 โดยญี่ปุ่น ได้ส่ง พ.ท. คุโมตะ กับพวกรวม 15 คน ฝ่ายไทยได้ส่ง พ.ต.ม.จ.ชิดชนก กฤดากร ไปร่วมสำรวจเส้นทางรถไฟโดยสร้างขนานกับทางหลวงสายชุมพร-กระบุรี จนถึงคลองละอุ่น รวมระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร โดยผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของไทย กับ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟผ่าน คอคอดกระขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2486
การสร้างทางมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมกรหายากเพราะราษฎรไทยส่วนใหญ่พากันเป็นลูกจ้างผู้รับเหมาช่วงทำสงครามให้แก่ทหารญี่ปุ่นไม่มีเครื่องทุ่นแรง การทำงานดินใช้กรรมกรชาวมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ มีชาวจีน ชาวไทย เป็น ส่วนน้อยซึ่งมักจะเป็นช่างไม้สำหรับทำสะพานไม้ชั่วคราวกองทหารญี่ปุ่นเริ่มงานเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2486 ในการก่อสร้างทางรถไฟมีเชลยศึกและกรรมกรล้มตายเป็นจำนวนมาก คนงานส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียที่ทหารญี่ปุ่นลำเลียงมาจากมลายูมาสถานีรถไฟชุมพร แล้วเดินไปตามแนวทางเพื่อทำงานได้ล้มป่วยด้วยโรคต่างๆ และถูกฝังไว้ตื้น ๆ บางทีก็ใช้น้ำมันราดแล้วจุดไฟเผา บางคนก็หลบหนีไปทางจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างทางได้ขออาหารจากคนไทยกินหน่วยงานทางราชการได้จัดที่พักให้อยู่ชั่วคราว และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ภายหลังทหารญี่ปุ่นได้รับตัวกลับไปและกวดขันมิให้หลบหนีอีก
การจัดหาไม้หมอน ไม้สะพาน และหินนั้น ทหารญี่ปุ่นได้จัดหาเองและให้นายช่างฝ่ายไทยร่วมด้วยรางรถไฟจะเป็นรางขนาด 50 ปอนด์ และ 60 ปอนด์ โดยนำมาจากมลายู แต่การสร้างทางสายชุมพรทำไม่ได้ตามแบบ เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีประแจทางหลีก ผู้ควบคุมงานฝ่ายญี่ปุ่น ชื่อ พ.อ.โองาวา ภายหลังเปลี่ยนเป็นนายอิชุอิ และมีนายกามาฮาชิ เป็นช่างก่อสร้างทางรถไฟชุมพร -กระบุรี
แนวรถไฟเริ่มจากด้านทิศใต้สถานีชุมพรตรงหลัก กม. 469 + 805.30 ตลอดทางมีสะพานชั่วคราว 31 สะพาน รางรถไฟรื้อมาจากเมืองกลันตัน (มลายู) บรรทุกมาโดยขบวนรถไฟพิเศษมาลงที่ชุมพรวางรางแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2486 มีรัศมีโค้งตั้งแต่ 400 เมตร ถึง 1,000 เมตร ประมาณ 137 โค้ง ตัดถนนเพชรเกษม ในปัจจุบัน 8 จุด
สถานีย่อยมีสถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่น สถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียง สถานีเขาฝาชี รวม 7 สถานี อาคารสถานีทำด้วยไม้เนื้ออ่อน และไม้ไผ่ มีลักษณะชั่วคราวเริ่มเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์โดยใช้รถแบบรถบรรทุกขนาดหนักของ ร.ฟ.ท. และรถยนต์บรรทุกที่วิ่งบนทางรถไฟลากจูงรถพ่วงไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ 2 ชม. เพื่อส่งต่อไปยังพม่า ญี่ปุ่นโดยใช้เส้นทางรถไฟลำเลียงอยู่ประมาณ 11 เดือน
จนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2487 เครื่องบินพันธมิตรขนาดสี่เครื่องยนต์ ประมาณ 20 ลำได้ทำการบิน โจมตีทิ้งระเบิดทำลายทางรถไฟเรือ เสบียง และเรือบรรทุกอาวุธ ที่รับขนถ่ายจากขบวนรถไฟ ถูกระเบิดจมน้ำที่คลองละอุ่นจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2488 ระหว่าง 14.00 - 18.00 น. เครื่องบินพันธมิตร 30 ลำ ได้ทิ้งลูกระเบิด และกราดยิงด้วยปืนกลบริเวณสถานีรถไฟชุมพร รางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี ค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาฝาชีซ้ำ จึงได้รับความเสียหายมาก
ทหารญี่ปุ่นได้พยายามซ่อมทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี ให้ใช้การได้ แต่แก้ปัญหาฝ่ายพันธมิตรมาโจมตีเรือบรรทุกอาวุธยุธโธปกรณ์ที่รับช่วงจากรถไฟไม่ได้ ทำให้เรือจมเสียหายมากจนไม่สามารถลำเลียงอาวุธตามเส้นทางนี้ได้อีก คงใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารกับสัมภาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่งให้หน่วยทหารที่รักษาการที่เกาะสอง ประเทศสหภาพพม่า เท่านั้น |
Quote: | ก่อนระยะที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (กองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ 10 สิงหาคม 2488 ) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2488 ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้ เริ่มตั้งแต่ ท่าเรือเขาฝาชีตอน กม. 30 ถึง กม. 28 โดยแจ้งกับอนุกรรมการฝ่ายไทยว่า เพื่อเอารางไปวางในทางรถไฟบางตอนที่ถูกระเบิดบางแห่งทางใต้ ครั้งเมื่อสงครามยุติทหารสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย เมื่อ 19 สิงหาคม 2488 ต่อจากนั้นทหารอังกฤษจึงได้รื้อทางรถไฟสายนี้ต่อจากญี่ปุ่นบรรทุกรถไฟกลับไปเมืองกลันตันตามเดิมจึงไม่มีทางรถไฟสายนี้ให้เห็นดังเช่นทางรถไฟสาย ไทย - พม่า ด้านจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากแนวคันดินซึ่งอยู่ขนานกับถนนเพชรเกษม ตลอดช่วงระยะจากกระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 30 เส้นทางรถไฟสาย ชุมพร-กระบุรี ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกับทางรถไฟสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามเอเชียบูรพาตั้งแต่ต้นจนสงครามยุติลงแต่ปรากฎว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้จักเส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลอง ละอุ่น หรือที่รู้จักชื่อว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ |
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 10:39 am Post subject: |
|
|
Quote: | สถานีรถไฟเขาฝาชี ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฐานเส้นทางรถไฟตัดผ่านกลางฐานมีลักษณะเป็นทางรถไฟคู่ขนานเพราะต้องใช้ในการกลับหัวรถจักรไอน้ำที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ส่วนบริเวณด้านทิศเหนือของสถานีรถไฟติดกับตีนเขาฝาชีบางส่วน(ที่ตั้งของโรงเรียนละอุ่นวิทยาคารในปัจจุบัน) เป็นสถานที่ฝังศพของเชลยศึกหรือกรรมกรสร้างทางรถไฟซึ่งล้มตายระหว่างสงคราม เป็นจำนวนมาก |
//----------------------------
อ่านตรงส่วนนี้แล้วถ้าไม่มีวงเวียนกลับรถจักร มีเพียงทางรถไฟคู่ขนานก็คงกลับหัวรถจักรไม่ได้นะครับ --- Mongwin |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 10:49 am Post subject: |
|
|
Quote: | การก่อสร้างทางรถไฟสายชุมพร กระบุรี เขาฝาชี ซึ่งสุดทางลงที่คลองละอุ่น รวมเป็นระยะทางประมาณ 90 กม. นั้น ฝ่ายไทยมีหน้าที่ดำเนินการเฉพาะภายในย่านสถานีชุมพรเท่านั้น ส่วนนอกจากนั้นฝ่ายญี่ปุ่นดำเนินการเองโดยตลอด เมื่อทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเข้าไปในเขตที่ดินของผู้ใด อนุกรรมการสร้างทางรถไฟทหารมีหน้าที่พิจารณาชดใช้ค่าเสียหายทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินโดยฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
กรมรถไฟได้พิจารณาแต่งตั้งนายเชถ รื่นใจชน ซึ่งดำรงตำแหน่งนายช่างบำรุงชุมพร อยู่ก่อนแล้ว แต่เดือนกันยายน2483 เป็นนายช่างก่อสร้างเขตชุมพร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2486 โดยมีนายกาจ โอภาส สารวัตรบำรุงทางชุมพร ได้ร่วมปฏิบัติงานด้วยในเดือนเดียวกันนี้ |
Quote: | ฝ่ายญี่ปุ่นได้ใช้กรรมกรชาวมาเลเซียเป็นส่วนมากทำงานดินในทางรถไฟ มีชาวจีนและไทยเป็นส่วนน้อย ซึ่งเป็นช่างไม้สำหรับทำสะพานไม้ชั่วคราว ตามที่มีผู้รับเหมาทำจากกองทหารญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง กองทหารญี่ปุ่นเริ่มงานเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.2486 โดยลงมือทำงานพร้อม ๆ กันไป กล่าวคือ หน่วยที่รับผิดชอบการทำงานดิน ก็ทำงานรุดหน้าเรื่อยไปจนเสร็จ และหน่วยที่รับผิดชอบการทำสะพานรวมทั้งการทำท่อระบายน้ำด้วย ก็มีหน้าที่ทำให้เสร็จไปโดยเร็ว
แนวทางรถไฟแยกออกจากประธานสายใต้ที่สถานีชุมพรตรงหลักกิโลเมตร 469 + 805.30 ห่างจากทางผ่านปัจจุบันประมาณ 34 เมตร ทางรถไฟขนานไปกับทางหลวงสายชุมพร ระนอง มีสะพานชั่วคราวประมาณ 31 สะพาน ส่วนมากเป็นสะพานช่วงสั้น ยาวไม่เกิน 20 เมตร และเป็นท่อระบายน้ำขนาด 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร เมื่อได้ทำงานดิน, สะพานและท่อระบายน้ำแล้วเสร็จ กองทหารญี่ปุ่นได้นำรางเหล็กที่รื้อมาจากเมืองกลันตัน (มลายู) บรรทุกมาโดยขบวนรถไฟพิเศษมาลงที่ชุมพร แล้วได้ทการวางรางและลำเลียงรางเข้าไปโดยลำดับ การวางรางแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ทางรถไฟมีรัศมีโค้งตั้งแต่ 400 เมตร ถึง 1000 เมตร ประมาณ 137 โค้ง ลาดของทางตั้งแต่ 2 ถึง 4% ตัดกับถนนปัจจุบัน 8 จุด เป็นระยะทางยาวประมาณ 90 กม. |
ที่มา : http://www.ranong.go.th/imgtopmenu/menu3/war2/more.htm |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2009 11:34 am Post subject: |
|
|
ประแจทางแยกไปสายคอคอดกระ น่าจะอยู่บริเวณนี้ครับ พิกัด 10.495200,99.167760
ด้านใต้ของสะพานท่าตะเภา ก่อนถึงจุดตัดถนนสายสี่แยกปฐมพร-เทศบาลชุมพร (ทางหลวงหมายเลข 327)
ภาพถ่ายดาวเทียม QuickBird วันที่ 12 พ.ย. 2548 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
|