View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
railway123
3rd Class Pass
Joined: 30/08/2007 Posts: 179
|
Posted: 11/11/2009 2:52 pm Post subject: สะพานนี้อยู่ที่ไหน? |
|
|
เป็นภาพจากนิตยาสาร"สารคดี" ฉบับ เสรีไทย บรรยายข้อความว่า
"เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังทิ้งระเบิดสะพานรถไฟ
บริเวณแก่งหลวง จังหวัดแพร่ " อยากถามว่าใช่"สะพานห้วยแม่ต้า"หรือเปล่าครับ
ท่านผู้ใดทราบช่วยวิเคราะห์ด้วย ขอบคุณครับ..
|
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 11/11/2009 3:00 pm Post subject: |
|
|
สะพานข้ามห้วยแม่ต้าครับ ปัจจุบันไม่ใช่สะพานนี้แล้ว แนวสะพานเดิมจะอยู่ข้างๆซึ่งจะเหลือแต่ตอม่อครับ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/11/2009 3:59 pm Post subject: |
|
|
ขออนุญาตยืมภาพจากคุณหนุ่ม Nakhonlampang มาประกอบคำอธิบายข้างบนครับ
สะพานเดิมจะอยู่ทางด้านใต้ตัวสะพานปัจจุบัน
ตอม่อกลางน้ำครับ ยังมีร่องรอยสะเก็ดระเบิดหลงเหลืออยู่จนทุกวันนี้
แนวคอสะพานเดิมครับ มองจากทางด้านทิศใต้
คอสะพานห้วยแม่ต้าเดิม ด้านทิศเหนือ
Last edited by black_express on 11/11/2009 10:07 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 11/11/2009 5:02 pm Post subject: |
|
|
สนใจ แนวทางเก่า...หรือเปล่า... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 11/11/2009 5:07 pm Post subject: |
|
|
เข้าใจว่าในปัจจุบัน ได้มีการปรับแก้ค่าแนวโค้ง จากบริเวณหัวสะพานด้านเหนือ (ไปทางบ้านปิน หรือด้านบนของรูปเก่า) ให้เป็นทางตรงไปแล้ว ไม่ได้โค้งขวา-ซ้ายแบบในภาพครับ
ใครจะรู้ว่าราว 60-70 ปีผ่านไป จะมีกลุ่มคนบ้านับสิบ ไปเดินเล่นถ่ายภาพสะพาน และขบวนรถไฟ แถวๆ ในภาพที่โดนระเบิดมาแล้ว |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 11/11/2009 5:47 pm Post subject: |
|
|
เกิดจากการปรับแนวทางให้รับกับสะพานที่สร้างใหม่คู่กันด้วยครับ...ปัจจุบันโค้งด้านสถานีแก่งหลวง โค้งไม่ได้ยาวขนาดนี้ และการยิงแนวตรงด้านสถานีบ้านปิน
ไปยังโค้งอ้อมเขาด้านมุมขวาบนของภาพ อาจดำเนินการ พร้อมกับการวางแนวทาง รับกับสะพานที่สร้างใหม่ ข้างต้น ต้องรอผู้ที่ทราบมายืนยัน...
เข้าใจว่าทางอาจติดลาดชันพื้นที่เดิม จึงต้องใช้โค้งตวัดลดความชันของทาง...แต่ปัจจุบันเมื่อลัดโค้งแล้ว...มีการตัดช่องดิน ให้ทางได้ระดับพอสมควรครับ... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 11/11/2009 9:13 pm Post subject: |
|
|
ขอใช้ภาพที่ผมไปสำรวจแก่งหลวงรอบที่สอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมาจากกระทู้ เลาะเลียบแม่ยม ชมแก่งหลวง มาประกอบนะครับ
เริ่มจากฝั่งที่มาจากแก่งหลวงก่อนข้ามสะพาน
ภาพข้างล่างนี้ผมเดินมาจากแก่งหลวง แล้วมายืนถ่ายภาพนี้อยู่ประมาณ สทล.550/15 ซึ่งทางรถไฟยังอยู่ใกล้แม่น้ำ ให้สังเกตแนวเส้นทางทางโค้งไปทางซ้ายเล็กน้อย แล้วโค้งกลับมาทางขวาก่อนถึงเนินข้างหน้า
จากนั้นทางรถไฟจะตัดผ่านเนินเป็นทางตรงไปจนถึงสะพาน
ตอนนั้นผมพิจารณาจากภูมิประเทศประกอบแล้วก็คิดว่าทางรถไฟเดิมช่วงจาก 550/15 น่าจะยังเลาะไปตามแม่น้ำ (น่าจะตรงไป ไม่โค้งไปทางซ้ายตามภาพแรก) แล้วจึงไปตวัดโค้งซ้ายตัดเส้นแนวทางปัจจุบันก่อนข้ามสะพานเล็กน้อย ไปอยู่ทางฝั่งซ้าย ก่อนข้ามแม่น้ำครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาที่ฝั่งที่จะไปบ้านปินบ้าง
แนวเส้นทางปัจจุบันเมื่อลงจากสะพานมาแล้ว จะเป็นแนวตรงไปจนถึง กม.552 ครับ
ภาพนี้มองจากสะพานออกไป
มองจาก กม.552 ย้อนกลับมาทางสะพาน
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่ผมสนใจจากภาพเก่าภาพนี้กลับเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ตรงเชิงสะพานฝั่งใต้ ใกล้กับจุดระเบิดในภาพครับ ก่อนหน้านี้ผมมีข้อข้องใจเรื่องที่ตั้งของสถานีห้วยแม่ต้าในอดีต ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งของที่หยุดรถในปัจจุบันที่ กม.554.42 ครับ เพราะจากข้อมูลการเปิดใช้เส้นทางสายเหนือที่มี ระบุเพียงว่า วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2456 เปิดการเดินรถจากสถานีปากปาน ถึงสถานีห้วยแม่ต้า ระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งจากระยะทางที่เป็นตัวเลขคร่าวๆ ทำให้คำนวณพิกัดสถานีห้วยแม่ต้าได้ประมาณ กม.551.xx ซึ่งใกล้เคียงกับตำแหน่งสะพานซึ่งอยู่ระหว่าง กม.551 กับ 552 เคยสงสัยว่าสถานีน่าจะอยู่ฝั่งไหน ดังนั้นจากสิ่งปลูกสร้างที่เห็นในภาพนี้ จึงทำให้ผมคิดว่านี่คือ "สถานีห้วยแม่ต้า" ในอดีตครับ |
|
Back to top |
|
|
railway123
3rd Class Pass
Joined: 30/08/2007 Posts: 179
|
Posted: 12/11/2009 11:02 am Post subject: |
|
|
ผมคิดว่าน่าจะเป็น"บ้านพักคนงาน กองบำรุงทาง" ซึ่งปกติจะมีกองประจำเดินป้ายตรวจทาง ซึ่งตั้งรายทางเป็นจุดๆ แต่ละกองประจำจะมีหมายเลขเฉพาะ เช่น กองประจำ 42 ,43,44 อะไรทำนองนี้ครับ แต่อาจจะเป็น บ้านพักคนงานเฝ้าสะพานก็ได้ เหมือนสะพานรถไฟที่ขอนแก่น บ้านกุดกว้าง ก็มีบ้านลักษณะนี้เหมือนกัน |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 12/11/2009 8:30 pm Post subject: |
|
|
ก็อาจจะเป็น "บ้านพักคนงาน กองบำรุงทาง" ตามที่คุณ railway123 กล่าวไว้ก็ได้ครับ แต่ผมก็ยังคิดว่าน่าจะเคยเป็น "สถานีห้วยแม่ต้า" มาก่อน
เหตุผลที่ผมคิดเช่นนั้นก็คือ ในช่วงเวลาของการก่อสร้างทางรถไฟในระยะแรกนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสถานีไว้สำหรับควบคุมการเดินรถ การสร้างสถานีไว้กลางป่าลึกหลายแห่ง ณ เวลานั้น คงไม่ได้มุ่งหวังการโดยสารและขนส่งสินค้าตามสถานีเหล่านั้นแน่ๆ เกี่ยวกับสถานีห้วยแม่ต้านี้ ผมก็เคยคิดว่าสถานีน่าจะอยู่ฝั่งที่มาจากแก่งหลวงมากกว่าที่จะอยู่ฝั่งบ้านปิน เหตุผลก็คือตำแหน่งของสถานีฝั่งนี้จะเป็นหัวงานในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ซึ่งก็จะต้องอาศัยขบวนรถงานขนส่งชิ้นส่วนสะพานเหล็กมาส่งนั่นเอง สถานีห้วยแม่ต้าจึงมีหน้าที่ควบคุมการเดินรถมายังปลายรางในเวลานั้นนั่นเอง (ระยะทางจากการคำนวณคร่าวๆก็ใกล้เคียงกับพิกัดสะพานตามที่ผมกล่าวไว้ใน reply ก่อนหน้านี้ครับ) ส่วนเมื่อการก่อสร้างสะพานเสร็จสิ้นเรียบร้อยและสามารถเปิดใช้เส้นทางถึงสถานีบ้านปินได้แล้ว จะยกเลิกสถานีห้วยแม่ต้าไปเมื่อใดนั้นก็คงต้องคว้าหาหลักฐานมายืนยันต่อไป ซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ก็อาจเปลี่ยนไปใช้เป็นบ้านพักคนงาน กองบำรุงทาง ภายหลังก็ได้ครับ หากเป็นไปตามที่ผมกล่าวไว้จริง ก็คงคล้ายกับสถานีปางหัวพงและปางยาง ที่ใช้ในการควบคุมการเดินขบวนรถในช่วงที่มีการก่อสร้างทางผ่านดอยขุนตาน ทั้งในส่วนของสะพานหอสูงทั้ง 3 แห่ง และอุโมงค์ขุนตาน ซึ่งสถานีทั้ง 2 แห่ง ก็ถูกยกเลิกไปเมื่อสามารถเปิดการเดินรถได้ถึงสถานีเชียงใหม่ โดยอาคารสถานีปางหัวพงก็ถูกใช้เป็นบ้านพักกองบำรุงทาง 99 แทนในภายหลังเช่นกัน |
|
Back to top |
|
|
|