RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311947
ทั่วไป:13595898
ทั้งหมด:13907845
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุดมั่งน้า ก็มาว่าเรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลบ้าง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุดมั่งน้า ก็มาว่าเรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลบ้าง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 14/02/2012 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

พวกกล่องพ่วงต่างๆที่มีกันอยู่เยอะแยะมากมายไปหมด ก็คือการไปเปลี่ยนค่าหรือแปลงสัญญาณควบคุมอุปกรณ์กันเป็นส่วนใหญ่นั่นล่ะครับ เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่ที่โรงงานผู้ผลิตต้องการปรับสเปคของเครื่องยนต์ให้มีกำลังสูงขึ้น ก็จะปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ป้อนลงไป ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับ ค่าแรงดันในระบบ ระยะเวลาในยกตัวของหัวฉีด ฯลฯ คล้ายคลึงกับการพ่วงกล่องทั้งหลาย แต่ที่ต่างก็คืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงทนทานมากขึ้นตามไปด้วย

ใช่แล้วครับ อย่างที่กล่าวมา เครื่องดีเซลทุกระบบมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมันเอง อยู่ที่ว่าจะเลือกเอาระบบอย่างไหน มาใช้ในงานอะไร เพราะเครื่องยนต์ดีเซลแบบที่ระบบสั่งจ่ายเชื้อเพลิงเน้นแบบกลไกเป็นหลัก ก็ยังมีข้อได้เปรียบที่การซ่อมบำรุงทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อนมาก ราคาถูกเพราะไม่ต้องการความละเอียดในการออกแบบที่สูงมาก สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้

และโดยเหตุผลหลักๆที่บรรดารถยนต์เปลี่ยนมาใช้ระบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นเรื่องของความต้องการลดมลภาวะให้ต่ำลง และต้องการกำลังของเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น ตอบสนองดีขึ้น ที่ความจุเท่าเดิมหรือเล็กลงครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 15/10/2012 3:44 pm    Post subject: ต่อซะหน่อย Reply with quote

ก็ห่างหายไปนานด้วยภารกิจต่างๆ ที่แทบจะไม่มีเวลาหายใจหายคอเอาเลยทีเดียวครับแต่เมื่อเห็นจำนวนเพจวิวก็ต้องทำใจหาเวลามาเขียนให้อ่านกันต่อครับ ที่เขียนค้างไว้ก็คือเรื่องของปั๊มเดี่ยวเฉพาะของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อนอื่นก็ขอทบทวนนิดนึงก่อนนะครับว่า เรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลนั้นมีเรื่องตลกที่ตลกไม่ออกอยู่นิดนึงตรงที่ว่านักประดิษฐ์ที่คิดค้นเครื่องยนต์ดีเซล (ก่อนนั้นยังไม่ได้ถูกเรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล) ขึ้นมานั้น ดันลืมคิดว่าจะหาทางฉีดเชื้อเพลิงผ่านอากาศที่ถูกอัดให้มีความดันสูงอยู่ในกระบอกสูบได้อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นที่มาของระบบปั๊มฉีดเชื้อแบบต่างๆ นาๆ ทั้งที่กล่าวมาแล้วส่วนหนึ่ง และกำลังจะกล่าวในอีกต่อไปครับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าในยุคแรกนั้นเครื่องยนต์ดีเซลใช้อากาศแรงอัดสูง (ราวๆ 2000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เป่าเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบแต่มีข้อจำกัดมากมายจึงทำให้ระบบนี้ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ จึงถูกเปลี่ยนมาเป็นวิธีการฉีดด้วยกำลังดันของเชื้อเพลิงซึ่งยังคงใช้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ จึงทำให้ต้องมีปั๊มแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ในการสูบส่งเชื้อเพลิงไปยังห้องเผาไหม้ และปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบก็เป็นปั๊มที่เป็นปั๊มแบบพื้นฐานที่ใช้คู่กับเครื่องยนต์ดีเซลในเวลาต่อมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นเครื่องยนต์ดีเซลมีขนาดใหญ่มีพื้นที่ในการติดตั้ง จึงสามารถใช้ปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวต่อตัวได้ แต่ต่อมาเมื่อเครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง ที่ความเร็วรอบในการทำงานสูงขึ้นมีการประยุกต์ไปใช้งานหลากหลายลักษณะทำให้เกิดข้อจำกัดในสร้าง และควบคุมเครื่องยนต์ดังนั้นระบบฉีดเชื้อเพลิงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเครื่องยนต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงที่สุด และเมื่อยังไม่สามารถหาระบบที่ดีกว่าเข้าทดแทนได้ (ในเวลานั้น) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีในการพัฒนาระบบที่มีอยู่ ในระบบปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวต่อตัวก็เช่นกัน เมื่อระบบไม่สอดคล้องกับเครื่องที่ได้รับการพัฒนาไปจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโดยนำเอาชุดลูกปั๊มและระบบควบคุมของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบมาประกอบรวมในเรือนปั๊มเดียวกันมีระบบขับเคลื่อนและระบบควบคุมทั้งหมดอยู่ในตัวเรือนเดียวกันทำให้มีขนาดเล็กลงสามารถติดตั้งเข้ากับเครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น แต่เนื่องจากชุดลูกปั๊มถูกประกอบเข้ากับเรือนปั๊มในลักษณะแถวเรียงเดี่ยวจึงถูกเรียกว่าปั๊มแบบอินไลน์ (In-line type) จึงเป็นที่รู้กันว่ามันคือปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบที่รวมเอาชุดลูกปั๊ม และระบบต่างๆ ไว้เป็นยูนิตเดียวกันนั่นเอง
Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากรูปแสดงให้เห็นปั๊มแบบเดี่ยวเฉพาะสูบชนิดแถวเรียงเดี่ยวประกอบด้วยชุดลูกปั๊ม 6 ชุดอยู่ตัวเรือนเดียวกัน ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบซึ่งมีอุปกรณ์ส่วนควบครบคือมีทั้งอุปกรณ์ขับเคลื่อนลูกปั๊มซึ่งรับกำลังขับเคลื่อนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง อุปกรณ์ควบคุมองศาจุดระเบิด ปั๊มป้อน และเครื่องควบคุมความเร็วซึ่งรายละเอียดโครงสร้างและหลักการทำงานจะได้ค่อยๆ ทยอยกล่าวโดยละเอียดต่อไปครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 15/10/2012 11:08 pm    Post subject: Reply with quote

ครับถึงตอนนี้เรามาดูโครงสร้างและส่วนประกอบภายในของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงกันนะครับ เพราะหลังจากที่เครื่องยนต์ดีเซลถูกพัฒนาและสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ดีเซลในประเทศเยอรมันก็ได้พัฒนาระบบฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลด้วยตัวเอง โดยบริษัทโรเบิร์ต บอสช์ เป็นผู้วิจัยพัฒนา โดยกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง และลดภาระของผู้สร้างเครื่องยนต์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้และผู้ซ่อมบำรุงและยังคงใช้เป็นมาตรฐานปั๊มดีเซลมาจนถึงทุกวันนี้
Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากรูปจะเป็นรูปแสดงโครงสร้างของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงเดี่ยวเราจะเห็นว่าก็จะมีโครงสร้างและส่วนประกอบหลักเหมือนกับปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวใครตัวมันทุกประการ เพียงแต่นำชุดลูกปั๊มเข้ามาประกอบเข้าในตัวเรือนเดียวกัน และใส่เพลาลูกเบี้ยวเข้าไปเพื่อใช้ขับเคลื่อนชุดลูกปั๊มทั้งหมดโดยลำดับการเตะของลูกเบี้ยวจะเป็นไปตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ส่วนกำลังงานที่ใช้ขับเพลาลูกเบี้ยวนั้นส่งกำลังมาจากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์โดยส่งผ่านเฟือง โซ่ หรือสายพานก็ได้ โดยที่เครื่องยนต์สี่จังหวะเพลาลูกเบี้ยวของปั๊มจะถูกทดให้หมุนช้ากว่าเพลาข้อเหวี่ยงในอัตรา 2:1 แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์สองจังหวะจะหมุนเท่าเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนรูปต่อไปก็จะเป็นรูปตัดตลอดความยาวที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบภายในทั้งหมด และช่องทางน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่น้ำมันแรงดันต่ำที่ป้อนเข้าปั๊ม จนกระทั่งน้ำมันแรงดันสูงฉีดออกหัวฉีด ดังแสดงให้เห็นเป็นเส้นทึบสีดำ
Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

นอกจากโรเบิร์ต บอสช์ แล้วยังมีผู้ผลิตๆ อีกหลายกลุ่ม หลายบริษัท เช่น CAV แห่งประเทศอังกฤษ อเมริกัน บอสช์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้สร้างเครื่องยนต์อีกหลายๆ บริษัทที่พัฒนาระบบเชื้อเพลิงขึ้นใช้เองเช่น แคตเตอร์พิลล่า เยนเนอร์รัลมอเตอร์ แต่ก็ยังคงโครงสร้างพื้นฐานและหลักการ ของแจ็คปั๊ม คือขับเคลื่อนลูกปั๊มด้วยลูกเบี้ยว และคอยล์สปริง โดยยังใช้หลักการการควบคุมปริมาณน้ำมันโดยการบิดหมุนลูกปั๊มเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงคล้ายๆ กันหมดเพียงมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างออกไปเพื่อวัตถุประสงค์ในสมรรถนะของเครื่องยนต์ หรือเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิบัตร
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 20/10/2012 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

อีกประการหนึ่งก็คือเพื่อป้องกันการขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ในยามสงคราม ซึ่งเราจะเห็นว่ากลุ่มผู้ผลิตเครื่องยนต์ในสหรัฐอเมริกาหลายๆ ยีห้อ เช่น แคตเตอร์พิลล่า คัมมินส์ จีเอ็ม ซึ่งผู้ผลิตเครื่องยนต์เหล่านี้จะพัฒนาระบบฉีดเชื้อเพลิงเป็นของตัวเองก็เพื่อป้องกันสภาวะการขาดชิ้นส่วนอะไหล่ในกรณีที่กล่าวมา และเราจะเห็นว่าเครื่องยนต์ในยี่ห้อที่กล่าวมานี้ต่างก็ได้รับคัดเลือกให้ใช้เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังในราชการทหารทั้งสิ้นที่นี่เราจะมาดูโครงสร้างของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงของผู้ผลิตอื่นๆ กันบ้างครับว่าเหมือนหรือต่างกับของโรเบิร์ต บอสช์อย่างไร

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากรูปเป็นปั๊มที่ออกแบบและสร้างโดยบริษัท CAV แห่งประเทศอังกฤษ ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตในประเทศอังกฤษทั้งหมดเช่น เปอร์กิน และเลย์แลนด์ เป็นต้น
และรูปต่อมาเป็นของยี่ห้อซิมม์ครับ ซึ่งผู้สร้างก็คือ CAV เข้าใจว่าน่าจะเป็นปั๊มที่มีขนาดที่เล็กกว่าขนาดมาตรฐานของ CAV ตามรูปที่แสดงต่อไปซึ่งบอกไว้เพียงเป็นปั๊มแบบ SPE ของซิมม์

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 20/10/2012 11:45 pm    Post subject: Reply with quote

นอกจากนี้โรเบิตร์บอสช์แล้ว ยังมี อเมริกันบอสช์ ครับ เรื่องที่มาที่ไปนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรนัก แต่อเมริกัน บอสช์น่าเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 คือหลังจากที่เยอรมันแพ้สงครามการพัฒนาเครื่องจักรเครื่องยนต์เพื่อใช้เป็นต้นกำลัง เป็นเครื่องจักรเครื่องกลในการก่อสร้าง และการขนส่งเพื่อการพัฒนาประเทศก็เริ่มมีมากขึ้นเข้าใจว่า สหรัฐอเมริกาน่าจะบีบบังคับเอาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลจากเยอรมันรวมทั้งเทคโนโลยีของระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยจึงทำให้ได้รูปแบบปั๊มแบบแถวเรียงเดี่ยวของ อเมริกันบอสช์ ดังรูป

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากรูปเป็นปั๊มขนาด A ของอเมริกันบอสช์ครับใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น ฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จอนห์เดียร์ เป็นต้นและยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าซึ่งใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วขนาดใหญ่กว่า 200 ขึ้นไปเช่นเครื่องยนต์ยี่ห้อ อินเตอร์เนชั่นแนล และ Mack เป็นต้น

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 21/10/2012 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้เรามาดูปั๊มแบบแถวเรียงเดี่ยวของแคตเตอร์พิลล่ากันบ้าง แคตเตอร์พิลล่านั้นถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลและเครื่องยนต์ดีเซลต้นกำลังชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกาครับโดยพัฒนาระบบเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วของตัวเองวัตถุประสงค์ก็เพื่อทดแทนเครื่องจักรไอน้ำ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่ายิ่งเมื่อหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบสิ้นลง หลายๆ ประเทศต่างเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์กันอย่างเต็มที่ไม่เว้นกระทั่งญี่ปุ่นที่ถือว่าบอบช้ำจากสงครามมากที่สุด
สำหรับแคตเตอร์พิลล่านั้นได้พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วจนกระทั่งมีระบบเครื่องยนต์พื้นฐานที่เป็นของตัวเอง อย่างเช่นระบบห้องผาไหม้ล่วงหน้าของแคตเตอร์พิลล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร และระบบปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเอกลักษณ์ที่เป็นของตัวเองเป็นต้น แต่จริง ๆ แล้วระบบพื้นฐานของปั๊มแคตก็ยังแจ็คปั๊มที่ควบคุมปริมาณน้ำมันด้วยการบิดหมุนลุกปั๊มเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงนั่นเองล่ะครับเพียงแต่สร้างให้มีรูปร่างลักษณะและระบบอุปกรณ์ส่วนควบต่างๆ ให้แตกต่างออกไปซึ่งปัจจุบันนี้แบ่งออกตามลักษระการควบคุมได้สองแบบใหญ่ๆ คือ
1. การควบคุมปริมาณน้ำมันแบบบิดหมุนลูกปั๊มซึ่งแคตเตอร์พิลล่าเรียกว่า Scroll Fuel System มีโครงสร้างดังรูป

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

ซึ่งรูปแรกนี้จะเป็นวงจรน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดตั้งแต่ถังจนถึงหัวฉีดครับ โดยเริ่มต้นจากถังน้ำมัน (1) เมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ ปั๊มป้อน (Transfer pump) (9) ซึ่งเป็นปั๊มแบบเฟืองฟันนอกจะถูกขับโดยเครื่องยนต์ก็จะเริ่มต้นทำงานสูบน้ำมันจากถังผ่านตะแกรงกรอง (Strainer) (8) ก่อนที่ป้อนเข้าสู่หม้อกรอง (Filter) (4) และป้องเข้าสู่ปั๊มแรงดันสูง (5) โดยมีลิ้นควบคุมความดัน (3) ทำหน้าที่ควบคุมความดันในระบบให้เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 30-35 ปอนด์ต่อตารางนิ้วที่รอบสูงสุด เพื่อป้อนให้กับปั๊มแรงดันสูงต่อไป ทีนี้เราก็มาดูโครงสร้างของปั๊มแรงดันสูงกันต่อไป

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

โครงสร้างของปั๊มแคตนั้นจะประกอบไปด้วยเสื้อปั๊ม (1) ที่มีช่องรับน้ำมันแรงดันต่ำอยู่ภายใน (ตรงหัวลูกศร) เพื่อป้อนน้ำมันเข้ากับกระบอกปั๊ม (2) ส่วนลูกปั๊ม (5) สวมอยู่ในกระบอกปั๊มวางอยู่บนลูกกระทุ้ง (8) โดยมีแผ่นรองสอดที่กึ่งกลางลูกปั๊มส่วนสปริงปั๊ม (6) ด้านบนจะยันอยู่กับกระบอกปั๊มโดยที่บ่าด้านล่างของกระบอกปั๊มจะยันอยู่กับเสื้อปั๊มโดยมีแหวนกันรั่วกั้นไว้ ที่ด้านล่างของลูกปั๊มจะมีเฟืองวงแหวน (4) รัดอยู่เพื่อขบกับเฟืองที่ก้านบังคับ (7) และเมื่อเราชักก้านบังคับ (7) ให้เคลื่อนที่ไปมาก็จะทำให้ลูกปั๊มบิดหมุนไปมาซึ่งจะทำให้ร่องเฉียงที่ลูกปั๊มเปลี่ยนตำแหน่งไปทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำมันที่จะส่งออกไปได้ ส่วนเพลาลูกเบี้ยว (9) ที่ประกอบอยู่ที่ด้านล่างนั้นทำหน้าที่ขับเคลื่อนลูกปั๊มโดยรับกำลังขับเคลื่อนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง และเมื่อลูกปั๊มอัดน้ำมันออกจากกระบอกปั๊มน้ำมันก็จะดันผ่านลิ้นส่ง (3) เอาชนะแรงสปริงที่ลิ้นส่งไปยังหัวฉีดต่อไป โดยชุดลิ้นส่งและฝาครอบลิ้นส่งจะถูกขันยึดเข้ากับเสื้อปั๊มโดยแหวนเกลียวกดทั้งฝาครอบลิ้นส่ง ตัวลิ้นส่ง และกระบอกปั๊มเข้าด้วยกันโดยระหว่างลิ้นส่งกับกระบอกปั๊มจะสัมผัสกันด้วยความเรียบเท่านั้น จะไม่มีแหวนกันรั่วใด ๆ ทั้งสิ้น
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
ice1234
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 09/04/2010
Posts: 100
Location: เชียงใหม่ - ย่านศิลาอาสน์ - หลักสี่

PostPosted: 22/10/2012 12:08 am    Post subject: Reply with quote

Page เจ๋งจริงครับ ผมชอบเรื่องเครื่องยนต์มาก แต่ไม่ได้เรียนสาขาด้านนี้ ชอบเข้ามาอ่านอยู่บ่อยๆ ขอติดตามชมเทนโนโลยีเครื่องยนต์ด้วยครับ emot179
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 22/10/2012 9:17 pm    Post subject: Reply with quote

2. ปั๊มแบบ Sleeve metering ปั๊มแบบ Sleeve metering ของแคตเตอร์พิลล่านี้โครงสร้างพื้นฐานก็ยังเป็น
แจ็คปั๊มขับเคลื่อนด้วยลูกเบี้ยวและคอยล์สปริงเหมือนเดิม แต่ต่างกันที่วิธีการควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง จากวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงโดยการบิดหมุนลูกปั๊ม เป็นวิธีการเปลียนตำแหน่งแหวนปรับแต่งปริมาณน้ำมันที่สวมอยู่กับลูกปั๊มตามโครงสร้างของปั๊มตามรูป
Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากโครงสร้างนั้นเราจะเห็นว่าชุดลูกปั๊ม(7) จะวางอยู่บนลูกกระทุ้ง(11) และถูกขับด้วยเพลาลูกเบี้ยว(12) สปริงลูกปั๊ม(4) ซึ่งด้านบนของสปริงจะยันอยู่กับกระบอกปั๊มเหมือนเดิม ส่วนด้านล่างของสปริงนั้นจะยันอยู่กับแผ่นล็อคลูกปั๊ม(6) ที่เสียบเข้ากับร่องที่กึ่งกลางของลูกปั๊มเราจะเห็นว่าจากโรงสร้างดังกล่าวจะทำให้ลูกปั๊มเคลื่อนที่ขึ้นด้วยการเตะของลูกเบี้ยวและกลับด้วยสปริงได้ ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำมันนั้นทำได้โดยขยับแหวนปรับปริมาณน้ำมัน(8) ที่สวมอยู่ตอนล่างของลูกปั๊มขึ้นลง โดยก้านบังคับน้ำมัน(11) จะทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำมันได้ สิ่งที่ต่างกันของปั๊มทั้งสองระบบนี้คือการหล่อลื่นกลไกของปั๊ม โดยในปั๊มระบบ Scroll ส่วนล่างที่เป็นส่วนขับเคลื่อนนั้นจะหล่อลื่นด้วยน้ำมันหล่อลื่นจากเครื่องยนต์ แต่ในระบบ Sleeve metering ในห้องปั๊มรวมไปถึงห้องเพลาลูกเบี้ยวจะบรรจุไว้ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงความดันประมาณ 30-40 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อบรรจุเข้ากระบอกปั๊มและหล่อลื่น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการควบคุมปริมาณน้ำมันกันครับ

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us

จากรูปที่แสดง (กรุณาดูประกอบกันทั้งสองรูป) ให้ดูรูป A จะเป็นการแสดงให้การประจุน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากระบอกปั๊มกล่าวคือ เมื่อลูกปั๊มเคลื่อนที่ลงจนกระทั้งรูประจุน้ำมันที่ลูกปั๊ม(5) พ้นขอบกระบอกปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกปั๊มป้อนประจุเข้ามาในเสื้อปั๊มจะไหลผ่านรูประจุ(5)เข้าสู่กระบอกปั๊ม(3) และเมื่อลูกเบี้ยวหมุนต่อไปลูกปั๊มจะถูกดันขึ้นโดยลูกเบี้ยวตามรูป B จนกระทั่งรูประจุ(5) ถูกปิดโดยขอบของกระบอกปั๊มถึงตอนนี้น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกกักไว้ในกระบอกปั๊มเป็นการเตรียมฉีด และเมื่อลูกปั๊มเคลื่อนที่ต่อไปน้ำมันก็จะถูกลูกปั๊มดันออกจากกระบอกปั๊มผ่านลิ้นจ่าย(1) ออกไปยังหัวฉีด ส่วนรูป C เป็นการสิ้นสุดการฉีด กล่าวคือลูกปั๊มถูกลูกเบี้ยวเตะให้เคลื่อนที่ขึ้นจนกระทั่งรูระบาย(9) พ้นขอบแหวนควบคุมปริมาณน้ำมัน(8) น้ำมันในกระบอกปั๊มจะถูกระบายกลับทำให้การฉีดน้ำมันสิ้นสุดลง
ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำมันนั้นทำได้โดยเปลี่ยนตำแหน่งของแหวนควบคุมปริมาณน้ำมัน(8) ที่สวมอยู่ตอนล่างของลูกปั๊ม(9) ด้วยก้านบังคับ(10) กล่าวคือก้านบังคับบิดทวนเข็มนาฬิกาแหวนควบคุมปริมาณน้ำมันจะถูกเลื่อนขึ้นจะเห็นว่าลูกปั๊มต้องเลื่อนขึ้นไปมากกว่าที่รูระบายน้ำมัน(9) จะพ้นขอบวงแหวนควบคุม โดยเทียบระยะการเคลื่อนที่หลังจากที่ขอบกระบอกปั๊มปิดรูประจุผลก็คือปริมาณการฉีดจะมากขึ้น ในเวลาเดียวกันถ้าบิดก้านบังคับตามเข็มนาฬิกาแหวนควบคุมปริมาณน้ำมันจะถูกเลื่อนลงถึงตอนนี้เมื่อลูกปั๊มเลื่อนขึ้นเพื่อฉีดน้ำมันรูระบาย(9) จะพ้นขอบวงแหวนควบคุมเร็วขึ้นทำให้ปริมาณการฉีดน้ำมันลดลง และถ้าเลื่อนแหวนควบคุมต่ำลงไปอีกจะกระทั่งเมื่อลูกปั๊มเลื่อนขึ้นรูประจุยังไม่ปิด และรูระบายเปิดก่อนจะทำให้ไม่มีการฉีดน้ำมันจะเป็นการดับเครื่องยนต์ซึ่งตอนนี้จะเห็นว่าเราสามารถควบคุมการจ่ายน้ำมันของปั๊มได้
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 09/11/2012 3:48 am    Post subject: Re: ขุดมั่งน้า ก็มาว่าเรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลบ้าง Reply with quote

Cummins wrote:
ประกาศลิขสิทธิ์ wrote:
บทความเรื่องเครื่องยนต์ดีเซลดังต่อไปนี้ เฉพาะในส่วนของข้อความทางวิชาการ ซึ่งทำการเรียบเรียงและถ่ายทอดด้วยตัวเจ้าของผลงานเอง ถือเป็นงานเขียนที่มีลิขสิทธิ์ อันเป็นงานอันได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเป็นสิทธิ ของเจ้าของผลงาน และ/หรือ ของเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอมแต่เพียงผู้เดียว ห้ามมิให้ผู้ใด กระทำการอันละเมิดต่อลิขสิทธิ์ดังกล่าว อาทิ นำไปจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด ไปเผยแพร่ยังสื่ออื่น หรือเว็บไซต์อื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้ละเมิดต่อลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายที่บัญญัติไว้อย่างถึงที่สุด

อ.กิตติจั่วหัวไว้ซะขนาดนี้ มันเคยอ่านไหมนี่ copy ไปอย่างหน้าตาเฉย emot182

http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=100334.0

ยังไม่หมดแค่นี้ ยังมีอีก ทั้งของอ.กิตติ กับอ.นคร อีกกระทู้
http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=84725.0

หมายเหตุ อ้างอิงจากกระทู้ที่แล้ว
Quote:
ขุด ขุด และขุด
ได้ข่าวมาว่า มีคนแอบเนียนกดปุ่ม Ctrl+C แล้วก็ Ctrl+V บทความนี้ไป ไม่อ้างอิงที่มา หรือแม่แต่ชื่อคนเขียน เอาไปแปะยังกับไปเขียนซะเอง แถมคนนั้นก็ยังเป็นสมาชิกเว็บนี้ด้วย เท่านั้นไม่พอ ได้ข่าวว่ามีไปแอบอ้างว่าเป็นช่างซ่อมรถไฟ แล้วก็พนักงานรถจักรอีกด้วย

กระทู้ที่ว่า
http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=78897.0

และเนื้อหามาจากกระทู้
ระบบส่งกำลังขับเคลื่อนรถจักรดีเซล และรถดีเซลราง
ขุ-ด อ่านว่า ขุด ครับ วันนี้มาว่าด้วยเรื่องรถจักรไอน้ำมั่ง
คาดว่าจะมีอีกกระทู้
ขุดมั่งน้า ก็มาว่าเรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลบ้าง

รวมทั้งบทความของอ.นคร จันทศรด้วย
ระบบเบรกของขบวนรถไฟ

_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 09/11/2012 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

[quote=น้าแมว]ขุด ขุด และขุด
ได้ข่าวมาว่า มีคนแอบเนียนกดปุ่ม Ctrl+C แล้วก็ Ctrl+V บทความนี้ไป ไม่อ้างอิงที่มา หรือแม่แต่ชื่อคนเขียน เอาไปแปะยังกับไปเขียนซะเอง แถมคนนั้นก็ยังเป็นสมาชิกเว็บนี้ด้วย เท่านั้นไม่พอ ได้ข่าวว่ามีไปแอบอ้างว่าเป็นช่างซ่อมรถไฟ แล้วก็พนักงานรถจักรอีกด้วย [/quote]

รู้กันเลยทีเดียว ว่าผู้นั้นเป็นใคร Embarassed Embarassed
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6
Page 6 of 6

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©