View previous topic :: View next topic
Author
Message
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 12:20 pm Post subject: พิธีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมรถไฟหาดใหญ่
สวัสดีครับ
หายหน้าไปนาน คราวนี้ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีเปิดอคารสถานีและโรงแรมรถไฟหาดใหญ่ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นเอกสารที่ระลึก โดยโรงพิมพ์การรถไฟฯ เดือนพษภาคม 2511 ซึ่งได้รับความเอื้อเฟื้อจากป๋าณัฐ (Natt้haphong) ให้ยืมจนเรียกว่าให้ลืมมากกว่า ซึ่งผมขอขอบคุณมากๆ มา ณ ที่นี้ ครับ
พิธีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมรถไฟหาดใหญ่
อาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่
อาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่นี้ สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นกรมรถไฟแผ่นดิน และหลังจากที่รัฐบาลสยามได้พิจารณาตกลงเปิดการเดินรถติดต่อกับสหรัฐมลายู คือ ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน ทางด้านปาดังเบซาร์ และในเวลาเดียวกัน ได้สร้าง Railway Rest House ขึ้นที่บริเวณด้านหลังสถานี ที่ตำบลโคกเสม็ดชุน เพื่อบริการแก่ผู้โดยสารพร้อมๆ กัน เมื่อ พ.ศ.2461 ต่อมา พ.ศ.2501 ได้มีการดัดแปลงอาคารสถานีตลอดจนห้องพักผู้โดยสาร และต่อเติมชานชาลาออกไปอีกข้างละ 20 เมตร เพื่อให้ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถึงกระนั้นก็ดี ความขยายตัวขงการโยสาร ตลอดจนการขนส่งสินค้าได้ทวีปริมาณขึ้น ทำให้พื้นที่จะปฏิบัติงานในตัวอาคารสถานี และที่ให้บริการแก่ประชาชนคับแคบ อีกทั้งอำเภอหาดใหญ่ นอกจากจะเป็นย่านธุรกิจการค้าแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางของนักทัศนาจรชาวไทย ชาวมาเลเซีย และชาวต่างประเทศอื่นๆ ด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ดำริที่จะทำการก่อสร้างอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ขึนใหม่แทนของเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญของท้องถิ่นที่กำลังรุดหน้าที่สุดของภาคใต้
ในปี พ.ศ.2509 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับอนุมัติงบประมาณให้สร้างอาคารสถานีขึ้นใหม่ รวมทั้งปรับปรุงบริเวณหลังสถานีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น รวมเป็นเงิน 8,000,000.- บาท (แปดล้านบาทถ้วน) จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยวิธีประกวดราคาให้ผู้รับเหมาดำเนินงาน Last edited by black_express on 21/07/2013 5:23 pm; edited 1 time in total
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 12:33 pm Post subject:
สำหรับแบบตัวอาคารทางด้านสถาปัตยกรรมนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบเอง และกำหนดให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาเป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง ในระหว่างพิจารณาผลการประกวดราคาก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทยโดย พ.อ.แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2509
ผลของการประกวดราคาปรากฎว่า บริษัท วิศวกรรมโกวิท จำกัด เป้ฯผู้ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างในราคา 7,630,000.- บาท กำหนดแล้วเสร็จภายใน 390 วัน ซึ่งบริษัท วิศวกรรมโกวิท จำกัด ได้เริ่มทำการก่อสร้าเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2510 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2511
ลักษณะของตัวอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่นี้ ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ทรวดทรงแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีความยาว 128.00 เมตร ด้านหน้ามีมุขทรงไทย ซึ่งภายในมุขนี้ ติดตั้งห้องลิฟท์ เพื่อใช้สำหรับกิจการโรงแรมในชั้น 2 และกิจการรถไฟในชั้น 3 บริเวณด้านหน้าของมุขชั้น 3 ติดตั้งนาฬิการะบบไฟฟ้าแบบตัวเลข ตัวพื้นชั้นล่างเป็นที่ทำงานสำหรับกิจการของสถานีที่เกี่ยวกับการโดยสาร มีห้องพักผู้โดยสาร ที่ทำการด่านศุลกากร ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง ที่ทำการไปรษณีย์สถานี ห้องปฐมพยาบาล และมีห้องอาหารขนาดใหญ่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศรวมอยู่ด้วย
พื้นชั้น 2 ของตัวอาคาร ได้จัดให้เป็นกิจการของโรงแรม มีห้องพักธรรมดา 17 ห้อง ห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 22 ห้อง และห้องชุดติดตั้งเครื่องปรับอากาศอีก 4 ห้อง สำหรับพื้นชั้น 3 ของอาคาร ได้จัดให้เป็นที่ทำการของกิจการรถไฟฝ่ายต่างๆ มีที่ทำการของกองจัดการเดินรถเขต สารวัดเดินรถ วิศวกรบำรุงทางเขต อาณาบาลเขต และแขวงควบคุมการเดินรถกับห้องประชุมขนาดใหญ่อีก 1 ห้อง
พื้นชั้น 3 ของตัวอาคาร ได้แบ่งแยกทางเดินติดต่อกันออกจากพื้นชั้น 2 สำหรับใช้เป็นกิจการโรงแรมโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันมิให้มีการพลุกพล่าน หรือก่อความรำคาญให้แก่ผู้ใช้บริการของโรงแรม
ฉะนั้น อาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ จึงจัดเป็นอาคารที่สมบูรณ์และทันสมัย พร้อมที่จะให้บริการอย่างครบถ้วนแก่ผู้เดินทางรถไฟใช้พักแรม มีอาหารเครื่องดื่มอย่างดีบริการตลอดเวลา
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 12:36 pm Post subject:
กำหนดการ
พิธีเปิดอาคารสถานี และโรงแรมหาดใหญ่
วันพฤหัสที่ 9 พฤษภาคม 2511
.................................
เวลา 8.55 น. - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
- ถวายเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม
- พระสงฆ์อนุโมทนา
เวลา 9.30 น - ผู้ว่าการรถไฟฯ อ่านรายงาน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวตอบ
เวลา 9.40 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เจิมและไขกุญแจห้องที่ทำการนายสถานี ประตูห้องภัตตาคาร และ
ประตูห้องลิฟท์ของโรงแรม
- พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
- พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ห้องต่างๆ ชั้นล่าง ห้องที่ทำการเจ้าหน้าที่ โรงแรม ชั้นสอง และห้องที่ทำการของเจ้าหน้าที่ ชั้นสาม
เวลา 10.00 น. เสร็จพิธี
Order of the Caremony on the Occasion
Of the Official Opening of the new Railway Station and Hotel at Haad Yai
On Thursday 9th May 1968
8.45 a.m Arrival on guest
Religious Caremony
9.30 a.m Report by General Manager of the State Railway of Thailand on the construction of the
new Railway Station and Hotel at Haad Yai
Reply by H.E. The Miniter of Communications
9.40 a.m. H.E. The Miniter of Communications opens the building Anoiting Caremony
10.10 a.m. End of the Caremony
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 12:57 pm Post subject:
รายงานของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
เนื่องในพิธีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมรถไฟหาดใหญ่
วันพฤหัสบดี ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๑
.....................................
กราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
วันนี้ เป็นวันอุดมมงคลฤกษ์อันดี ที่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้โปรดให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมหาดใหญ่ ในนามของการรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ปฏิบัติงานรถไฟ ขอขอบพระคุณ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้ให้ความกรุณามาเป็นประธานประกอบพิธีครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นสิริมงคลแก่อาคารสถานีรถไฟและย่านรถไฟหาดใหญ่ที่เป็นชุมทางรถไฟอันสำคัญของภาคใต้ จะได้วัฒนาถาวรมั่นคงในการรับใช้ทางราชการ พ่อค้า และประชานได้กว้างขวางไพศาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตตลอดไป
อาคารสถานีหาดใหญ่เดิม ซึ่งเป็นอาคารไม้ ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 จนถึงบัดนี้ เป็นเวลานานนับได้ร่วม 52 ปี ในระยะแรกนั้น มีขบวนรถด่วนสายใต้ (ขบวน 11 / 12) เดินขึ้นล่องเพียงสัปดาห์ละ 2 ขบวน ขบวนรถโดยสาร ขบวนรถสินค้าก็มีเดินเพียงจำนวนน้อยไม่กี่ขบวน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้น การโดยสารและการขนส่งสินค้าทวีปริมาณมากขึ้น การรถไฟฯ จึงได้พิจารณาจัดเดินขบวนรถเพิ่มขึ้น ขบวนรถด่วนสายใต้ที่เคยเดินเพียงสัปดาห์ละ 2 ขบวน ก็เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 3 ขบวน 4 ขบวน และ 6 ขบวนตามลำดับ และตั้งแต่วันท่ 14 พฤศจิกายน 2507 เป็นต้นมา มีขบวนรถด่วนสายใต้เดินสัปดาห์ละ 7 ขบวน คือเดินระหว่างสถานีกรุงเทพ สุไหงโก-ลค สัปดาห์ละ 4 ขบวน เดินระหว่างสถานีกรุงเทพ ปาดังเบซาร์ สัปดาห์ละ 3 ขบวน
ขบวนรถเร็ว (45 / 46) เดิมมีเดินทุกวันระหว่างสถานีธนบุรี ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2499 และขบวนรถเร็ว (47 / 48) มีเดินรถหว่างสถานีชุมพร สุไหงโกลค ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2501 ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2505 ได้เล่อนสถานีปลายทาง ต้นทางของขบวนรถเร็วทั้งสองตอนนี้จากสถานีชุมพร ไปที่สถานีสุราษฎร์ธานี ภายหลัง โดยการเสนอแนะของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้โดยสารสี่จังหวัดทางภาคใต้ ขบวนรถเร็ว 45 / 46 ได้เดินเป็นขบวนรถเร็วขบวนเดียวตลอดจากธนบุรี ถึงสถานีสุไหงโก-ลค เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2508 ทำให้ประชาชนนิยมเดินทางโดยรถไฟมากขึ้นอีก[/i]
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน มีขบวนรถไฟรถโดยสารที่เดินเป็นประจำวัน คือ ขบวน 127 / 128 เดินระหว่างสถานีทุ่งสง ยะลา ขบวน 129 / 130 เดินระหว่างสถานีหาดใหญ่ ปาดังเบซาร์ ขบวน 131 / 132 เดินระหว่างสถานีหาดใหญ่ สุไหงโก-ลค ขบวน 413 / 414 เดินระหว่างพัทลุง ปาดังเบซาร์ ขบวน 483 / 484 เดินระหว่างสถานีหาดใหญ่ ปาดังเบซาร์ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2508 เป็นต้นมา จัดให้มีขบวน 247 / 248 เดินไปกลับระหว่างสถานีหาดใหญ่ สงขลา เพิ่มขึ้นอีก ในวันธรรมดา เดินไปกลับรวม 12 เที่ยว เฉพาะในวันหยุดราชการ เพิ่มขบวน 249 / 250 ดฺนไปกลับระหว่างสถานีหาดใหญ่ สงขลาอีก 2 เที่ยว รวมเป็น 14 เที่ยว
และตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2510 เป็นต้นมา เปิดเดินขบวนรถโดยสารดีเซลรางระหว่างประเทศ จากสถานีบัตเตร์เวอร์ธในมาเลเซีย กับสถานีหาดใหญ่ ส่วนขบวนรถสินค้าขบวน 701 / 710 เดิมมีเดินระหว่างสถานีธนบุรี หาดใหญ่ เพียงสัปดาห์ละ 1 ขบวน และได้เพิ่มเดินมากขึ้น จนในปัจจุบัน เดินขบวรถสินค้า 701 / 710 ทุกวัน ระหว่างสถานีธนบุรี หาดใหญ่ สุไหงโก-ลค เป็นสัปดาห์ละ 7 ขบวน การเพิ่มพูนขบวนรถทั้งในด้านการโดยสารและการขนส่งสินค้า โดยใช้ย่านและอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ ได้ก้าวหน้าไปมากตามลำดับ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 2509 และ 2510 ตลอดมา ทำให้บรรดารางที่มีใช้อยู่ในบริเวณย่านสถานีชุมทางหาดใหญ่คับแคบและอัดแอ การรถไฟฯ จึงได้พิจารณาพัฒนาและจัดโครงการปรับปรุงขยายย่านสถานีชุมทางโดยจัดขยายและสร้างย่านโดยสาร ย่านเดินรถ ย่านสินค้า และย่านช่างกลเพื่อให้สามารถรับกับปริมาณการเดินรถทั้งภายในประเทศ และที่ต่อเนื่อกับประเทศมาเลฌวีย ที่มีทวีเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 3 ปี ที่กล่าวมาข้างต้น Last edited by black_express on 21/07/2013 1:25 pm; edited 2 times in total
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 1:18 pm Post subject:
เนื่องจากการรถไฟฯ ได้พัฒนาปรับปรุงย่านสถานีชุมทางหาดใหญ่และจัดให้มีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นอย่างสูงนี้ ทำให้การสัญจรไปมาของประชาชนบนทางหลวงเพชรเกษมระหว่างด้านที่ทำการอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของย่านรถไฟ กับย่านธุรกิจการค้าตลาดหาดใหญ่ ทางฝั่งตะวันออกของย่านรถไฟหาดใหญ่ ได้รับความไม่สะดวกและไม่เป็นการปลอดภัย เพราะยวดยานต่างๆ บนทางหลวงเพชรเกษมจะต้องผ่านรางของย่านสถานีหาดใหญ่ด้านเหนือถึง 9 ราง ซึ่งมีขบวนรถต่างๆ เดินเข้าออกและมีการสับเปลี่ยนรถพ่วงอญุ่ตลอดเวลา การรถไฟฯ ก็ได้ร่วมแก้ปัญหานี้โดยให้เหตุผลสนับสนุนให้กรมทางหลวงได้รับงบประมาณก่อสร้างสะพานถนนเพชรเกษมข้ามทางรถไฟตรงบริเวณดังกล่าว และได้ร่วมให้ข้อมูลทางด้านเทคนิคในการออกแบบอย่างใกล้ชิด ซึงผลการประกวดราคาก่อสร้างสะพานดังกล่าวปรากฎว่า บริษัท สง่าพาณิชย์ จำกัด เป็นผู้รับทำการก่อสร้างในราคา 5 ล้าน 7 แสนบาท งานก่อสร้างสะพานได้เริ่มตั้งแต่ต้นเดิอนมีนาคม 2511 เป็นต้นมา แจะเสร็จภายใน 12 เดือน
การรถไฟฯ ดีใจที่ได้มีสะพานถนนให้แก่ทางหลวงเพชรเกษมได้ข้ามย่านสถานีหาดใหญ่ครั้งนี้ เพราะทั้งถนนและการรถไฟฯ จะได้ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของศูนย์การค้าของหาดใหญ่ และภูมิภาคนี้ โดยกิจการทั้งสองได้ประสานกันจากการที่การรถไฟฯ ได้จัดพํมนากิจการ โดยได้ปรับปรุงและขยายอาณาบริเวณย่านสถานีชุมทางหาดใหญ่ให้กว้างขวางเพียงพอกับปริมาณที่ทวีขึ้นของกิจการเดินรถ ประกอบกับการโดยสารรถไฟได้หนาแน่น รวมทั้งการให้บริการแก่ผู้โดยสารได้ทบทวีเพิ่มขึ้น กิจการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรก็จำเป็นต้องเข้ามาปฏิบัติร่วมกับรถไฟ พื้นที่สำหรับปฏิบัติงานในตัวอาคารสถานีหลังเก่าจึงคับแคบ ไม่สะดวกที่จะอำนวยและบริการในด้านการโดยสารและอื่นๆ ได้โดยเหมาะสม แม้จะได้มีการดัดแปลงอาคารสถานี ตลอดจนห้องพักผู้โดยสารและต่อเติมชานชาลาให้ยาวออกไปอีกข้างละ 20 เมตร เสร็จเรียบร้อยใช้การเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2501 แล้วก็ตาม
เมื่ออำเภอหาดใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์ธุรกิจการค้าได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากเป็นพิเศษแล้ว การทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ผ่านเข้ามายังศูนย์ธุรกิจการค้าและชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ก็พลอยเพิ่มปริมาณตามไปด้วย เท่าที่ได้ปรับปรุงตัวอาคารสถานีไปครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับกับปริมาณของการโดยสารและการขนส่งสินค้าท่ทวีขึ้นได้ การรถไฟฯ ได้ตระหนักถุงหน้าที่ในอันที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ในการเดินทางไปมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับสุไหงโกลค ปาดังเบซาร์ และสงขลา จึงได้พิจารณาและตัดสินใจเสนอโครงการสร้างอาคารสถานีชุมทางแห่งนี้ เพื่อให้สัมพันธ์กับย่านชุมทางหาดใหญ่ ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงและขยายไปแล้ว โดยนำเอากิจการโรงแรมไปรวมไว้บนอาคารสถานีชั้น 2 และมีที่ทำการของเจ้าหน้าที่ในการรถไฟฯ สังกัดต่างๆ รวมอยู่บนชั้น 3 อีกด้วย
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 1:34 pm Post subject:
ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้เดินทางมากระทำพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอาคารชุมทางสถานีหาดใหญ่ เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2509
การก่อสร้างอาคารสถานีนี้ ได้จัดทำโดยวิธีประกวดราคาให้ผู้รับเหมาดำเนินงาน สำหรับแบบทรวดทรงตัวอาคารทางด้านสถาปัตยกรรม การรถไฟฯ เป็นผู้ออกแบบเอง และกำหนดให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาเป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง ซึ่งผลการพิจารณาปรากฎว่า บริษัท วิศวกรรมโกวิท จำกัด เป็นผู้ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างในราคา 7,630,000 บาท (เจ็ดล้านหกแสนสามหมื่นบาทถ้วน) กำหนดแล้วเสร็จภายใน 390 วัน บริษัท วิศวกรรมโกวิท จำกัด ได้เริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2510 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2511
ตัวอาคารสถานีหาดใหญ่ที่ก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ทรวดทรงแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีความยาว 128.00 เมตร กว้าง 14.00 เมตร มีหลงคาคลุมชานชาลายาว 128.00 เมตร หลังคาคลุมที่จอดรถกว้าง 8.75 เมตร ยาวตลอดตัวอาคาร มีหัองลิฟท์ขนาด 8.00 x 18.00 เมตร ติดต่อชั้น 2 3 และมีทางให้รถยนต์เข้า ออกรับส่งผู้โดยสารได้ โดยมีหลังคาคลุมไม่ถูกแดดฝน
พื้นชั้นล่าง เป็นกิจการของสถานีที่เกี่ยวกับการโดยสาร มีห้องพักผู้โดยสารชั้น 1 2 (ติดเครื่องปรับอากาศ) ห้องพักผู้โดยสารชั้น 3 พร้อมด้วยห้องสุขา ชั้น 1 ,2,3 ที่ทำการด่านศุลกากร ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ห้องปฐมพยาบาล ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องจำหน่ายตั๋ว และยังมีห้องภัตต่คารขนาดใหญ่พร้อมห้องบาร์ (ตืดตั้งเครื่องปรับอากาศด้วย)
พื้นชั้นสองของอาคาร จัดให้เป็นกิจการของโรงแรม มีห้องพักธรรมดาเตียงคู่ 17 ห้อง ห้องพักติดตั้งเครื่องปรัอากาศ เตียงคู่ 22 ห้อง และยังมีห้องชุดขนาดใหญ่ มีห้องรับแขกและห้องนอนเตียงคู่ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศอีก 4 ชุด รวมห้องพักทั้งสิ้น 43 ห้อง กับหห้อง rest room หญิง 1 ห้อง ชาย 1 ห้อง
พื้นชั้นบนสุดของอาคาร จัดให้เป็นที่ทำการของกิจการรถไฟฝ่าย และสำนักงานต่างๆ ได้แก่ ที่ทำการของกองจัดการดินรถเขต สารวัดเดินรถ วิศวกรกำกับการเขตบำรุงทาง อาณาบาลเขต และแผนกควบคุมการเดินรถแขวง พร้อมด้วยห้องประชุมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มีโต๊ะประชุมขนาด 12 คน พร้อมเก้าอี้ครบชุด ห้องประชุมดังกล่าวนี้ จะเปิดให้ประชาชนใช้เป็นห้องประชุม หรือประกอบพิธีต่างๆ อีกด้วย โดยขอค่าบำรุงในอัตราพอสมควร
ที่ชานชาลาหน้าสถานี มีทางเดินเท้าใต้ดินติดต่อระหว่างชานชาลา 1 - 2 3 หนึ่งทาง เพื่อความปลดภัยของผู้โดยสาร ไม่ต้องเดินข้ามราง
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 1:38 pm Post subject:
ในการดำเนินการ จัดสร้างตรุภัณฑ์สำหรับห้องต่างๆ ของโรงแรมในอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่นี้ เพื่อจะให้ทันกับเวลาที่ต้องการใช้ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการโดยวิธีสืบราคา ซึ่งปรากฎว่า ราคาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชฎเฟอร์นิชชิ่งก่อสร้างเสนอมาเป็นเงิน 449,000.00 บาท (สี่แสนสี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน) แล้วเสร็จภายใน 65 วัน เป็นราคาต่ำสุด การรถไฟฯ ได้อนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชฎาเฟอร์นิชชิ่งก่อสร้าง เป็นผู้ดำเนินการซึ่งขณะนี้พร้อมที่จะเปิดบริการได้แล้ว
ในการจัดสร้างอาคารสถานีและโรงแรมหาดใหญ่หลังใหม่ แม้จะได้ลงทุนก่อสร้างด้วยเงินจำนวนสูง แต่ก็จะอำนวยบริการแก่ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ให้ได้รัความสะดวกในการเดินทาง ทั้งในและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากการก่อสร้างตัวอาคารสถานี และโรงแรมหาดใหญ่แล้ว การรถไฟฯ มีโครงการที่จะปรับปรุงบริเวณที่ต่อเนื่องกับอาคารสถานี โดยจะพิจารณาดำเนินกรในปีต่อๆ ไป ได้แก่ บริเวณที่เป็นอาคารโรงแรมรถไฟหาดใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อได้ย้ายกิจการโรงแรมขึ้นมาอยู่บนชั้น ๒ ของอาคารสถานีแล้ว ก็จะรื้ออาคารเดิม แล้วจัดทำเป็นสวนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาใช้พักผ่อนหย่อนใจ และใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงสำหรับกิจการของโรงแรมรถไฟภายนอกอาคารสถานี ส่วนบบริเวณที่เป็นบ้านพักของสารวัดเดินรถ สารวัดรถจักร และอาณาบาลเขตในปัจจุบัน ก็ได้วางโครงการไว้เพื่อจัดเป็นบริเวณสำหรับก่อสร้างอาคารธุรกิจการค้าที่ทันสมัยต่อไปในอนาคต การรถไฟฯ ตระหนักว่า นอกจากมีหน้าที่จะต้องพัฒนาเสณษฐกิจและสังคม โยจะดบริการและอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างจังหวัด และเชื่อมต่อระหว่างภาคต่างๆ ของประเทศแล้ว ยังมีส่วนที่จะต้องเข้าไปประสานงานพัฒนาด้านธุรกิจการค้าและสังคมของบริเวณท้องถิ่นที่สถานีตั้งอยู่อีกด้วย ทั้งมีเจตนาดีจะให้ความร่วมมือประสานงานด้วยดีในการพัฒนาท้องถิ่นแก่เทศบาลเมืองหาดใหญ่ และจังหวัดสงขลาต่อไป
บัดนี้ได้อุดมมงคลฤกษ์แล้ว ขอประทานกราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้โปรดกระทำพิธีเปิดอาคารสถานีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมหาดใหญ่ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่การรถไฟฯ และเป็นศิริมงคลแก่อาคารสถานีรถไฟ และย่านชุมทางรถไฟที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ได้เป็นสาธารณสถานที่อำนวยบริการ และให้ความสะดวกแก่ทางราชการ บรรดาพ่อค้า ประชาชน ทั้งในด้านการโดยสารและการขนส่งสินค้า และด้านอื่นๆ อย่างกว้างขวาง มั่นคงสถาพรสืบต่อไปชั่วกาลนาน
..................................
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 21/07/2013 1:45 pm Post subject:
คำกล่าวของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เนื่องในพิธีเปิดอาคารสถานีและโรงแรมหาดใหญ่
วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๑
....................................
ท่านผู้ว่าการรถไฟ , ท่านผู้มีเกียรติ และผู้ปฏิบัติงานรถไฟทั้งหลาย
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาประกอบพิธีเปิดอาคารสถานีรถไฟและโรงแรมหาดใหญ่ในวันนี้ และมีความยินดียิ่งขึ้น ที่ได้เห็นอาคารแห่งนี้สวยงามเป็นสง่า เจริญตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาในเส้นทางสายใต้ ตามที่ท่านผู้ว่าการรถไฟฯ รายงานว่า อาคารแห่งนี้นอกจากจะเป็นที่ทำการเกี่ยวกับกิจการโดยสาร รวมทั้งบริการที่จะอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารแล้ว ยังได้รวมที่ทำการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและกิจการโรงแรมไว้ด้วย จึงเป็นที่เชื่อมั่นว่า อาคารสถานีและโรงแรมแห่งนี้ จะเป็นประโยชน์และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่พ่อค้าประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม โดยฌพาะหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญของภาคใต้และในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการเดินรถร่วมเข้าไปยังประเทศมาเลเซียด้วย จึงย่อมมีพ่อค้าประชาชนและนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและต่างประเทศผ่านไปมาในเส้นทางสายนี้มากขึ้น สถานีหาดใหญ่ก็ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นด้วย การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดสร้างสถานีและโรงแรมที่ทันสมัยเช่นนี้ ย่อมชักจูงให้มีการทัศนาจรเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟแล้ว ยังช่วยให้ท้องถิ่นนี้เจริญก้าวหน้า นับเป็นการช่วยพัฒนาจังหวัดภาคใต้อีกส่วนหนึ่งด้วย
ผลสำเร็จในการก่อสร้างอาคารสถานี ซึ่งรวมกิจการโรงแรมไว้ด้วยนี้ นับเป็นความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนากิจการรถไฟให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และความเพียรพยายามที่จะให้บริหารความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารอยางดีที่สุด เป็นความพยายามที่สอดคล้องกับนโยบายของการรถไฟฯ อยู่แล้ว จึงเป็นที่หวังได้ว่าการโดยสารตลอดกิจการโรงแรมที่อาคารแห่งนี้ จะมีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่พอใจของผู้ใช้บริการทั่วกัน อันจะเป็นผลให้รายได้ของการรถไฟฯ ทวีขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อท่านผู้ว่าการรถไฟฯ และผู้ปฏิบัติงานรถไฟทุกท่าน ที่ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่การรถไฟฯ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดอาคารสถานีรถไฟและโรงแรมหาดใหญ่ เพื่อดำเนินกิจการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับขอตั้งสัตยาธิษฐานอัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้อาคารสถานีรถไฟและโรงแรมแห่งนี้ สถิตสถาพรอยู่เพื่อรับใช้ราชการและประชาชนสืบไป
.........................................
Translation
Speech of H.E the Minister of Communications
On the Occasion of the Opening Caremony of the
New Railway Station and Hotel at Haad Yai
On Thursday 9th May 1968
.
General Manager of the State Railway of Thailand,
Distinguised Guests and Railway officials
It is indeed a great honour for me in having the opportunity of performing the opening ceremony of the new Railway Station and Hotel today. I am particularly happy to note that the railway Admistration has added to its assets an attractive and imposing building for rail users on the Southern line. As stated by the General Manager that apart from having ample space in this building for station services and passenger amenities, it was also designed to provide space for railway hotel and railway district office as well. It goes without saying that this new Railway Station and Hotel will undoubtedly serve to improve facilities for business men and travelling public. Haad Yai, being the most important railway Junction in the Southern region, it had grown up as an important focal centre in coping with the increasing number of Thai and foreign travelers and tourists especially with the present trend of intensive activities on joint railway working with Malaysia. The construction of this modern Railway Station and Hotel would induce a bigger number of tourist traffic to Thailand which, apart from yielding direct railway gain, would also assist to the further development of local as well as the Southern regionern area.The achievement is having the Railway Station and Hotel ready for service is another step forward in the modernisation of railway services inasmuch as attemped in other countries. The untiring effort to improve amenities and factilities for railway users is an admirable imprementation of railway policy. It therefore, could be hoped that such modern passenger amenities and hotel facilities would meet with railway users approval resulting in eventual railway revenue increase.
I take this opportunity in offering my sincere congratulations to the General Manager and all railway officials. Who participated in effectuating another step of progress to the State Railway of Thailand.
I shall now officially declare the opening of the Haad Yai Railway Station and Hotel for public service intended by the State Railway of Thailand from the very instant of this auspicious moment inasmuch as it is my ardent wish that the Three Precious Gems and all Sacres Beings in the whole universe might preserve this Railway Station and Hotel in days to come to be the public facility centre for railway transportation service.
.
Back to top
Dahlia
1st Class Pass (Air) Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
Posted: 21/07/2013 2:55 pm Post subject:
ขอบคุณพี่ตึ๋งสำหรับสาระความรู้มากๆเลยครับ
บอกตรงๆว่าผมเองเพิ่งทราบเหมือนกันว่าอาคารสถานีเคยเป็นโรงแรมด้วย..
ขออนุญาตแนบเพลงฟังประกอบกระทู้ครับ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 21/07/2013 6:13 pm Post subject:
ขอขอบคุณพี่ตึ๋งและป๋าณัฐมากครับสำหรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
black_express wrote: ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2508 เป็นต้นมา จัดให้มีขบวน 247 / 248 เดินไปกลับระหว่างสถานีหาดใหญ่ สงขลา เพิ่มขึ้นอีก ในวันธรรมดา เดินไปกลับรวม 12 เที่ยว เฉพาะในวันหยุดราชการ เพิ่มขบวน 249 / 250 เดินไปกลับระหว่างสถานีหาดใหญ่ สงขลาอีก 2 เที่ยว รวมเป็น 14 เที่ยว
พี่ชายผมเล่าให้ฟังว่า วันแรกของการเปิดเดินรถ"commuter" และหยุดตามป้ายหยุดรถนี้ เปิดเดินรถฟรีครับ เด็ก ๆ ชอบมาก นั่งไปนั่งกลับไม่ยอมลงจากขบวนรถเลย
และแล้วปริศนาก็ไขได้แล้วครับ เรื่องขบวน 249/250 ในตั๋วบางของ อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ (ภาพถ่ายเอื้อเฟื้อโดย อ.วุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา) ว่ามีเดินจริงหรือ
เดินเฉพาะวันหยุดราชการนี่เอง
ตั๋วรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา
ตั๋วแข็ง ยุค ๒๔๘๕
ตั๋วบาง ยุค ๒๕๐๙-๒๕๑๐
Back to top