View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2013 6:23 pm Post subject: |
|
|
ย้อนรอย "คู่กรรม" ตามหาโกโบริที่ "สถานีรถไฟบางกอกน้อย"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
29 มีนาคม 2556 15:30 น.
ท่านสามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
เรื่องราวความรักของนายทหารหนุ่มแห่งกองทัพดินแดนอาทิตย์อุทัยกับสาวไทยฝั่งธนฯ แห่งคลองบางกอกน้อย จากนวนิยายเรื่อง คู่กรรม ของทมยันตี ถูกนำมาสร้างเรียกน้ำตาคนดูอีกครั้ง ทั้งในเวอร์ชั่นของโกโบริบี้ในจอแก้ว และโกโบริแบร์รี่ในจอเงิน
โกโบริบี้เรื่องราวกำลังสนุกเข้มข้นจนคนติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ส่วนโกโบริณเดชน์ก็ใกล้ลงโรงฉายเต็มทีและฉันเชื่อว่าสาวๆ จำนวนมากก็ตั้งตารอชมพร้อมควักตังค์ซื้อตั๋วกันแล้ว ฉันเองอาจจะ อิน กว่าคนอื่น เพราะพอได้เห็นกระแสคู่กรรมแล้วก็นึกอยากจะมาไว้อาลัยให้โกโบริและรำลึกความหลังสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาในสถานที่จริง วันนี้ก็เลยอยากพาทุกคนมาเยือน สถานีรถไฟบางกอกน้อย
ก่อนอื่นต้องเท้าความไปถึงตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้มีพระราชดำริให้ก่อตั้งกิจการรถไฟหลวงขึ้นในปี 2433 ด้วยสาเหตุทางความมั่นคงของประเทศ โดยเริ่มจากสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือก่อน แล้วจึงเริ่มสร้างทางรถไฟสายใต้
นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปี 2443 โดยตัวสถานีสร้างขึ้นบริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนจากชุมชนชาวมุสลิม โดยพระองค์ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงกันข้าม พร้อมกับสร้างมัสยิดอันซอริซซุนนะห์ (มัสยิดหลวง) ให้เพื่อเป็นการทดแทน
ทางรถไฟสายใต้ในขณะนั้นสร้างจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังเพชรบุรี รวมระยะทาง 150 กิโลเมตร โดยเปิดเดินรถเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2446 ถือเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ ผู้คนจากฝั่งพระนครที่ต้องการโดยสารรถไฟสายนี้จะต้องอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยามายังสถานี เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำ
ผู้คนในย่านคลองบางกอกน้อยอาศัยอยู่อย่างสงบใกล้กับสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้ราว 40 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประเทศไทยเองต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับสงครามครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ยกพลขึ้นบกบุกขึ้นฝั่งไทย บีบบังคับให้เราต้องยอมอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยเพื่อไปโจมตีพม่าและอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองในความควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร
บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยจึงกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการบัญชาการ การขนส่งเสบียงและยุทธปัจจัยขึ้นรถไฟไปยังสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อสร้างทางรถไฟต่อไปยังพม่า ดังนั้น ผู้คนในชุมชนย่านคลองบางกอกน้อยจึงได้รับผลกระทบจากสงครามในครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเกิดเป็นเรื่องราวหลากหลายระหว่างชาวบางกอกน้อยและทหารญี่ปุ่น ทั้งรักทั้งชัง ทั้งสนุกทั้งเศร้า หลายรสชาติอย่างที่ในนวนิยายถ่ายทอดออกมา
แต่เรื่องที่ทำให้คนบางกอกน้อยเดือดร้อนที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรวนเวียนมาทิ้งระเบิดแถวสถานีรถไฟบางกอกน้อยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ละครั้งก็สร้างความสูญเสียมากบ้างน้อยบ้างแก่ชาวบ้าน แต่วันที่รุนแรงที่สุดก็คือวันที่ 29 พ.ย. 2487 เมื่อฝ่ายทหารพันธมิตรส่งฝูงบิน B-29 เข้าโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย เนื่องจากทราบจากฝ่ายข่าวกรองมาว่า ในวันนั้นกองทัพญี่ปุ่นจะมีการขนส่งสัมภาระยุทธปัจจัยจำนวนมาก ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มการโจมตีตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 29 พ.ย. ไปจนรุ่งเช้า เล่ากันว่า ตอนเช้าหลังจากการทิ้งระเบิดในวันนั้นเงียบเหมือนป่าช้า ศพทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่อยู่เต็มริมคลอง จนสนามโรงเรียนสุวรรณารามยังไม่พอฝัง และพ่อดอกมะลิของเราก็คงเสียชีวิตจากแรงระเบิดในวันนั้นด้วยเช่นกัน
และสำหรับสถานีรถไฟบางกอกน้อยเองก็ถูกระเบิดทำลายจนแทบไม่เหลือซาก ดังนั้น เมื่อสงครามสงบ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการสร้างสถานีขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกน้อย โดยสร้างเป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อสถานีนี้ใหม่ว่า สถานีธนบุรี และเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่เมื่อปี 2493
หลังจากนั้นอีกราว 50 ปีต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อรถไฟสายใต้หลายขบวนได้เปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สถานีธนบุรีจึงไม่คึกคักเหมือนก่อน และในปี 2542 ได้มีโครงการปรับปรุงอาคารสถานีธนบุรีและพื้นที่โดยรอบ การรถไฟจึงสร้างสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาในบริเวณใกล้เคียงกันเพื่อใช้เป็นที่รับส่งผู้โดยสารทดแทนสถานีธนบุรี ตั้งชื่อว่าสถานีบางกอกน้อย (ปัจจุบันสถานีอยู่บริเวณหลังตลาดศาลาน้ำร้อน)
และในที่สุด การรถไฟก็ได้มอบที่ดินและตัวอาคารบริเวณสถานีธนบุรีที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 33 ไร่ ให้แก่โรงพยาบาลศิริราช และเปลี่ยนไปใช้สถานีรถไฟบางกอกน้อยที่สร้างขึ้นใหม่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีธนบุรี ซึ่งก็ยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีทั้งขบวนรถชานเมือง รถธรรมดา และรถเร็ว วิ่งขึ้นล่องไปยังสถานีศาลายา (นครปฐม) สถานีหลังสวน (ชุมพร) สถานีน้ำตก (กาญจนบุรี) สถานีนครปฐม สถานีราชบุรี
นอกจากนั้น ในบริเวณใกล้เคียงสถานีธนบุรียังเป็นที่ตั้งของ โรงรถจักรธนบุรี ซึ่งเป็นสถานีบำรุงรักษา-ซ่อมแซมรถจักรดีเซล และเป็นที่เก็บรักษารถจักรไอน้ำที่เหลืออยู่ของการรถไฟฯ ซึ่งได้นำมาวิ่งลากจูงขบวนรถพิเศษในโอกาสสำคัญๆ เช่น วันสถาปนากิจการรถไฟ วันปิยมหาราช วันพ่อแห่งชาติ อยู่เป็นประจำ
ส่วนสถานีธนบุรีหลังเดิมที่ยกให้โรงพยาบาลศิริราชไปนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โดยทางโรงพยาบาลได้ปรับปรุงและจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนวังหลัง-บางกอกน้อย และสิ่งแสดงทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์การแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช ขอบอกว่าน่าเข้าไปชมมาก ซึ่งหากฉันมีโอกาสจะพาไปชมกันอีกที หรือหากใครอยากลองไปดูก่อนก็ตามสะดวก ซึ่งถ้าใครไปชมภายในวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงแนะนำก็จะสามารถซื้อตั๋วในราคาพิเศษ คือผู้ใหญ่ 50 บาท (ปกติ 150 บาท) เด็ก 20 บาท (ปกติ 50 บาท) แต่ต้องรีบหน่อยเพราะเหลือเวลาแค่ 2 วันเท่านั้น
//--------------------------------------
"สถานีธนบุรี" ตั้งอยู่ที่ ถ.รถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ อยู่บริเวณด้านหลังตลาดศาลาน้ำร้อน ส่วน "สถานีบางกอกน้อย" (เดิม) ปัจจุบันเป็น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เปิดวันจันทร์-เสาร์ 09.00-16.00 น. ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 150 บาท (หากมาชมก่อนวันที่ 30 มี.ค. 56 เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 20/12/2013 9:52 pm Post subject: |
|
|
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ธันวาคม 2556 19:53 น.
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
อาคารอนุรักษ์สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)
ฉันว่าช่วงนี้ในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร อากาศเย็นสบายดีเป็นพิเศษมากกว่าในหลายๆ ปีที่ผ่านมา อากาศดีก็ทำให้อารมณ์ดี จะให้นั่งจับเจ่าอยู่บ้านก็กระไรอยู่ ว่าแล้วก็จัดแจงแต่งตัว ออกไปเที่ยวสนุกๆ แถมหาความรู้ไปในตัวกันดีกว่า
วันหยุดนี้ฉันก็เลยพาตัวเองมาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชเสียเลย แต่ไม่ต้องตกใจว่าป่วยเป็นอะไร เพราะฉันจะมาเดินเที่ยวที่โรงพยาบาลแห่งนี้เท่านั้น ซึ่งอย่างที่เคยรู้กันว่าภายในโรงพยาบาลศิริราชนี้ก็มีพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์เปิดให้ผู้คนเข้าไปหาความรู้อยู่หลายแห่ง และล่าสุดนี้ก็ได้มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ใหม่ ที่มีชื่อว่า พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน แบบนี้ฉันก็ต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปเยี่ยมชมเสียหน่อย
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
ห้องโถงบรรยากาศสถานีรถไฟ
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน สร้างขึ้นบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เดิมเคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราชจึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้เพื่อนำมาจัดแสดงในอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
ฉันเดินมาถึงพิพิธภัณฑ์ก็ต้องยืนชื่นชมความสวยงามของอาคารอนุรักษ์ที่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ สลับกับอิฐสีส้มแดง และด้านข้างยังมีหอนาฬิกาสูง ดูแล้วเป็นอาคารที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งใน กทม. เลยทีเดียว
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
ชมวิดีทัศน์เล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์
พอเดินเข้ามาด้านในก็จะเจอกับห้องจำหน่ายบัตร ที่ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้เหมือนกับสถานีรถไฟในสมัยก่อน ซึ่งก็เพื่อให้รำลึกถึงว่าสถานที่แห่งนี้คือสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายใต้
ซื้อตั๋วเข้าชมกันแล้ว เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ก็พาฉันเข้ามาสู่การจัดแสดงห้องแรกที่มีชื่อว่า ห้องศิริสารประพาส ที่ห้องนี้จะนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์โดยรวมผ่านวิดีทัศน์และสิ่งจัดแสดงต่างๆ ส่วนฉันก็นั่งดูอยู่ที่เก้าอี้ไม้สักทองแบบที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้มาก่อน
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
จิตรกรรมฝาผนังที่วิจิตรงดงาม
ส่วนจุดเริ่มต้นในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ ห้องศิริราชขัตติยพิมาน ซึ่งเป็นห้องฉันได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราช และการแพทย์ของประเทศไทย ทำให้พวกเราได้มีสุขภาพที่ดีกันเหมือนในทุกวันนี้
ถัดมาเป็น ห้องสถานพิมุขมงคลเขต ที่ฉันได้นั่งชมจิตรกรรมไทยที่สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่ผสมผสานแสงสีเสียงให้ได้ตื่นตาตื่นใจ และได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
ภาพยนตร์ 4 มิติ ตื่นตาตื่นใจ
สำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล ก็ไม่ได้มีแค่เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และเรื่องราวของชุมชนในละแวกนี้ ที่นำเสนอผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ เริ่มจาก ฐานป้อม ที่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงอดีตของพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ ก่อนที่จะผ่านความทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ใกล้ๆ กันก็มีการจัดแสดง เครื่องถ้วยโบราณ ที่ขุดค้นพบในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช
หรือจะเป็น แผนที่เมืองธนบุรี ซึ่งเป็นแผนที่จำลองมาจากของเก่าที่เขียนโดยชาวพม่าที่ลักลอบเข้ามาสืบความลับในสยาม มีการลงรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ และยังมีการเปรียบเทียบกับสถานที่ในปัจจุบัน ทำให้พอนึกออกว่าสมัยธนบุรีนั้นบ้านเมืองเราเป็นอย่างไรบ้าง
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
สัมผัสบรรยากาศห้องตรวจโรค
และห้องที่ฉันชอบที่สุดในส่วนของประวัติศาสตร์ก็คือ ห้องโบราณราชศัตรา ที่ห้องนี้จะจัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดและหลากหลายชาติพันธุ์ที่ทรงคุณค่า เพราะว่าเป็นของเก่าที่ได้รับมอบมาจากราชสกุลเสนีวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ข้างๆ ตู้จัดแสดงก็ยังมีวีดิทัศน์ที่บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการเก็บรักษาศาสตราวุธต่างๆ ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยในการรักษาของเก่าให้อยู่ในสภาพดีขนาดนี้ และแม้ว่าห้องนี้จะถ่ายรูปไม่ได้ แต่ฉันก็ได้เก็บเอาภาพความวิจิตรงดงามของศาสตราวุธทั้งหลายเอาไว้ในใจ
ห้องถัดไปเป็นห้องสุดท้ายของบริเวณชั้นล่าง ในอาคารพิพิธภัณฑ์ 1 นั่นก็คือ ห้องคมนาคมบรรหาร ที่มีภาพยนตร์สี่มิติให้ได้ชมกัน ฉันลองไปยืนในห้องแล้วก็ใส่แว่นตาสี่มิติพร้อมๆ กับชมภาพยนตร์ไป ก็รู้สึกเหมือนเข้าไปยืนอยู่ในเหตุการณ์จริงตั้งแต่ช่วงการสร้างสถานีแห่งนี้ เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องเอี้ยวตัวหลบลูกระเบิดไปด้วย จนกระทั่งมาถึงช่วงปัจจุบันของสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
ลองมาเป็นแพทย์ผ่าตัด
ขึ้นมาที่ชั้นสอง ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาทางด้านการแพทย์กันบ้าง อย่างห้องแรก งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากไม้ อาคารประกอบ และเครื่องเรือนจากงานพระเมรุครั้งนี้ ได้นำมาสร้าง โรงศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน
ห้องต่อมาเล่าเรื่องราวของโรงเรียนแพทย์ในยุคแรก ที่จะต้องเรียนรู้ผ่าน หุ่นกายวิภาคมนุษย์ ที่ทำมาจากเยื่อกระดาษ และยังเล่าเรื่องราวของพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ในห้อง สมเด็จพระบรมราชชนก
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
จำลองร้ายขายสมุนไพร
ถัดมา ฉันก็ได้เรียนรู้เรื่องราวทางด้านการแพทย์มากขึ้น ทั้งการตรวจโรคในเบื้องต้น การสืบค้น การวินิจฉัยและรักษาโรค ในห้อง หุ่นโรควิเคราะห์ ที่จัดแสดงให้เหมือนกับห้องตรวจโรคผู้ป่วย และได้ลองเป็นคุณหมอฟังเสียงปอด เสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์โรค
แต่ส่วนที่สำคัญของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องรู้จักดี ก็คือ อาจารย์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละร่างกายของตนเองให้ทำการศึกษา เพื่อผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพในอนาคต การจัดแสดงในส่วนนี้ใช้โต๊ะปฏิบัติการที่เคยรองรับอาจารย์ใหญ่มารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความขลังผ่านการจัดแสดงและการจัดแสงในส่วนนี้
มาถึงอีกห้องที่ฉันชอบมากก็คือ ห้องจำลองการผ่าตัด เป็นการจำลองการผ่าตัดแบบย้อนยุค ให้ได้รู้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ทำงานในห้องผ่าตัดมีใครบ้าง แล้วฉันก็ได้ลองมาเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่ง ลองจับเครื่องมือผ่าตัดให้คนไข้ (จำลอง) เป็นประสบการณ์สนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่ฉันได้ลอง
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
ชุมชนบางกอกน้อยในสมัยก่อน
นอกจากเรื่องราวของแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ก็ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยอีกด้วย โดยในห้อง มหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์ จะมาไขรหัสการแพทย์จากมุมมองของแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนที่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และยังมีการจำลอง ร้านโอสถวัฒนา ร้านยาสมุนไพรไทยมาให้ได้ชมกัน
เดินมาก็ตั้งนาน เพิ่งจะหมดบริเวณของอาคาร 1 ออกมาที่ระเบียงชั้น 2 ที่เชื่อมต่อกับอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ก็มีมุมร้านกาแฟให้นั่งพักผ่อนก่อนจะเดินต่อไปยังอาคาร 3 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชุมชนบางกอกน้อย
เริ่มจากการมาสักการะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถระที่ได้รับการเคารพศรัทธาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป แล้วก็มาลองชม วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย ที่มีการจำลองโรงละคร ร้านค้า ร้านอาหาร แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในสมัยก่อนว่าเป็นอยู่กันอย่างไร
เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ พพ.ศิริราชพิมุขสถาน
เรือโบราณลำใหญ่
สุดท้ายก็เดินมาชม เรือโบราณ ที่ขุดค้นพบในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือไม้โบราณขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 24 เมตร และถือว่าเป็นเรือไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเท่าที่เคยขุดค้นได้ เดินดูรอบๆ แล้วก็ต้องทึ่งในความสามารถของคนไทยเราที่สามารถต่อเรือลำใหญ่ได้ขนาดนี้
กว่าจะเดินชมจนครบทุกห้องที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์นี้ ก็ต้องใช้เวลาเกือบหมดวันเลยทีเดียว แต่ก็ได้ความรู้พร้อมๆ กับความสนุกสนาน ที่ทำให้เพลิดเพลินจนลืมเวลาไปเลย สถานที่ดีๆ แบบนี้ มาแล้วก็ต้องบอกต่อให้คนอื่นลองมาชมด้วย จะได้มีความรู้และสนุกสนานเหมือนกันฉัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. เปิดให้บริการวันจันทร์, พุธ-อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00-17.00 น. ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 25 บาท ต่างชาติ 200 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. เข้าฟรี
นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานแล้ว ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์การแพทย์อีก 5 แห่ง ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ในวันและเวลาเดียวกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน และ พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
ซึ่งหากสนใจเข้าชมทั้งพิพิธภัณฑ์ศิริรราชพิมุขสถาน และพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช สามารถซื้อบัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ได้ในราคาพิเศษ ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 50 บาท ต่างชาติ 300 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม.
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2419-2601, 0-2419-2618-9
//---------------------------------------------------------------
ท่าจะต้องไปสักคราวหนึ่งหละ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/12/2013 9:16 am Post subject: |
|
|
พิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ศิริราช (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์) เคยไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยนั้นยังเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันธรรมดาครับ เสาร์-อาทิตย์ปิด แต่ตอนนี้คงเปิดวันเสาร์แล้ว
บรรยากาศอาคารเรือนไม้ มีศพดองน้ำยาตั้งแสดงไว้ ทำให้นึกถึงเรื่อง ตึกกรอสส์ ของ อ.อุดากรครับ
ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ยังไม่เคยไปเลยครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 17/05/2019 12:56 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | พิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ศิริราช (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์) เคยไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยนั้นยังเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันธรรมดาครับ เสาร์-อาทิตย์ปิด แต่ตอนนี้คงเปิดวันเสาร์แล้ว
บรรยากาศอาคารเรือนไม้ มีศพดองน้ำยาตั้งแสดงไว้ ทำให้นึกถึงเรื่อง ตึกกรอสส์ ของ อ.อุดากรครับ
ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ยังไม่เคยไปเลยครับ |
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน นั้นผมพาเพื่อน จาก สิงคโปร์ที่ เป็น railfan มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ที่ว่านี้ครับ
//--------------------
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพลิดเพลินย้อนยุควังหลัง สู่เส้นทางการแพทย์
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 12 ส.ค. 2559 17:09
ปรับปรุง: 15 ส.ค. 2559 14:52
ในวันหยุดแบบนี้ จะให้นอนอยูบ้านก็คงไม่ใช่ฉันสักเท่าไร จึงขอหาที่เที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้ไปเยี่ยมชมแถวโรงพยาบาลศิริราชกันหน่อย ซึ่งอย่างที่รู้ว่าภายในโรงพยาบาลศิริราชนั้น มักจะมีพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์เปิดให้ผู้คนเข้าไปหาความรู้อยู่หลายแห่ง แต่วันนี้จะพาไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์ที่มีทั้งเรื่องการแพทย์และถิ่นฐานดั้งเดิมของที่นี่ อย่าง พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน นอกจากเรื่องเล่าขานแล้วที่นี่ยังเต็มไปด้วยความสนุกน่าตื่นเต้นอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน สร้างขึ้นบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เดิมเคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราชจึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้เพื่อนำมาจัดแสดงในอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
พอเดินเข้ามาด้านในก็จะเจอกับห้องจำหน่ายบัตร ที่ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้เหมือนกับสถานีรถไฟในสมัยก่อน ซึ่งก็เพื่อให้รำลึกถึงว่าสถานที่แห่งนี้คือสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายใต้ ซื้อตั๋วเข้าชมกันแล้ว เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ก็พาฉันเข้ามาสู่การจัดแสดงห้องแรกที่มีชื่อว่า ห้องศิริสารประพาส ห้องนี้จะนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์โดยรวมผ่านวีดิทัศน์และสิ่งจัดแสดงต่างๆ ส่วนฉันก็นั่งดูอยู่ที่เก้าอี้ไม้สักทองแบบที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้มาก่อน
ส่วนจุดเริ่มต้นในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ ห้องศิริราชขัตติยพิมาน ซึ่งเป็นห้องที่ฉันได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราช และการแพทย์ของประเทศไทย ทำให้พวกเราได้มีสุขภาพที่ดีกันเหมือนในทุกวันนี้
ถัดมาเป็น ห้องสถานพิมุขมงคลเขต ที่ฉันได้นั่งชมจิตรกรรมไทยที่สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่ผสมผสานแสงสีเสียงให้ได้ตื่นตาตื่นใจ และได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย
สำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล ก็ไม่ได้มีแค่เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และเรื่องราวของชุมชนในละแวกนี้ ที่นำเสนอผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ เริ่มจาก ฐานป้อม ที่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงอดีตของพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ ก่อนที่จะผ่านความทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ใกล้ๆ กันก็มีการจัดแสดง เครื่องถ้วยโบราณ ที่ขุดค้นพบในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช หรือจะเป็น แผนที่เมืองธนบุรี ซึ่งเป็นแผนที่จำลองมาจากของเก่าที่เขียนโดยชาวพม่าที่ลักลอบเข้ามาสืบความลับในสยาม มีการลงรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ และยังมีการเปรียบเทียบกับสถานที่ในปัจจุบัน ทำให้พอนึกออกว่าสมัยธนบุรีนั้นบ้านเมืองเราเป็นอย่างไรบ้าง
และห้องที่ฉันชอบที่สุดในส่วนของประวัติศาสตร์ก็คือ ห้องโบราณราชศัตรา ที่ห้องนี้จะจัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดและหลากหลายชาติพันธุ์ที่ทรงคุณค่า เพราะว่าเป็นของเก่าที่ได้รับมอบมาจากราชสกุลเสนีวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ข้างๆ ตู้จัดแสดงก็ยังมีวีดิทัศน์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการเก็บรักษาศาสตราวุธต่างๆ ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยในการรักษาของเก่าให้อยู่ในสภาพดีขนาดนี้ และแม้ว่าห้องนี้จะถ่ายรูปไม่ได้ แต่ฉันก็ได้เก็บเอาภาพความวิจิตรงดงามของศาสตราวุธทั้งหลายไว้ในใจ
ห้องถัดไปเป็นห้องสุดท้ายของบริเวณชั้นล่าง ในอาคารพิพิธภัณฑ์ 1 นั่นก็คือ ห้องคมนาคมบรรหาร ที่มีภาพยนตร์ 4 มิติให้ได้ชมกัน ฉันลองไปยืนในห้องแล้วก็ใส่แว่นตา 4 มิติพร้อมๆ กับชมภาพยนตร์ไป ก็รู้สึกเหมือนเข้าไปยืนอยู่ในเหตุการณ์จริงตั้งแต่ช่วงการสร้างสถานีแห่งนี้ เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องเอี้ยวตัวหลบลูกระเบิดไปด้วย จนกระทั่งมาถึงช่วงปัจจุบันของสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) นอกจากนั้นภายในห้องยังมี รางรถไฟ ซึ่งเป็นรางรถไฟจริงๆ ในสมัยนั้นให้ได้ชมกันด้วย
ขึ้นมาที่ชั้นสอง ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาทางด้านการแพทย์กันบ้าง อย่างห้องแรก งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากไม้ อาคารประกอบ และเครื่องเรือนจากงานพระเมรุครั้งนี้ ได้นำมาสร้าง โรงศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน
ห้องต่อมาเล่าเรื่องราวของโรงเรียนแพทย์ในยุคแรก ที่จะต้องเรียนรู้ผ่าน หุ่นกายวิภาคมนุษย์ ที่ทำมาจากเยื่อกระดาษ และยังเล่าเรื่องราวของพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ในห้อง สมเด็จพระบรมราชชนก
ถัดมา ฉันก็ได้เรียนรู้เรื่องราวทางด้านการแพทย์มากขึ้น ทั้งการตรวจโรคในเบื้องต้น การสืบค้น การวินิจฉัยและรักษาโรค ในห้อง หุ่นโรควิเคราะห์ ที่จัดแสดงให้เหมือนกับห้องตรวจโรคผู้ป่วย และได้ลองเป็นคุณหมอฟังเสียงปอด เสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์โรค แต่ส่วนที่สำคัญของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องรู้จักดี ก็คือ อาจารย์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละร่างกายของตนเองให้ทำการศึกษา เพื่อผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพในอนาคต การจัดแสดงในส่วนนี้ใช้โต๊ะปฏิบัติการที่เคยรองรับอาจารย์ใหญ่มารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความขลังผ่านการจัดแสดงและการจัดแสงในส่วนนี้
มาถึงอีกห้องที่ฉันชอบมากก็คือ ห้องจำลองการผ่าตัด เป็นการจำลองการผ่าตัดแบบย้อนยุค ให้ได้รู้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ทำงานในห้องผ่าตัดมีใครบ้าง แล้วฉันก็ได้ลองมาเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่ง ลองจับเครื่องมือผ่าตัดให้คนไข้ (จำลอง) เป็นประสบการณ์สนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่ฉันได้ลอง
นอกจากเรื่องราวของแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ก็ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยอีกด้วย โดยในห้อง มหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์ จะมาไขรหัสการแพทย์จากมุมมองของแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนไทยที่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และยังมีการจำลอง ร้านโอสถวัฒนา ร้านยาสมุนไพรไทยมาให้ได้ชมกัน
เดินมาก็ตั้งนาน เพิ่งจะหมดบริเวณของอาคาร 1 ออกมาที่ระเบียงชั้น 2 ที่เชื่อมต่อกับอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ก็มีมุมร้านกาแฟให้นั่งพักผ่อนก่อนจะเดินต่อไปยังอาคาร 3 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชุมชนบางกอกน้อย เริ่มจากการมาสักการะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถระที่ได้รับการเคารพศรัทธาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป แล้วก็มาลองชม วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย ที่มีการจำลองโรงละคร ร้านค้า ร้านอาหาร แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในสมัยก่อนว่าเป็นอยู่กันอย่างไร
สุดท้ายก็เดินมาชม เรือโบราณ ที่ขุดค้นพบในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือไม้โบราณขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 24 เมตร และถือว่าเป็นเรือไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเท่าที่เคยขุดค้นได้ เดินดูรอบๆ แล้วก็ต้องทึ่งในความสามารถของคนไทยเราที่สามารถต่อเรือลำใหญ่ได้ขนาดนี้
ถือว่าเป็นการเดินชมที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างมาก นอกจากได้รู้เรื่องราวทางการแพทย์แล้วยังได้ทราบถึงวิถีชุมชนในย่านนี้อีกด้วย ถือว่าเป็นสถานที่ดีๆ ที่มาแล้วควรบอกต่อให้คนอื่นต้องมาเที่ยวสักครั้ง
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. เปิดให้บริการวันจันทร์, พุธ-อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 16.00 น.) ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 25 บาท ต่างชาติ 200 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. เข้าฟรี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2419-2601, 0-2419-2618-9 www.si.mahidol.ac.th/museums |
|
Back to top |
|
|
|