View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
therock
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/09/2007 Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย
|
Posted: 26/02/2010 7:50 pm Post subject: |
|
|
โครงการจะเชื่อมให้ทางฝั่งวงเวียนใหญ่ที่สถานีวัดสิงห์ไปบรรจบกับตลิ่งชันและสร้างสะพานข้ามฝั่งไปบ้านแหลม และสถานีแม่กลองไปออกแถวบ้านกล้วยรู้สึกจะประมาณตอนครบรอบ72 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการแต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆมีแต่การศึกษา
โครงการเอาไว้ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/07/2014 2:57 pm Post subject: |
|
|
ค้นพบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ครับ ตัวอักษรอ่านได้ชัดเจนอยู่บนก้อนหินใหญ่
Thai-Burma Railway Starting Station
泰緬鉄道起点駅
ภาพถ่ายเมื่อ 9 ก.ค. 57 ณ ชานชาลาสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
RORONOA
2nd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 09/07/2014 10:15 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ค้นพบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ครับ ตัวอักษรอ่านได้ชัดเจนอยู่บนก้อนหินใหญ่
Thai-Burma Railway Starting Station
泰緬鉄道起点駅
ภาพถ่ายเมื่อ 9 ก.ค. 57 ณ ชานชาลาสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก |
สถานีหนองปลาดุกมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายประวัติศาสตร์อันลือชื่อเสียทีนะครับ อยากให้มีมานานแล้ว ช่วงนี้สถานีรถไฟแถบนี้เริ่มมีการปรับปรุงอย่างจริงจังเสียที เปลี่ยนไปมากเลย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีครับ สถานีสวยงามขึ้น มีความสะดวกและจูงใจให้ผู้โดยสารไปใช้บริการมากขึ้น |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/07/2014 9:19 am Post subject: |
|
|
คลิปวิดีโอที่คุณวิศรุตนำมาให้ชมนั้น เป็นการเสวนาว่าด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า โดยเปรียบเทียบกับภาพยนตร์เรื่อง The Bridge on the River Kwai (1957) ซึ่งเป็นมุมมองในสายตาของชาวตะวันตก (คนผิวขาว) ซึ่งสร้างมาจากนิยายอีกที
โดยหาข้อเท็จจริงและเหตุผลมาหักล้างกับเรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์ครับ
สำหรับวันเดือนปีที่อยู่ในแผ่นหิน ระบุว่าวันเริ่มก่อสร้างคือวันที่ 16 กันยายน 1942 นั้น ถือเอาตามวันที่มีการลงนามในข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟเชื่อมประเทศไทยกับประเทศพม่า ลงนามโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศไทย และ พลตรี Moriya Seiji ผู้แทนฝ่ายกองทัพบกญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ครับ
และในหนังสือ 泰緬鉄道 : 機密文書が明かすアジア太平洋戦争 โดย 吉川利治 (Taimen tetsudo: Kimitsu bunsho ga akasu Ajia Taiheiyo Senso โดย Toshiharu Yoshikawa)
ระบุว่าก่อนหน้านั้น ในวันที่ 5 กรกฎาคม 1942 ได้มีการตอกหลักจุดเริ่มต้นการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่าที่สถานีหนองปลาดุกครับ (ส่วนที่สถานีทันบิวซายัต ตอกหลักเริ่มต้นไปแล้วตั้งแต่ 28 มิถุนายน 1942)
แผ่นหินที่จัดสร้างขึ้น วางไว้ที่สถานีชุมทางหนองปลาดุกนี้ แม้เป็นของใหม่ แต่คงเป็นอนุสรณ์ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านเส้นทางสายนี้ได้ทราบข้อมูล หรือถ่ายภาพเป็นที่ระลึกนะครับคุณ RORONOA |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 09/12/2014 5:40 pm Post subject: |
|
|
ทางรถไฟสายมรณะ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
8 ธันวาคม 2557 19:45
ทางรถไฟสายไทย-พม่า ถือเป็นเส้นทางขนส่งสำคัญของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และจะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ หากญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะสงคราม แต่ในปัจจุบันทางรถไฟสายนี้เหลือเพียงชื่อ และคำบอกเล่าถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง นับแสนชีวิตต้องจากไปในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ติดตามรายงานจากคุณไกรโชติ พรหมมิ
Wisarut wrote: | หนองปลาดุก กม. 0 + 000 (64 + 046.55 กม.จากสถานีธนบุรี 80+096.55 กม.จากกรุงเทพ)
กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000
บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180
ลูกแก กม. 13 + 380
ท่าเรือน้อย กม. 25 + 890
ท่าม่วง กม. 36 + 900
เขาดิน กม. 43 + 154
กาญจนบุรี (ปากแพรก) กม. 50 + 320
สะพานท่ามะขามที่ กม. 56 + 255.1 ยาว 346.40 เมตร
เขาปูน กม. 57 + 545
วังลาน กม. 68 + 454
บ้านเก่า (บ้านเขา) กม. 87 + 904
ท่ากิเลน กม. 97 + 904
อ้ายหิต (อารูหิตา, ลุ่มสุ่ม) กม. 108 + 140
วังโพ กม. 114 + 040
วังใหญ่ กม. 124 + 850
ท่าเสา (น้ำตก) กม. 130 + 300
ท้องช้าง กม. 139 + 050
ถ้ำผี กม. 147 + 520 (สูงสุด)
หินตก กม. 155 + 030
กันนิ้ว กม. 161 + 400 (ช่องเขาขาด ช่องไฟนรก)
ไทรโยค กม. 167 + 660
กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720
ริ่นถิ่น กม. 180 + 530
กุยแซง กม. 190 + 480
หินดาด กม. 197 + 750
ปรังกะสี กม. 208 + 110
ท่าขนุน (ทองผาภูมิ) กม. 218 + 150
น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140
ท่ามะเยี่ยว (ท่ามะยอ) กม. 236 + 800
ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190
เกริงไกร กม. 250 + 130
กองโกยท่า (แก่งคอยท่า) กม. 262 + 580
ทิมองท่า กม. 273 + 060
นิเก (สังขละบุรี) กม. 281 + 880
ซองกะเลีย กม. 294 + 020
สะพานข้ามแม่น้ำซองกะเลีย กม. 294 + 418 ยาว 90 เมตร
จันการายา กม. 303 + 630 (ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)
อังกานัง กม. 310 + 630
เกียนโด กม. 319 + 880
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำเมกาซา กม. 319 + 798 ยาว 56 เมตร (ลำน้ำแม่กษัตริย์)
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำซามีที กม. 329 + 678 ยาว 75 เมตร
อาปาลอง กม. 332 + 090
สะพานข้ามแม่น้ำอาปาลอง กม. 333 + 258.20 เป็นสะพานคอนกรีตยาว 50 เมตร
อาปาไร กม. 337 + 250
เมซารี กม. 342 + 830
เมซารีบูน กม. 348 + 660
ลองชี กม. 353 + 770
ตังซึน กม. 357 + 600
ตังบายา กม. 361 + 900
อานากุย กม. 369 + 060
สะพานอานากุย กม. 369 + 839.5 ยาว 60 เมตร
เบกุตัง กม. 374 + 480
เรโบ กม. 384 + 590
กองโนกอย กม. 391 + 021
ราเบา กม. 396 + 300
เวกาเร กม. 406 + 390
ตังเบียวซายาใหม่ กม. 409 + 790
ตังเบียวซายา กม. 414 + 916 |
ผังย่านสถานีรถไฟบนเส้นทางสายมรณะดูที่นี่
http://www.jwrs.org/woodience/mm009/shindou.pdf |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 06/03/2015 1:09 pm Post subject: |
|
|
จาก ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา :มุมมองผานการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้
ของกองทัพญี่ปุ่น (Thais Way of Life during the Greater East Asia War :
From the Perspective of the Japanese Armys Control of Thailands Southern Railways) ทำให้ทราบว่า
กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาดําเนินการควบคุมทางรถไฟสายใต้ใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1. ลักษณะแรก การ จัดขบวนรถไฟพิเศษ เพื่อการขนส่งในราชการทหาร ของกองทัพญี่ปุ่นบนทางรถไฟสายใต้นับตั้งแต่สถานี ธนบุรี (บางกอกน้อย) จากกรุงเทพฯ ลงไปยัง นครปฐม ราชบุรีเพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช จนถึงสถานีปาดังเบซาร์ ในจังหวัดสงขลา ท้ังนี้
ภายหลังจากที่กองทัพ ญี่ปุ่นได้ยกกําลังทหารจากภาคใต้ของไทยบุกเข้า ยึดครองมลายูและสิงคโปร์ได้สําเร็จ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2485 และ 15 กุมภาพันธ์ 2485 ตามลําดับ แล้ว ทางรถไฟมลายูทั้งสายตะวันตกที่เป็นเส้นทาง เชื่อมระหว่างทางรถไฟสายใต้จากสถานีหาดใหญ่ไป
ยังปาดังเบซาร์ อลอร์สตาร์ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์และทางรถไฟสายตะวันออกที่เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีหาดใหญ่ไปยังสุไหงโกลก - ตุมปัต โกตาบารู สุไหงกุเซียล กัวลาลิปิส ต่างตกอยู่ ภายใต้การควบคุมและการบริหารจัดการของกองทัพ ญี่ปุ่นทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กองทัพจึงสามารถขนส่งกําลัง บํารุงให้กับแนวหน้าของทหารญี่ปุ่นผ่านทางรถไฟสาย ใตของไทยข้ามแดนไปยังมลายูได้โดยสะดวกตลอด เส้นทาง
ผลที่ตามมาก็คือ เกิดการขาดแคลนรถจักรและตู้ รถไฟเพื่อการขนส่งลําเลียงสินค้าที่จําเป็นสําหรับราษฎรในภาคใต้ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการนํารถจักรและตู้รถไฟไทยขนส่งทหารและเสบียงอาหารของ กองทัพญี่ปุ่นข้ามแดนจากจังหวัดสงขลาไปตกค้างอยู่ ในมลายูเป็นจํานวนมาก อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งช่วง ปลายสงครามในเดือนกันยายน 2487 กองทัพญี่ปุ่นยัง ได้เพิ่มขบวนรถไฟพิเศษเพื่อการขนส่งทางการทหาร บนทางรถไฟสายใต้อีก 1 ขบวน เป็นวันละ 3 ขบวน รวมทั้งเพิ่มรถพ่วงโดยใช้ตู้รถไฟไทยในการขนส่ง ระหว่างสถานีปาดังเบซาร์-หนองปลาดุก อีกวันละ 80ตู้และระหว่างสถานีปาดังเบซาร์-ชุมพร อีกวันละ 20 ตู้ (สจช.บก.สูงสุด 2.4.1.6/1 2484-2485)
จากสาเหตุ ของการเพิ่มจํานวนขบวนรถไฟและตู้รถไฟไทยในการ ขนส่งบนเส้นทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่น จํานวนมากมาย เช่นนี้ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาด แคลนตู้รถไฟในการขนส่งสินค้าที่จําเป็นสําหรับการ ดํารงชีวิตของราษฎรในท้องถิ่นภาคใต้ทั้งในส่วนของการขนส่งจากกรุงเทพฯ และการขนส่งระหว่างจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ด้วยกันเอง ซึ่งผลักดันให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ของจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้สูงกว่าทางส่วนกลาง ยิ่งนัก แถมการขาดแคลนข้าวเพราะ ทหารญี่ปุ่นกว้านซื้อไปเลี้ยงกองทัพและเอาไปขายในฝีางมลายูอีกด้วย
2. ส่วนลักษณะที่สอง การสร้างทางรถไฟทหาร สายใหม่เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิมไป ยังประเทศพม่า ถึง 2 เส้นทาง ได้แก่ ทางรถไฟทหาร สายแรกคือ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก - กาญจนบุรี - ทันบีอูซายัต (ทางรถไฟสายไทย-พม่า) เป็นทาง รถไฟที่ทหารรถไฟญี่ปุ่นสร้างเชื่อมต่อจากสถานี หนองปลาดุก ในจังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ไปยังเมืองทันบีอูซายัตในประเทศพม่า ตาม ข้อตกลง ไทย-ญี่ปุ่น เกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่าง ประเทศ ไทยกับพม่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2485
ส่วนทางรถไฟทหารสายที่สองคือ ทางรถไฟสาย ชุมพร-กระบุรี (ทางรถไฟสายคอคอดกระ) เป็นทาง รถไฟทหารสายใหม่ที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างเชื่อมต่อจาก สถานีชุมพรไปยังสถานีกระบุรีในจังหวัดระนอง และ ทําการขนส่งลงทางเรือไปยังวิคตอเรียพอยต์ (Victoria Point) ของพม่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างทาง รถไฟผ่านคอคอดกระ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2486
ทั้งนี้กองทัพญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ทางรถไฟสาย นี้เป็นเส้นทางขนส่งเสบียงอาหารให้กับกองทัพญี่ปุ่น ในพม่าเพื่อแบ่งเบาภาระการขนส่งของทางรถไฟสาย ไทย-พม่า ที่กําลังดําเนินการก่อสร้างอยู่ โดยทาง รถไฟสายไทย-พม่า และทางรถไฟสายคอคอดกระ สร้างเสร็จและเปิดใช้นับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2486 และวันที่ 25 ธันวาคม 2486 ตามลําดับ
http://www.journal.su.ac.th/index.php/suj/article/viewFile/165/187
Last edited by Wisarut on 21/09/2019 3:11 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
|