View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 19/07/2014 12:33 pm Post subject: |
|
|
วันนี้อ่านนิราศตามเสด็จ โดมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ในคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสราชนิเวศน์มฤคทายวัน ๒๔๖๗ ทำให้ทราบว่า
๒๒ เมษายน ๒๔๖๗เสด็จทางชลมารค จากท่าวาสุกรี ตอน ย่ำรุ่ง ผ่านคลองบางหลวงแล้วไปตามคลองภาษีเจริญ ถึงประตูน้ำกระทุ่มแบนต้องรอให้น้ำขึ้นจึงเปิดประตูน้ำให้เรือผ่านได้ มีการแย่งกันเข้าประตูน้ำ กว่าจะออกแม่น้ำท่าจีนได้ ก็ ๕ โมงเย็น ก่อน จะผ่านเข้าประตูน้ำดำเนินสะดวก ไปตามคลองดำเนิืนสะดวก กว่าจะถึงพลับพลาที่พักก็ ๕ ทุ่มเศษ เรื่อ ที่ผู้นิพนธ์นั่ง อาหหารหมด ต้องพึงข้าวแดงที่เหลือกินของทหารเรือ เลยค่อยยังชั่ว มีการฉายภาพยนตร์การซ้อมรบเสือป่า ด้วย
๒๓ เมษายน ๒๔๖๗เสด็จทางชลมารค ต่อไปจนถึงท่าน้ำ หน้าเมืองราชบุรีเพื่อประทับรถไฟพระที่นั่ง ถึงสถานีห้วยทรายเหนือ ตอน ทุ่มเศษ พระยาสุรพันธ์เสนี เทศาภิบาล มณฑลราชบุรี มอบพพระแสงราชศาสตราถวายในหลวง มีการสวดชยันโต ที่ สถานี จากนั้นจึงประทรับรถยนต์พระที่นั่ง ไปยัง ราชนิเวศน์มฤคทายวัน ระยะทาง ๓๕ เส้น จาก สถานีห้วยทรายเหนือ ก่อน ประทับ ณ พระที่นั่งสมุทรพิมาน -
ส่วนบรรดา ข้าราชบริพารไปพักที่ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ ที่ด้านเหนือเห็นหาดชะอำ ที่มีการปลุกเรือนพักรองรับนักท่องเที่ยว และ ด้านใต้เห็นหัวหิน มีลมพัดเรื่อยๆ ดีกว่าที่หาดเจ้าสำราญมาก --- บรรดาเสวกชั้นสูง จะยู่ที่ซึ่งรับลมก่อนใคร เป็นไปตามฐานานุรูป ที่สโมสรเสวกามาตย์นั้น มีโรงสโมสรมีที่กินนอน ราคาไม่แพง มีอาหารฝรั่ง โซดาน้ำแข็ง น้ำหวานเขียวแดง และ เหล้า ... มีโต๊ะบิลเลียด ลานเทนนิส และ ที่ตีกอล์ฟย่อมๆ ขนาด 18 หลุม พอให้สนุกกัน แม้ว่าบรรดา เสวกนั้นมีงานต้องรับใช้เบื้องพระยุคลบาทก็ตาม มีการเล่นไม้ตะพด ไม้แก้วกัน
ที่ ราชนิเวศน์มฤคทายวัน มีศาลเจ้าพระสมุทให้สักการะบูชาด้วย แถมบบรดาสาวชาวบ้านย่านห้วยทรายเหนือ ก็หาบขนมหาบน้ำมาขายให้บรรดาเสวก ด้วย
๑๑ พฤษภาคม ๒๔๖๗เสด็จทางรถไฟ เพื่อเป็นประธานในพิธีแรกนาขวัญ เสด็จกลับเมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๖๗
๑๗ พฤษภาคม ๒๔๖๗ ประกอบพระราชพิธีวิสาขบูชา ทรางพระสุหร่าย ทรงเจิม งานนี้ ชาวบ้านที่ห้วยทรายเหนือ ก็มาร่วมฟังพระธรรมเทศนา ประกอบพระราชพิธีวิสาขบูชา ด้วย มีจดุดอกไม้ไฟ แต่มาเสียหายก็เพราะฝนลงเม็1ดทำให้เห็นดอกไม้ไฟไม่งามเท่าที่ควร
๑๐ มิถุนายน ๒๔๖๗ มีการแสดงละครเรื่องพระร่วงในงานเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ซึ่งทำได้น่าดุน่าชมมาก เพราะ งานนี้คณะละคอนศรีอยุธยาของ ในหลวง แสดงละครเอง เล่นกันตอนกลางคืนมีไฟประกอบสว่างด้วย มีการเล่นพิณพาทย์ประกอบการเล่นละคอนด้วย
เสาร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๖๗ เสด็จหัวหิน ด้่วยรถยนต์พระที่นั่งตามถนนหมายเลข ๑๙ (ชะอำ - หัวหิน) มีพิธีต้อนรับที่สถานีหัวหิน ก่อน จะเสด็จประทับยังเรือนรับรอง ในกระมพระนเรศวรวรฤทธิ์ เสยพระกระยาหาร ในเรือนรับรอง ตอนบ่ายสองโมง ก่อนจะเสด็จไปยังโรงแรมรถไฟหัวหิน เพื่อเสวยพระสุธารสชา - โรงแรมรถไฟหัวหิน ในยุคเริ่มแรกก็น่าดูมากเพระามีห้องอาหาร ห้องบาร์ ห้องครัวที่ดูสะอาดน่าอุดหนุน ห้องนั่งเล่นมีหนังสืออ่าน ห้องบิลเลียด, ร้านตัดผมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มาพัก มีรถรับส่งระหว่างโรงแรมกะ สถานีหัวหิน - หรูปานนี้ ต้องมีเงินแยะจริงๆ จึงจะพักได้
หลังจากพักเสวยพระสุธารสชา แล้ว ในหลวงได้เสด็จไปยังสนามกอล์ฟที่กรมรถไฟสร้างขึ้นแถวเชิงผา ซึ่งได้เห็นวิวทะเลด้วย และ มีร้านขายน้ำหวาน วิสกี้ และเบียร์ ด้วย โดยเสีค่าผ่านประตู ๑ บาท (สมัยนี้คงต้อง ๘๐๐ บาท) เพื่อใช้บริการ โดยมีนายตรวจทางสายใต้ วายออน สมิธ รับเสด็จ และ ได้ถวายไม้กอล์ฟ เพือ ตีกอล์ฟ เพื่อ เป็นปฐมฤกษ์ ในการเปิดใช้งาน สนามกอลืฟกรมรถไฟหลวง วันนั้นเองที่ได้พระราชทานนาม สนามกอล์ฟแห่งนี้ ว่า "สนามกอล์ฟหลวงหัวหิน" และ ได้มีการถ่ายภาพยนตร์ การเสด็จเปิดสนามกอล์ฟหลวงหัวหินด้วย
จากนั้น จึงเสด็จกลับโดยรถรางที่ กรมรถไฟจัดถวาย ไปยังสถานีห้วยทรายเหนือ ในตอนค่ำได้เลื่อนยศพลโทเจ้าพระยารามราฆพ ขึ้นเป็นพลเอก และ มีการจัดเลี้ยงและฉายภาพยนตร์การเสด็จเปิดสนามกอล์ฟหลวงหัวหิน และ ภาพยนต์คาวบอยด้วย ซึ่งชาวบ้านย่านห้วยทรายเหนือ ก็พากันมาชมภาพยนตร์นี้ด้วย พอภาพยนตร์เลิกก็บ้านใครบ้านมัน หรือไม่ก็พักกะเพื่อนที่อยู่ใกล้ แต่ บางรายนอนตามร่มไม้แถวชายหาดห้วยทรายเหนือกันทั้งครอบครัวก็มี
๑๓ กรกฎาคม ๒๔๖๗ เสด็จกลับพระนคร มีการจอดเติมฟืนเติมน้ำที่สถานีราชบุรี และ เสวยพระกระยาหารที่ สถานีราชบุรีด้วย นอกจากนี้รถไฟพระที่นั่งได้จอดที่นครปฐมเพื่อสักการะบูชาพระปฐมเจดีย์ และ เทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีได้นำเครื่องว่างเช่น ขนม เงาะ สาลี่ และส้มโอ มาถวายในหลวง และ เผื่อแผ่มาถึงให้บรรดาเสวกได้รับประทานกันด้วย ถึงสถานีบางกอกน้อย มีการตั้งแถวรับเสด็จโดยบรรดาพระราชวงศ์ เสนาบดีและ บรรดาเสวก ทั้งหลาย ก่อนประทับเรือพระที่นั่งไปยังท่าวาสุกรี |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 11/06/2015 2:26 pm Post subject: |
|
|
อยากรู้เรื่องราวภาคใต้ปี 2458 กรุณาซื้อหาหนังสือ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี (สักขี คือ พระยาศรีวรวงษ์ (ม.ร.ว.จิตร สุทัศน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ที่พิมพ์ใหม่ หลังจากไม่ได้พิมพ์มาเกือบ 100 ปี แล้ว - ของดีอย่างนี้หายากนะ - มีเรื่องรถไฟด้วยครับ
https://www.facebook.com/pitsinee.sawkitty/posts/939363502794375 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 16/06/2015 1:26 pm Post subject: |
|
|
ซื้อมาแล้วเหมือนกันครับ ที่จริงผมมีฉบับเก่าอยู่ แต่กระดาษเริ่มจะหลุดออกจากเล่มแล้ว ซื้อใหม่พลิกอ่านสะดวกกว่า
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 16/06/2015 6:58 pm Post subject: |
|
|
งั้นได้เวลาที่ผมส่งเงินเข้าบัญชีแบงค์ไทยพาณิชย์ได้แล้วใช่ไหมครับ - ดูเหมือนว่าจะได้เวลาแล้วหละ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 16/06/2015 9:33 pm Post subject: |
|
|
ตอนนี้หอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน (หน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ปิดซ่อมครับ
ต้องติดต่อที่สำนักงานชั่วคราวตรงตึกชั้นเดียวยาว ๆ ด้านซ้ายมือของประตูเข้าอาคารหอสมุดแห่งชาตินะครับ
(เมื่อก่อนเป็นร้านหนังสือและขายอาหาร)
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 22/06/2015 1:11 am Post subject: |
|
|
เท่าที่เปิดอ่านดูก็สังเกตว่า เล่มที่เขามาจัดพิมพ์นั้น น่าจะเป็นเล่มในไมโครฟิล์มที่มีปัญหาการมัวตามการเสื่อมสภาพของฟิล์ม - ถ้าจะพิมพ์ครังต่อไปน่ากลัวต้องหาเล่มที่พิมพ์ครั้งแรกให้เจอเพื่อใช้การถ่ายรูปสแกน 600 DPI ขึ้นไป จัดพิมพ์รักษาต้นฉบับเอาไว้ครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/06/2015 1:08 pm Post subject: |
|
|
เปรียบเทียบฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง กับฉบับพิมพ์ครั้งนี้ครับ
ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
ฉบับพิมพ์ครั้งนี้
ภาพถ่ายในฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
ฉบับพิมพ์ครั้งนี้
น่าสังเกตว่าตัวอักษรของฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งคมชัดกว่า แต่ที่น่าประหลาดใจคือ ภาพประกอบ ของฉบับพิมพ์ครั้งนี้ มีมุมมองกว้างกว่าฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งเสียอีก สังเกตจากลูกเสือที่ยืนอยู่ด้านขวามือของภาพก็ได้ครับ พิมพ์ครั้งใหม่เห็นลูกเสือคนที่อยู่ริมเต็มตัว ขณะที่พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง เห็นลูกเสือคนที่อยู่ริมไม่เต็มตัว
ด้านซ้ายมือ ช่องบานประตูมองเห็น 8 ช่อง ขณะที่ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งเห็นเพียง 7 ช่องครับ
สำหรับฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งนี้ เล่มที่ผมมีอยู่ เจ้าของเดิมคือ รองอำมาตย์เอก หลวงผดุงนิคมเขต นายอำเภอมุกดาหาร --> ปลัดจังหวัดหนองคาย --> ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย อ่านประวัติย่อของท่านได้ที่นี่ครับ (ปีเกิดผิดแน่นอน)
http://www.mukdahanguide.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=11
ท่านได้หนังสือเล่มนี้มาเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2467 ครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 29/06/2015 9:56 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ซื้อมาแล้วเหมือนกันครับ ที่จริงผมมีฉบับเก่าอยู่ แต่กระดาษเริ่มจะหลุดออกจากเล่มแล้ว ซื้อใหม่พลิกอ่านสะดวกกว่า
|
นรา....ครบ 100
โดย : คมฉาน ตะวันฉาย
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 28 มิถุนายน 2558, 10:00
คัดลอก URL แบบย่อ ลดขนาดขนาดปรกติเพิ่มขนาด ขนาดตัวอักษร พิมพ์ข่าวนี้
ไปค้นหาอ่านประวัติเมืองนราธิวาสจึงได้ความกระจ่างมากมาย ว่าทำไมจึงเป็นชื่ออำเภอต่างๆ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ในปัจจุบัน
(ท่านผู้อ่านลองค้นหาอ่านในอินเตอร์เนตก็ได้) ที่แท้เป็นชื่อบรรดา 7 หัวเมือง ที่มีการจัดการปกครองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เจ็ดหัวเมืองที่ว่านี้ ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง โดยมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองหัวเมืองเหล่านี้ อยู่ในอาณัติของสงขลา พอมีการจัดการปกครองใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และให้ 7 หัวเมืองมาอยู่ในการปกครองของเทศาภิบาล เลยโปรดเกล้าฯให้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือแค่เพียง 4 หัวเมือง และให้ขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานีที่ตั้งขึ้นใหม่ คือ (1) เมืองปัตตานี โดยมี หนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี อยู่ในปกครอง (2) เมืองยะลา มีพื้นที่ของรามัน และเมืองยะลา (3) เมืองสายบุรี และ (4) เมืองระแงะ
ที่ตั้งตัวเมืองนราธิวาสเดี๋ยวนี้ แต่ก่อนเป็นชุมชนริมแม่น้ำบางนรา ชื่อบ้านมะนาลอ ก่อนนั้นขึ้นกับเมืองสายบุรี พอยุบเหลือ 4 เมือง เลยมาขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งในเอกสารว่าแต่ก่อนที่ว่าการเมืองระแงะ ตั้งอยู่ที่ตันหยงมัส ในปี พ.ศ.2450 จึงได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองระแงะ จากตำบลบ้านตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ อำเภอบางนรา ต่อมาได้ยกฐานะจากอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา ส่วนเมืองระแงะเดิมนั้นก็ให้เป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา ร่วมกับอำเภอบางนรา อำเภอสุไหงปาดี อำเภอโต๊ะโม๊ะ อำเภอตากใบ และอำเภอยี่งอ เป็นเมืองบางนรา (ต่อมาชื่ออำเภอเหล่านี้บางแห่งลดฐานะไปขึ้นกับอำเภอที่ตั้งใหม่ในปัจจุบัน)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อ 4 มิถุนายน 2458 โดยรถไฟจากบางกอกน้อยมาถึงหัวหิน แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชลงทางปักษ์ใต้ วันที่ 7-8 มิถุนายน 2458 เสด็จเยี่ยมเยือนราษฏรที่เมืองบางนรา ทั้งทรงพระราชทานพระแสงราชศัตราแก่เมืองบางนรา เพื่อเป็นที่หมายต่างพระองค์เหมือนประทับอยู่กับประชาชนชาวเมืองบางนราเสมอไป และได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นเมืองนราธิวาส นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปีนี้ นราธิวาสก็มีอายุครบ 100 ปีพอดี เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าฯจังหวัดนราธิวาส จึงเป็นแม่งานจัดเฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี ของนราธิวาสอย่างใหญ่โต
ผมไปนราธิวาสบ่อย เรียกว่าเกือบจะทุกปีก็ว่าได้ พอไปบ่อยเข้าก็คุ้นเคย และมีความรู้สึกเหมือนกับคนนราธิวาสที่อยู่ที่นั่นทุกเมื่อเชื่อวัน ว่ากรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่นั้นไม่น่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว ใครไม่เคยมานราธิวาสเลย ได้ฟังแต่ข่าวก็จะน่ากลัว ไม่อยากมา ถ้าได้มาครั้งแรกก็จะหวั่นใจอยู่บ้าง แต่ถ้ามาบ่อยแบบผมก็จะเฉยๆ เหมือนไปจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย เอาเป็นว่าช่วงสงกรานต์ในภูมิภาคอื่นๆ ยังน่ากลัวมากกว่า (น่ากลัวการเมาเหล้าเล่นสงกรานต์แล้วตีกัน)
เมืองนรานั้นเป็นเมืองเล็กๆ น่ารัก สงบ และร่มรื่น ถ้าได้มาเที่ยวแค่ในตัวเมืองจะเป็นบรรยากาศที่สบายๆ เพราะย่านที่เป็นชุมชนหลักๆ มีอยู่แค่สะพานข้ามแม่น้ำบางนราไปจนถึงหอนาฬิกา ระยะทางสักหนึ่งกิโลเมตรได้ แล้วจะมีถนนหลักๆ ในเมืองอยู่ 2 เส้น คือ ถนนภูผาภักดี ที่เลียบแม่น้ำบางนรา และ ถนนพิชิตมงคล ถนนสองเส้นนี้ขนานกันไป เมืองเล็กแค่นี้จะเดินเล่นก็ได้ หรือปั่นจักรยานเที่ยวก็สบายๆ เที่ยวเมืองนรา ไม่ต้องรีบร้อนครับ สบายๆ
ที่พักในตัวเมืองมีโรงแรมราคาถูกแต่ดี เงียบสงบ มีอยู่เยอะแยะราคาแค่ 350 บาท อยู่ริมแม่น้ำบางนราซะด้วย ผมพักมาแล้ว เช้าๆ ตื่นดูพระอาทิตย์โผล่ทักฟ้าได้สบายๆ แต่ดูเหมือนโรงแรมที่รับแขกบ้านแขกเมืองคือโรงแรมอิมพีเรียลที่อยู่ตรงข้ามตลาดสด
พูดถึงตลาดสด ท่านผู้อ่านมาที่นี่อย่าพลาดการมาดูวิถีชีวิต จะเห็นว่าวิถีไทยพุทธ-มุสลิมอยู่ร่วมกัน ทักทาย พูดคุยกันอย่างเป็นมิตร ความต่างของศาสนาไม่ใช่อุปสรรคของมิตรภาพ ตลาดสดจึงเป็นที่ที่ควรมาชมอย่างยิ่ง ที่นี่นอกจากผักผลไม้ที่มาจากสวนสดๆ แล้ว จะเห็นการห่อของด้วยวัสดุบ้านๆ ใบตอง ใบบัว และดูเหมือนว่าจะนิยมกันมาก มานรา ปลาไม่อด เพราะถ้าไปเห็นตลาดปลาในตลาดสดแล้วจะอยากซื้อไปทำกินเลยเพราะมันสดจากทะเล เขาไม่ให้เสียชื่อเมืองติดทะเล แล้วเดินเข้าไปให้ถึงข้างในตัวตลาดสด ไปแวะชิม นาซิดาแก ในร้านข้าวแกงในตลาดสด เป็นข้าวมันราดด้วยแกงกะทิ มีเนื้อปลาโอชิ้นหนาๆ กินแกล้มพริกใหญ่ อร่อยเด็ดจนไม่ง้ออาหารเช้าในโรงแรม แล้วตบท้ายด้วยโรตี-กาแฟ แค่นี้ก็ครบสูตรอาหารเช้าชาวนรา แล้วค่อยออกเที่ยวกัน
ที่แรกที่ผมว่าต้องไปดูให้ได้คือ บนสะพานปรีดานราทัศน์ที่อยู่หัวถนนพิชิตมงคล หรือจะเป็นสะพานวีระพัฒนาที่อยู่หัวถนนภูผาภักดีก็ได้ เพราะสะพานทั้งสองนี้จะทำให้เราเข้าใจและรักเมืองนรามากขึ้น สะพานทั้งสองจะทอดข้ามช่วงปลายของแม่น้ำบางนราที่ไหลออกทะเล และสองฝั่งแม่น้ำช่วงสองสะพานนี้ จะเป็นหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน ที่ใช้เรือกอแระเป็นพาหนะ พอเช้าเรือกอแระจะกลับจากทะเล เอาปลาขึ้นขายที่ตลาดสด(ปลาในตลาดจึงสดมาก) แล้วเรือก็จะจอดกันเรียงรายในแม่น้ำ เห็นมัสยิดเมืองนราเป็นฉากหลังอย่างลงตัวและสวยงาม เรียกว่ามาที่นี่อย่าพลาดการมาเก็บภาพช่วงเช้าๆ ที่สองสะพานนี้เด็ดขาด
อีกด้านของหัวสะพานทั้งสองคือย่านสวนสาธารณะและชายหาดนราทัศน์ ซึ่งเป็นหาดที่สวย สงบ และแนวสนเรียงราย ชาวบ้านเอาเสื่อ เอาอาหารมานั่งพักผ่อน เด็กๆ ลงเล่นน้ำ หรือมาวิ่งออกกำลังกาย ผมว่าเป็นสวนสาธารณะที่บรรยากาศเนี๊ยบที่สุด
เข้ามาในเมืองอย่าลืมแวะถ่ายตึกเก่าศิลปะแบบชิโนโปรตุกิส ริมถนนภูผาภักดี ที่เดี๋ยวนี้เขามาแปลงเป็นโรงแรมบ้าง หรือเป็นร้านอาหารที่น่านั่งน่านอนที่สุด แล้วอย่าลืมไปแวะดูวัดบางนรา วัดเก่าแก่กลางเมืองนราธิวาส ที่มีเสาไฟแบบโบราณแต่สวยงามและคลาสสิค ทั้งน่าจะเป็นเสาไฟที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ยังหลงเหลืออยู่ในวัดบางนรา แล้วเดี๋ยวนี้เขามีพระพิฆเนศองค์สีชมพูที่สวยงามเป็นที่สุด ภาพถ่ายไม่อาจงดงามเท่าที่ดวงตาเห็น ผมบอกได้แค่นี้ อยู่ติดกับศาลเจ้าเก่าแก่ของเมืองนรา โก้วเล่งจี่ ...เหล่านี้เดินเที่ยวได้หรือปั่นจักรยานเที่ยวก็เหมาะเพราะอยู่ในตัวเมือง
แต่ถ้าออกไปนอกเมืองอีกนิดก็จะมีพุทธสถานเขากง ที่มีพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล และชายหาดอุทยานฯอ่าวมะนาว-เขาตันหยงที่ยาวเหยียด รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่งบอกได้เลยว่านราธิวาสมีที่เที่ยวมากกว่าที่เราคิดไว้เยอะ สงสัยอะไรให้โทรไปถาม ททท.นราธิวาส 0 7352 2411, 0 7354 2345
เดี๋ยวนี้นราธิวาสไปง่ายมี 2 สายการบินให้บริการทั้งแอร์เอเชียและไทยสไมล์ นำพามาสู่นราธิวาสเพียงลัดนิ้วมือ เมื่อเครื่องบินจะลงจอดที่สนามบินบ้านทอน ให้มองลงมาจะเห็นชายหาดยาวเหยียดและเมืองที่ร่มรื่นที่อยู่ระหว่างแม่น้ำและทะเล
นราธิวาส...สวยงามตั้งแต่แรกเห็นจากบนฟ้า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 16/10/2019 7:52 pm Post subject: Re: การเสด็จประพาสทางรถไฟ สมัย ร. ๖ |
|
|
Wisarut wrote: | ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านเสด็จทางรถไฟตั้งแต่สมัยยังทรงเป็นยุพราช เท่าที่จำได้ก็มี
1) การเปิดทางรถไฟสาย คลองสาน - มหาชัย 29 ธันวาคม 2447
|
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-จุลศักราช-๑๒๖๕ ภาคผนวก ฎ การเปิดรถไฟสายท่าจีน
ด้วยรถไฟสายท่าจีน ซึ่งพระยาพิพัฒโกษา ๑ และมิสเตอร์อีเอ็มเกนช์ ๑ มิสเตอร์บีบีซีเกนช์ ๑ มิสเตอร์ซีเกรมเมอร์ ๑ หมอแอสดอยเซอร์ ๑ มิสเตอร์เอชแดมโฮม ๑ มิสเตอร์ซีเอสยอช ๑ มิสเตอร์เอซีไฮนซ์ ๑ มิสเตอร์เยแมคไค ๑ มิสเตอร์เยแมนอิแวน ๑ มิสเตอร์ซีแซนเดอร์เรโกฮี ๑ รวม ๑๑ นายด้วยกัน ขอพระบรมราชานุญาตตั้งเปนบริษัท มีนามว่า บริษัทท่าจีนเรลเวกัมปนีลิมิเต็ดทุนจำกัด สร้างทางรถไฟสายนี้ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว บริษัทได้จัดการสร้างทางรถไฟสายนี้สำเร็จแล้ว ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานเชิญเสด็จพระราชดำเนินประพาศทางรถไฟสายนี้เปนปฐม เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ศก ๑๒๓ แล้วกำหนดจะได้เปิดการเดินรถไฟให้มหาชนโดยสารไปมาตามประสงค์ ในวันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ บริษัทรถไฟสายนี้ได้จัดตั้งปรำดาดด้วยผ้าขาวผ้าแดง ที่สะพานน้ำสเตชั่น ตลอดไปจนถึงสเตชั่นซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลใต้ปากคลองสารเพื่อเปนการรับเสด็จเปนต้น
ครั้นถึงกำหนดที่จะเปิดการเดินรถไฟสายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงเปิดรถไฟในวันนี้เวลาเช้า ๒ โมงเศษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จโดยรถพระที่นั่งไปประทับเรือกลไฟพระที่นั่ง ที่ท่าราชวรดิฐล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยาเทียบที่ท่าสะพานน้ำสเตชั่นรถไฟใต้ปากคลองสาร เสด็จพระดำเนินขึ้นไปประทับที่สเตชั่น ในที่นี้มีพระบรมวงษานุวงษ์ข้าราชการและบริษัทที่สร้างทางรถไฟสายนี้ กับราชทูตต่างประเทศเฝ้าพร้อมกันแล้ว พระยาพิพัฒโกษาผู้เปนหัวหน้าของบริษัทได้กราบทูลรายงานการสร้างทางรถไฟสายนี้จนแล้วสำเร็จจบแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมีพระดำรัสตอบ และจะทรงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วได้ทรงตรึงตะปูที่รางรถไฟตรงที่ประทับเปนการสมมุติว่า เปนอันแล้วลำเร็จด้วยพระหัตถ์เสร็จแล้ว พระยาพิพัฒโกษาได้เชิญเสด็จเสวยเครื่องว่างที่ห้องสเตชั่นนั้น พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ข้าราชการและราชทูตต่างประเทศเสร็จแล้ว เวลาเช้า ๓ โมง ๘ นาที รถไฟใช้จักรลากรถพ่วง ซึ่งมีพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการและชาวต่างประเทศกับราษฎรซึ่งโดยสารไปด้วยนั้น ออกจากสเตชั่นไปยังท่าจีนและจะได้กลับมาเปนการสมมุติว่ารถไฟสายนี้เดินรับมหาชน โดยสารไปมาได้ตั้งแต่วันนี้เปนต้นไป แล้วสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จกลับเปนเสร็จการ
จาก : ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. ๑๒๐ หน้า ๗๓๙-๗๔๐
เดือนอ้าย จุลศักราช ๑๒๖๖
วันพฤหัสบดีแรมเจ็ดค่ำเดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๖๖
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (ปีที่ ๓๗)
เปนวันกำหนดเสด็จประพาศรถไฟสายท่าจีน
ในการที่พระยาพิพัฒโกษาเชิญเสด็จเปนปฐม รถไฟสายนี้โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาพิพัฒโกษาแลฝรั่งรวม ๑๑ นายด้วยกันตั้งเปนบริษัทมีนามว่า บริษัทท่าจีนเรลเวกัมปนีลิมิเตตทุนจำกัด สร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้นเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๑ (ปีที่ ๓๕)
เวลาเช้าเสด็จลงเรือที่ตำหนักแพ
ไปขึ้นสเตชั่นทรงรถไฟไประยะเดียวชั่วโมงเสศถึงเมืองสมุทสาครประทับที่ที่พักหน้าป้อมวิเชียรโชฎกเสวยกลางวันที่นั้นแล้ว เสด็จทอดพระเนตรในป้อมซึ่งปลูกที่ว่าการอยู่ในนั้น เวลาเย็นเสด็จทรงรถไฟกลับถึงสเตชั่นกรุงเทพ ฯ เวลาพลบทรงเรือพระที่นั่งมาขึ้นตำหนักแพแล้วเสด็จกลับสวนดุสิต
ได้มีพิธีเปิดเส้นทางช่วงคลองสาน - มหาชัย โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี ณ สถานีคลองสาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗)
https://www.facebook.com/photo/?fbid=278997738955556&set=a.251916121663718
Last edited by Wisarut on 19/08/2021 7:04 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44033
Location: NECTEC
|
Posted: 16/10/2019 8:16 pm Post subject: |
|
|
สำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่าวาสุกรี
วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๐
ถึง บุรฉัตร์ ทราบ
ตั้งแต่ฉันได้สนทนากับเธอเมื่อวันที่ ๗ มาแล้ว, ประกอบกับความสังเกตของฉันโองในราชการทั่วไป, รู้สึกว่าราชการกรมรถไฟเป็นราชการสำคัญและมีงานต้องทำมาก, เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก, และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกตั้งให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟ, .และอาจจะพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจจะยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว. เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้, ฉันจึ่งได้มารู้สึกว่า (๑) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว; จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี หรือ Permanent Job ทีเดียว; (๒) ฉันเห็นว่าเธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น, เพราะหาตัวแทนเธอไม่ได้!
เมื่อการเป็นเช่นนี้ ฉันจำเป็นต้องคำนึงถึงกำลังกายของเธอด้วย, เพราะถ้าเธอมีเหตุกำลังกายทรุดโทรมไปแม้แต่ชั่วคราวก็จะเป็นความลำบากมากมายเกินที่ฉันจะ Comtemplate ได้; จึงต้องขอบอกตามตรง-และเธอต้องอย่าเสียใจ-ว่าในเวลานี้เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป, จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ถึงแม้ใจเธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี, แต่กำลังกาย (Health) ของเธอจะไม่ทนไปได้. จริงอยู่ ฉันได้ ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า ยอมถวายชีวิต แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ - เพราะฉันรักเธอ - ว่าฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ! ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า.
เหตุฉนี้ฉันเห็นเป็นการจำเป็นที่เธอจะต้องยอม Give up ราชการแผนกจเรทัพบก, ซึ่งมีกิจต้องทำมาก จนเธอไม่มีเวลาที่จะดูแลได้พอ. การที่ฉันขอให้เธอย้ายจากตำแหน่งจเรทัพบกเช่นนี้, ฉันรู้สึกอยู่ดีว่าเธอเองคงจะรู้สึกเสียดายมาก, และฉันก็เสียดายเหมือนกัน; แต่เมื่อคำนึงดูโดยรอบตามที่ได้ชี้แจงมาแล้วนั้น, ฉันเห็นว่าจำเป็นต้องขอให้เธอใช้กำลังกายและกำลังสติปัญญาในทางรถไฟมากที่สุด, จึ่งต้องหาทางให้ Relief แก่เธอตามที่พอทำได้. ผู้ที่จะเป็นจเรทัพบกหาตัวแทนพอได้; แต่ผู้บัญชาการกรมรถไฟในเวลานี้เธอเป็นคน Indispensable แต่การที่เธอจะย้ายจากตำแหน่งจเรทัพบกแล้ว ก็คงจะยังต้องติดต่อกับทหารบกอยู่ต่อไปเหมือนกัน, เพราะทหารบกต้องการอาศรัยความรู้ของเธอในทางการทหารช่าง.
ฉันเขียนจดหมายนี้มาชี้แจงเป็นส่วนตัว เพื่อเธอจะได้ทราบความคิดของฉันโดยพิสดาร, และขอให้เข้าใจว่าที่คิดครั้งนี้ฉันได้ชั่งดูหนักเบาตลอดแล้ว.
(พระปรมาภิไธย) ราม |
|
Back to top |
|
|
|