RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13636827
ทั้งหมด:13948877
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 18/07/2011 11:23 am    Post subject: Reply with quote

headtrack wrote:

Click on the image for full size
Schematic หรือที่ทางเรานิยมเรียก Track Map บริเวณสามเหลี่ยม(ยมราช) น่ะครับ
สังเกตได้ว่า ที่สถานีกรุงเทพ เดิม (หัวลำโพง)
มีการสำรองชานชาลาสำหรบขบวนรถทางไกลด้วย ถึงเวลานั้นจริง น่าจะมีไว้สำหรับขบวนรถที่สำคัญๆ
ถ้าโดยทั่วไปก็ทำนองขบวน 1; 2; 35; 36; 37; 38; 69; 70 น่ะครับ
แต่งคงไม่ได้ใช้พื้นที่ชานชาลาเดิมเปนหลัก อาจสำรองไว้ฝั่งหนึ่ง...

...


แนวเส้นประคืออะไรครับคุณต้น
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2015 10:15 am    Post subject: Reply with quote

หมอชิต บางซื่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ แห่งอนาคต

พื้นที่บริเวณหมอชิต-จุตจักร กำลังจะกลายเป็น hub ในการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่กำลังจะมี New Developments ได้แก่ พื้นที่ขนาดใหญ่ของรฟท.ประมาณ 2,325 ไร่ ครอบคลุม สถานีกลางบางซื่อ สวนจตุจักร เซ็นทรัลลาดพร้าว และพื้นที่โดยรอบ รวมถึงสวนสาธารณะ 3 แห่ง คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนรถไฟ และสวนจตุจักร รวมเฉพาะสวนสาธารณะมีพื้นที่ 765 ไร่ โดยในส่วน Transportation Hub ที่รฟท.พัฒนาร่วมกับสนข. คาดว่าจะมีคนมาใช้บริการในปี 2560 ถึง 2.97แสนคน-เที่ยว/วัน และในปี 2562 จำนวน 3.83 แสนคน-เที่ยว/วัน

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่ แบ่งพื้นที่ตามโซน ดังนี้
1.พื้นที่ด้านระบบคมนาคมขนส่ง
1.1 สถานีกลางบางซื่อ (1,176 ไร่)
รฟท.ร่วมกับสนข.พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางระบบรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมืองแทนสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่สำคัญอื่น ในอนาคต

สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 1,176 ไร่ ไม่รวมพื้นที่ขนส่งหมอชิต 2 ที่ประกอบด้วย พื้นที่กิจกรรมที่ ร.ฟ.ท.ใช้อยู่เดิม 685 ไร่ และนำมาใช้ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อจำนวน 487 ไร่ ใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท มีพื้นที่ใช้สอย 4 ชั้น และวางแผนให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งมวลชนระบบราง และเชื่อมโยงกับขนส่งมวลชนต่างๆ ที่สำคัญและโดยรอบสถานีมีการใช้ประโยชน์พื้นที่หลากหลาย ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า แสนล้านบาท วางแผนให้เอกชนร่วมลงทุนระยะยาว 30-40-50 ปี อยู่ที่ข้อตกลง


สถานีกลางบางซื่อจะมีรถไฟฟ้าเข้ามา ดังนี้
- สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน, Airport Link บางซื่อ-พญาไท
- สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
- และรถไฟฟ้าความเร็วสูง
นอกจากนั้นยังมีรถไฟจากต่างจังหวัดในทุกทิศ เป็นรถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟทางไกล

1.2 ทางเชื่อม+พลาซ่าใต้ดิน+BRT (127.5 ไร่)
มีการออกแบบทางเชื่อมด้วยทางเท้าใต้ดิน ทั้งนี้ในระยะแรกได้ออกแบบการเชื่อมต่อ 3 สถานี คือ


- สถานีกลางบางซื่อ
- รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีกำแพงเพชร
- รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีจตุจักรซึ่งเป็นจุดเดียวกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต
โดยระยะห่างระหว่างสถานีอยู่ที่ 50 เมตร – 1.5 กม. รวมพื้นที่127.5 ไร่ ทั้งนี้รูปแบบของศูนย์จะเป็นโครงสร้างใต้ดิน มีทั้งหมด 3 ชั้น
- ชั้นที่ 1 สร้างเป็นชอปปิ้งมอลล์
- ชั้นที่ 2 เป็นเอนเตอร์เทนเมนท์
- ชั้นที่ 3 เป็นที่จอดรถใต้ดิน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นลักษณะเดียวกับประเทศเปรูและญี่ปุ่น ที่ทำการเชื่อมโยงการเดินเท้าของประชาชนไว้ใต้ดิน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการ สำหรับระยะแรกจะเป็นการสร้างทางเดินเท้าก่อน เนื่องจากลงทุนต่ำ และสร้างรายได้จากการเช่าพื้นที่ได้ ส่วนระยะต่อไปก็สร้างระบบขนส่งมวลชน ขนาดรองทั้งรถราง รถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรล รถไฟฟ้าล้อยาง หรือรถด่วนบีอาร์ที ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาว่าจะเลือกรูปแบบใด โดยจะให้เอกชนมาลงทุน 30 ปี


ค่าก่อสร้างอุโมงค์ทางเดิน วงเงิน 55,000 ล้านบาท ล่าสุดกำลังจะส่งผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และปีྲྀ สนข.จะออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปี 2559 ใช้เวลา 3 ปี จะทันกับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงพอดี

สำหรับพื้นที่ส่วนพลาซา มีพื้นที่ 127.5 ไร่ ประกอบด้วย
1.พื้นที่สวนสาธารณะและมีอาคารพาณิชยกรรมขนาดเล็กอยู่รอบนอก ขนาด 204,000 ตารางเมตร และ
2.พื้นที่พัฒนาใต้ดินเป็นทางเดินเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ-สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสที่หมอชิต 63.6 ไร่ มีพื้นที่เช่า 118,102.5 ตารางเมตร จะแบ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็น 9 โซน โดยรายได้จะแบ่งบางส่วนให้ ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของที่ดิน คาดว่าจะมีรายได้ตลอดสัญญาเช่า 30 ปี และรายได้อื่น ๆ จำนวน 487,830 ล้านบาท


BRT (10.3 กม.)
สนข.ได้เลือก “ระบบบีอาร์ที” เป็นโครงข่ายเชื่อมการเดินทางภายในย่านพหลโยธิน ระยะทางรวม 10.3 กิโลเมตร เงินลงทุน 8,297 ล้านบาท


แนวเส้นทางวิ่งเป็นวงกลม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีจตุจักร ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว อาคารเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ โครงการพัฒนาย่าน กม.11 มาสิ้นสุดที่สถานีจตุจักรของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)


รูปแบบก่อสร้างจะเป็นโครงสร้างยกระดับ 3.14 กิโลเมตร วิ่งรอบสถานีกลางบางซื่อ จอดป้าย 2 สถานี คือ สถานีที่ 1-2 จากนั้นลัดเลาะมาตามแนวรถไฟสายสีแดง แล้วยกข้ามทางด่วนและสวนจตุจักร ไล่มาจนถึงรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต จะเป็นจุดที่ตั้งของสถานีที่ 3-4 และตั้งแต่สถานีที่ 5-13 จะวิ่งอยู่ระดับดิน ระยะทาง 7.16 กิโลเมตร


ขณะที่การพัฒนาแบ่งเป็น 2 เฟส ระยะแรกเริ่มต้นสถานีกลางบางซื่อ-ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว มี 6 สถานี จะเริ่มปี 2560 มูลค่าลงทุน 3,793.6 ล้านบาท ส่วนสถานีที่ 7-13 เริ่มจากเซ็นทรัล ลาดพร้าว-สถานีกลางบางซื่อ ให้พัฒนาเป็นเฟสที่ 2 เริ่มปี 2565 เงินลงทุน 4,504.8 ล้านบาท
1.3 โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก
ด่านขึ้น-ลงกำแพงเพชรเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชในปัจจุบัน ตอนนี้อยู่ในระหว่างหารือกับ ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) งบประมาณ 70 ลบ.


ในส่วนของทางด่วน คืบหน้าแล้ว 33% พร้อมเปิดปลายปี 2559 เป็นทางยกระดับ 6 จราจร เริ่มจากถนนกาญจนาภิเษก ขนานรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ยาว 16.7 กม.

2.พื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2.1 ศูนย์พลังงานแห่งชาติ
อาทิ กระทรวงพลังงาน, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), Energy Complex - คณะกรรมการการรถไฟฯ มีมติเห็นชอบผลการเจรจาระหว่าง ร.ฟ.ท.กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อ 27 มกราคม 2558 ว่าจะต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณนิคมรถไฟ กม.11 ติดกับถนนวิภาวดีรังสิต จำนวน 22 ไร่เศษ ให้กับ ปตท.ออกไปอีก 30 ปี โดยทาง ปตท.จะเป็นผู้จ่ายเงินค่าเช่าที่ดินให้กับ ร.ฟ.ท. เป็นเงินสดจำนวน 800 ล้านบาท และอยากให้รวม 154 ล้านบาท ที่ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ด้านหลัง ปตท.ให้ด้วย

อีกทั้ง ปตท.ยินดีจะสร้างอาคารที่พักอาศัยสูง 17 ชั้น จำนวน 1 อาคาร มูลค่า 400-500 ล้านบาท ใกล้กับบ้านพักบางซื่อ (ตึกแดง) ให้พนักงานการรถไฟฯฟรี ที่จะต้องโยกย้ายออกหลัง ร.ฟ.ท.นำที่ดินย่าน กม.11 มาพัฒนาจัดหาประโยชน์ โดยให้ ร.ฟ.ท.เร่งจัดทำแผนเสนอเพื่อจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดของ ปตท.พิจารณาต่อไป เมื่อบอร์ดอนุมัติแล้ว ทาง ปตท.จะดำเนินการก่อสร้างให้ทันที ทั้งนี้เมื่อรวมเม็ดเงินทั้งหมดที่ ร.ฟ.ท.จะได้จาก ปตท.อยู่ที่ประมาณ 1,354 ล้านบาท

2.2 เซ็นทรัลลาดพร้าว
ปี 2552 กลุ่มเซ็นทรัลต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินจากร.ฟ.ทไปอีก 20 ปี ด้วยมูลค่า 20,000 ลบ.

2.3 ตลาดนัดสวนจตุจักร (68 ไร่), อ.ต.ก.
ปี 2525 ตลาดนัดจตุจักรย้ายมาจากสนามหลวง โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ในปี2530 ในปัจจุบันได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานคร สู่การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2555 เพราะ ความดื้อดึงและดื้อรั้นของ กทม. ที่ไม่ยอมรับในอัตราใหม่ที่ รฟท. ต้องการ ส่วนกรณี อตก. นั้น ดูท่าจะยอมรับอัตราใหม่ เรื่องเลยจบลงโดยราบรื่น

2.4 พื้นที่ 3 โซน (218 ไร่) รอบสถานีกลางบางซื่อ
เปิดให้เอกชนพัฒนา เป็น Complex ครบวงจร ประกอบด้วย โรงแรม อาคารสำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์ ฯลฯ เพื่อปลดภาระหนี้สินการรถไฟ 1 แสนล้านบาท ซึ้งเบื้องต้นรองนายกฯ ปรีดียาธร เทวกุล เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ที่ดิน 3 โซน แบ่งดังนี้


Zone A – 35 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
Zone B – 78 ไร่ ตั้งอยู่ใกล้ตลาดนัดจตุจักร
Zone C – 105 ไร่ ที่ตั้งขนส่งหมอชิต



2.5 พื้นที่กม.11 (365 ไร่)
โครงการคอมเพล็กซ์ยักษ์ ร.ฟ.ท. มูลค่า 1.33 แสนล้าน ที่จะให้เอกชนเข้ามาพัฒนา เพื่อเป็นการปลดหนี้การรถไฟ


โดยมีพื้นที่บางส่วนโดนกทพ.เวนคืนที่ดินตัดด่วนใหม่ “ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก” เฉือนที่ดินโครงการหายไปบางส่วนจากทั้งหมด 365 ไร่ ให้เช่าระยะยาว 30 ปี

2.6 พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (ตึกแดง)
อยู่เหนือสถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่ 114 ไร่ อาจพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไป

3. พื้นที่กิจกรรมทางสังคม + นันทนาการ
ประกอบด้วยสวนสาธารณะใหญ่ 3 แห่ง รวมพื้นที่ 765 ไร่ ได้แก่
- สวนวชิรเบญจทัศน์ (รถไฟ)
- สวนจตุจักร
- สวนสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ


พื้นที่รอบข้างศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
อู่จอดรถไฟฟ้าสายสีเขียว + Park and Ride (63 ไร่)
เจ้าของที่ดิน คือ กรมธนารักษ์ ตอนนี้กำลังพัฒนาที่ดินให้เป็น Complex มูลค่า 2 หมื่นล้าน รวมถึง แบ่งพื้นที่ให้ บขส.กลับมาอยู่ที่เดิมด้วย


โดยผู้ที่ชนะประมูล ได้รับสัมปทาน 30 ปี คือ บริษัทBangkok Terminal (BKT) หรือ Sun Estate มีแผนจะพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชย์ พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 712,350 ตร.ม. แบ่งเป็น
- พื้นที่ชดเชยให้ บขส.มาใช้เป็นสถานีขนส่ง 89,600 ตร.ม.
- พื้นที่พาณิชย์ 662,750 ตร.ม. แบ่งเป็น office, hotel, serviced apartment, ที่จอดรถ
- มีแผนสร้างทางยกระดับเชื่อมถนนกำแพงเพชรทะลุตัวอาคารไปยังถนนวิภาวดีฯ



ในส่วนของ Residential Development มีคอนโดมิเนียมบริเวณรอบ ๆ ที่เปิดตัวไปแล้วมีประมาณ 7 โครงการ ราคา/ตร.ม. ประมาณ 100k-155k บาท/ตร.ม.รวมถึงโครงการร่วมทุนกันรหว่าง BTS-SANSIRI ที่ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ใกล้สถานี BTS หมอชิตและ MRT จตุจักร

*อ้างอิงจากแบบเดิมที่บีทีเอส กรุ๊ปได้พัฒนาไว้ ก่อนที่โปรเจค บีทีเอส-แสนสิริจะนำมาพัฒนาต่อ



มูลค่าที่ดิน รอบศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ปัจจุบัน ตร.ว.ละ 5-6 แสนบาท ที่ผ่านมา กทม.เน้นให้เป็น ย่านพาณิชยกรรมสีแดง พ.4 1 ทำให้ใน 4-5 ปีข้างหน้าที่ศูนย์คมนาคมเปิดบริการเต็มรูปแบบ ราคาที่ดินจะขยับขึ้นสูงอยู่ที่ 1 ล้านบาท/ตร.ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2017 10:16 am    Post subject: Reply with quote

‘สถานีกลางบางซื่อ’ ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบศูนย์คมนาคม
มติชน วันที่ 13 มิถุนายน 2560 - 09:00 น.

Click on the image for full size

ปัจจุบันประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และภาคบริการอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มความต้องการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นผิวการจราจรมีอยู่อย่างจำกัด ภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนและการขนส่งให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งรูปแบบต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์กลางการคมนาคมสำหรับเป็นจุดศูนย์รวมและกระจายการเดินทางไปยังทุกทิศทางได้อย่างคล่องตัว

กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง “สถานีกลางบางซื่อ” หรือ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายและเชื่อมต่อการเดินทาง (Multimodal Transport Center) ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยเป็นสถานีชุมทางของรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออก สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และรถไฟความเร็วสูงที่จะพัฒนาในอนาคต ขณะนี้การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อก้าวหน้าแล้วกว่า 52% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563 นอกจากนี้จะเห็นการก่อสร้างหลายเส้นทางกำลังดำเนินการรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับนโยบายการขนส่งทางราง เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงที่ได้เปิดให้บริการแล้ว การพัฒนาโครงข่ายทางด่วนและถนนสายหลักเชื่อมโยงการเดินทางเข้ามายังย่านนี้

พื้นที่บริเวณ “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” ประมาณ 2,325 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ กระทรวงคมนาคมจึงมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยนำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ Transit-Oriented Development หรือ “TOD” ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มีการผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่อยู่อาศัย สำนักงาน ร้านค้า ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่การเดินเท้าและการใช้จักรยาน และการเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะหลายรูปแบบ ในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงเพียงพอที่จะสามารถจัดให้มีบริการระบบขนส่งมวลชนได้อย่างคุ้มค่า มีการจัดการพื้นที่จอดรถยนต์อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในต่างประเทศและประสบผลสำเร็จ ทำให้มีเม็ดเงินจากการพัฒนาพื้นที่รอบศูนย์คมนาคมมาใช้ในการดำเนินโครงการ ช่วยลดค่าโดยสาร หรือถึงขั้นคืนทุนจากโครงการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของภาครัฐ เช่น ฮ่องกง และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

โดยพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินจะแบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก คือ โซน A ติดสถานีกลางบางซื่อ ด้านทิศใต้ พื้นที่ประมาณ 35 ไร่ จะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิด Smart business complex ในลักษณะของ Retail ได้แก่ ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม และร้านให้บริการธุรกิจ โลจิสติกส์ โรงแรมที่สนับสนุนกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว อาคารสำนักงาน โซน B อยู่ติดกันด้านตะวันออก ประมาณ 78 ไร่ ภายใต้แนวคิด ASEAN Commercial & Business Hubs เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในลักษณะที่มีศูนย์การค้าส่ง ค้าปลีก ที่พัฒนาต่อยอดจากตลาดนัดจตุจักร มีอาคารสำนักงานที่ทันสมัย โรงแรมรองรับนักธุรกิจที่มาติดต่อค้าขาย นักท่องเที่ยว อาคารแสดงสินค้าและหอประชุม และที่พัก พื้นที่โซน C ภายใต้แนวคิด Smart Healthy & Vibrant Town ประมาณ 105 ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบริษัท ขนส่ง จำกัด จะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยไปพร้อมกับสถานที่ทำงาน และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และ โซน D พื้นที่ประมาณ 80 ไร่ อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธินและอาคารทางเดินเชื่อมต่อระบบขนส่ง รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคมรถไฟ กม.11 พื้นที่ประมาณ 279 ไร่ และพื้นที่บริเวณตึกแดง 119 ไร่

กระทรวงคมนาคมจะเริ่มทยอยดำเนินการสรรหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในโซนต่างๆ โดยล่าสุด “นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม” ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา และได้ข้อสรุปให้การรถไฟฯเดินหน้าเชิญชวนและสรรหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อเริ่มพัฒนาพื้นที่โซน A ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2561 เพื่อให้สอดรับกับการให้บริการของสถานีกลางบางซื่อ ส่วนพื้นที่โซน B และ C จะดำเนินการในช่วงระยะเวลาต่อไปเมื่อมีความพร้อม

ในด้านการพัฒนารูปแบบการบริการขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ สำหรับระยะทางไกลเกินกว่า 200 กม.จะใช้ระบบรางทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ส่วนการเดินทางในกรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงในระยะทางไม่เกิน 200 กม. จะใช้รถโดยสารระยะสั้น รถไฟฟ้าสายต่างๆ รถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ทำหน้าที่เป็น feeder เข้าไปรับ-ส่งถึงบริเวณสถานีกลางบางซื่อ สำหรับการเชื่อมโยงการเดินทางภายในพื้นที่สถานีจะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างครบครัน ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (BRT) ให้บริการรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และทางเดินเชื่อมต่อลอยฟ้า (Skywalk) ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังแหล่งการค้าและย่านธุรกิจได้อย่างสะดวกและปลอดภัย


สำหรับที่ตั้งของบริษัท ขนส่ง จำกัด ที่ประชุมได้เห็นชอบตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยจะย้ายไปใช้พื้นที่ราชพัสดุบริเวณหมอชิต (เดิม) บริเวณที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งกรมธนารักษ์อยู่ระหว่างการสรรหาเอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในอนาคตอันใกล้นี้ สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีความทันสมัยและจะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมแห่งใหม่ของมหานคร รวมถึงเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ในขอบเขตและบริเวณสถานีตามแนวคิด Transit Oriented Development : TOD สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางต่างๆ ที่มีความเหมาะสมตามแนวนโยบายของรัฐบาลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2017 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เตรียมจัดเวทีรับฟังความเห็นแผนแม่บทพัฒนาสถานีกลางบางซื่อของไจก้าใน พ.ย.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 สิงหาคม 2560 17:05:12 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ Mr.Takamasa HIROSE รองอธิบดีกรมเมืองฝ่ายวิศวกรรม กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) ว่า เตรียมนำผลศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้เข้ามาช่วยศึกษาไปจัดสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นในเดือน พ.ย.อีกครั้ง โดยจะนำผลศึกษาเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ บมจ.ปตท. (PTT) ที่มีผลศึกษาเรื่องแนวคิดสมาร์ทซิตี้ไว้แล้วมาบูรณาการร่วมด้วย

โดยสถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมืองด้วยระบบรถไฟทางทางคู่, เชื่อมการเดินทางกับต่างประเทศด้วยระบบรถไฟไทย-จีน และมีระบบรถไฟฟ้า ส่วนการขนส่งอื่นจะมีระบบรถ บขส.และ ขสมก.เชื่อมต่อเข้าสถานี

ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น ประกอบด้วย 1.ศูนย์ธุรกิจและโรงแรม 2.พัฒนาตลาดจตุจักร และตลาดใหม่ๆ ให้มีความทันสมัยเชื่อมโยงวิถีชีวิต 3.พัฒนาพื้นที่สีเขียว 4.เชื่อมต่อเดินทางระหว่างสถานีขนส่งหมอชิตเก่าและสถานีใหม่ โดย walk way ซึ่งไจก้าเสนอแผนพัฒนาเต็มรูปแบบภายใน 15 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2575

อย่างไรก็ตาม แนวทางของไจก้าจะไม่มีผลกระทบต่อแผนการพัฒนาพื้นที่แปลง A ซึ่งขณะนี้ รฟท.ได้เสนอไปให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาแล้ว และคาดว่าจะได้รับอนุมัติได้ภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 8:04 am    Post subject: Reply with quote

ไทย - ญี่ปุ่น ร่วมมือกันจัดทำแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ รองรับการให้บริการแบบเต็มรูปแบบ ภายใต้รูปแบบเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 30 สิงหาคม 2560

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานความร่วมมือระหว่าง กระทรวงคมนาคม และคณะทำงานกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น หรือ MLIT ว่า MLIT ได้มารายงานความก้าวหน้าการถึงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ตามที่กระทรวงคมนาคมมีแผนในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ภายใต้รูปแบบ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ศึกษาแล้ว พร้อมกันนี้ยังได้ขอความร่วมมือจาก MLITE และขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า มาช่วยศึกษา ล่าสุดผลการศึกษาใกล้แล้วเสร็จโดยคาดว่าประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อแบบเต็มรูปแบบ ที่มีบทบาทเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมือง เชื่อมต่อระหว่างประเทศ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟวิ่งให้บริการระหว่างจังหวัด รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์ธุรกิจ โรงแรม แหล่งจับจ่าย พื้นที่สวนสาธารณะ เป็นต้น โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะตั้งแต่ปี 2017 - 2032 พร้อมยืนยันว่าแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อจากญี่ปุ่นจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการศึกษาของ บริษัท ปตท. กับ รฟท. รวมถึงแผนการดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อประกอบด้วยพื้นที่แปลง A ขนาด 35 ไร่ / แปลง B พื้นที่ 78 ไร่ / แปลง C พื้นที่ 105 ไร่ และแปลง D พื้นที่ 87.5 ไร่ รอผลการศึกษาของญี่ปุ่นมาประกอบการตัดสินใจ เนื่องจากเกรงว่า หากเดินหน้าต่อไป เปิดประมูลแล้วอาจจะไม่มีเอกชนสนใจลงทุนเนื่องจากรายละเอียดที่กำหนดอาจไม่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2017 10:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไทย - ญี่ปุ่น ร่วมมือกันจัดทำแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ รองรับการให้บริการแบบเต็มรูปแบบ ภายใต้รูปแบบเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 30 สิงหาคม 2560




ญี่ปุ่น ขอปรับแบบการใช้'สถานีบางซื่อ'รับไฮสปีดเทรน
โดย รายงานโดย วชิราภรณ์ นาสวน
by กองบรรณาธิการ ข่าวเศรษฐกิจ
Voice TV
30 สิงหาคม 2560 เวลา 15:29 น.

คืบหน้า! รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ล่าสุดญี่ปุ่นขอปรับรูปแบบการใช้งานสถานีกลางบางซื่อ แต่ยืนยันโครงการเดินหน้าตามกรอบเวลา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือกับผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งตามกรอบดำเนินการ รายงานสุดท้ายโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยทางญี่ปุ่น เสนอให้ปรับรูปแบบการใช้งานสถานีกลางบางซื่อ เพราะเห็นว่า จำเป็นต้องแยกชานชาลาของรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลางออกจากระบบรถไฟอื่นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งเป้าหมายของญี่ปุ่น จะกระทบงานออกแบบและใช้สถานีกลางบางซื่อที่ไทยเคยออกแบบไว้ ทำให้โครงการยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม เชื่อว่ากรณีนี้ จะไม่กระทบให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนและแบบการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ เพราะไทยมีแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อและพื้นที่ย่านพหลฯ ทั้งหมดไว้แล้ว ยืนยันโครงการเดินหน้าตามกรอบ ส่วนจะลงนามความร่วมมือและเริ่มก่อสร้างเมื่อใด จะต้องติดตามและรับฟังความเห็นจากญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อวางกรอบเวลาทำงานร่วมกัน ต่อไป

ที่ผ่านมา การศึกษาพัฒนารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เงินลงทุนกว่า 400,000 ล้านบาท ทางญี่ปุ่นยังแสดงความสนใจเข้าร่วมลงทุนตามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี และจะนำระบบรถไฟชินคันเซน มาใช้ในโครงการ

ไฟเขียวสัญญา 2.2 รถไฟไฮสปีดไทย-จีน ลงนาม 4 ก.ย.นี้

นายอาคม ยังกล่าวถึงมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ซึ่ง ครม. ได้เห็นชอบร่างสัญญา 2.2 งานที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Service Agreement) โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) ความร่วมมือไทย-จีน วงเงิน 179,412 ล้านบาท และอนุมัติปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.2 จากเดิมกำหนดไว้ที่ 1,649 ล้านบาท เป็น 3,500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวคิดเป็น ร้อยละ 2.94 ของวงเงินก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการ เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงบประมาณที่กำหนดค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างไว้ ระหว่างร้อยละ 2.5-3.5

นายอาคม กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ จะนำร่างสัญญาดังกล่าว พร้อมร่างสัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียดงานโยธา วงเงิน 1,706.711 ล้านบาท ที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ไปลงนามในสัญญาร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การออกแบบรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 4 กันายายนนี้ ที่เมืองเซี๊ยะเหมิน ประเทศจีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุม BRICs Summit ที่ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 4-5 กันยานยน จะร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามด้วย

ทั้งนี้ เมื่อลงนามในสัญญาร่วมกันแล้ว ทางจีนจะส่งรายละเอียดแบบการก่อสร้างให้ไทย เพื่อดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. เส้นทางกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ แต่ต้องรอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านก่อน คาดจะเป็นช่วงเดือนกันยายน

ส่วนการออกแบบก่อสร้างในส่วนที่เหลือ ตั้งแต่ตอนที่ 2, 3 และ 4 ได้ขอให้จีน เลื่อนระยะเวลาส่งมอบแบบให้เร็วขึ้น จากเดิมกำหนดส่งมอบทั้งหมดให้เสร็จภายใน 8 เดือนหลังการลงนาม เพื่อให้ รฟท. มีเวลาเตรียมแผนเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในช่วงดังกล่าว (ตอนที่ 2, 3, 4)

เร่งเวนคืนที่ดินรอบโครงการรถไฟทางคู่ 'หัวหิน-ประจวบฯ'

ด้านนายพิชิต อัครทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ครม. ยังเห็นชอบหลักการพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 'หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์' ระยะทาง 86 กม. วงเงิน 10,239 ล้านบาท จำนวน 13 สถานี โดยก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง เป็นคันทางระดับดินขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม และยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอดินทุกระดับ เพื่อก่อสร้างทางยกระดับข้ามและสะพานข้ามทางรถไฟแทน

แนวการจัดกรรมสิทธิ์นั้น มีที่ดินตามเส้นทางประมาณ 5 ไร่ มีสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอน 13 หลัง 2 จุด คือ พื้นที่ ต.วังก์พง อ.ปราณบุรี และ ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบฯ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องเวนคืน เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างทางยกระดับและสะพานข้ามทางรถไฟ โดยมีกรอบดำเนินการใน 4 ปี

เลื่อนประมูลรถไฟทางคู่ 'ประจวบฯ-ชุมพร' เป็น 5 ก.ย.60

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า ได้เลื่อนวันเสนอราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Auction โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางประจวบฯ-ชุมพร สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบฯ-บางสะพานน้อย ราคากลาง 6,579 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ราคากลาง 6,071 ล้านบาท ไปเป็นวันที่ 5 กันยายน จากกำหนดเดิม วันที่ 31 สิงหาคมนี้ เนื่องจากการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคามีความล่าช้า

ส่วนรถไฟทางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ สัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ราคากลาง 7,721 ล้านบาท ยังจัดให้มีการเสนอราคาตามกำหนดการเดิมในวันที่ 1 กันยายนนี้ แต่สัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางจิระ เลื่อนประกาศชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา และเลื่อนวันประมูลออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนเส้นทางที่ต้องตัดผ่านชุมชนเมืองนครราชสีมา

เบื้องต้นจะสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ตามคำเรียกร้องของชาวบ้านในพื้นที่ โดยวงเงินก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นมาอีกกว่า 2,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 10,000 ล้านบาท จากเดิมราคากลางอยู่ที่ 7,060 ล้านบาท และมีโอกาสที่จะยกเลิก TOR เดิม เปิดให้เอกชนเข้ามายื่นประมูลใหม่ ​
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2017 7:40 am    Post subject: Reply with quote

สถานีกลางบางซื่อ ล่าสุด

UNIQUE present
Go Proaerialcinema Published on Oct 2, 2017


https://www.youtube.com/watch?v=YV61ly5Bu5k
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2017 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

เผยภาพชุดใหม่ของ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ว่าที่สถานีรถไฟไทยที่ใหญ่สุดในอาเซียน
Arrow http://www.amarintv.com/news-update/news-4086/104269/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2017 7:15 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด PPP บี้แผนพัฒนาที่ดินรถไฟย่านพหลฯ
สำนักข่าวไทย 3 พ.ย. 2017 17:43:15

ก.คลัง 3 พ.ย. - บอร์ด PPP บี้ รฟท.นำแผนพัฒนาที่ดินย่านพหลโยธินไปรวบรวมก่อนกลับมาเสนอให้ครอบคลุมที่ดินทั้งแปลง A, B, C, D หลังวันนี้แยกเสนอเฉพาะแปลง A มูลค่าการลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือคณะกรรมการ PPP วันนี้ (3 พ.ย.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีวาระที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นำเสนอขออนุมัติแผนการพัฒนาที่ดินย่านพหลโยธินในส่วนของที่ดินแปลง A ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่ครอบคลุมของที่ตั้งสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางระบบคมนาคมขนส่งทางรางในอนาคต

สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีรูปแบบร่วมทุนแบบ PPP ลักษณะที่เอกชนจะเข้ามาดำเนินการออกแบบ ลักษณะโครงการ, ก่อสร้าง, บริการพื้นที่ และส่งมอบพื้นที่ หลังครบอายุร่วมทุนภายใน 30 ปี มูลค่าการลงทุน 11,000 ล้านบาท โดย รฟท.มั่นใจการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีระบบขนส่งที่จะทำให้มีอัตราผลตอบแทนการลงทุนเป็นที่น่าพอใจ หรือประมาณร้อยละ 14 ซึ่งประเด็นนี้จะต้องพิจารณารายละเอียดการออกแบบลักษณะโครงการอีกครั้ง โดยที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของ รฟท. แต่เสนอให้กลับไปทำแผนการพัฒนาที่ดินย่านพหลฯ ให้ครอบคลุมที่ดินทุกแปลง คือ ทั้งแปลง A, B, C, D แล้วนำกลับมาเสนอคณะกรรมการ PPP โดยเร็วที่สุดอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับพื้นที่ย่านพหลโยธินของ รฟท. ซึ่งครอบคลุมสถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์คมนาคมสำคัญของระบบรางในอนาคต พื้นที่แบ่งเป็น 4 โซน เพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คือ โซน A ขนาด 35 ไร่ (ตั้งอยู่ด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) โซน B ขนาด 78 ไร่ (ตั้งอยู่ใกล้ตลาดนัดจตุจักร) และโซน C ขนาด 105 ไร่ (ตั้งอยู่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพหรือหมอชิตใหม่ในปัจจุบัน) และโซน D เนื้อที่รวมกว่า 83 ไร่ เป็นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างแนวแกนทางเดินเท้าทั้งแบบเหนือดินและบนดินโดยทางเดินเท้าเชื่อมต่อแบบเหนือดิน (Skywalk) จะมีระยะทางรวมประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางเดินเชื่อมต่อระดับดินไปยังสถานีย่อยบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) มีระยะทางรวมประมาณ 1.4 กิโลเมตร โดยที่ดินทั้งหมด รฟท.มีแผนการลงทุนมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้มาจากธุรกิจหลักหรือธุรกิจเดินรถ

นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ได้เห็นชอบแนวทางตามที่รองนายกรัฐมนตรีหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมเมื่อวานที่ผ่านมาและมีข้อสรุปที่จะเร่งรัดโครงการระบบรถไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดภูเก็ต, ขอนแก่น, นครราชสีมา และเชียงใหม่ โดยตามแผนเดิมจะมีการเร่งรัดโครงการและนำเข้าสู่ระบบ PPP fast track ในส่วนของรถไฟฟ้าที่จะดำเนินการก่อสร้างในจังหวัดภูเก็ตและเชียงใหม่ ซึ่งมีกำหนดการที่จะให้กระทรวงคมนาคมเสนอแผนขออนุมัติโครงการเดือนมิถุนายน 2561 คณะกรรมการ PPP ได้ขอให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอแผนการพัฒนารถไฟฟ้าทั้ง 4 จังหวัดเข้าสู่ระบบ PPP fast track พร้อมกัน .-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2017 9:54 am    Post subject: Reply with quote

ปั้นต้นแบบบางซื่อเมืองอัจฉริยะ เฟสแรก 35 ไร่ใหญ่สุดในอาเซียน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 07:30 น.

Click on the image for full size
การพัฒนาย่านสถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่ มีไจก้ามาช่วยศึกษา คาดว่าจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหญ่สุดในอาเซียน
เนรมิตสถานีบางซื่อ 218 ไร่ ศูนย์กลางการเดินทางและธุรกิจ “ไจก้า” ชูเป็นโมเดลต้นแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชนและเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในไทยและภูมิภาคอาเซียน แนะประมูลแปลง A 35 ไร่ ลงทุน 1.1 หมื่นล้าน แจ้งเกิดโครงการ รถไฟคาดต้นปีหน้าเปิด PPP 30 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOC) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2558 ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนไทยอย่างต่อเนื่อง


โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาความเหมาะสมของโครงการแบ่งพัฒนา 2 ระยะ ในระยะแรกสร้างจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. ค่าก่อสร้าง 276,225 ล้านบาท

“ญี่ปุ่นแนะนำได้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูง ต้องมีการพัฒนาเมือง ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่ม เตรียมไว้ 7 เมืองจาก 7 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ (บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก สร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการและเศรษฐกิจ โดยไจก้าจะช่วยศึกษา ส่วนการลงทุนเป็นหน้าที่ของการรถไฟฯจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม”

โดยไจก้าเริ่มศึกษาพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อเป็นลำดับแรก โดยใช้ผลการศึกษาเดิมของ ปตท.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ศึกษาไว้มาเป็นพื้นฐาน จะดูภาพรวมทั้งแผนการใช้พื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่สาธารณะ โดยกำหนดให้ “บางซื่อเป็นประตูสู่กรุงเทพฯเมืองสวรรค์” เนื่องจากทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางระบบคมนาคมในกรุงเทพฯ จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมการพัฒนาเป็นเมือง

“สถานีกลางบางซื่อญี่ปุ่นสนับสนุนเกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางด้านระบบมีทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟขนส่งสินค้า ที่คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจและช็อปปิ้งมอลล์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน ศูนย์ประชุม รวมถึงเป็นย่านสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ” นายอาคมกล่าวและว่าวัตถุประสงค์การศึกษาของญี่ปุ่นให้สถานีบางซื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) และพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน การศึกษานี้ไม่กระทบต่อแผนประมูลพื้นที่แปลงเอ 35 ไร่ ที่ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างดำเนินการPPP ส่วนแผนพัฒนาของไจก้าใช้เวลา 15 ปี เริ่มปี 2560-2575 แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลศึกษาไจก้า ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 358,700 ล้านบาท ระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ศึกษาพื้นที่สถานีบางซื่อ มีเนื้อที่ 218 ไร่ ลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท แบ่ง 4 โซน ไจก้าแนะนำให้เริ่มโซน A 35 ไร่เป็นลำดับแรก เงินลงทุน 11,573 ล้านบาท อยู่ห่างสถานี 50-100 เมตร พัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีอาคารสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม 3-4 ดาว ศูนย์การค้า ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เป็นระยะเวลา 30 ปี ล่าสุดคณะกรรมการ PPP มีมติรับทราบแล้ว คาดว่าจะเริ่มประมูลต้นปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 64, 65, 66  Next
Page 3 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©