Rotfaithai.Com :: View topic - พิษณุโลก อยากมีรถไฟฟ้ากะเขา
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 04/02/2019 10:16 am Post subject:
บอร์ด รฟม. ไฟเขียวกฎหมายสร้างรถไฟฟ้าพิษณุโลก
...ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค.62 ที่ผ่านมา คณะกรรมการ รฟม มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... หลังจากนี้ รฟม. จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ เพื่อให้ รฟม. มีอำนาจดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าในจ.พิษณุโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
...สำหรับ จ.พิษณุโลก ได้มีการศึกษาว่า ควรดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนประเภทรถรางล้อยาง (Auto Tram) ก่อน เริ่มต้นจากเส้นทางสายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลียพิษณุโลก-หมู่บ้าน ระยะทาง 12.6 กม. มี 15สถานี วงเงินลงทุน 762.29 ล้านบาท
https://www.thebangkokinsight.com/98674/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 18/02/2020 7:41 pm Post subject:
ครม.ไฟเขียวรฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในพิษณุโลกได้
อังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก
ครม.เห็นชอบ รฟม.สร้างรถไฟฟ้าพิษณุโลกเล็งเปิดPPP วงเงิน 3.6พันล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 20:45
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 18 ก.พ. มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก
ทั้งนี้ตามนโยบายการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองหลักในภูมิภาคและแก้ไขปัญหาจราจรจากเมืองหลักในภูมิภาคสู่ปริมณฑล และกรุงเทพฯด้วยระบบขนส่งมวลชน ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ใน6 เมือง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่นและพิษณุโลก
ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้ว่าจ้าง ม.นเรศวร ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก โดยสรุปผลศึกษาระยะที่ 1 เส้นทางสายสีแดง(ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) เป็นเส้นทางที่ควรพัฒนาก่อน เป็นระบบขนส่งรูปแบบ รถรางล้อยาง หรือ Auto Tram ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานี
โดยใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP- Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ 3,440 ล้านบาท โดยคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือนก.ย. 2565 ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการและเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574
ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ พบว่า กรณีมีรถไฟความเร็วสูง มูลค่าปัจจุบัน (NPV) เท่ากับ 399.55 ล้านบาท และอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%
ส่วนกรณีไม่มีรถไฟความเร็วสูง มูลค่าปัจจุบัน (NPV) เท่ากับ 968.67 ล้านบาท และอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 8.56 %
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 19/02/2020 10:36 am Post subject:
เมืองสองแควเฮ! ครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟฟ้า ตอกเข็มปี66 ศักดิ์สยาม ลัดฟ้าเกาหลี MOC ทางด่วนใต้ดิน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 - 21:15 น.
เมืองสองแควเฮ! ครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟฟ้า ตอกเข็มปี66 ศักดิ์สยาม ลัดฟ้าเกาหลี MOC ทางด่วนใต้ดิน
ครม.เคาะรฟม.สร้าง แทรมพิษณุโลก วางไทม์ไลน์ เปิดประมูล ก.ย. 65 ตอกเข็ม ต.ค. 66 คาดผู้โดยสารปีแรก 5.7พันคน/วัน ศักดิ์สยาม เตรียมลัดฟ้าไปเกาหลีใต้ MOC ร่วมมือขนส่งทางถนน-ดูงานแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 ก.พ.2563 เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ.กำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่
) พ.ศ
เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจ.พิษณุโลก โดยก่อนหน้านี้ครม.ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการในจ.นครราชสีมา เชียงใหม่ พังงา-ภูเก็ต ไปแล้ว
หลังจากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดจ้างจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงาน PPP ซึ่งคาดว่าจะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ม.ค.2563 ก.ย. 2564 ส่วนการขอขออนุมัติดำเนินการในช่วง พ.ค. 2564 มี.ค. 2565 จะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนได้ประมาณ ก.ย.2565 ต.ค.2566 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ ต.ค.2566
โดย รฟม.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยนเรศวรศึกษาความเหมาะสมของโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าให้ดำเนินการโครงการในลักษณะ รถรางล้อยาง (Auto Tram) ในสายสีแดง ช่วงม.พิษณุโลก เซ็นทรัลพิษณุโลก ระยะทาง 12.6 กม. 15 สถานี วงเงิน 3,340 ล้านบาท
มีรูปแบบการลงทุนคือ ให้เอกชนร่วมลงทุนด้านการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ส่วนรัฐลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและระบบรถไฟฟ้า มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.01% คาดการณ์ผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการ 5,700 คน/เที่ยว/วัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 13,700 คน/เที่ยว/วัน ในปี 2574
ไทม์ไลน์หลังจากนี้ คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนได้ในช่วงก.ย.2565 ต.ค.2566 เริ่มก่อสร้างในปี 2566 และจะไปแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2569
น.ส.ไตรสุลี กล่าวต่อว่า ในวันท่ี 20 -23 ก.พ.นี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้ เพื่อลงนามร่วมกับในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation: MOC) ด้านการขนส่งทางถนนกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งแห่งเกาหลีใต้
ในประเด็นการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ, ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ, ทางด่วนใต้ดิน, การพัฒนาจุดพักรถ และการพัฒนามอเตอร์เวย์ รูปแบบความร่วมมือเป็นไปในแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เป็นต้น โดยในโอกาสนี้ จะไปเยี่ยมชมการทดสอบการรับแรงกระแทกของแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์ด้วย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 25/06/2020 10:54 am Post subject:
รถไฟฟ้า"พิษณุโลก"มาแล้ว ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ดำเนินการได้
หน้าอสังหาริมทรัพย์
พุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 10:49 น.
ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ฎ.ให้ รฟม.สร้างรถไฟฟ้าใน "พิษณุโลก"
25 มิถุนายน 2563 เวลา 09:09
ประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าที่จังหวัดพิษณุโลกได้แล้ว
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัด ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 มีเนื้อหาว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ๆ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลกได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 7() แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ.2562
"(5) จังหวัดพิษณุโลก"
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 7() แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 บัญญัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ ในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สมควรกำหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลกได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง (ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก เซ็นทรัลพลาซ่า) เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค และแก้ไขปัญหาจราจรจากเมืองหลักในภูมิภาคสู่ปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก
เบื้องต้น ได้มีการเสนอโครงการเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ประกอบด้วย 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 80.5 กิโลเมตร ระยะที่ 2 ประกอบด้วยส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม 3 เส้นทาง และเส้นทางใหม่ 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 30.1 กิโลเมตร
ผลการศึกษาได้เสนอให้ดำเนินการตามแผนระยะที่ 1 เส้นทางสายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) มีระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานี เงินลงทุน 1,666.78 เป็นเส้นทางที่สมควรดำเนินการเป็นลำดับแรก โดยมีรายชื่อต่อไปนี้
1. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก - Depot along with Park and ride
2. สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2
3. สี่แยกอินโดจีน
4. แมคโคร
5. หมู่บ้านชินลาภ
6. เทสโก้โลตัส
7. แยกเรือนแพ
8. สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 1
9. เทคนิคพาณิชย์การพิษณุโลก
10. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร (วัดใหญ่)
11. ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
12. วัดคูหาสวรรค์
13 แยกบ้านคลอง
14. ราชภัฏพิษณุโลก (AKA ราชภัฏทะเลแก้ว)
15. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก (AKA หมู่บ้านพิษณุโลกเมืองใหม่) - Park and ride
รูปแบบโครงสร้างเป็นระดับพื้นดิน ส่วนรถไฟฟ้าจะเป็นระบบออโต้แทรมหรือรถรางล้อยาง ตามแผนจะเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนในเดือน พ.ค.2564 คัดเลือกเอกชนในเดือน ก.ย.2565 ก่อสร้างเดือน ต.ค.2566 เปิดบริการเดือน ธ.ค.2569
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ผ่านสถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2 แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือตามแนวทางหลวงหมายเลข 126 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 12 ที่สี่แยกอินโดจีน จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปยังทิศตะวันตกตามแนวทางหลวงหมายเลข 12 และสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก
ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส หมู่บ้านชินลาภ สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 1 เทคนิคพาณิชย์การพิษณุโลก ห้างสรรพสินค้าท้อปแลนด์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก วัดคูหาสวรรค์ หมู่บ้านพิษณุโลกเมืองใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการโครงการต่อไป
นี่ครับ => พระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัด ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/294929341873412/?type=3&theater
พระราชกฤษฎีกา ประกาศแล้วให้ รฟม. สร้างรถไฟฟ้า จ.พิษณุโลก
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 มิถุนายน 2563 - 13:00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2563 ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดจังหวัดให้กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
โดยประกาศให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลกได้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
00:53Ad
2
ก่อนหน้านี้นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ รฟม.เริ่มดำเนินโครงการทั้งศึกษา ออกแบบรายละเอียดและรูปแบบการลงทุน PPP รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดงช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพิษณุโลก มีระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานี เงินลงทุน 1,666.78 ล้านบาท
รูปแบบโครงสร้างเป็นระดับพื้นดิน ส่วนรถไฟฟ้าจะเป็นระบบออโต้แทรมหรือรถรางล้อยาง ตามแผนจะเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนในเดือน พ.ค.2564 คัดเลือกเอกชนในเดือน ก.ย.2565 ก่อสร้างเดือน ต.ค.2566 เปิดบริการเดือน ธ.ค.2569
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ผ่านสถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2 แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือตามแนวทางหลวงหมายเลข 126 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 12 ที่สี่แยกอินโดจีน จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปยังทิศตะวันตกตามแนวทางหลวงหมายเลข 12 และสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก
ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส หมู่บ้านชินลาภ สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 1 เทคนิคพาณิชย์การพิษณุโลก ห้างสรรพสินค้าท้อปแลนด์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก วัดคูหาสวรรค์ หมู่บ้านพิษณุโลกเมืองใหม่ เป็นต้น
https://www.isranews.org/isranews-news/85721-gov_85721.html
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/11/2022 7:52 am Post subject:
รฟม.เปิด 4 โปรเจครางภูมิภาค ลุยตอกเสาเข็มปี 67 รับเมืองขยายตัว
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 2565 เวลา 6:09 น.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเตรียมทุ่มงบกว่า 5 หมื่นล้านบาท เดินหน้า 4 โครงการระบบขนส่งทางรางในภูมิภาครับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ตั้งเป้าทยอยตอกเสาเข็มภายในปี 2567
ในปลายปีนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ารางเบา (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายระบบรางในหัวเมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ สมบูรณ์แบบมากขึ้น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเดินหน้าขยายโครงข่ายระบบรางไปยังหัวเมืองภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ผลักดันการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยตามเป้าหมายขณะนี้มี 4 โครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างศึกษา ในวงเงินลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ห้าแยกฉลอง
วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท
ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร 21 สถานี
สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม
แผนดำเนินงาน เบื้องต้นจะมีการนำเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 ภายในเดือน พ.ค.- เม.ย.2567 คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน พ.ค.2567-มิ.ย.2568 ก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ ในเดือน ก.ค.2568-พ.ย.2570 และเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.2570 เพื่อให้ทันการจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)
ช่วงตลาดเซฟวัน สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
วงเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท
ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร 21 สถานี
สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม
แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยจากการวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมและจราจรด้านการลงทุนและผลตอบแทนและด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวโคราช พบว่าระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง)
ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ แยกแม่เหียะสมานสามัคคี
วงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท
ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร 16 สถานี
สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม
แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง)
ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก
วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท
ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร 15 สถานี
สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม
แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2574
รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03
รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา
แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Trams) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักที่มีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยว หนาแน่น ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัด รถไฟฟ้าจึงเป็นขนส่งสาธารณะแห่งความหวังที่จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น เหมือนในกรุงเทพฯ แต่นับจากปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษา "รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค" ต้องหยุดชะงัก พร้อมกับด้านนโยบายมีแนวคิดปรับรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าลงทุนและหวังให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด...
จุดเปลี่ยน! รื้อแบบแปลงร่าง "แทรม" ภูเก็ตจาก "ล้อเหล็ก" เป็น "ล้อยาง"
ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรมากว่า 10 ปีแล้ว "แทรมล้อเหล็ก" เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คนภูเก็ตให้การสนับสนุน และหวังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้ จากนั้นได้มอบหมายให้ รฟม.รับผิดชอบโครงการโดยดำเนินการ ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยจะดำเนินการระยะที่ 1 ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. เริ่มก่อสร้างปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2567
แต่!!!แผนต้องมาสะดุด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการเมื่อ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง ซึ่งกระทรวงคมนาคม รายงานว่า ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแทรมล้อเหล็ก เช่น ระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) หรือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น
"ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนในพื้นที่ ที่ยังต้องการ แทรมป์ล้อเหล็ก และเกรงว่าโครงการจะยิ่งล่าช้าออกไป"
รฟม.ควักงบ 55 ล้านบาท จ้างรีวิว-ปรับแบบ ชี้ชะตา "ระบบขนส่งภูเก็ต" อีกรอบ
"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.ตั้งงบประมาณ 55.8 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย
โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้าง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาวงเงิน 55 ล้านบาท เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study Review) โดยเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ เหมาะสม คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร เทคนิค ราคา สิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน แผนการเดินรถ ฯลฯใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน
"ศักดิ์สยาม" ให้โจทย์เพิ่ม ศึกษารูปแบบ EV-BRT เปรียบเทียบต้นทุน
ล่าสุด "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ว่า รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและปรับลดวงเงินการลงทุนให้ได้มากที่สุด และทำให้โครงการเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาเดิมจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก หรือ แทรม ต่อมาปรับเป็นระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) ปัจจุบันตนได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษารูปแบบที่ 3 เพิ่มเติม คือระบบรถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV-BRT เปรียบเทียบด้วย ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่
ทั้งนี้หากเป็นรถเมล์ไฟฟ้า รูปแบบการให้บริการจะเป็นการจัดช่องทางเดินรถเฉพาะ บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) โดยมีรั้วหรือแบริเออร์กั้นช่องจราจรจากรถยนต์อื่นๆ รวมถึงมีระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติในการบริหารความปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบดังกล่าว
การลงทุน EV-BRT ไม่สูงมาก ดังนั้นจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะไม่แพงไปด้วย อีกทั้งยังสามารถ ผลักดันเพื่อเริ่มให้บริการเฟสแรกได้เร็ว โดยเห็นว่าการลงทุน น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับ รถโดยสารใน กทม. ที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถกับกรมการขนส่งทางบก โดยเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) โดยกรมการขนส่งทางบก ให้สัมปทานและกำกับดูแล ส่วนเอกชนจะลงทุนทั้งการจัดหารถการบริหารจัดการ รวมไปถึงควบคุมระบบเครื่องกั้นและสัญญาณจราจร
ขีดเส้น รฟม.สรุป ในพ.ย. เตรียมลง "ภูเก็ต"
ศักดิ์สยามระบุว่า "ขณะนี้รูปแบบยังไม่สรุป ดังนั้นยังเป็นไปได้ทั้งรถ EV-BRT หรือ ระบบ ART ซึ่ง ART ก็เป็นไปได้ทั้งแบบ วิ่งบนถนนโดยแบ่งช่องจราจร และมีการควบคุมจราจร หรือ เป็น ART เต็มรูปแบบ คือมีทางยกระดับหรืออุโมงค์ บริเวณจุดตัด/ทางแยก ตรงนี้ต้องมาดูค่าลงทุนและค่าโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละรูปแบบ ซึ่งผมให้เวลาสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. นี้ เพราะผมต้องการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันเป็นโครงการนำร่อง และจะทำให้ระบบขนส่งมวลชนในอีกหลายจังหวัดใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้"
แต่หากจะมีการพัฒนาเป็นระบบ ART เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องก่อสร้างทางยกระดับหรืออุโมงค์ ในช่วงที่เส้นทางตัดกับถนน เห็นว่าควรให้การพัฒนาโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กระทู้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางเพราะในช่วงที่มีการก่อสร้างจะมีปัญหาจราจรอย่างแน่นอน
"ผลศึกษาระบบ ART แม้ค่าลงทุนจะลดลงจากแทรมล้อเหล็ก แต่ก็ยังมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 50 บาท เปรียบเทียบกับ EV Bus ในกทม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท และราคาเหมา 40 บาท นั่งได้ไม่จำกัดตลอดวัน ผมเห็นว่า ที่ภูเก็ตหากสามารถปรับเป็น EV Bus ได้ก็น่าจะเหมาะสม"
ตามผลศึกษา รฟม.ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กม. เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบได้แก่
1. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อเหล็ก วงเงินรวม 35,201 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่า ที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท คาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก
2. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาทค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท
3. รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะ (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่างานโยธา 10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท
เชียงใหม่ สายสีแดง ศึกษาใหม่ พบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งระดับดินคุ้มค่า
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. อยู่ระหว่างที่ปรึกษาศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานและทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการสรุปผลการศึกษา รายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมภายปลายปี 2565
สำหรับรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษาประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง
การศึกษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3. ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง
เปรียบเทียบด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณ ผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)
พบว่ารูปแบบที่ 3 ระบบรถไฟฟ้าล้อยางที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากลดต้นทุนโครงการ ลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน
โคราช สายสีเขียวฯ เหมาะกับรูปแบบ E-BRT หรือ รถโดยสารไฟฟ้า
สำหรับจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ การศึกษาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2. Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3. E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง
โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความ เหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและในระยะดำเนินการ พบว่าระบบ E-BRT เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ
ขณะที่อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 10 บาท และคิดอัตราตามจำนวนสถานีแบบขั้นบันได สถานที่ 1-8 (14 บาท) สถานีที่ 9-16 (18 บาท ), มากกว่า 18 สถานี (22 บาท)
"พิษณุโลก" ครม.เห็นชอบเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ยังนิ่งสนิท
ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก นั้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
ซึ่งตามผลศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่สนข.ทำไว้ ระยะที่ 1 สายสีแดง (ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานีโดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบ "รถรางล้อยาง" หรือ Auto Tram
ลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ3,440 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%
แผนเดิม จะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574
การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหลักในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร สร้างงาน สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่เพราะรถไฟฟ้าลงทุนสูง มีผลตอบแทนต่ำ เอกชนอาจไม่สนใจลงทุน ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปอุดหนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มทั้งผลตอบแทนการลงทุนและปริมาณ ผู้โดยสารได้อีกทาง...แต่โจทย์ใหญ่ของ รฟม.ตอนนี้ คือต้องหาโมเดลระบบเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม ตามนโยบาย "รมว.คมนาคม" ให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคงต้องเสียเวลา...รื้อ รีวิว ทบทวนการศึกษากันอีก!!!.
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group