RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311915
ทั่วไป:13580799
ทั้งหมด:13892714
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 380, 381, 382 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2020 9:52 am    Post subject: Reply with quote

“เตรียมยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ เป็นสถานีรถไฟขนส่ง จชต.” ศอ.บต. หารือ การรถไฟ นาประดู่ ปรับพื้นที่รองรับการขนส่งสินค้าเบื้องต้น เพื่อให้บริการภาคเอกชนและปชช.
ศอ.อต. 12/10/2020 at 8:37 PM

วันนี้ (12 ตุลาคม 2563) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ลงพื้นที่สถานีรถไฟนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อหารือยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ ให้เป็นสถานีรถไฟขนส่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีนายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การรถไฟ และนายชาญชัย เกียรติศักดิ์โสภณ นกยกเทศมนตรี ต.นาประดู่ ร่วมหารือ เพื่อปรับเปลี่ยนสถานีรถไฟนาประดู่ให้รองรับกับการขนส่งสินค้าของภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่

พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่า การพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดำเนินการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการขนส่งจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับการจำหน่ายและส่งออกสินค้า โดยเฉพาะการขนส่งด้วยระบบราง ซึ่งมีการหารือในเบื้องต้นร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนในพื้นที่และส่วนกลาง เนื่องจากมีผู้ประกอบการมีความประสงค์ใช้ระบบรางในการขนส่งผลผลิตและสินค้า โดยแจ้งความจำนงตั้งแต่ปีที่ 2562-2563 หลายราย เพราะเป็นระบบการขนส่งใช้งบประมาณที่ภาคเอกชนรับได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับสถานีรถไฟภาคใต้เพื่อให้กลับมามีบทบาท เป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้อีกครั้ง โดยการรถไฟก็มีแผนงานในการยกระดับสถานีนาประดู่ในระดับหนึ่งแล้ว จึงสอดรับกับนโยบายของศอ.บต. และรัฐบาล ในการปรับปรุงให้เป็นสถานีและลานยกขนส่งสินค้า คาดว่าจะปรับปรุงแล้วเสร็จก่อนปีใหม่ 2564 เนื่องจากรัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อให้การค้าการลงทุนในพื้นที่เดินหน้า ซึ่งการรถไฟเป็นจุดสำคัญในการขนส่งที่ผู้ประกอบการรับได้ เนื่องมีค่าบริการขนส่งที่ต่ำกว่าค่าขนส่งในระบบอื่น

“การพัฒนาในพื้นที่ขณะนี้ดำเนินการในหลายด้าน แต่มีปัญหาเรื่องการขนส่งเป็นหลักเพราะไม่มีท่าเรือ ซึ่งประเทศไทยมีประตูขนส่งด้วยเรือเพียง 2 ประตู คือ คลองเตย กับ แหลมฉบัง และคาดว่า จ.สงขลา จะเป็นประตูที่ 3 เร็วๆ นี้ แต่ขณะเดียวกันการขนส่งระบบรางก็ต้องยกระดับควบคู่กันไป ซึ่งเชื่อว่า สถานีนาประดู่จะเป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง จะเป็นภาพลักษณ์ใหม่ในการขนส่งสินค้าในพื้นที่” เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว

ขณะที่นายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 เผยว่า การรถไฟเตรียมการเรื่องยกระดับสถานีนาประดู่เป็นสถานีขนส่งสินค้าก่อน ศอ.บต. มีความประสงค์ยกระดับ และปรับปรุง จึงเป็นนโยบายที่สอดรับกันในการพัฒนาในครั้งนี้ โดยสถานีมีความพร้อมหลายด้าน ทั้งมาตรฐานของราง บุคลากร และพื้นที่เพื่อปรับเป็นลนยกขนส่งสินค้า เป็นต้น

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“เตรียมยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ เป็นสถานีรถไฟขนส่ง จชต.” ศอ.บต. หารือ การรถไฟ นาประดู่ ปรับพื้นที่รองรับการขนส่งสินค้าเบื้องต้น เพื่อให้บริการภาคเอกชนและปชช.
ศอ.อต. 12/10/2020 at 8:37 PM


สงขลา-ปัตตานี | ศอ.บต. เตรียมยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ เป็นสถานีรถไฟขนส่งจังหวัดขายแดนภาคใต้ และคาดว่า "จังหวัดสงขลา จะเป็นประตูที่ 3 เร็ว ๆ นี้"
วันที่ 13 ตุลาคม 2563

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงพื้นที่สถานีรถไฟนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมหาแนวทางการพัฒนาสถานีรถไฟนาประดู่ เพื่อยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ ให้เป็นสถานีรถไฟขนส่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมี นายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 , นายชาญชัย เกียรติศักดิ์โสภณ นกยกเทศมนตรี ตำบลนาประดู่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่การรถไฟ ร่วมหารือเพื่อปรับเปลี่ยนสถานีรถไฟนาประดู่ให้รองรับกับการขนส่งสินค้าของภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2020 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

จากโคราชถึงอุบลฯ บนทางรถไฟสายอีสานใต้
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: 16 ต.ค. 2563 01:58



กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

อุบลราชธานี จังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 รองจากกรุงเทพมหานคร และนครราชสีมา ถือเป็น 1 ใน 4 หัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสาน นอกเหนือจากโคราช ขอนแก่น และอุดรธานี

ถือเป็นจุดหมายปลายทางของอีสานใต้ มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน เชื่อมโยงการค้าชายแดนกับเมืองเศรษฐกิจของลาวใต้อย่าง “เมืองปากเซ” แขวงจำปาสัก เป็นจังหวัดสุดท้ายที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน และมีแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำสองสี

เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญด้านการค้าชายแดน การเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และค้าปลีก-ค้าส่ง ที่มีบริษัทแจ้งเกิดมาจากอุบลราชธานี เช่น อุบลวัสดุ ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง กลายมาเป็น “ดูโฮม” และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ



การคมนาคมจากกรุงเทพฯ สู่อุบลราชธานี ถือว่ามาไม่ยากเพราะมีหลายตัวเลือก สะดวกที่สุดคือทางเครื่องบิน ใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษ มีสายการบินให้บริการทั้งนกแอร์ แอร์เอเชีย ไทยสมายล์ ไทยไลอ้อนแอร์ และไทยเวียตเจ็ท

ลงจากเครื่องแล้ว ยังมีรถเมล์ปรับอากาศราคาประหยัดอย่าง “อุบลซิตี้บัส” กับค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ผ่านใจกลางเมืองอย่างทุ่งศรีเมือง ถนนชยางกูร ตลาด 6 เทสโก้โลตัส โรงแรมสุนีย์แกรนด์ บิ๊กซี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งอุบลราชธานี

ส่วนทางรถยนต์ พบว่า ถนนโชคชัย-เดชอุดม จาก อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นถนน 4 เลนตลอดสาย และกำลังขยายถนนสายบ้านจาน-หนองงูเหลือม-สำโรง-วารินชำราบ เป็น 4 เลน ย่นระยะทางได้ 30-40 กิโลเมตร ไม่ต้องไปอ้อมที่ อ.เดชอุดม



ถนนสายหลักที่เข้าเมืองมีอยู่ 3-4 เส้นทาง นอกจาก ถนนสถิตย์นิมานกาล อ.วารินชำราบแล้ว ยังมี ถนนแจ้งสนิท มาจากบ้านไผ่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร และ ถนนชยางกูร มาจากหนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ

ขณะที่รถโดยสารประจำทาง ปัจจุบันมีให้บริการมากกว่า 10 ราย ทั้งรถหมวด 2 จากกรุงเทพฯ และรถหมวด 3 จากภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย, ภาคตะวันออก จ.ระยอง, ภาคตะวันตก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ จ.ภูเก็ต

รถที่มาจากกรุงเทพฯ บางบริษัทอย่าง นครชัยแอร์ ใช้เส้นทางสีคิ้ว-นางรอง-ประโคนชัย-ปราสาท-สังขะ-นาเจริญ-ขุนหาญ-บ้านจาน-บ้านเสียว-เบญจลักษ์-โนนคูณ-สำโรง-วารินชำราบ-อุบลราชธานี ใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง

บางบริษัทแวะพักรถที่ บขส. 2 นครราชสีมาก่อน แล้วใช้เส้นทางบุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี บางบริษัทใช้ถนนมิตรภาพ และถนนแจ้งสนิท อ้อมไปทางบ้านไผ่-มหาสารคาม-ยโสธร-อุบลราชธานี ใช้เวลานานกว่า



ส่วนรถไฟ ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 575 กิโลเมตร ถ้าอย่างดีก็จะเป็นรถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (ขบวนที่ 23) รถนอนปรับอากาศชั้น 1 ราคาเริ่มต้นที่ 1,320-1,520 บาท ชั้น 2 ราคาเริ่มต้นที่ 881-981 บาท ใช้เวลาประมาณ 10-11 ชั่วโมง

นอกนั้นจะมีให้เลือกทั้งรถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็ว ราคาถูกที่สุดคือรถไฟชั้น 3 ราคา 205 บาท ส่วนรถท้องถิ่นมีแค่นครราชสีมา-อุบลราชธานี ค่าโดยสาร 58 บาท และลำชี-อุบลราชธานี ค่าโดยสาร 33 บาท

ในวันนั้นแวะไปธุระที่ จ.นครราชสีมาก่อน แล้วจึงค่อยไปต่อที่ จ.อุบลราชธานี มีคนแนะนำว่า "ให้เดินทางด้วยรถไฟจะเร็วกว่า" เพราะถ้าเป็นรถทัวร์จะเป็นรถผ่าน จองตั๋วล่วงหน้าไม่ได้ ต้องลุ้นแบบวันต่อวันว่าผู้โดยสารจากต้นทางจะเต็มไหม

มีเพียงรถเมล์สาย 285 นครราชสีมา-อุบลราชธานี แต่ก็วิ่งอ้อมไปทาง อ.โชคชัย แล้วใช้ถนนโชคชัย-เดชอุดม ผ่านหนองกี่ นางรอง ปราสาท สังขะ ขุขันธ์ กันทรลักษ์ เดชอุดม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใช้เวลาเดินทางเกือบครึ่งวัน

เราจึงตัดสินใจนั่งรถไฟจากโคราช มาอุบลราชธานีตามคำแนะนำ



ที่ สถานีรถไฟนครราชสีมา มีขบวนรถไปยังปลายทางอุบลราชธานีวันละ 10 ขบวน มีทั้งขบวนรถท้องถิ่น 3 ขบวน เป็นรถชั้น 3 นั่งพัดลม ค่าโดยสารเพียง 58 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมงเศษ

เร็วที่สุดคือ รถด่วนพิเศษขบวนที่ 21 กรุงเทพ-อุบลราชธานี ออกจากสถานีนครราชสีมาประมาณ 10 โมงเช้า ถึงอุบลราชธานีบ่ายสองโมง เร็วที่สุดในบรรดาขบวนรถอื่นๆ ค่าโดยสารจากสถานีนครราชสีมา 453 บาท

แต่วันนั้นต้องทำธุระครึ่งวันเช้า จึงจองตั๋วเดินทางที่สถานีนครราชสีมา ทีแรกเลือกขบวนรถเร็วที่ 135 กรุงเทพ-อุบลราชธานี เพราะออกจากที่นี่ตอนเที่ยงเศษ ถึงอุบลราชธานีราว 6 โมงเย็น

พอถึงเวลาซื้อตั๋วจริงถึงกับเหวอเล็กน้อย เพราะพนักงานขายตั๋วบอกว่า ชั้น 2 เป็นรถพัดลม ไม่มีแอร์ ถ้าจะนั่งรถแอร์ก็เป็นรอบบ่ายสองโมงครึ่ง ถึงอุบลราชธานีช่วงค่ำๆ แต่เนื่องจากไม่อยากรอนานเกินไป จึงตัดสินใจเลือกขบวน 135 นี่แหละ

ค่าโดยสารขบวนรถเร็วที่ 135 จากสถานีนครราชสีมา ชั้น 2 ราคา 243 บาท ส่วนชั้น 3 ราคา 168 บาท (ราคาต่างกัน 75 บาท) ต่างกันตรงที่ชั้น 2 เป็นที่นั่งแบบเบาะ นั่งตามหมายเลขที่ระบุในตั๋ว ส่วนชั้น 3 เป็นเบาะยาวเหมือนขบวนรถที่เรานั่งทั่วไป



ด้วยความที่ไม่อยากเจอปัญหาไม่มีที่นั่ง จึงเลือกขบวนรถชั้น 2 อย่างน้อยมีที่นั่งแล้วจะได้อุ่นใจ จะบอกว่าตั๋วกระดาษแบบยาวกำลังจะยกเลิกเร็วๆ นี้ เปลี่ยนไปใช้ตั๋วรถไฟ ขนาดเท่านามบัตร พิมพ์ด้วยกระดาษความร้อนเหมือนตั๋วภาพยนตร์

ในวันเดินทาง สถานีแจ้งว่าขบวนรถล่าช้าไป 36 นาที กว่าจะเข้าสู่สถานีก็เกือบบ่ายโมง สาเหตุมาจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร และต้องรอให้ขบวนรถเร็วที่ 136 อุบลราชธานี-กรุงเทพ เข้าสู่ชานชาลาเสียก่อน

จากสถานีนครราชสีมา ผ่านสถานีชุมทางถนนจิระ ก่อนจะแยกกันระหว่างทางคู่ไปหนองคาย กับทางเดี่ยวไปอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 309 กิโลเมตร ผ่าน 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

เส้นทางระหว่างชุมทางถนนจิระ ถึงอุบลราชธานี กรมรถไฟหลวงเปิดเดินรถถึงสถานีรถไฟอุบลราชธานี ที่ อ.วารินชำราบ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2473 หรือเมื่อ 90 ปีก่อน กระทั่งได้สร้างทางรถไฟอีกเส้นไปถึงหนองคาย เปิดการเดินรถในปี 2501

เริ่มจากขนานไปกับถนนนครราชสีมา-บุรีรัมย์ ผ่านแม่น้ำมูลก่อนถึงสถานีท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จากนั้นด้านขวาของขบวนรถจะเป็นป่าหนองเต็งและป่าจักราช จอดสับรางที่สถานีหนองมโนรมย์ให้ขบวน 146 เข้ากรุงเทพฯ ผ่านไปก่อน



จากนั้นจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีจักราช ออกจากสถานี เส้นทางจะขนานไปกับถนนนครราชสีมา-บุรีรัมย์ บริเวณด้านขวาของขบวนรถ ผ่านบ้านหินดาษ จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีห้วยแถลง จากนั้นเส้นทางจะเริ่มเห็นทุ่งนาเขียวขจี

เข้าเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ทางรถไฟช่วงนี้จะเต็มไปด้วยนาข้าวที่สวยงาม จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีลำปลายมาศ จากนั้นหลังขบวนรถออกจากสถานี จะได้เห็นหอพระอำเภอลำปลายมาศในช่วงสั้นๆ

ตลอดเส้นทางช่วงนี้จะพบกับนาข้าวเขียวขจี จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีทะเมนชัย เมื่อผ่านสะพานถนนเลี่ยงเมืองบุรีรัมย์ จึงค่อยๆ เห็นความเจริญทางด้านซ้ายมือ ก่อนจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีบุรีรัมย์

หลังออกจากสถานีแล้วผ่านจุดตัดทางรถไฟแล้ว แนวเส้นทางจะเห็นนาข้าวยาวๆ อีกครั้ง แวะรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีห้วยราช เข้าเขตจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสถานีใหญ่อีกแห่ง จากนั้นจะเป็นนาข้าว สลับกับขนานไปตามถนนสุรินทร์-ศรีสะเกษ

ระหว่างทางจะผ่านขบวน 426 ไปนครราชสีมา ที่สถานีกระสัง, ขบวน 22 เข้ากรุงเทพฯ ที่สถานีศีขรภูมิ และขบวน 422 ไปลำชี ที่สถานีสำโรงทาบ จากนั้นจะเริ่มทำความเร็ว เข้าเขตจังหวัดศรีสะเกษ จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีห้วยทับทัน



จากนั้นจะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีอุทุมพรพิสัย เข้าสู่ตัวเมืองศรีสะเกษ จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีศรีสะเกษ แนวเส้นทางจะขนานไปกับถนนศรีสะเกษ-อุบลราชธานี จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีกันทรารมย์

ช่วงนั้นตะวันตกดินเรื่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมืด ผ่านสะพานข้ามทางรถไฟ ข้ามคลองขะยุง เข้าเขต อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีห้วยขะยุงเป็นสถานีสุดท้าย ก่อนที่จะทำความเร็วเรื่อยๆ

เมื่อผ่านทางเลี่ยงเมืองอุบลราชธานีไปสักพัก ขบวนรถจะค่อยๆ ลดความเร็วลง ข้ามจุดตัดทางรถไฟถนนเทศบาล 14 ทางรถไฟจะขึ้นสะพานข้ามถนนศรีสะเกษ จอดที่สถานีอุบลราชธานี ซึ่งมีขบวน 420 ไปลำชีจอดอยู่ พร้อมที่จะออกเดินทาง

จากเดิมขบวนที่ 135 ล่าช้าที่สถานีนครราชสีมา 36 นาที หลังผ่านไปได้ 3 ขบวน จึงทำความเร็วมากขึ้นตั้งแต่สถานีสำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จึงทำให้ขบวนรถล่าช้าเหลือเพียง 13 นาที






สถานีรถไฟอุบลราชธานีไม่ได้อยู่อำเภอเมือง แต่อยู่ที่อำเภอวารินชำราบ อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำมูล ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปตามถนนสถิตย์นิมานกาล ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 ถึงทุ่งศรีเมือง ประมาณ 4 กิโลเมตร

จากตัวสถานีมีรถสองแถวสีขาวสาย 2 เข้าเมือง ผ่านถนนพรหมราช วัดทุ่งศรีเมือง สถานีตำรวจ ถนนชยางกูร มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เทสโก้โลตัส โรงแรมสุนีย์แกรนด์ บิ๊กซี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี

แต่ถ้าต้องการความรวดเร็วก็มีสามล้อเครื่อง และรถแท็กซี่มิเตอร์เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ใช้บริการจากสถานีไปยังโรงแรมย่านถนนรอบเมือง แม้มิเตอร์จะเริ่มต้นที่ 40 บาท แต่ระยะทาง 11 กิโลเมตรเศษ ค่าโดยสาร 116 บาท ถือว่าค่าใช้จ่ายพอๆ กับนั่งแท็กซี่ในกรุงเทพฯ

แม้ว่าการเดินทางจากโคราช ไปอุบลราชธานีด้วยรถไฟจะรวดเร็วกว่ารถประจำทาง แต่จะรวดเร็วกว่านี้ หากเป็นรถไฟทางคู่ เพราะปัจจุบันทางรถไฟช่วงชุมทางถนนจิระ ถึงอุบลราชธานี ความยาว 309 กิโลเมตร ยังเป็นรถไฟทางเดี่ยว



ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี มูลค่าโครงการ 37,527.10 ล้านบาท

โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มอีกทางหนึ่ง ก่อสร้างสถานีใหม่ ยกระดับทางรถไฟอีก 3 แห่ง ที่ตัวเมืองบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ พร้อมย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า (CY) ที่ป้ายหยุดรถบ้านตะโก สถานีบุฤาษี สถานีหนองแวง และสถานีบุ่งหวาย

หลังก่อสร้างแล้วเสร็จ รถไฟจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพิ่มความเร็วในการเดินขบวนรถ สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าสู่กลุ่มจังหวัดทางภาคอีสาน ลดอุบัติเหตุทางถนนจากการเปลี่นนจุดตัดทางรถไฟ

โครงการนี้จัดอยู่ในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินรวม 273,000 ล้านบาท แต่น่าเสียดายที่ล่าสุดถูกทบทวนโครงการใหม่ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ

มีเพียงโครงการรถไฟทางคู่สายขอนแก่น-หนองคาย ที่ยังคงขับเคลื่อนต่อไป เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ชาติ เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของลาว ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 โดยเปลี่ยนรูปแบบย่านกองเก็บสินค้าเล็กน้อยเท่านั้น



ปัจจุบัน โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 มีอยู่ 7 เส้นทาง แล้วเสร็จ 2 เส้นทาง คือ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น กับ ฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่ยังไม่ก่อสร้างก็คือ คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ที่จะเปลี่ยนเป็นยกระดับทางรถไฟช่วงตัวเมืองนครราชสีมา

นอกนั้นกำลังทยอยก่อสร้าง อาทิ สายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ, สายอีสาน มาบกะเบา-คลองขนานจิตร พร้อมทางรถไฟยกระดับใน อ.มวกเหล็ก และอุโมงค์รถไฟ, สายใต้ นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี อาจจะต้องร้องเพลงรอกันไป จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 ถึงตอนนั้นหากโครงข่ายรถไฟทางคู่สายอีสานเสร็จสมบูรณ์ การเดินรถไฟจะตรงเวลาและรวดเร็วมากขึ้น

จากกรุงเทพฯ ไปอุบลราชธานี เมื่อเดินทางด้วยรถไฟจะมีระยะทาง 575 กิโลเมตร หากเป็นรถไฟทางคู่ทั้งหมด รถด่วนพิเศษจากเดิม 8 ชั่วโมง 15 นาที รถด่วนจากเดิมประมาณ 9-10 ชั่วโมง รถเร็วจากเดิมประมาณ 11-12 ชั่วโมง อาจจะเร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

เป็นเรื่องของอนาคตที่ชาวอีสานใต้ 5 จังหวัดต้องรอลุ้นกันอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

ITD ลุยเดโป้ “ไฮสปีดไทย-จีน” สายสีแดง-ทางคู่สายใต้ “งบบาน-ล่าช้า”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 ตุลาคม 2563 - 08:30 น.


“บอร์ดรถไฟ” เคาะ “ITD” สร้างเดโป้ไฮสปีดไทย-จีน 6.5 พันล้าน ขยายสัญญาระบบ 90 วัน หวั่น “จีน” ไม่พร้อมเซ็น 28-29 ต.ค.นี้ ลุ้น “บิ๊กป้อม” เคาะ EIA ก่อนลุยตอกเข็ม ผงะงบฯสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” บานไม่หยุด ยืดทางคู่ “ประจวบฯ- ชุมพร” อีก 15 เดือน เลื่อนเปิดปี’66

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 15 ต.ค. 2563 เห็นชอบผลประมูลรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ที่มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด6,573 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.16% หรือ 1,091 ล้านบาท หลังจากนี้จะเซ็นสัญญา เพราะไม่ติดรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

“งานโยธา 14 สัญญา เหลือสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ยังไม่ประมูล อยู่ระหว่างการออกแบบโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”

ส่วนสัญญาอื่น ๆ ก่อสร้างแล้ว 2 สัญญาได้แก่ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเสร็จ 100% และสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิลเอ็นจิเนียริงเป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 39.29% ล่าช้ากว่าแผน 47.98% รอเซ็นสัญญา 9 สัญญา อาทิ สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า รวม 30.21 กม. มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ซึ่งสัญญานี้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง EIA และมีการอุทธรณ์ผลการประมูลด้วย


นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติขยายเวลาสัญญา 2.3 งานวางรางและระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ของรถไฟไทย-จีน ออกไปอีก 90 วัน จากเดิมวันที่ 31 ต.ค.นี้ เป็นเดือน ม.ค. 2564 โดยเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 10/2560 เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการ โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พิจารณาตามขั้นตอน จะเร่งให้ได้ก่อนวันที่ 31 ต.ค.นี้

“สาเหตุที่ยืดเวลามาจากการที่บอร์ดเห็นว่าการกำหนดวันเซ็นสัญญาวันที่ 28-29 ต.ค.นี้ยังไม่แน่นอน เพราะโควิด-19 ยังแพร่ระบาด ต้องรอดูท่าทีของประเทศจีน ว่าพร้อมเซ็นสัญญาตามวันเวลาดังกล่าวหรือไม่”

ส่วนการพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายงาน EIA ช่วงบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี รอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะประชุมเพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า

บอร์ดยังอนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ที่เพิ่มอีก 3,143 ล้านบาท จากภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้า และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ทำให้วงเงินรวมของโครงการที่ ครม.เคยอนุมัติไว้ 93,950 ล้านบาท เพิ่มเป็น 97,093 ล้านบาท

โดยวงเงินที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็นช่วงบางซื่อ-รังสิต 2,255 ล้านบาท และบางซื่อ-ตลิ่งชัน 887 ล้านบาท จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาและเสนอที่ประชุม ครม.อนุมัติต่อไป ซึ่งวงเงินดังกล่าวยังไม่รวมค่างานก่อสร้างเพิ่มเติม (VO) 10,345 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด

และบอร์ดยังเห็นชอบอนุมัติขยายเวลาสัญญาก่อสร้างงานโยธารถไฟทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 2 สัญญา อีก 15 เดือน ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กม. วงเงิน 6,500 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเคเอส-ซีเป็นผู้ก่อสร้าง จากวันที่ 31 ต.ค. 2563 เป็นวันที่ 30 ม.ค. 2565 และช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 80 กม. วงเงิน 6,000 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเอสทีทีพี (ซิโน-ไทยฯ-ไทยพีค่อน) เป็นผู้ก่อสร้าง จากวันที่ 31 ม.ค. 2564 เป็นวันที่ 30 ม.ค. 2565

เนื่องจากแบบเดิมไม่สอดคล้องกับการเข้าพื้นที่ก่อสร้างจริง เกิดการทับซ้อนกับระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งต้องวางแผนในการปรับขยับเนื้องานทั้งสองแบบไม่ให้ทับซ้อนกัน จะกระทบกับภาพรวมของการเปิดให้บริการล่าช้าออกไปประมาณ 1 ปี หรือขยับไปเปิดในปี 2566

“รถไฟฟ้าสายสีแดง”เพิ่มเงินลงทุนทะลุ 9.7 หมื่นล้าน
*รฟท.เตรียมเสนอขอครม.อีก 3 พันล้าน
*ลุยทดสอบเดินรถเสมือนจริง มี.ค.64!!
*ทางคู่สายใต้เลื่อนอีกได้ใช้บริการปี 66
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2741166849438149
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

ทดลอง "ปิดสถานีชั่วคราว สถานีหนองวิวัฒน์ , หนองโดน วันที่ 01-10 พ.ย.2563 แต่เวลา 18.00-06.00 น."
https://www.facebook.com/groups/179595628817993/permalink/3181408728636653/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2020 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

การบินไทยทำทัวร์ รถไฟแล้วจ้า
♡ รักอยุธยาเท่าฟ้า แล้วฉันจะพาไป ♡
ทริปนี้ คุณจะได้อิ่มอร่อยกับอาหารไทยเลิศรส ท่ามกลางธรรมชาติแห่งท้องทุ่ง เยี่ยมชมความงามของศิลปหัตถกรรม จิบชายามบ่ายคลอเสียงเพลง ที่คุณจะเพลิดเพลิน ระหว่างเดินทางกลับทางรถไฟ
☆ เที่ยวแบบเก๋ไก๋ และมีสไตล์ไปกับทัวร์เอื้องหลวง
ราคาท่านละ 6,000บาท*
เดินทางวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้
https://www.facebook.com/ThaiAirways.TH/photos/a.629441047162126/3147633005342905/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2020 7:36 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เปิดเอกชนชิงงาน ซ่อม'หัวรถจักร'2.4พันล.
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ ร.ฟ.ท.เตรียม ขายซอง ม.ค.นี้ ดึงเอกชนชิงงาน ซ่อมปรับปรุงหัวรถจักร 57 คัน กว่า 2.4 พันล้าน คาดภายในปี 2568 ส่งมอบครบพร้อมให้บริการ

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการ ประกาศร่างเอกสารประกวดราคา งานจ้างซ่อมปรับปรุงรถจักร ดีเซลไฟฟ้า GEA จำนวน 36 คัน มูลค่ารวมกว่า 1.67 พันล้านบาท โดยอยู่ระหว่างประกาศลงเว็บไซต์เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะวิจารณ์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 26 ต.ค.-3 พ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศขายเอกสารประกวดราคาได้ประมาณเดือน ม.ค.2564 และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ในเดือน มิ.ย.2564

สำหรับโครงการซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้านี้ มีกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 1,200 วันนับจากวันที่ส่งมอบรถ จาก ร.ฟ.ท. หรือแล้วเสร็จราว ปี 2567-2568 โดยเอกชนผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องส่งมอบรถจักรซ่อมบำรุงเป็นงวดๆ จำนวน 12 งวด อีกทั้งเอกชนผู้รับจ้าง จะต้องเป็นผู้จัดหาสถานที่ดำเนินการ ซ่อมปรับปรุงรถจักรเอง โดยหากเป็นสถานที่ของ ร.ฟ.ท.เอกชนจะต้อง ดำเนินการติดต่อขอเช่าสถานที่ และต้องดำเนินการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ในการซ่อมบำรุงด้วย

สำหรับการพิจารณาผลจะใช้ เกณฑ์ราคารวม และกรณีที่ผู้ยื่น ข้อเสนอราคาที่เสนอราคาต่ำสุด โดยกำหนดคุณสมบัติของเอกชนที่จะเข้าร่วมเสนอราคาจะต้องมีประวัติผลิตและซ่อมปรับปรุง รถจักรดีเซลไฟฟ้า หรือผลงาน ซ่อมหนักรถจักรดีเซลไฟฟ้าทั้งคัน โดยรวมสัญญาที่ผ่านมาการตรวจรับแล้วมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 80 ล้านบาท

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า หลังเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระยะเวลา 7 วันแล้ว หากไม่มี ผู้คัดค้านจะเสนอผู้ว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการ (บอร์ด) เบื้องต้นจึงคาดว่าจะนำเสนอ บอร์ดภายในปีนี้ หลังจากนั้น ได้กำหนดเปิดขายซองในเดือน ม.ค.2564 ภายในเดือน ก.พ.2564 เอกชนจะเข้ายื่นข้อเสนอ

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังออกประกาศร่างประกวดราคาจ้างซ่อมปรับปรุง รถจักร HID จำนวน 21 คัน มูลค่างาน รวม 777 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า กรอบการดำเนินงานประกวดราคา จะสอดคล้องกับงานจ้างซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยคาดว่า จะสามารถเปิดขายซองในช่วง ต้นปีหน้า และได้ตัวเอกชนเริ่มงานซ่อมบำรุงภายในไตรมาส 4 ปี 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากรวม งานจ้างซ่อมบำรุงหัวรถจักรที่ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคานั้น มีจำนวนซ่อมรวม 57 คัน มูลค่ารวมกว่า 2.4 พันล้านบาท อีกทั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท. ยังได้ลงนามจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า ล็อตใหม่ น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่จำนวน 50 คัน มูลค่า 6,525 ล้านบาท จะทยอยส่งมอบเป็นงวดๆ งวดที่ 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คัน ภายใน 540 วัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 3:24 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ซ่อมปรับปรุงใหญ่รถจักร 57 คัน 2.4 พันล้าน
*เตรียมเปิดประมูลขายซอง ม.ค.64
*ใช้เวลา 1,200 วัน/เสร็จครบปี 68!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2754778664743634
ได้ฤกษ์ซ่อมใหญ่รถจักร GEA และ HID 57 หลัง (36 GEA + 21 HID) เพื่อติดระบบ ECTS-1 ให้เข้าสถานีบางซื่อได้โดยสะดวก
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5107439015936789

...จ้างซ่อมปรับปรุงรถจักร HID จำนวน 21 คัน ราคากลาง 777 ล้านบาท http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631685184
...จ้างซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA จำนวน 36 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 1,670.4 ล้านบาท
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631712863
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 10:24 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยประมูล “รถจักรดีเซลไฟฟ้า” 1.67 พันล้าน
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:37:30

รฟท.เตรียมเปิดประมูลรถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA จำนวน 36 คัน มูลค่ารวมกว่า 1.67 พันล้านบาท ภายในเดือน ม.ค.2564 จ่อเดินหน้าประมูลรถจักร HID จำนวน 21 คัน มูลค่างานรวม 777 ล้านบาท คาดได้ตัวผู้รับจ้างเริ่มงานซ่อมบำรุงภายในไตรมาส 4 ปี 2564

Wisarut wrote:
รฟท. ซ่อมปรับปรุงใหญ่รถจักร 57 คัน 2.4 พันล้าน
*เตรียมเปิดประมูลขายซอง ม.ค.64
*ใช้เวลา 1,200 วัน/เสร็จครบปี 68!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2754778664743634
ได้ฤกษ์ซ่อมใหญ่รถจักร GEA และ HID 57 หลัง (36 GEA + 21 HID) เพื่อติดระบบ ECTS-1 ให้เข้าสถานีบางซื่อได้โดยสะดวก
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5107439015936789

...จ้างซ่อมปรับปรุงรถจักร HID จำนวน 21 คัน ราคากลาง 777 ล้านบาท http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631685184
...จ้างซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA จำนวน 36 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 1,670.4 ล้านบาท
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631712863

Mongwin wrote:
ร.ฟ.ท.เปิดเอกชนชิงงาน ซ่อม'หัวรถจักร'2.4พันล.
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43735
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

ต้อนรับไฮซีซั่น!!รฟท. ชวนนั่งรถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสัก
*เปิดจองตั๋ว 5 พ.ย.นี้ ประเดิมเที่ยวแรก 14 พ.ย.
*มีทั้งรถแอร์-รถร้อน/ค่าโดยสารเริ่ม 60 บาท!!

ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:08 น.
การรถไฟฯ จัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวนั่งรถไฟลอยน้ำต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว เส้นทาง กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เริ่มเปิดจำหน่ายตั๋ววันแรก 5 พฤศจิกายนนี้
*******************************
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยว พานั่งรถไฟลอยน้ำต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว เส้นทาง กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564 เริ่มเปิด พร้อมให้บริการเที่ยวแรก 14 พฤศจิกายน 2563 และให้บริการตู้โดยสารพิเศษจัดเฉพาะเช่าเหมาคัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ จองตั๋วได้ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563
นางสาวมณฑกาญจน์ ศรีวิลาศ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในฤดูกาลการท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ที่กำลังมาถึงในปีนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เส้นทาง กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ให้เดินทางไปสัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวรถไฟลอยน้ำหนึ่งเดียวของเมืองไทย ท่ามกลางบรรยากาศที่
โอบล้อมด้วยผืนน้ำและผืนป่าเขียวชอุ่มสองข้างทาง แบบไปเช้าเย็นกลับ วันเสาร์ - อาทิตย์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564
ทั้งนี้รถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสัก เที่ยวแรกเปิดให้บริการในวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 และจะมีการให้บริการในวันที่ 14, 15, 21, 22, 28, 29 พฤศจิกายน 2563 วันที่ 6, 12, 13, 19, 20 ธันวาคม 2563 และวันที่ 9, 10, 16, 17, 23, 24, 30, 31 มกราคม 2564 รวมจำนวน 19 วัน
สำหรับตารางเวลาเดินรถ เที่ยวไป ขบวนรถออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 07.10 น. จากนั้น
หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารตามสถานีต่างๆ คือ สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต อยุธยา สระบุรี แก่งคอย แก่งเสือเต้น ถึงจุดชมวิว“รถไฟลอยน้ำ”กลางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ขบวนรถจะหยุดกลางสันเขื่อนมีเวลาให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมดื่มด่ำกับความงดงาม ตื่นตาตื่นใจประมาณ 30 นาที และเดินทางต่อไปที่สถานีโคกสลุง มีเวลาให้นักท่องเที่ยว ถ่ายภาพ ซื้อสินค้ากลุ่มชุมชนท้องถิ่น อีกประมาณ 30 นาที จากนั้นขบวนรถจะพานักท่องเที่ยวมาที่ตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 11.42 น. นักท่องเที่ยวสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย
ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารกลางวันจากร้านค้าของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น เพลิดเพลินกับกิจกรรมการแสดงวิถีชีวิตของชุมชนไทยเบิ้ง การแสดง และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง OTOP นั่งรถตัวหนอนชมบรรยากาศบริเวณสันเขื่อนฯ ไปสักการะพระใหญ่ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี หรือเข้าชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยขบวนรถไฟเที่ยวกลับ ออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 15.30 น. และจะถึงสถานีกรุงเทพ เวลา 18.50 น.
นางสาวมณฑกาญจน์กล่าวว่า การรถไฟฯ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว โดยจัดรถนั่ง ชั้น 3 ธรรมดา และชั้น 2 ปรับอากาศ ส่วนค่าโดยสารเด็ก และผู้ใหญ่ราคาเดียวกัน ตามรายละเอียดดังนี้
1. ค่าโดยสารอัตราพิเศษรถนั่งชั้น 3 ธรรมดา (พัดลม)
* กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ คนละ 290 บาท ไป-กลับ
* สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง คนละ 110 บาท ไป-กลับ
* แก่งเสือเต้น/เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – โคกสลุง คนละ 60 บาท ไป-กลับ
* เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ คนละ 150 บาท เที่ยวกลับเที่ยวเดียว
2. ค่าโดยสารอัตราพิเศษรถนั่งชั้น 2 (ปรับอากาศ)
* กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ คนละ 490 บาท ไป-กลับ
* สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง คนละ 220 บาท
* เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ คนละ 250 บาท เที่ยวกลับเที่ยวเดียว
นอกจากนี้ ยังให้บริการตู้โดยสารพิเศษจัดเฉพาะเช่าเหมาคัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ โดยสามารถเช่าพ่วงเพิ่มไปกับขบวนรถนำเที่ยวดังกล่าวได้ โดยมีอัตราค่าเช่าตู้โดยสาร ไป- กลับ ดังนี้
1. รถจัดเฉพาะปรับอากาศ (รถ OTOP Train) จำนวน 2 ตู้ เดินทางได้ จำนวน 110 คน ราคา 51,400 บาท
2. รถจัดเฉพาะปรับอากาศ (รถเสบียงครัวร้อน) จำนวน 1 ตู้ เดินทางได้ จำนวน 20 คน ราคา 34,000 บาท
3. รถจัดเฉพาะปรับอากาศ (รถเสบียงครัวเย็น) จำนวน 1 ตู้ เดินทางได้ จำนวน 30 คน ราคา 34,000 บาท
4. รถชุด PRESTIGE ประกอบด้วย ตู้ VIP เดินทางได้ 8 คน/ รถประชุม เดินทางได้ 30 คน/รถประชุมและสันทนาการเดินทางได้ 30 คน ในราคาคันละ 40,000 บาท ทั้งนี้ การเช่ารถประเภทเหมาคันทุกชนิดมีค่าใช้จ่ายของพนักงานควบคุมเครื่องเสียงเพิ่ม อัตราคันละ 1,500 บาท/วัน
“ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้ก่อนเดินทางล่วงหน้าได้ 30 วัน ที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย”
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4021146491233525
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2756030287951805
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 380, 381, 382 ... 486, 487, 488  Next
Page 381 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©