Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312027
ทั่วไป:13626542
ทั้งหมด:13938569
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 21, 22, 23  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2020 9:25 am    Post subject: Reply with quote

เอาจริง 'ศักดิ์สยาม'สั่งศึกษาแลนด์บริดจ์'ชุมพร- ระนอง'เชื่อม2ฝั่งทะเล
ไทยโพสต์ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:42 น.

6 ต.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าได้ให้นโยบายทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งผลักดันโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและสอดคล้องกับนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย เช่นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร

ที่สุดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อลดริ้วรอยและจุดด่างดำจากประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านการวิจัยมากว่า 40 ปี
Domohorn Wrinkle
อย่างไรก็ตามซึ่งจะเป็นการพัฒนาการคมนาคมเชื่อมโยงสองชายฝั่งทะเลของไทย โดยโครงการจะมีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท และขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบศึกษาให้แก่หน่วยงาน คือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.รวม 2 หน่วยงาน วงเงิน 158 ล้านบาท รวมทั้งกระทรวงคมนาคมมีนโยบาย ที่จะให้รวมโครงการทุกระบบขนส่งคือท่าเรือ,ทางมอเตอร์เวย์ และระบบทางรถไฟ ให้เอกชนผู้สัมปทานโครงการ ดำเนินการเพียงรายเดียว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเชื่อมโยงระบบขนส่งต่างๆ

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)กล่าวว่า หัวใจคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ชายฝั่งทะเลของไทย โดยการพัฒนาท่าเรือแห่งใหม่ ทั้งที่จังหวัดระนอง และท่าเรือใหม่ในจังหวัดชุมพร หลังท่าเรือทั้ง 2 แห่ง จะสร้างระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟ คู่ขนาน เชื่อมโยง 2 ท่าเรือเข้าหากัน โดยทั้ง 2 ระบบขนส่งจะมีระยะทางใกล้เคียงกันคือประมาณ 120 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามโดยประเด็นสำคัญทางกายภาพและยุทธศาสตร์การขนส่งในภูมิภาค จะเป็นการเชื่อม 2 ภูมิภาค จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมัน ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ในอนาคต สามารถนำเรือสินค้าเทียบ ท่าที่ท่าเรือระนองของไทย ผ่านโครงสร้างทางถนน และทางรถไฟไปต่อที่ท่าเรือที่ชุมพร ก่อนจะนำส่งสินค้าต่อเรือ มุ่งสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออก ซึ่งประเทศในกลุ่มนี้ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี เป็นประเทศใช้น้ำมัน การบริโภค และเมื่อเชื่อมโยงถึงจีน ก็จะเป็นเสมือน โรงงานผลิตสินค้าของโลก ด้วย

ทั้งนี้ สนข. ประเมินว่า โครงการแลนด์บริดจ์นี้ จะมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท เมื่อโครงการเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อไทย เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา ที่มีทั้งปัญหาความแออัด จากเรือสินค้าจำนวนมาก และปัญหาความปลอดภัยในการเดินเรือจากโจรสลัด และการเกิดขึ้นของโครงการแลนบริดจ์นี้ จะช่วยย่นระยะเวลาการขนนส่งได้ 2 วัน ส่งผลดีโดยตรงต่อการลดต้นทุนโลจสิต์ของไทย ให้เหลือไม่เกิน 12 % ต่อจีดีพี ตามแผนยุทธศาตร์ชาติ จากปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย มีมากกว่า 13 % ต่อจีดีพี

สำหรับความคืบหน้าของโครงการ ล่าสุด รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณ ให้ สนข.เร่งรัดศึกษา ในวงเงิน 68 ล้านบาท โดยกำหนด เป้าหมายชัดเจนว่า ระยะเวลา 12 เดือน ของกรอบการศึกษา 30 เดือน ตำหน่งที่ตั้งท่าเรือใน 2 จังหวัดจะต้องชัดเจน การออกแบบราละเอียด การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ รูปแบบธุรกิจ จนถึงการร่วมทุนแบบ PPP กับเอกชน ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ก็ได้รับกรอบวงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อออกแบบโครงการรถไฟ สายชุมพร-ระนองแล้วเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ส่วนรูปแบบการก่อสร้างนั้น สนข. ยืนยันว่า ปัจจุบัน สามารถใช้เทคโนโลยี่ การก่อสร้างใหม่เข้ามาดำเนินการ โดยแนวเส้นทางทั้งทางมอเตอร์เวย์ และรถไฟนี้ จะใช้เทคโนลยี่การขุดเจาะอุโมงค์ ซึ่งปัจจุบันไทยมีความพร้อมแล้ว โดยโครงการจะมีอุโมงค์ 7-9 แห่ง เพื่อทำให้การพัฒนาเส้นทาง ไม่ประสบปัญหาคดเคี้ยว ที่ทั้งสิ้นเปลืองพลังงาน หลีกเลี่ยงการผ่านพื้นที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลกระทบเมื่อต้องเวนคืนพื้นที่ก่อสร้าง และง่ายต่อการจัดการปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามส่วนการบริหารโครงการแลนด์บริดจ์ นี้จะใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลบริหารโครงการเพียงรายเดียวเพื่อให้เกิดการจัดการ บริหารระบบขนส่งให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอายุการให้สัมปทานเอกชนนั้น เนื่องจากโครงการมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีอายุการให้สัมปทานไม่น้อยกว่า 50 ปี จึงจะสามารถทำให้ผู้ลงทุนเกิดผลตอบแทน คุ้มค่ากับการลงทุนหลังโครงการเปิดใช้งานแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2020 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

โลจิสติกส์อีอีซีเชื่อมเอสอีซี
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สนข.จ้างเก่งศึกษาอีก22ล้าน เตรียมซาวเสียงเปิดโครงการ

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. พร้อมเจ้าหน้าที่ สนข. ได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเส้นทางโครงการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 20-21 ต.ค.ที่ผ่านมาที่ท่าเรือระนอง จ.ระนอง ท่าเรือประจวบ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสถานีรถไฟชุมพร จ.ชุมพร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานของท่าเรือระนอง ท่าเรือประจวบ ทั้งเรื่องปริมาณการขนส่งสินค้า แผนพัฒนาท่าเรือ โดยมีแผนลงพื้นที่แหลมคอกวาง จ.ชุมพร ที่ก่อนหน้านี้มีแผนศึกษาพัฒนาพื้นที่สร้างท่าเรือชุมพรในอนาคตด้วย

ขณะที่สถานีรถไฟชุมพรได้พิจารณาข้อมูลปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า รวมถึงลงพื้นที่สถานีรถไฟแสงแดด อ.เมือง จ.ชุมพร ซึ่งอาจจะเป็นสถานีเริ่มต้นที่จะเดินทางไปยังสถานีรถไฟระนองด้วย หลังจากนี้ สนข.จะจัดทำรายงานเบื้องต้นก่อนลงพื้นที่ไปจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อเปิดตัวโครงการใน 2 จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่อีอีซี 1 ครั้ง คาดว่าจะเป็นจ.ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และ ระยอง อยู่ระหว่างสรุปรวมทั้งจัดประชุมในพื้นที่ภาคใต้ 1 ครั้งอาจจะเป็นที่ จ.ชุมพร ภายในเดือน พ.ย. นี้ เพื่อเสนอวัตถุประสงค์โครงการ แนวทางดำเนินการ จากนั้นนำความคิดเห็นผู้ร่วมสัมมนามาปรับปรุงเพื่อลงพื้นที่ศึกษากำหนดรายละเอียดแนวเส้นทางหรือรายละเอียดการดำเนินโครงการต่อไป

โครงการนี้ สนข.ใช้งบประมาณ 22 ล้านบาทจ้างที่ปรึกษาศึกษา 14 เดือน ตั้งแต่ ก.ย. 63-พ.ย. 64 เพื่อวางแผนและศึกษา ความเหมาะสมของการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ (SEC) ที่ตอบสนองการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงสินค้าการผลิตในพื้นที่อีอีซีกับประตูการค้าพื้นที่ภาคใต้เพื่อส่งต่อสินค้าไป ยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่มีสมาชิกรวม 7 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 2:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โลจิสติกส์อีอีซีเชื่อมเอสอีซี
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


แหลมคอกวางอยู่บริเวณตำบลนาทุ่งครับ ที่อ่าวพนังตึกด้วย: จุดชมวิวแหลมหัวโม่ง-คอกวาง

ส่วนสถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุด ถ้าไม่ที่ชุมพรก็สถานีรถไฟนาชะอัง ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2020 10:11 am    Post subject: Reply with quote

'ไพรินทร์'บูมรถไฟทางคู่เชื่อมอันดามัน ปั้นเมืองท่าระนอง เปิดตลาด 'บิมเทค'
โดย นครินทร์ ศรีเลิศ
6 ธันวาคม 2563

“ไพรินทร์” หนุนสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือระนอง ชี้ช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจไทยเชื่อมบิมสเทค พร้อมบูมเศรษฐกิจระนองเป็น ‘เมืองท่าฝั่งขวา’ ชี้เป็นครั้งแรกในรอบ100 ปีที่ไทยจะมีเมืองท่าในฝั่งทะเลอันดามัน และครั้งแรกรอบ140 ปีมีรถไฟเชื่อมเส้นทางฝั่งอันดามัน โครงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ที่รัฐบาลมีแผนจะผลักดันให้เป็นโครงการเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปโดยในโครงการนี้มีโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบคือโครงการแลนด์บริดจ์ที่จะเชื่อมการขนส่งในอนาคตทั้งจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปยังทะเลฝั่งอันดามันรวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมาขนส่งมายังท่าเรือระนองเพื่อเปิดเส้นทางการส่งออกไปยังฝั่งอันดามัน


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถารการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) เปิดเผยว่าเส้นทางรถไฟทางคู่ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบคือเส้นทางรถไฟทางคู่ความยาวประมาณ 90 กิโลเมตรเชื่อมจากจะเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางชุมพร-ระนองมาถึงท่าเรือระนอง

โดยเส้นทางนี้ตนได้เสนอตั้งแต่ครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมโดยโดยเมื่อครั้งได้ไปตรวจราชการในพื้นที่จ.ระนองและเห็นหัวรถจักรเก่าสมัยสงครามโลกถูกทิ้งล้างอยู่ในป่าจึงได้ไปคุยกับชาวบ้านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงได้รู้ประวัติความเป็นมาของเส้นทางรถไฟเส้นนี้ว่าเป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเข้ามาสร้างไว้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นได้มาก่อสร้างเส้นทางรถไฟเอาไว้ 2 เส้น เส้นนึงคือเส้นทางรถไฟที่จ.กาญจนบุรีที่เชื่อมไปถึงเมียนมาซึ่งตามยุทธศาตร์ญี่ปุ่นจะยกทัพจากเมียนมาไปยังอินเดีย

ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางที่จะไปยังจังหวัดระนองเพื่อไปยังท่าเรือที่จะออกไปยังฝั่งตะวันตกและเข้าไปยังเมียนมาได้ ความยาวขนาด 90 กิโลเมตร ซึ่งตอนนั้นญี่ปุ่นใช้เวลาสร้างเสร็จภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี โดยการก่อสร้างนั้นไปถึงยังบริเวณที่เรียกว่าปากคลองละอุ่น จ.ระนอง ซึ่งจากคลองละอุ่นนี้มีเส้นทางเรือต่อไปยังคลองกะเป็นชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาและออกสู่ทะเลฝั่งอันดามันได้เช่นกัน เส้นทางนี้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์ในการลำเลียงกำลังพลอยู่ได้ไม่นานนักในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ถูกกองกำลังของสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนเสียหายไป และเมื่อกาลเวลาผ่านไปเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ถูกลืมเลือนไปในประวัติศาสตร์




นายไพรินทร์กล่าวต่อว่าข้อเสนอของตนคือให้กระทรวงคมนาคมเดินหน้าศึกษาและก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้เพราะจะเป็นเส้นทางรถไฟเส้นแรกของประเทศที่เชื่อมตอนในของประเทศเข้ากับท่าเรืออันดามันเพราะในพื้นที่จ.ระนองมีท่าเรือพาณิชย์ที่สร้างไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2550 แต่ก็ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งหากขยายขนาดท่าเรือให้ใหญ่ขึ้นอาจจะไม่ต้องถึงขนาดที่จะต้องเป็นท่าเรือน้ำลึกในทันทีแต่การปรับปรุงจะทำให้เป็นท่าเรือที่รองรับท่าเรือสินค้าที่จะส่งสินค้าไปถึงประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ที่มีสมาชิกใน 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่จะเป็นตลาดส่งออกของไทยได้ ส่วนในอนาคตหากจะพัฒนาท่าเรือระนองต่อไปให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ก็สามารถที่จะทำได้ หรืออีกรูปแบบคือสร้างท่ารับเรือขนาดใหญ่ไว้ในทะเลก็สามารถที่จะทำได้ต้องว่ากันอีกที

ในหลักการก็คือเมื่อเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นชุมพร-ระนองสร้างเสร็จ ตู้สินค้าที่ขนส่งมาทางรางก็ขนส่งต่อมาทางเส้นทางรถไฟทางคู่ที่จะสร้างต่ออีก 90 กิโลเมตรมาถึงฝั่งอันดามันเชื่อมกับท่าเรือระนองจะทำให้การขนส่งสินค้าของไทยออกไปยังฝั่งอันดามันทำได้อย่างเป็นรูปธรรม

โครงการนี้ได้งบออกแบบแล้วในปีงบประมาณ 2564 ประมาณ 3 - 4 ปีน่าจะสร้างแล้วเสร็จ แล้วท่าเรือที่ระนองก็ขยายออกไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2020 6:15 am    Post subject: Reply with quote

'ระนอง-ชุมพร'ปลื้ม ฟื้นเส้นทางรถไฟ สายประวัติศาสตร์
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

อีกโครงการหนึ่ง ที่ ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 (ศบศ.) เตรียมผลักดันคือ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางชุมพรระนอง ความยาวประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

เป็นอีกจิ๊กซอว์ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปยังทะเลฝั่งอันดามัน รวมทั้งช่วยขนส่งสินค้าจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ไปยังท่าเรือระนอง เป็นการเปิดเส้นทางการส่งออกไปยังฝั่งอันดามัน เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มประเทศบิสเทค (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation : BISTEC) หรือกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย

เส้นทางรถไฟสายนี้ เคยมีมาแล้วสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อครั้งที่กองทัพญี่ปุ่นยกพลบุกไทย มีการเกณฑ์เชลยศึกก่อสร้างเส้นทางรถไฟ 2 เส้น คือเส้นทางรถไฟที่ จ.กาญจนบุรี ที่เชื่อมไปถึงประเทศเมียนมา

อีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางไป จ.ระนอง เพื่อไปยังท่าเรือเข้าประเทศเมียนมา ครั้งนั้นญี่ปุ่นใช้เวลาสร้างเสร็จภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี โดยก่อสร้างไปถึงยังบริเวณปากคลองละอุ่น จ.ระนอง จากคลองละอุ่นนี้มีเส้นทางเรือต่อไปยังคลองกะ ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาและออกสู่ทะเลฝั่งอันดามัน เส้นทางนี้กองทัพญี่ปุ่นใช้ลำเลียงกำลังพลได้ไม่นานนัก ก่อนถูกกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนเสียหายไป จากนั้นเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ถูกลืมเลือนไป

ลองไปฟังเสียงจากภาคเอกชนในพื้นที่ว่าการพลิกฟื้นเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาใหม่ จะช่วยกระตุ้นการค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยว ได้มากน้อยแค่ไหน

ธีระพล ชลิศราพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ให้ความเห็นว่า ภาคเอกชนมีแนวคิดเรื่องนี้ไว้นานแล้ว ในการเชื่อมต่อรถไฟจากชุมพรมาระนอง ต่อมาผู้ว่าฯระนองนำเสนอในการประชุม ครม.สัญจรที่ จ.ภูเก็ต ถ้าเกิดขึ้นได้จริง ทุกอย่างในระนองจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งเทคโนโลยี การลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า ยิ่งหากมีการเชื่อมต่อจากแหลมฉบังมาโดยตรง หากท่าเรือพร้อม ร่องน้ำพร้อม ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

"ผมเคยพูดกับทูตสหรัฐ ที่มาเยือนระนองว่าเห็นด้วยกับโครงการนี้ ดีกว่าการขุดคอคอดกระหรือคลองไทย เพราะทางด้านพื้นฐานก็จะดีกว่า คุ้มค่ากว่า ได้ทั้งการท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ตามสถานีรถไฟต่างๆ จะได้รับผลดีทั้งหมด" ประธานหอการค้าจังหวัดระนองหนุนเต็มที่

ด้าน ธัญวิทย์ ธรรมสุนทร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง เสริมว่า ผมสนับสนุนเรื่องแลนด์บริดจ์อยู่แล้ว ควรจะส่งเสริมให้เป็นระบบรางที่เชื่อมต่อจากอีอีซี-ชุมพรระนองโดยตรง อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าหากพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร แล้วยกสินค้าขึ้นที่ท่าเรือชุมพร แล้ววิ่งมาระนอง และต้องมายกลงเรือที่ท่าเรือระนองอีกครั้งนั้น จะคุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือไม่กับการที่สามารถเซฟระยะเวลาไปได้ 2 วัน ผมอยากให้มีการวิ่งทางรางจาก อีอีซีตรงมาถึงระนองเลยจะดีกว่า

กรรณิการ์ เอี้ยวตระกูล นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ก็เชียร์เช่นกันว่าการท่องเที่ยวจะเข้าไปมีส่วนในทุกๆ เรื่อง หากเราพูดถึงเรื่องการเชื่อมโยงการขนส่ง ก็จะส่งผลต่อการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นด้วย จะทำช่วยสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้มาก เพราะสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีให้หลายๆ เรื่องตามมาด้วย

ลองฟังเสียงจากชุมพรดูบ้าง ไพบูลย์ ลิ้มเลิศวาที ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร บอกว่า เห็นด้วยกับโครงการเส้นทางรถไฟทางคู่เชื่อมชุมพร-ระนอง แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยก็คือ ท่าเรือน้ำลึกชุมพรที่เคยมีการศึกษาความเป็นไปได้มาแล้วว่ามีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างที่แหลมคอกวาง ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) จัดประชุมเรื่องท่าเรือน้ำลึกที่ จ.ชุมพร โดยมีการเสนอว่าหากจะสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมคอกวาง ควรสร้างด้านทิศใต้ของแหลมซึ่งมีความลึกประมาณ 12 เมตร ไม่ควรสร้างด้านหน้าแหลมที่มีความลึกแค่ 5 เมตร เท่านั้น

อีกทั้งทราบว่าขณะนี้มีการมอบหมายให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชื่อดังทำการศึกษาผลกระทบและความเป็นไปได้ โดยใช้งบกว่า 70 ล้านบาท ซึ่งเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมีการวางแผนแก้ไขไว้แล้ว

"ในฐานะประธานหอการค้าจังหวัดชุมพรพร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้กับรัฐบาลเต็มที่ เพราะถ้าสามารถสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกชุมพรควบคู่กับการสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ชุมพรระนองได้ก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเฉพาะชุมพรกับระนองแน่นอน" ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพรเชียร์สุดตัว

ด้าน ชยศ สุวรรณพหู ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร เสริมว่า เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ปัจจุบันชุมพรกับระนองอยู่ในกลุ่มการค้าจังหวัดภาคใต้ตอนบนอยู่แล้ว หากมีทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนอง จะทำให้การคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างสองจังหวัดมีความสะดวกมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงกันระหว่างรถยนต์ รถไฟ ท่าเรือ และสนามบิน

"รวมทั้งยังสอดรับกับโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมสองฝั่งทะเลด้วย ต่อไปการเดินทางระหว่างชุมพร-ระนอง จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ส่วนเรื่องผลกระทบคงต้องมีบ้าง ทราบว่าเคยมีการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเอาไว้แล้ว หากมีการคมนาคมระบบรางเข้ามาเสริมระหว่างสองจังหวัด ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างแน่นอน" ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพรก็หนุนเต็มที่

ขณะที่ อนัน รามพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร ระบุว่า เส้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองถือเป็นความหวังของคนทั้งสองจังหวัด เพราะจะเป็นการเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวสองฝั่งทะเลเข้าด้วยกัน ทำให้การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของทั้งสองจังหวัดมีความสะดวกมากขึ้น

"สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเคยสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างชุมพร-ระนองมาแล้ว หากสามารถรื้อฟื้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองขึ้นมาได้ก็จะเป็นผลดีต่อลูกหลานของเราในอนาคต รวมทั้งยังสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ด้วย การสร้างทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองในบางจุด อาจต้องขุดอุโมงค์ให้รถไฟลอด เพราะต้องผ่านเขาจะกลายเป็นอันซีนของทั้งสองจังหวัดได้อีกด้วย" อนันส่งเสียงเชียร์อีกคน

ภาคเอกชนทั้ง 2 จังหวัดต่างสนับสนุนโครงการนี้เต็มที่ รอแค่ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเริ่มลงมือกันอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรมเมื่อไร

บรรยายใต้ภาพ
ธีระพล ชลิศราพงศ์
ธัญวิทย์ ธรรมสุนทร
กรรณิการ์ เอี้ยวตระกูล
ไพบูลย์ ลิ้มเลิศวาที
อนัน รามพันธุ์--จบ--
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2020 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

หอการค้าชุมพรชงรัฐบาลผุด'ท่าเรือน้ำลึก'กระตุ้นเศรษฐกิจใต้
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

หอการค้าชุมพรดันรัฐบาลผุด "ท่าเรือน้ำลึกชุมพร" คู่ขนาน "รถไฟทางคู่เชื่อมชุมพร-ระนอง" หวังกระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต

จากกรณีที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า เส้นทางรถไฟทางคู่ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบยาวประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมจากเส้นทางรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง มาถึงท่าเรือระนอง และเป็นเส้นทางที่เสนอตั้งแต่ครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และได้ทราบประวัติความเป็นมาของเส้นทางรถไฟเส้นนี้ว่าเป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเข้ามาสร้างไว้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นมาก่อสร้างเส้นทางรถไฟไว้ 2 เส้น เส้นหนึ่งคือเส้นทางรถไฟที่ จ.กาญจนบุรี ที่เชื่อมไปถึงเมียนมาตามยุทธศาสตร์ญี่ปุ่นจะยกทัพจากเมียนมาไปยังอินเดีย และเป็นรถไฟทางคู่เชื่อม อ่าวไทย-อันดามัน หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระนองเป็น "เมืองท่าฝั่งขวา" เป็นเส้นทางเศรษฐกิจไทยเชื่อม BIMSTEC (BangladeshIndia-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) หรือ BIST-EC สมาชิกเบื้องต้น 4 ประเทศ คือ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย และไทยนั้น

นายไพบูลย์ ลิ้มเลิศวาที ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการเส้นทางรถไฟทางคู่เชื่อมชุมพร-ระนอง แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือ ท่าเรือน้ำลึกชุมพรที่เคยมีการศึกษาความเป็นไปได้มาแล้วว่ามีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างที่แหลมคอกวาง ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร และเมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) เคยจัดประชุมเรื่องท่าเรือน้ำลึกที่ จ.ชุมพร โดยมีการเสนอว่า หากจะสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมคอกวาง ควรสร้างทางด้านทิศใต้ของแหลม ซึ่งมีความลึกประมาณ 12 เมตร ไม่ควรสร้างด้านหน้าแหลมที่มีความลึกเพียง 5 เมตรเท่านั้น อีกทั้งยังทราบว่าขณะนี้ได้มีการมอบหมายให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำการศึกษาผลกระทบและความเป็นไปได้ โดยใช้งบฯกว่า 70 ล้านบาท ซึ่งในเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้มีการวางแผนแก้ไขไว้แล้ว ในฐานะประธานหอการค้าจังหวัดชุมพรพร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้กับรัฐบาลเต็มที่ เพราะถ้าสามารถสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกชุมพรควบคู่กับการสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่ชุมพร-ระนองได้ จะ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเฉพาะชุมพรกับระนองแน่นอน

นายอนัน รามพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เส้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนอง ถือเป็นความหวังของคนทั้ง 2 จังหวัด เพราะจะเป็นการเชื่อมแหล่งท่องเที่ยว 2 ฝั่งทะเลเข้าด้วยกัน ทำให้การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของทั้ง 2 จังหวัดมีความสะดวกมากขึ้น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเคยสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างชุมพร-ระนองมาแล้ว หากสามารถรื้อฟื้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองขึ้นมาได้ ก็จะ เป็นผลดีต่อลูกหลานของเราในอนาคต และ สอดรับกับสนามบินของทั้ง 2 จังหวัด รวมทั้งยังสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ด้วย การสร้างทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองในบางจุด อาจต้องมีการขุดอุโมงค์ให้รถไฟลอด เพราะต้องผ่านเขาซึ่งจะกลายเป็น unseen ของทั้ง 2 จังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย

นายชยศ สุวรรณพหู ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร กล่าวว่า ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ปัจจุบันชุมพรกับระนองรวมกันในกลุ่มการค้าจังหวัดภาคใต้ตอนบนอยู่แล้ว หากมีทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนอง ทำให้การคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่าง 2 จังหวัดมีความสะดวกมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยง กันระหว่างรถยนต์ รถไฟ ท่าเรือ และสนามบิน รวมทั้งยังสอดรับกับโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อม 2 ฝั่งทะเลด้วย ต่อไปการเดินทางระหว่างชุมพร-ระนอง จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ส่วนเรื่องผลกระทบที่คงต้องมีบ้าง ทราบว่าเคยมีการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเอาไว้แล้ว หากมีการคมนาคมระบบรางเข้ามาเสริมระหว่าง 2 จังหวัด ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างแน่นอน

บรรยายใต้ภาพ
ดันท่าเรือ - หอการค้าจังหวัดชุมพรต้องการผลักดันให้รัฐบาลจัดงบประมาณในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกชุมพร พร้อมการสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมชุมพร-ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนลงทุน “แลนด์บริดจ์” ปักหมุด “ชุมพร-ระนอง” ขนส่งน้ำมันดิบแนวใหม่
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 15:15 น.
ปรับปรุง: วันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 15:15 น.

“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนลงทุน “แลนด์บริดจ์” พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน “ท่าเรือ-รถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์” ปักหมุดเปิดระบบขนส่งน้ำมันดิบ (Oil Bridge) แนวใหม่ ชุมพร-ระนอง ลดเวลาขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางสู่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ว่า โครงการนี้ประกอบด้วยโครงการสำคัญ 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการ

2. การพัฒนามอเตอร์เวย์เชื่อม Land Bridge มอบหมายให้กรมทางหลวง(ทล.) ดำเนินการ และ
3. การพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อม Land Bridge มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการ

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า แนวทางในการดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) นั้น ต้องคำนึงถึงภาพรวมในการขนส่งทางทะเลของโลก ซึ่งในปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางหลัก

จากสถิติการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมันดิบในปี 2559 พบว่าปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตจากพื้นที่เอเชียตะวันออกกลางขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับอ่าวโอมาน ประมาณ 19.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน และผ่านทางช่องแคบมะละกา ประมาณ 16.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อขนส่งไปยังประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่มีการนำเข้ามากกว่าร้อยละ 80

ในขณะที่การขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านช่องแคบมะละกาอยู่ที่ประมาณ 24.7 ล้านตู้ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของปริมาณสินค้าที่ขนส่งทั่วโลก ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ท่าเรือสิงคโปร์กลายเป็นท่าเรือที่มีคลังน้ำมันและท่าเทียบเรือน้ำมันใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเป็นท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากเป็นอันดับ 2 ของโลก

ในขณะที่พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค สำหรับการเป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างทวีปต่างๆ ของโลก และยังมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จากตำแหน่งที่ตั้งโครงการ ซึ่งสามารถลดเวลาและระยะทางการขนส่งจากเดิม ทำให้ประหยัดต้นทุนการขนส่งหลีกเลี่ยงปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกา จึงมีแนวโน้มในการจูงใจผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้มากขึ้น

จากข้อได้เปรียบดังกล่าว กระทรวงคมนาคม โดย สนข.จึงได้กำหนดบทบาทของโครงการ Land bridge ชุมพร-ระนอง ให้เป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมันดิบ หรือ Oil Bridge โดยขนส่งน้ำมันทางเรือจากช่องแคบฮอร์มุซมายังท่าเรือระนอง และผ่านทางท่อไปยังท่าเรือชุมพร เพื่อขนส่งทางเรือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมถึงการเป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเชื่อมต่อทางรางและทางถนน และเป็นท่าเรือสำหรับการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพร ส่งเสริม Land Bridge และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้

ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนาท่าเรือ โดยพิจารณาทั้งพื้นที่โครงการฝั่งอันดามันและอ่าวไทย โดยการคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนาท่าเรือทั้งสองฝั่งนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน 2564 ก่อนที่ ทล.และ รฟท.จะดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้ แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษ และทางรถไฟตามกรอบการดำเนินการโครงการ MR-MAP เชื่อมต่อท่าเรือสองฝั่งทะเลต่อไป


มิ.ย.นี้ เคาะ 2 ทำเลท่าเรือใหม่ "ชุมพร-ระนอง" โปรเจคท์แลนด์บริดจ์
หน้าข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 13.45 น.

​​​​​​​“ศักดิ์สยาม” สปีดโปรเจคท์ “แลนด์บริดจ์” มิ.ย.นี้ เคาะ 2 ทำเลท่าเรือใหม่ “ชุมพร-ระนอง” ดันทางเลือกขนส่งน้ำมันดิบ ผ่านท่อ-เรือ เชื่อมจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ฉลุย ชี้ได้เปรียบเป็นฮับภูมิภาค แก้ปัญหาขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา หนุนไทยขึ้นแท่นประตูขนส่งสินค้า-โลจิสติกส์  


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) เมื่อวันที่ 15 มี.ค.64 ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนา 2 ท่าเรือ คือ 1.ท่าเรือระนอง และ 2.ท่าเรือชุมพร โดยพิจารณาทั้งพื้นที่โครงการฝั่งอันดามันและอ่าวไทย  

ทั้งนี้ การคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนาท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ คาดว่าจะสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ในช่วงเดือน มิ.ย.64 ก่อนที่กรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้น แนวเส้นทางโครงการมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟตามกรอบดำเนินการโครงการแผนแม่บทโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับมอเตอร์เวย์ (MR MAP) เชื่อมต่อท่าเรือ 2 ฝั่งทะเลต่อไป




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า แนวทางดำเนินการแลนด์บริดจ์นั้น ต้องคำนึงถึงภาพรวมการขนส่งทางทะเลของโลก ซึ่งในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางหลัก โดยจากสถิติการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมันดิบในปี 59 พบว่า ปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตจากพื้นที่เอเชียตะวันออกกลาง ขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับอ่าวโอมาน ประมาณ 19.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน และผ่านทางช่องแคบมะละกา ประมาณ 16.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อขนส่งไปยังประเทศ แถบมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่มีการนำเข้ามากกว่า 80%  
  
ขณะที่การขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทเนอร์ผ่านช่องแคบมะละกาอยู่ที่ประมาณ 24.7 ล้านตู้ต่อปี คิดเป็น 4.3% ของปริมาณสินค้าที่ขนส่งทั่วโลก ดังนั้นทำให้ท่าเรือสิงคโปร์กลายเป็นท่าเรือที่มีคลังน้ำมันและท่าเทียบเรือ น้ำมันใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเป็นท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลให้พื้นที่ภาคใต้ของไทย จึงมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค สำหรับการเป็นประตูการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างทวีปต่างๆ ของโลก อีกทั้งยังมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จากตำแหน่งที่ตั้งโครงการ ซึ่งสามารถลดเวลาและระยะทางการขนส่ง จากเดิมทำให้ประหยัดต้นทุนการขนส่งหลีกเลี่ยงปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกา จึงมีแนวโน้มในการจูงใจผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้มากขึ้น   




นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า จากข้อได้เปรียบดังกล่าว สนข. จึงกำหนดบทบาทโครงการแลนด์บริดจ์ “ชุมพร-ระนอง” ให้เป็นทางเลือกการขนส่งน้ำมันดิบ (Oil Bridge) โดยขนส่งน้ำมันทางเรือจากช่องแคบฮอร์มุซมายังท่าเรือระนอง และผ่านทางท่อไปยังท่าเรือชุมพร เพื่อขนส่งทางเรือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมถึงการเป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้า ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเชื่อมต่อทางรางและทางถนน และเป็นท่าเรือสำหรับการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพร ส่งเสริมแลนด์บริดจ์ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้    

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
1.โครงการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบ เบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาแลนด์บริดจ์ มอบให้ สนข. ดำเนินการ
2.การพัฒนามอเตอร์เวย์ เชื่อมแลนด์บริดจ์มอบให้ ทล.ดำเนินการ และ
3.การพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมแลนด์บริดจ์ มอบให้ รฟท. ดำเนินการ  
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”เร่งออกแบบท่าเรือ”แลนด์บริดจ์“วางแนวทางรถไฟเชื่อม 2 ฝั่งทะเลต้อง” สั้นและตัดตรง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:37 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:37 น.

“ศักดิ์สยาม”เร่งออกแบบ ท่าเรือน้ำลึก ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน และทางรถไฟเชื่อมแลนด์บริดจ์ กำชับใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์กับท้องถิ่น และจัดตั้งพื้นที่เป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผลักดันเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค

วันที่ 3 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นโครงการ ซึ่งได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาของโครงการออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม มีการออกแบบท่าเรือให้มีความลึก 16 เมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน แนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟ และทางหลวงสายหลักได้ สามารถรองรับ ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมทั้งรองรับระบบขนส่งทางท่อ

2. ด้านการพัฒนาพื้นที่หลังท่า จะมีการจัดตั้งพื้นที่หลังท่าเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่าตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

3. ด้านการส่งเสริมการขนส่ง มีการศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อลดขั้นตอน และเอกสาร ในการขนส่งสินค้า ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ให้สิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง

4. ด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของมวลชน โดยในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น เช่น กำหนดโควต้าการรับสมัครเข้าทำงานในโครงการให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการ/แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

ซึ่งนอกจากพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการแล้ว การศึกษานี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งท่าเรือตามแนวทางที่เป็นสากล ตามแนวทางของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา Port Planning Handbook (UNCTAD,1984) และ สมาคมโลกเพื่อการขนส่งทางน้ำ PIANC Outline master planning process for greenfield ports (PIANC 185) โดยมีปัจจัยและสัดส่วนที่ใช้ในการพิจารณา 4 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านวิศวกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงิน และปัจจัยด้านสังคมโดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สนข. รับข้อสังเกตและประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งในการคัดเลือกแนวเส้นทางนั้นให้คำนึงถึงการลดระยะวลาในการขนส่งจากท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเกิดการกระจายการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น และการเปรียบเทียบโครงการในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการต่อการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งให้พิจารณาประเด็นการสร้างพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับการร่วมพัฒนาโครงการ โดยให้ครอบคลุมทั้งภายในประเทศ ประเทศในภูมิภาค และจากประเทศต่างๆ ในเวทีโลก


คีย์เวิร์ดแลนด์บริดจ์แสนล้าน!!"สั้นและตรงสุด”ชุมพร-ระนอง
*”ศักดิ์สยาม”สั่งการบ้านบี้สนข.จ้าง68ล้านงานต้องเวิร์ก
*ท่าเรือลึก16เมตร/เชื่อมรถไฟ-ทางหลวง/พัฒนาหลังท่า
*ให้สิทธิพิเศษภาษีดึงดูดนักลงทุน/จ้างงานลูกหลานพื้นที่

Note: เอาจริงๆนะ ระนองไม่เหมาเพราะ ห่างเส้นทางเดินเรือสากลมากๆ และคงช่วยแค่เรือไทยที่จะส่งออกไปต่างประเทศแหละ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2895726333982199
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

คุณธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ comment เกี่ยวก โครงการ SEC ไว้น่าสนใจ
https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/4641223089226191
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2021 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม สั่งเร่ง 'แลนด์บริดจ์' เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

04 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:41 น.



4 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วันนี้ (3 พ.ค. 2564) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นการพัฒนาแลนด์บริดจ์ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับข้อสังเกต และประเด็นเพิ่มเติมต่างๆ

ทั้งนี้ให้ สนข.ดำเนินการการคัดเลือกแนวเส้นทางโดยคำนึงถึงการลดระยะเวลาในการขนส่งจากท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งจะต้องสั้นและตรงที่สุด รวมถึงพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเกิดการกระจายการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น และการเปรียบเทียบโครงการในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการต่อการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งให้พิจารณาประเด็นการสร้างพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับการร่วมพัฒนาโครงการ โดยให้ครอบคลุมทั้งภายในประเทศ ประเทศในภูมิภาค และจากประเทศต่างๆ ในเวทีโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า โครงการดังกล่าว ได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาของโครงการออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โดยออกแบบท่าเรือให้มีความลึก 16 เมตรทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน แนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟ และทางหลวงสายหลักได้ สามารถรองรับ ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมทั้งรองรับระบบขนส่งทางท่อ 2.ด้านการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยการจัดตั้งพื้นที่หลังท่าเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่าตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

3.ด้านการส่งเสริมการขนส่ง โดยศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อลดขั้นตอนและเอกสาร ในการขนส่งสินค้า ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ให้สิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง
และ4.ด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของมวลชน โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น เช่น กำหนดโควต้าการรับสมัครเข้าทำงานในโครงการให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการ/แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า นอกจากพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการแล้ว การศึกษานี้ ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งท่าเรือตามแนวทางที่เป็นสากล ตามแนวทางของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา Port Planning Handbook (UNCTAD,1984) และ สมาคมโลกเพื่อการขนส่งทางน้ำ PIANC Outline master planning process for greenfield ports (PIANC 185) โดยมีปัจจัยและสัดส่วนที่ใช้ในการพิจารณา 4 ด้าน ประกอบด้วยปัจจัยด้านวิศวกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงิน และปัจจัยด้านสังคมโดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม”เร่งออกแบบท่าเรือ”แลนด์บริดจ์“วางแนวทางรถไฟเชื่อม 2 ฝั่งทะเลต้อง” สั้นและตัดตรง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:37 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:37 น.


Note: เอาจริงๆนะ ระนองไม่เหมาเพราะ ห่างเส้นทางเดินเรือสากลมากๆ และคงช่วยแค่เรือไทยที่จะส่งออกไปต่างประเทศแหละ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2895726333982199
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 21, 22, 23  Next
Page 3 of 23

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©