Rotfaithai.Com :: View topic - ระยองอยากมีระบบขนส่งมวลชน
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 16/03/2020 1:24 pm Post subject:
เปิดเส้นทางขนส่งสาธารณะเลือกแทรม-อีวีบัสตะลุยอีอีซี
Dailynews 15/3/2563
ส่วนจ.ระยอง จะนำเสนอวันที่ 16 มี.ค. และ จ.ฉะเชิงเทรา วันที่ 17 มี.ค. เพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงผลการศึกษาก่อนจัดประชุมสัมมนาครั้ง 2 เพื่อปิดโครงการภายในเดือนมี.ค.เสนอผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป
จ.ระยอง เลือกโครงการรถไฟฟ้าล้อยาง (แทรมบัส) เส้นทาง รย 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ระยะทาง 18.19 กม. ค่าลงทุน 1,209 ล้านบาท ต้นทุนคันละ 30 บาท ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้า มี 22 สถานี ลานจอดแล้วจร 4 แห่ง รองรับ 350 คัน ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง พื้นที่ 11.08 ไร่ รองรับรถไฟฟ้าล้อยาง 26 คัน มีพื้นที่ชาร์จแบตเตอรี่ครั้งละ5คัน
รองรับผู้โดยสาร 80 คนต่อคัน ความถี่ช่วงเวลาเร่งด่วน 6 นาที และช่วงปกติ 10 นาที ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย คาดเปิดบริการปี 67 มีผู้โดยสารใช้บริการ 7,000 คนต่อวัน มีช่องทางเฉพาะ
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่ทางเข้า-ออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ผ่านจุดตัดสี่แยกบริเวณตลาดมาบตาพุด ผ่านสะพานข้ามคลองน้ำหู บริเวณ กม. 214+195 เบี่ยงไปทางทิศตะวันออก
ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ผ่านจุดตัดสามแยกรพ.ระยอง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำระยอง บริเวณ กม.222+306 ผ่านปั๊มน้ำมันไออาร์พีซี สวนสุขภาพเชิงเนิน สิ้นสุดบริเวณทางเข้า-ออก เขตอุตสาหกรรมบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2547123032175866/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 10/07/2020 10:58 am Post subject:
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ณ ห้องสร้อยทอง 3-4 โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จังหวัดระยอง
ข่าวประชาสัมพันธ์
26 มิถุนายน 2020
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 13.00 น. ณ ห้องสร้อยทอง 3-4 โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จังหวัดระยอง รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบมา
ประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชน ใน EEC กลุ่มย่อย ระยอง วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 13.00 น. โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
July 8 at 8:53 PM
วันนี้เอาข่าวพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน EEC มาเล่าและชวนเพื่อนๆ ในพื้นที่ระยองเข้าไปฟังและแสดงความคิดเห็น กับการทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะมีผลกระทบกับการพัฒนา EEC ไปอย่างน้อย 30-50 ปีข้างหน้า ตามแผนพัฒนา
ซึ่งโครงการนี้ชื่อเต็มๆ คือ โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โดยทาง สนข. และ EECO ได้ร่วมกันศึกษาแผนแม่บนของระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่ EEC ทั้งหมด เพื่อให้รองรับการพัฒนาเมืองตามแผนของ EEC ที่จะมีคนเข้าไปอยู่ในพื้นที่ EEC อีกหลายล้านคน และขนส่งมวลชน เพื่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนหลัก เช่นรถไฟความเร็วสูง รถไฟ สนามบิน เป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ
ดังนั้น ทาง สนข. และ EEC จึงเริ่มต้นโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อวางแผนในระยะยาวในการวางอนาคตในการเดินทางให้กับ EEC อย่างเป็นระบบ
โดยการศึกษาของโครงการมี 3 พื้นที่หลักๆ คือ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี (อาจจะมีศรีราชาด้วย) และ ระยอง(ต่อมาถึงมาบตาพุด) แต่ส่วนของพัทยา ไม่รวมกับแผนนี้ เพราะทางเมืองพัทยาได้ทำการศึกษาเองอยู่
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 15/10/2021 1:25 pm Post subject:
เมกะโปรเจ็กต์ล้อยางหมื่นล้าน EV Bus อีอีซี รับไฮสปีด 3 สนามบิน
รายงาน
กีรติ เอมมาโนชญ์
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 ตุลาคม 2564 - 11:03 น.
การลงทุนภาครัฐคือลมหายใจขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคโควิด
อัพเดตล่าสุด คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ที่มี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 เห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Public Transit Master Plan : EPMP) เรียบร้อยแล้ว
ลงทุนหมื่นล้านวิ่งพร้อมไฮสปีด
เรื่องเดียวกันนี้ แหล่งข่าวจาก สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หน่วยงานเสนาธิการของกระทรวงคมนาคม กล่าวกับ ประชาชาติธุรกิจ ว่า พลันที่มีมติ คจร.ดังกล่าว มีผลเท่ากับเริ่มต้นนับ 1 โครงการ โดยภารกิจ สนข.ในฐานะทำคลอดผลศึกษาโครงการถือว่าสำเร็จลุล่วง
หน้าที่ต่อจากนี้มีการส่งไม้ต่อให้ สกพอ.-สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นำไปขยายผลสู่ภาคปฏิบัติ
เริ่มต้นจากการเสนอผลการศึกษานี้เข้าสู่ที่ประชุม บอร์ด EEC-คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
หากบอร์ด EEC พิจารณาให้ความเห็นชอบก็จะมีการเสนอบรรจุเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC project list) ต่อไป
โดย สกพอ. รับบทบาทเป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นทางการ นั่นหมายความว่า สกพอ.จะเป็นแกนหลักในการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการทั้ง 3 จังหวัดประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง
เพื่อสำรวจเส้นทางตามผลการศึกษารูปแบบการลงทุนโครงการ การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และการขออนุญาตเส้นทางเดินรถสาธารณะตามกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)
ขนส่งหลักรถไฟฟ้า-ทางคู่-รถตู้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามผลการศึกษาของ สนข.แบ่งรูปแบบระบบขนส่งในพื้นที่ 3 จังหวัดเป็น 2 รูปแบบคือ ระบบขนส่งสายหลัก กับระบบขนส่งสายรอง
ระบบขนส่งสายหลัก ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการในปี 2568
2.โครงการถไฟทางคู่ 2 สายทาง ได้แก่ ชุมทางฉะเชิงเทรา-บ้านพลูตาหลวง-บ้านฉาง ให้บริการ 6 เที่ยว/วัน กับ พานทอง-ชลบุรี-ชุมทางศรีราชา-พัทยา ให้บริการ 10 เที่ยว/วัน
และ 3.รถตู้โดยสารหมวด 2 (วิ่งเส้นทางกรุงเทพฯ-3 จังหวัด) มีจำนวน 29 สาย ให้บริการ 2,600 เที่ยว/วัน คิดเป็นจำนวนคนใช้บริการวันละ 27,600 คน/วัน และหมวด 3 (วิ่งเส้นทางกรุงเทพฯ-จังหวัดอื่น ๆ) จำนวน 16 สาย ให้บริการ 1,900 เที่ยว/วัน คิดเป็นจำนวนคนให้บริการวันละ 25,700 คน/วัน
เสริมโครงข่ายรอง 3 จังหวัดอีอีซี
ไฮไลต์มติ คจร.วันที่ 20 กันยายน 2564 อยู่ที่ ระบบขนส่งสายรอง โดย สนข.มีข้อเสนอให้เพิ่มเส้นทางการขนส่งภายใน 3 จังหวัดรวม 18 สายทาง ระยะทาง 555 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 14,410 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ)
โดยรูปแบบโครงการในส่วนของงานโยธามอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) บูรณาการเรื่องการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ขณะที่การเดินรถมอบให้ สกพอ.+อปท. ร่วมดำเนินการหาตัวเอกชนมาเดินรถ กำหนดรูปแบบลงทุนเป็นแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)
แบ่งเป็น ฉะเชิงเทรา 5 สายทาง ระยะทางรวม 80 กิโลเมตร ชลบุรี 7 สายทาง ระยะทางรวม 178 กิโลเมตร และ ระยอง 6 สายทาง ระยะทางรวม 297 กิโลเมตร โดยรูปแบบที่วางไว้จะเป็นรถเมล์ไฟฟ้าทั้งหมด (EV Bus)
แปดริ้วรับส่งวัดโสธรฯ-บ้านโพธิ์
รายละเอียด จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 สายสีแดง-ฉช.1 ช่วงสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมรังสฤษฎิ์-ห้างตะวันออกคอมเพล็กซ์ ระยะทาง 8 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน-ฉช.2 ช่วงสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทรา-วัดโสธรวฯ 7 กิโลเมตร,
เส้นทางที่ 3 สายสีเขียว-ฉช.3 วิ่งรอบเมืองฉะเชิงเทรา,
เส้นทางที่ 4สายสีเหลือง-ฉช.4ช่วงสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทรา-บางคล้า 28 กิโลเมตร,
เส้นทางที่ 5 สายสีชมพู-ฉช.5 ช่วงสถานีไฮสปีดสูงฉะเชิงเทรา-บ้านโพธิ์-บางปะกง 26 กิโลเมตร
โดยระบบทั้งหมดจะมีจุดเชื่อมต่อหลัก 3 จุด ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา-อ.บางคล้า-อ.บางปะกง
ชลบุรีเชื่อมศรีราชา-พัทยา
ถัดมา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 สายสีเขียว-ชบ.1 ช่วงสถานีไฮสปีดชลบุรี-เมืองชลบุรี ระยะทาง 12 กิโลเมตร, เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน-ชบ.2 สถานีไฮสปีดชลบุรี-หาดบางแสน 16 กิโลเมตร และสถานีไฮสปีดชลบุรี-หนองมน 13 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 สายสีชมพู-ชบ.3 ช่วงสถานีไฮสปีดชลบุรี-บ้านบึง-เขตนวัตกรรมภาคตะวันออก วังจันทร์วัลเลย์ (EECi) 65 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 4 สายสีฟ้า-ชบ.3 ช่วงสถานีไฮสปีดศรีราชา-แหลมฉบัง 16 กิโลเมตร และช่วงสถานีไฮสปีดศรีราชา-เขตนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ศรีราชา 13 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 5 สายสีแดง-ชบ.5 ช่วงเมืองศรีราชา-สถานีไฮสปีดศรีราชา-ปลวกแดง 42 กิโลเมตร, เส้นทางที่ 6 สายสีเหลือง-ชบ.6
ช่วงสถานีไฮสปีดพัทยา-แหลมบาลีฮาย 8.13 กิโลเมตร (เมืองพัทยากำลังศึกษาอยู่) และ
เส้นทางที่ 7 สายสีน้ำตาล-ชบ.7 ช่วงสถานีไฮสปีดพัทยา-สวนนงนุช 19 กิโลเมตร
โดยระบบทั้งหมดจะมีจุดเชื่อมต่อ 9 จุด ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูง 3 จุดที่ ชลบุรี-ศรีราชา-พัทยา นอกจากนี้ จุดเชื่อมอยู่ที่นิคมอมตะซิตี้-บางแสน-EECi วังจันทร์วัลเลย์-แหลมฉบัง-อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และสวนนงนุช พัทยา
ระยองวิ่งวนนิคมอุตฯ-อู่ตะเภา
สุดท้ายระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดระยอง 6 สาย ระยะทาง 297 กิโลเมตร วงเงินโครงการ 3,190 ล้านบาท ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 สายสีแดง-รย.1 ช่วงนิคมอุตฯมาบตาพุด-ไออาร์พีซี (IRPC) 22 กิโลเมตร,
เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน-รย.2 แหลมเจริญ-สามแยกขนส่ง 14 กิโลเมตร,
เส้นทางที่ 3 สายสีเขียว-รย.3 ช่วงสถานีไฮสปีดสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-บ้านเพ 62 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 4 สายสีเหลือง-รย.4 ช่วงระยอง-บ้านค่าย-EECi วังจันทร์วัลเลย์ 58 กิโลเมตร,
เส้นทางที่ 5 สายสีชมพู-รย.5 ช่วงนิคมอุตฯ มาบตาพุด-นิคมพัฒนา-ปลวกแดง 45 กิโลเมตร และ
เส้นทางที่ 6 สายสีฟ้า-รย.6 สถานีไฮสปีดสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-EECi วังจันทร์วัลเลย์ 96 กิโลเมตร
ผลศึกษาระบุให้ระบบจังหวัดระยองมีจุดเชื่อมต่อ 7 จุด ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงสนามบินอู่ตะเภา-สนามบินอู่ตะเภา-นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-เขตประกอบอุตสาหกรรม IRPC-บ้านเพ-ปลวกแดง และ EECi วังจันทร์วัลเลย์
คาดการณ์การใช้งบประมาณ 14,410 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 383 ล้านบาท, ค่างานโยธา 3,504 ล้านบาท, ค่างานระบบ 1,455 ล้านบาท
และค่าจัดซื้อรถโดยสาร 1,531 ล้านบาท ค่าดำเนินงาน 4,316 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 3,221 ล้านบาท มี EIRR ที่ 18.5%
โดย EV bus จะเป็นเมกะโปรเจ็กต์ล้อยางเสริมโครงข่ายการเดินทางใน EEC วางไทม์ไลน์เปิดบริการพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ภายในปี 2568
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group