View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44030
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44030
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44030
Location: NECTEC
Posted: 12/09/2022 12:20 pm Post subject:
รอ เคลียร์ EIA ให้ผ่านก่อนครับ ถ้าเคลียร์ EIA ไม่ผ่านก็สรางไม่ได้ นี่ยังไม่นับเรื่องเงินทุนจะเอาจาก พันธบัตรออมทรัพย์ หรือ จากเงินกู้ดี แถม ที่พม่าตอนนี้เป็นกลียุคที่ยังหาสันติได้ยาก ขนาดนักท่องเที่ยวโดนบังคับซื้อประกันชีวิตก่อนเข้าพม่าด้วยครับงานนี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44030
Location: NECTEC
Posted: 19/09/2022 3:41 pm Post subject:
กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู รับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 14.40 น.
กรมราง เปิดแผน "R-map"ฟังเสียงชาวหนองบัวลำภู ผุดรถไฟสายย่อยเชื่อมแหล่งเกษตร,ท่องเที่ยว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:46 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:46 น.
ทางรถไฟสายอุดรธานี (หนองตะไก้) - หนองบัวลำพู - เลย - 11 สถานี 170 กม.
0. หนองตะไก้ (สถานีชานเมืองด้านใต้เมืองอุดรธานี)
1. หนองวัวซอ (สถานีสุดท้ายก่อนข้ามไปหนองบัวลำพู)
2. หนองบัวลำพู (สถานีประจำจังหวัด)
3. นาคำไฮ
4. นากลาง
5. นาเลา
6. ผาอินทร์แปลง (สถานีสุดท้ายของหนองบัวลำพู )
7. หนองหญ้าปล้อง (สถานีแรกของเลย)
8. วังสะพุง
9. น่าโป่ง
10. น้ำมาน
11. เมืองเลย (สถานีประจำจังหวัด ปลายราง)
กรมราง เปิดแผน "R-map"รับฟังความคิดเห็น พัฒนาเส้นทางรถไฟสายรองเชื่อมแหล่งเกษตรกรรม,อุต,ท่องเที่ยว ชาวหนองบัวลำภู เสนอเพิ่มเส้นทางสายใหม่เชื่อม อุดรธานี 100 กม. เพิ่มศักยภาพหนุนเขตศก.
วันที่ 19 ก.ย.2565 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-map) พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีนางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) และผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมผู้ประกอบการ ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนา
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่ากรมราง ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่ โดยจะเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายเดิมกับแหล่งเกษตรกรรม แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค ทั้งในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ การกระจายโอกาส การพัฒนาความเจริญสู่ระดับจังหวัด และภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
เส้นทางรถไฟสายใหม่ จัตุรัส - ชัยภูมิ - หนองบัวลำภู เลย มีระยะทาง 333 กิโลเมตร 30 สถานี
0. จตุรัส - ถ้าไม่ใช่ชุมทางกุดน้ำใส ทางสายนครสวรรค์ - บ้านไผ่
1. บ้านกอก - สถานีขนาดเล็ก
2. หนองบัวบาน - สถานีขนาดเล็ก
3. บ้านเขว้า - สถานีขนาดกลาง
4. ชัยภูมิ (สถานีประจำจังหวัด - สถานีใหญ่)
5. ห้วยบง (มีสิทธิ์ที่จะเป็นชุมทางไปที่บ้านไผ่ สำหรับทางรถไฟสายนครสวรรค์ - บ้านไผ่ - สถานีขนาดกลาง),
6. โคกมั่งงอย - สถานีขนาดกลาง
7. ช่องสามหมอ (พื้นที่ยุทธศาสตร์),
8. แก้งคล้อ - สถานีขนาดกลาง
9. หลุบค้า - สถานีขนาดเล็ก
10. กวางโจน - สถานีขนาดเล็ก
11. ภูเขียว (สถานีสุดท้ายของชัยภูมิ - สถานีขนาดกลาง)
12. ชุมแพ (สถานีแรกของขอนแก่น - สถานีใหญ่),
13. นาจาน - สถานีขนาดเล็ก
14. ศรีสุข - สถานีขนาดเล็ก
15. วังเพิ่ม (สถานีสุดท้ายของขอนแก่น - สถานีขนาดกลาง),
16. นากอก (สถานีแรกของหนองบัวลำพู - สถานีขนาดเล็ก),
17. เมืองใหม่ - สถานีขนาดกลาง
18. หัวนา - สถานีขนาดเล็ก
19. หนองบัว - สถานีขนาดเล็ก
20. บ้านพร้าว - สถานีขนาดเล็ก
21. หนองบัวลำพู (สถานีประจำจังหวัด - สถานีใหญ่)
22. นาคำไฮ - สถานีขนาดเล็ก
23. นากลาง - สถานีขนาดกลาง
24. นาเหล่า - สถานีขนาดกลาง
25. ผาอินทร์แปลง (สถานีสุดท้ายของหนองบัวลำพู - สถานีขนาดเล็ก)
26. หนองหญ้าปล้อง (สถานีแรกของเลย - สถานีขนาดเล็ก)
27. วังสะพุง - สถานีขนาดกลาง
28. น่าโป่ง - สถานีขนาดเล็ก
29. น้ำมาน - สถานีขนาดเล็ก
30. เมืองเลย (สถานีประจำจังหวัด ปลายราง - สถานีใหญ่)
สำหรับจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับแนวเส้นทางโครงการรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยที่สามารถจะวางแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟต่อไปยังจุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพน้ำเหือง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ซึ่งเป็นด่านพรมแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว ที่สามารถเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 4 ของสปป.ลาว ในแขวงไชยบุรี โดยสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองแก่นท้าว และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว ทั้งใน สปป.ลาว ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังเวียดนามและจีนได้ โดยเส้นทางรถไฟสายใหม่ จัตุรัส - ชัยภูมิ - หนองบัวลำภู เลย มีระยะทาง 333 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด เริ่มต้นที่ สถานีจัตุรัส จ.ชัยภูมิ ผ่าน จ.ขอนแก่น จ.หนองบัวลำภู และสถานีเมืองเลย จ.เลย เป็นสถานีปลายทาง
นอกจากนี้ในเวทีสัมนาได้มีข้อเสนอให้มีการเชื่อมเส้นทางรถไฟสายใหม่จากจังหวัดอุดรธานีถึงจังหวัดหนองบัวลำภู เนื่องจากเป็นระยะทางที่สั้นประมาณ 100 กิโลเมตร ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการพัฒนาขึ้น นอกจากนี้จังหวัดหนองบัวลำภูมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง สามารถดำเนินการเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชื่อมต่อจากจังหวัดอุดรธานี และเป็นประโยชน์ต่อในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของจังหวัดได้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดต่อไป
ด้านนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง อย่างเป็นรูปธรรม โดยจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นจังหวัดที่มีศักภาพการท่องเที่ยวสูง แต่มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่เมืองหลักน้อย ส่งผลให้ มี GPP ของจังหวัดต่ำเมื่อเทียบกับจังหวัดข้างเคียงอย่างจังหวัดอุดรธานีที่ GPP ในระดับสูง ดังนั้นจึงมีแนวคิดให้พื้นที่จังหวัดข้างเคียงให้มีศักยภาพในด้าน GPP เฉลี่ยใกล้เคียงกัน จากการพัฒนาการเชื่อมต่อด้านการคมนาคมและการท่องเที่ยว และเนื่องจากจังหวัดหนองบัวลำภูอยู่ในระยะการเข้าถึงท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง 2 จังหวัดคือจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดเลย
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงการเชื่อมโยงด้านอื่น อย่างการพัฒนาถนนทางหลวงหมายเลข 210 ที่ได้ดำเนินการแล้ว กำลังพิจารณาถึงการพัฒนาระบบรางที่เชื่อมต่อถึงจังหวัดหนองบัวลำภูเพิ่มเติม รวมถึงจากแผนการพัฒนาพื้นที่พืชสวนโลกในอีก 7 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2569-2570) และศักยภาพของนิคมอุสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภูสามารถดำเนินการพัฒนาและเติบโตควบคู่กันไปได้
นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดขนาดเล็กมีประชากรประมาณ 509,000 คน เนื้อที่ประมาณ 3,800 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2.4 ล้านไร่ อาชีพหลักของชาวจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้เป็นจังหวัดที่มีจุดเด่นด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และธรรมมะ และจากภูมิประเทศที่เป็นทั้งโอกาศและข้อจำกัดที่โดนล้อมด้วยจังหวัดใหญ่ อย่างจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น ส่งผลให้มีการเชื่อมโยงกับจังหวัดใหญ่ที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวมากเป็นระดับประเทศ ดังนั้นจังหวัดหนองบัวลำภูต้องดึงโอกาศดังกล่าวมีเป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยเน้นให้เป็น เมืองน่าอยู่ และเมืองน่าเที่ยว จากการเป็นเมืองสะอาด เมืองที่สะดวกต่อการเข้าถึง และเป็นเมืองที่สงบปลอดภัย นอกจากนี้ด้านการท่องเที่ยว พยายามเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวจากด้านธรรมมะ ด้านธรรมชาติ ด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ในปี 2569-2570 จังหวัดอุดรธานีจะมีพืชสวนโลกทางจังหวัดหนองบัวลำภูจึงมีการพัฒนาต่อยอดต้นทุนจากด้านการเกษตรกรรมควบคู่กัน นอกจากนี้เรื่องเส้นทางคมนาคมการพัฒนาการเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภูมีแค่การขนส่งทางถนนจากทางหลวงหมายเลข 210 เป็นเส้นทางหลักถึงจังหวัดอุดรธานี ส่งผลให้มีการเสนอแผนให้เชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากอุจังหวัดอุดรธานีถึงจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเป็นโอกาสการเชื่อมโยงการคมนาคมของจังหวัดหนองบัวลำภูต่อไป
เปิดตัวรถไฟสายใหม่ชัยภูมิ-หนองบัวลำภู-อุดรเลย
*เพิ่มศักยภาพทะลุทะลวงเส้นทางเมืองท่องเที่ยว
*ฉึกกะฉักปู๊นปู๊นให้รถไฟผ่านบ้านเป็น48จังหวัด
*เติมโครงข่ายมิตรภาพเชื่อมลาว-เวียดนาม-จีน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/637454567831781
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/390479183276550
https://siamrath.co.th/n/48945
https://www.koratdaily.com/blog.php?id=8451
https://www.posttoday.com/economy/news/568982
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/11/2022 2:02 pm Post subject:
กังวลสร้างทางรถไฟสายตาก-แม่สอด ทับตาน้ำ
Thai PBS News
Nov 17, 2022
โครงการรถไฟทางคู่ จาก จ.นครสวรรค์ ไปที่ อ.แม่สอด จ.ตาก แม้ว่าในอนาคต อาจช่วยให้การขนส่งสินค้าไปยังชายแดนทำได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ชาวบ้างบางส่วนมองว่า การก่อสร้างในบางช่วงอาจไปทับตาน้ำ ที่พวกเขาใช้อุปโภค-บริโภค
https://www.youtube.com/watch?v=65GvYtFJr8I
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/11/2022 3:33 pm Post subject:
ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด นครสวรรค์ หากผ่านการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคาดจะเริ่มสร้างปี 2569
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 17 พ.ย. 2565
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมระดับพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ดิน และรายงานความคืบหน้าโครงการทางรถไฟ สายแม่สอด นครสวรรค์ ณ ที่ทำการ อบต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ. ตาก มีประชาชนและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่เข้าร่วมการประชุม
เส้นทางรถไฟสายแม่สอด นครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - ตาก ระยะทาง 183 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 ตาก - แม่สอด ระยะทาง 67.02 กิโลเมตร
ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้ทั้ง 2 ช่วง ส่งรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ถ้าผ่าน คาดว่าจะเริ่มเวนคืนที่ดินปี 2567 และเริ่มก่อสร้างปี 2569 แล้วเสร็จหลังจากเริ่มสร้าง 3 ปี คาดว่าจะมีผู้โดยสารช่วงนครสวรรค์มาที่ตาก 101 ล้านคนต่อปี ถ้านับรวมแม่สอดด้วย 132 ล้านคนต่อปี
ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายแม่สอด - นครสวรรค์ จะเป็นเส้นทางเชื่อมแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกกับตะวันออก โดยเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนมา ลาว และ เวียดนาม ได้ในอนาคต
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : วันจักร นาวาวิจิต
ผู้เรียบเรียง : กนกพร ประสงค์
แหล่งที่มา : สวท.แม่สอด จ.ตาก
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/11/2022 3:06 pm Post subject:
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
20 พ.ย. 65 14:50 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/541886277761742
เรียน ท่านสมาชิก ขอทบทวนข้อมูลพื้นฐานกัยสักนิดครับ กลับการกลับมาอีกครั้ง ของกิจกรรมให้ข้อมูลโครงการ ซึ่งเราเพิ่มเติมขึ้น จากที่เรารับปากกันว่าในช่วง covid เราพบกันไม่ทั่วถึง ทีมงานจึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้งเพิ่มเติมใน "ทุกพื้นที่" เพื่อได้มีโอกาสพบกันครับ
หลักการออกแบบของรถไฟทางคู่ที่เป็นแนวใหม่ครับ
@All สรุปสาระสำคัญของการออกแบบทางคู่เส้นนี้ ที่เป็นภาพรวมนะครับ เพื่อประกอบการพิจารณา อาจจะตรงกับคำถามในใจหลายๆท่าน
(1) ทางคู่เส้นนี้ แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่ง นครสวรรค์-ตาก ราว 183 กม, ช่วงที่สองตาก-แม่สอด จากเดิมเป็นช่วงยาวทั้งโครงการ เนื่องจากในช่วงสอง มีข้อพิจารณาเฉพาะหลายประเด็น จึงแบ่งช่วงเป็นสองช่วงในการเสนอโครงการ เผื่อว่าช่วงนครสวรรค์-ตาก จะได้แยกพิจารณาได้
(2) กรณีทางระดับดิน เป็นคันดินถม จะมีขนาดเวนคืนกว้าง 50 เมตร ข้างละ 25 เมตรจากกึ่งกลาง ถ้าเป็นทางยกระดับ จะเวนคืน 40 เมตร ข้างละ 20 เมตร
(3) มี 23 สถานี (ทุกขนาด) และ 3 ลานขนถ่ายสินค้า CY
(4) แนวคันทางรถไฟตลอดสาย ถูกกำหนดพื้นฐานให้ระดับรางพ้นน้ำท่วมสูงสุด เพื่อในกรณีเกิดน้ำท่วมใหญ่ รถไฟเส้นนี้ จะเป็นเส้นทางที่ยังคงใช้งานได้
(5) จุดตัดทางรถไฟ ทุกจุดตลอดเส้นทาง ออกแบบให้ต่างระดับ หมายถึง รถไฟกับถนนอยู่คนละระดับ ถ้าถนนเดิมปริมาณรถไม่มาก ก็ออกแบบปรับถนนเดิมข้ามทางรถไฟ แต่ถ้าถนนเดิมรถมาก ก็ออกแบบทางรถไฟยกระดับข้ามถนน ซึ่งผลการออกแบบทุกจุดตัดเป็นต่างระดับทั้งหมด นั่นหมายถึง ถนนทุกเส้นที่มีอยู่และใช้สัญจร ใช้เดินทางเชื่อมโยงได้เหมือนเดิมทุกเส้นทาง
(6) ในการออกแบบทางรถไฟตลอดแนว จะไม่ทำให้เกิดแปลงที่ดินที่เหลืออยู่เป็นที่ตาบอด โดยเมื่อมีที่ดินที่ถูกเวนคืนแล้วไม่มีทางเข้าออกหลายแปลง จะมีการออกแบบเป็นทางขนาน (service road) เพื่อเชื่อมทุกแปลวเข้ากับโครงข่ายถนนที่ใกล้ที่สุด ส่วนกรณีที่แปลวที่ดินถูกแบ่งเป็นสองส่วนเฉพาะแปลง สามารถออกแบบเป็นช่องลอดเพื่อเชื่อมแปลงได้
(7) จุดตัดทางน้ำ ทุกจุด ออกแบบไม่มีการถม ปิดกั้น โดยออกแบบให้มีช่องเปิดให้การไหลของน้ำ ไม่น้อยไปกว่าเดิม โดยใช้ค่าย้อนหลังปริมาณน้ำมากกว่า 75 ปีในการคำนวณและออกแบบ นั่นหมายถึง แนวลำน้ำทุกจุด น้ำจะไหลผ่านได้เหมือนเดิม
(8) บางบริเวณที่ไม่มีลำน้ำ ทางน้ำ แต่เป็นที่ลุ่มต่ำ ที่ได้ข้อมูลจากพื้นที่ จากชุมชน มีการออกแบบช่องเปิดของน้ำ โดยใช้โครงสร้างทางรถไฟเป็นสะพานรถไฟตลอดช่วงลุ่มต่ำ เพื่อให้ช่วงน้ำหลากลอดผ่านได้ ในขณะที่ช่วงคันดินรถไฟ มีการออกแบบใส่ท่อกลมและบล้อคเหลี่ยมรองรับการไหลผ่านของน้ำผ่านคันทาง และตามแนวขนานข้างคันทาง มีการทำร่องทางระบายน้ำ เพื่อให้น้ำระบายลงลำน้ำที่มีใกล้เคียงแต่ละพื้นที่
(9) มาตรฐานการออกแบบ ใช้ความเร็วในการออกแบบที่ 160 กม|ชม หมายถึงถ้ารถไฟวิ่งเร็วเต็มที่ 160 กม|ชม การเข้าโค้งต่างๆ ต้องไม่ตกราง แต่ในความเป็นจริง ความเร็วการเดินทางจะอยู่ที่ 90-120 กม|ชม เนื่องจากมีการหยุดเข้าออกสถานีเป็นระยะ ทำให้ความเร็วลดลง
(10) สถานะโครงการ โดยสรุป
- โครงการนี้ มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการมาก่อนแล้ว ในปี 2557-2558 แล้ว
- ในโครงการนี้ ปี 2564-2565 เป็นการศึกษาออกแบบรายละเอียดและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวเส้นทางที่ผ่านการศึกษาในปี 2558 มาลงรายละเอียด
- ตอนนี้ การศึกษาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการเสนอขออนุญาตต่อหน่วยงานตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
- แนวการนำเสนอโครงการล่าสุดที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แยกเสนอเป็น 2 ตอน ออกจากกัน คือ ตอนนครสวรรค์-ตาก และ ตอน ตาก-แม่สอด เนื่องจากช่วงแม่สอดมีประเด็นพิจารณาของโครงการเฉพาะ เพื่อให้รองรับกรณีการพัฒนาเฉพาะช่วงนครสวรรค์-ตาก ดำเนินการได้
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47395
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/11/2022 5:30 pm Post subject:
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
20 พ.ย. 65 15:49 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/541910364426000
ความเป็นไปได้ในการดำเนินการของรถไฟเส้นนี้.....รถไฟทางคู่เส้นนี้ ในการก่อสร้างจะก่อสร้างเป็น "ทางคู่" หมายถึงสองราง สองทางวิ่ง ในครั้งเดียว และเป็นเส้นทางที่เป็นการเชื่อมโยงในแนว East-West Corridor หรือแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นเส้นทางระดับภูมิภาคและประเทศ จากเมียนมาร์-ไทย-สปป.ลาว โดยต่อเนื่องกันสามช่วงคือ ช่วงแม่สอด-นครสวรรค์ ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ และ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม
สรุปสถานะตอนนี้
- ช่วงแม่สอด-นครสวรรค์ (เส้นนี้) ทำการสำรวจและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ในขั้นการเสนอรายงาน EIA ขอความเห็นชอบ ถ้าเห็นชอบจะไปสู่การสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ต่อไป
- ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ อยู่ในขั้นการสำรวจและออกแบบรายละเอียด (เหมือนที่ช่วงแม่สอดข9kd ทำปีที่แล้ว)
- ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ดำเนินการในขั้นคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว เตรียมเข้าพื้นที่ก่อสร้าง กำหนดแล้วเสร็จเบื้องต้นใน 3-4 ปี
โดยสรุป ในโครงข่ายนี้ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม กำลังก่อสร้างแล้ว จึงอาจพูดได้ว่ามีความชัดเจนแล้วระดับหนึ่ง ที่เหลือเป็นเรื่องของนโยบายในแต่ละช่วงเวลา สำหรับเส้นทางแม่สอด-นครสวรรค์ หากก่อสร้าง ก็จะมีจุดเชื่อมโยงหลักที่นครสวรรค์ ที่เป็นจุดเปลี่ยนไปสู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และแหลมฉบัง ไม่ใช่แค่นครสวรรค์ หากก่อสร้างถึงแม่สอด ก็จะรองรับการเชื่อมต่อระบบรถไฟจากเมียนมาร์ อินเดีย ในอนาคต แต่ถ้าดำเนินการถึงตาก ช่วงแม่สอดมาตาก ก็อาจเป็นการขนส่งเชื่อมโยงระบบอื่น ๆ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44030
Location: NECTEC
Posted: 20/11/2022 9:52 pm Post subject:
Mongwin wrote: กังวลสร้างทางรถไฟสายตาก-แม่สอด ทับตาน้ำ
Thai PBS News
Nov 17, 2022
โครงการรถไฟทางคู่ จาก จ.นครสวรรค์ ไปที่ อ.แม่สอด จ.ตาก แม้ว่าในอนาคต อาจช่วยให้การขนส่งสินค้าไปยังชายแดนทำได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ชาวบ้างบางส่วนมองว่า การก่อสร้างในบางช่วงอาจไปทับตาน้ำ ที่พวกเขาใช้อุปโภค-บริโภค
https://www.youtube.com/watch?v=65GvYtFJr8I
·
"ข้อมูลชี้แจง" เกี่ยวกับกรณีสถานีแม่ปะและอุโมงค์พะวอ
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
วันอาทิตย์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 20:59 น.
โครงการรถไฟทางคู่ สาย แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ตามผลการศึกษา และกระบวนการมีส่วนร่วมที่นำความคิดเห็นในพื้นที่มาประกอบการพิจารณา จึงได้แบ่งการนำเสนอเพื่อพิจารณา EIA เป็นสองช่วง จากเดิมที่มีการศึกษายาวตลอดเส้นทาง ทั้งนี้ มีข้อพิจารณาสำคัญ คือ (1) ช่วงแม่สอด-ตาก เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ผ่านอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง อาจต้องใช้ช่วงเวลาในการขอใช้พื้นที่เข้าศึกษา (ปัจจุบันได้รับอนุญาตเข้าศึกษาวิจัยจากกรมอุทยานฯ เรียบร้อยแล้ว) (2) มีหนังสือจากสภาอุตสาหกรรมฯ ภาคธุรกิจ และผู้บริหารท้องถิ่น ระบุประชาชนชาวแม่สอดขอให้มีการทบทวนแนวเส้นทางและรูปแบบช่วงอุโมงค์พะวอและช่วงผ่านเมืองแม่สอด รวมทั้งข้อเสนอให้ยกเลิกสถานีแม่ปะ (3) มีหนังสือจากภาคเอกชนและมีข้อมูลจากคณะผู้นำชุมชนและจิตอาสา เสนอข้อมูลว่าแนวอุโมงค์พะวอที่เป็นผลการศึกษา ตัดผ่านบริเวณตาน้ำซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของตำบลแม่ปะ ทบทวนแนวเส้นทางและอุโมงค์ใหม่ เนื่องจากกังวลว่าการตัดอุโมงค์จะมีผลกระทบต่อตาน้ำของตำบลแม่ปะ ที่อยู่ใกล้วัดโพธิคุณ รวมทั้งคณะผู้นำชุมชนมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตากขอให้มีการชะลอโครงการและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำการศึกษาผลกระทบเรื่องตาน้ำใหม่
ทั้งนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้ประสานมายังและผู้ศึกษาฯ โครงการรถไฟทางคู่ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เพื่อให้คณะผู้นำชุมชนตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด ได้ร่วมเจรจาแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และความห่วงใย กังวลใจ ในการศึกษาสำรวจออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ กับ ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อมของโครงการ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ณ วัดเวฬุวัน ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด กรณีเส้นทางรถไฟช่วง กม.ที่223+758 ถึง 235+758 ระยะทาง 12 กม. เป็นการก่อสร้างแบบอุโมงค์ (อุโมงค์ดอยพะวอ) ต่อจากนั้นจะเข้าสู่สถานีรถไฟแม่ปะ
สำหรับกรณีของการศึกษาประเด็นต้นน้ำที่อุโมงค์พะวอ อาจมีข่าวสารผ่านสื่อมวลชนและสื่อต่างๆ ในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข่าวว่าการรถไฟและคณะผู้ศึกษาเสนอให้มีการชะลอการดำเนินการในช่วงแม่สอด-ตากนั้น ทางโครงการและการรถไฟมีการแบ่งการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เป็นสองตอน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีข้อคิดเห็นและประเด็นพิจาาณาในพื้นที่ช่วงแม่สอด-ตาก เพื่อไม่ให้มีผลเชื่อมโยงไปยังการเสนอช่วง 1 นครสวรรค์-ตาก ซึ่งตลอดเส้นทางได้รับความร่วมมือขับเคลื่อนและเร่งรัดโครงการ และมีข้อจำกัดน้อยกว่า ข้อเสนอชะลอการศึกษาและชะลอการดำเนินการมิใช่ข้อเสนอจากการรถไฟหรือผู้ศึกษาแต่อย่างใด งานศึกษาทั้งสองช่วงดำเนินการแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาจะเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระเบียบ และพิจารณาหนังสือและข้อเรียกร้องของพื้นที่ประกอบการพิจารณา
ทางโครงการมีคำชี้แจงเพื่อความเข้าใจในสถานการณ์และข้อมูลดังนี้
.........เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ทางคณะผู้ศึกษา โดย ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ทีมวิศวกร และนักวิชาการโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลในการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นน้ำใต้ดินบริเวณอุโมงค์พะวอ ซึ่งได้รับรู้ข้อมูลและรับประเด็นตั้งแต่ช่วงการศึกษาจากคณะผู้นำชุมชน จากกิจกรรมการประชุมทั้งในพื้นที่และออนไลน์ และได้มอบหมายผู้เชี่ยวชาญศึกษาเป็นการเฉพาะในรายละเอียด ด้วยการบินอากาศยานไร้คนขับเพื่อถ่ายภาพทางอากาศ การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลธรณีวิทยา การสำรวจข้อมูลอุทกวิทยาและอุทกธรณีวิทยา และการเจาะสำรวจธรณีวิทยาและชั้นหินตามแนวอุโมงค์ ตามหลักการ เครื่องมือ วิธีการ และมาตรฐานทางวิศวกรรม โดยเสนอต่อผู้เข้าร่วมการหารือ และผลสรุปว่าอุโมงค์จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพอุทกธรณีวิทยาและอุทกวิทยาในพื้นที่
ในการหารือที่วัดเวฬุวัน (หลังการประชุมชุมชน) คณะผู้นำชุมชนและจิตอาสา ได้นำเสนอข้อมูลที่คณะมีการศึกษาและรวบรวมไว้ ซึ่งเป็นข้อมูล พื้นที่ตาน้ำขนาดใหญ่ (มีน้ำผุดจากใต้ดิน)ในเขตป่าชุมชน และเป็นต้นน้ำที่ไหลลงมาสู่อ่างเก็บน้ำห้วยลึกตามลำห้ายเตย ห้วยหินฝน ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ตำบลแม่ปะ อ.แม่สอด ที่สามารถใช้น้ำในการเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลแม่ปะและตำบลใกล้เคียงกว่าพันไร่ โดยทางคณะผู้นำชุมชน มีข้อเสนอว่า (1) ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยเสนอชะลอการดำเนินโครงการ (2) ขอให้มีการปรับแนวอุโมงค์ (3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาลเข้ามาสำรวจและตรวจสอบเพื่อยืนยันผลกระทบ โดยทางคณะผู้นำชุมชนได้นำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตากในกรณีนี้แล้ว
ทางโครงการศึกษา โดย ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ทีมวิศวกร และนักวิชาการโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลยืนยันผลการศึกษาเป็นมาตรฐานทางวิศวกรรม ที่ได้ดำเนินการเพื่อนำมาตอบประเด็นของข้อซักถาม และได้มีการศึกษา ทบทวน อย่างละเอียดและชัดเจน และการออกแบบอุโมงค์มีความเหมาะสมและจะไม่มีผลกระทบต่อสภาพอุทกธรณีวิทยาและตาน้ำใต้ดิน โดยชี้แจงเพิ่มเติมว่า ข้อมูลตาน้ำที่คณะผู้นำชุมชนนำเสนอ เป็นตาน้ำในลักษณะน้ำใต้ดินในประเภทน้ำซับ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบจากการก่อสร้างอุโมงค์ เนื่องจากพื้นที่รับน้ำในพื้นที่นี้ มีขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับแนวอุโมงค์ และแนวอุโมงค์ก่อสร้างในชั้นหินใต้ยอดภูเขา ต่ำกว่ายอดเขาราว 400 เมตร จึงไม่กระทบกับการรับน้ำและรวบรวมน้ำ โดย ดร. พิเศษ ยืนยันผลการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ และเห็นว่าข้อมูลที่คณะผู้นำชุมชนนำเสนอก็เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ จึงได้ขอให้ทางคณะฯ จัดส่งข้อมูลในรายละเอียด ที่แสดงที่มา วิธีการสำรวจ มาตรฐานการอ้างอิง ผู้สำรวจ และการแปลผลสำรวจ เพื่อนำมาส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญโครงการนำไปประกอบเพิ่มเติมสำหรับการพิจารณา และจะได้นำมาประกอบการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมซึ่งเป็นความต้องการของคณะผู้นำชุมชน และคณะผู้นำชุมชนจะจัดส่งให้ในการประสานงานกันต่อไป
ดร. พิเศษ เสนอว่า หากนำข้อมูลจากคณะผู้นำชุมชนซึ่งเป็นข้อมูลของผู้ขุดเจาะน้ำบาดาลและทีมจิตอาสา มาให้ผู้เชี่ยวชาญศึกษาแล้ว หากผลการวิเคราะห์สรุปว่า เป็นข้อมูลที่ชัดเจน มีความจำเป็นที่ควรปรับแนวเส้นทาง จะประสานทางทีมวิศวกรออกแบบให้หารือกับคณะผู้นำชุมชนในการดำเนินการ และ ดร.พิเศษ เสนอว่า หากข้อมูลของคณะผู้นำชุมชนมีความชัดเจนและทางผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าจำเป็นต้องมีการติดตามตรวจสอบ ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินว่าควรกำหนดมาตรการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตั้งแต่ก่อนก่อสร้างและในช่วงของการก่อสร้างเพื่อเปรียบเทียบ และหากกมีผลกระทบชัดเจน ควรกำหนดมาตรการให้หยุดและชะลอการก่อสร้างในช่วงดังกล่าว เพื่อตรวจสอบและหาวิธีการแก้ไขต่อไป โดย ดร.พิเศษ เสนอว่า หากมีมาตรการในการเฝ้าระวังดังกล่าวแล้ว เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที อาจกำหนดมาตรการในการให้มีกองทุนด้านสิ่งแวดล้อมในการสำรองเพื่อรองรับกรณีดังกล่าว โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแลในการบริหารจัดการ เพื่อความคล่องตัว โดยจะนำเสนอประกอบเป็นเงื่อนไขการพัฒนาโครงการ
ทางโครงการขอสรุปข้อมูลเพื่อความชัดเจนว่า ผลการศึกษาเตามหลักการ เครื่องมือ วิธีการ และมาตรฐานทางวิศวกรรม โดยเสนอต่อผู้เข้าร่วมการหารือ และผลสรุปว่าอุโมงค์จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพอุทกธรณีวิทยาและอุทกวิทยาในพื้นที่ ส่วนกรณีการขอชะลอโครงการ หรือขอปรับเปลี่ยนแนวเส้นทาง ยังเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้ โดยทางคณะผู้นำชุมชน หรือประชาชนในพื้นที่ หรือทางจังหวัด เสนอ โดยทางโครงการศึกษาได้ยืนยันความเหมาะสมทางวิศวกรรมที่ศึกษาครอบคลุมตามมาตรฐานทางวิชาการแล้ว ประกอบกับในช่วงพื้นที่จากจังหวัดตากมาสู่อำเภอแม่สอด เป็นผืนป่าที่สำคัญและมีความสมบูรณ์ การก่อสร้างในรูปแบบของอุโมงค์เป็นรูปแบบที่มีผลกระทบน้อยที่สุด และแนวทางเลือกได้มีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบแล้วถึงความเหมาะสม โดยเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดที่จะเกิดผลกระทบน้อยที่สุด และจะทำให้ค่าลงทุนก่อสร้างมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษา จึงได้แยกช่วงการเสนอพิจารณาเป็นสองช่วง ดังนั้น หากทางคณะผู้นำชุมชนประสงค์จะชะลอการเสนอโครงการในช่วงตาก-แม่สอด ก็เป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ และคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาเส้นทางโครงการในช่วงที่ 1 นครสวรรค์-ตาก ซึ่งทางโครงการได้แบ่งตอนเพื่อนำเสนอโครงการไว้แล้ว การพิจารณาดำเนินการในแนวทางใด ย่อมสามารถเป็นไปตามที่ประชาชนชาวแม่สอดต้องการหรือเห็นพ้องต้องกัน
ทั้งนี้ แนวคิด หนังสือ หรือข้อเสนอในการชะลอการพิจารณาหรือปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางที่เป็นข้อพิจารณา เป็นข้อเสนอจากในพื้นที่แม่สอดเอง มิได้เป็นข้อเสนอจากทางโครงการศึกษาแต่อย่างใด
สรุปโดย ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ผู้ชำนาญการโครงการ ผู้ร่วมหารือกับคณะผู้นำชุมชน
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/542063767743993
Back to top