RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311774
ทั่วไป:13493958
ทั้งหมด:13805732
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 469, 470, 471 ... 568, 569, 570  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2022 7:52 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนพัฒนาสนามบิน'อู่ตะเภา'
Source - เดลินิวส์
Thursday, December 01, 2022 04:23

รอพื้นที่เริ่มตอกเข็มปีหน้า โตช้ายืดขยาย4เป็น6เฟส

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แทนบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) เปิดเผยว่า การออกแบบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกในส่วนของโครงสร้างหลักเสร็จเรียบร้อยพร้อมก่อสร้าง ส่วนการออกแบบรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ ภายในเมืองการบิน อยู่ระหว่างออกแบบ แต่การจะเริ่มก่อสร้างได้นั้น ต้องพิจารณาความพร้อมเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเริ่มก่อสร้างตามข้อตกลงในสัญญา อาทิ การประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ), การก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับที่ 2 และข้อตกลงกับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพราะสนามบินต้องเป็นหนึ่งในสถานีของรถไฟไฮสปีด

คาดว่า UTA จะได้รับพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 6 พันไร่ ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 66 (ม.ค.-มี.ค. 66) จากนั้นจะเริ่มปรับพื้นที่ และคาดว่าจะตอกเสาเข็มก่อสร้างได้ภายในไตรมาสที่ 1 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีแล้วเสร็จ และเริ่มเปิดบริการได้ในปี 69 โครงการฯ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การดำเนินงานที่ผ่านมาในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ลงพื้นที่สำรวจอีไอเอไม่ได้ ส่งผลให้งานในภาพรวมล่าช้าออกไปประมาณ 1 ปี จากเดิมจะเริ่มก่อสร้างปี 65 ขยับเป็นปี 66

นายพุฒิพงศ์ กล่าวอีกว่า เวลานี้ยังมีรายละเอียดบางเรื่องที่ต้องหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน เพราะโควิด-19 ส่งผล กระทบต่อตัวเลขปริมาณผู้โดยสารด้วย UTA ประเมินตัวเลขใหม่พบว่า การเติบโตของผู้โดยสารจะไม่รวดเร็วเหมือนกับที่ประเมินไว้ช่วงแรก ดังนั้นอาจต้องปรับแผนการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ จากเดิมแบ่งเป็น 4 ระยะ (เฟส) ปรับเป็น 6 เฟสแทน แต่ขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารยังเท่าเดิมที่ 60 ล้านคนต่อปี รวมถึงอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต้องครบครันเหมือนเดิม

นายพุฒิพงศ์ กล่าวด้วยว่า UTA ได้เสนอการปรับแผนไปยัง สกพอ. แล้ว การลงทุนยังเหมือนเดิม เพียงแต่ค่อย ๆ ลงทุนภายในสัมปทาน 50 ปี อีกทั้งการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารควรมีขีดความสามารถรองรับที่เหมาะสม เป็นไปตามสถานการณ์จริง โดยเฟสแรกได้ปรับขนาดอาคารผู้โดยสารให้เล็กลงจากเดิมเล็กน้อย แต่ขีดความสามารถรองรับยังอยู่ที่ 10-15 ล้านคนต่อปี จากที่คุยกับภาครัฐเบื้องต้นก็ต้องการให้ขีดความสามารถเท่าเดิมที่ 15 ล้านคนต่อปี ส่วนมูลค่างานก่อสร้างเฟสแรกนั้น อยู่ระหว่างคำนวณอย่างไรก็ตามการปรับแผนงานต่าง ๆ ไม่ต้องแก้ไขสัญญา เพียงแค่หารือร่วมกัน และทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต้องปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง ๆ ส่วนสัมปทาน 50 ปีนั้น จะเริ่มนับตั้งแต่การส่งมอบพื้นที่เพื่อเริ่มก่อสร้าง

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า แม้จะขยับแผนพัฒนาเป็น 6 เฟส แต่หากผู้โดยสารกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าที่คาด ประมาณ 80% ของขีดความสามารถ UTA จะเริ่มเฟสต่อไปทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผู้โดยสารแออัด เหตุการณ์โควิด-19 เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 63 กว่าจะกลับมาปกติต้องใช้เวลา 4-5 ปี ดังนั้นทุกเรื่องจึงต้องใช้เวลา สัญญาหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) ยังมีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ต้องคุยกัน เพราะเป็นสัญญาร่วมลงทุนที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ ต้อง คุยทำความเข้าใจกันตามสถานการณ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายคิดว่าสมเหตุสมผล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชนโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ตั้งอยู่ ในเขตส่งเสริมเมืองการบินตะวันออก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง รองรับการขนส่งทางอากาศ ทั้งขนส่งผู้โดยสาร และสินค้า มีทางวิ่ง(รันเวย์) 2 ทางวิ่ง มีความยาว 3,500 เมตร รองรับเครื่องบินได้ ทุกขนาด มี 124 หลุมจอดอากาศยาน ส่วนอาคารผู้โดยสาร เมื่อก่อสร้างครบ 4 เฟส จะมีพื้นที่กว่า 4.5 แสนตารางเมตร (ตร.ม.) รองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้แผนพัฒนาโครงการเฟสที่ 1 วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่กว่า 1.57 แสน ตร.ม. อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และ 60 หลุมจอดอากาศยาน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2022 8:13 am    Post subject: Reply with quote

“ธนินท์” หนุนนโยบาย ชาวต่างประเทศซื้อที่ดิน ชี้ไม่ใช่การขายชาติ
กรุงเทพธุรกิจ 02 ธ.ค. 2565 เวลา 7:15 น.

“เจ้าสัวธนินท์” ออกมาแสดงความเห็นต่อนโยบายการให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดิน โดยระบุว่าเงินจะไหลเข้ามาลงทุนและจ้างงานในไทย และเห็นว่าไม่ใช่การขายชาติ

ประเด็นการให้ต่างชาติซื้อที่ดินมีการแสดงความเห็นในวงกว้างช่วงที่ผ่านมา และในที่สุดกระทรวงมหาดไทยได้ถอนกฎกระทรวงที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินได้ 1 ไร่ จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อวันที่ 7 พ.ย.2565

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ว่า ต่างชาติจะนำเงินเข้ามาลงทุนซื้อบ้านปักหลักย่อมดีกว่าการท่องเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวเข้ามาแล้วก็กลับ แต่การมาซื้อที่ดินจะเป็นการลงทุน มา สร้างงาน สร้างเงิน

“พอจะซื้อบ้านก็โดนบอกว่าไม่ได้ ถ้าหากไม่เข้าใจ หวังดี แต่บางทีหวังดีต่อประเทศกลับทำให้ประเทศเสียหาย คุณให้เขามาชั่วคราว เขาก็มาทำธุรกิจชั่วคราว แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างไร หากดูที่ดินเรา 105 ล้านไร่ เฉพาะพื้นที่เพาะปลูกนะครับ แล้วขายจะได้สักกี่มากน้อย คนละไร่ แล้วจะเอากลับไปบ้านเขาก็ไม่ได้”

“ถ้าวันนี้ผมเป็นรัฐบาล จะกระตือรือร้นไปชักชวนชาวต่างชาติ ทั้งยุโรป ทั้งคนรัสเซีย พวกเขาอยากออกจากประเทศ คนยุโรปก็พอหน้าหนาวเปลืองค่าแก๊ส เสียเงินมาเที่ยวเมืองไทย ก็หลีกเลี่ยงความหนาว แก๊สไม่พอ อะไรไม่พอ เพราะฉะนั้นเราทำหรือยังครับ”

นอกจากนี้ เฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีที่เหลือล้นแล้วและซื้อที่ดินไม่หมด ดังนั้นถ้าต่างชาตินำเงินมาให้เราแล้วเขาจะนำที่ดินไปไหนได้ทั้งบ้านทั้งที่ดิน นอกจากจะนำที่ดินไปไม่ได้ยังต้องจ้างคนมาดูแลอีกด้วย โดยต้องจ้างคนมาทำความสะอาดก็เกิดการจ้างงานอีก ดังนั้นไทยจะเสียหายที่ไหนและไม่เห็นว่าเป็นการขายชาติ

นอกจากนี้ นายธนินท์ ได้กล่าวถึงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยปัจจุบันบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่กลุ่มซีพีถือหุ้นใหญ่ กำลังพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) รวมทั้งขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังพัฒนารถไฟไทย-จีน ซึ่ง

นายธนินท์ กล่าวว่า ในโอกาสที่ไทยจะได้รับหลังรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ โดยเอกชนพร้อมผลักดันเต็มกำลัง เพราะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยรถไฟความเร็วสูงไม่ใช่แค่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่เชื่อมถึงลาว กัมพูชา เวียดนามและจีน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางที่แท้จริง


นอกจากนี้ ประเทศไทยมีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ถึง 2 ท่าเรือ รวมทั้งมีสนามบินเชิงพาณิชย์ถึง 3 สนามบิน รวมทั้งในอีอีซี ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ และมีสัดส่วนจีดีพีถึง 70% ของจีดีพีประเทศ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศไทยจะไม่ทำตรงนี้

สำหรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงต้องเชื่อมโยงทุกชาติข้างเคียงทั้งในอาเซียน เอเชียและเชื่อมไปจนถึงทวีปยุโรป เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43425
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2022 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ธนินท์” หนุนนโยบาย ชาวต่างประเทศซื้อที่ดิน ชี้ไม่ใช่การขายชาติ
กรุงเทพธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 7:15 น.




เจ้าสัวธนินท์ มั่นใจรถไฟความเร็วสูงEEC ดันไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน
เศรษฐกิจในประเทศ
วันศุกร์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:06 น.

เจ้าสัวธนินท์ มั่นใจโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีการประชุมสัมมนา “Forum for World Education 2022” ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจเปลี่ยน การศึกษาปรับ รับแนวโน้มอนาคต” (Shaping The Future of Education To Match Global Economic Trends) ขึ้น ร่วมกับสภาเพื่อการศึกษาระดับโลก หรือ Forum for World Education (FWE) และโรงเรียนนานาชาติคองคอร์เดียน ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ สถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา



ในงานดังกล่าว ได้เชิญผู้นำด้านธุรกิจระดับโลกที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคนและการศึกษาเข้าร่วมประชุมพร้อมกับผู้นำด้านการศึกษาจากประเทศต่าง ๆ กว่า 400 คน เพื่อระดมความเห็นในการออกแบบรูปแบบการศึกษาให้ตอบโจทย์อนาคต

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปาฐกถาตอนหนึ่งว่า “สถานีรถไฟ สนามบิน เครื่องบิน ท่าเรือ ไม่ได้ถูกทำลาย เหมือนสงครามโลกครั้งที่ 2 พอโควิดหยุด น่าจะเข้าสู่ปกติ แต่ไม่ใช่ เพราะมันนานเกินไป เดิมคิดว่า 1 ปีจบ กลายเป็นว่า 2 ปี ยังมาเจอกับการเมือง โลกร้อน น้ำท่วม และสงครามยูเครน แต่ทั่วโลกเห็นประโยชน์ของประเทศไทย ตอนนี้อยู่ที่รัฐบาลไทยจะช่วยทำอย่างไร จะดึงดูดต่างประเทศเข้ามาลงทุน”

“พอเจอคนโจมตีขายชาติ ขายที่ดิน ซึ่งคนมีความรู้เราต้องการเขามาลงทุนเมืองไทย มาทำธุรกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ เขาไม่สามารถนำที่ดินกลับไปบ้านเขาได้ เขาเอาเงินมาลงทุน ซื้อที่ ซื้อบ้านปักหลัก ดีกว่าท่องเที่ยวอีก เพราะท่องเที่ยวมาแล้วก็กลับ แต่ต่างชาติเข้ามาลงทุน สร้างประโยชน์ สร้างงาน สร้างเงิน”

นายธนินท์มั่นใจว่า เศรษฐกิจปี 2566 ดีกว่าปี 2565 แน่นอน เนื่องจากตอนนี้โควิดเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ติดง่ายก็หายง่าย อันตรายน้อย แต่ปีหน้าจะดีน้อยหรือมาก อยู่ที่นโยบายรัฐบาลที่จะดึงทั่วโลกมาลงทุนที่ไทย

“ถ้าวันนี้ผมเป็นรัฐบาลจะกระตือรือร้นออกไปชักชวนยุโรป รัสเซีย เข้ามาเมืองไทย อย่างดูไบที่ดินมีนิดเดียว พอรัสเซีย กับยูเครน รบกัน ดูไบไปเชิญคนรัสเซียซื้อบ้านอยู่อย่างถาวร เราทำหรือยัง ทั่วโลกบอกว่าสตาร์ตอัพชอบอยู่เมืองไทย ทำไมเราไม่เอื้อกฎหมายให้เขามาทำงานในเมืองไทย ให้เข้ามาง่าย มาใช้ชีวิตในเมืองไทย มาสร้างงาน สร้างรายได้ เศรษฐกิจให้ไทย”


“ไทยต้องคบทุกคน ประเทศไหน ธุรกิจเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ไม่เข้าข้างใคร และไม่เกี่ยวการเมือง ไทยคบใครก็ได้ประโยชน์เศรษฐกิจคบกับคนนั้นด้วย ไม่ว่าอเมริกาก็ต้องคบ เว้นเขาไม่คบเรา ประเทศจีน และญี่ปุ่นก็ต้องคบ ต้องมีความบาลานซ์ แต่ยังไงอเมริกายังเป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลก แต่ตลาดใหญ่อยู่ที่จีน เทคโนโลยีดีสุดอยู่ที่อเมริกา การเมืองก็อยู่อเมริกา บางครั้งรู้ว่าได้เปรียบ บางครั้งต้องจำยอมบ้าง เรื่องนี้เมืองไทยเก่ง”

นายธนินท์กล่าวถึงคุณสมบัติผู้นำที่จะพาประเทศคว้าโอกาสทั้งด้านเศรษฐกิจ และการค้า ต้องกล้าทำ กล้าตัดสินใจ เนื่องจากเพื่อประโยชน์ของประเทศ วันนี้จะให้คนเห็นพ้องทุกคนไม่มีทาง ต้องมีมองต่างมุม บังคับให้คนมองเหมือนเราไม่ได้ มั่นใจว่าไม่ใช่เพื่อส่วนตัว ผิดบ้างไม่เป็นไร ขอให้ทำเพื่อประชาชน วันหนึ่งคนก็ต้องรู้

นายธนินท์ยังกล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่าจะเป็นโครงการที่ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง รถไฟ สนามบิน 2 แห่ง และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี มีอุตสาหกรรม รายได้ 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ

“เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงสามารถเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนามได้ ถ้าสามารถเชื่อมไปถึงคุนหมิง และเมืองใกล้เคยง มีคนมาเที่ยวประมาณ 700 ล้านคน ถ้าเอารถไฟขนคนเหล่านี้มาเที่ยวเมืองไทยสัก 30 ล้านคน เราจะไม่มีที่ให้เขาเที่ยว อย่ามองสั้น ๆ แค่ 220 กิโลเมตร แต่ต้องไปเชื่อมสินค้า และท่าเรือต่าง ๆ ในลาว จีน” ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 6:54 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารไม่เข้าเป้า อู่ตะเภายืดแผนลงทุน ขยายก่อสร้าง6เฟส
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 03, 2022 06:17

เพิ่มทุน9พันล้านก่อนเปิดสนามบินปี 2569

โควิดพ่นพิษเมืองการบินอู่ตะเภาล่าช้า 1 ปี ล่าสุด UTA หารืออีอีซี เจรจาปรับแผนลงทุนจาก 4 เฟส ขยายออกไปเป็น 6 เฟส หลังประเมินผู้โดยสารโตช้ากว่าที่คาด ขอปรับลดขนาดลงทุนอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในเฟสแรกเหลือไม่ถึง 15 ล้านคน รวมถึงเงื่อนไขไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมจ่อแผนเพิ่มทุน 9 พันล้านบาทก่อนเปิดสนามบินปี 69

จากผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้การลงทุนใน"โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก" ของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) จะไม่ได้ลงทุนตามแผนเดิม ที่กำหนดไว้ว่าจะลงทุนทั้งหมด 4 เฟส ภายใต้สัญญาสัมปทาน 50 ปี

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ของจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางมาใช้บริการสนามบินอู่ตะเภา จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ดังนั้นในขณะนี้ UTA อยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เพื่อเจรจาปรับแผนลงทุนก่อสร้างในโครงการนี้ใหม่ ให้สอดรับการขยายตัวของผู้โดยสารที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด ซึ่ง UTA อยู่ระหว่างการประเมินตัวเลขใหม่อีกครั้ง เนื่องจากแนวโน้มของผู้โดยสารอาจจะไม่เติบโตเร็วเหมือนในช่วงแรกที่ประเมินไว้

พราะขณะนี้ตลาดจีนก็ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับมาตรการเปิดประเทศในเอเชียที่ล่าช้ากว่าภูมิภาคอื่น ส่งผลให้สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(IATA) คาดการณ์ว่าภาพรวมของธุรกิจการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาคอื่น และคาดว่ากว่าธุรกิจสายการบินทั่วโลกจะกลับมาสู่ภาวะปกติน่าจะเป็นช่วงปี2567 สะท้อนให้เห็นว่านับจากเกิดโควิดตั้งแต่ปี2563 ต้องใช้เวลา 4-5ปีกว่าธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติ

ทำให้ UTA และอีอีซี จะต้องหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การปรับแผนการลงทุนก่อสร้างให้เหมาะสมเป็นไปตามความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นหลังโควิด โดยอยู่ระหว่างเจรจาปรับแผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา จากเดิมที่จะมีการลงทุนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ขยายการลงทุนออกมาเป็น 6 เฟส ภายใต้อายุสัญญาสัมปทาน 50 ปีเหมือนเดิม และขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานอู่ตะเภาสูงสุดจะยังคงอยู่เท่าเดิมตามสัญญา คือ 60 ล้านคนต่อปี รวมถึงอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังต้องครบครันเหมือนเดิม

ทั้งนี้ UTA ได้เสนอการปรับแผนไปยัง สกพอ.แล้วซึ่งการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่จะเป็นเฟสแรกของการลงทุน จะขอปรับขนาดอาคารผู้โดยสารให้เล็กลงจากเดิมเล็กน้อย โดยขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารอาจจะอยู่ที่ 10-15 ล้านคนต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 15 ล้านคนต่อปี ซึ่งมูลค่างานก่อสร้างเฟสแรกนั้น อยู่ระหว่างคำนวณว่าเป็นเท่าใด เพราะอาจมีการปรับขนาดของอาคารผู้โดยสารลง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริงๆ

อย่างไรก็ตามแม้ UTA จะขอขยายการพัฒนาจากเดิม 4 เฟส ออกไปเป็น 6 เฟส แต่หากผู้โดยสารกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามสัญญาที่ระบุว่าหากมีผู้โดยสารใช้บริการเกินกว่า 80% ของอาคารผู้โดยสารในเฟสแรกที่สร้างขึ้น UTA ก็จะเริ่มดำเนินการในเฟสต่อไปทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผู้โดยสารแออัด

"โครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) ทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องช่วยกันดำเนินการให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ เพราะโควิด-19 เป็นสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และที่ UTA ร้องขอปรับแผนงานต่างๆก็เป็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีการเข้าไปขอแก้ไขสัญญาหลัก หรือขอให้มีการขยายสัญญา หรือขอลดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด โดยสัญญาสัมปทานของ UTA จะเริ่มนับตั้งแต่การส่งมอบพื้นที่เพื่อเริ่มเข้าไปดำเนินการก่อสร้าง"

สำหรับการเข้าไปลงทุนของ UTA ในเฟสแรก ปัจจุบันถือว่าล่าช้าออกไป จากเดิมที่คาดว่าจะได้เข้าพื้นที่ในปีนี้ ก็คาดว่าน่าจะเลื่อนไปเป็นช่วงไตรมาส 1 หรือ ไตรมาส 2 ปีหน้า จึงจะเริ่มเข้าไปตอกเสาเข็มได้ ก็ทำให้โครงการจะล่าช้าจากเดิมไป 1 ปี จากเดิมที่คาดว่าในเฟสแรก จะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จปี2567 และเปิดปี 2568 ก็น่าจะเลื่อนไปเปิดให้บริการได้ในปี2569 ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้น เกิดจากหลายปัจจัย

ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้ที่ผ่านมาการเดินทางไม่สะดวก เช่นมาตรการห้ามเดินทางข้ามจังหวัด จึงลงพื้นที่สำรวจไม่ได้ ทำให้การทำประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของรันเวย์ 2 ล่าช้า รวมถึงเรื่องของข้อตกลงที่ดินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งสนามบินอู่ตะเภาต้องเป็น 1 ในสถานีของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

อย่างไรก็ตามขณะนี้การออกแบบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกในส่วนของโครงสร้างหลักเสร็จเรียบร้อยพร้อมก่อสร้าง ส่วนการออกแบบรายละเอียดของโครงการต่างๆ ภายในเมืองการบิน อยู่ระหว่างออกแบบ อย่างไรก็ตามการจะเริ่มก่อสร้างได้นั้น ต้องพิจารณาความพร้อมเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

เพราะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเริ่มก่อสร้างตามข้อตกลงในสัญญา อาทิ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA), การก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์ 2) และทางขับที่ 2 และข้อตกลงกับรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพราะสนามบินต้องเป็นหนึ่งในสถานีของรถไฟไฮสปีดฯ ซึ่งตามแผนไฮสปีด จะแล้วเสร็จในปี2570 เสร็จหลังจาก UTA สร้างสนามบิน 1 ปี


นายพุฒิพงศ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการเตรียมเรื่องของเงินลงทุนในเฟสแรกนั้น ทางบริษัทการบินกรุงเทพฯ ได้ออกกองทรัสต์ BA REIT ไปเมื่อช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา ระดมทุนได้ 14,300 ล้านบาท ส่วนหนึ่งก็จะนำมาใช้เตรียมการสำหรับการลงทุนพัฒนาอู่ตะเภา ที่จะลงทุนร่วมกับผู้ร่วมทุนใน UTA รวมทั้ง UTA ยังมีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,500 ล้านบาทในปัจจุบันเพิ่มเป็น 9,000 ล้านบาทก่อนสนามบินโอเปอเรตด้วย

ส่วนการคัดเลือกเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) คนใหม่จะไม่กระทบต่อโครงการฯ เพราะเชื่อมั่นว่าเจตนารมณ์ของอีอีซี ก็อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าใครจะมาเป็นเลขาธิการอีอีซีคนใหม่ น่าจะเจรจา และหารือร่วมกันได้อยู่แล้ว

นอกจากทางบางกอกแอร์เวย์สเอง ก็ยังมีแผนลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO ในสนามบินอู่ตะเภาด้วย เพื่อรองรับการสร้างเน็ตเวิร์คที่สนามบินแห่งนี้ ซึ่งก็คงต้องมีการหารือกับอีอีซี เนื่องจากพื้นที่ในส่วน MRO เฟส 2 ก็อยู่ในพื้นที่ที่ UTA ได้รับสัมปทาน จึงต้องมีการหารือกันต่อไปว่า BA จะเข้าไปลงทุนเอง หรือ เปิดสัมปทานให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุน" นายพุฒิพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 4 - 7 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 7:25 am    Post subject: Reply with quote

PYLON คว้างานใหญ่ 2 โครงการ 700 ลบ. ดัน Backlog นิวไฮอยู่ที่ 1,586 ลบ. รายได้ฟื้นแตะ 1,200-1,300 ลบ.
2 ธ.ค. 2565 16:00:45

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 2 ธันวาคม 2565 )----- PYLON ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างโค้งสุดท้ายของปี 65 เริ่มฟื้นตัว ส่งผลดีต่อ PYLON ทั้งปีคาดรายได้กลับมาแตะ 1,200 -1,300 ลบ. เผยล่าสุดประกาศได้รับงานใหญ่ 2 โครงการ มูลค่าราว 700 ลบ. สนับสนุนงานในมือแข็งแกร่งอยู่ที่ 1,586 ลบ. ทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงปีหน้า ส่วนแนวโน้มรวมธุรกิจปี 2566 ของ PYLON คาดว่าผลประกอบการเติบโตดีกว่าปีนี้ มีแนวโน้มได้งานใหม่ๆ มาเติมต่อเนื่อง

ดร.ชเนศวร์ แสงอารยะกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) หรือ PYLON ผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานฐานราก (เสาเข็มเจาะ) ระดับแนวหน้าของประเทศ เปิดเผยว่า ภาพรวมช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวบรรยากาศการลงทุนของผู้ประกอบการเริ่มคึกคักมากขึ้น เป็นผลบวกต่อ PYLON โดยบริษัทยังมุ่งเน้นรับงานโครงการใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดได้รับข่าวดีได้รับงาน 2 โครงการใหญ่ มูลค่ารวมประมาณ 700 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) แข็งแกร่งอยู่ที่ราว 1,586 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัท โดยเป็นงานภาคเอกชนสัดส่วนอยู่ที่ 62% งานภาครัฐ 38%

"ปีนี้ถือว่าเราผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว คาดว่ารายได้ทั้งปี 2565 จะอยู่ที่ 1,200-1,300 ล้านบาท โดยเชื่อว่าสถานการณ์จากนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ และประเมินแนวโน้มธุรกิจปี 2566 น่าจะดีกว่าปีนี้ บริษัทยังมีงานประมูลโครงการใหญ่ในปีหน้าและเชื่อว่าจะหางานใหม่ๆเข้ามาเสริมพอร์ตได้อย่างต่อเนื่อง เช่นงาน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีความไม่แน่นอนเรื่องกำหนดก่อสร้าง แต่โครงการใหม่อื่นๆ ส่วนใหญ่เริ่มก่อสร้างในปลายไตรมาส 4 นี้" ดร.ชเนศวร์ กล่าว

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างปีหน้า คาดว่างานภาครัฐและเอกชนจะกลับมาฟื้นตัว โดยงานโครงการมิกซ์ ยูส ของภาคเอกชนยังมีการลงทุนต่อเนื่อง ส่วนงานคอนโดฯแนวสูงน่าจะค่อยๆฟื้นตัวตามภาพรวมของอุตสาหกรรรม โดยบริษัทยังคงเดินหน้าประมูลงานใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพว่าบริษัทมีโอกาสได้งานเข้ามาเพิ่มทั้งงานภาครัฐและงานภาคเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2022 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดกับรถไฟ สายอีสาน ขบวน431 มองงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
ติดTRAIN
Dec 4, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=lTOUDPgOwlI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2022 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทรถไฟความเร็วสูงประจำเดือนพฤศจิกายน ช่วงแก่งคอย-รังสิต
รถไฟไทยสดใส
Dec 4, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=HqDF9AEU5f4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43425
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2022 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

สนับสนุนเครื่องจักรช่วยขุดทางลอดระบายน้ำบริเวณหลังอบต.จันทึก หมู่ 1 บ้านป่าไผ่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านจากปัญหาน้ำระบายไม่ทัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=198052069395809&id=100075730516124
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2022 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่านมาพอดี เลยเก็บภาพมาฝาก!! รื้อย้ายท่อส่งน้ำมัน ช่วงบางซื่อ-พญาไท,รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
Q LIKE
Dec 8, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=7VBAX8RoR-8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46381
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2022 6:57 am    Post subject: Reply with quote

สมาร์ตซิตี้มักกะสัน4.2หมื่นล. พัฒนา5โซนสร้างเกตเวย์อีอีซี
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, December 09, 2022 04:19

กรุงเทพธุรกิจ สกพอ.เร่งทำแผนผัง ใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีมักกะสัน ตั้งเป้าเสร็จใน 1 ปี แบ่งพัฒนา 5 โซน เตรียมส่งมอบให้ "ซีพี" 140 ไร่ พัฒนาโซน A สร้างเมืองอัจฉริยะ พื้นที่มิกซ์ยูส 8 แสนตร.ม.ยึดแนวคิดเกตเวย์ของอีอีซี รฟท.ประเมินมูลค่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท พร้อมวางกรอบสร้างพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 60% พร้อมพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) มักกะสัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้สิทธิพัฒนาทั้งพื้นที่มักกะสันและศรีราชา โดยขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนการจัดทำไกด์ไลน์เพื่อเป็นแนวทางให้เอกชนพัฒนา

สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เร่งจัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่องแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณ สถานีรถไฟความเร็วสูงมักกะสัน) พ.ศ. ...." เพื่อเป็นไกด์ไลน์การพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีมักกะสันให้กับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด นำไปเป็นไกด์ไลน์ ในการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน

นายวรวุฒิ มาลา ที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ.ระบุว่า ขณะนี้ สกพอ.ได้เริ่มขั้นตอน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงหน่วยงานเป็นที่เกี่ยวกับกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน

ทั้งนี้ สกพอ.จะนำข้อเสนอแนะไปจัดทำ ร่างประกาศเรื่องแผนผังใช้ประโยชน์ที่ดินสถานีมักกะสัน เพื่อเตรียมส่งมอบพื้นที่ ดังกล่าวให้กับเอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม สามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) นำไปพัฒนาตามข้อกำหนด ซึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสันนี้ ถือเป็นโครงการต้นแบบ ของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ไฮสปีดเทรนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดไว้ 6 พื้นที่ ได้แก่ มักกะสัน บางซื่อ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา และพัทยา

"ตามที่รัฐบาลได้เร่งรัดผลักดัน การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบโครงการรถไฟ เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสในการสร้างรายได้และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก ขณะนี้เราจะนำร่องในการศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบินใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่รอบสถานีมักกะสัน และสถานีศรีราชา"
สร้างเกตเวย์"อีอีซี"

สำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีมักกะสันนั้น จะดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ 140 ไร่ ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ในฐานะ Global Gateway และศูนย์กลางของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นประตูสู่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการเดินทาง โดยมี แนวคิดของการพัฒนา ต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mix-used) ตามหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง หรือ TOD สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Smart City)

นอกจากนี้ ตามแผนผังเบื้องต้น สกพอ.ได้กำหนดมาตรฐานการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกำหนดการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสาธารณะ โดยภายในโครงการจะต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 60% OSR (Open Space Ratio) หรือ พื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม อีกทั้งต้องมี สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะ ไม่น้อยกว่า 78,000 ตารางเมตร การเพิ่มต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 4,000 ต้น ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน 1,040 ตันต่อปี และดูดซับคาร์บอน 192 ตันต่อปี เพื่อให้เป็นปอดใจกลางกรุงเทพมหานคร

อีกทั้งภายในโครงการพัฒนา รอบสถานีมักกะสันนี้ ยังจะมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพในย่านศูนย์กลางสำหรับประชาชนทั่วไป และผู้มีรายได้น้อย ไม่น้อยกว่า 10,000 หน่วย และมีการบริหารจัดการสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืนของประเทศ ต้องวางระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในโครงการ กักเก็บและหมุนเวียนน้ำใช้ในโครงการไม่น้อยกว่า 19,000 ลบ.ม. ลดภาระระบบระบายน้ำพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ

นายวรวุฒิ กล่าวว่า โมเดลที่ สกพอ. วางไว้ในขณะนี้ ต้องการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยต้องมีพื้นที่ สีเขียว มีแผนบริหารจัดการน้ำและ ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย มีพื้นที่ประโยชน์สำหรับประชาชนเข้ามาใช้ฟรี และต้องมีการพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาด ต้องมีราคาต่ำกว่าราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของโครงการไม่น้อยกว่า 20% เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในโครงการนี้

แบ่งพัฒนาพื้นที่5โซน

นายมณเฑียร อัตถจรรยา รอง ผู้อำนวยการฝ่ายด้านบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า แผนผังพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน เบื้องต้น ร.ฟ.ท.แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ประกอบด้วย

โซน A พื้นที่ 140 ไร่ จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Gateway of EEC เน้นเป็นการพัฒนาโครงการ Commercial แบบผสมผสาน

โซน B จะภายใต้คอนเซ็ปต์ Business and Heritage Park เน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเปิดให้ประชาชน เข้ามาใช้บริการ

โซน C จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Energetic Zone ปัจจุบันเป็นพื้นที่ โรงพยาบาลบุรฉัตรก็จะปรับปรุงให้ ทันสมัยมากขึ้น

โซน D จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ SRT Museum ปัจจุบันเป็นพื้นที่ โรงซ่อมของ ร.ฟ.ท.ก็จะพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์

โซน E จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Business Zone เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้ปัจจุบันมีสัญญาเช่าอยู่ ดังนั้นเป้าหมายในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นโครงการเชิงธุรกิจแบบผสมผสาน

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ในขณะนี้ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่โซน A เป็นส่วนแรก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความพร้อมที่จะส่งมอบให้เอกชน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟ ไฮสปีดเทรดมากที่สุด หากเร่งพัฒนา จะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร ทั้งนี้ จากผลการศึกษา ร.ฟ.ท.ประเมินว่าการลงทุนในโครงการนี้ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาท และมีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 8 แสนตารางเมตร

คาดสรุปผัง"มักกะสัน"1ปี

นายสันติชัย สุขราษฎร์ ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สกพอ. กล่าวว่า ขั้นตอนดำเนินงานหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้แล้ว สกพอ.จะรวบรวมข้อคิดเห็นนำไปปรับปรุงร่างแผนผัง ดังกล่าว โดยจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าดำเนินการจัดทำร่างแผนผังเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อเตรียมประกาศใช้ โดยแผนผังฉบับนี้จะมีผลบังคังใช้เฉพาะในส่วนของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสันเท่านั้น ส่วนพื้นที่พัฒนา สถานีอื่นๆ สกพอ.จะดำเนินการจัดทำร่าง ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน พื้นที่นั้นๆ

ขณะที่ข้อคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีความกังวลใจต่อการพัฒนาโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรอบ อาทิ การถูกเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม รวมทั้งหากมีการพัฒนาโครงการที่แม้จะมีข้อกำหนดว่าต้องก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย แต่ประชาชนก็มีข้อกังวลว่าราคาที่อยู่อาศัยดังกล่างอาจสูงเกินกว่าที่จะซื้อเพื่ออยู่อาศัยได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะให้ สกพอ.เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ เปิดโอกาสให้ได้ทำงานในโครงการต่างๆ ที่จะพัฒนาในสถานีมักกะสัน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 469, 470, 471 ... 568, 569, 570  Next
Page 470 of 570

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©