View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
tuie
1st Class Pass (Air)
Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 19/08/2011 8:08 pm Post subject: |
|
|
^^
^
ขอบคุณน้องต้น และท่านเจ้าของตั๋วแข็ง(ตั๋วหนา)ข้างต้นที่กรุณานำภาพมาให้ชมกันครับ
ตั๋วแข็งในภาพของน้องต้นเป็นตั๋วแข็งยุคท้ายๆก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ตั๋วคอมฯ เนื่องจากสีสันและลวดลายผิดแผกแตกต่างไปจากสีและลายมาตรฐานของ ตั๋วแข็งชั้นหนึ่ง-ชั้นสอง-ชั้นสาม ในยุคที่ตั๋วแข็งยังใช้เป็นปกติก่อนจะเริ่มมีตั๋วคอมฯมาทดแทน
อย่างตั๋วแข็งสีเขียวคาดส้มแดงมีวงกลมสีขาวตรงกลางที่ถูกตามมาตรฐานต้องเป็นตั๋วชั้นสองนอน/นั่งรวมค่าธรรมเนียมรถด่วน จะไม่นำมาใช้เป็นตั๋วชั้นสามเป็นอันขาด ซึ่งรายละเอียดในประเด็นนี้ได้กล่าวไว้ตอนต้นๆกระทู้แล้ว ท่านใดสนใจเชิญย้อนกลับไปอ่านได้ครับ _________________ นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/07/2013 9:43 pm Post subject: |
|
|
ตั๋วรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา
ตั๋วแข็ง ยุค ๒๔๘๕
ตั๋วบาง ยุค ๒๕๐๙-๒๕๑๐
ขอบคุณตั๋วจาก อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ และภาพถ่ายจาก อ.วุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ
|
|
Back to top |
|
|
ksomchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2009 Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู
|
Posted: 19/07/2013 7:55 am Post subject: |
|
|
ขัอมูลการเดินทางในตั๋ว หาดใหญ่ สงขลา
เดินทางวันที่ ๑๒ มีนาคม จาก สงขลา - หาดใหญ่ ชั้น ๓ ขบวน ๒๓๘ (เที่ยวแรกจากสงขลา) ครับ
+++++++++
เที่ยวแรกจากสงขลา ออก ๗ โมงเช้า ครับ _________________
Last edited by ksomchai on 19/07/2013 9:24 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/07/2013 9:02 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณมากครับพี่สมชาย
ตั๋วใบนี้ ทำให้เห็นเทคโนโลยีของคนรุ่นเก่า ในการระบุวันเดือน ขบวนรถ สถานที่ขึ้นลงรถไฟนะครับ โดยยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
สำหรับรอยตัดตรง สงขลา/วัดอุทัยนั้น ถ้าไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่ตัดไม่ตรงจุด ก็คงมีวัตถุประสงค์ว่าขึ้นที่สงขลาหรือวัดอุทัยก็ค่าโดยสารเท่ากัน (2 บาทตลอดสาย ?) และขบวนรถใช้เวลาไม่มากในการเดินทางจากสงขลาไปวัดอุทัย (1.36 กม.) ถ้าใครไม่ได้ซื้อตั๋วตั้งแต่ต้นทางสงขลา แล้วขึ้นขบวนรถไป ก็คงซื้อตั๋วบนขบวนรถได้กระมังครับ |
|
Back to top |
|
|
ksomchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2009 Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู
|
Posted: 19/07/2013 9:59 pm Post subject: |
|
|
เพิ่มเติม ครับ
จากตั๋วบางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา-หาดใหญ่ จะเห็นว่า ไม่มีป้ายหยุดรถเขาบรรไดนาง,สถานีน้ำน้อย,ป้ายหยุดรถควนหิน
เนื่องจาก รถไม่หยุดทั้งสามแห่ง เนื่องจากอยู่ไกลชุมชน จะหยุดที่เกาะหมี-ตลาดน้ำน้อย-พะวง แทน
ส่วนน้ำกระจาย เป็นป้ายหยุดรถแห่งเดียว ที่ประเพณีเป็นป้ายปูน เหมือนสถานีสงขลา ส่วนที่ป้ายหยุดรถอื่น ๆ เป็นป้ายไม้ ครับ
++++++++
ถ้าซื้อตั๋งที่ห้องจำหน่ายตั๋วที่สถานีหาดใหญ่หรือสงขลา ลงปลายทางหาดใหญ่หรือสงชลาจะได้ตั๋วแข็ง ครับ แต่ถ้าซื้อบนขบวนรถ จะได้ตั๋วบาง _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/07/2013 6:06 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณพี่สมชายอีกครั้งครับ
จนถึงปัจจุบัน ผมยังไม่เคยเห็นภาพสถานีน้ำน้อยและน้ำกระจายเลยครับ
ไม่เพียงแต่สายสงขลา แม้แต่สายสุพรรณบุรีก็ยังไม่เคยเห็นสถานีรายทางแม้เพียงสถานีเดียว นอกจากหลังคาในภาพถ่ายทางอากาศ
แม้แต่ตั๋วรถไฟสายสงขลา ก็มีเหลือมาให้เห็นเพียงตั๋วบางยุค ๒๕๐๙-๑๐ และตั๋วแข็งยุค ๒๔๘๕ เท่านั้น
น้ำกระจาย น่าจะเป็นอดีตสถานี/ที่หยุดรถรายทางดั้งเดิม เพียงแห่งเดียวของสายสงขลา ที่อยู่ใกล้หมู่บ้านครับ ที่อื่น ๆ จะอยู่ห่างจากชุมชน (เขาบรรไดนาง น้ำน้อย ควนหิน) มีเพียงขบวนรถทางไกลที่ทำขบวนด้วยรถจักรไอน้ำ (รถกันตัง) เท่านั้น ที่จอดที่สถานีรายทาง
ตั๋วแข็งยุค ๒๔๘๕ นี้ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นตั๋วรถไฟหลวงที่เก่าที่สุดเท่าที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันหรือเปล่านะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46982
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/07/2013 11:39 pm Post subject: |
|
|
ภาพถ่ายเจ้าของตั๋วรถไฟหาดใหญ่-สงขลา อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์
จากซ้าย
เสื้อเขียว อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ นักสะสมเอกสารประวัติศาสตร์เมืองสงขลา
คุณมนัส กิ่งจันทร์ นักวิชาการภาพยนตร์ไทย
คุณอานันท์ คำเรืองศรี คนฉายหนังวิกคิงส์ สงขลาในอดีต เคยอยู่ในงานเลี้ยงปิดกล้องภาพยนตร์เรื่องชุมทางหาดใหญ่ด้วย
อ.วุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ นักวิชาการอิสระและนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา
คุณนุ- ประเดิม (Praderm Sangaseang = ประเดิม สง่าแสง) ผู้นิยมชมชอบและอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 56 เมื่อคุณมนัส กิ่งจันทร์ และคุณนุ ลงไปหาอาจารย์จรัสที่ อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำฟิล์มภาพยนตร์มาอนุรักษ์ไว้ครับ
ที่มาภาพ: https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.176045455908853
Last edited by Mongwin on 31/07/2013 7:18 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43767
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43767
Location: NECTEC
|
Posted: 14/12/2022 12:49 pm Post subject: |
|
|
ตั๋วรถไฟเก่า นครราชสีมา - กุฎจิก เมื่อปี พ.ศ.2541
สังเกตุชื่อสถานี "กุฎจิก" (สะกดด้วยตัว ฎ ชฎา) แต่ชื่อที่ใช้กันทั่วไป คือ "กุดจิก" (สะกดด้วยตัว ด เด็ก)
ด้านหลังตั๋วประทับวันเดือนปีที่ใช้ 26 08 41 (26 สิงหาคม 2541) ซึ่งเป็นตั๋วจากสต็อกเก่า
(ตั๋วแข็ง หรือ ตั๋วรถไฟแบบเก่านี้ ได้ทยอยเลิกใช้ตั้งแต่หลังปี พ.ศ.2535)
.
จากการค้นหาข้อมูล พบว่ามีสถานีรถไฟหลายแห่งที่เคยใช้ชื่อที่เขียนแบบเดิม เช่น โคราช, โนนวัด, ปากเพรียว, กระบินทร์บุรี, เพ็ชร์บุรี และ อุตตรดิตถ์ เป็นต้น และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ตามชื่อตำบล อำเภอ หรือชื่อจังหวัด ในปัจจุบัน เช่น
- สถานีโคราช เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีนครราชสีมา" (ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2477)
- สถานีโนนวัด เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโนนสูง" (ประกาศราชกิจจาฯ ในปี พ.ศ.2487)
- สถานีปากเพรียว เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีสระบุรี" (ก่อนปี พ.ศ.2491)
- สถานีกระบินทร์บุรี เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีกบินทร์บุรี" (หลังปี พ.ศ.2480)
- สถานีเพ็ชร์บุรี เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีเพชรบุรี" (ไม่ทราบปี)
(ชื่อเพ็ชร์บุรี นี้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2447)
- สถานีอุตตรดิตถ์ เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีอุตรดิตถ์" (หลังปี พ.ศ.2495)
(ชื่อเดิมคือ "อุตรดิฐ")
.
ซึ่งยังไม่พบข้อมูลของชื่อ "กุฎจิก" ว่าเป็นชื่อเดิมของ ต.กุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หรือไม่ แต่ภายหลังชื่อสถานีรถไฟกุฎจิก ก็เปลี่ยนมาเป็น "สถานีกุดจิก" (หลังปี พ.ศ.2469)
โดยชื่อสถานี "กุฎจิก" พบว่าใช้เฉพาะในหน่วยงานรถไฟ และยังไม่พบว่ามีชื่อนี้ระบุในเอกสารของทางราชการส่วนอื่นๆเลย อีกทั้งยังไม่ทราบความหมายและที่มาของชื่อดังกล่าวนี้ (ผู้รู้โปรดให้ข้อมูล)
ส่วนชื่อ "กุดจิก" ที่ใช้กันมา มีความหมายว่า บริเวณแอ่งน้ำที่มีต้นจิกขึ้น
(ดูภาพเพิ่มเติม ในช่องความเห็น)
.
รวบรวมข้อมูลโดย - เพจ โคราชในอดีต
ขอบคุณ ภาพจาก - Supachai Chuanklin
https://www.facebook.com/korat.in.the.past/posts/524594729709059 |
|
Back to top |
|
|
|