View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2015 12:18 pm Post subject:
รอง ผวจ.อุบลฯ เปิดประชุม ระดมความคิด พิชิตการค้าชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ข่าว : 19 มีนาคม 2558
เช้าวันนี้ (19 มี.ค.58) นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการ ประชุมระดมความคิด พิชิตการค้าชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี ที่โรงแรมสุนีย์ แกนด์ อุบลราชธานี โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีและสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดขึ้น โดยมีหน่วยงานภาคราชการ,ธนาคารและภาคธุรกิจเอกชน เข้าร่วมการประชุม ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีความสำคัญต่อการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและการขนส่ง ทั้งทางรถยนต์ ทางรถไฟ รวมทั้งการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ปากแซง อำเภอนาตาล ที่จะเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการค้า การลงทุนต่างๆ และการต่อยอดทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงคือเมื่อดำเนินการแล้ว ประชาชนจังหวัดอุบลราธานี จะได้รับผลประโยชน์หรือได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
พร้อมนี้ในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดต่อการพัฒนา การปรับปรุง ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ในประเด็นการคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน ที่ควรขยายถนนสายอุบลราชธานี นครราชสีมา,
รถไฟรางคู่ จาก นครราชสีมา - อุบลราชธานี / บุ่งหวาย ช่องเม็ก,
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ บริเวณชายแดน เช่น การก่อสร้างสถานีขนถ่ายสินค้า ตลาดกลางสินค้าเกษตรขนส่งและการประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ,ด้านด่านศุลกากร ทั้งที่ด่านช่องเม็กและด่านเขมราฐ ควรมีการปรับปรุงขยายพื้นที่ให้บริการรวมทั้งการขยายเวลาเปิดให้บริการ ด้านพิธีการทางศุลกากร ควรให้บริการที่รวดเร็วทั้งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า,ด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการขนส่ง ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรของประเทศเพื่อนบ้าน การประกันภัยขนส่งสินค้าและ ประกันอุบัติเหตุรถยนต์ การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การหาแหล่งทุน การเป็นผู้แทนเจรจาลู่ทางทางการค้าและการดำเนินงานภายในองค์กรต่อการ เช่นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น,การจัดหาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้ารวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคอเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว,แรงงาน,การค้าชายแดนอุตสาหกรรมรวมทั้งบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมาสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยว ตามแนวชายแดน ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการระดมความคิดเห็นในครั้งจะได้รวบรวมเสนอรัฐบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาในภาพรวมของประเทศพร้อมทั้งมอบให้จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ให้สอดคล้องกับการพัฒนาและให้เกิดประโยชน์กับชาวจังหวัดอุบลราชธานี ด้วย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/07/2015 7:48 am Post subject:
เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558 เวลา 22:20 น.
เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ ประจิน หารือร่วมลาว เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ ยัน 5 ปี เดินทางจากจีน-ลาว-กรุงเทพฯได้ พร้อมร่วมมือก่อสร้างสะพานมิตรภาพ และเดินรถร่วมไทย-ลาว-จีน-เวียดนาม
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-ลาวว่า ได้มีการหารือถึงโครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย โดยเส้นทางคุนหมิง-ชายแดนลาว ระยะทาง 520 กม. จะเริ่มได้ปี 58 ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 5 ปี ส่วนเส้นทางจากชายแดนลาว-เวียงจันทร์ ระยะทาง 417 กม.เริ่มได้ปลายปีนี้ สอดคล้องกับรถไฟไทย-จีน จากหนองคาย-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด ที่เริ่มได้เดือนต.ค.นี้ เช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนของไทยจะใช้เวลาก่อสร้างทุกช่วงได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีครึ่ง
เส้นทางรถไฟของไทยและลาวจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี จึงจะเชื่อมกันได้ ส่วนที่จะเชื่อมกับคุนหมิงจะใช้เวลาไม่เกิน 5 ปี ดังนั้นนับจากนี้ไป ตั้งแต่ปี 59-63 จะเชื่อมสามารถต่อจากคุนหมิงมายังกรุงเทพฯและลงไปยังมาบตาพุดได้แน่นอน โดยไทยและลาวเห็นชอบผลักดันเรื่องนี้ร่วมกัน จึงเป็นการยืนยันว่าโครงการนี้เกิดขึ้นแน่นอน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาการก่อสร้างสะพานรถไฟมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อแยกเส้นทางรถไฟออกมาจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 โดยจะนำไปรวมไว้กับโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อก่อสร้างจากแม่น้ำโขงเข้ามายังหนองคาย รวมระยะทางประมาณ 5 กม.ด้วย ขณะเดียวกันจะร่วมมือเดินรถรถโดยสารประจำทางจากไทย-ลาว-เวียดนาม โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อสำรวจเส้นทาง นอกจากนี้จะมีการศึกษาเพิ่มเติมการเปิดเส้นทางเดินรถจากเดิมไทย-ลาว-จีน จากเดิมเป็นการขนส่งสินค้า จากคุนหมิง-กรุงเทพฯ โดยฝ่ายลาวและจีนเสนอให้เป็นคุนหมิง-กทม.-แหลมฉบัง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมถึงการเข้ามาเดินรถขนส่งสินค้าเข้ามาในไทย โดยจะเร่งสรุปรายละเอียดให้แล้วเสร็จในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้
สำหรับการเชื่อมรถไฟจากอุบลราชธานีไปช่องเม็กนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้จ้างที่ปรึกษาแล้ว เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกันทางฝ่ายลาวเสนอให้ดำเนินโครงการก่อสร้างมิตรภาพ แห่งที่ 5 บึงกาฬ-ปากซัน วงเงินลงทุน 3,700 ล้านบาท โดยให้ไทยลงทุน 2,400 ล้านบาท และฝั่งลาว 1,300 ล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลไทยก็ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาประโยชน์เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ชัดเจนในการลงทุน รวมถึงโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 อุบลราชธานี-แขวงสาละวัน(ข้ามแม่น้ำโขง) ตลอดจนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากเชียงแมน-หลวงพระบาง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/06/2018 5:25 pm Post subject:
รมว.คมนาคม เตรียมแผนเชื่อมรถไฟช่องเม็ก
เนชั่น 24 มิ.ย. 61
รมว.คมนาคม เตรียมแผนเชื่อมรถไฟทางคู่สู่ชายแดนช่องเม็ก จังหวัดอุบลฯ ขณะมาตรวจสะพานยกระดับหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมเปิดใช้แล้ว แม้ผิวจราจรจะยังไม่เรียบ แต่เมื่อใช้ไปสักพักจะเข้าที่เอง แต่หากพบปัญหาก็พร้อมสั่งแก้ไข
วันที่ 24 มิถุนายน 2561 ที่ บริเวณสะพานยกระดับข้ามทางรถไฟ ช่วงบริเวณหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 4 ช่องจราจร นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้เดินทางมาตรวจการก่อสร้างสะพานยกระดับข้ามทางรถไฟ บนทางหลวงหมายเลข 294 สายทางเลี่ยงเมืองศรีสะเกษ ระยะทางยาง 7.025 กิโลเมตร ตามสัญญาจ้างเลขที่ สท.2/25/2561 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เริ่มก่อสร้าง 3 กุมภาพันธ์ 261 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 27 มิถุนายน 2562 ระยะเวลา 510 วัน ค่าก่อสร้าง 134,900,000.-บาท
ซึ่งระยะแรกเป็นการสร้างสะพานยกระดับข้ามทางรถไฟ เป็นการลดปัญหาการจราจรแออัดติดขัดตลอดสาย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ได้มีโอกาสมาตรวจการก่อสร้างถนน ซึ่งยังพบว่าบางส่วนยังล่าช้ากว่าสัญญา ในส่วนข้อต่อเชื่อม และผิวจราจรตอนนี้สะพานยังไม่เรียบ เพราะยังไม่มีการเปิดใช้เป็นปกติ โดยข้อต่อที่เป็นเหล็กเชื่อมที่รองรับการขยายตัวของคอนกรีต ยังยุบลงไปเล็กน้อย ยังไม่สนิทเท่าใด เพราะยังไม่เปิดใช้สะพาน แต่พอใช้ไประยะหนึ่งก็จะเรียบปกติ รวมทั้งพื้นถนนก็จะยังไม่เรียบ เวลารถวิ่งผ่านขึ้นมายังพบว่าเป็นลูกคลื่นอยู่บางส่วน ก็จะให้ใช้ไปสักพักหนึ่งก็อาจจะเรียบปกติ แต่หากพบว่าเป็นปัญหาก็จะแก้ไขกันไป
ส่วนรถไฟทางคู่ จากสถานีจิระ ถึง อุบลราชธานี นั้น ก็จะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นปีนี้ โดยจะเป็นรถไฟทางคู่ที่เสมอระดับดิน เพราะว่าวันนี้เราได้ทำสะพานยกระดับข้ามรางรถไฟแล้ว รถไฟทางคู่ก็จะอยู่บนดิน ซึ่งจะเป็นอีกโครงการที่จะช่วยในด้านการขนส่ง คมนาคม ขึ้นถ่ายสินค้าเกษตรกร โลจิสติกส์ จากไทยสู่อาเซียนโดยจะเชื่อมกับประเทศลาว ต่อไปยังประเทศเวียดนาม ใช้รถไฟทางคู่นี้ ไปสู่ช่องเม็ก ของจังหวัดอุบลราชธานี
เดิมรถไฟไปถึงแค่อำเภอวารินชำราบ ต่อไปก็จะไปถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร ต่อไปถึงช่องเม็กชายแดนไทย ตอนนี้ให้ทำการศึกษาเอาไว้แล้ว ส่วนถนนตอนนี้ก็ได้ต่อขยายเป็น 4 ช่องจราจรบนเส้นทางหลวงสาย 24 ถึงชายแดนไว้แล้ว และเมื่อหากเสร็จครบถ้วนก็จะเดินทางกันอย่างสะดวกสบายมาก ทั้งการขนส่งพืชผัก ผลไม้ อาหารทางการเกษตร การท่องเที่ยว ในภาคอีสานตอนล่างนี้
https://www.youtube.com/watch?v=qamTCLQnifo
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/07/2018 5:07 pm Post subject:
ชงครม.สัญจรอุบลฯหมื่นล้าน ผุดถนนวงแหวน-ฟื้นสนามบินเลิงนกทา
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 July 2018 - 16:28 น.
4 จังหวัดอีสานตอนล่าง 2 ชง ครม.สัญจรอุบลฯขอ1หมื่นล้าน พัฒนา 5 หมวดหลัก เน้นโครงข่ายคมนาคม เสนอสร้างถนนวงแหวนแห่งที่ 2 ฟื้นสนามบินเลิงนกทา จ.ยโสธร ขึ้นเป็นสนามบินอุบลฯแห่งที่ 2 ดัน จ.อำนาจเจริญ ให้เป็น เมืองแห่งสมุนไพร
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า วันที่ 23-24 ก.ค.นี้จะมีประชุม ครม.สัญจรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จ.อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร ทางภาคเอกชน 4 จังหวัดประชุมร่วมกันเตรียมนำเสนอโครงการเร่งด่วน ทั้งขยายโครงข่ายคมนาคมเป็นถนน 4 เลน เช่น ยโสธร-เลิงนกทา, มหาชนะชัย-ค้อวัง, ทางเลี่ยงยโสธร กม.7+175-กม.8+191 และขยายไหล่ทางสาย อจ.3002-แยก ทล.202 อ.เสนางคนิคม และขยายถนนสาย อจ.3022 แยก ทล.212-บ้านพุทธอุทยานรวมถึงก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี, โครงการขยายสนามบินนานาชาติ จ.อุบลราชธานี เพื่อเพิ่มหลุมจอดเครื่องบิน 5 ลำ และอาคารจอดรถ
รวมถึงเร่งรัดรถไฟทางคู่วารินชำราบ-ช่องเม็ก เชื่อมไปถึงชายแดนไทย-ลาวที่ด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร, จัดสร้างศูนย์ความเป็นเลิศชั้นสูง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมณฑลทหารบกที่ 22 ให้ใช้พื้นที่ 180 ไร่ ทำโครงการ
นายชาตรี ไชยะเดชะ ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง 2 เปิดเผยว่า มีโครงการที่อยู่ระหว่างพิจารณา คือ 1.โรงงานต้นแบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรปลอดสาร และเกษตรอินทรีย์ อนาคตจะพัฒนาไปสู่การออกใบรับรองได้ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อทำสินค้าต้นแบบออกสู่ตลาด มีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้บริหารโครงการ แบ่ง 3 เฟส วงเงิน 500 ล้านบาท 2.โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนแห่งที่ 2 เชื่อมสนามบินอุบลราชธานี ขณะนี้กรมทางหลวงชนบทกำลังศึกษาและสำรวจ คาดใช้งบฯกว่า 1,500 ล้านบาท
3.พัฒนาปรับปรุงสนามบินเลิงนกทา จ.ยโสธร ให้เป็นสนามบินอุบลราชธานีแห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้งาน งบฯ 500 ล้านบาท และ 3.ก่อสร้างถนนวงแหวนด้านทิศเหนือ 4 เลน จ.ศรีสะเกษ 17 กม. วงเงิน 1,000 ล้านบาท
นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ทั้ง 4 จังหวัดพร้อมจะเสนอโครงการพัฒนา 5 หมวดหลัก คือ 1.โลจิสติกส์หรือการคมนาคม เช่น ขยายสนามบิน รถไฟทางคู่ 2.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแก้ปัญหาน้ำท่วม 3.ยกระดับการเป็นเกษตรอินทรีย์นำร่อง 4 จังหวัด โดยเฉพาะยโสธร และอำนาจเจริญ เน้นเกษตรปลอดภัยและลดรายจ่ายของประชาชน
4.พัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ทั้งศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสานตอนล่าง 2 เชื่อมสามเหลี่ยมมรกตกับประเทศเพื่อนบ้าน 5.ชูศักยภาพส่งเสริมเขตการค้าชายแดนให้เติบโต และพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 จากอุบลราชธานี-สาละวัน เชื่อมโยงการค้า และท่องเที่ยวกับเพื่อนบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการหารือระหว่างส่วนราชการ และภาคเอกชน คาดว่ามีโครงการนำเสนอทั้งหมด 5 หมวดหลัก รวมมูลค่า11,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ครม.สัญจรครั้งนี้ กระทรวงเตรียมเสนอยกระดับ จ.อำนาจเจริญ ให้เป็น เมืองแห่งสมุนไพร พร้อมพัฒนา 4 จังหวัดเป็นพื้นที่แห่งเกษตรอินทรีย์
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 20/07/2018 3:57 pm Post subject:
แค่ 2 หมื่นล้าน! เอกชนอุบลฯ ชงของบ ลุงตู่ ทำถนน 4 เลน-รถไฟรางคู่ถึงชายแดนไทย-ลาว
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 11:06
ปรับปรุง: 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 14:36
อุบลราชธานี - ภาคเอกชนเมืองดอกบัว เตรียมเสนอ ครม.สัญจร ตัดถนน 4 เลน ทำรถไฟรางคู่ใช้ขนส่งสินค้าถึงชายแดนไทย-ลาว พร้อมพัฒนาขยายสนามบินรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และสร้างโรงพยาบาลศูนย์แห่งใหม่รองรับการให้บริการผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
นายสมชาติ พงคพนาไกร ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงการจัดประชุม ครม.สัญจร ระหว่างวันที่ 23-24 ก.ค.นี้ ภาคเอกชนของจังหวัดเตรียมเสนอขอพัฒนาระบบลอจิสติกส์ ทั้งการสร้างถนน 4 เลนเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงจากจังหวัดไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 เดชอุดมถึงด่านชายแดนไทย-ลาวช่องเม็ก และการปรับปรุงถนนที่มีอยู่เดิมให้กว้างขึ้น
รวมทั้งการพัฒนาสนามบินนานาชาติอุบลราชธานี โดยขอเพิ่มหลุมจอดเครื่องบินเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 5 หลุมจอด เพราะปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 1,400,000 คนต่อปี การก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ 1,099 เตียง รองรับการให้บริการประชาชนในพื้นที่อีสานตอนล่างกว่า 4 ล้านคน และจากประเทศเพื่อนบ้าน
รวมทั้งการต่อขยายรถไฟรางคู่จากสถานีอำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ใช้ขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออก ภาคกลาง และอีสานไปยังด่านพรมแดนสากลไทย-ลาว ช่องเม็ก อ.สิรินธร ระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร ซึ่งทั้งหมดใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาท
โดยบางโครงการถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาของรัฐบาลนี้ แต่การนำเสนอครั้งนี้เพื่อต้องการให้ที่ประชุม ครม.รับทราบความต้องการของพี่น้องประชาชนในจังหวัดอีสานตอนล่าง หากรัฐบาลสามารถเร่งรัดการใช้งบประมาณที่ตั้งไว้ในปี 2564 หรือ 2565 ให้เร็วขึ้นก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนรวดเร็วยิ่งขึ้นอีก
นอกจากนี้ยังเสนอของบประมาณใช้บริการจัดการน้ำเพื่อเกษตรกรรม เพราะเกษตรกรรมเป็นหัวใจในการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งโครงโรงงานต้นแบบการแปรรูปผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ ได้มีการของบประมาณทำเป็นศูนย์ยกระดับพัฒนาฝีมือของประชาชนในการผลิตและแปรรูปผลผลิตในครั้งนี้ด้วย Last edited by Wisarut on 20/07/2020 10:26 am; edited 1 time in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 20/07/2020 10:22 am Post subject:
สั่งศึกษารถไฟ อุบลราชธานี-ปากเซ รองรับเชื่อมเส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 - 14:01 น.
ชื่นมื่น! ที่ประชุมรัฐมนตรีคมนาคม ไทย-ลาว อนุมัติโปรเจ็กต์สะพาน-รถไฟเชื่อมแม่น้ำโขง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 - 13:48 น.
ไทย-ลาวจับมือ ยืนยันเปิดเส้นทางรถไฟ และผุดสะพานมิตรภาพ 5, 6
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 - 13:53
ปรับปรุง: วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 - 14:28
ประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-สปป.ลาว คืบหน้าต่อเนื่อง พร้อมเสนอของบปี 63 เร่งศึกษาความเป็นไปได้เส้นทางรถไฟ อุบลราชธานี-ปากเซ เพื่อให้รองรับการเชื่อมกับโครงข่ายรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคําไซ) คาดว่าจะเสนอขออนุมัติลงนามข้อตกลงให้ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าวันนี้ (20 พฤษภาคม 2562) เวลา 09.00 - 12.30 น. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมระดับรัฐมนตรีคมนาคม ไทย ลาว ณ โรงแรมอมันตรา จังหวัดหนองคาย โดยมี นายบุญจัน สินทะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)และคณะฯ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายสมศักดิ์ ห่มม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้บริหารกรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก กรมเจ้าท่า การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) กองการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงฯ ในพื้นที่ร่วมการประชุมฯ
สำหรับการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีระหว่างไทย-สปป.ลาวในครั้งนี้มีประเด็นการหารือและติดตามความคืบหน้าหลายเรื่องเกี่ยวกับ
1. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขง ได้แก่
1.1 โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคําไซ) คาดว่าจะเสนอเรื่องขออนุมัติโครงการและขออนุมัติลงนามข้อตกลงให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า
1.2 โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) ได้สำรวจออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ในขั้นตอนเตรียมจะเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป
1.3 การซ่อมแซมบูรณะความเสียหายสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) และแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) อยู่ระหว่างรอจัดสรรเงินจากสำนักงบประมาณ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการซ่อมแซมได้ภายในเดือน มิถุนายนนี้ และให้คณะทำงานทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันเกี่ยวกับการตั้งด่านชั่งน้ำหนัก การเก็บค่าธรรมเนียมรถไฟในอนาคต เพื่อความเท่าเทียมกันในระบบขนส่งฯ
2. การเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางรถไฟ ได้แก่
2.1 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่าง ไทย-จีน และระหว่าง ลาว-จีน และโครงการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่เป็นการเชื่อมต่อโดยสะพาน ได้ลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือ โดยจีนจะออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงให้สอดคล้องกับรูปแบบของสะพานมิตรภาพ และให้ไทยพิจารณาความเหมาะสมของแบบก่อนดำเนินการก่อสร้าง
2.2 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 2 (ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์)ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ร่วมกับกรมรถไฟ สปป.ลาวพิจารณาการจัดเดินขบวนรถไฟสินค้าระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว จัดเตรียมแผนการเดินรถไฟไปยังสถานีเวียงจันทน์ แผนธุรกิจล่วงหน้า และข้อตกลงร่วมกันก่อนที่งานก่อสร้างจะแล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการใช้ประโยชน์ย่านกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่านาแล้ง และการเดินรถไฟขนส่งสินค้าระหว่างไทย-ลาว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้ประกอบการ
2.3 โครงการรถไฟระหว่างอุบลราชธานี-ปากเซ พื้นที่เชื่อมต่อบริเวณช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางเฉพาะในประเทศไทย 80 กิโลเมตร รฟท. ได้เสนอของบประมาณปี 2563 เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป
3. การอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ 3.1 เร่งรัดการกำหนดพื้นที่ควบคุมร่วมกัน ณ มุกดาหาร-สะหวันนะเขตให้เป็นรูปธรรมตามข้อตกลง GMS 3.2 ส่งเสริมการเดินรถโดยสารประจำทางไทย-ลาว-เวียดนาม โดยให้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อผลักดันและร่วมกันวางแผนการเดินรถในกรอบอาเซียนต่อไป 3.3 การปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว กำหนดให้จัดการประชุมร่วมกันภายในเดือนกรกฎาคม 2562 นี้
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่
4.1 เร่งรัดโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 11 (ช่วงสะพานน้ำสัง-บ้านโนนสะหวัน-บ้านโคกเขาดอ และช่วงบ้านโนนสะหวัน-สานะคาม
4.2 โครงการพัฒนาถนนหมายเลข 12 (ช่วงเมืองท่าแขก-แขวงคำม่วน-จุดผ่านแดนนาเพ้า) ผลักดันการรวมเส้นทางหมายเลข 12 ให้เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ และรวมใน GMS CBTA ซึ่งจะทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ในการดำเนินการมากขึ้น
4.3 เร่งรัดโครงการก่อสร้างสะพานจากเมืองหลวงพระบาง-เมืองจอมเพชร
4.4 ปรับแผนโครงการปรับปรุงเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง เส้นทางบ่อแก้ว-ปากทา-ก้อนตื้น
5.การขนส่งทางน้ำโดยกรมเจ้าท่าให้ความช่วยเหลือการร่างหลักสูตรลูกเรือ นายท้ายเรือ และความปลอดภัยในการเดินเรือ พร้อมทั้งการฝึกอบรมให้แก่ผู้ฝึกสอนสปป.ลาว
6. การขนส่งทางอากาศ ได้แก่ การจัดทำความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในการค้นหาอากาศยานประสบภัย ขณะนี้ร่างความตกลงฯ แล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถลงนามความตกลงฯ ได้ภายในกรกฎาคม 2562
7. การพัฒนาบุคลากร โดย สปป.ลาว จะส่งหลักสูตรพร้อมลำดับความสำคัญของหลักสูตรให้แก่ฝ่ายไทยเพื่อพิจารณาจัดทำแผนรวมให้ความช่วยเหลือต่อไป Last edited by Wisarut on 20/07/2020 10:40 am; edited 1 time in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/01/2023 8:51 pm Post subject:
ศักดิ์สยาม เยือนอุบล ตรวจการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งอีสาน
ผู้จัดการออนไลน์ 27 ม.ค. 2566 18:40
รมว.คมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประทศไทย จำกัด ร่วมลงพื้นที่โดยมี นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ ในวันที่ 27 มกราคม 2566 ณ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ad
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งรัดผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงมีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว โดยได้เร่งรัดเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีให้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
มิติการพัฒนาทางถนน
1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง
1.1 โครงการขยายช่องจราจร แยกบ้านจาน-อำเภอเดชอุดม ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.2 โครงการขยายช่องจราจร อำเภอตระการพืชผล-อำเภอเขมราฐ และ ตอนบ้านแสนสบาย-อำเภอเขมราฐ ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.3 โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจร แยกทางหลวงหมายเลข 2085-อุบลราชธานี ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.4 โครงการปรับปรุงทางหลวง อำเภอพิบูลมังสาหาร-ด่านช่องเม็ก ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.5 โครงการทางแยกต่างระดับ จุดตัด ทล.231 กับ ทล.23 (แยกดงอู่ผึ้ง) (พร้อมทางคู่ขนาน) ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.6 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ บ้านสวน-เขื่องใน, บ้านหนองผือ-อำภอเขมราฐ, ห้วยยาง-สองคอน, หนองผือ-นาไฮ, บ้านโคก-ธาตุกลาง, ม่วงสามสิบ-พนา,
ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี (กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง) และถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี (กิจกรรมพัฒนาสะพานและระบบระบายน้ำ)
2. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท
2.1 โครงการสะพานข้ามลำห้วยร่องขุม อำเภอตระการพืชผล อยู่ระหว่างดำเนินการ
ผลการก่อสร้าง 91.81% คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2566
2.2 โครงการถนนสาย อบ.3007 แยก ทล.212-บ้านเหล่าเสือโก้ก อำเภอม่วงสามสิบ
อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 80.10% คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
2.3 โครงการถนนเชิงลาดสะพานข้ามลำมูลน้อย อำเภอเมือง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 57.04% อยู่ระหว่างขออนุมัติขยายระยะเวลาการก่อสร้าง
2.4 โครงการสะพานแม่น้ำลำเซบก อำเภอดอนมดแดง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 50.84% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567
2.5 โครงการสะพานข้ามลำห้วยหลวง อำเภอนาจะหลวย อยู่ระหว่างการบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
3. แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP
เป็นโครงข่ายคมนาคมที่ประกอบไปด้วยถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟร่วมกัน เน้นการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชนเป็นหลัก โดยมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคอื่นของประเทศไทย ให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ส่งเสริมการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
.
โดยแผนการดำเนินการใน ปี 2564 แผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบแล้ว ปี 2565 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบในรายโครงการต่อไป โดยมีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ MR5: กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพไทย-ล่าว แห่งที่ 6)
4. การเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะ
การเชื่อมโยงระบบคมนาคมจากสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีและระหว่างจังหวัด ได้แก่ การเชื่อมโยงระบบการขนส่งสาธารณะในจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีขนส่งรองรับ 2 สถานี คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเดชอุดม และสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร (ช่องเม็ก) การเชื่อมโยงระบบการขนส่งสาธารณะรถโดยสารต่างประเทศ มี 2 เส้นทาง คือ สายที่ 3 อุบลราชธานี-ปากเซ และสายที่ 10 กรุงเทพมหานคร-อุบลราชธานี-ปากเซ ทั้งนี้ ยังได้มุ่งเน้นนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ผู้ตรวจการตั้งจุดตรวจสอบรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และตรวจสอบรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พร้อมตรวจวัดค่าควันดำ ดำเนินการโครงการตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกด้วยกล้องเลเซอร์ เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงดำเนินการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามโครงการตรวจเข้มข้นรถโดยสารสาธารณะ Checking Point ทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพื่อการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างปลอดภัย
.
มิติทางราง มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใหญ่พิเศษ จำนวน 4 สถานี สถานีขนาดใหญ่ จำนวน 3 สถานี สถานีขนาดกลาง จำนวน 8 สถานี และสถานีขนาดเล็กจำนวน 20 สถานี อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ และโครงการรถไฟทางสายใหม่ ช่วงอุบลราชธานี-ช่องเม็ก มีแผนของบประมาณปี 2567 เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น
มิติทางน้ำ มีการพัฒนาทางน้ำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ โครงการขุดลอกแม่น้ำชี กม. 55+00 ถึง กม. 60+00 อำเภอเชื่องใน และโครงการขุดลอกแม่น้ำชี กม. 195+00 ถึง กม. 200+00 อำเภอพนมไพร เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง การสร้างท่าเทียบเรือในแม่น้ำโขงบริเวณเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาว รวมทั้งมีการบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย
.
มิติทางอากาศ ปัจจุบันท่าอากาศยานอุบลราชธานีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,050 คน/ชั่วโมง ซึ่งการฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้นในปี 2566 โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเที่ยวบินใบปี 2566 ทั้งปี กว่า 5,254 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 1.5 ล้านคน เพื่อขยายขีดความสามารถของอาคารและผู้โดยสาร กระทรวงมีแผนโครงการและแผนพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี ได้แก่ โครงการงานก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ ที่สามารถรองรับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 2 ช่องจอด รถเช่าขับเอง จำนวน 30 ช่องจอด รถเช่าพร้อมคนขับจำนวน 5 ช่องจอด รถแท็กซี่จำนวน 28 ช่องจอด
และลานจอดรถยนต์ จำนวน 164 คัน โครงการปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้าลงใต้ดิน โครงการงานซ่อมบำรุงเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ และโครงการงานก่อสร้างทางขับและขยายลานจอดรถเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน หากแล้วเสร็จจะสามารถรองรับลานจอดเครื่องบินจากเดิมจอดได้ 5 ลำ เพิ่มเป็นจอดได้ 10 ลำ ทางขับจากเดิม 2 เส้นทางขับ เพิ่มเป็น 3 เส้นทางขับ และลานจอดรถยนต์รองรับได้เพิ่ม 230 คัน
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้การเชื่อมต่อด้านคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อแปลงโยบายไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินงานต้องคำนึงถึงปัจจัยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และต้องสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนก่อนเริ่มการดำเนินโครงการ และควรคำนึงถึงเรื่อง Climate Change เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอีก 25 ปีข้างหน้า ตามนโยบายของรัฐบาลควบคุมดูแลการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ และมีมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด สำหรับการสำรวจและออกแบบก่อสร้างโครงการต่างๆ จะต้องพิจารณาด้านอุทกศาสตร์และไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างยั่งยืน และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมทั้งให้กรมเจ้าท่าดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการขุดลอก
Back to top