Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 07/06/2022 10:20 am Post subject:
แผนรถไฟรางคู่แสนล้านเชื่อมตะวันออก-ตก
หน้าTHAN DIGITAL
THAN TALK TV
วันจันทร์ ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:18 น.
รถไฟทางคู่สายใหม่ ที่จะทำให้เส้นทางรถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) มีโครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การขนส่งสินค้าและการสัญจรของไทย เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
แผนรถไฟรางคู่แสนล้านเชื่อมตะวันออก-ตก | THANTALK | 06/06/65
ติดตามรายการฐานทอล์ก ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.10 เป็นต้นไป ทางเนชั่นทีวี 22
https://www.youtube.com/watch?v=9TSFge9lBqg
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 03/07/2022 7:54 pm Post subject:
ครม. ไฟเขียว! แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ EEC ปี 66 - 70 ยกระดับโครงข่ายคมนาคม 77 โครงการ กรอบวงเงิน 337,797 ลบ.
.
ที่ประชุม ครม. (28 มิ.ย. 65) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานฯ พ.ศ. 2566 2570 ทั้งโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค มาตรการส่งเสริมและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับโครงข่ายคมนาคม จำนวน 77 โครงการ กรอบวงเงินรวม 337,797.07 ล้านบาท
.
แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน 29 โครงการ วงเงินรวม 125,599.98 ล้านบาท และระยะกลาง 48 โครงการ วงเงินรวม 212,197.09 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเกิดการจ้างงานหลายหมื่นตำแหน่งต่อปี และเป็นการพัฒนาพื้นที่การลงทุน - ท่องเที่ยวของพื้นที่ EEC รวมถึงด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ และ ทางรถไฟความเร็วสูงไประยองด้วย
ที่ต้องทำเร่งด่วน ในปี 2566 คือระบบ feeder ให้รถไฟความไวสูง (ชุลบุรี - บ้านบึง - EECi และ ระยอง - บ้านค่าย - EECi)
ในระยะปานกลาง เริ่มทำรถไฟทางคู่ ศรีราชา - บ่อวิน - บ้านฉาง - ระยอง และ ศรีราชา - เขาชีจรรย์ - บ้านฉาง - ระยอง โดยทำทางคูเข้าท่าเรือจุกเสม็ดด้วย รวมทั้วการพัฒนาท่าเรือสัตหีบเพื่อแบ่งเบาภาระท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะมีการทำ Dry Port (ICD) ที่ฉะเชิงเทราด้วย จะทำให้ได้ทางคู่เพิ่มอีก 275 กิโลเมตร
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/404770225019048
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 30/07/2022 9:03 pm Post subject:
รีวิวท่าเรือบกโคราช หนองไข่นํ้า เบียดแซงกุดจิก
ฉัตรสุรางค์ กองภา/รายงาน
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:49 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 10
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,804
วันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ลั่นโคราชได้แน่ ท่าเรือบก 8 พัน ล้าน แต่ กุดจิก ส่อวืดหลังจังหวัดเสนอ หนองไข่นํ้า-สีคิ้ว ขึ้นเทียบ การท่าเรือฯจัดทีมสำรวจพื้นที่อีกครั้ง เก็บเตรียมตั้งที่ปรึกษาทีมใหม่ศึกษาซํ้าก่อนเคาะที่ตั้งแน่นอน แย้ม หนองไข่นํ้า น่าสนใจสุด
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า โครงการจัดตั้งท่าเรือบก (Dry Port) จังหวัดนครราชสีมา ว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) นำคณะผู้บริหาร กทท. เปิดประชุมร่วมกับนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาท่าเรือบกจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ที่ห้องประชุมระเวียง 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ในการประชุม หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนภาคเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมนำเสนอพื้นที่ในการจัดตั้งท่าเรือบกเป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอจัดตั้งท่าเรือบกที่จังหวัดนครราชสีมา ต่อคณะกรรมการ กทท.ต่อไป
จากนั้นคณะผู้บริหาร จาก กทท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ที่เสนอในการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ทั้ง 3 จุด คือ ที่ตำบลหนองไข่นํ้า อำเภอเมืองนครราชสีมา ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน และ ตำบลสีคิ้ว อ.สีคิ้ว (บ้านทับม้า) จ.นครราชสีมา
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อต้นปี 2561 ก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 อนุมัติให้มีท่าเรือบกที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกำหนดไว้ที่ตำบลกุดจิก อ. สูงเนิน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 จังหวัด เป้าหมายศึกษาการจัดตั้งท่าเรือบก คือ บริเวณพื้นที่ตอนในของประเทศ ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์โลจิสติกส์ ทำหน้าที่เสมือนท่าเรือ (ยกเว้นการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงเรือ) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบตู้สินค้า และมีการเชื่อมโยงระบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป โดยมีการขนส่งทางรางเป็นหลัก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟ ทางคู่ ที่รัฐบาลกำลังเร่งจัดสร้างทั่วประเทศ ไปลงท่าเรือต่อไป
นายสมชาย เหมทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กทท. สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้มีท่าเรือบก ในโคราช ซึ่งเดิมทีศึกษาไว้ที่กุดจิก แต่ปัจจุบันด้วยสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป วันนี้จึงลงพื้นที่มาดูข้อมูลอีกครั้ง จากนี้จะต้องปรึกษากันว่าที่ใดเหมาะสมที่สุด ถ้ามีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ ต้องเสนอเรื่องให้ ครม.เห็นชอบใหม่
ท่าเรือบกโคราชเราทำแน่ ให้ความเชื่อมั่นได้เลยว่าที่โคราชต้องมี ส่วนจังหวัดอื่นก็ไม่ได้ทิ้ง ซึ่งในแต่ละพื้นที่สินค้าจะต่างกัน ความสำคัญก็ต่างกันไป แต่ใครจะเป็นศูนย์กลางนั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับที่จะหาผู้ มาร่วมลงทุนกับการท่าเรือใน รูปแบบ PPP
นายสมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณ เดิมที สนข.พิจารณาไว้ที่ประมาณ 7-8 พันล้านบาท แต่ถ้าศึกษาใหม่อาจจะเพิ่มขึ้น เพราะศึกษาไว้ 3-4 ปี แล้ว ใช้ประมาณการจากค่าเงินขณะนั้น แต่สุดท้ายอาจลดลงก็ได้ เพราะสนข.ศึกษาจากตัวแบบพื้นที่ 2,000 ไร่ แต่ที่จริงใช้แค่ 1,000 ไร่ก็เพียงพอ ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้มีครบทุกอย่าง
ด้วยข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป โคราชเสนอว่ามีอีก 2 แห่ง คือ ตำบลหนองไข่นํ้า และทับม้าที่มีศักยภาพเช่นกัน จากการลงพื้นที่ทุกที่น่าสนใจ แต่ในเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าที่หนองไข่นํ้าน่าจะเป็นศูนย์กลางในอนาคตได้ แต่ทั้งนี้ต้องให้บุคคลที่ 3 มาศึกษาข้อมูลการทำ PPP ใช้เวลา 6 เดือน ทั้งรูปแบบการลงทุน งบประมานเท่าไร รูปแบบเชิงธุรกิจ ปริมานของสินค้า เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกไว้ตัดสินใจกันอีกครั้ง โดยร่วมกับ กทท. และท้องถิ่น
นายสมชาย กล่าวด้วยว่า ตามคาดการณ์สนข.ท่าเรือบกโคราชจะก่อสร้างเสร็จในปี 2568 แต่ตอนนี้ล่าช้าไปแล้ว ต้องเลื่อนเป็น 2569 หรือ 2570 แต่ถ้าชัดเจนเรื่องพื้นที่ได้เร็ว และหน่วยงานช่วยกันผลักดัน ก็อาจเสร็จทันปี 2569 เพราะมีกระบวนการที่เตรียมพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว
สำหรับโครงการจัดตั้งท่าเรือบก โคราช หรือ Dry Port Korat คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกระจายความเจริญสู่ภาค ได้กำหนดพื้นที่และกิจการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ โดยจังหวัดนครราชสีมาได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 จังหวัด ที่มีศักยภาพ เพื่อการพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ที่เชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพด้วยเทคโน โลยีสมัยใหม่ เช่น สินค้าและบริการด้านอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงโปรตีนจากแมลง
ทางจังหวัดนครราชสีมา จึงได้เลือกพื้นที่ 3 จุด คือ
1. บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ต.หนองไข่นํ้า อ.เมืองนครราชสีมา (มีสถานีอยู่แล้ว เป็นทางคู่ ใช้โหลดคอนเทนเนอร์เกลือ จากพิมาย)
2. บริเวณติดถนนสาย 290 สายวงแหวนเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ต.กุดจิก อ.สูงเนิน ห่างจากสถานีรถไฟกุดจิก ประมาณ 6 กิโลเมตร
3. บริเวณสถานีหนองน้ำขุ่น บ้านทับม้า ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยให้ทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย พิจารณาพื้นที่ดังกล่าวทั้ง 3 จุด
ขณะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน ได้เปิดสถาบันเครือข่ายโลจิสติกส์และการขนส่ง (Institute of Collaborative Logistics and Transportation) ขึ้น เมื่อ 28 ก.พ. 2565 โดย มทร.อีสาน ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานดำเนินงานเครือข่ายด้าน Dry Port ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา เพื่อขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานรัฐ-เอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการ และสร้างความเข้าใจภาค ประชาชน
Wisarut wrote: กทท.ลุยพัฒนาท่าเรือบกใน ฉะเชิงเทรา,ขอนแก่น และนครราชสีมา ยกเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:14 น.
เดินหน้า ท่าเรือบก 4 จังหวัด ฮับขนส่งของประเทศ และภูมิภาค ที่ฉะเชิงเทรา (70 กม.) กุดจิก (320 กม.) น้ำพอง ขอนแก่น (550 กม.) และ เขาทอง (370 กม.) PPP 30 ปี กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
22 ก.ค. 2564 นายกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยว่า กทท.เตรียมดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค พร้อมส่งเสริมบทบาทให้พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ให้เป็นประตูการค้าของกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
สำหรับการพัฒนาท่าเรือบก กทท. เตรียมดำเนินการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ Inland Container Depot (ICD) ฉะเชิงเทรา เป็นโครงการนำร่อง โดย กทท. ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาท่าเรือบก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบกของกระทรวงคมนาคม ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร กทท. ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 มีความเห็นให้เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาท่าเรือบก
ทั้งนี้ ได้แก่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมจัดทำแผนการพัฒนาท่าเรือบก ก่อนนำเสนอคณะกรรมการฝ่ายบริหาร กทท. พิจารณา ทั้งนี้แผนพัฒนาท่าเรือบก จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการ กทท. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
สำหรับโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สนข. ได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจการเงิน และสิ่งแวดล้อม จัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) รวมทั้งรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ ICD ฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการรวบรวมและกระจายสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านจังหวัดสระแก้ว และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าเข้าสู่พื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และท่าเรือ 3 ท่า ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด เพื่อยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่ ครบวงจร
https://www.youtube.com/watch?v=ecK1pTGIRFU
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Posted: 15/09/2022 10:49 am Post subject:
อัพเดท ไทม์ไลน์ รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน 14 เส้นทาง สีชมพู-เหลือง เปิดปีนี้
ข่าวการเมือง
วันพฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 08:36 น.
อัพเดท ไทม์ไลน์ ความคืบหน้ารถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน 14 เส้นทาง 554 กิโลเมตร สายสีเหลือง-สีชมพู เปิดให้บริการปีนี้-เต็มระบบปี 66
วันที่ 15 กันยายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำรัฐบาลมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศไปสู่ความยั่งยืน สร้างระบบขนส่งคมนาคมเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในภูมิภาคต่าง ๆ
นายอนุชากล่าวว่า สำหรับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อผลักดันให้ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบขนส่งสาธารณะ และแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้ครบ 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กิโลเมตร (กม.) ให้เสร็จโดยเร็ว
นายอนุชากล่าวว่า มี 2 สายที่จะเริ่มเปิดใช้ในปีนี้ คือโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้งสองเส้นทางในปลายปี 2566 รวมถึงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของไทยและอาเซียน ถือเป็นต้นแบบสถานีอัจฉริยะ ด้วยระบบ 5G แห่งแรกของไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายอนุชากล่าวว่า นอกจากนี้ การขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูง Hi-Speed Train สายตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางรวมกว่า 600 กม. โดยระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. คาดจะเปิดให้บริการปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 356 กม. คาดว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม. อนุมัติโครงการในช่วงปลายปี 2565 และจะเปิดให้บริการในปี 2571
นายอนุชากล่าวว่า ส่วนเส้นทางสายตะวันออก รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เชื่อมกรุงเทพฯ-EEC 220 กม. ความเร็วสูงสุด 250 กม. ต่อชั่วโมง ปัจจุบันสามารถส่งมอบพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างได้แล้ว 100%
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาในปี 2565 นี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569
นายอนุชากล่าวว่า ทั้งนี้รถไฟทางคู่จำนวน 4 โครงการ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว ได้แก่ 1) ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 2) ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 3) ช่วงนครปฐม-หัวหิน และ 4) ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
นายอนุชากล่าวว่า สำหรับการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ รัฐบาลได้เพิ่มศักยภาพการขนส่งทางทะเล ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่งเสริมบทบาท EEC เชื่อมทั่วโลก คาดเปิดให้บริการปี 2568 ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ศูนย์กลางขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG Hub ในกลุ่มประเทศ CLMV คาดเปิดให้บริการปี 2569 ส่วนทางอากาศ ได้พัฒนาท่าอากาศยานทั่วประเทศ เพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสาร เพิ่มเป็น 139 ล้านคน โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 คาดจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคม 2565 นี้
นายอนุชากล่าวว่า รวมทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวใน EEC อีกทั้งการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ส่งเสริมบทบาทไทยให้เป็น ศูนย์การบิน Aviation Hub ในภูมิภาคอีกด้วย
ความคืบหน้าการดำเนินการและความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ทั้งทางถนน ระบบราง น้ำ และอากาศ ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะสามารถเชื่อมต่อเมือง รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางแล้ว ยังจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และกระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญ ส่งผลดีต่อการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการบริการของภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องในอนาคตนายอนุชากล่าว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/03/2023 7:18 am Post subject:
ฉายภาพผลงานรัฐบาล 'บิ๊กตู่' โครงข่ายระบบรางสะดุดอื้อ
กรุงเทพธุรกิจ 19 มี.ค. 2566 เวลา 7:08 น.
เปิดผลงานภายใต้รัฐบาล ประยุทธ์ พบโครงข่ายระบบรางสะดุดอื้อ รถไฟทางคู่เฟส 2 รวมระยะทางกว่า 1,479 กิโลเมตรไม่ขยับ ขณะที่ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินสุดอืด ส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงพลาดเป้าเข้า ครม.
Key Points
รถไฟทางคู่เฟส 2 ไม่ได้รับการอนุมัติตลอดรัฐบาล
ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินสุดอืดช้ากว่า 2 ปี
ส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงพลาดเป้าเข้า ครม.
โค้งสุดท้ายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งกลับพบว่าในช่วงที่ผ่านมานั้น โครงการลงทุนด้านระบบขนส่งทางรางพลาดเป้าเกือบทุกโครงการ โดยเฉพาะการลงทุนตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนลดต้นทุนด้านการขนส่ง อย่างโครงข่ายรถไฟทางคู่ แต่กับพบว่าปัจจุบันโครงการลงทุนรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 กลับไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา
โดยหากย้อนกลับไปในช่วงที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เคยออกมาระบุถึงนโยบายผลักดันระบบขนส่งทางราง ซึ่งรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการลงทุนที่ต้องการผลักดันเร่งด่วน โดยเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ในการเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.คือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 29,748 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางรถไฟสายนี้หากพัฒนาแล้ว จะสนับสนุนการขนส่งสินค้าเชื่อมต่อระหว่างประเทศและสิ้นสุดปลายทางที่ท่าเรือแหลมฉบังได้
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโครงการลงทุนรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ยังคงค้างรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณาสานต่อ ประกอบไปด้วย 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,479 กิโลเมตร วงเงิน 275,301 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 29,748 ล้านบาท
2.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 37,527 ล้านบาท
3.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กิโลเมตร วงเงิน 62,859 ล้านบาท
4.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร วงเงิน 24,294 ล้านบาท
5.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กิโลเมตร วงเงิน 57,375 ล้านบาท
6.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร วงเงิน 6,661 ล้านบาท
7.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กิโลเมตร วงเงิน 56,837 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบขนส่งทางรางประเภทรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่ยังค้างท่ออยู่ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 276,516 ล้านบาท สืบเนื่องจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท เอเชียเอราวัน จำกัด ไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 และออกมายอมรับว่าภาพรวมโครงการนี้ล่าช้าจากแผนมากว่า 2 ปี ปัจจุบันยังอยู่ขั้นตอนพิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ให้เอกชนจากผลกระทบจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ลดลง ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมความพร้อม 100% ในการส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา พื้นที่มักกะสันและศรีราชาให้แก่เอกชนแล้ว คาดว่าหาก ครม.อนุมัติให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ร.ฟ.ท.จะสามารถเร่งรัดในช่วงของงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 พร้อมเริ่มมีการอบรมพนักงาน เริ่มทดสอบระบบ
รวมไปถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ความคืบหน้าล่าสุดการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร โดยรวม 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันภาพรวมก่อสร้างงานโยธาอยู่ที่ราว 17% นับเป็นโครงการที่ดำเนินการมาแล้วกว่า 5 ปี
เช่นเดียวกับโครงการลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงินรวม 7.4 หมื่นล้านบาท แม้จะมีความพร้อมในด้านผลศึกษา แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถเสนอขออนุมัติได้ทันภายในรัฐบาลนี้ ได้แก่
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,616 ล้านบาท
ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468 ล้านบาท
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท
ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) 25.9 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 47,000 ล้านบาท
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group