Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 02/12/2023 7:47 am Post subject:
ชง ครม.สัญจรอีสานเหนือ ตั้งเขต ศก.บึงกาฬ-หนองบัวลำภู
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 02, 2023 04:58
การประชุมคณะรัฐมนตรี สัญจร นัดแรกของรัฐบาลเศรษฐา วันที่ 3-4 ธันวาคม 2566 ที่จังหวัดหนองบัวลำภู หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย หรือเรียกกันว่า "กลุ่มสบายดี" ได้ร่วมกันเตรียมนำเสนอโครงการต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.โครงการที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 5 จังหวัดร่วมกันเสนอ ซึ่งจะได้รับการจัดสรร งบประมาณทันทีจังหวัดละ 100 ล้านบาท และโครงการที่แต่ละจังหวัดต้องการเสนอให้ผ่าน ครม.ไว้ก่อน ส่วนจะได้งบประมาณเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่ค่อยตาม ผลักดันกันต่อไป
สบายดีพัฒนาชีวิต-ชูเขต ศก.
นายณัฐพล เหลือวงศ์ไพศาล ประธานกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 หอการค้าไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุม ครม.สัญจร วันที่ 3-4 ธันวาคม 2566 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในกลุ่มสบายดี 5 จังหวัด ได้ร่วมกันเตรียมนำเสนอโครงการ แบ่งออกเป็น 5 กรอบใหญ่
ประกอบด้วย 1.โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสาธารณสุข เช่น จัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวช จ.อุดรธานี และบึงกาฬ 2.โครงการด้านการเกษตร 3.โครงการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด สบายดี 4.โครงการศึกษาความเหมาะสม การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.บึงกาฬและหนองบัวลำภู 5.โครงการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคม เพื่อรองรับและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนในกลุ่มสบายดี เช่น ศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนากลุ่มสบายดี สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
"อีสานตอนบนถือว่าเป็นพื้นที่ห่างไกล ความเจริญและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้านเกษตรต้องทำแหล่งกักเก็บน้ำ ตอนนี้ฝนตกน้ำท่วม หน้าแล้งขาดน้ำ ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ ต้องทำเกษตรมูลค่าสูง หากชาวบ้านมีรายได้ดี สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ด้านการท่องเที่ยว ต้องทำเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลมีงบประมาณมาสนับสนุนเรื่อง soft power ของจังหวัดภาคอีสานตอนบน 1 ให้มากขึ้น"
บึงกาฬชูสร้างอาชีพ-รายได้
นายบุญเพ็ง ลามคำ ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดบึงกาฬได้เตรียมข้อเสนอให้รัฐบาลสนับสนุน ประกอบด้วย 1.แก้ไขปัญหาความยากจน เช่น ศึกษาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำพระ, พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทิวโขงงามภูทอกน้อย (sky walk) บ้านภูสวาท
2.การป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติด เช่น จัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชและศูนย์ฟ้นฟู บำบัดผู้ติดยาเสพติด 3.การแก้ไขปัญหาภาคเกษตร เช่น ศึกษา และออกแบบก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยผาคาง งบประมาณ 20 ล้านบาท,
4.โครงการด้านอื่น ๆ อาทิ วางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำไปยังจุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 งบประมาณ 50 ล้านบาท, โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยบึงกาฬ, โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบึงกาฬ
หนองคายดันการค้า-ท่องเที่ยว
นางสาวดวงใจ สุขเกษม รองประธานหอการค้าจังหวัดหนองคาย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุม ครม.สัญจร 3 องค์กรภาคเอกชนในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย และหอการค้าจังหวัดหนองคาย ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมนำเสนอแผนงานและปัญหาต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.จัดสร้างศูนย์ Business Center เพื่อรองรับการลงทุนทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ 2.การเชื่อมต่อระบบขนส่ง ในจุดที่ขาดไประหว่างรอสร้างสะพานเชื่อมระบบรถไฟ 3.เร่งรัดพัฒนาสถานีนาทาเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า 4.เร่งรัดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในจังหวัด
5.เร่งรัดสร้างสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ให้แล้วเสร็จ 6.เสนอจัดตั้งสถานกงสุลจีนที่ จ.หนองคาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวจีน 7.ส่งเสริมพัฒนา จ.หนองคาย ให้รองรับการพัฒนาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม 8.เร่งรัดเจรจาให้มีการใช้ระบบ National Single Window เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลทั้งในและระหว่างประเทศ 9.เร่งรัดทำผังเมืองรวมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10.เร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
11.ขอถอด จ.หนองคายออกจาก พระราชกฤษฎีกากำหนดท้องที่งดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ พ.ศ. 2561 เพื่อให้สามารถขอใบอนุญาตตั้งสถานบริการได้ 12.ขอจัดตั้งเขตเพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ จุดขายในเขตท้องที่เทศบาลเมืองหนองคาย 13.ยกระดับมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยหนองคาย 14.เร่งรัดสร้างรถไฟทางคู่ให้เสร็จตามกำหนด 15.พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม
หนองบัวลำภูของบฯ 100 ล้าน
นายวิสูตร คำอินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางภาครัฐและภาคเอกชน จ.หนองบัวลำภูร่วมกันจัดทำแผนเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.ด้านปัญหาความยากจน เช่น ขับเคลื่อนแพรพรรณลุ่มภูสู่การเป็นเมืองแฟชั่นผ้าทอพื้นเมือง งบประมาณ 20 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างเครื่องเล่นโหนสลิง (Zipline) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
2.ด้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น ฝึกอบรมจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ชรบ. งบประมาณเกือบ 20 ล้านบาท 3.ด้านการเกษตร เช่น ทำฝายบ้านนาไร่ ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา งบประมาณ 30 ล้านบาท, เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักปลอดภัย งบประมาณ 18 บาท
4.ด้านเศรษฐกิจ เช่น พัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยโมงตอนบน เช่น การบริหารจัดการน้ำโขงเลยชีมูล นอกจากนี้ มีการพัฒนาส่งเสริมการลงทุน เช่น เร่งรัดการแก้ปัญหาผังเมือง, ก่อสร้างสะพานเพื่อการท่องเที่ยวหาดโนนยาว 5.ด้านสังคม และด้านสาธารณสุข จัดตั้งศูนย์สุขภาพดี วิถีลุ่มภู
อุดรธานีชง 11 ถนนสายรอง
นายธนพล กองทรัพย์ไพศาล ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดอุดรธานี ได้ระดมความคิดเห็นนำเสนอแผนต่อที่ประชุม ครม.สัญจร ประกอบด้วย 1.แก้ไขปัญหาความยากจน เช่น พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง, พัฒนาและยกระดับเกษตรกรในการผลิตและแปรรูปผลผลิต
2.ป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด เช่น พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่, จัดตั้ง มินิธัญญารักษ์ในโรงพยาบาลชุมชน 3.แก้ปัญหาภาคเกษตร เช่น กำจัดวัชพืชอ่างเก็บน้ำ, ขุดลอก 6 แห่ง
และ 4.ด้านอื่น ๆ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำฝายลำปาวบ้านท่าลี่, ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐา นหนองหานทะเลบัวแดง อ.กุมภวาปี, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางหลวงหมายเลข 2239 บ้านต้อง-ศรีธาตุ ช่วง กม. 0+000-53+273 งบประมาณ 800 ล้านบาท, สร้างถนนสายรอง 11 สายทาง งบประมาณ 124.88 ล้านบาท
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 6 ธ.ค. 2566
รฟท.เร่งปิดดีลไฮสปีด เอกชนผวางบบานปลาย
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 02, 2023 05:33
ผู้ว่า รฟท.ลุยปิดดีลไฮสปีด 3 สนามบิน เร่งเจรจาแก้สัญญาจบปีนี้ เอกชนยืนกรานไม่สร้างโครงสร้างร่วมไทย-จีน กังวลงบบานปลาย 2 หมื่นล้าน ฟากอีอีซีเบรกขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โยนคลังพิจารณา ส่วนตั้งกองทุนฉุกเฉินรอหารือ เผยอีอีซี ส่อเป็นคู่สัญญาเอกชนเพิ่ม หวังช่วยพัฒนาพื้นที่
ความล่าช้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน หรือไฮสปีด (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องเร่งรัดเจรจาเอกชนปมแก้สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะกรณี แบ่งชำระค่างวด โครงการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ขณะปัญหาใหญ่ ที่อาจทำให้ ทั้งโครงการเกิดความล่าช้าและดึงโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา ช้าตามไปด้วย คือ เอกชนไม่รับข้อเสนอก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน หรือโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟไทย-จีนกับ ไฮสปีด 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ
โดยให้เหตุผลว่า มีความกังวล งบลงทุนอาจบานปลาย มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้รฟท.ยืนยันว่าจะเจรจาต่อรองให้ถึงที่สุด
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้า โครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ที่รฟท. เป็นเจ้าของโครงการ และมีบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญาสัมปทาน ปัจจุบันยังไม่ได้มีการนัดหารือทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย รฟท.,บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) และอีอีซี ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนในเรื่องการแก้ไขสัญญา คาดว่าจะเร่งเจราจาให้จบภายในปีนี้
ส่วนกรณีที่เอกชนไม่ยินยอมสร้างโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่ทับซ้อนกับโครงไฮสปีด ไทย-จีน เพราะกังวลงบลงทุนบานปลาย 20,000 ล้านบาทนั้น เบื้องต้นรฟท.ขอให้ทางเอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งทางเอกชนมองว่าหากให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างโดยที่ไม่ได้เงิน อีกทั้งต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้รฟท.ต้องเจรจากับเอกชนต่อให้แล้วเสร็จ
ปัดสร้างโครงสร้างร่วมรถไฟไทย-จีน
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า หากท้ายที่สุดแล้วเอกชนไม่ยอมดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เบื้องต้นรฟท.จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง แต่รฟท.ไม่อยากให้เป็นแบบนั้นเพราะจะทำให้โครงการล่าช้าและเสียเวลาในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างประมาณ 1 ปี ทั้งนี้รฟท.ตั้งเป้าหมายลงนามแก้ไขสัญญาไฮสปีดฯจะสามารถดำเนินการได้ภายในไตรมาสที่ 1-2 ปี 2567
ขณะเดียวกันรฟท.ได้ขอเจราจากับทางการจีนในการลดแบบก่อสร้างมาตรฐานจีนของโครงการ เนื่องจากที่ผ่านมาตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)ในยุคพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี กำหนดให้แบบก่อสร้างมาตรฐานจีนจากเดิมสามารถรองรับความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. เหลือความเร็วความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. แต่ปัจจุบันทางการจีนยังไม่ตอบกลับมา
เร่งปิดดีล แก้สัญญา
ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาไฮสปีดในประเด็นเกี่ยวกับการชำระค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยเป็นการผ่อนชำระ 7งวด พร้อมรับดอกเบี้ยและภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามมติกพอ.นั้น ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนธันวาคม 2566
ส่วนความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่เพื่อแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ขณะนี้เอกชนอยู่ระหว่างรอได้รับบัตรส่งเสริมด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2567
สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่ง่าย
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า กรณีที่เอกชนขอให้ภาครัฐช่วยหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) โครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินนั้น เบื้องต้นทางอีอีซีมองว่าเป็นเรื่องยากเพราะตามปกติแล้วภาครัฐยังไม่เคยขอมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เอกชน ทั้งนี้มีหลายประเด็นที่ยังต้องหารือร่วมกัน เพราะอยู่ในแพ็กเกจเดียวกัน
"แนวโน้มจะหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เอกชนได้หรือไม่นั้นคงต้องให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณา เพราะอีอีซีไม่เคยดำเนินการในเรื่องลักษณะแบบนี้ ซึ่งต้องพิจารณาในแพ็กเกจอีกทีว่าเป็นเป็นอย่างไร"
ส่วนกรณีที่เอกชนขอให้ภาครัฐตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อใช้ในโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินนั้น คงต้องดูรายละเอียดก่อน เบื้องต้นต้องหารือร่วมกันอีกที โดยที่ผ่านมาในสัญญาไม่ได้ระบุข้อความในกรณีที่เกิดเหตุวิสัยหรือเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งเรื่องมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและกองทุนฉุกเฉิน ทำให้ปัจจุบันเกิดการเจรจาระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนแปลงสัญญา
"แนวโน้มการตั้งกองทุนฉุกเฉินจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะเรายังไม่ทราบว่ากองทุนนี้ตั้งขึ้นเพื่ออะไรและเอาไปดำเนินการฉุกเฉินในเรื่องใดบ้าง รวมทั้งจะใช้งบประมาณกองทุนจากที่ไหน ซึ่งต้องหารือร่วมกันก่อน"
กรณีที่เอกชนขอให้เพิ่มอีอีซีเป็นคู่สัญญาในโครงการฯด้วยนั้น มองว่าต้องพิจารณาก่อนว่าเอกชนให้อีอีซีเข้าไปดำเนินการในเรื่องใด หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการรถไฟไฮสปีดฯ ทางอีอีซีไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะอยู่ในความดูแลรับผิดของรฟท. แต่หากเป็นเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อาจมีความเป็นไปได้ที่อีอีซีจะเป็นคู่สัญญาร่วม ซึ่งจะต้องระบุหน้าที่ของอีอีซีด้วย
สำหรับปัญหาที่เอกชนขอให้ภาครัฐพิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ดังนี้ 1.ขอให้รัฐพิจารณาปรับวิธีการชำระเงินร่วมลงทุน 2.ขอให้ภาครัฐช่วยหามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน ) 3.ขอให้ภาครัฐตั้งกองทุนฉุกเฉิน 4.ขอให้เพิ่ม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรืออีอีซี เป็นคู่สัญญา
เปิดสิทธิประโยชน์-แผนลงทุน
ขณะแผนลงทุนและสิทธิประโยชน์ ในพื้นที่อีอีซี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (EEC Visa) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการจัดสิทธิประโยชน์ภายใต้กฎหมายของสำนักงาน EEC ให้กับนักลงทุนเมื่อ24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาลงทุนในพื้นที่อีอีซี สามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาภายใต้ EEC Visa แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประเภท Specialist : EEC Visa "S" 2.ผู้บริหาร ประเภท Executive : EEC Visa "E" 3.ผู้ชำนาญการ ประเภท Professional : EEC Visa "P" และ4.คู่สมรสและผู้ติดตาม ประเภท Other : EEC Visa "O"
สำหรับรับสิทธิประโยชน์ที่สำคัญๆ ได้แก่ ได้รับ EEC Work permit อัตโนมัติ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ อัตราคงที่ 17% อายุ VISA สูงสุด 10 ปี ตามระยะเวลาตามสัญญาจ้าง ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถรายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast track) ณ สนามบินนานาชาติทั่วประเทศ ไทย โดยเริ่มขอรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 - 6 ธ.ค. 2566
https://www.thansettakij.com/business/economy/582300
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/12/2023 7:05 am Post subject:
เร่งเครื่องขนส่งทางรางแบบไร้รอยต่อ ยกระดับสู่ฮับคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน
Source - ไทยโพสต์
Monday, December 04, 2023 04:55
รัฐบาลมุ่งผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบราง ทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ โดยมีไทยเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมโยงหลักของการคมนาคม การขนส่ง การกระจายสินค้า และการท่องเที่ยวที่สอดรับกับพัฒนาการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงได้เร่งขยายโครงข่ายรถไฟทางคู่เพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จาก 627 กิโลเมตร (กม.) เป็น 3,400 กม. เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งและโลจิสติกส์ภายในประเทศ รวมถึงเร่งเดินหน้าพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อกระจายความเจริญของเมืองไปสู่ภูมิภาค เกิดการพัฒนาเมืองและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี
ดังนั้นจึงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ซึ่ง นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ระบุว่าได้เร่งรัดพัฒนาทางรถไฟขนาด 1 เมตรในปัจจุบันให้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง สปป.ลาว, มาเลเซียและกัมพูชา เชื่อมโยงกับจีน ผ่านการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการขนส่งและยกระดับการเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ศักยภาพของโครงข่ายรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงผลักดันให้ระบบการขนส่งทางรางเป็นระบบคมนาคมขนส่งหลักของประเทศและภูมิภาคอาเซียน เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันของภูมิภาคอาเซียนได้
"รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางรถไฟช่วงหนองคาย กรุงเทพฯ ปาดังเบซาร์อย่างมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเดินทางโดยรถไฟและการคมนาคมในภูมิภาค รองรับความต้องการในด้านสินค้า การบริการ การท่องเที่ยว หรือการลงทุนในภูมิภาคที่จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการขับเคลื่อนในรูปแบบคณะกรรมการ หารือร่วมกันระหว่างไทย ลาว จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในการบูรณาการการขนส่งร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์" นายสุรพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้เดินหน้าพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แม้จะมีบางโครงการยังไม่แล้วเสร็จก็ตาม แต่ตามแผนจะมีการทดลองใช้บริการในเร็วๆ นี้ ซึ่ง นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ 1 หรือเฟส 1 และเฟส 2
สำหรับ โครงการรถไฟทางคู่เฟส 1 ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ แล้ว 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการช่วงชุม ทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และ 2.โครงการช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและใกล้แล้วเสร็จ 3 โครงการ ซึ่งอยู่ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร งานโยธาได้ดำเนินการใกล้เสร็จครบทั้งหมด และเริ่มมีการทดลองเปิดใช้ทางคู่ใหม่บางช่วง ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานไปกับงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และตั้งเป้าหมายจะเปิดใช้งานได้เต็มระบบภายในปี 2568
สำหรับ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟส 2 เพิ่มเติมอีก 7 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 ส่วนอีก 6 โครงการอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการบอร์ด รฟท. ได้แก่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงชุมทางถนน จิระ-อุบลราชธานี, ช่วงชุมพรสุราษฎร์ธานี, ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ขณะนี้ได้เตรียมจัดทำข้อมูลเพื่อรอเสนอขออนุมัติโครงการ ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ รวมถึงกำลังทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เช่นกัน
นายนิรุต กล่าวว่า เมื่อการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง และเส้นทางสายใหม่ 2 เส้นทางแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนทางคู่ทั่วประเทศมากถึง 10 เท่า หรือคิดเป็น 65% ของระยะทางรวมทั้งหมด มากกว่าเดิมที่มีทางคู่เพียง 6% อีกทั้งยังช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางได้ 1-1.50 ชั่วโมง รองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่การขนส่งทางรางที่มีต้นทุนต่ำกว่า ตลอดจนเชื่อมโยงการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย
ส่วนโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้ รฟท.มีรถไฟทางคู่ครอบคลุมการเดินทางได้มากกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ มีเส้นทางคู่รวมกันมากกว่า 3,000 กม.ภายในปี 2572 สามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว สามารถทำความเร็วในการขนส่งสินค้าได้จากเดิม 29 กม./ชั่วโมง (ชม.) เป็น 60 กม./ชม. และทำความเร็วในการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มจากเดิม 50 กม./ชม. เป็น 100-120 กม./ชม. โดยไม่ต้องเสียเวลาในการรอหลีกขบวนรถ
"เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งด้านโลจิสติกส์ได้มหาศาล อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางเสมอระดับรถไฟ-รถยนต์ ที่สำคัญรถไฟทางคู่ยังช่วยกระจายโอกาสทางสังคม การเติบโตทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และพลิกโฉมการคมนาคมขนส่งของประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป" นายนิรุฒ กล่าว
นายนิรุต กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. อยู่ระหว่าง รฟท.แก้ไขปัญหาในส่วนของสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ซึ่งมีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนผู้รับจ้าง จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี 2566 เบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะให้ รฟท.ก่อสร้างเอง เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้ามากไปกว่านี้ ซึ่งเอกชนไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด คาดว่าโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีนเฟส 1 จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2571
ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถเริ่มตอกเสาเข็มโครงการได้ เนื่องจากยังติดปัญหาการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ภาพรวมโครงการนี้ล่าช้าจากแผนมากว่า 2 ปี เนื่องจากยังติดปัญหาการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน คาดว่าจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปี จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 เป็นปี 2571 เพราะโครงการไฮสปีดเทรนปกติใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ดังนั้นหากเริ่มก่อสร้างในปี 2567 ก็คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2571
"ระบบโลจิสติกส์ที่ถือว่ามีความสำคัญและเหมาะกับประเทศไทยมากที่สุดคือ ระบบราง หรือการขนส่งด้วยรถไฟ เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นส่วนใหญ่อยู่บนบก มีพื้นที่ติดทะเลส่วนน้อย ขณะเดียวกันระบบรางก็เป็นระบบการขนส่งที่ดีมีประสิทธิภาพ ประหยัดต้นทุนการขนส่ง และปลอดภัย หากทุกเส้นทางดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะเป็นประโยชน์มากในการเชื่อมต่อในประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร้รอยต่อ" นายนิรุต กล่าว.
"เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยลดต้นทุนการ ขนส่งด้านโลจิสติกส์ได้มหาศาล อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางเสมอระดับรถไฟ-รถยนต์ ที่สำคัญรถไฟทางคู่ยังช่วยกระจายโอกาสทางสังคม การเติบโตทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และพลิกโฉมการคมนาคมขนส่งของประเทศ ให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป"
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 ธ.ค. 2566
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/12/2023 7:11 am Post subject:
ญี่ปุ่นส่งผลศึกษาไฮสปีด'ชิงกันเซ็ง'
Source - เดลินิวส์
Monday, December 04, 2023 03:36
เฟสแรกถึงพิษณุโลก380กม. เร็วแรงเต็มแม็กซ์300กม./ชม.
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และการเงินของโครงการรถไฟความ เร็วสูง (ไฮสปีด) ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร (กม.) เสร็จแล้วพบว่า มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 17.3% สูงกว่าเกณฑ์ 12% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นบวกตลอดระยะเวลาดำเนินการ จึงก่อให้เกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐศาสตร์ โดยหลังจากนี้ทางสถานทูตญี่ปุ่นฯ จะเสนอผลการศึกษาฯ ฉบับสมบูรณ์ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า โครงการพัฒนาระบบรถไฟไฮสปีด สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางกระทรวงคมนาคม และ MLIT ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ การพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation : MOC) เมื่อปี 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟไฮสปีดร่วมกัน โดยฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษาความเหมาะสมฯ เบื้องต้นบรรจุโครงการในแผนแม่บทการพัฒนาระบบราง ระยะกลาง (ปี 68-72) แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะพัฒนาเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. และจะพัฒนาต่อเนื่องในเส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. เป็นระยะที่สอง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า JICA ได้ประมาณการมูลค่าก่อสร้างโครงการฯ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เบื้องต้นในปี 64 อยู่ที่ประมาณ 261,754 ล้านบาท หากกระทรวงคมนาคมเห็นชอบผลการศึกษาจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป หาก ครม. เห็นชอบสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งปัจจุบันรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้วตั้งแต่เดือน ก.ค. 60 โดยรายงานฉบับนี้อีไอเอยังไม่หมดอายุ เนื่องจากเป็นรายงานฉบับเดียวกันกับโครงการรถไฟไฮสปีด ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช ซึ่งมีเส้นทางเดียวกัน และปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ อีไอเอผ่านความเห็นชอบจาก กก.วล.แล้วเช่นกันเมื่อเดือน เม.ย. 62 มีอายุประมาณ 5 ปี หากยังไม่เริ่มดำเนินโครงการ จะต้องทบทวนมาตรการป้องกันและ
แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมใน อีไอเอใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ก่อนเสนอ กก.วล.พิจารณาใหม่อีกครั้ง หากเห็นชอบจะก่อสร้างได้
สำหรับโครงการรถไฟ ไฮสปีด ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดบริการอยู่ที่ประมาณ 10,900 คน-เที่ยวต่อวัน จากนั้นปีถัดไปอยู่ที่ 29,700 คน-เที่ยวต่อวัน และปีถัดไป 31,700 คน-เที่ยวต่อวัน อัตราค่าโดยสาร 80+1.8 บาทต่อ กม. หรือจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 764 บาท สำหรับโครงการรถไฟไฮสปีด ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางรวมประมาณ 688 กม. ขนาดทางมาตรฐานกว้าง 1.435 เมตร ใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น (Shinkansen) ความเร็วสูงสุด 300 กม.ต่อชม. มีสถานีจอด 12 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 ธ.ค. 2566
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 05/12/2023 8:28 pm Post subject:
Mongwin wrote: ญี่ปุ่นส่งผลศึกษาไฮสปีด'ชิงกันเซ็ง'
Source - เดลินิวส์
Monday, December 04, 2023 03:36
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 ธ.ค. 2566
ลิงก์มาแล้ว
ญี่ปุ่นส่งผลศึกษารถไฟไฮสปีดชิงกันเซ็งให้คมนาคม
*กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ทำเฟสแรกถึงพิษณุโลก380กม.
*ค่าสร้าง 2.6แสนล้านเร็วแรงเต็มแม็กซ์ 300กม./ชม.
*เปิดราคาโดยสารเริ่ม80+1.8บาทต่อกม.(764บาท)
*ไฮสปีดสายที่3ไทยแพลน68-72อีไอเอไม่หมดอายุ
https://www.dailynews.co.th/news/2967342/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/898056145104954
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 06/12/2023 10:21 am Post subject:
ผู้ว่าฯ รฟท. เผย 'ซีพี' อาจไม่รับทำ ไฮสปีดไทยจีน-3 สนามบิน คาดงบบานปลาย
ประชาไท
วันจันทร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 17:00 น.
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อัปเดต 2 ไฮสปีดเทรน ไทยจีน-3 สนามบิน เผยนัดคุย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) นอกรอบ อาจจะไม่รับงานก่อสร้างโครงสร้างร่วม บางซื่อ-ดอนเมือง อ้างทำไม่ไหว หลังคำนวณตัวเลขก่อสร้างแล้วงบพุ่ง 2 หมื่นล้าน เล็งถกถอนวงเงินไฮสปีด 3 สนามบิน 1.1 หมื่นล้านออก เพื่อเซฟเงิน ส่วนสถานีอยุธยา จ่อปิดดีลใน พ.ย. 66 นี้ ตัดปัญหาค้าน จะสร้างทางวิ่งไปก่อน สถานีมาทีหลัง
13 พ.ย. 2566 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ว่าในส่วนของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ขณะนี้ยังเหลืองานโยธาอีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ซึ่งต้องเร่งแก้ไขให้ได้ข้อสรุปภายในปีนี้ เพื่อให้สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้เร็วที่สุด โดยประเด็นโครงสร้างร่วม สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม.
ซึ่งเป็นช่วงที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้ยังเจรจากับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เอกชนคู่สัญญาอยู่ ซึ่งแนวทางล่าสุด ทางเอกชนส่งสัญญาณว่า อาจต้องให้รฟท.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างส่วนโครงสร้างร่วมทั้งหมด
ซึ่งหากรฟท.รับก่อสร้างโครงสร้างร่วมทั้งรถไฟไทย- จีน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเอง จะมีการเจรจาปรับลดค่าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในเนื้องานที่รฟท.จะเป็นผู้ก่อสร้างให้ ขณะเดียวกันในส่วนของรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 จะมีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น (เดิมมีแนวคิดให้ซี.พี.ก่อสร้างโครงสร้างร่วมโดยคำนวนค่าใช้จ่ายรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ที่เพิ่ม ไปปรับเงื่อนไขทางการเงินของสัญญาสัมปทาน 3 สนามบินแทน )
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รฟท.ได้หารือนอกรอบกับทางซีพีในประเด็นโครงสร้างร่วม เพื่อพยายามเร่งหาข้อยุติร่วมกัน จากนั้นจะได้นำเข้าหารือในคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ รฟท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบจ. เอเชีย เอรา วัน และเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติ ในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ กับทางซี.พี.และเพิ่มกรอบค่าก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 และเบื้องต้นได้รายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหา ต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม รับทราบแล้ว โดยรฟท.ขีดเส้นในปีนี้ต้องจบ ที่ผ่านมาหารือกันมาหลายรอบ และใช้เวลากันมานานแล้ว ซึ่งเอกชนได้ให้ความร่วมมือในการพิจารณาแนวทางต่างๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน เดิมทางเอกชนได้คำนวนตัวเลขกรณีที่ต้องเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างร่วม และเอกชนส่งสัญญาณว่าอาจจะทำไม่ไหว รฟท.ก็ต้องหารือกันให้ตกผลึก เพราะพื้นที่ ช่วงโครงสร้างร่วม 2 โครงการมีจำกัด ทำให้ต่างคนต่างทำไม่ได้ ต้องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับทำ
สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม.ที่มีกรณีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก บริเวณสถานีอยุธยานั้น นายนิรุฒ กล่าวว่า สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาส่งกลับมาแล้วขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ของการตรวจทานด้านเอกสาร เพื่อความเรียบร้อยครบถ้วน คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างกับ บจ. บุญชัยพาณิชย์ (1979) ผู้รับจ้าง วงเงิน 10,325 ล้านบาท ได้ในเดือน พ.ย. 2566 โดยช่วงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รฟท.ยังคงใช้แนวเส้นทางเดิม ไม่มีการปรับย้ายแนวแต่อย่างใด โดยหลังลงนามสัญญา 4-5 จะก่อสร้างในส่วนของทางวิ่งไปก่อนและหากได้ข้อยุติเรื่องสถานีอยุธยาค่อยมาดำเนินการก่อสร้างในภายหลังต่อไป ซึ่งการก่อสร้างทางวิ่งก่อนได้ระบุไว้ในสัญญาที่จะเซ็นกับผู้รับเหมาไวัแล้ว
ส่วนกรณีมรดกโลก สถานีอยุธยา นั้น รายงานศึกษารายงาน HIA อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ขณะเดียวกันได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตัวสถานียังสามารถหารือปรับแบบให้เล็กลงหรือให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบได้
เกี่ยวกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด
อนึ่งเมื่อปี 2565 THE STANDARD WEALTH รายงานว่าบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ของกลุ่มซีพี ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน (Asia Era One) เพื่อเตรียมความพร้อมเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายใต้แนวคิด Reimagining Horizons เปิดขอบฟ้าใหม่แห่งโอกาส
สฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เปิดเผยว่า การเปลี่ยนชื่อองค์กรในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความพร้อมเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอย่างต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนายกระดับการคมนาคมในประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการเดินทางในภูมิภาคเอเชียและของโลกด้วยมาตรฐานการเดินรถและให้บริการในระดับสากล
ชื่อบริษัท เอเชีย เอรา วัน มาจากคอนเซปต์ในภาษาอังกฤษ Asia Era One ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทในการเป็นศูนย์กลางของเอเชีย ที่เชื่อมผู้คน สังคม และประเทศเป็นหนึ่งเดียว เพื่อประเทศไทยสู่ยุคใหม่แห่งอนาคตของความเจริญรุ่งเรือง ในขณะเดียวกัน ชื่อในภาษาไทย เอเชีย เอรา วัน ยังสื่อความหมายพ้องเสียงกับช้างเอราวัณ พาหนะเทพบุตรของพระอินทร์ ที่มีพละกำลัง และเป็นสัญลักษณ์ของการกระทำดี และสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย สฤษดิ์กล่าว
สฤษดิ์ยังกล่าวถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจ ของบริษัทเอเชีย เอรา วัน อีกว่ามีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางแห่งเอเชีย ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ยุคใหม่แห่งโอกาสและความเจริญรุ่งเรือง ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการเดินทางรถไฟความเร็วสูงระดับโลก ที่มุ่งมั่นเชื่อมประเทศไทยกับเอเชียให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อความภูมิใจของคนไทยทุกคน
ทั้งนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน ถือเป็นบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือ สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) รายแรก ที่ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลไทยให้พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงในรูปแบบสัญญาการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) โดยมีระยะเวลาสัญญา 50 ปี มีมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท รวมถึงการจ้างงานตลอดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสูงถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปี
Mongwin wrote:
รฟท.เร่งปิดดีลไฮสปีด เอกชนผวางบบานปลาย
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 02, 2023 05:33
ผู้ว่า รฟท.ลุยปิดดีลไฮสปีด 3 สนามบิน เร่งเจรจาแก้สัญญาจบปีนี้ เอกชนยืนกรานไม่สร้างโครงสร้างร่วมไทย-จีน กังวลงบบานปลาย 2 หมื่นล้าน ฟากอีอีซีเบรกขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โยนคลังพิจารณา ส่วนตั้งกองทุนฉุกเฉินรอหารือ เผยอีอีซี ส่อเป็นคู่สัญญาเอกชนเพิ่ม หวังช่วยพัฒนาพื้นที่
ความล่าช้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน หรือไฮสปีด (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องเร่งรัดเจรจาเอกชนปมแก้สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะกรณี แบ่งชำระค่างวด โครงการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ขณะปัญหาใหญ่ ที่อาจทำให้ ทั้งโครงการเกิดความล่าช้าและดึงโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา ช้าตามไปด้วย คือ เอกชนไม่รับข้อเสนอก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน หรือโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟไทย-จีนกับ ไฮสปีด 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ
โดยให้เหตุผลว่า มีความกังวล งบลงทุนอาจบานปลาย มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้รฟท.ยืนยันว่าจะเจรจาต่อรองให้ถึงที่สุด
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 - 6 ธ.ค. 2566
https://www.thansettakij.com/business/economy/582300
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group