View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/12/2023 9:06 pm Post subject: |
|
|
รัฐปัดไฮสปีดเอกชน เงื่อนไขสร้างไปจ่ายไป ชงเดินรถไปจ่ายไปแทน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, December 06, 2023 05:46
เอกชนรอส่งเสริมบีโอไอ
อีอีซี ลุยเจรจาเอกชน ประเด็นข้อเสนอ "สร้างไปจ่ายไป" หลังแก้พื้นที่ทับซ้อน รถไฟ ไทย-จีน ไม่ลงตัว เอกชน ขอให้รฟท.สร้างแทน "จุฬา สุขมานพ" ยันแนวทางใหม่ "เดินรถไปจ่ายไป" หากเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาต้องเสนอครม.ไฟเขียวอีกครั้ง
โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงิน 224,544 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ที่มีบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี เป็นคู่สัญญา ยังต้องเจรจาในบางประเด็นโดยเฉพาะการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ โครงสร้างร่วมระหว่าง รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีนกับไฮสปีดเชื่อม3 สนามบิน ซึ่งข้อเสนอเอกชนต้องการให้รฟท.เป็นผู้สร้างแทนเอกชน รูปแบบ "สร้างไปจ่ายไป" ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะตามเงื่อนไขสัมปทานเอกชนต้องเป็นผู้สร้าง รัฐเพียงส่งมอบพื้นที่เท่านั้น ส่วนการจ่ายเงิน จะจ่ายต่อเมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดเดินรถทั้งระบบหากจ่ายให้เอกชนก่อน บางช่วงเกรงว่าเมื่อรับเงินไปแล้ว อาจทิ้งงานไม่ทำต่อในช่วงต่อไป อย่างไรก็ตาม การเจรจาดังกล่าวยืดเยื้อมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมายังไม่ได้ข้อยุติโดยมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปีดดีล
โดยเร็ว เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้าไปกว่านี้ โดยแนวทางใหม่ ที่เสนอต่อเอกชนคือ เดินรถไปจ่ายไปน่าจะเหมาะสมกว่า
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า ความคืบหน้า ในประเด็นข้อเสนอ "สร้างไปจ่ายไป" บนพื้นที่ทับซ้อนโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทยจีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองนั้น ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนในเรื่องนี้เพื่อให้ได้ข้อยุติ ขณะเดียวกันประเด็นดังกล่าวที่เป็นปัญหาอยู่นั้นตามหลักการในสัญญาระบุว่า หากสร้างแล้วเสร็จถึงจะชำระเงินให้เอกชนโดยที่ผ่านมาอีอีซีได้มีการหาแนวทางใหม่ คือ "เดินรถไปจ่ายไป" หากจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาจะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่อีกครั้ง
"ในสัญญาระบุไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งต้องเจรจาไปพร้อมกันทีเดียว เพราะเป็นสาระสำคัญของหลักการที่ตกลงร่วมกัน ซึ่งภาครัฐจะไม่ลงทุนอะไรเลย โดยภาครัฐจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเพื่อดำเนินการก่อสร้างเท่านั้นหากดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมเดินรถ ภาครัฐถึงจะเริ่มดำเนินการชำระเงินให้แก่เอกชน ซึ่งเป็นแบบนี้มาตลอด"
นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาโครงการนี้เป็นสัมปทานที่มีการแข่งขันประมูล หากจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์กลางคันในทางกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการเจรจาร่วมกับเอกชนก่อน
แหล่งข่าวจากสกพอ. ระบุว่าที่ผ่านมาเงื่อนไขแก้สัญญาร่วมทุนฯและความเหมาะสมมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การปรับเงื่อนไขการชำระเงินค่าสิทธิเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 10,671 ล้านบาท ปรับเป็นแบ่งชำระงวดละ 1,067 ล้านบาทต่อปี ไม่เกิน 7 งวด 2.การแก้ไขปัญหาโครงสร้างโครงการทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง
และ 3.ร่างสัญญาใหม่กำหนดให้3หน่วยงานภาครัฐจะชำระเงินร่วมลงทุนราว 120,000 ล้านบาท ทำให้รัฐประหยัดงบประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีเงื่อนไขว่ารัฐจะชำระเงินให้เอกชนได้ต่อเมื่อมีการเปิดให้บริการโครงการฯหลังจากนั้นรัฐจะทยอยชำระเงินค่าก่อสร้างให้เอกชนเร็วขึ้นเป็นเดือนที่ 21 จากเดิมที่จ่ายเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จหรือในปีที่ 6 โดยมีการลดระยะเวลาที่รัฐจ่ายค่าก่อสร้างจาก 10 ปี เป็น 7 ปี ซึ่งเอกชนจะลดผลตอบแทนโครงการไม่เกิน 5% เพื่อให้เอกชนมีแรงจูงใจในการก่อสร้างโครงการฯให้แล้วเสร็จอย่างไรก็ตามข้อแรกได้ข้อยุติแล้วส่วนที่เหลือต้องเจรจา ดังกล่าว
ขณะที่ความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่โครงการฯและการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการฯ (TOD มักกะสัน และศรีราชา) ของรฟท. ให้เอกชน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ นั้น เอกชนร้องขอให้ รฟท. และ สกพอ. สนับสนุนการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน โครงการฯ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ซึ่งลำรางฯ ดังกล่าวไม่ใช่เงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่
ทั้งนี้ในปัจจุบัน สกพอ. ได้ดำเนินการตามระเบียบข้างต้นแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เสนอญัตติขอความเห็นชอบกรณีการขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ บริเวณพื้นที่มักกะสันในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยที่ 4 (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 แล้ว เบื้องต้นการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานครยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากที่ฝ่ายบริหารกรุงเทพ มหานครต้องนำเสนอเพิ่มเติม
แหล่งข่าวจากสกพอ. ระบุอีกว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการ ช่วงพญาไท-ดอนเมืองปัจจุบันรฟท.ได้สิทธิครอบครองพื้นที่เวนคืนทั้งหมดแล้ว จำนวน 3 ไร่ 1 งาน 69.3 ตารางวา และพื้นที่หน่วยงานรัฐแล้ว ซึ่งเหลือการดำเนินงานขอใช้พื้นที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอพระบรมราชานุญาตต่อสำนักพระราชวัง โดยกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนแล้วอยู่ระหว่างตรวจรับพื้นที่ ซึ่งรฟท. ยู่ระหว่างเจรจาค่าทดแทนอาคารสิ่งปลูกสร้างเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันต่อไป
ด้านความคืบหน้า ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ดำเนินการโยกย้ายผู้บุกรุกแล้วเสร็จ จำนวน 15 หลัง ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคช่วงดังกล่าว ขณะนี้ได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคแล้วเสร็จและพร้อมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเพื่อก่อสร้างงานโยธาร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ต่อไป ขณะที่ช่วงพญาไท-บางซื่อได้ดำเนินการโยกย้ายผู้บุกรุกแล้วเสร็จ จำนวน 255 หลัง ปัจจุบันได้ดำเนินการรื้อย้ายท่อน้ำมันของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด แล้วเสร็จ ช่วงหน้าสถานีจิตรลดาคงเหลือช่วงลอดคลองสามเสน 250 เมตร คาดว่าจะดำเนินการเชื่อมต่อท่อส่วนที่เหลือทั้งหมดพร้อมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
นอกจากนี้ยังมีการรื้อย้ายท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพ มหานคร (กทม.) อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบผลการจัดจ้างและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คาดว่าจะรื้อย้ายให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนหลังลงนามสัญญาจ้าง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครโดยล่าช้ากว่าแผนแล้ว 1 เดือน
โดยปัจจุบันรฟท.มีความพร้อมส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิอู่ตะเภา แล้ว แต่อยู่ระหว่างรอเอกชนได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเอกชนอยู่ระหว่างส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขอรับบัตรส่งเสริมฯ โดยเอกชนขอขยายระยะเวลาการออกบัตรส่งเสริมฯ ไปจนถึง 22 มกราคม 2567 โดยให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ซึ่ง รฟท. และ สกพอ. เห็นว่า การแก้ไขสัญญาในส่วนของการชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไม่กระทบหลักการสำคัญของโครงการฯ ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 7 - 9 ธ.ค. 2566 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/12/2023 4:17 pm Post subject: |
|
|
คมนาคมถกเร่งโปรเจคยักษ์อีอีซี รฟท.ส่งพื้นที่ไฮสปีดฯ ทันม.ค.67
กรุงเทพธุรกิจ 07 ธ.ค. 2566 เวลา 11:18 น.
การรถไฟฯ มั่นใจส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินครบ ม.ค.2567 ดันเอกชนเริ่มงานก่อสร้าง ขณะที่ คมนาคม เตรียมประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนพื้นที่อีอีซี 8 ธ.ค.นี้ หวังเข็นเม็ดเงินลงทุนตามเป้าหมาย
การรถไฟฯ มั่นใจส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินครบ ม.ค.2567 ดันเอกชนเริ่มงานก่อสร้าง ขณะที่ คมนาคม เตรียมประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนพื้นที่อีอีซี 8 ธ.ค.นี้ หวังเข็นเม็ดเงินลงทุนตามเป้าหมาย
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หลายโครงการล่าช้ากว่ากำหนดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าอย่างมากแล้ว
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า ความก้าวหน้าโครงการล่าสุดในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างเร่งรัดเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้าง ซึ่งในส่วนของพื้นที่นอกเมือง ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ได้ส่งมอบให้เอกชน 100% พร้อมเดินหน้างานก่อสร้างได้ทันที
ขณะที่งานเตรียมพื้นที่ส่งมอบในเมือง ช่วงดอนเมือง พญาไท ปัจจุบันคืบหน้า 97.21% โดยอยู่ระหว่างรื้อย้ายระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร และอยู่ระหว่างรื้อย้ายท่อน้ำมันของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) เบื้องต้น ร.ฟ.ท.คาดการณ์ว่าจะสามารถเคลียร์พื้นที่ช่วงดังกล่าว และส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญาได้ภายในเดือน ม.ค.2567 เพื่อเร่งรัดให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างโครงการต่อไป
8 ธ.ค.สุริยะถกบอร์ดลงทุนอีอีซี
อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ จะมีการนัดประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานคณะกรรมการฯ และจะมีการประชุมในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการลงทุนในโครงการต่างๆ พร้อมผลักดันการลงทุนให้เป็นไปตามแผนกำหนดไว้
นอกจากนี้ คาดว่าจะมีการหารือถึงรายละเอียดของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซีระยะต่อไป ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 - 2570 ตามเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถของระบบรางและทางน้ำ และเชื่อมต่อกับการขนส่งสินค้ารูปแบบอื่น ตลอดจนการยกระดับโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางของประชนชนอย่างไร้รอยต่อ และยกระดับโครงข่ายคมนาคมด้วยมาตรการเชิงรุกและเทคโนโลยีที่ทันสมัย |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/12/2023 7:26 pm Post subject: |
|
|
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ
8 ธ.ค. 66
ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ เดือนพฤศจิกายน 2566
https://fb.watch/oONgh2vO3Q/ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/12/2023 11:44 am Post subject: |
|
|
ดัน ไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 3.4 แสนล้าน เชื่อมระบบราง 3 ประเทศ
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 09, 2023 06:46
"รฟท." เร่งแก้อีไอเอ เดินหน้าสร้างไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท ชงคมนาคมไฟเขียวภายในธ.ค.นี้ เตรียมเปิดประมูลไตรมาส 2 ปี 67 หวังเชื่อมต่อการเดินทางระบบราง 3 ประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดไทย-จีน) เฟส 1 จำนวน 14 สัญญา ซึ่งมีความคืบหน้าก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงคมนาคมยังผลักดันโครงการฯในระยะที่ 2 เพื่อให้ระบบรถไฟของไทย สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศจีนและสปป.ลาวได้สะดวกมากขึ้น
รายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม ผลักดันโครงการ ไฮสปีด ไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 341,351 ล้านบาท ล่าสุด รฟท. อยู่ระหว่างแก้ไขรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนนี้
หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายในเดือนธันวาคม 2566 และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลภายในไตรมาส 2 ของปี 2567 และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนธันวาคม 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2568 พร้อมเปิดให้บริการปี 2573
ขณะที่ความคืบหน้าด้านการเวนคืนที่ดินไฮสปีด ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย วงเงิน 12,418 บาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการแล้ว เบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ที่ถูกเวนคืน ช่วงนครราชสีมา - บ้านไผ่ จำนวน 195 แปลงและช่วงบ้านไผ่ - หนองคาย จำนวน 1,764 แปลง
รายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่า ตามแผนโครงการฯจะแบ่งการประมูลเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นไม่เกิน 10 สัญญา เนื่องจากที่ผ่านมาการประมูลแต่ละโครงการฯ มีการแบ่งออกหลายสัญญา ทำให้ผู้รับจ้างรายเล็กไม่สามารถเข้าร่วมประมูลงานได้ เพราะเป็นสัญญางานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ในโครงการฯ ระยะที่ 2 ทางรฟท.มีความเห็นว่าควรขยายสัญญาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูลมากขึ้นสำหรับงานก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างรายเล็ก ซึ่งจะทำให้ผู้รับจ้างมีรายเล็กมีผลงานเพิ่มขึ้น
"นอกจากนี้มีบางสัญญาที่อยู่ภายในเมืองสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค, ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้า รวมทั้งผู้บุกรุกที่อาศัยภายในชุมชนใหญ่ ส่งผลให้การรื้อย้ายต้องใช้ระยะเวลา"
ทั้งนี้การออกแบบรางของโครงการฯมีขนาด 1.435 เมตร โดยรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร (กม.) ประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที
สำหรับแนวเส้นทางไฮสปีดไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ตลอดระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) นั้น แบ่งการก่อสร้างเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กิโลเมตร (กม.) และทางรถไฟยกระดับ 171 กิโลเมตร (กม.) มีทั้งสิ้น 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย โดยจะมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย รวมทั้งจะมีการ ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย
อย่างไรก็ตามไฮสปีดไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีเส้นทางครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.อุดรธานี และจ.หนองคายเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางที่มีความรวดเร็วและความปลอดภัยให้ประชาชน รวมทั้งยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยกับ สปป.ลาว และประเทศจีนด้วย
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 13 ธ.ค. 2566 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/12/2023 10:09 am Post subject: |
|
|
สกพอ. กระทุ้ง สภากทม. เร่งถอนลำราง'มักกะสัน'
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 09, 2023 06:45
สกพอ.กระทุ้ง สภากทม. เร่ง ถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน ตามระเบียบมหาดไทย หลังล่าช้า
การส่งมอบพื้นที่ โครงการ พัฒนาเชิงพาณิชย์ ( TOD) บริเวณรอบสถานีมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี คู่สัญญา ส่วนหนึ่งในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ปัจจุบัน ยังติดปัญหาล่าช้า รอสภากรุงเทพมหานคร พิจารณา ถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าวว่า ความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่โครงการฯและการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการฯ (TOD มักกะสัน และศรีราชา) ของรฟท. ให้เอกชน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ นั้น เอกชนร้องขอให้รฟท. และสกพอ. สนับสนุนการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ซึ่งลำรางฯ ดังกล่าวไม่ใช่เงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่
ปัจจุบัน สกพอ. ได้ดำเนินการตามระเบียบข้างต้น และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เสนอญัตติขอความเห็นชอบกรณีการขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ บริเวณพื้นที่มักกะสันในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยที่ 4 (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 แล้ว เบื้องต้นการพิจารณาของสภากทม.ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากที่ฝ่ายบริหารกทม.ต้องนำเสนอเพิ่มเติม
ย้อนไปก่อนหน้านี้เอกชนคู่สัญญาพบว่าบริเวณด้านหลังของโฉนดที่ดินแปลงมักกะสัน(โซนA) 150 ไร่ มีลำรางสาธารณะปรากฎอยู่ สถาบันการเงินไม่อาจอนุมัติวงเงินกู้เพื่อดำเนินการก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินได้ ถึงแม้รฟท.ระบุว่าได้เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ลำรางสาธารณะเป็นพื้นที่ตั้งของพวงรางรถไฟนานแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีผลทางกฎหมายเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินลำรางสาธารณะย่อมมีปัญหาต่อการพัฒนาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้เอกชนขอให้รฟท.หาแนวทางถอนสภาพลำรางสาธารณะออกจากโฉนดที่ดินโดยเร็ว เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการรับมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะเดินต่อไม่ได้ เนื่องจากเอกชนมองว่า โครงการทั้งสองส่วนต้องไปพร้อมกัน ทำให้รฟท.ต้องเลื่อนออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ออกไป เนื่องจากตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยการยื่นขอแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพลำรางสาธารณะ ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีโดยกรมที่ดินต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา และเปิดรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ ของกรมป่าไม้
ช่วงที่ผ่านมาตามข้อตกลงคณะกรรมกรรมการ 3 ฝ่าย ซึ่งประกอบ ด้วยรฟท. สกพอ.และเอกชน เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับลำรางสาธารณะที่เอกชนพบปรากฎอยู่บนโฉนดที่ดิน โครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์มักกะสัน โดยรฟท.ได้มีหนังสือหารือไปยังกฤษฎีกาและอัยการสูงสุดเพื่อวินิจฉัยว่า 1.กรณีหลักฐานลำรางสาธารณะที่ปรากฎอยู่บนที่ดินมักกะสันถือเป็น หนึ่งในเงื่อนไขการส่งมอบพื้นที่หรือไม่
2.เอกชนคู่สัญญาสามารถรับมอบพื้นที่เข้าดำเนินโครงการก่อนการถอนสภาพลำรางสาธารณะได้หรือไม่ 3.ลำรางเสื่อมสภาพไม่มีประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ร่วมกันและมีหลักฐานรฟท.ใช้งานเป็นที่ตั้งของพวงรางเดินขบวนรถ ยังถือเป็นลำรางสาธารณะหรือไม่
แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่า ประเด็นลำรางสาธารณะไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ของรฟท. ที่สำคัญกฤษฎีกาและอัยการสูงสุดยังเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาให้สกพอ.และกระทรวงมหาดไทยในฐานะกำกับดูแลกทม. ทำงานร่วมกัน และให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศยกเลิกลำรางสาธารณะที่ปรากฎหลักฐานว่าเสื่อมสภาพไม่เคยมีประชาชนใช้ประโยชน์บนที่ดินมักกะสันซึ่งตั้งอยู่ในเขตปกครองของกทม.เป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาสามารถเข้าพื้นที่ได้ก่อนตามกำหนดสัญญาและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการถอนสภาพลำลางสาธารณะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นที่ดินตามกฎหมายต่อไป
แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวต่อว่า รฟท.ยืนยันว่าการออก NTP เริ่มงานก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินนั้นมีความพร้อมอย่างมาก ติดปัญหาเพียงพื้นที่ลำรางสาธารณะซึ่งถือเป็นพื้นที่ส่วนเล็กน้อย 1% ของพื้นที่ก่อสร้างโครงการทั้งหมด ขณะที่เอกชนยืนยันว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาส่วนนี้ให้แล้วเสร็จ อาจส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการทั้งหมด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหา ทำให้แผนส่งมอบพื้นที่จะล่าช้ากว่าแผนออกไป
"เราก็เข้าใจดีกว่าโครงการฯทั้งแนวเส้นทางและ TOD เป็นส่วนที่สอดคล้องกัน เพราะการพัฒนาโครงการจะเกื้อหนุนกัน ดังนั้นก็จำเป็นต้องออก NTP พร้อมกัน แต่พื้นที่ที่ติดปัญหานี้เป็นลำรางสาธารณะที่มีมานานมากแล้ว ปัจจุบันก็ไม่ได้มีการใช้งาน แทบไม่เห็นแล้วว่ายังมีพื้นที่ลำรางสาธารณะอยู่ แต่รายละเอียดตามโฉนดยังพบว่ามีลำรางเท่านั้น"
"สภากทม.ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากที่ฝ่ายบริหารกทม.ต้องนำเสนอเพิ่มเติม"
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 13 ธ.ค. 2566 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 10/12/2023 11:26 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ดัน ไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 3.4 แสนล้าน เชื่อมระบบราง 3 ประเทศ
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, December 09, 2023 06:46
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 13 ธ.ค. 2566 |
ลิงก์มาแล้ว
ดัน ไฮสปีดไทย-จีน เฟส2 3.4 แสนล้าน เชื่อมระบบราง 3 ประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
08 ธันวาคม 2566
รฟท. เร่งแก้อีไอเอ เดินหน้าสร้างไฮสปีดไทย-จีน เฟส2 วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท ชงคมนาคมไฟเขียวภายในธ.ค.นี้ เตรียมเปิดประมูลไตรมาส 2 ปี 67 หวังเชื่อมต่อการเดินทางระบบราง 3 ประเทศ
https://www.thansettakij.com/business/economy/582841 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 11/12/2023 12:35 am Post subject: |
|
|
สกพอ. กระทุ้ง สภากทม. เร่งถอนลำรางที่ดิน "มักกะสัน"ส่งมอบพื้นที่ลุยไฮสปีด
ฐานเศรษฐกิจ
08 ธันวาคม 2566
สกพอ.กระทุ้ง สภากทม. เร่ง ถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน ตามระเบียบมหาดไทย หลังต้องขอหลักฐานเพิ่มเติม เร่งส่งมอบพื้นที่ลุยไฮสปีด
การส่งมอบพื้นที่ โครงการ พัฒนาเชิงพาณิชย์ ( TOD) บริเวณรอบสถานีมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี คู่สัญญา ส่วนหนึ่งในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ปัจจุบัน ยังติดปัญหารอสภากรุงเทพมหานคร พิจารณา ถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ หากยังส่งมอบพื้นที่ในส่วนนี้ไม่ได้เท่ากับการเข้าพื้นที่ก่อสร้างส่วนของไฮสปีดจะล่าช้าไปด้วย เพราะเอกชนต้องการเคลียร์ให้ครบทั้งสองส่วน100%
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าวว่า ความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่โครงการฯและการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการฯ (TOD มักกะสัน และศรีราชา) ของรฟท. ให้เอกชน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ นั้น
เอกชนร้องขอให้รฟท. และสกพอ. สนับสนุนการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์บริเวณ TOD มักกะสัน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ซึ่งลำรางฯ ดังกล่าวไม่ใช่เงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่
ปัจจุบัน สกพอ. ได้ดำเนินการตามระเบียบข้างต้น และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เสนอ ญัตติขอความเห็นชอบกรณีการขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ บริเวณพื้นที่มักกะสันในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยที่ 4 (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 แล้ว เบื้องต้นการพิจารณาของสภากทม.ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากที่ฝ่ายบริหารกทม.ต้องนำเสนอเพิ่มเติม
ย้อนไปก่อนหน้านี้เอกชนคู่สัญญาพบว่าบริเวณด้านหลังของโฉนดที่ดินแปลงมักกะสัน(โซนA) 150 ไร่ มีลำรางสาธารณะปรากฎอยู่ สถาบันการเงินไม่อาจอนุมัติวงเงินกู้เพื่อดำเนินการก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินได้ ถึงแม้รฟท.ระบุว่าได้เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ลำรางสาธารณะเป็นพื้นที่ตั้งของพวงรางรถไฟนานแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีผลทางกฎหมายเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินลำรางสาธารณะย่อมมีปัญหาต่อการพัฒนาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้เอกชนขอให้รฟท.หาแนวทางถอนสภาพลำรางสาธารณะออกจากโฉนดที่ดินโดยเร็ว เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการรับมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะเดินต่อไม่ได้ เนื่องจากเอกชนมองว่า โครงการทั้งสองส่วนต้องไปพร้อมกัน ทำให้รฟท.ต้องเลื่อนออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ออกไป เนื่องจากตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยการยื่นขอแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพลำรางสาธารณะ ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีโดยกรมที่ดินต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา และเปิดรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ ของกรมป่าไม้
ช่วงที่ผ่านมาตามข้อตกลงคณะกรรมกรรมการ 3 ฝ่าย ซึ่งประกอบ ด้วยรฟท. สกพอ.และเอกชน เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับลำรางสาธารณะที่เอกชนพบปรากฎอยู่บนโฉนดที่ดิน โครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์มักกะสัน โดยรฟท.ได้มีหนังสือหารือไปยังกฤษฎีกาและอัยการสูงสุดเพื่อวินิจฉัยว่า
1.กรณีหลักฐานลำรางสาธารณะที่ปรากฎอยู่บนที่ดินมักกะสันถือเป็น หนึ่งในเงื่อนไขการส่งมอบพื้นที่หรือไม
2.เอกชนคู่สัญญาสามารถรับมอบพื้นที่เข้าดำเนินโครงการก่อนการถอนสภาพลำรางสาธารณะได้หรือไม่
3.ลำรางเสื่อมสภาพไม่มีประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ร่วมกันและมีหลักฐานรฟท.ใช้งานเป็นที่ตั้งของพวงรางเดินขบวนรถ ยังถือเป็นลำรางสาธารณะหรือไม่
แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่า ประเด็นลำรางสาธารณะไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ของรฟท. ที่สำคัญกฤษฎีกาและอัยการสูงสุดยังเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาให้สกพอ.และกระทรวงมหาดไทยในฐานะกำกับดูแลกทม. ทำงานร่วมกัน และให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศยกเลิกลำรางสาธารณะที่ปรากฎหลักฐานว่าเสื่อมสภาพไม่เคยมีประชาชนใช้ประโยชน์บนที่ดินมักกะสันซึ่งตั้งอยู่ในเขตปกครองของกทม.เป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาสามารถเข้าพื้นที่ได้ก่อนตามกำหนดสัญญาและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการถอนสภาพลำลางสาธารณะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นที่ดินตามกฎหมายต่อไป
รฟท.ยืนยันว่าการออก NTP เริ่มงานก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินนั้นมีความพร้อมอย่างมาก ติดปัญหาเพียงพื้นที่ลำรางสาธารณะซึ่งถือเป็นพื้นที่ส่วนเล็กน้อย 1% ของพื้นที่ก่อสร้างโครงการทั้งหมด ขณะที่เอกชนยืนยันว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาส่วนนี้ให้แล้วเสร็จ อาจส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการทั้งหมด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหา ทำให้แผนส่งมอบพื้นที่จะล่าช้ากว่าแผนออกไป
เราก็เข้าใจดีกว่าโครงการฯทั้งแนวเส้นทางและ TOD เป็นส่วนที่สอดคล้องกัน เพราะการพัฒนาโครงการจะเกื้อหนุนกัน ดังนั้นก็จำเป็นต้องออก NTP พร้อมกัน แต่พื้นที่ที่ติดปัญหานี้เป็นลำรางสาธารณะที่มีมานานมากแล้ว ปัจจุบันก็ไม่ได้มีการใช้งาน แทบไม่เห็นแล้วว่ายังมีพื้นที่ลำรางสาธารณะอยู่ แต่รายละเอียดตามโฉนดยังพบว่ามีลำรางเท่านั้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 11/12/2023 12:40 am Post subject: |
|
|
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงพระแก้ว-สระบุรีสัญญาที่ 4-6 ร่วมด้วยบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน)
ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ก่อนการก่อสร้างในพื้นที่
ชุมชนหนองน้ำใส ม.3ม.8 อ.ภาชี จ. พระนครศรีอยุธยา
บ.ที่ปรึกษา CSC และบริษัทยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด(มหาชน) ลงร่วมตรวจสอบพื้นที่บริเวณเครื่องจักรสำหรับงานเจาะทดสอบเสาเข็ม DK87+600
ขอขอบคุณทุกหน่วยงานและประชาชนทุกท่านที่ให้ความร่วมมือกับการประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ค่ะ🙏🙏
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=335771022542755&id=100083295791460 |
|
Back to top |
|
|
|