Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312033
ทั่วไป:13627258
ทั้งหมด:13939291
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 521, 522, 523 ... 578, 579, 580  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2023 8:16 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ”เร่งแก้ปัญหาโปรเจ็กต์”อีอีซี”ขีดเส้นม.ค. 67 ออก NTP เริ่มตอกเข็ม”ไฮสปีด3สนามบิน-อู่ตะเภา”
ผู้จัดการออนไลน์ 11 ธ.ค. 2566 07:26

“สุริยะ”นั่งหัวโต๊ะเร่งเครื่อง 4 โปรเจ็กต์ อีอีซี ปักธง ม.ค. 67 ออก NTP”ไฮสปีด 3 สนามบิน-อู่ตะเภา”เริ่มก่อสร้าง ดันเปิดปี 71 ด้านรฟท.หารือ อัยการปมตัดเงื่อนไขบีโอไอ”ลุยแก้สัญญาฯซี.พี.จ่ายค่า ARL 3 งวดแรกรวมกว่า 3.2 พันล้านบาท ส่วนแหลมฉบัง เฟส 3 หนักใจถมทะเลล่าช้า

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนใน พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ที่มี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้ติดตามความก้าวหน้า พร้อมเร่งรัดการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้ EEC Project Lists 4 โครงการ คือ

1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท มีแผนแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2571 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (TOD) แล้ว แต่การแจ้งให้เอกชนเริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) มีเงื่อนไขต้องให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน
จำกัด เอกชนคู่สัญญารับบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอยู่ระหว่างส่งเอกสารเพิ่มเติม และมีการขยายเวลาล่าสุดจะสิ้นสุด วันที่ 22 ม.ค. 2567 จึงมีมติให้รฟท.เร่งรัดเอกชนคู่สัญญา เพื่อให้ได้ข้อยุติภายใน ม.ค. 2567 พร้อมกับให้เร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ ช่วงพญาไท-บางซื่อให้ เสร็จภายใน พ.ค.2567 อีกด้วย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

@หารือ อัยการ ปมตัดเงื่อนไขบีโอไอ”ปักธงออกNTP ม.ค. 67

นายจุฬากล่าวว่า กรณีเอกชนยังไม่รับบัตรส่งเสริมการลงทุนและหากไม่มีการขยายเวลาหลังวันที่ 22 ม.ค. 2567 สิทธิ์จะหายไป งานจะยิ่งล่าช้า ดังนั้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 รฟท. ได้มีหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอความชัดเจนว่า หากเอกชนยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมและไม่ไปจดทะเบียนการเช่าพื้นที่ TOD รฟท.จะสามารถยกเว้นเงื่อนไข และออก NTP ได้หรือไม่ ซึ่งในสัญญาร่วมทุนฯ มีกำหนดว่าหากเงื่อนไขใดไม่สามารถปฎิบัติได้ คู่สัญญาสามารถขอยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าวไม่นำมารวมในการออก NTP ได้ ดังนั้นหาก อัยการสูงสุด ตอบว่า สามารถตัดเงื่อนไขบัตรส่งเสริมฯได้ รฟท.จะออกNTP ได้ในม.ค. 2567

นอกจากนี้ให้รฟท. หารือกับ กองทัพเรือ เพื่อประสานแผนโครงสร้างในการก่อสร้างบริเวณรันเวย์สนามบินอู่ตะเภา ที่จะมีอุโมงค์รถไฟลอดอยู่ด้านล่างให้จบในธ.ค.2566 ด้วย

“ตอนนี้ พื้นที่หลักส่งมอบก่อสร้าง คือ มักกะสัน-อู่ตะเภา ซึ่งพร้อมส่งมอบ ส่วนช่วง มักกะสัน -ดอนเมือง ที่มีประเด็นโครงสร้างร่วม กับรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. และช่วงพญาไท-บางซื่อ อยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่บริเวณ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านราชวิถีและรอการรื้อย้ายทีอน้ำมัน (FPT) และท่อระบายน้ำซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในพฤษภา 2567 ซึ่งไม่กระทบการออก NTP ”นายจุฬากล่าว

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

@แก้สัญญาร่วมทุนฯ เร่งชำระค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 3 งวดแรก

สำหรับการแก้ไขสัญญาร่วมทุนเงื่อนไข”เหตุสุดวิสัย” กรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรค หรือมีสงครามที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ และมีการตกลงเงื่อนไขให้เอกชนผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) จำนวน 10,671.09 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาส ออกเป็น 7 งวด จำนวน 1,060.04 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 11,731.13 ล้านบาท โดยแบ่งชำระ ค่าสิทธิ ARL ออกเป็น 7 งวด ได้แก่ งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ตุลาคมของแต่ละปี ซึ่ง คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เมื่อ 27 มิถุนายน2566 นั้น

โดยคณะกรรมการ 3 ฝ่ายคือ รฟท. สกพอ.และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จะหารือรอบสุดท้าย วันที่ 13 ธ.ค.2566จากนั้นจะส่งร่างสัญญาร่วมทุนฯ แก้ไขเพิ่มเติม ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ หลังจากนั้นจะเสนอกพอ. และเสนอครม.ต่อไป ซึ่งการแก้ไขสัญญาจะเป็นไม่กระทบ กับการออก NTP เช่นกัน

และหลังลงนามแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ เอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 3 งวดแรก วงเงินรวม 3,201.33 ล้านบาท สำหรับปี 2564 ,2565,2566 ส่วนงวดที่ 4 จะชำระในวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ตามเงื่อนไข

@ม.ค.67 วางศิลาฤกษ์ สร้างสนามบินอู่ตะเภา

2. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีมติให้เร่งรัดกองทัพเรือ ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง งานก่อสร้างทางวิ่ง 2 และทางขับ ภายในกลาง ธ.ค. 2566 ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่สามารถออกNTP ให้บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่นจำกัด (UTA) เอกชนคู่สัญญาโครงการสนามบินอู่ตะเภา เริ่มก่อสร้างได้ภายใน ม.ค. 2567 โดยกำหนดพิธีวาศิลาฤกษ์ไว้เบื้องต้นแล้วทั้งนี้ ได้เร่งรัดให้ สกพอ. รฟท.

และเอกชนคู่สัญญา รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและ เอกชนคู่สัญญาสนามบินอู่ตะเภา สรุปแผนการทำงานร่วมกันเรื่องอุโมงค์รถไฟลอดใต้รันเวย์ ซึ่งมีแนวทางให้เมืองการบินก่อสร้างโครงสร้างเผื่อไปก่อน และให้รฟท.จ่ายคืนภายหลัง เพื่อให้เงื่อนไขการ เริ่มต้นโครงการครบสมบูรณ์ตามที่กำหนดในสัญญา และโครงการสนามบินอู่ตะเภา

ทั้งนี้ การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 การเตรียมให้บริการการเดินอากาศ ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา สถาบันการบินพลเรือน โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา บริษัท

การบินไทย จำกัด (มหาชน) โครงการพัฒนาการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดเพื่อเตรียมรองรับการให้บริการต่อไป

@สั่ง กทท.เร่งงานถมทะเล ‘แหลมฉบังเฟส 3’

3. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ที่มีการขยายเวลาตามสิทธิ์โควิด แต่ล่าสุดยังล่าช้ากว่าแผน 1.81% โดยมีมติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งรัดและกำกับการก่อสร้างงานถมทะเล
(Infrastructure) ซึ่งจะต้องมีการปรับความหนาแน่นของทรายถม ซึ่งมีค่าก่อสร้างเพิ่มประมาณ 600 ล้านบาท โดยให้กทท.ไปพิจารณา กรณีใช้จากค่า VO สัญญาถมทะเล โดยจ้างผู้รับเหมาเดิมทำ (มีข้อกังวลเพราะงานปัจจุบันยังล่าช้าอยู่) กับแนวทางตั้งงบเพิ่ม เปิดประมูลใหม่ ซึ่งจะมีขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งใช้เวลาพอสมควร

โดยให้กทท.เร่งแก้ปัญหา ให้แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาภายใน พ.ย. 2568 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนและคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือ (Superstructure) ในส่วนท่าเรือ F1 แล้วเสร็จและเปิดบริการปลายปี 2570

4. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีมติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดตามการถมทะเล(Infrastructure) ของเอกชนคู่สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในธ.ค. 2567 (ปัจจุบันงานมีความคืบหน้าแล้วประมาณ 69.64%) และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือก๊าซเสร็จและเปิดบริการต้นปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2023 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงไฮสปีด สร้างไปจ่ายไป l THAN TALK | 11 ธ.ค. 66
ฐานเศรษฐกิจ
Dec 11, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=LCHgHyGaaQ4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2023 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“สุริยะ”เร่งแก้ปัญหาโปรเจ็กต์”อีอีซี”ขีดเส้นม.ค. 67 ออก NTP เริ่มตอกเข็ม”ไฮสปีด3สนามบิน-อู่ตะเภา”
ผู้จัดการออนไลน์ 11 ธ.ค. 2566 07:26




ลุ้นปี 67 “อีอีซี” ปิดดีล สางปัญหาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน-เมืองการบินฯ

ฐานเศรษฐกิจ
11 ธันวาคม 2566

13 ธ.ค.นี้ “อีอีซี” จ่อถกรฟท.-เอกชน นัดสุดท้าย สางปัญหาแก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ฟากรฟท.เล็งชงอัยการสูงสุดไฟเขียวเอกชนเมินรับบัตรส่งเสริม BOI ลุ้นตอกเสาเข็มไฮสปีด ม.ค. 67 หลังโครงการดีเลย์ เผยแผนคืบหน้า 3 เมกะโปรเจ็กต์
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2566 ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น เบื้องต้นที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโครงการลงทุน เพื่อให้เดินหน้าตามแผนงานกำหนดจะทยอยเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2567โดยเฉพาะโครงการลงทุน 4 โครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซี ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยที่ประชุมมีมติให้เร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ ช่วงพญาไทถึงบางซื่อให้เสร็จภายใน พ.ค.2567 ส่วนพื้นที่อื่น มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (transit oriented development, TOD) แล้ว



นายจุฬา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย รฟท. อีอีซี และเอกชน ในรอบสุดท้ายถึงการหารือร่วมกับเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อส่งร่างฯสัญญาต่อสำนักอัยการสูงสุดตรวจสอบ หากสำนักอัยการสูงสุดตอบกลับแล้วต้องส่งกลับมาที่ กพอ.หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติลงนามสัญญาใหม่ต่อไป



“ปัจจุบันโครงการจะมีความล่าช้ามามากแล้ว คำขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ที่ทางเอกชนดำเนินการไว้จะหมดอายุการออกบัตรในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ดังนั้นจึงมีกรอบกำหนดที่จำเป็นต้องเร่งรัด เพราะหากบัตร BOI หมดอายุก็ต้องดำเนินการขอพิจารณาต่ออายุ ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เวลาในการพิจารณา”


ขณะเดียวกันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างเตรียมออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ซึ่งในเงื่อนไขของการออก NTP ระบุไว้ว่าเอกชนคู่สัญญาจะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ส่งผลให้ขณะนี้สถานะดำเนินการจึงคงเหลือแต่รอให้เอกชนคู่สัญญาส่งเอกสารไปที่ BOI เพื่อรับบัตรส่งเสริมการลงทุน เพื่อครบเงื่อนไขเริ่มต้นโครงการที่กำหนดในสัญญา ซึ่งรฟท.จะเร่งรัดเอกชนคู่สัญญาให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. 2567



“ขณะนี้รฟท.ได้ใช้สิทธิในการขอพิจารณาออกหนังสือ NTP เนื่องจากในเงื่อนไขการออกหนังสือระบุว่าทางเอกชนจะต้องได้รับ BOI ก่อน แต่เนื่องจากปัจจุบันติดเพียงปัญหาเดียว ซึ่งการรถไฟฯ เตรียมพื้นที่พร้อมส่งมอบแล้ว เรื่องนี้จึงได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาเงื่อนไข หากตีความว่าสามารถส่งมอบพื้นที่ได้โดยไม่ต้องรอ BOI ก็จะทำให้โครงการนี้เริ่มตอกเสาเข็มตามแผนในปีหน้า”



ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะทำงานคู่ขนานระหว่างการยื่นขอตีความจากอัยการสูงสุดในประเด็นส่งมอบพื้นที่ออก NTP โดยไม่ต้องรอเอกชนรับบัตรส่งเสริม BOI และดำเนินงานส่วนของการขอพิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมทุนใหม่ ซึ่งงานก่อสร้างไม่จำเป็นต้องรอให้การแก้ไขสัญญาแล้วเสร็จ เพราะรายละเอียดของการแก้ไขสัญญา มีประเด็นสำคัญในการพิจารณาเรื่องถ้อยคำเหตุสุดวิสัย และการทำแนวท้ายสัญญาเรื่องแบ่งจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์


นายจุฬา กล่าวต่อว่า หาก ครม.เห็นชอบให้แก้ไขสัญญาและมีการลงนามร่วมกับเอกชนแล้วนั้น ทางเอกชนจะต้องเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่เสนอขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาแล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด ย้อนหลังของปี 2564 – 2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวดจ่ายตามกำหนดสัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี



ขณะที่ความคืบหน้าของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ปัจจุบันกองทัพเรือเตรียมประกาศจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างทางวิ่ง 2 และทางขับ ภายในกลาง ธ.ค.นี้ โดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ สกพอ. ,รฟท. และเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินและสนามบินอู่ตะเภา สรุปแผนการทำงานร่วมกันในส่วนของโครงสร้างร่วมบริเวณสนามบินอู่ตะเภา โดยให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ธ.ค.นี้ และโครงการสนามบินอู่ตะเภา จะเริ่มก่อสร้างได้ภายใน ม.ค. 2567



ด้านความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งรัด และกำกับการก่อสร้างงานถมทะเล (Infrastructure) ให้แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที้ให้เอกชนคู่สัญญาภายใน พ.ย. 2568 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือ (Superstructure) ในส่วนท่าเรือ F1 แล้วเสร็จและเปิดบริการปลายปี 2570



นอกจากนี้โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีมติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดตามการถมทะเล (Infrastructure) ของเอกชนคู่สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในธ.ค. 2567 โดยปัจจุบันงานมีความคืบหน้าแล้วประมาณ 69.64% และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือก๊าซเสร็จและเปิดบริการต้นปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2023 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด 3 สนามบิน ต้องจบ ตอกเข็มปีหน้า!

ฐานเศรษฐกิจ
13 ธันวาคม 2566

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3948
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ ไฮสปีดเทรน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ล่าช้ามานาน ล่าสุด นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี มีเป้าหมายภายในเดือนธันวาคมนี้ การเจรจาทุกอย่างต้องจบ และเดือนมกราคม 2567 ต้องได้เห็นการตอกเสาเข็มต้นแรก

จึงเห็นการเร่งรัด ประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สกพอ. และ เอกชน ในรอบสุดท้าย วันที่ 13 ธันวาคม หารือร่วมกับเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อส่งร่างสัญญาต่อสำนักอัยการสูงสุดตรวจสอบหากผ่านอัยการสูงสุดและส่งกลับมายังต้นสังกัดต้องส่งกลับมาที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติลงนามสัญญาใหม่ต่อไป

ประเด็นใหม่ที่เป็นอุปสรรคลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปด คือ คำขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ทางเอกชนดำเนินการไว้จะหมดอายุการออกบัตรในวันที่ 22 มกราคม 2567 จึงต้องวางกรอบการเจรจาทุกอย่างต้องจบโดยเร็วหากคำขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) หมดอายุ ต้องขอต่ออายุใหม่ทำให้ซํ้าเติมไฮสปีดที่ล่าช้าอยู่แล้วให้ล่าช้าต่อไป

อาจลามถึง การออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ของ รฟท. มีเป้าหมายตอกเสาเข็ม ตามแผนปีหน้า แต่เงื่อนไขการออก NTP เอกชนคู่สัญญาต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) เรื่องนี้จึงได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาเงื่อนไข หากตีความว่าสามารถส่งมอบพื้นที่ได้โดยไม่ต้องรอ BOI ก็จะทำให้โครงการนี้เริ่มก่อสร้างได้ทันที

การดำเนินงานของไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินต้องทำ คู่ขนานระหว่างการยื่นขอตีความจากอัยการสูงสุดในประเด็นส่งมอบพื้นที่ออก NTP โดยไม่ต้องรอเอกชนรับบัตรส่งเสริม BOI และดำเนินงานส่วนของการขอพิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมทุนใหม่ ซึ่งงานก่อสร้างไม่จำเป็นต้องรอให้การแก้ไขสัญญาแล้วเสร็จ เพราะรายละเอียดของการแก้ไขสัญญา มีประเด็นสำคัญในการพิจารณาเรื่องถ้อยคำเหตุสุดวิสัย และเรื่องแบ่งจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์

ปีหน้าคงได้เห็น เสาเข็ม ต้นแรกไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ด่านหน้าความเชื่อมั่น ดึงดูดนักลงทุนเข้าพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี เครื่องยนต์ใหญ่ที่รัฐบาลใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2023 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

‘อีอีซี-คมนาคม-รฟท.’ สางเงื่อนไขไฮสปีด 3 สนามบิน บีบซี.พี.เริ่มสร้าง ม.ค. 67
เขียนโดยisranews
เขียนวันจันทร์ ที่ 11 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

คณะกรรมการเร่งรัดลงทุนอีอีซี สะสางเงื่อนไขส่งมอบ NTP ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ‘รฟท.’ ยื่นถามอัยการฯ งดเงื่อนไขรอบัตรส่งเสริมลงทุน บีบ ซี.พี. เริ่มก่อสร้าง ม.ค.67 เผยเตรียมแผนรับหากอัยการฯไม่เห็นด้วยแล้ว ยันไม่กระทบสนามบินอู่ตะเภาแน่ ทุบโต๊ะแก้สัญญาต้องจบในเดือน ธ.ค.นี้ ส่วนปมสร้างบางซื่อ-ดอนเมือง ‘คมนาคม’ แท็กทีม ‘รฟท.’ ช่วยกันดู แต่ยังไม่เคาะใครสร้าง ขณะที่แอร์พอร์ตลิ้งค์ เล็งรวบจ่ายงวด 1-3 เป็นก้อนเดียว งวดที่ 4 เริ่มจ่าย ต.ค. 67

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2566 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2566 ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 66 มีการติดตามความก้าวหน้าโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี (EEC Project List) จำนวน 4 โครงการ วงเงินโครงการรวม 683,944.36 ล้านบาท

@ทุบโต๊ะปัญหายื้อส่ง NTP ต้องจบ ธ.ค. 66 นี้
โครงการแรก รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญาสัมปทานระยะเวลา 50 ปี ที่ประชุมหารือโดยมีข้อสรุปว่า ต้องการให้ประเด็นต่างๆที่มีผลกระทบกับการส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed หรือ NTP) สรุปให้จบในเดือน ธ.ค. 2566 นี้

ประเด็นสำคัญคือ การที่ทางซี.พี.อยู่ระหว่างรอบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยมีระยะเวลาการรับบัตรส่งเสริการลงทุนถึงวันที่ 22 ม.ค. 2567 นี้ หากพ้นวันที่ 22 ม.ค. 2567 นี้ไป สิทธิประโยชน์ที่ซี.พี.ได้รับจาก BOI ก็จะหายไป ซึ่งในสัญญาร่วมลงทุนที่มีการเซ็นไว้เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 กำหนดตรงนี้ไว้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่จะต้องได้ก่อน จึงจะส่งมอบ NTP ได้

@ถามอัยการฯ โละเงื่อนไข BOI ผ่าทางตันเริ่มก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา รฟท.ทำหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อสอบถามว่า หากซี.พี.ยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รฟท. จะสามารถยกเว้นเงื่อนไขนี้ได้หรือไม่ โดยเป็นการดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุนที่ระบุว่า หากมีบางเงื่อนไขที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามได้ คู่สัญญาสามารถขอยกเลิกเงื่อนไขที่ทำไม่ได้ออกไปได้ ขณะนี้ยังรอการตอบกลับจากอัยการสูงสุดอยู่ ถ้าหากอัยการสูงสุดตอบกลับมาว่า สามารถกระทำได้ ก็จะดำเนินการส่งมอบหนังสือ NTP ให้ซี.พี.ได้ภายในเดือน ม.ค. 2567 ได้ทันที

ทั้งนี้ ทางฝั่งของซี.พี. หากกำหนดระยะเวลาการรับบัตรส่งเสริมการลงทุนหมดลง ก็จะต้องไปเริ่มกระบวนการขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ใหม่ ส่วนจะส่งผลกับ NTP หรือไม่ ต้องรอคำตอบจากอัยการสูงสุดที่ รฟท.ถามไปก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง หากอัยการสูงสุดเห็นด้วยกับสิ่งที่ รฟท.ขอไปก็ส่งมอบ NTP ได้ทันที แต่หากอัยการสูงสุดไม่เห็นชอบก็ต้องรอทาง ซี.พี.ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนต่อไป

เมื่อสื่อมวลชนถามว่า ถ้าหาก ซี.พี.ไม่ได้การส่งเสริมการลงทุน แต่ฝ่ายรัฐให้เริ่มก่อสร้างจะมีความเสี่ยงด้านเงินลงทุนของโครงการหรือไม่ เลขาธิการอีอีซีตอบว่า ซี.พี.สามารถยื่นขอ BOI ใหม่ได้ เพราะสิทธิทางภาษีเอกชนจะเริ่มได้เมื่อมีรายได้ในโครงการนี้เท่านั้น และถ้าได้ BOI ทางซี.พี.ก็จะสามารถออกไปเชื้อเชิญนักลงทุนมาร่วมได้ คาดว่า ซี.พี.จะขอ BOI ในเงื่อนไขเดิม ส่วนจะกระทบกับการหาเงินทุนของทางซี.พี.หรือไม่ ก็มีความเป็นไปได้ แต่ต่อไปอีอีซีก็กำลังจะออกกฎหมายที่สามารถขอสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในพื้นที่ของอีอีซี ซึ่งซี.พี.อาจจะมาขอสิทธิประโยชน์การลงทุนกับอีอีซีได้

@แก้สัญญาไฮสปีดต้องจบในเดือน ธ.ค. 2566
ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน นายจุฬาระบุว่า ที่ประชุมเห็นควรให้มีข้อสรุปภายในเดือน ธ.ค. 2566 นี้เช่นกัน โดยภายในวันที่ 13 ธ.ค. 2566 นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการ 3 ฝ่าย (รฟท. อีอีซี และซี.พี.) กัน สำหรับประเด็นที่จะมีการพูดคุยคือ การแก้ไขสัญญาในส่วนของการเพิ่มถ้อยคำเกี่ยวกับเหตุสุดวิสัย ซึ่งเป็นประเด็นทีผ่านบอร์ดอีอีซีเมื่อเดือน มี.ค.2566 ที่ผ่านมา หากไม่มีอะไรก็จะส่งสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป เมื่ออัยการสูงสุดตรวจแล้วเสร็จก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

เมื่อถามว่า การตรวจร่างสัญญาของสำนักงานอัยการสูงสุดจะเสร็จทันกำหนดส่งมอบหนังสือ NTP ที่วางไว้ในเดือน ม.ค. 2567 หรือไม่ เลขาธิการอีอีซีตอบว่า ไม่เกี่ยวกันโดยตรง เพราะสัญญาที่แก้เป็นการแก้ที่ไปได้อีก 40-50 ปีตามอนุสัญญาที่มี ซึ่งอยู่ที่ถ้อยคำอย่างเดียวว่า หากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ให้คู่สัญญาเจรจากันเท่านั้น ไม่ได้กระทบสาระสำคัญอะไรของสัญญาร่วมทุน

Liang101266 0.0

@NTP ช้า ไม่กระทบอู่ตะเภา
เมื่อถามอีกว่า หาก NTP ของรถไฟความเร็วสูงไม่สามารถส่งมอบได้ จะกระทบกับโครงการสนามบินอู่ตะเภาหรือไม่ โดยเฉพาะการประมูลโครงการก่อสร้างงานก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 2 และทางขับที่เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการส่งมอบ NTP สนามบินอู่ตะเภา นายจุฬาตอบว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะทางอู่ตะเภามีแผนประมูลไว้แล้ว แต่จะไปติดขัดในงานโครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟความเร็วสูงกับสนามบิน ที่ออกแบบไว้ในลักษณะลอดใต้รันเวย์ที่ 2 รูปแบบเดียวกับแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ที่ลอดใต้สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งก็ได้วางแผนรองรับไว้แล้วว่า จะให้เอกชนคู่สัญญากับสนามบินอู่ตะเภา ก่อสร้างโครงสร้างร่วมเอาไว้ แล้วเมื่อรถไฟความเร็วสูงพร้อมก่อสร้างมาเชื่อมก็จ่ายค่างานส่วนที่เหลือไป

@คมนาคม-รถไฟ ดูโครงสร้างร่วมบางซื่อ-ดอนเมือง แต่ไม่สรุปใครสร้าง
ขณะที่ประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง นายจุฬาระบุว่า ที่ประชุมมอบหมายกระทรวงคมนาคมและรฟท.เป็นผู้ดูแลแล้ว ส่วนจะหมายความว่าทาง รฟท.จะเป็นผู้ก่อสร้างเอง ไม่ใช่ ซี.พี.แล้วใช่หรือไม่ ยังไม่รู้ เพียงแต่ที่ประชุมให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ไปหาข้อยุติมา ซึ่งประเด็นนี้ไม่จำเป็นต้องได้ข้อยุติพร้อมๆกันประเด็น BOI และการแก้สัญญา เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับส่วนงานที่เหลือของโครงการ ตอนนี้งานหลักของโครงการคือการก่อสร้างตั้งแต่ช่วงมักกะสัน - สนามบินอู่ตะเภาก่อน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นโครงสร้างร่วมบางซื่อ - ดอนเมือง จะกลายเป็นประเด็นที่กระทบกับการส่งมอบ NTP หรือไม่ เพราะทางเอกชนก็สามารถอ้างได้ว่า พื้นที่ตรงนี้ยังไม่สรุป เท่ากับยังส่งมอบพื้นที่โครงการไม่ได้ 100% เลขาธิการอีอีซีตอบว่า ก็สามารถอ้างได้ แต่พื้นที่นี้ถ้าเอกชนจะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่ ก็ค่อยส่งมอบพื้นที่กันภายหลังได้ เพราะโครงการนี้ช่วงพญาไท - บางซื่อ ก็ยังอยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กบ้านราชวิถี และกำลังเคลื่อนย้ายท่อน้ำมัน (FPT) และท่อระบายน้ำ กทม. ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือน พ.ค. 2567 นี้

เมื่อถามว่า หาก รฟท.ก่อสร้างเอง จะต้องแก้สัญญาด้วยหรือไม่ เลขาธิการอีอีซีตอบว่า อาจจะเจรจากันใหม่ เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนของเอกชนไม่มีแล้ว แต่เบื้องต้นเงื่อนไขที่มอบหมายกระทรวงและรฟท.ไปดูจะต้องจบก่อน อาจจะคำนวณค่าก่อสร้างก่อนว่าเท่าไหร่ แล้วจึงหักออก จะออกไปในประเด็นการบริหารสัญญามากกว่า

โครงสร้างงานโยธาที่ใช้ร่วมกัน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง

@แอร์พอร์ตลิ้งค์ แก้สัญญาไปในคราวเดียวกัน
เมื่อถามอีกถึงการแก้ไขสัญญาที่มีประเด็นการรับมอบสิทธิ์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ ซึ่งมีกรณีการแบ่งจ่ายค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด นายจุฬาตอบว่า ก็จะแก้ไปในคราวเดียวกันกับการเพิ่มถ้อยคำเหตุสุดวิสัย โดยอาจจะรวมในบันทึกแนบท้ายสัญญาไป

สำหรับแนวทางการจ่ายค่าใช้สิทธิ์แอร์พอร์ตลิ้งค์ล่าสุดที่มีการหารือกัน ทางเอกชนจะต้องจ่ายรวบงวดที่ 1-3 (ระหว่างปี 2564-2566) เป็นก้อนเดียว ซึ่งงวดที่ 4-7 ซึ่งจะเริ่มจ่ายในเดือน ต.ค. 2567

@ประมูลรันเวย์ 2 ในธ.ค.นี้ เริ่มสร้าสนามบิน ม.ค. 67
เลขาธิการอีอีซี กล่าวต่อว่า โครงการที่สอง สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าโครงการ 290,000 ล้านบาท มีกองทัพเรือ (ทร.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) ที่มีบมจ.การบินกรุงเทพ (บางกอกแอร์เวย์ส), บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ร่วมลงทุน ประเด็นสำคัญคือ ภายในเดือน ธ.ค. 2566 นี้ ทางทร.จะออกประกาศร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) โครงการก่อสร้างงานก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 2 และทางขับ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา กรอบวงเงิน 16,493.76 ล้านบาท เพราะตามเงื่อนไขในการส่งมอบ NTP จะต้องเปิดประมูลโครงการนี้ก่อน โดยคาดว่าในเดือน ม.ค. 2567 จะส่งมอบ NTP ได้ เพราะตอนนี้กำหนดวันที่จะมีการวางศิลาฤกษ์แล้ว แต่ยังเปิดเผยไม่ได้


โครงการที่ 3 ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F มีการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล ประกอบด้วยบมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี, บจ.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล และบจ.เชค โอเวอร์ซี อินฟราสตรัคเจอร์ โฮลดิ้ง ในฐานะเอกชนร่วมลงทุน มีความคืบหน้าในภาพรวมที่ 14.84% ช้ากว่าแผน 1.81%

และโครงการที่ 4 ท่าเรือมาบตาพุตระยะที่ 3 วงเงินโครงการ 64,000 ล้านบาท มีการนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) เป็นเจ้าของโครงการ และมีบจ.กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล (GMTP) ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และบมจ. พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล เป็นเอกชนคู่สัญญา ตามแผนงานแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย

ช่วงที่ 1 การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ งานขุดลอกและถมทะเล งานระบบสาธารณูปโภค งานอุปกรณ์เดินเรือ และการพัฒนาท่าเรือก๊าซบนพื้นที่ 200 ไร่ วงเงินลงทุน 47,900 ล้านบาท ซึ่ง GMTP ทำสัญญางานออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC Contract) กับบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2564 มูลค่าโครงการ 10,500 ล้านบาท คืบหน้าแล้ว 69.64% ช้ากว่าแผน 2.01% ความล่าช้าเกิดจากความล่าช้าของการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุในการก่อสร้าง และความล่าช้าในการขนส่งหินอันเกิดจากสภาพคล่องทางของผู้รับจ้าง โดยที่ประชุมกำชับ กนอ.เพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการตรวจสอบ กำกับดูแล การดำเนินการตามมาตรการด้านความปลอดภัยในการก่อสร้าง และเร่งแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของผู้รับจ้างที่ทำให้การขนส่งหินเข้าโครงการล่าช้า และเร่งรัดงานก่อสร้างให้ทันตามแผน

และช่วงที่ 2 งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ติดตั้งอุปกรณ์ และการบริหารจัดการท่าเรือบริการสินค้าเหลว ซึ่งเอกชนจะได้รับสิทธิพัฒนาพื้นที่แปลง A พื้นที่ 200 ไร่ และแปลง C พื้นที่ 150 ไร่ วงเงิน 7,500 ล้านบาท เป็นระยะเวลาแปลงละ 32 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี และระยะเวลาประกอบธุรกิจ 30 ปี ปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ มีมติให้ กนอ. ทบทวนรายงานการศึกษาและ วิเคราะห์โครงการ และพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการต่อไป

Wisarut wrote:
ไฮสปีด 3 สนามบิน ต้องจบ ตอกเข็มปีหน้า!

ฐานเศรษฐกิจ
13 ธันวาคม 2566

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3948
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2023 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไฮสปีดไทย-จีน “กทม.-โคราช” คืบ 28.61% “สุรพงษ์” สั่งเร่งลุยเฟส 2
เดลินิวส์ 13 ธันวาคม 2566 17:22 น.
เศรษฐกิจ

"สุรพงษ์" จี้ รฟท. เร่งงานรถไฟไฮสปีดเฟส 1-2 คืบแล้ว 28.61% คาดพร้อมเปิดใช้บริการ "กรุงเทพฯ-โคราช" ปี 71 สั่ง รฟท. เร่งส่งอีไอเอให้ สผ. เดินหน้าไฮสปีดเฟส 2 ขณะที่ ก.พ. ปีหน้า เตรียมถกร่วมกับฝ่ายจีน ลุยขับเคลื่อนงานให้เสร็จอย่างสมบูรณ์

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พร้อมเร่งรัดการดำเนินการเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยได้เร่งรัดให้แล้วเสร็จตามแผนงาน และสามารถเปิดใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมกันนี้ให้เร่งดำเนินการในเฟส 2 ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบราง พัฒนาโครงข่ายคมนาคมของประเทศไทยเชื่อมโยงสู่เมืองหลักเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการเดินทางของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ และรองรับการขยายตัวของจังหวัดต่างๆ รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ รฟท. พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความระเอียดรอบคอบ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้ 1. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) งานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญา เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด ภายในปี 67 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวม 28.61% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 71

2. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จ โดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามประมาณเดือน ก.พ. 67 จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็ว สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2023 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเผยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะแรกพร้อมใช้ปี 71
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 - 19:44 น.

รมช.คมนาคม ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 คาดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา พร้อมเปิดใช้ภายในปี 71

วันที่ 13 ธันวาคม 256 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา พร้อมเร่งรัดการดำเนินการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย โดยมี นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหาร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม 6 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาคและ พลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานและสามารถเปิดใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมเร่งรัดการก่อสร้างในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบราง พัฒนาโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของประเทศไทยเชื่อมโยงสู่เมืองหลักเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า
และการเดินทางของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ และรองรับการขยายตัวของจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีการหารือติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงและโครงการในสัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนาม รวมถึงเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

1.โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร งานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด 14 สัญญา ภายในปี 2567 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวมร้อยละ 28.61 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

2.โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จโดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเสนอคณะกรรมการ รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับ การเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 31 อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่การประชุม โดยกระทรวงคมนาคมจะได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิดเพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็วสามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2023 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

“รฟท.” เลื่อนถกคณะกรรมการ 3 ฝ่าย เคลียร์ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ฐานเศรษฐกิจ
13 ธันวาคม 2566

“คมนาคม” ถก รฟท. เร่งสางปัญหาไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 ลุ้นลงนาม 2 สัญญา ภายในปี 67 ฟาก รฟท. เลื่อนถกคณะกรรมการ 3 ฝ่าย เคลียร์ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินวันพรุ่งนี้

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 เบื้องต้นที่ประชุมได้มีการหารือติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงและโครงการในสัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนาม รวมถึงเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

1. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร งานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด 14 สัญญา ภายในปี 2567 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวมร้อยละ 28.61 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

2. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จโดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเสนอคณะกรรมการ รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับการเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 31 อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่การประชุม โดยกระทรวงคมนาคมจะได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิดเพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็วสามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพต่อไป

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน สัญญา 3-5 โคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7,750 ล้านบาท ได้สั่งการให้รฟท.เจรจากับชาวบ้านและพิจารณาว่าทางเลือกใดจะมีความเหมาะสมทั้งเวลาและงบประมาณ เบื้องต้นจะเลือกแนวทางที่ 4 ซึ่งเป็นการก่อสร้างทางยกระดับ ระยะทาง 7.3 กม. คาดว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 67

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เร่งรัดการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน ให้เกิดขึ้นก่อนภายในปี 71 เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าชายแดนตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการเชื่อมเข้าสถานีนาทา CY จังหวัดหนองคาย พร้อมทั้งเร่งรัดโครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 ขณะนี้กรมทางหลวง (ทล.) ได้ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น วงเงิน 48 ล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้รฟท.จะรับไปดำเนินการออกแบบรายละเอียดและดำเนินการก่อสร้างต่อไป อย่างไรก็ตามจะนำข้อมูลในที่ประชุมครั้งนี้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย-จีน หรือ JC ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ต่อไป

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ที่ประชุมให้เร่งรัดใหดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 วงเงิน 2-3 พันล้านบาท ขณะนี้ รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการฯ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งจะใช้งบประมาณในการดำเนินงาน 25 ล้านบาท โดยคาดว่าจะใช้เวลาออกแบบประมาณ 1 ปี คาดว่าจะเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2568

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ในวันพรุ่งนี้ (14 ธ.ค.) เวลาประมาณ 10.00 น. จะมีการหารือร่วม 3 ฝ่าย ระหว่าง รฟท. ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และตัวแทนจากบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน จากเดิมที่จะมีการประชุมในวันนี้

“รฟท.มีแนวทางแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น หากการเจรจาร่วมกับภาคเอกชนยังไม่ได้ข้อสรุป ทาง รฟท.จะเดินหน้าลงทุนก่อสร้างทางร่วมช่วงดังกล่าวไปก่อน และเรียกเก็บค่าก่อสร้างจากเอเชีย เอรา วัน ในภายหลัง เพื่อให้งานก่อสร้างช่วงสัญญา 4-1 ไม่ล่าช้า”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47114
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2023 4:59 am    Post subject: Reply with quote

'รถไฟไทย-จีน'ช้า50% คมนาคมเร่งเปิดปี71
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, December 14, 2023 04:26

รถไฟไทย-จีนช้า50% คมนาคมเร่งเปิดปี71

ผู้จัดการรายวัน 360 - "คมนาคม" สั่ง รฟท.แก้ปัญหารถไฟ "ไทยจีน" เร่งปิดดีลอีก 2 สัญญาตอกเข็มในปี 67 เป้าเปิดบริการปี 71 เผยงานโยธาคืบหน้า 28.61% แต่ยังล่าช้าถึง 50% ปมสถานีอยุธยา และโครงสร้างร่วมไฮสปีด 3 สนามบินไม่จบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท พร้อมเร่งรัดการดำเนินการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยมี ผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้ติดตาม เร่งรัดการดำเนินการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค และผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ -นครราชสีมา ให้แล้วเสร็จตามแผนงานและสามารถเปิดใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมเร่งรัดการก่อสร้างในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา -หนองคาย ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดย ที่ประชุมได้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการในสัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนาม รวมถึงเร่งรัดให้การรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาแนวทาง แก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความละเอียดรอบคอบ

โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. มีงานโยธา 14 สัญญา โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมดภายในปี 2567 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวม 28.61% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

ส่วน โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะ ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม.ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จ โดย ที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม หรือ สผ. และเสนอคณะกรรมการ รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนต่อไป

ล่าช้ากว่า 50% เผย 2 สัญญายังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง

รายงานข่าวแจ้งว่า ภาพรวมการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2566 มีความก้าวหน้า 28.61% ซึ่งยังล่าช้ากว่าแผน 50.013% (แผนงาน 78.623%) โดยงานโยธา 14 สัญญาปัจจุบัน ก่อสร้างเสร็จแล้ว 2 สัญญาคือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง- ปางอโศก และสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ส่วนที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างมี 2 สัญญา คือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. เป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) รฟท.อยู่ระหว่างเจรจากับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) เอกชน คู่สัญญา แนวทางล่าสุด รฟท.จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างส่วนโครงสร้างร่วมทั้งหมด โดยจะหักค่างานโยธาออกจากสัญญาร่วมทุนฯ และรฟท.เองต้องเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างในส่วนของรถไฟไทย-จีนด้วย

และสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 10,325 ล้านบาท มีประเด็นเรื่องมรดกโลก ของสถานีอยุธยา อยู่ระหว่างดำเนินการด้าน HIA ขณะที่ รฟท. แก้ปัญหา โดยจะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งก่อน โดยอยู่ระหว่างเตรียมลงนามสัญญาจ้างผู้ รับเหมาที่ได้รับการคัดเลือกคือ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด

รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้ ยังมี สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ที่การก่อสร้างทำได้เพียง 5.472% เท่านั้น โดยล่าช้า ถึง 93.647% เนื่องจากมีประเด็นประชาชน ในพื้นที่ ต.บ้านใหม่ จ.นครราชสีมา เรียกร้อง ให้ปรับรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ซึ่งทำให้มีค่าก่อสร้างเพิ่มเกือบ 5 พันล้านบาท ที่ยังไม่มีการพิจารณาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา .

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 14 ธ.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2023 10:09 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รถไฟไทย-จีน'ช้า50% คมนาคมเร่งเปิดปี71
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันพฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 04:26 น.

รถไฟไทย-จีนช้า50% คมนาคมเร่งเปิดปี71

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 14 ธ.ค. 2566


ลิงก์มาแล้ว

ยิ่งสร้างยิ่งช้า! รถไฟไทย-จีนดีเลย์ 50% คมนาคมเร่ง 14 สัญญา ยังดันเปิดบริการปี 71
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:23 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:55 น.


“คมนาคม” สั่ง รฟท.แก้ปัญหารถไฟ "ไทย-จีน" เร่งปิดดีลอีก 2 สัญญาตอกเข็มในปี 67 เป้าเปิดบริการปี 71 เผยงานโยธาคืบ 28.61% ล่าช้าถึง 50% ปมสถานีอยุธยาและโครงสร้างร่วมไฮสปีด 3 สนามบินไม่จบ ปมใหม่ชาวโคราชร้องยกระดับสัญญา 3-5 ทำค่าก่อสร้างเพิ่ม
https://mgronline.com/business/detail/9660000111903

ใกล้สิ้นปีที่6ไฮสปีดไทยสายแรกสร้างได้28%ช้า50%
*รฟท.แก้ไขปัญหาในหลายสัญญายังไม่จบไม่สิ้น
*ปรับแบบเอาใจชาวบ้านร้องงบพุ่งกว่า4พันล้าน
*อีก5ปี(2571)ก็ต้องลุ้นจะเสร็จเปิดบริการได้มั้ย?

รถไฟไฮสปีดไทย-จีน “กทม.-โคราช” คืบ 28.61% “สุรพงษ์” สั่งเร่งลุยเฟส 2
เศรษฐกิจ
วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17:22 น.

"สุรพงษ์" จี้ รฟท. เร่งงานรถไฟไฮสปีดเฟส 1-2 คืบแล้ว 28.61% คาดพร้อมเปิดใช้บริการ "กรุงเทพฯ-โคราช" ปี 71 สั่ง รฟท. เร่งส่งอีไอเอให้ สผ. เดินหน้าไฮสปีดเฟส 2 ขณะที่ ก.พ. ปีหน้า เตรียมถกร่วมกับฝ่ายจีน ลุยขับเคลื่อนงานให้เสร็จอย่างสมบูรณ์



นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พร้อมเร่งรัดการดำเนินการเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยได้เร่งรัดให้แล้วเสร็จตามแผนงาน และสามารถเปิดใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมกันนี้ให้เร่งดำเนินการในเฟส 2 ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบราง พัฒนาโครงข่ายคมนาคมของประเทศไทยเชื่อมโยงสู่เมืองหลักเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการเดินทางของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ และรองรับการขยายตัวของจังหวัดต่างๆ รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต


นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ รฟท. พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความระเอียดรอบคอบ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้ 1. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) งานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญา เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด ภายในปี 67 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวม 28.61% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 71


2. โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จ โดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป


นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามประมาณเดือน ก.พ. 67 จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็ว สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป...
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/902605814649987


คมนาคมเผยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะแรกพร้อมใช้ปี 71
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 19:44 น.


รมช.คมนาคม ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1/2566 คาดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา พร้อมเปิดใช้ภายในปี 71

วันที่ 13 ธันวาคม 256 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา พร้อมเร่งรัดการดำเนินการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย โดยมี นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหาร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม 6 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม



นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาคและ พลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานและสามารถเปิดใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมเร่งรัดการก่อสร้างในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบราง พัฒนาโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของประเทศไทยเชื่อมโยงสู่เมืองหลักเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า
และการเดินทางของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ และรองรับการขยายตัวของจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต



นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีการหารือติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงและโครงการในสัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนาม รวมถึงเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

1.โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร งานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด 14 สัญญา ภายในปี 2567 ปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวมร้อยละ 28.61 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

2.โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จโดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ รฟท. นำส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเสนอคณะกรรมการ รฟท. อนุมัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป


สำหรับ การเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 31 อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่การประชุม โดยกระทรวงคมนาคมจะได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนอย่างใกล้ชิดเพื่อหาข้อสรุปการจัดทำรายงานผลดำเนินงานความคืบหน้าของโครงการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จโดยเร็วสามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพต่อไป

แก้ปัญหา 3 สัญญายังไม่จบ! รถไฟไฮสปีด “ไทย-จีน” เล็งปรับแบบ งบฯเพิ่ม 4 พันล้าน
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:06 น.


อัปเดทรถไฟไฮปีดไทย-จีน “กรุงเทพ-โคราช” ยังไม่ฉลุย ล่าช้า 50% เร่งสางปัญหา 3 สัญญา เอาใจชาวบ้านปรับแบบช่วงโคราช 7 กม. เป็นทางยกระดับ งบเพิ่มกว่า 4 พันล้าน ชงบอร์ด รฟท. เคาะ ม.ค.ปีหน้า ย้ำยังอยู่ในกรอบใหญ่ ใช้เงินที่เหลือจากการประมูลมาใช้ก่อสร้าง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. เวลาประมาณ 14.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน โดยการประชุมครั้งนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร(กม.) 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาในสัญญาที่ยังติดปัญหาอยู่ และไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ โดยเฉพาะสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม., สัญญาที่ 4-1ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3กม.

อย่างไรก็ตามก่อนการประชุมดังกล่าว รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างมีความคืบหน้า 28.61% ล่าช้ากว่าแผน 50.01% โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 9 สัญญา เตรียมเข้าพื้นที่ 1สัญญา และรอลงนาม 2 สัญญา ประกอบด้วย 1.สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว เตรียมลงนามสัญญาระหว่าง รฟท. กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้าง ภายในเดือน ธ.ค.66 วงเงิน 10,325 ล้านบาท จากนั้น รฟท. จะออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) เพื่อดำเนินการก่อสร้าง 

ส่วนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยานั้น ขณะนี้ รฟท. ได้รับรายงาน HIA ฉบับสมบูรณ์แล้ว จะเสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาภายในเดือน ธ.ค.66 ก่อนเสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณา หากมีคำแนะนำ หรือข้อเสนอให้ปรับแก้ไข รฟท. ก็ต้องดำเนินการปรับแก้ให้แล้วเสร็จ ก่อนเสนอไปยังองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสต่อไป 



และ 2.สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทางประมาณ 10 กม.นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินฯ ส่วนที่ก่อนหน้านี้มีแนวโน้มว่า รฟท. อาจจะสร้างในส่วนทับซ้อนเองนั้น ปัจจุบันยังไม่ได้สรุปวงเงินงบประมาณที่จะใช้ก่อสร้างว่าต้องเพิ่มขึ้นเท่าใด และยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า รฟท. จะเป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ ต้องรอเจรจาเรื่องการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ให้แล้วเสร็จก่อน อย่างไรก็ตามคาดว่าโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 71 


รายงานข่าวแจ้งต่อว่า อีก 1 สัญญาที่ยังมีปัญหาอยู่ ได้แก่ สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. วงเงินประมาณ 7,750 ล้านบาท ที่แม้จะลงนามสัญญาแล้ว แต่มีบางช่วงโดยเฉพาะบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ ระยะทางประมาณ 7.3 กม. ยังติดปัญหาไม่สามารถก่อสร้างได้ เนื่องจากยังมีการร้องเรียนของชาวบ้าน โดยอยากให้เปลี่ยนจากการสร้างทางระดับดิน เป็นทางยกระดับแทน ซึ่งเบื้องต้นมีแนวโน้มว่า รฟท. จะปรับเป็นทางยกระดับ โดยจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 4 พันล้านบาท 

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. เดือน ม.ค.67รฟท. จะเสนอขอความเห็นชอบในการเพิ่มงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ กว่า 4 พันล้านบาท ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป เบื้องต้นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในกรอบวงเงินโครงการ โดยจะนำเงินที่เหลือจากการประมูลมาใช้ในการดำเนินการก่อสร้างต่อไป  


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างแต่ละสัญญามีดังนี้ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. งานก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%, สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. เตรียมเข้าพื้นที่ก่อสร้าง, สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.2 กม. คืบหน้า 46.35%, สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.1 กม. คืบหน้า 38.48%,  


สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 69.11 กม. คืบหน้า 61.23%, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. คืบหน้า 5.47%, สัญญาที่ 4-2ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. คืบหน้า 0.25%, สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. คืบหน้า 23.04%, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย คืบหน้า 1.46%  สัญญาที่ 4-6ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. คืบหน้า 0.40% และสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.9 กม. คืบหน้า 48.39%

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/902605814649987
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 521, 522, 523 ... 578, 579, 580  Next
Page 522 of 580

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©