Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312060
ทั่วไป:13655230
ทั้งหมด:13967290
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 532, 533, 534 ... 580, 581, 582  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2024 11:26 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'บีโอไอ'ถกอีอีซี-รฟท. เร่งไฮสปีดจบในกุมภาฯ
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 05:44 น.
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


'ซีพี'ยื่นอุทธรณ์ส่งเสริมลงทุน'ไฮสปีดเทรน''บีโอไอ'ถก'อีอีซี-รฟท.'ก่อนเคาะขยายเวลา
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 04:41 น.


คาดได้ข้อสรุป ก.พ. แจงยังไร้แผนเลิกสัญญา

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 ก.พ. 2567


ลิงก์มาแล้วจ้า

‘บีโอไอ’ถกอีอีซี-รฟท. เร่งไฮสปีดจบใน กุมภาฯ

ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
“บีโอไอ” นัดถกอีอีซี.-รฟท. หลังเอกชนยื่นอุทธรณ์ขยายเวลาออกบัตรส่งเสริม อุ้มไฮสปีด ขีดเส้นต้องจบก.พ.นี้ ฟากอีอีซี เปิดเอกชนยื่นสิทธิประโยชน์ ยึดกฎหมายอีอีซี ตั้งเป้าลงนามแก้สัญญาฯ-ตอกเข็มปีนี้
https://www.thansettakij.com/business/economy/587831

"เอเชีย เอรา วัน" ดิ้นอุทธรณ์บีโอไอ ขอส่งเสริมลงทุนไฮสปีดเทรน รอบ 3
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

บริษัท เอเชีย เอรา วัน เอกชนคู่สัญญารัฐ สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ดอดยื่นขออุทธรณ์ขยายเวลาส่งเสริมลงทุน กับบีโอไอแล้ว หลังหมดอายุ เลขาฯบีโอไอรับพิจารณาคาดได้ข้อสรุป ภายใน ก.พ.2567 นี้

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องของการขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) มูลค่ากว่า 2.24 แสนล้านบาท ว่า ขณะนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด บริษัทเอกชนคู่สัญญากับรัฐในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ได้ยื่นขออุทธรณ์การไม่อนุมัติขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ต่อบีโอไอแล้ว

ทั้งนี้เอกชนให้เหตุผลว่าการแก้ไขสัญญาร่วมทุนในโครงการนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ และส่งผลในเรื่องการดำเนินโครงการต่อไป ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ บีโอไอ จะไปหารือในรายละเอียดเพิ่มเติมกับบริษัทเกี่ยวกับสถานะการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ และความจำเป็นในการขยายเวลา

พร้อมทั้งเชิญสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาหารือเพิ่มเติมถึงทางออกของปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาคำขออุทธรณ์ของบริษัท คาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 นี้



"เอเชีย เอรา วัน" ดิ้นอุทธรณ์บีโอไอ ขอส่งเสริมลงทุนไฮสปีดเทรน รอบ 3


"เอเชีย เอรา วัน ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากบีโอไอ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 โดยบริษัทมีการยื่นขอขยายเวลาการตอบรับมติให้การส่งเสริม และขอขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมมา 2 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องรอการแก้ไขสัญญาระหว่าง รฟท. และบริษัท โดยการขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 2 บริษัทต้องส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมภายในวันที่ 22 มกราคม 2567" นายนฤตม์ กล่าว

โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ผ่านมา บีโอไอได้หารือกับอีอีซี และ รฟท. ถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรเร่งรัดให้บริษัทดำเนินการตามโครงการโดยเร็ว หากบริษัทยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจะทำหนังสือสอบถามความเห็นจาก อีอีซีและ รฟท. ในฐานะเจ้าของโครงการ เพื่อประกอบการพิจารณา

นายนฤตม์ ระบุว่า เมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัทได้ยื่นขอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 บีโอไอจึงทำหนังสือสอบถามความเห็นจากทั้งอีอีซี และ รฟท. ซึ่งทั้งสองหน่วยงานให้ความเห็นว่า ความล่าช้าของโครงการจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมั่นของประเทศ โดยการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ไม่มีผลต่อการขอรับบัตรส่งเสริม



ด้วยเหตุนี้จึงควรเร่งรัดให้บริษัทส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมโดยเร็ว และไม่ควรขยายเวลาออกไปอีก ด้วยเหตุผลดังกล่าวบีโอไอจึงพิจารณาไม่อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ตามความเห็นของทั้งสองหน่วยงาน โดยได้แจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการภายในวันที่ 22 มกราคม 2567 ไปแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนด มีผลทำให้มติเดิมสิ้นสุดลง แต่บริษัทก็ยังคงมีสิทธิยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่จากบีโอไอเมื่อไรก็ได้หากมีความพร้อม และบีโอไอ จะพิจารณาให้โดยเร็ว เนื่องจากสาระสำคัญของโครงการไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีรายงานการวิเคราะห์เดิมอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้


Last edited by Wisarut on 07/02/2024 12:48 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2024 11:28 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวกับ Political football ระหว่า Asia Aera one vs. SRT เรื่องรถไฟความเร็วสูงสามสนามบิน
//-----------------------------------------------------

รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (มูลค่าโครงการ ราว 1.5 แสนล้านบาท) ดูท่าทาง ผู้ชนะประมูลโครงการ คงจะถอดใจแล้ว น่าจะอยากให้ รฟท. บอกเลิกสัญญา บัตรส่งเสริม จาก BOI หรือ EIA จะหมดอายุก็ไม่เป็นไร
ไม่ได้ที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันมาพัฒนาก็ไม่สนใจแล้ว จะเอา ARL กลับคืนก็ไม่เป็นไร เพียงหาทางแค่ไม่โดนปรับหรือถูกปรับให้น้อยที่สุดก็น่าจะพอใจ
-------------------------------------------------
อุปสรรคช่างดูมากมาย แต่พอที่จะวิเคราะห์เหตุผลสำคัญได้ เช่น
1. การก่อสร้าง รฟส. เชื่อม 3 สนามบิน จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างทางขึ้นมาใหม่ ไม่สามารถใช้ร่วมกับ โครงสร้างสายสีแดงและรถไฟทางไกลปัจจุบันได้ (เพราะเป็นระบบราง 1 เมตร มี 4 ทาง) และหากสร้างต้องออกแบบเผื่อสำหรับโครงการ รฟส. สายอีสาน สำหรับช่วง ดอนเมือง-บางซื่อ
อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนของโครงการ รฟส. สายเหนือ ที่ยังไม่มีการตัดสินใจ แต่ก็อาจเกิดขึ้นในอนาคต ข้อมูลการออกแบบนั้นไม่มีความชัดเจน ได้ข้อสรุปทางวิศวกรรมใดๆ
หากต้องสร้างขึ้นมา ก็อาจไม่สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม ต้องออกค่าใช้จ่ายล่วงหน้า แล้วถ้าโครงการไม่อนุมัติ หรือกว่าจะอนุมัติก็อีกหลายปี ต้องเก็บเงินจากใคร? กี่ปีจึงจะได้เงินคืนส่วนที่ออกแบบไว้เผื่อ?
ทั้ง 2 ประเทศตามข่าว ต่างฝ่าย ต่างมีเทคโนโลยีโครงสร้าง และ ระบบอาณัติสัญญาณของตนเอง การจะหากข้อตกลงร่วมดูจะมีความยุ่งยากซับซ้อนพอสมควร แม้ดูว่าเป็นราง 1.435 เมตร เช่นเดียวกัน แต่ก็คงไม่ง่ายอย่างที่คิดว่าจะเอาระบบของใครก็ได้ขึ้นไปบนโครงสร้างเดียวกัน
เขตทางรถไฟ ปัจจุบัน ก็ถูกใช้ไปแล้วกว่าครึ่ง เพื่อเป็นโครงสร้างของรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟธรรมดา เหลือเพียงพื้นที่คร่อมเสาตอม่อของโครงการโฮปเวลเดิม การสร้างต้องมีข้อสรุปด้านวิศวกรรมโยธาเกี่ยวกับโครงสร้างของราง รฟส. ที่ต้องใช้ร่วมกันให้ได้กับทุกฝ่าย ทั้งสายเหนือ สายอีสาน หรือ กระทั่ง รฟส.เชื่อมสามสนามบิน
หากวางแผนก่อสร้าง ซ้ำซ้อน ไม่อยากจะคิดถึงว่า ชาว ดอนเมือง หลักสี่ จตุจักร จะต้องเจอการก่อสร้างซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่จบสิ้น โดยเฉพาะผลกระทบระหว่างการก่อสร้างไม่น้อย
2. การเดินรถมีความทับซ้อนในการเดินรถบนเส้นทางเดียวกันกับทั้ง ARL เดิม และ สายสีแดง
เส้นทางเดินรถทับซ้อน รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต-บางซื่อ, ทับซ้อน ARL พญาไท-สุวรรณภูมิ ยังไม่รวมการทับซ้อนกับรถไฟธรรมดาสายตะวันออกอีก
ตามแผนงานการสร้างรถไฟฟ้า หากโครงการสร้าง Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก ถูกอนุมัติ ก็ยิ่งทับซ้อนในเชิงโครงสร้างเข้าไปอีกบนเขตทางรถไฟ
แม้ว่า ตอนแรกผู้ชนะประมูล อยากจะใช้โครงสร้างของ ARL จะได้ไม่ต้องสร้างใหม่ช่วงในเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงสร้างนี้ อาจะไม่เหมาะกับการนำมาใช้อย่างแท้จริง หรือ ต้องปรับปรุงอย่างมากโดยมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะโครงสร้างรองรับความเร็วสูงสุดน่าจะไม่เกิน 200 กม./ชม. แต่ รฟส. ตั้งใจจะใช้ความเร็วสูงสุดถึง 250 กม./ชม. ซึ่งโดยปกติ โครงสร้างจะต้องแข็งแรงกว่า นั่นหมายความว่า การวิ่งรถบนโครงสร้างเดิมหากทำได้ต้องลดความเร็ว
อีกทั้งต้องเจอ Time Slot ที่ค่อนข้างถี่ของ ARL ทุก 10-15 นาที ต่อขบวน การเดินรถอาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด ARL น่าจะต้องหลีกขบวนให้ ทุกวันนี้ ต่อแถวรอกันในชั้นขายตั๋วไม่ได้ขึ้นไป ชานชลา ก็เสียเวลากันมากพอสมควรแล้ว ในชั่วโมงเร่งด่วน เพราะผู้โดยสารบนชั้นชานชลาเต็ม
3. ประมาณการณ์ความเติบโตทางเศรษฐกิจ จำนวนผู้โดยสารที่คาดหวังจะไม่ถึงเป้าหมาย มีความสุ่มเสี่ยงสูงมากที่จะขาดทุนมากกว่าจะได้กำไร ตัวเลขประมาณการณ์ของคนชงโครงการ มักจะประเมินออกมาสูงมากเกินจริงเสมอ เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นให้ได้ EEC ไม่โตตามคาด
สนามบินอู่ตะเภาก็ไม่ได้บริหารโครงการ แต่เป็นผู้ประกอบการอีกรายที่ชนะประมูล ผลที่เกิดขึ้นดูผิดทิศผิดทางไปทั้งหมด ไม่เป็นไปตามคาดหวัง
วิเคราะห์ตามสถานการณ์ แล้ว น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่อยากจะยกเลิก
------------------------------------------------------
ข้อคิดเห็น หากโครงการล้มไป รัฐบาล น่าที่จะพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของโครงการใหม่ ในเวลาที่คิดริเริ่มโครงการ อาจมีความเป็นไปได้ แต่ใน ปัจจุบัน อาจช้าเกินไป หรือไม่เหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน
การทบทวน ยกเลิก ไม่ใช่เป็นเรื่องน่าอายแต่อย่างใด สภาพปัจจุบัน มีเพียงแค่การเวนคืนพื้นที่และส่งมอบพื้นที่ให้แล้วเกือบครบ แต่ยังไม่มีการเริ่มลงมือก่อสร้างแต่อย่างใด การยกเลิก ความเสียหายยังไม่มาก
ส่วนตัวแล้ว คิดว่าอาจเป็นการดีที่โครงการไม่ได้ไปต่อ ไม่ใช่ว่าจะขัดขวางการพัฒนาประเทศ แต่อาจได้โอกาสใหม่กลับมาทบทวนทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและคุ้มค่ากว่า ดีกว่า จากปัจจุบันนี้ เช่น
1. รัฐบาล โดย คมค. น่าเปลี่ยนรูปแบบของโครงการ เช่น
การขยาย ARL จาก พญาไท ไปถึง บางซื่อ เพื่อเชื่อมต่อกับ สายสีแดงที่ สถานีกลางฯ หรือ ขยายสายสีแดงจากสถานีกลางมาถึง พญาไท (Missing Link เดิม)
รูปแบบที่ส่วนตัวเห็นว่าดีที่สุดคือ ขยาย รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-พญาไท เพื่อให้ระยะทางเดินรถยาวขึ้น เชื่อมต่อ ฝั่งตะวันตกและตะวันออก เนื่องจากปริมาณ ผดส. สายสีแดงอ่อน มีน้อยมาก อาจถึงขั้นขาดทุนทุกเที่ยวขบวน การเชื่อมมาถึงพญาไท น่าจะช่วยสร้างรายได้ได้มากพอสมควร
ทั้งสองรูปแบบ ดูจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่า และเป็นไปได้มาก ถ้ารีบลงมือก่อสร้าง ระยะเวลาไม่น่าเกิน 4 ปี โดยเพิ่มเติมแค่ 4 สถานี ได้แก่ สามเสน รามาธิบดี และสถานีเชื่อมต่อพญาไท กับ BTS และ ARL บริเวณ ชุมชนบุญร่มไทรเดิม
เพียงแค่นี้จะอำนวนความสะดวกสำหรับผู้โดยสารจาก สนามบินดอนเมือง หรือจากสถานีกลางฯ ไปยังรถไฟสายตะวันออก หรือ สนามบินสุวรรณภูมิได้ เร็วพอสมควรเช่นกัน
ความเร็วในการเดินรถไฟฟ้าในเมือง เหมาะสมแล้ว ซึ่งต่อให้เป็น รฟส. ถ้าวิ่งผ่านเขตเมือง ต้องชะลอความเร็ว เช่น ผ่านหลังโรงพยาบาลรามาธิบดี และบริเวณชุมชนยมราช สวนจิตรดา
นอกจากนี้ยังต้องสร้างโดยเจอเรื่องของความโค้งชันพอสมควร บริเวณถนน พระราม 6 ใกล้ชุมชน ยมราช
โครงการนี้ น่าจะไม่เกิน 7-8 พันล้าน เต็มที่คือราว 1 หมื่นล้านบาท (เทียบกับสายสีแดง ศิริราช-ตลิ่งชัน ประมาณ 5-6 พันล้าน) ระยะเวลาการก่อสร้างไม่น่าเกิน 3 ปี เป็นอย่างช้า ก็ได้ใช้งานแล้ว
2. การปรับรูปแบบของโครงการ ยังได้ประโยชน์สำหรับ ผู้โดยสารในเมือง ที่จะเชื่อมต่อการเดินทาง ฝั่งเหนือและตะวันออกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ผ่านจุดสำคัญกลางเมือง ไม่ต้องหวังพึ่งรายได้จาก นักท่องเที่ยวหรือคนเดินทางเป็นหลัก แต่เก็บค่าโดยสารเสมือนรถไฟฟ้า mainline ได้โดยตรง
ซึ่งน่าจะทำให้ รฟฟท. บริษัทลูกของ รฟท. ได้ มีโอกาสสร้างรายได้ให้ตนเอง และ ได้ ARL กลับคืนมา เป็นของตัวเอง ซึ่งตอนนี้ ARL กำลังสร้างรายได้ (เกือบ 2 ล้านเที่ยวคน/เดือน)
3. ถ้าต้องการพัฒนาระบบรางให้ทันสมัย เพื่อพัฒนา เขต EEC จริง ทางเลือกก็ยังมี เช่่น
การพัฒนา รถไฟสายตะวันออก ให้ระบบรางรองรับ 2 ระบบ คือ รถไฟธรรมดา (น้ำมัน) และรถไฟฟ้าแบบ EMU (แบบสายสีแดง ) น่าจะใช้งบก่อสร้างต่ำกว่ามาก
การติดตั้งระบบจ่ายไฟเหนือศรีษะไปกลับ รวมสถานี Substation 25 kV ทุกๆ 50 กม. ที่เคยมีการศึกษากันไว้คือ 50 ล้านบาท/กม. ระยะทางทั้งสิ้น ราว 200 กม. จะใช้เงิน ราว 2-3 หมื่นล้าน สำหรับโครงสร้าง และ รวมรถโดยสารแบบ EMU เต็มที่น่าจะราว 5 หมื่นล้านบาท (โครงการ รฟส. 3 สนามบิน 1.5 แสนล้าน ซึ่งแพงกว่าราว 300%)
ซึ่งโดยข้อมูลทางวิชาการแล้ว รถประเภท EMU ราคารถจะถูกกว่าประเภท DMU ค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า แต่ต้องลงทุนระบบโครงสร้างคือระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศรีษะ และเหมาะกับเส้นทางที่มีการเดินรถค่อนข้างสูงหรือต้องการเพิ่มปริมาณขบวนรถในระบบ
ถ้าเกิดขึ้นได้จริง ก็จะได้ระบบ EMU เกือบเต็มระบบของสายตะวันออกที่จะไปทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง หรือ อู่ตะเภา ในปัจจุบัน
การก่อสร้าง สามารถสร้างได้เร็วกว่า เพราะส่วนใหญ่คือการติดตั้งเสา ระบบจ่าย และก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ไม่รบกวนการเดินรถมากนัก อาจต้องมีการเติม Barrier กั้นรถตัดผ่านทางเข้ามาในระบบ หรือ สะพานข้าม อุโมงค์ลอดผ่าน แต่ก็ยังถือว่า ถูกกว่ามากอยู่ดี
รถไฟฟ้า สามารถ ทำความเร็วได้สูงสุด 120-160 กม./ชม. ได้ เพียงพอต่อการเดินทางระยะทางไม่เกิน 200 กม. ของสายตะวันออก ได้รวดเร็ว ค่าโดยสารน่าจะถูกกว่า รฟส. ถ้าใครเคยนั่งสายสีแดง ความเร็วทำได้ถึง 140 กม/ชม. ในช่วงให้บริการ (ในช่วงทดสอบระบบอาจมากกว่านั้น) แม้กระทั่ง ARL เองก็ทำได้ เพราะออกแบบไว้ถึง 160 กม/ชม.
นอกจากนี้ ยังสามารถนำรถไฟประเภท EMU มาใช้ในสายชานเมืองฝั่งตะวันออกหรือ รถระยะทางสั้น เช่น บางซื่อ/หมอชิต-ชลบุรี มาให้บริการ ผดส. ได้
สามารถมีทางเลือกในการนำหัวรถจักรไฟฟ้ามาใช้ลากตู้สินค้า จาก แหลมฉบัง-ลาดกระบัง เพื่อลดต้นทุนค่าพลังงานลากจูงได้ รวมถึงประโยชน์ในการลดภาวะทางอากาศในเขตเมือง และ การปลดปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งทางราง
หากระบบ EMU เกิดขึ้นได้ในสายตะวันออก อนาคต การขยายระบบไปยังเส้นทางรถไฟชานเมืองตามทิศทางต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น บางซื่อ-หัวหิน, บางซื่อ-ภาชี เป็นต้น
4. หากเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการ สมมุติว่า ใช้เงินเพื่อ
4.1 สร้าง รถไฟฟ้าสายสีแดงจาก บางซื่อ-พญาไท วงเงินแบบมีแต่สร้างโครงสร้าง เสา ราง และอาณัติสัญญาณเพิ่ม (รถไม่ต้องซื้อมีอยู่แล้ว) สมมุติ 1.5 หมื่นล้านบาท
4.2 ติดตั้งระบบ OCS จ่ายไฟฟ้าเหนือศรีษะ 200 กม. น่าจะราว 4-5 หมื่นล้านบาท
4.3 จัดหารถ EMU มาใช้ น่าจะราว 1 หมื่นล้านบาท
รวมแล้วใช้เงิน ไม่เกิน 7-8 หมื่นล้านบาท (พอกับโครงการรถไฟฟ้า monorail หนึ่งโครงการ 30 กม. ใน กทม.)
จะเห็นว่า ถูกกว่า รฟส. กว่าครึ่ง วงเงินเหลือขนาดนี้ โครงการจัดหารถดีเซลราง 184 คัน ประมาณ 1 หมื่นล้าบาท ก็สบายมาก จะซื้อเพิ่มเป็น 300-400 คัน ก็ใช้ไม่น่าเกิน 2 หมื่นล้านบาท หรือจะใช้ คิดจากการใช้เต็มวงเงินโครงการที่ 1.5 แสนล้าน ก็จะได้ รถโดยสารชั้น 2 ชั้น 3 ปรับอากาศ มาทดแทนเกือบทั้งระบบ
นอกจากนี้ หากทุกโครงการ คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมเป็นความสำคัญด้วยในทุกการตัดสินใจก็จะดีมาก
--------------------------------
ทั้งหมดเป็น คหสต.ของประชาชนผู้ใช้บริการเท่านั้น ผู้โพสต์ไม่ได้เก่งมาจากไหนเพื่อไปบริหารเอง
ขอความกรุณาแสดงความเห็นด้วยความสุภาพและสร้างสรรค์ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็โปรดแสดงถึงเหตุผล
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์ วิกิพีเดีย และ IJR
https://www.facebook.com/groups/480643532545009/posts/1630161560926528/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2024 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
7 ก.พ. 67 11:06 น.

ความคืบหน้างานเจาะเข็มย่านชุมชนประสพสุข คืบหน้าไปแล้ว 10% **แจ้งไปยังประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าว ห้ามเดินเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้างขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานนะคะ เพราะเวลาที่เครื่องจักร์ทำงานอยู่วิสัยทัศน์ในการมองเห็นจะมองเห็นแค่ฝั่งเดียว และอย่าเดินไปส่องดูบ่อเข็มเจาะเด็ดขาด**

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=370566969015074&id=100081853208848


กุดจิกกำลังสร้างสถานีใหม่ ทางรถไฟความเร็วสูง โคกสะอาด-สูงเนิน-กุดจิก
Max Puttipong
Feb 7, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=6CQ8Cupctao


น่าหวาดเสียว ทางรถไฟความเร็วสูงข้ามเมืองสระบุรี งานก่อสร้างติดทางรถไฟเลย #สถานีรถไฟสระบุรีหลังใหม่
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Feb 7, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=Q361Z44sk7I
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2024 1:49 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินล่าช้า จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาหวั่นกระทบ EEC
TOP NEWS
Feb 8, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=ndRT9wXT-9E

หลายคนๆ อาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ถึงไม่เดินหน้าซักที มาในโพสต์นี้ เราจะมาสรุปให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่าในปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว และมีแววที่จะสร้างได้เมื่อไหร่กัน ทั้งนี้จากข้อมูลที่สรุปมา ถ้าผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
.
ก่อนอื่นเลย เราจะมาแนะนำ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมหน้าที่ที่ต้องทำของแต่ละหน่วยงานให้ฟังกันแบบคร่าวๆ ครับ
.
1. คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งประกอบด้วยคณะ ครม. มีหน้าที่ทั้งกำหนด แก้ไข ดูแล รวมไปถึงอนุมัติ แนวทางและแผนงานของโครงการ

2. การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีหน้าที่เวนคืนที่ดิน เคลียร์พื้นที่สำหรับการก่อสร้างให้เอกชน

3. บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กลุ่ม C.P. มีหน้าที่หลักคือดำเนินการก่อสร้างโครงการ

4.สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI คอยทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน ในสิทธิประโยชน์ด้านภาษี อาทิ งดเว้นภาษีถึง 13 ปี และลดหย่อนภาษีให้อีก 50%
.
ในระยะเวลาที่ผ่านมานับจากวันลงนามสัญญา เมื่อปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ทาง รฟท. ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับ กลุ่ม C.P.
ส่วนนอกเมืองช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ส่งมอบแล้ว 100% สามารถเตรียมงานก่อสร้างได้เลย
ส่วนในเมือง ช่วงดอนเมือง - พญาไท ปัจจุบันคืบหน้า 97.21% อยู่ระหว่างรื้อย้ายงานระบบต่างๆ คาดว่าจะส่งมอบทั้งหมดได้ใน พ.ค. 2567
_______________________________

ทุกท่านจะสังเกตุเห็นว่าการส่งมอบพื้นที่ในตอนนี้ก็เกือบครบ 100% แล้วทำไมถึงยังไม่เริ่มก่อสร้างซักทีล่ะ ?? เราขออธิบายสถานการณ์ล่าสุดของโครงการนี้ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่าทำไมถึงยังไม่เริ่มสร้าง
.
ณ ตอนนี้จะมี 4 ประเด็นหลักที่อยู่ในขั้นตอนรอพิจารณาจากคณะกรรมการกำกับดูแล
.
ในประเด็นแรกเรื่องเกี่ยวกับการมีบัตรส่งเสริม BOI #ล่าสุด ทางสำนักอัยการสูงสุด ได้ตอบกลับเงื่อนไขสำหรับการให้ กลุ่ม C.P. จะสามารถก่อสร้างโครงการได้ จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เสียก่อน เพื่อให้ทาง รฟท. สามารถส่งหนังสือ NTP ให้กับทาง กลุ่ม C.P. เริ่มก่อสร้างได้
.
ก่อนหน้านี้บัตรส่งเสริมการลงทุนของ กลุ่ม C.P. หมดอายุไปเมื่อ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ต้องต่ออายุบัตรกับทาง BOI ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ BOI ด้วย โดยมีสิทธิขอยื่นบัตรส่งเสริมการลงทุนต่อ BOI ได้ 3 ครั้ง ขณะนี้ได้ยื่นไปแล้ว 2 ครั้ง
_____________________________

ประเด็นต่อมาคือเรื่องการเพิกถอนลำรางสาธารณะ บนที่ดินมักกะสัน ที่ทาง รฟท. จะต้องขอถอนสภาพลำรางนี้ให้เรียบร้อย ก่อนจะส่งมอบพื้นที่ให้ กลุ่ม C.P.
.
ซึ่งสถานการณ์ #ล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนกำลังรอพิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ
.
ในอนาคตถ้าลำรางสาธารณะได้รับการเพิกถอนแล้ว ทางกลุ่ม C.P. จะต้องจดทะเบียนสิทธิเช่าพื้นที่ TOD มักกะสัน ทาง รฟท. ถึงจะออกหนังสือ NTP ให้เริ่มการก่อสร้างได้ ซึ่งจะเป็นไปตามที่สัญญาเดิมที่ระบุไว้
_________________________________

ประเด็นที่ 3 และ 4 เกี่ยวกับการร่างสัญญาใหม่
.
ประเด็นที่ 3 จะเป็นเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง
.
#ล่าสุด ได้ข้อสรุปแล้วว่าทาง กลุ่ม C.P. จะเป็นผู้ก่อสร้างเอง โดยจะต้องสร้างให้สอดคล้องกับทางมาตรฐานจีนที่รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วย
.
ทาง กลุ่ม C.P. เคยยื่นข้อเสนอขอให้รัฐจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะทางบอร์ด ECC ไม่เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว ทาง รฟท. จึงขอให้ทาง กลุ่ม C.P. ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมมาใหม่ ซึ่งในปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญาครั้งใหม่
_________________________________

ประเด็นสุดท้ายคือการแก้ไขสัญญาเรื่องการชำระค่าสิทธิเข้าไปบริหาร Airport Rail link
.
ซึ่งสัญญาเดิมกำหนดให้ทาง กลุ่ม C.P. ชำระงวดเดียว 10,671 ล้านบาท ส่วนสัญญาใหม่จะให้ กลุ่ม C.P. แบ่งการชำระออกเป็น 7 งวด ในเวลา 7 ปี โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 1,067 ล้านบาท และงวดที่ 7 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญาครั้งใหม่เช่นเดียวกับประเด็นที่ 3
.
ในอนาคต หากมีการลงนามแก้ไขสัญญาแล้วเสร็จ ทางเอกชนจะต้องชำระค่าสิทธิบริหาร Airport Rail link จำนวน 3 งวดย้อนหลัง วงเงินประมาณ 3,000 ลบ. อีกด้วย
___________________________________

ทั้ง 4 ประเด็นนี้ ทางคณะกรรมการกำกับดูแล ได้นัดประชุมหารือกันในช่วงกลางเดือน ก.พ. 67 นี้ เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการได้ข้อยุติ และต่อยอดไปสู่ขั้นตอนการลงนามสัญญาใหม่ ที่ตามแหล่งข่าวระบุไว้ว่า จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. 67 นี้ และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้
.
เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงคาดหวังว่าภายในปีนี้ จะได้เห็นโครงการนี้เดินหน้า ให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจากที่รอกันมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ถ้าหากมีการอัพเดตเพิ่มเติมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทาง Realist จะรีบมาเอามาเล่าให้ฟังกันอีกนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 2:31 pm    Post subject: Reply with quote

#เดทไลน์5มีนาคมนี้ต้องย้ายออก ที่บริเวณอาคารตึกข้าง “สถานีรถไฟโคราช” เยื้องโรงเรียนมารีย์วิทยา อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา กำลังรื้อตัวอาคารจากด้านในมาถึงด้านหน้าฝั่งริมถนนมุขมนตรี และเตรียมแท่งแบริเออร์กั้นพื้นที่แล้ว! เพื่อเตรียมสร้าง “สถานีรถไฟความเร็วสูง” โฉมใหม่!
.
โดยล่าสุด! “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ติดประกาศข้อความหน้าร้านค้าที่ยังมีผู้อยู่อาศัยว่า “การรถไฟฯ ตรวจสอบแล้วขอเรียนว่าปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และทางการรถไฟฯ ได้ทําหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2565
.
จึงขอแจ้งให้ท่านขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของผู้ให้เช่า และให้ท่านส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวคืนให้กับการรถไฟฯ ในสภาพเรียบร้อย ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2567 โดยท่านสามารถติดต่อคืนได้ที่วิศวกรกํากับการกองบำรุงทางเขตสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 044-300932
.
หากท่านไม่ดำเนินการให้เป็นที่เรียบร้อย การรถไฟฯ จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายจากท่านต่อไป
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/694941036136098
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2024 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

มาแล้วโคราช รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เคลียร์พื้นที่ในย่านสถานีก่อนแล้ว
Max Puttipong
Feb 8, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=Y3VYetc9VgQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2024 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
มาแล้วโคราช รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เคลียร์พื้นที่ในย่านสถานีก่อนแล้ว
Max Puttipong
Feb 8, 2024

https://www.youtube.com/watch?v=Y3VYetc9VgQ


เริ่มก่อสร้างสถานีนครราชสีมาแล้วจ้า รถไฟความเร็วสูงไทยจีน [สัญญาที่3-5] วันนี้ที่ทุกคนรอคอยมาถึงแล้ว

nanny official
9 ก.พ. 2024
#รถไฟความเร็วสูง #รถไฟความเร็วสูงไทยจีน #สถานีนครราชสีมา
สัญญาที่ 3-5 เป็นงานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ เริ่มตั้งแต่ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมาด้วย ระยะทางประมาณ 13.69 กิโลเมตร หรือ ประมาณ 8.51 ไมล์ งบประมาณในการก่อสร้าง 7,750 ล้านบาท ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 5.30%
https://www.youtube.com/watch?v=vOi_wO0X6U4
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2024 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
9 ก.พ. 67

ทางโครงการได้เข้าพื้นที่ด้านหลังสถานีรถไฟ เพื่อทำการขยับรั้วลานจอดรถจักรยานยนต์ที่กีดขวางงานรื้อย้ายรางประธานใหม่

https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=371792842225820&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2024 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

อุโมงค์คลองไผ่ 1 ใน 4 ของอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง และยาวที่สุด 4,100 เมตร
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Feb 9, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=9mECLTBgqnc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2024 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ขี่พายุ ทะลุฟ้า: ชดเชยด้วยไฮสปีดเทรนเถอะ
Source - ข่าวหุ้น
Friday, February 09, 2024 05:40

ประเทศนี้แปลกแฮะ! นายกรัฐมนตรีปรารภไม่เห็นด้วยกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งตัวแทนระดับผู้ช่วยผู้ว่าการฯ ออกมาแถลงข่าวตอบโต้นายกฯ อย่างเป็นทางการ

ผู้ว่าการธปท.ไปไหน ควรต้องให้เกียรตินายกรัฐมนตรีมากกว่านี้สักหน่อยนะ

ประเทศนี้สุดยอดแห่งความแปลก มีศาลปราบโกง และองค์กรอิสระปราบโกง กระทั่ง “นักร้องปราบโกง”ยุบยับมากมายไปหมด แต่ปัญหาการทุจริต กลับมิได้ลดน้อยถอยลงเลย

การทุจริตคอรัปชั่นมีกันถ้วนทั่วทุกกระทรวงทบวงกรม ทุกเทศบาล อบต. อบจ.กรมตำรวจ แม้กระทั่งองค์กรนิติบุคคลที่ใช้เงินเอกชนล้วน ก็ยังโดนรีดไถ

อันดับการทุจริตคอรัปชั่นของประเทศไทย ที่จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ตกอยู่ในความเลวร้ายมาตลอด

ในช่วง 5 ปีมานี้ (2562-2566) อันเป็นช่วงที่โปร-ปะ-กัน-ดากันสุดเหวี่ยงว่า ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง เกิดองค์กรอิสระและศาลยุติธรรมที่ชูป้ายนิติรัฐ นิติธรรม คุณธรรมมากมาย แต่อันดับคอรัปชั่นไทยหลุดอันดับ 100 จาก 180 ประเทศมาตลอด

ติดอันดับ 101-104-110-101 และ 108 ตามลำดับในปีล่าสุด คะแนนที่ได้รับ เต็ม 100 ก็วนเวียนอยู่แค่ 35-36 คะแนนแค่นี้แหละ

หดหู่เหลือเกิน ไม่เห็นสมราคาคุยว่ามีเครื่องมือและองค์กรปราบโกงมากมาย เห็นแต่ “ปีศาจในคราบนักบุญ”

นโยบายดิจิทัล วอลเล็ตของรัฐบาลที่หาเสียงและแถลงไว้ต่อรัฐสภา ในที่สุดแล้วก็คงไม่ได้ทำ เพราะหน่วยงานปราบโกงอย่างป.ป.ช. ออกมาแถลงความเสี่ยงสารพัด 8 ข้อทั้งข้อกฎหมาย ความคุ้มค่าโครงการ ปัจจัยสุ่มเสี่ยงทุจริตเชิงนโยบาย ฯลฯ

อีกทั้งยังเลคเชอร์สอนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ อะไรเป็น “วิกฤต” อะไรเป็นเศรษฐกิจ “ชะลอตัว” เสียอีก ผมว่า รัฐบาลคงไม่กล้าบ้าบิ่น เดินหน้าโครงการดิจิทัล วอลเล็ตหรอก เป็นได้ “ติดคุก” แน่นอน องค์กรอิสระในนามคุณธรรมและปราบโกงทั้งหลาย ตั้งท่ารอลับ “มีดสังหาร” ไว้อยู่แล้ว

รัฐบาลเสียเวลากับดิจิทัล วอลเล็ตมานานมากแล้ว ถือเป็นการ “ใช้เวลาไม่คุ้มค่า” อีกโครงการหนึ่งคือ “แลนด์บริดจ์” ก็คาดว่า คงจะล้มเหลวไม่ได้ทำแน่นอน เพราะความระส่ำระสายของระบบบริหารราชการแผ่นดินอันไม่เป็นสากลเยี่ยงนี้

เดินตามแนวทางบริหาร “แนวลุงตู่” รับรองอยู่รอดปลอดภัย ไม่ติดคุกแน่นอน

ดิจิทัล วอลเล็ตไม่ได้แจกเงิน 5 แสนล้าน ก็งัดโครงการแจกเงินแบบลุงตู่ที่เน้นกลุ่มเปราะบาง และไม่เล่น ”ท่ายาก” โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน ไม่ออกเป็นพ.ร.บ.สิครับ

รถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่เคยโดนห้ามสมัยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไป แต่พอ “ลุงตู่” ขึ้นมาสบายบรื๋อ สายอีสานให้จีนทำ สายเหนือให้ญี่ปุ่น สายอีอีซีให้ซีพีทำ ส่วนสายใต้จำไม่ได้ให้ใครทำ

ถนนลูกรังยังไม่หมด ก็ทำได้สบายบรื๋อล่ะกัน ขึ้นกับว่าใครทำ

การมีรถไฟความเร็วสูงครบทั้ง 4 เส้นทาง ไม่เพียงแต่เพิ่มทางเลือก และเพิ่มความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทาง แต่ยังเป็นการยกระดับปรับเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากรทั้งประเทศอีกด้วย และสร้างการกระจายตัวทางเศรษฐกิจไปในตัว

นอกจากนั้น ยังเป็นการนำพาประชาชนเข้าสู่เศรษฐกิจระบบใหม่ในยุคดิจิทัล ที่สามารถสร้างงาน สร้างเงิน ปฏิบัติภารกิจในสายงานอาชีพพร้อมไปกับการเดินทาง โดยผ่านคลื่นความถี่ความเร็วสูงระดับ 5จีขึ้นไป ซึ่งย่อโลกย่อประเทศไทยเข้าหากันอย่างง่ายดาย

รถไฟความเร็วสูง ก็เป็นความจำเป็นของประเทศเช่นกันนะครับ นายกฯ เศรษฐา เร่งทำเข้าไปเถอะ ไม่เสียเวลาและไม่ติดคุกแน่นอน

ชาญชัย สงวนวงศ์

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 9 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 532, 533, 534 ... 580, 581, 582  Next
Page 533 of 582

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©