Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311846
ทั่วไป:13542472
ทั้งหมด:13854318
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46657
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2024 8:25 am    Post subject: Reply with quote

เคาะผลศึกษาสร้าง 'แทรม 3 สาย' 7.2 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, April 20, 2024 05:46

"คมนาคม" กางแผนสร้างแทรมรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท ฟาก รฟม.เร่งชงผลศึกษา เม.ย.นี้ ปักหมุดเปิดให้บริการปี 74

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมเร่งดันแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาค หรือ "รถไฟ แทรม" ที่จะช่วยแก้ปัญหาจรจาจรติดขัดภายในพื้นที่ แต่ปัจจุบันพบว่ากระทรวงได้สั่งให้รฟม.ทบทวนผลศึกษารูปแบบของรถอีกครั้งเพื่อประหยัดต้นทุนโครงการ ส่งผลให้โครงการล่าช้ากว่า 3 ปี

สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทางรวม 15.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,621 ล้านบาท มีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ว่าปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบศึกษารายละเอียด (Detail Design) และจัดทำรายงาน PPP โดยจะเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกการดำเนินโครงการที่เหมาะสมภายในเดือนเมษายน 2567 หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการ PPP ภายในภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568-กุมภาพันธ์ 2569 คาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2569

ทั้งนี้ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มี 16 สถานี แบ่ง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 6.5 กม. และโครงสร้างระดับดิน 9.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

ด้านความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวันสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทางรวม 11.15 กม. วงเงิน 7,242 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ รวมทั้งจัดทำรายงาน PPP คาดว่าจะเสนอผลการศึกษาภายในเดือนเมษายน 2567 หลังจากนั้นจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบไฟฟ้าและเดินรถภายในเดือน มิถุนายน 2568-เมษายน 2569

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จะเสนอต่อ ครม. ภายในเดือนเมษายน 2569 และ เปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574

ส่วนแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จำนวน 21 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา และผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ฯ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็กและระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง โดยจากการศึกษา พบว่า ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางมีความเหมาะสม

ขณะโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศ ยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงิน 35,350 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก, ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง และ ระบบรถรางล้อยางแบบไม่มี Guide Rail (ART) หลังจากนั้นจะปรับปรุงรายงาน PPP เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาภายในเดือนตุลาคม 2568-มิถุนายน 2569

ประเมินว่าโครงการนี้จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม, สคร., คณะกรรมการ PPP และครม.เห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคม 2569-กุมภาพันธ์ 2570 และเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนมีนาคม 2570-สิงหาคม 2571 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2571-พฤศจิกายน 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2574

"โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ยังมีประเด็นที่โครงการฯมีเส้นทางส่วนใหญ่อยู่บนถนน ทล. 402 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นหากดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ไปพร้อมกับโครงการถนนอื่นๆ จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรอย่างมาก เบื้องต้นให้รฟม.บูรณาการ แผนดำเนินงานโครงการร่วมกับ กรมทางหลวง (ทล.) ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้เร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างถนน ทล. 4027 ให้แล้วเสร็จก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรและใช้เป็นทางเลี่ยง ก่อนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูเก็ตต่อไป"

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯ จำนวน 21 สถานี มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 - 24 เม.ย. 2567

Thailand's Ministry of Transportation Proposes 72 Billion Baht Plan for 3 Tram Lines
Source: Thansettakij
Date: Saturday, April 20, 2024 05:46

Thailand's Ministry of Transportation has unveiled a 72 billion baht plan to construct three new tram lines. The Mass Rapid Transit Authority (MRTA) will submit the results of the project's feasibility study in April. If approved, service could begin as early as 2031.

The Ministry of Transportation previously made plans for regional "tram trains" to address traffic congestion. However, a cost-saving review led the Ministry to order a redesign of the MRTA's plans, delaying the project by over three years.

Details of the Projects:

Chiang Mai: The 15.7-kilometer "Red Line" project (budget: 29,621 million baht) is currently in the detailed study design phase. The MRTA expects to present its findings and a PPP report by April 2024. Following further reviews, the proposal could reach the Cabinet for approval in 2026, with construction potentially starting in 2027 and service by 2031.

Nakhon Ratchasima: This 11.15-kilometer "Green Line" (budget: 7,242 million baht) is under review. The study and PPP report should be completed by April 2024, with the project potentially reaching the Cabinet for approval in 2026. Construction could then begin in 2027 and service by 2031.

Phuket: The longest of the lines at 41.7 kilometers (budget: 35,350 million baht ), this project is undergoing a study comparing different tram technologies. Upon completion of the PPP report, the proposal aims to reach the Cabinet for potential approval by early 2027. Construction could start in 2028 and service by 2031.

The MRTA has previously determined that rubber-wheeled electric trams would be the most suitable design for the Chiang Mai and Nakhon Ratchasima projects.

In Phuket, due to potential traffic disruption from construction, the MRTA will coordinate the project's implementation with the Department of Highways to ensure the timely completion of Highway 4027, which will serve as a traffic bypass.

Source: Thansettakij newspaper, issue 21 - 24 April 2024
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2024 11:39 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เคาะผลศึกษาสร้าง 'แทรม 3 สาย' 7.2 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 05:46 น.
Source: Thansettakij newspaper, issue 21 - 24 April 2024


โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มี 16 สถานี แบ่ง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 6.5 กม. และโครงสร้างระดับดิน 9.2 กม.

1. สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ (เริ่มทางคู่บนทางใหม่ขนาน ถนนโชตนา [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 107] ตำบล ดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ )
2. สถานีศูนย์ราชการเชียงใหม่ (ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนน 700 ปี [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 132] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่) ตรงข้าม ป. พัน 7 ค่ายพระปิ่นเกล้า
3. สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนน ซีเกมส์ [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 121] หมู่ที่5 ตำบล ดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เชียงใหม่)
4. สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ (ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนน ช้างเผือก [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 121] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่)
5. สถานีแยกหนองฮ่อ (ใกล้ ตลาดมือสองหนองฮ่อ เชียงใหม่ ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนนหนองฮ่อ[ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 1366] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ ) โรงเก็บรถ LRT อยู่ที่นี่
6. สถานีโพธาราม (ใกล้แฟลตตำรวจช้างเผือก และ แยกเข้าถนนโพธาราม ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนนหนองฮ่อ[ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 1366] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ )
7. สถานีข่วงสิงห์ (เริ่มต้นทางคู่บนเกาะกลางร่วมกับถนน ใกล้โรงแรมข่วงสิงห์ ถนนโชตนา [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 107] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่)
8. สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทางคู่บนเกาะกลางร่วมกับถนนถนนโชตนา [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 107] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่)
9. สถานีขนส่งช้างเผือก ( หน้า สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 1 ทางคู่บนถนนโชตนา [ทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 107] ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่))
10. สถานีมณีนพรัตน์ (ทางเดี่ยวตามถนนมณีนพรัตน์ ใกล้ซอยมณีนพรัตน์ 3 ตำบลศรีภูมิ เมือง เชียงใหม่)
11. สถานีประตูสวนดอก (ทางเดี่ยวตามถนน บุญเรืองฤทธิ์ ตำบล สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ )
12. สถานีแยกหายยา (ทางเดี่ยวตามถนน มหิดล ใกล้แยกหายยา ตำบล สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ )
13. สถานีแยกท่าอากาศนานาชาติเชียงใหม่ (ทางเดี่ยวตามถนน มหิดล ใกล้มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ตำบล สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ )
14. สถานีท่าอากาศนานาชาติเชียงใหม่ (ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ใกล้สามแยก ตัดกับถนนสนามบินหน้าโลตัส เชียงใหม่ หางดง หมู่ 7 ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ )
15. สถานีบ้านใหม่สามัคคี (หน้าศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใกล้ซอย บ้านใหม่สามัคคี 15 ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ตำบล แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่)
16. สถานีแยกแม่เหียะสมานสามัคคี (หน้าซอยเข้าหมู่บ้านเชียงใหม่แกรนด์วิว ทางคู่บนทางใหม่ขนานถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ตำบล แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่)

โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

ขณะนี้เตรียมการพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ในปี 2568 - 69
จะให้ ครม. เห็นชอบรุปแบบการลงทุนปี 2569
คัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ ปี 2570-71
เริ่มการก่อสร้าง ปี 2571
เปิดการเดินรถ 2574
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=519520407097494&id=100071186169677
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46657
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2024 8:18 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ขณะนี้เตรียมการพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ในปี 2568 - 69
จะให้ ครม. เห็นชอบรุปแบบการลงทุนปี 2569
คัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ ปี 2570-71
เริ่มการก่อสร้าง ปี 2571
เปิดการเดินรถ 2574
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=519520407097494&id=100071186169677

9 ปี 'รถไฟฟ้าเชียงใหม่' ยังไม่คืบ รฟม.ลุยต่อ ปักหมุดสร้างปี 71
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sunday, August 04, 2024 06:27

เช็คสถานี "รถไฟฟ้าเชียงใหม่" โครงการศึกษา 9 ปียังไม่คืบ รฟม.ยันเดินหน้าต่อ ปักหมุดก่อสร้างในปี 2571 เปิดให้บริการปี 2574 ชี้สถานะปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นขอ EIA

คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 ได้มีมติรับทราบผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)

นับเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อน “รถไฟฟ้าเชียงใหม่” โดย คจร.ยังมีความเห็นให้ดำเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทางตามลำดับความสำคัญ และผลปรากฏว่า “สายสีแดง” มีความสำคัญลำดับที่ 1 เป็นแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมและคุ้มค่าทางการลงทุน

โดยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) วิ่งผสมระดับดินและใต้ดินแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร 16 สถานี แบ่งเป็น สถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี สถานีใต้ดิน 7 สถานี วงเงินลงทุนประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี หากนับจากมติที่ประชุม คจร. จนถึงปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ดำเนินการมานาวถึง 9 ปี โดยสถานะปัจจุบัน รฟม.ยืนยันเดินหน้าพัฒนาโครงการ อยู่ในขั้นตอนยื่นรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA) ให้คณะผู้ชำนาญการฯ พิจารณา นอกจากนี้ รฟม.ยังกำหนดแผนดำเนินโครงการเบื้องต้น แบ่งเป็น

ปี 2568 – 2569 พิจารณารูปแบบการลงทุนโครงการที่เหมาะสม

ปี 2569 เสนอ ครม.เห็นชอบรูปแบบการลงทุน

ปี 2570 – 2571 เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ (PPP)

ปี 2571 เริ่มงานก่อสร้าง

ปี 2574 เปิดให้บริการ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะมีสถานีให้บริการรวม 16 สถานี ประกอบด้วย

สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์
สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
สถานีแยกหนองฮ่อ
สถานีโพธาราม
สถานีข่วงสิงห์
สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สถานีขนส่งช้างเผือก
สถานีมณีนพรัตน์
สถานีประตูสวนดอก
สถานีแยกหายยา
สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
สถานีบ้านใหม่สามัคคี
สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี

นอกจากนี้ ยังมีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) 2 แห่ง บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ รองรับรถยนต์ได้ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน อีกทั้งยังมีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณแยกหนองฮ่อ พัฒนาบนพื้นที่ 25 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2024 9:04 am    Post subject: Reply with quote

รื้อศึกษาใหม่อีกรถไฟฟ้าเชียงใหม่กลับมาใช้ทางวิ่งบนดินผสมใต้ดินเลื่อนแผนก่อสร้างยาวไป4ปี
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:45 น.

รื้อผลศึกษาไม่จบไม่สิ้น รถไฟฟ้าเชียงใหม่กลับไปใช้ทางวิ่งผสมบนดินและใต้ดินช่วงผ่านเมืองเก่า เลื่อนโครงการยาวไปเริ่มก่อสร้างปี 71 เปิดบริการ74 แผนเดิมจะสร้างตั้งแต่ปี65
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ว่า กำลังศึกษาทบทวนวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ รายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา พร้อมทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม.


ซึ่งได้เร่งให้แล้วเสร็จ และเริ่มก่อสร้างโดยเร็ว เนื่องจากปัจจุบัน จ.เชียงใหม่ ประสบปัญหาการจราจรติดขัดค่อนข้างมาก    หากมีการพัฒนารถไฟฟ้าให้เกิดขึ้นได้ จะช่วยเพิ่มโอกาส และเป็นทางเลือกการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้ประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว


 การประเมินเบื้องต้น จ.เชียงใหม่ จำเป็นต้องมีรถไฟฟ้า แต่เมื่อรฟม. ลงพื้นที่สำรวจพบว่า พื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างคับแคบ มีหลายฝ่ายกังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน โดยเฉพาะย่านเมืองเก่า จึงต้องปรับแผนสร้างทางวิ่งใหม่ โดยจะให้เป็นใต้ดินในเขตเมืองชั้นในที่จำเป็น จากเดิมอยู่บนดินตลอดแนวเส้นทาง

 นายสุริยะ กล่าวอีกว่า เมื่อมีข้อกังวลก็ต้องกลับมาดูปัญหา หากพัฒนาทางวิ่งเป็นใต้ดินช่วงเขตเมืองที่จำเป็นจะช่วยลดข้อกังวลผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว และโบราณสถานได้ รวมทั้งเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกสบายมากขึ้น ส่วนพื้นที่นอกเขตเมืองพัฒนาตามแผนเดิมเป็นระดับดิน เชื่อว่าหากปรับแผนลักษณะนี้จะเดินหน้าโครงการได้ เบื้องต้นคาดว่าการศึกษาฯ จะแล้วเสร็จภายในปี 68 นอกจากนี้ยังมอบให้ รฟม. เร่งสร้างรถไฟฟ้าออกไปนอกตัวเมือง จ.เชียงใหม่ด้วย เพื่อให้ที่อยู่อาศัยใหม่กระจายออกไปอยู่นอกเมือง ช่วยลดความแออัดในเขตเมือง

ADVERTISEMENT



 “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า เบื้องต้นผลการศึกษาจะเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสม ระหว่างใต้ดิน และระดับดินระยะทาง 15.8 กม. วงเงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท เป็นทางวิ่งระดับดิน 9.3 กม. และทางวิ่งใต้ดิน 6.5 กม. ใช้ระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มี 16 สถานี ระดับดิน 9 สถานี และใต้ดิน 7 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณแยกหนองฮ่อ และมีจุดจอดแล้วจรที่สถานีรพ.นครพิงค์ และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี  ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการยื่นรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา EIA (คชก.) พิจารณา เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมครบถ้วน และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

รฟม. ได้ปรับแผนงานเบื้องต้นใหม่ดังนี้ ปี 68-69 พิจารณารูปแบบการลงทุนโครงการที่เหมาะสม ปี 69 เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบรูปแบบการลงทุน ปี 70-71 จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ (PPP) และปี 71 เริ่มงานก่อสร้าง แล้วเสร็จ และเปิดบริการปี 74 

จากเดิมรฟม.มีแผนก่อสร้างแทรมเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 65 เปิดบริการปี 70 โดยผลการศึกษาเดิมทางวิ่งเป็นแบบผสมทั้งบนดินและใต้ดิน แต่มีการศึกษาทบทวนใหม่สมัยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรมว.คมนาคม ที่ให้เป็นรถเมล์ล้อเหมือนบีอาร์ทีหรือแทรมล้อยาง โดยเปลี่ยนทางวิ่งมาเป็นบนดินตลอดสาย ซึ่งขณะนี้สมัยนายสุริยะ ก็ต้องกลับมาใช้ผลการศึกษาเดิมให้เป็นแทรมล้อเหล็กและทางวิ่งแบบผสมอีก

 สำหรับแนวเส้นทางเริ่มต้นบริเวณรพ.นครพิงค์ เป็นทางวิ่งระดับดินไปตามแนวถนนโชตนา (ทล. 107) จนถึงแยกศาลเชียงใหม่เลี้ยวขวาตามแนวถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จนถึงแยกสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ข้ามคลองชลประทานเลี้ยวซ้ายไปตามถนนคันคลองชลประทานถึงสี่แยกหนองฮ่อเลี้ยวซ้ายขนานถนนหนองฮ่อ (ทล.1366) จนถึงแยกกองกำลังผาเมือง เปลี่ยนเป็นทางวิ่งใต้ดินเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนโชตนาอีกครั้ง ลอดผ่านทางลอดแยกข่วงสิงห์ ไปตามแนวถนนช้างเผือก ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ถึงถนนมณีนพรัตน์(ถนนเลียบคูเมืองด้านนอกฝั่งทิศเหนือ)


จากนั้นเลี้ยวขวาไปจนถึงแจ่งหัวลิน จึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนบุญเรืองฤทธิ์ผ่านรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ถึงแจ่งกู่เฮือง ไปตามถนนมหิดล (ทล.1141)ถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ วิ่งตรงไปแนวคลองระบายน้ำข้างท่าอากาศยานเชียงใหม่เปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดินวิ่งไปออกถนนเชียงใหม่-หางดง (ทล.108) สิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี.
https://www.dailynews.co.th/news/3919480/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2024 11:24 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รื้อศึกษาใหม่อีกรถไฟฟ้าเชียงใหม่กลับมาใช้ทางวิ่งบนดินผสมใต้ดินเลื่อนแผนก่อสร้างยาวไป4ปี
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:45 น.

https://www.dailynews.co.th/news/3919480/

รฟม.ปรับแผน'รถไฟฟ้าเชียงใหม่'สร้างอุโมงค์ใต้ดินในเขตเมือง
UpFuture Channel
วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567



อัพเดทรถไฟฟ้าเชียงใหม่ รฟม.ปรับแผนสร้างอุโมงค์ใต้ดินในเขตเมือง ส่วนนอกเมืองสร้างบนดินตามแผนเดิม คาดเดิมก่อสร้างได้ปี 71
https://www.youtube.com/watch?v=MfvSs86rjP0



'รถไฟฟ้าเชียงใหม่' โปรเจกต์เร่งด่วน 'คมนาคม' ลุยทำอุโมงค์เขตเมืองเก่า
เศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 6:03 น.

“สุริยะ” สั่งปรับแผนพัฒนา “รถไฟฟ้าเชียงใหม่” ศึกษาสร้างอุโมงค์เขตพื้นที่เมืองเก่า ก่อนยกระดับในเขตนอกเมือง ยอมรับงบประมาณลงทุนอาจปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นทางออกเคลียร์ปมกระทบโบราณสถาน และเคลื่อนโครงการตอกเสาเข็มได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการลงทุนระบบรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเดินหน้าตามแผนแล้ว กระทรวงฯ จึงอยู่ระหว่างเตรียมพัฒนาโครงการระบบรถไฟฟ้าในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนพัฒนาในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต พิษณุโลก และนครราชสีมา

โดยกระทรวงฯ ประเมินว่าโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคสายแรกที่ต้องเร่งพัฒนา คือ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีการจราจรติดขัดอย่างมาก อีกทั้งหากมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ นอกเขตเมือง การเดินทางของประชาชนในพื้นที่จะสะดวกขึ้น ลดความแออัดในเขตเมือง

อย่างไรก็ดี ทราบว่าปัจจุบันยังมีประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่เขตเมือง กระทบภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ตนจึงมีแนวคิดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้ ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าให้เป็น 2 รูปแบบ โดยในพื้นที่เขตเมืองให้พัฒนาเป็นอุโมงค์ใต้ดิน และนอกเขตเมืองให้พัฒนาเป็นรถไฟฟ้าตามแผนที่ศึกษาไว้


“เมื่อโครงการมีข้อกังวลเราก็ต้องกลับมาดูปัญหา ซึ่งหากพัฒนาเป็นอุโมงค์ในช่วงเขตเมือง ก็จะช่วยลดข้อกังวลผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว และยังทำให้การจราจรสามารถสัญจรได้ตามปกติ ส่วนพื้นที่นอกเขตเมืองก็สามารถพัฒนาตามแผนเดิม เชื่อว่าหากปรับแผนเป็นลักษณะนี้จะสามารถเดินหน้าโครงการได้”

นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า แม้ว่างบประมาณการลงทุนจะต้องปรับเพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างงานอุโมงค์รถไฟฟ้า แต่หากสามารถทำให้โครงการนี้เดินหน้าได้ทันที เพื่อแก้ไขปัญหาการเจรจา และสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวนอกเขตเมืองอย่างสะดวก ก็จะเป็นประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเบื้องต้นประเมินว่าการศึกษาเรื่องนี้ไม่น่าจะใช้เวลานาน คาดว่าปี 2568 น่าจะได้เห็นความชัดเจน

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ก่อนหน้านี้ รฟม.ศึกษาพัฒนาแนวเส้นทางช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคีระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุน 29,523.29 ล้านบาท โดย รฟม.ศึกษาพัฒนาระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) มีสถานีให้บริการ 16 สถานี สถานะปัจจุบัน รฟม.ยืนยันเดินหน้าพัฒนาโครงการ อยู่ในขั้นตอนยื่นรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA) ให้คณะผู้ชำนาญการฯ พิจารณา


นอกจากนี้ รฟม.ยังกำหนดแผนดำเนินโครงการเบื้องต้น แบ่งเป็น ปี 2568 – 2569 พิจารณารูปแบบการลงทุนโครงการที่เหมาะสม หลังจากนั้นในปี 2569 เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบรูปแบบการลงทุน ส่วนในปี 2570 – 2571 จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ (PPP) และในปี 2571 เริ่มงานก่อสร้าง เพื่อเปิดให้บริการในปี 2574

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะมีสถานีให้บริการรวม 16 สถานี ประกอบด้วย สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติ

สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธาราม สถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี

นอกจากนี้ ยังมีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) 2 แห่ง บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ รองรับรถยนต์ได้ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน อีกทั้งยังมีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณแยกหนองฮ่อ พัฒนาบนพื้นที่ 25 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2024 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เคาะผลศึกษาสร้าง 'แทรม 3 สาย' 7.2 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 20เมษายน 2567 เวลา 05:46 น.


“เชียงใหม่” ชงรถไฟฟ้า 3 สาย จี้รัฐทุ่ม 9 หมื่นล้านแก้จราจร
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567 เวลา 08:15 น.


ภาพการจราจรติดขัดอย่างหนักช่วงชั่วโมงเร่งด่วนในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายคนพยายามผลักดัน “โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ หรือโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ (สายสีแดง)” ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว หลังตั้งไข่ ตั้งแต่ 9 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษารูปแบบระบบขนส่งสาธารณะ โดยเชื่อมโยงโครงข่ายกับระบบขนส่งขนาดรอง (Feeder) ต่าง ๆ กับรถไฟ รถโดยสารและท่าอากาศยาน โดยมีระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) เป็นระบบหลัก ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ 1) สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

2) สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่-แยกศรีบัวเงินพัฒนา และ 3) สายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย-ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยมีทางเลือกโครงข่ายอยู่ 2 รูปแบบ คือ โครงข่าย A (โครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน) และโครงข่าย B (โครงสร้างทางวิ่งระดับดินทั้งหมด) นั้น


หอฯจี้ทำพร้อมกัน 3 เส้นทาง
นายกฤษฏิภาชย์ ทองคำคูณ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ หรือรถไฟฟ้าเชียงใหม่ (สายสีแดง) ซึ่งมีแผนจะทำอุโมงค์ลงใต้ดินในเส้นทางเขตเมืองชั้นใน ในความเห็นส่วนตัวมองว่า หากทำรูปแบบนี้ค่าก่อสร้างงานโยธาจะเพิ่มสูง และจะทำให้รายได้กับต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สอดรับกัน

ขณะเดียวกันจำเป็นต้องจัดทำเส้นทางโครงข่ายที่เชื่อมโยง (Feeder) เพื่อรวบรวมคนที่อาศัยอยู่เส้นวงแหวนรอบ 2 และรอบ 3 หรือถนนรองตามตรอกซอย เพื่อเดินทางเข้าสู่เมือง

ดังนั้น หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จึงขอเสนอต่อรัฐบาลให้เร่งรัดผลักดันโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดพร้อมกันทั้ง 3 เส้นทาง หากทำเส้นทางเดียว หากให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) หรือให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงทุนเอง จะไม่คุ้มค่า

Advertisment
และจำเป็นต้องวางแผนควบคู่กันคือจุด Park & Ride เพื่อเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารเข้าเมืองจากอำเภอรอบนอก ขณะที่เส้นทางสายสีแดง สุดปลายทางสี่แยกแม่เหียะ ปัจจุบันพบว่าที่ดินทั้ง 2 ฝั่งเป็นที่ดินของเอกชน ไม่มีจุดที่จะสามารถทำ Park & Ride ได้ และอยู่ในจุดควบคุมเรื่องความสูงด้วย เนื่องจากอยู่ใกล้สนามบิน

แนะขยายสายสีแดงถึงหางดง
นายกฤษฏิภาชย์กล่าวต่อไปว่า ควรขยายจุดปลายทางสายสีแดงออกไปถึงเขตอำเภอหางดง บริเวณสี่แยกสะเมิง ซึ่งพอมีพื้นที่ว่างเปล่าของกรมทางหลวง ทำ Park & Ride โดยมีรถหมวด 4 ที่วิ่งไปอำเภอทางตอนใต้ อาทิ อำเภอหางดง สันป่าตอง ฮอด จอมทอง จุดนี้จะกลายเป็น Station และ Park & Ride ที่รองรับชุมชนขนาดใหญ่ในโซนนี้ทั้งหมดเข้าสู่เมืองได้

Advertisment

แผนการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย อาจจะเป็นรูปแบบการก่อสร้างต่อเนื่อง เช่น เมื่อเริ่มก่อสร้างสายสีแดงแล้ว 50% เริ่มสร้างสายสีเขียวต่อ และต่อด้วยสายสีน้ำเงิน เพื่อให้มีความต่อเนื่อง

ซึ่งทั้งหมดควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี ที่จะสอดคล้องกับโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 เบื้องต้นคาดว่าการลงทุนรถไฟฟ้าทั้ง 3 เส้นทาง ประมาณ 90,000 ล้านบาท เฉลี่ยเส้นละ 30,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีคนใช้บริการราว 100,000 คนต่อวัน ซึ่งงบฯลงทุนทั้ง 3 เส้นดังกล่าว ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการสร้างรถไฟฟ้า 1 เส้นในกรุงเทพฯ เส้นเดียว 150,000 ล้านบาท

ปัจจุบันเชียงใหม่กำลังประสบกับภาวะวิกฤตจราจรหลายจุด อาทิ สี่แยกศาลเด็ก สี่แยกพรอมเมนาดา สี่แยกแม่เหียะ สี่แยกรินคำ ฯลฯ ถ้ามีรถไฟฟ้า 3 สายเกิดขึ้น จะสามารถขนคนจากรอบนอกเข้ามาสู่เมืองได้จำนวนมหาศาล ขณะที่ปัจจุบันเมืองมีการขยายตัวเร็วมาก

โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรรต่าง ๆ ขยายออกสู่วงแหวนทั้ง 3 รอบ จำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชนรองรับ กรณีที่รัฐบาลจะลงทุนเพียง 1 เส้นทางก่อน อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ครบวงจร ต้องมีการเชื่อมโยงอำเภอรอบนอกทุกเส้นทาง ที่สำคัญควรพิจารณาเรื่องการบริหารจัดการในการสนับสนุน แรงจูงใจให้คนใช้รถขนส่งมวลชนมากขึ้น และลดการใช้รถส่วนตัว

ชงบัตรสวัสดิการรัฐจ่ายค่ารถ
นอกจากนี้ นายกฤษฏิภาชย์เสนอว่า การทำให้คนใช้รถส่วนตัวทิ้งรถหันมาใช้รถไฟฟ้าได้ ภาครัฐควรมีเงินอุดหนุน (Subsidy) เช่น กลุ่มคนรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้นำบัตรนี้มาจ่ายเป็นค่าเดินทางส่วนหนึ่ง หรือเก็บค่ารถเข้าเมือง 30 บาท ประชาชนจ่าย 10 บาท และอีก 20 บาท รัฐสนับสนุน

ซึ่งเงินส่วนนี้มาจากการเก็บภาษีล้อเลื่อน แบ่งมาสนับสนุนให้คนบางกลุ่มที่มีรายได้น้อย จะทำให้ระบบขนส่งมวลชนสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างเป็นรูปธรรมและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม คือ คนที่ใช้รถยนต์จ่ายภาษี และนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาสนับสนุนให้ประชาชนบางส่วน เพื่อให้เกิดการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนได้อย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้คนใช้รถขนส่งมวลชนกันมากขึ้น และลดการใช้รถส่วนตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงานการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการ (FS) (ฉบับปรับปรุง) ฉบับธันวาคม 2566 ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ รูปแบบการก่อสร้างเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) วางแนวเส้นทางสายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วิ่งตามแนวเหนือใต้ เริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์

โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน วิ่งไปตามแนวถนนโชตนา (ทางหลวงหมายเลข 107) จนถึงบริเวณแยกศาลเชียงใหม่ แล้วเลี้ยวขวาวิ่งตามแนวถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไปจนถึงแยกสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ข้ามคลองชลประทานแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนคันคลองชลประทาน ไปจนถึงบริเวณสี่แยกหนองฮ่อ แล้วจึงเลี้ยวซ้ายขนานไปกับถนนหนองฮ่อ (ทางหลวงหมายเลข 1366) ไปจนถึงแยกกองกำลังผาเมือง ซึ่งจุดนี้ ทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเปลี่ยนจากทางวิ่งระดับดินเป็นทางวิ่งใต้ดิน

จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนโชตนาอีกครั้ง ลอดผ่านทางลอดที่แยกข่วงสิงห์ ไปตามแนวถนนช้างเผือก ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ไปจนถึงถนนมณีนพรัตน์ (ถนนเลียบคูเมืองด้านนอกฝั่งทิศเหนือ) แล้วเลี้ยวขวาไปจนถึงแจ่งหัวลิน จึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนบุญเรืองฤทธิ์ ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแจ่งกู่เฮือง ไปตามถนนมหิดล (ทางหลวงหมายเลข 1141) ไปจนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ วิ่งตรงไปยังแนวคลองระบายน้ำด้านข้างท่าอากาศยานเชียงใหม่

ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

โดยรายงานเบื้องต้นจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังศึกษาทบทวนวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ รายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา พร้อมทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม.

โดยล่าสุด มีแนวคิดศึกษา ปรับแผนสร้างทางวิ่งใหม่ โดยจะพัฒนาเป็นอุโมงค์ใต้ดินในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน จากเดิมอยู่บนดินตลอดแนวเส้นทาง คาดว่าปี 2568 จะได้เห็นความชัดเจนมากขึ้น หลังจากนั้น ปี 2569 เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2570-2571 จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ และในปี 2571 เริ่มงานก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดบริการในปี 2574...
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1681300
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
Page 13 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©