RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312278
ทั่วไป:13922363
ทั้งหมด:14234641
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2024 1:01 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'สนข.'ชง'พรบ.ตั๋วร่วม'เข้าครม. ลุ้นเคาะรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 04:12 น.


Source: Krungthep Turakij Newspaper, August 7, 2024


สนข.ศึกษาระบบตั๋วร่วมใช้งบฉ่ำ674ล้านยังไม่พอจ้างอีก35ล้านอ้างผลศึกษาเดิมล้าสมัย
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:37 น.

สนข.จ้างศึกษาตั๋วร่วมงบฉ่ำ674ล้านยังไม่พอ จ้างศึกษาอีก 35 ล้าน อ้างผลศึกษาเดิมใช้ไม่ได้ล้าสมัยไม่ทันเทคโลโลยี คิดเก็บเงินรถยนต์วิ่งเข้าในเมืองหาเงินเข้ากองทุนชดเชยผู้ประกอบการนโยบายรถไฟฟ้าทุกสาย20บาท... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3728784/

“คมนาคม” ยังมั่นใจรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เกิดแน่ทุกสีทุกสาย ก.ย.68
วันอั
วันอังคาร ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:52 น.

“คมนาคม” ถก “สภา กทม.” มั่นใจรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เกิดแน่ทุกสีทุกสาย ก.ย. 68 เร่งคลอดกฎหมายตั๋วร่วม ขณะที่ “สายสีแดง-ม่วง” ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแล้ว 26% ลุยถกรายละเอียด ตั้งกองทุนชดเชยเอกชน... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3725582/

ชงครม.ไฟเขียว “ตั๋วร่วม” รับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:00 น.

“สนข.” เดินหน้าชงครม.เคาะ ร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วม เตรียมถกเอกชนเจรจาชดเชยรายได้ ตั้งเป้ามีผลบังคับใช้ภายใน ก.ย.68 รับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ลุยจ้างที่ปรึกษาฯศึกษาคลอดกฎหมายลูก 17 ฉบับ หลังได้รับงบปี 68 วงเงิน 35 ล้านบาท
นโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายของกระทรวงคมนาคม ทำให้ “สนข.” เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ตั๋วร่วม ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ลดค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนจากผู้ให้บริการต่างระบบ

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่ผ่านมาสนข.ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ....

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เสนอร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว ซึ่งสำนักเลขานายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างสอบถามความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมก่อนนำเสนอเข้าครม.เห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ตามขั้นตอนจะต้องนำร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ เสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวภายในกันยายน 2568 ซึ่งสอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทสูงสุดตลอดสาย

ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2568 สนข.ได้รับจัดสรรงบประมาณ วงเงิน 35 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 24 เดือน หรือ 2 ปี เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาการจัดทำกฎหมายลูก จำนวน 17 ฉบับ ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน 2568 ในการรองรับร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ



ส่วนการจัดทำกฎหมายลูกของระบบตั๋วร่วม จำนวน 17 ฉบับ นั้น มีสาระสำคัญ โดยมุ่งเน้นการจัดมาตรฐานของบัตรโดยสารที่ครอบคลุมการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ระบบราง การโดยสารทางเรือ

ตลอดจนรถโดยสารสาธารณะ ,อัตราค่าโดยสารร่วม,เทคโนโลยีการอ่านบัตรโดยสาร,การแก้ปัญหาระบบรถไฟฟ้าข้ามสาย,การจัดเก็บค่าธรรมเนียม รวมถึงการจัดตั้งกองทุนระบบตั๋วร่วมเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนที่เข้าร่วมระบบดังกล่าว

นายปัญญา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาการเดินหน้าระบบตั๋วร่วมไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดการบังคับใช้ของกฎหมาย โดยสนข.ได้เร่งรัดพ.ร.บ.ตั๋วร่วม เป็นหลักก่อน เพื่อรองรับให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายสามารถเข้าสู่ระบบเดียวกันได้

เบื้องต้นสนข.จะใช้ระบบเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปแทนระบบเดิมที่เคยศึกษาไว้ เนื่องจากระบบเดิมเป็นเทคโนโลยีที่นานและล้าสมัยแล้ว

“การใช้ระบบตั๋วร่วม ไม่ได้หมายความว่าเป็นการใช้บัตรเพียงใบเดียว แต่เป็นการนำเทคโนโลยีร่วมกันมาใช้ในระบบเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บัตรแรบบิทและบัตร MRT ได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัตรโดยสาร” นายปัญญา กล่าว



ขณะเดียวกันนโยบายค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายนั้น จะใช้อัตราค่าโดยสารร่วม ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะมีการจัดตั้งกองทุนระบบตั๋วร่วมเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่เอกชน ส่วนสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่มีการลงนามสัญญาแล้วจำเป็นต้องหารือร่วมกับเอกชน หากอัตราค่าโดยสารถูกลง ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยประมาณการไว้

จากการศึกษาของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า ในช่วง 4-5 ปีแรก ต้องมีการชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนที่เข้าร่วมนโยบายค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายก่อน จากนั้นรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณผู้โดยสารจะสามารถชดเชยได้ด้วยตนเอง โดยที่ภาครัฐไม่ต้องชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนอีก

ชงครม.ไฟเขียว “ตั๋วร่วม” รับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

“ยืนยันว่าก่อนที่ร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ มีผลบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2568 นั้นจะต้องมีการเจรจาร่วมกับเอกชนผู้ที่ได้รับสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งเป็นการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปให้สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย” นายปัญญา กล่าว

สำหรับร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ประกอบด้วย 7 หมวด และบทเฉพาะกาล (45 มาตรา) ดังนี้ การกำหนดคำนิยาม (มาตรา 1 - 4) หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (มาตรา 5 - 13) หมวด 2 การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (มาตรา 14 - 23)

หมวด 3 การดำเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (มาตรา 24) หมวด 4 อัตราค่าโดยสารร่วม (มาตรา 25 - 28) หมวด 5 กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม (มาตรา 29 - 34) หมวด 6 การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 35 - 36) หมวด 7 โทษทางปกครอง (มาตรา 37 - 40) บทเฉพาะกาล (มาตรา 41 - 45)

“คมนาคม” ถก สภากทม. ดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 12:56 น.
“คมนาคม” ถก สภากทม. หนุนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หลังพบยอดผู้ใช้บริการ “สายสีแดง-สีม่วง” โตกว่า 26% เดินหน้า พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คาดประกาศใช้ในปี 68 หวังอำนวยความสะดวกการเดินทาง-ลดค่าครองชีพประชาชน
นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (5 สิงหาคม 2567) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ประชุมร่วมกับสภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) เพื่อหารือถึงนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในการอำนวยความสะดวกการเดินทาง และลดภาระค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน อีกทั้งยังสนับสนุนให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น รวมถึงมีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า ภาพรวมการเดินทางของผู้โดยสารรวมทั้ง 2 สาย คือ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567) พบว่า มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นรวมกว่า 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ซึ่งถือว่า นโยบายดังกล่าว ช่วยให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น

ขณะที่รายได้ของรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงถึงแม้ว่าปัจจุบันจะลดลงจากเดิมคาดว่าภายในระยะ 2 ปี 8 เดือน จะกลับสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเริ่มนโยบาย รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แต่จากจำนวนผู้ใช้บริการที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้รายได้มีโอกาสจะกลับสู่ภาวะปกติเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้



นายพงศ์กวิน กล่าวต่อว่า ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมนโยบายนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … ก่อนที่จะเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา (สคก.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับดังกล่าว


จากนั้นจึงจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบและเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของของสภาผู้แทนราษฎร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่ากระบวนการดังกล่าว จะเสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2568 สอดรับกับเป้าหมายการประกาศใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในทุกสีทุกสายได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับงบประมาณที่จะนำไปชดเชยให้กับผู้ประกอบการเอกชนจากการประกาศใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเสนอรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งคาดว่า จะเริ่มดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อจัดตั้งกองทุนฯ ได้ในช่วงเดือนตุลาคม 2568 - มีนาคม 2569



นายวิพุธ ศรีวะอุไร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่าง นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทางสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

“สภาฯพร้อมสนับสนุนในทุกด้านอย่างเต็มที่ เนื่องจากเล็งเห็นว่านโยบายดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกภาคส่วน รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใจกลางเมืองที่มีความแออัด รวมถึงเกิดทำเลการค้าขายใหม่ ผลักดันกำลังซื้อให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” นายวิพุธ กล่าว

นอกจากนี้สภา กทม. ต้องการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินการนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายครอบคลุมในทุกเส้นทางโดยเร็วที่สุด เพื่อความสะดวกต่อการเดินทางของผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ สภากรุงเทพมหานครจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และประชุมหารือถึงแผนงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2024 1:19 am    Post subject: Reply with quote

ครม. คลอดกฎหมายใหม่จัดอุปกรณ์ช่วย “คนพิการ” เดินทางสะดวก
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:20 น.

ครม.มีมติเห็นชอบกฎหมายฉบับใหม่จัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง ช่วยให้ “คนพิการ” เดินทางสะดวกมากขึ้น
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (6 สิงหาคม 2567) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงคมนาคม เสนอ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่งเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 และสภาพการณ์ในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้


1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556

2. กำหนดบทนิยามเพิ่มเติมจากกฎกระทรวงเดิม ได้แก่ “ท่าเทียบเรือ” “เรือโดยสาร” “บริการขนส่ง” และ “พื้นที่หลบภัย”

3. กำหนดให้การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับคนพิการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

4. กำหนดให้ยานพาหนะ เช่น รถไฟตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟ และทางหลวง รถไฟฟ้ากฎหมายว่าด้วยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอากาศยานขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ฯลฯ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการ เพื่อให้การบริการที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและการปฏิบัติ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2 วันที่แล้ว
ครม.เคาะกฎหมายด่วนโทลล์เวย์ วิ่งเร็วสูงสุดไม่เกิน 100 กม./ชม.
2 วันที่แล้ว
เคาะ “ครม.สัญจร” อยุธยา 19-20 สิงหาคม ตรวจราชการภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด 2 วันติด
2 วันที่แล้ว
ครม.คลอดกฎหมายเวนคืน อสังหาฯ ค้างท่อ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
2 วันที่แล้ว
ครม.ควัก 85 ล้าน ตบรางวัล จนท.ปราบยาเสพติด 13,047 อัตรา
5. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทาง ให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประตูรถ อุปกรณ์นำพาคนพิการหรืออุปกรณ์ยกรถเข็นคนพิการขึ้นและลงจากรถ โดยลักษณะของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้เป็นไปตามรายการอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่กำหนดในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้

6. กำหนดให้รถไฟตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟและทางหลวง ให้มีห้องนอนและห้องน้ำสำหรับคนพิการ ที่นั่งสำหรับคนพิการ การประกาศแจ้งชื่อสถานีถัดไป สัญญาณเสียง สัญญาณไฟ

7. กำหนดให้เรือโดยสารตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ให้มีห้องนอนสำหรับคนพิการสำหรับเรือโดยสารที่มีห้องนอน บันได ที่นั่งสำหรับคนพิการ เจ้าหน้าที่ประจำเรือซึ่งผ่านการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้บริการในการขึ้นและลงเรือ

8. กำหนดให้สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟและสถานีรถไฟฟ้าท่าเทียบเรือและท่าอากาศยาน ให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เช่น ประตู พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการทางการเห็นที่นั่งสำหรับคนพิการหรือพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นสำหรับคนพิการ แผนผังที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานี บันไดและราวจับ

9. กำหนดให้มีบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ เพื่อกำหนดลักษณะของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการ เช่น ป้ายแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เรื่อง มาตรฐานป้ายสัญลักษณ์ในระบบขนส่งสาธารณะ คู่มือแปลภาษาหรือป้ายสัญลักษณ์ภาษาสำหรับเจ้าหน้าที่ประจำรถเพื่อใช้สื่อสารกับคนพิการให้เป็นไปตามคู่มือฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการจนส่งและจราจร ช่องขายตั๋วโดยสารที่มีพื้นที่และความสูงสำหรับรถเข็นคนพิการ

นางรัดเกล้า กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะส่งผลให้กลุ่มคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในบริการขนส่งสาธารณะได้สะดวก ความเหมาะสม ปลอดภัยและเสมอภาคเท่าเทียม โดยเป็นการพัฒนาคุณภาพและบริการขนส่งสาธารณะของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ

ทั้งนี้ในระหว่างการประชุม ครม. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าถึงความสำคัญและให้กระทรวงคมนาคม ร่วมมือทำงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อความรวดเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2024 10:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.ครบ 32 ปีเร่งเครื่องก่อสร้างรถไฟฟ้า3 สาย ปักธงต้นปี 68 เข้าพื้นที่เปิดไซด์ก่อสร้าง”สีส้ม”
Source - ผู้จัดการออนไลน์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:19 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:19 น.
วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:46 น.

รฟม.ครบ 32 ปี เร่งเครื่องก่อสร้างรถไฟฟ้า” สีชมพูต่อขยายเข้า เมืองทองธานี”เปิดบริการปี 68 สายสีม่วงใต้สร้างคืบหน้าแล้ว 38.22% เร่งประสานกทม. ปักธงต้นปี 68 เปิดพื้นที่สร้าง”สายสีส้ม” สรุป”สายสีน้ำตาล”ระบบโมโนเรลเหมาะสม รอเสนอบอร์ดรฟม.ชุดใหม่
https://mgronline.com/business/detail/9670000077096



รฟม.เดินหน้าประมูล 5 โปรเจกต์รถไฟฟ้า ประเดิม 'สายสีน้ำตาล' 4.2 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:34 น.


รฟม.เดินหน้าลงทุน 5 โปรเจกต์รถไฟฟ้า ดันประมูล “สายสีน้ำตาล” 4.2 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าตอกเสาเข็มปี 2569 พร้อมเดินหน้าเสนอ คจร.เคาะลงทุนรถไฟฟ้าภูมิภาค ขณะที่คืบหน้าสายสีส้ม คาดเอกชนเข้าพื้นที่สร้างปีหน้า

นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายในงานวันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ครบรอบ 32 ปี วันนี้ (21 ส.ค.67) โดยระบุว่า ปัจจุบัน รฟม.มีแผนลงทุน 5 โครงการระบบรถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ ประกอบไปด้วย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังคงเดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินลงทุนราว 4.2 หมื่นล้านบาท

โดยสถานะปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างปรับปรุงผลการศึกษา ประเมินปริมาณผู้โดยสาร และรายได้ เพื่อให้สอดรับต่อนโยบายกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอผลการศึกษาฉบับปรับปรุงนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.พิจารณาภายในวาระแรกของการประชุม เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ระหว่างสรรหาประธานบอร์ดคนใหม่

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รฟม.กำหนดเป้าหมายเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างในปี 2568 เพื่อเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2569 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน เพื่อเปิดให้บริการราวปี 2572 โดยผลการศึกษาเบื้องต้นยังคงความเหมาะสมพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail) ด้วยโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการบางส่วน จะซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ

รฟม.เดินหน้าประมูล 5 โปรเจกต์รถไฟฟ้า ประเดิม \'สายสีน้ำตาล\' 4.2 หมื่นล้าน

นายวิทยา กล่าวด้วยว่า รฟม.ยังเดินหน้าศึกษาระบบรถไฟฟ้าหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ รวม 4 โครงการ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งปัจจุบัน รฟม.ได้เสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินโครงการ และรูปแบบการลงทุนต่างๆ เตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อพิจารณาจัดลำดับการลงทุนที่เหมาะสมต่อไป เบื้องต้น รฟม.ยังมีเป้าหมายเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าในภูมิภาคราวปี 2571

ขณะที่ความคืบหน้าของโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ รฟม. ยังเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลทั้งในด้านความปลอดภัย และมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ความก้าวหน้าโดยรวม ณ สิ้นเดือนก.ค.2567 อยู่ที่ 63.25% โดยมีความก้าวหน้างานโยธา 69.99% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 49.95% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2568

รฟม.เดินหน้าประมูล 5 โปรเจกต์รถไฟฟ้า ประเดิม \'สายสีน้ำตาล\' 4.2 หมื่นล้าน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง



ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีความก้าวหน้างานโยธา 38.22% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571 ขณะที่การศึกษารูปแบบคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนระบบรถไฟฟ้าและบริหารการเดินรถ ปัจจุบัน รฟม.ยังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีนี้เพื่อเสนอบอร์ด รฟม. กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการพีพีพี

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการสำรวจสาธารณูปโภคต่างๆ โดยคาดว่าภายในปี 2568 เอกชนจะสามารถเริ่มก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตกได้ ขณะเดียวกันจะเร่งรัดติดตั้งระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ เพื่อสามารถทยอยเปิดให้บริการส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ก่อนในปี 2571

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1141252
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/08/2024 5:10 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลอิ๊งค์แถลงนโยบาย16ก.ย. 'ทักษิณ'โชว์โมเดลบริหารศก.
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, August 24, 2024 03:00

"นายกฯอิ๊งค์" ถก 3 สภาธุรกิจ ก่อนแถลงนโยบาย 16 ก.ย.นี้ เผยโผ ครม.ล่าสุด "ทักษิณ" โชว์วิสัยทัศน์ ตั้งแต่เศรษฐกิจฐานราก แฮร์คัตหนี้ภาคประชาชน ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ชูนโยบายใหม่เป็นรูปธรรม ทั้งวงการรถอีวี-รถไฟฟ้าค่าโดยสาร 20 บาท ลงทุนกาสิโน-กองทุนพยุงหุ้น เก็บภาษีแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ กวาดเงินใต้ดินขึ้นบนดิน หนุนอุตสาหกรรมดาวรุ่ง Data Center-พลังงานสะอาด

นายกฯอิ๊งค์ถกนักธุรกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าอาคารชินวัตร 3 โดยมีกำหนดการพบกับสภาหอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทยจีน สภาอุตสาหกรรมไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิร รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พร้อมด้วย รมช.คลัง รวมทั้ง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมหารือด้วย

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า วันนี้เป็นการรับฟังการแบ่งปันถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ จากผู้ประกอบการภาคเอกชนเพื่อต้องการการพัฒนามากขึ้น ตนเองได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่สามารถทำงานหรือสั่งการได้ จึงเปิดพื้นที่ให้ทุกคนเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น และชี้ให้เห็นว่ากำลังเจอปัญหาอย่างไร และมีอะไรอยากจะแนะนำรัฐบาล เพราะภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างมั่นคง

"ในยุคไทยรักไทย จะมีการพูดคุยในทุกอุตสาหกรรมและคุยทุกสัปดาห์ ซึ่งทำให้ได้รู้ปัญหา รู้ประเด็นของทุกอุตสาหกรรมจริง ๆ และช่วยเป็นประโยชน์ต่อการบริหารบ้านเมือง และต้องขอโอกาส และอาจขอรบกวนเวลาทุกท่านค่ะ" นางสาวแพทองธาร
โผ ครม.เพื่อไทย ใกล้เสร็จ

ขณะที่รายชื่อคณะรัฐมนตรี ขณะนี้ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ชื่อ ครม.ส่งมาหมดแล้ว รอตรวจสอบ ต้องรอบคอบที่สุด คาดเสร็จใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ การจัดตั้ง ครม.รัฐบาลแพทองธาร คาดว่าจะประกอบด้วย 11 พรรคการเมือง บวกกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส มีเสียงประมาณ 330 เสียง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เกือบทั้งหมดอยู่ในตำแหน่งเดิม โดย นายพิชัย ชุณหวชิร อาจเหลือแค่ รมว.คลัง มี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เป็น รมช.คลัง เช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคม

นายภูมิธรรม เวชยชัย รอง นายกฯและ รมว.พาณิชย์รวมถึง นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ยังเป็น รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม

รายชื่อรัฐมนตรีที่เข้ามาใหม่มีรายงานว่า นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ดูเรื่องกฎหมาย น.ส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส.กทม. พรรคเพื่อไทย เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ เช่นกัน แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกำลังเฟ้นบุคคลที่มาเป็น รมว.กลาโหม แทนนายสุทิน คลังแสง ที่อาจหลุดออกจากตำแหน่ง

2 โผพรรคพลังประชารัฐ

ขณะที่โผ ครม.ของพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา ยังเหมือนเดิม แต่ที่ยังไม่สะเด็ดน้ำคือ พรรครวมไทยสร้างชาติ อาจจะขยับ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ไปเป็น รมช.คลัง

ส่วนโผ ครม.ของพรรคพลังประชารัฐ ถูกชงไป 2 โผ แบ่งเป็น รายชื่อรัฐมนตรีของกลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งส่งให้กับพรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย 1.นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ 2.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ 3. นายอัครา พรหมเผ่า (น้องชายธรรมนัส) รมช.เกษตรและสหกรณ์

อีกบัญชีเป็น โผ ครม.ที่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรค พลังประชารัฐ ประกอบด้วย 1.พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกฯ และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็น รมช.สาธารณสุข นายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์

แถลงนโยบาย 16 ก.ย.

นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ในฐานะตัวแทนวิปรัฐบาล กล่าวว่า เนื่องจากในช่วงนี้ สำนักงานเลขาธิการ ครม. กำลังตรวจสอบคุณสมบัติอย่างรอบคอบ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ครม.ใหม่ ทั้งนี้ การแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร คาดว่าน่าจะเป็นช่วงวันที่ 16 ก.ย. เป็นต้นไป

วิสัยทัศน์เศรษฐกิจ "ทักษิณ"

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานดินเนอร์ทอล์ก "Vision For Thailand" จัดโดย "เนชั่น กรุ๊ป" หัวข้อ "วิสัยทัศน์ประเทศไทย" เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 67 โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องนโยบายด้านเศรษฐกิจ ต่อเนื่องจากรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

แฮร์คัตหนี้ประชาชน

นายทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงนโยบายแรกว่า จะจัดการหนี้ครัวเรือนที่มีอยู่ 91-92% ส่วนใหญ่เป็นหนี้บ้าน รถยนต์ โดยได้รับการแนะนำจากนายธนาคารว่า "เป็นไปได้ไหมที่แบงก์ชาติเก็บเงินกองทุนเพื่อการฟ้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน Financial Institutions Development Fund (FIDF) 0.46-0.47% ให้เก็บเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งนำมาให้ธนาคารพาณิชย์นำมาช่วยลดหนี้รถยนต์ หนี้บ้าน ซึ่งมีหนี้เสียอยู่ราว 1 ล้านล้านบาท ส่วนนี้จะช่วยลดหนี้เสียในระบบ ซึ่งต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกลับไปพิจารณาหลังจากนี้"

เดินหน้ารถไฟฟ้า 20 บาท

นายทักษิณกล่าวถึงนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของพรรคเพื่อไทย โดยยืนยันว่ายังคงเดินหน้า แต่อาจจะต้องเวนคืนรถไฟฟ้าที่เอกชนบริหารกลับมาเป็นของรัฐ และจ้างเอกชนมาบริหารเพื่อทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารเอง เพราะไม่เช่นนั้น เอกชนก็จะมุ่งเฉพาะกำไร โดยจะต้องจัดตั้งกองทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอาจต้องคิดถึงเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้รถยนต์เข้าในตัวเมือง เพื่อเอาเงินส่วนดังกล่าวมาเข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน มา สนับสนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ปรับลดลง

"ยังต้องเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา-หนองคาย เพราะจะเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ เชื่อมเส้นทางสายไหม"
ลงทุนกาสิโนถูกกฎหมาย

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงนโยบายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ว่า "ผมเคยคิดไว้แต่โดนค้าน แต่วันนี้มีคนเชียร์มาก นโยบายนี้ที่จริงแล้ว พื้นที่ที่เป็นกาสิโนมีไม่ถึง 10% แต่มีส่วนอื่น เช่น สวนสนุก และโรงแรม แต่ละแห่งต้องลงทุนเป็นแสนล้านบาทใน กทม. และใน ต่างจังหวัดต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้าน บาท ต้องเตรียมพร้อม สิ่งไหนที่เราขาด เราจะให้คนที่มาลงทุน"

"สำหรับเรื่องของเศรษฐกิจใต้ดิน ระบบพนันออนไลน์ มียอดฝาก 3 ล้านล้าน ต่อปี และคนไทยเล่นพนันปีละ 5 แสนล้าน ถ้าเราเก็บภาษีประมาณ 30% ได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ถ้าเศรษฐกิจขึ้นมาบนดินได้อีก 50% ก็ทำให้จีดีพีโตได้อีก 50% เพราะที่ผ่านมาเศรษฐกิจในระบบ เรามีไม่ถึง 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจนอกระบบ"
แนะเร่งเจรจาอีวีจีน

นายทักษิณกล่าวถึงเรื่องวงการรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวีว่า ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเคยสนับสนุนอีโคคาร์ โดยใช้ภาษีสรรพสามิตสนับสนุน แต่ปัจจุบันรถอีวีจีนกำลังมา "อยากขอร้องว่าให้ไทยเป็นฐานผลิตพวงมาลัยขวา ไม่ว่า BYD, GWM อยากให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตพวงมาลัยขวาได้หรือไม่ เรื่องอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมรถยนต์ต้องรักษาไว้ ทำอย่างไรให้รถไฟฟ้าจากจีนมาใช้ส่วนประกอบในไทยบ้าง ต้องเริ่มเจรจาได้แล้ว ขอให้คนที่เกี่ยวข้องเจรจากันได้แล้ว เพราะต่อไปจะเอาไม่อยู่"

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า อยากเห็นนักธุรกิจไทยออกไปสู้ในเวทีโลก รัฐบาลน่าจะช่วยสนับสนุนให้คนไทยออกไปแข่งขัน "ผมรู้จักแบงก์ UOB มาซื้อ Good Bank ธนาคารรัตนสิน แล้วมาบริหารจนเติบใหญ่ วันนี้เป็น UOB แบงก์กรุงเทพเพิ่งซื้อแบงก์จากอินโดนีเซีย ซึ่งชื่นชมมาก"

"เราขาดการแก้ปัญหาทั้งระบบ ขาดการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ ขาดกำลังรบธุรกิจ อยากให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ช่วยไปพิจารณา"
อุตฯดาวรุ่ง Data Center

นายทักษิณกล่าวเรื่องการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ทั้งซัพพลายเชนของระบบเซมิคอนดักเตอร์ว่า "ประเทศไทยควรจะเป็นสวรรค์ของภาคอุตสาหกรรมที่สุด ใครอยากขายจีน ใครอยากขายอเมริกา ใครอยากขายยุโรป ไม่มีปัญหา เพราะเราไม่มีปัญหาเรื่อง Geopolitics เราต้องไปเชื้อเชิญมา หนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ คือ Data Center มีคนสนใจประเทศไทยจำนวนมาก แต่ปัญหาที่กังวลคือเรื่องค่าไฟและพลังงานสะอาด ล่าสุดได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพลั"ใครต้องการพลังงานสะอาด ถ้าภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำเอง ก็ทำได้ แต่ห้ามทำเพื่อขาย เพราะเราไม่ให้ทำธุรกิจไฟฟ้า แต่ถ้าทำใช้เอง เราก็ไม่ว่า"

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปถึงเรื่องค่าไฟ ราคาพลังงานด้วยว่า "ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของคนไทยแพงมาก ค่าพลังงาน เราต้องนำเข้า เป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนดัชนีตลาดโลก ไฟฟ้าของเราเทียบเท่า 12 เซนต์ แต่ดูแล้วมีแต่ขึ้น เรื่องลมยังไม่พูดถึง ทำอย่างไรให้ไฟฟ้าถูกลงเหลือ 2 เซนต์ มีการพูดถึงพลังงานสีเขียว ตอนนี้มีกำลังทดลองเรื่องพลังงานฟิวชั่น ทำความร้อนเก็บอยู่บนแม่เหล็กเหมือนพระอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าในราคาที่ถูก"

รับมือการค้าจีน-อเมริกา

นายทักษิณแสดงวิสัยทัศน์เรื่องการค้าระหว่างประเทศว่า "ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ณ จุดนั้นจุดนี้ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ทำให้เกิดระบบกีดกันทางการค้า ทั้งพรรคเดโมแครต และรีพับลิกัน เขาจะหันกลับมาดูว่าเขาขาดดุลการค้าที่ประเทศไหน แล้วเขาจะต้องมาดูว่าทำอย่างไรถึงลดการขาดดุล เราต้องเตรียมตัว เพราะเราได้ดุลเขาอยู่ เราจะขายจะซื้ออะไรต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า"

กองทุนวายุภักษ์พยุงหุ้น

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความคิดเรื่องตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น โดยอ้างอิงความคิดของ รมว.คลังว่า "อยากจะขยายกองทุนวายุภักษ์ เพราะยามที่ต่างชาติไม่เชื่อเรา เขาขายหุ้นทิ้ง บางทีหุ้นเราตกต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น ถ้าเป็นบริษัทส่วนตัวก็จะเป็น Treasury Stock ทำหน้าที่ซื้อหุ้นเรากลับคืนมา ดังนั้น กองทุนวายุภักษ์จะทำหน้าที่เป็น Treasury Stock ของประเทศไทย ถ้าราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กองทุนก็จะซื้อไว้ อยากจะทำแบบนี้"

สำหรับการจัดเก็บภาษี อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความคิดของกระทรวงการคลังว่า "การจัดระเบียบการจัดเก็บภาษี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา จะลดภาษีได้หรือไม่ เพื่อให้ไทยเป็นสิ่งที่น่าสนใจ น่าอยู่ และน่ามาทำงาน การลดภาษีดังกล่าวจะเดือดร้อนไปถึงการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือดร้อนคนระดับล่าง เรื่องนี้ รมว.คลังบอกว่า ใช้เทคโนโลยีให้ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถคืนได้รวดเร็ว ทำให้คนไม่เดือดร้อน"

นายทักษิณพูดถึงแนวคิด Negative Income Tax ซึ่งเป็นระบบภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจาย รายได้ว่า "อยากเห็นคนไทยกรอกข้อมูลเสียภาษีทั้งหมด คนไหนรายได้ต่ำก็จะได้เงินกลับคืนไป คนไหนรายได้สูงก็จะต้องเสียภาษีตามกติกา ดังนั้นต้องปฏิรูประบบราชการอย่างเต็มที่ ลดรายจ่ายภาครัฐ ลดจำนวนข้าราชการ และต้องปรับงบประมาณที่เป็นบอลลูนขึ้นไป เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค"

โมเดลเช่าที่ดิน 99 ปี

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงนโยบายต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี พร้อมอธิบายโมเดลว่า "สมมติว่าผมขายที่ดินให้นาย A ฝรั่ง ผมตกลงราคาเรียบร้อย แทนที่ผมจะโอนโฉนดให้นาย A ผมไปโอนโฉนดให้กรมธนารักษ์เป็นคนดูแล โฉนดไม่เป็นของนาย A แต่นาย A ได้สัญญาเช่าที่มั่นคงจากกรมธนารักษ์เป็นเวลา 99 ปี พอครบ 99 ปี ที่ดินนั้นเป็นของหลวง ฉะนั้นที่ดินไม่มี ต่างชาติเอาไปได้เลย แต่เขาเช่าใช้ได้ 99 ปี โดยตกลงราคาซื้อขายกันเอง"

"ถ้าคนต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินเยอะ ๆ ราคาที่ดินจะขึ้น เราก็ไปสร้างบ้านราคาถูก ที่เรียกว่า Affordable Housing (คือ นโยบายรัฐด้านที่อยู่อาศัยสำหรับครัวเรือนรายได้น้อยถึงปานกลาง) ตัวอย่าง รัฐอาจสร้างคอนโดฯที่ริมทางรถไฟเชียงรากน้อย หรือสถานีรถไฟธนบุรี ในราคาถูก ให้คนมาผ่อนเดือนละ 3,000 กว่าบาท ผ่อนไป 30 ปี ทำให้คนไทยมีบ้านไม่ต้องดาวน์ ทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างที่ต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต กับดูแลคนที่มีโอกาสน้อย รายได้น้อย"
หอการค้าฯเสนอดัน ศก.

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังนำคณะเข้าพบ แสดงความยินดีกับคุณแพทองธาร ชินวัตร โดยการประชุมดังกล่าว มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมประชุม

"โดยนำเสนอ 3 เรื่องเร่งด่วน 1) การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและ ต่างประเทศ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs และ 3) การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งข้อเสนอระยะเร่งด่วนนี้จะช่วยทำให้ GDP ไทยกลับมาเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3-5% ต่อปี หอการค้าไทยและเครือข่ายพร้อมสนับสนุนทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันการทำงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม" นายสนั่นกล่าว
มาตรการกู้ ศก.ระยะสั้น

สำหรับมาตรการระยะสั้นต้องเร่งกระจาย-เบิกจ่ายงบประมาณปี'67 และเร่งจัดทำงบประมาณปี'68 ให้เสร็จตามกรอบเวลา ขณะเดียวกัน ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังประชาชน 3 กลุ่ม กลุ่มเปราะบางเร่งด่วนก่อน เพื่อให้กลุ่มนี้มีกำลังซื้อทันที

ส่วนมาตรการช่วยเหลือและเยียวยา ลดค่าครองชีพ ทั้งค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมัน ตรึงราคาสินค้าจำเป็น การพิจารณาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ สถาบันการเงินต่าง ๆ ควรผ่อนผันค่าปรับการจ่ายหนี้ล่าช้า จะทำให้กระแสเงินสดของ SMEs ดีขึ้น

พร้อมทั้งให้กระจายอำนาจ มีมาตรการทางภาษีเพิ่มเติม สานต่อ การยกระดับ 10 เมืองรองสู่เมืองหลัก และปรับปรุงกฎระเบียบที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการแข่งขันของภาคธุรกิจ

ระยะกลางและยาว

แผนงานระยะกลางและยาว เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านกลไก เช่น กรอ. และ Team Thailand Plus เป็นต้น พร้อมทั้งให้สื่อสารนโยบายเศรษฐกิจให้ชัดเจน ให้ทุกภาคส่วนรับรู้และเกิดความมั่นใจ

"การวัดผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจ เอกชนเห็นว่าควรตั้งเป้า GDP ประเทศไม่ต่ำ 3-5% ต่อปี การส่งเสริมการลงทุน รัฐบาลเสมือนเซลส์แมนเปิดการขาย จำเป็นต้องปิดการขายให้ได้ ต้องมีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลความสำเร็จอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ควรใช้ Ease of Doing Business Index เป็นดัชนีวัดผลการปรับปรุงกฎระเบียบในการทำธุรกิจของประเทศ ปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดรับกับแนวทาง SDGs แบบสากล"
ขณะเดียวกัน ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการผ่านกลยุทธ์ "ผลักดัน-ตั้งรับ-จับมือ" ช่วยให้สินค้าไทยแข่งขันกับสินค้า นำเข้าจากต่างประเทศ

พร้อมทั้งวางยุทธศาสตร์ประเทศ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต รักษาโมเมนตัมในธุรกิจไทย ทั้ง Food Tourism Wellness และ Logistics สู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค และดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ด้านดิจิทัล, EV Car และส่งเสริมเรื่องการเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูง สร้าง S-curve เศรษฐกิจไทย ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ และยกระดับโครงสร้างพลังงานดั่งเดิม สู่พลังงานสีเขียว

8 วาระร้อน ส.อ.ท.ชงนายกฯ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การหารือวันนี้ ส.อ.ท.ขอให้รัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย คือ 1.ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพ 2.ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศ Made in Thailand 3.ลดต้นทุนการผลิต ทั้งพลังงานและค่าแรง 4.ส่งเสริมและช่วย SMEs 5.ส่งเสริมการค้าชายแดนและระบบโลจิสติกส์ 6.ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อรักษาฐานการผลิตยานยนต์ของไทย 7.พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 8.ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ Ease of Doing Business

ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเลต แม้จะปรับรูปแบบเป็นให้เงินสด แต่หากลงไปช่วยเหลือกับกลุ่มเปราะบาง และทำให้เงินหมุนในระบบเศรษฐกิจ มีการจับจ่ายใช้สอยได้จริง ถือว่าเป็นเรื่องดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

บรรยายใต้ภาพ
แพทองธาร ชินวัตร

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 - 28 ส.ค. 2567


On September 16, the Thai government under Prime Minister Paetongtarn Shinawatra (also known as "Ink") will announce its policy framework. Among the key highlights is a focus on economic development, including addressing household debt, promoting the electric vehicle (EV) industry, and developing an electric train fare policy. Thaksin Shinawatra, former prime minister, is advocating for a nationwide fare of 20 baht for electric trains. To achieve this, private sector-operated trains may be nationalized, and new infrastructure funds will be established. This aims to reduce fares and manage transportation costs more effectively.

Additionally, Thaksin emphasizes continuing the high-speed train project connecting Bangkok to Nakhon Ratchasima and Nong Khai to support regional connectivity and economic growth. The policy also includes the promotion of EV production in Thailand and negotiations with Chinese manufacturers to make Thailand a hub for right-hand drive vehicle production.

These infrastructure initiatives are part of a broader strategy to stimulate the economy, reduce inequality, and modernize Thailand’s transportation systems.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2024 6:03 pm    Post subject: Reply with quote

"สุริยะ"เคลียร์ไอเดีย"ทักษิณ"ไม่ใช่ยึดสัมปทานรถไฟฟ้า-ไม่รังแกเอกชน ซื้อคืนแถมจ้างเดินรถจนครบสัมปทาน ประชาชนจ่าย 20 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:52 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:52 น.


"สุริยะ"แจงไอเดีย"ทักษิณ"ซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า หลังกระทบหุ้นเอกชน ยันไม่ใช่การยึดคืน แต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากสัมปทานเป็นการจ้างเดินรถต่อจนครบอายุสัญญาเดิมเอกชนไม่กระทบ ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายแน่นอน คลังเตรียมแผนตั้งกองทุน สั่งสนข.ศึกษา เก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์เข้าพื้นที่ชั้นในกทม.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึง จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Vision for Thailand เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา เรื่องยึดคืนสัมปทานรถไฟฟ้า ว่า ที่มีข่าวสื่อออกไปอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำนองว่ารัฐบาลมีนโยบายจะไปยึดสัมปทานรถไฟฟ้าคืน ไปรังแกเอกชน และทำให้ผู้เกี่ยวข้องผู้รับสัมปทาน ได้รับผลกระทบและมีความกังวล รวมถึงส่งผลไปถึง ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยข้อเท็จจริงในการสื่อสารของ ท่านทักษิณ ที่พูดในวันนั้น ไม่ได้หมายความแบบที่มีข่าวสื่อออกไป แต่ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลอยากให้ประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลได้รับการบริการ รถไฟฟ้าในราคาที่ถูก และสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงคมนาคมในการดำเนินโครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย



ad

โดยกระทรวงการคลังจะมีการจัดตั้งกองทุนฯขึ้นมาดำเนินการ เพื่อซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากบริษัทเอกชนที่รับสัมปทาน อยู่ในปัจจุบัน เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายสีชมพูสีเหลืองและสีส้ม ที่ยังมีอายุสัมปทานเหลืออีกกว่า 20 ปี ยกเว้นรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ยังเหลืออายุอีกประมาณ 5 ปีเท่านั้น ก็จะจ้างเท่าที่อายุสัมปทานเหลืออยู่ โดยเมื่อรัฐซื้อคืนสัมปทานกลับมาแล้ว จะปรับรูปแบบสัญญา จากสัมปทาน PPP Net Cost เป็นการจ้างเดินรถ หรือ PPP Gross Cost โดยจะจ้างเอกชนรายเดิมที่ยังไม่หมดสัมปทานเดินรถต่อไป จนหมดสัญญาเดิม ดังนั้นเอกชนจะไม่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงในการเดินรถจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างดังกล่าว

"เป้าหมายของเรื่องนี้คือ ต้องการให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด มั่นใจว่าประชาชนจะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าในราคาไม่เกิน 20 บาทตลอดสายแน่นอน ส่วนเอกชนรายเดิมยังเป็นผู้เดินรถต่อไป เพราะจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบสัญญาสัมปทานเป็นสัญญาจ้างเดินรถ เอกชนจะไม่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยง ผมขอยืนยันว่า ไม่มีเรื่องยึดคืนสัมปทานจากเอกชนแน่นอน เพราะหากรัฐบาลทำแบบนั้นต่อไปเอกชนที่ไหนจะกล้ามาลงทุน

ส่วนการเจรจาซื้อคืน และจ้างเดินรถแบบใหม่นี้ จะมีระยะเวลาจ้างตามอายุสัญญาที่เอกชนเหลือแต่ละโครงการ"



นายสุริยะกล่าวว่าโครงการรถไฟฟ้าที่ผ่านมารัฐเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างโครงสร้างานโยธาซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 70- 80%ของมูลค่าโครงการอีก 20-30%ที่เป็นค่าระบบและรถไฟฟ้าให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและให้สัมปทานเดินรถและดูแลรักษาไปอีก 30ปีกลายเป็นรัฐลงทุนมากแต่เสียโอกาสในการกำหนดค่าโดยสารถูกๆเพื่อประชาชนซึ่งการปรับเป็นจ้างเดินรถ จะดีกว่าคล้ายสายสีม่วงที่จ้างเอกชนเดินรถหรือ PPP Gross Cost ตอนนี้ใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสายได้ทุกสาย และทำให้มีประชาชนหันมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างมากตามเป้าหมายที่ส่งเสริมการใช้ระบบรางเพื่อลดฝุ่นPM 2.5 และประหยัดพลังงานด้วย

นายสุริยะกล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สัญญาสัมปทาน ระหว่าง กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS จะครบกำหนดในปี 2572 ว่า หลักการคือ สายสีเขียวหากได้ข้อสรุปเรื่องการจ้าง BTS จะได้รับจ้างเดินรถต่อไปจนครบสัญญาปี 2572 หลังหมดสัญญาแล้วก็จะเป็นการประมูลหาผู้รับจ้างเดินรถรายใหม่ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร

นายสุริยะกล่าวว่า ขอให้รอรัฐบาลแถลงนโยบายต่อ รัฐสภาเรียบร้อยก่อน เรื่องการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าจะมีการ
แนวทางดำเนินการ เท่าที่มีการปรึกษากับกระทรวงการคลัง มีแนวทาง การตั้งกองทุนขึ้นมา เพื่อระดมเงินรวบรวม สำหรับเข้าซื้อกิจการรถไฟฟ้าที่เอกชนยังบริหารภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่วนจะเอาเงินจากไหนเข้ามา คงต้องปรึกษากระทรวงการคลัง และกองทุนนี้จะแยกกับกองทุนที่จะเอาไปอุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมพ.ศ...ด้วย



นายสุริยะกล่าวว่ากระทรวงคมนาคมเตรียมหารือร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาถึงแนวทางที่จะสามารถดำเนินการผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)ภายใต้กรอบกฎหมายพร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ไปดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge)เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการดังกล่าวและนำรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดส่งเข้ากองทุนฯที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนในการรณรงค์ให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นรวมถึงยังเป็นการแก้ปัญหาจราจรจิดขัดอีกด้วย

"แนวคิดCongestion chargeเป็นการกำหนดเขตที่จะเก็บค่าธรรมเนียมจราจรหนาแน่นประเทศอื่นมีการเก็บจริงๆและส่วนตัวได้ไปดูโมเดลนี้ที่ประเทศอังกฤษมาแล้วจึงคิดว่าในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บเมื่อมีระบบขนส่งครบบริบูรณ์แล้วเช่นย่านถนนรัชดาภิเษกถ้าตรงนั้นมีรถไฟฟ้าครอบคลุมแล้วอาจจะต้องเก็บหรือแถวถนนสุขุมวิทก็อาจจะต้องเก็บเพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้"นายสุริยะกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การซื้อคืนระบบรถไฟฟ้าจะใช้เวลาศึกษาเท่าไหร่ จะชัดเจนเมื่อใด และถ้าทำจริงต้องทุกสีทุกสายเลยไหม นายสุริยะกล่าวว่า ต้องขอดูก่อน เบื้องต้นอาจจะร่วมกันกับกระทรวงการคลัง แต่เบื้องต้น ขอให้รอรัฐบาลแถลงนโยบายก่อน ส่วนจะต้องรอให้รถไฟฟ้าก่อสร้างแล้วเสร็จทุกสายก่อนหรือเปล่านั้น คิดว่า ตอนนี้บางจุดมีรถไฟฟ้าผ่านครบแล้ว เพราะฉะนั้น จะต้องไปจ้างที่ปรึกษาว่า สมควรทำตรงจุดไหนก่อน เก็บเท่าไร เรื่องนี้ ยังไม่เคยศึกษามาก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2024 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"สุริยะ"เคลียร์ไอเดีย"ทักษิณ"ไม่ใช่ยึดสัมปทานรถไฟฟ้า-ไม่รังแกเอกชน ซื้อคืนแถมจ้างเดินรถจนครบสัมปทาน ประชาชนจ่าย 20 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:52 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06:52 น.


เอาเลย! 'สามารถ' เชียร์รัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน
วันอังคาร ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 19.09 น.

27 ส.ค.67 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ขอความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า

"เอาเลย ! ซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน มีข่าวที่น่าสนใจว่ารัฐจะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน เพื่อทำให้ค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยมีข่าวว่ารัฐจะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนเมื่อต้นปี 2547 แล้วจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งๆ ที่ในเวลานั้น มีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วเพียงสายเดียว ระยะทาง 23.5 กิโลเมตรเท่านั้น คือสายสีเขียวช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ระยะทาง 17 กิโลเมตร และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร

ผมอยากให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน แต่เนื่องจากรถไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ทำให้ค่าโดยสารแพง หากไม่ให้เอกชนมาร่วมลงทุน ถึงเวลานี้จะมีรถไฟฟ้าน้อยกว่าปัจจุบันมาก รถไฟฟ้าหลายสายคงยังไม่เกิด การให้เอกชนมาร่วมลงทุนมีข้อดีก็คือทำให้สามารถขยายเส้นทางรถไฟฟ้าได้เร็ว แต่ก็มีข้อเสียที่ทำให้ค่าโดยสารแพง

ด้วยเหตุนี้ การซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนกลับมาเป็นของรัฐจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่การซื้อคืนจะต้องใช้เงินจำนวนมาก เนื่องจากถึงวันนี้มีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 8 สาย ระยะทางรวม 274 กิโลเมตร จะหาเงินมาจากที่ไหน ? จึงเกิดแนวคิดที่จะหาเงินจากการเก็บค่าผ่านทางเข้าย่านธุรกิจซึ่งมีรถติด เรียกกันว่าค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge หรือ Congestion Pricing)

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด โดยเรียกมาตรการนี้ว่า Area Licensing Scheme (ALS) โดยเริ่มเมื่อปี 2518 ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังไม่มีรถไฟฟ้า แต่มีรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพให้บริการ ตอนเริ่มใหม่ๆ มีคนคัดค้านเพราะมาตรการนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้รถส่วนตัว แต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการเข้มงวดกวดขัน ทุกคนก็ต้องปฏิบัติตาม

ประเทศไทยของเราเคยมีการศึกษาที่จะใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่เคยนำมาใช้ปฏิบัติ มาวันนี้จะศึกษาอีก ผมจึงขอถือโอกาสนี้ฝากข้อห่วงใยเกี่ยวกับการใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดไปถึงรัฐบาลดังนี้

(1) ภายในพื้นที่ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดจะต้องมีรถไฟฟ้าให้บริการทั่วถึง พร้อมทั้งมีรถเมล์ที่ดีทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารจากรถไฟฟ้า
(2) ภายนอกพื้นที่ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดจะต้องมีที่จอดรถ เมื่อจอดรถแล้วผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าหรือรถเมล์ที่ดีได้ในลักษณะ “จอดแล้วจร (Park and Ride)” เพื่อเดินทางสู่จุดหมายปลายทางต่อไป
(3) จะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยและผู้ทำการค้าภายในพื้นที่ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดหรือไม่ ?
(4) กรุงเทพฯ มีตรอกซอกซอยเยอะ จะหาทางป้องกันไม่ให้รถใช้เป็นเส้นทางหลบหลีกการชำระค่าธรรมเนียมได้อย่างไร ?
(5) ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่จะต้องพิจารณา เช่น วันและเวลาการเก็บค่าธรรมเนียม ประเภทรถ จำนวนผู้โดยสารในรถรวมทั้งคนขับที่จะได้รับการยกเว้น วิธีการเก็บค่าธรรมเนียม และบทลงโทษ เป็นต้น

เมื่อรัฐมีแนวคิดที่จะซื้อสัมปทานคืนจากเอกชน ผมจึงขอฝากคำถามและข้อเสนอแนะไปถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสัมปทานดังนี้

(1) ในอนาคตรัฐจะเชิญชวนเอกชนให้มาร่วมลงทุนในกิจการรถไฟฟ้าอีกหรือไม่ ?
(2) หากรัฐไม่สามารถซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนได้ รัฐจะต้องเลิกขยายระยะเวลาสัมปทานรถไฟฟ้าให้เอกชนทุกราย
(3) รัฐจะซื้อสัมปทานทางด่วนคืนจากเอกชนด้วยหรือไม่ ? เพื่อทำให้ค่าผ่านทางถูกลง หากไม่ซื้อ รัฐจะต้องเลิกขยายระยะเวลาสัมปทานทางด่วนให้เอกชนทุกราย

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี อยากให้รัฐประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการจราจร"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2024 9:33 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 20 บาท ดึงเงิน รฟม. 1.6 หมื่นล้านเข้ากองทุนตั๋วร่วม เร่งดันทุกสาย ก.ย.68
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:47 น.

“สุริยะ” สั่งตั้งคณะทำงาน เร่งทุกขั้นตอนดันรถไฟฟ้า 20 บาททุกสีทุกสายให้ทัน ก.ย.68 ลุยคลอดกฎหมาย ประสานกฤษฎีกาตรวจร่างเร็วขึ้น ขณะที่ รฟม. โอเคแบ่งรายได้เข้ากองทุนฯตั๋วร่วม ชี้ 2 ปี คาดใช้เงิน 1.6 หมื่นล้าน ยังติดปมหาก กม.ไม่ผ่าน จะใช้เงินอุดหนุน “สายสีเขียว” ไม่ได้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำให้นโยบายมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นได้จริง กับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทุกสีทุกสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย.68 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 กระทรวงคมนาคม นำร่องมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าแล้ว 2 สาย ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


นายสุริยะ กล่าวต่อว่า การมีคณะทำงาน และมอบหมายแบ่งกันติดตามดูแลรายละเอียดในแต่ละเรื่องว่าติดตรงไหน อย่างไร จะทำให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น อาทิ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการจัดหาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม สิ่งเหล่านี้ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะร่างกฎหมายตั๋วร่วม ต้องพยายามผลักดันให้มีผลบังคับใช้ก่อนเดือน ก.ย.68 เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน และลดข้อจำกัดจากสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งเวลานี้การผลักดันร่างกฎหมายอาจล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่ากว่ากฎหมายแต่ละฉบับ จะมีผลบังคับใช้ได้ ต้องผ่านหลายกระบวนการ ทั้งการตรวจร่างกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(สคก.) ซึ่งจากที่ตนประสานขอหารือกับ สคก. ระบุว่าต้องใช้เวลาตรวจประมาณ 4 เดือน โดยตนเกรงว่าจะช้าเกินไป และไม่ทันกับเป้าหมายที่วางไว้ ทาง สคก. ก็รับจะช่วยเร่งรัดในการดำเนินการให้ ขณะเดียวกันต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใหม่ และเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และประกาศใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวต่อไป


นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าทุกสีได้ภายในเดือน ก.ย.68ตามที่ได้เคยประกาศไว้ ทั้งนี้จากการสอบถามกรมการขนส่งทางราง(ขร.) พบว่า หากดำเนินมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าทุกสีทุกสายตั้งแต่เดือน ก.ย.68จนครบวาระรัฐบาล ซึ่งเหลืออีกประมาณ 2 ปี ต้องใช้เงินสนับสนุนมาตรการดังกล่าวปีละประมาณ 8พันล้านบาท หรือ 2 ปีประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นเงินที่จะสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม จะนำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่งเป็นเงินส่วนแบ่งรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาสมทบเข้ากองทุนฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยทาง รฟม. ก็ยินดี


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะหาเงินสมทบจากแหล่งเงินอื่นด้วย อาทิ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรื่องเงินสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม ไม่น่ามีปัญหา โดยเงินในส่วนของ รฟม. ทางกระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบกับ สคก. แล้วว่า สามารถดำเนินการได้ แต่จะมีปัญหาว่า หากร่างกฎหมายตั๋วร่วม ยังไม่ประกาศใช้ จะไม่สามารถนำเงิน รฟม. มาใช้สนับสนุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ จะใช้เงินดังกล่าวได้กับรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีคณะทำงาน เพื่อเข้าไปเร่งรัดในรายละเอียดต่างๆ ทุกจุดให้กฎหมายประกาศใช้โดยเร็ว โดยหากพบว่ายังมีปัญหาจุดใด ตนจะได้เข้าไปช่วยเร่งรัด และแก้ปัญหา. ...
https://www.dailynews.co.th/news/3845393/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1060471995530034
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2024 9:48 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 20 บาท ดึงเงิน รฟม. 1.6 หมื่นล้านเข้ากองทุนตั๋วร่วม เร่งดันทุกสาย ก.ย.68
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:47 น.

“สุริยะ” สั่งตั้งคณะทำงาน เร่งทุกขั้นตอนดันรถไฟฟ้า 20 บาททุกสีทุกสายให้ทัน ก.ย.68 ลุยคลอดกฎหมาย ประสานกฤษฎีกาตรวจร่างเร็วขึ้น ขณะที่ รฟม. โอเคแบ่งรายได้เข้ากองทุนฯตั๋วร่วม ชี้ 2 ปี คาดใช้เงิน 1.6 หมื่นล้าน ยังติดปมหาก กม.ไม่ผ่าน จะใช้เงินอุดหนุน “สายสีเขียว” ไม่ได้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำให้นโยบายมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นได้จริง กับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทุกสีทุกสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย.68 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 กระทรวงคมนาคม นำร่องมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าแล้ว 2 สาย ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


นายสุริยะ กล่าวต่อว่า การมีคณะทำงาน และมอบหมายแบ่งกันติดตามดูแลรายละเอียดในแต่ละเรื่องว่าติดตรงไหน อย่างไร จะทำให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น อาทิ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการจัดหาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม สิ่งเหล่านี้ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะร่างกฎหมายตั๋วร่วม ต้องพยายามผลักดันให้มีผลบังคับใช้ก่อนเดือน ก.ย.68 เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน และลดข้อจำกัดจากสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งเวลานี้การผลักดันร่างกฎหมายอาจล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล



นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่ากว่ากฎหมายแต่ละฉบับ จะมีผลบังคับใช้ได้ ต้องผ่านหลายกระบวนการ ทั้งการตรวจร่างกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(สคก.) ซึ่งจากที่ตนประสานขอหารือกับ สคก. ระบุว่าต้องใช้เวลาตรวจประมาณ 4 เดือน โดยตนเกรงว่าจะช้าเกินไป และไม่ทันกับเป้าหมายที่วางไว้ ทาง สคก. ก็รับจะช่วยเร่งรัดในการดำเนินการให้ ขณะเดียวกันต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใหม่ และเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และประกาศใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวต่อไป


นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าทุกสีได้ภายในเดือน ก.ย.68ตามที่ได้เคยประกาศไว้ ทั้งนี้จากการสอบถามกรมการขนส่งทางราง(ขร.) พบว่า หากดำเนินมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าทุกสีทุกสายตั้งแต่เดือน ก.ย.68จนครบวาระรัฐบาล ซึ่งเหลืออีกประมาณ 2 ปี ต้องใช้เงินสนับสนุนมาตรการดังกล่าวปีละประมาณ 8พันล้านบาท หรือ 2 ปีประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นเงินที่จะสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม จะนำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่งเป็นเงินส่วนแบ่งรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาสมทบเข้ากองทุนฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยทาง รฟม. ก็ยินดี


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะหาเงินสมทบจากแหล่งเงินอื่นด้วย อาทิ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรื่องเงินสมทบเข้ากองทุนฯตั๋วร่วม ไม่น่ามีปัญหา โดยเงินในส่วนของ รฟม. ทางกระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบกับ สคก. แล้วว่า สามารถดำเนินการได้ แต่จะมีปัญหาว่า หากร่างกฎหมายตั๋วร่วม ยังไม่ประกาศใช้ จะไม่สามารถนำเงิน รฟม. มาใช้สนับสนุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ จะใช้เงินดังกล่าวได้กับรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีคณะทำงาน เพื่อเข้าไปเร่งรัดในรายละเอียดต่างๆ ทุกจุดให้กฎหมายประกาศใช้โดยเร็ว โดยหากพบว่ายังมีปัญหาจุดใด ตนจะได้เข้าไปช่วยเร่งรัด และแก้ปัญหา. 
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1060471995530034
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48310
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2024 9:05 am    Post subject: Reply with quote

ประชาชนรอ! นั่งรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายเต็มระบบ!! ไม่ใช่เรื่องง่าย! สารพัดปัญหาที่ต้องแก้ไข ลุ้นเกิดไม่เกิด!?!
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Saturday, September 14, 2024 07:09

เดินหน้าการทำงานอย่างเป็นทางการของคณะรัฐบาล "น.ส.แพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี หลังได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

จากนี้การทำงานตามนโยบายของแต่ละกระทรวงก็จะเริ่มได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เข้าตาประชาชน และฝ่ายค้าน ที่เกาะติดทำทำงานชนิดหายใจรดต้นคอ!

และหนึ่งนโยบายที่ถือว่าสร้างผลงานได้ดีในระดับหนึ่ง และเตรียมที่จะนำมาใช้ต่อเนื่อง "นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ของกระทรวงคมนาคม

โดยในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา "นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แจ้งว่า จะเดินหน้า "ค่าโดยสารราคาเดียว" ตลอดสาย โดยค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสีทุกสาย ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ซึ่งจะผลักดันให้สำเร็จภายในเดือนกันยายน 2568 ทั้งนี้เพื่อยกระดับการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง พร้อมสนับสนุนภาคโลจิสติกส์ของไทยในทุกมิติครอบคลุมทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าต่อเนื่องและไม่สะดุด นอกจากนี้ได้เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อเร่งรัดทำรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำให้นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นได้จริงกับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทุกสีทุกสาย ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคม นำร่องมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าแล้ว 2 สาย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางจัดหาเงินชดเชย คาดว่าจะจัดตั้งเป็นกองทุนตั๋วร่วมที่นำเงินมาจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะจัดใช้วงเงินชดเชยประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี โดยหากปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ปริมาณจ่ายเงินชดเชยก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2568 ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาล่าสุด มั่นใจว่าในช่วงกลางปี 2568 จะสามารถนำรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 3 สายในปัจจุบัน เข้าร่วมนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง

ขณะที่ "ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์" อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า นโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ที่ผ่านมามีประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยปัจจุบันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยจากข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2567 หรือประมาณ 7 เดือนครึ่ง พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรวม 2 สาย 20.86 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 66 (16 ต.ค.2565-31 พ.ค.2566) ซึ่งผู้โดยสารอยู่ที่ 17.68 ล้านคน โดยสายสีแดง ผู้โดยสาร 6.21 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27.61% นอกจากนี้สายสีม่วง ผู้โดยสาร 14.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.53% ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการ ส่งผลให้การสูญเสียรายได้ของทั้ง 2 สายลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี

ด้าน "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แสดงความเห็นถึงนโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายของกระทรวงคมนาคมว่า ส่วนตัวมีความยินดีที่รัฐบาลจะซื้อรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดูแลคนเดียว จะสามารถเกลี่ยรายได้ของรถไฟฟ้าแต่ละสายได้ ทำให้การดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทำได้ แต่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล หรือ รฟม. อาจจะมีหลายผู้ประกอบการในการให้บริการ เช่น BTS BEM รฟท. เป็นต้น แต่เนื่องจากขณะนี้แต่ละสายมีสัมปทานอยู่ การซื้อคืนสัมปทานก็มีความซับซ้อนมากขึ้น

"ค่าใช้จ่ายในการดูแลโครงการรถไฟฟ้า อาทิ ค่าจ้างเดินรถเป็น อีกเหตุผลหนึ่งที่ กทม.ไม่ทำรถไฟฟ้าเพิ่มในสายสีเงิน และสายสีเทา และอยากโอนคืนให้ รฟม.เป็นคนดำเนินการ เนื่องมาจาก ปัจจุบันกทม.มีรายจ่ายประจำปี ประมาณ 90,000 ล้านบาทต่อปี แต่ต้องจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ปีละ 8,000 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 10% ของงบประมาณรายจ่าย แต่หลังหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 กทม.คงมีรายได้จากค่าโดยสารเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง กทม.ไม่ได้หวง ถ้าวิธีไหนเกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด คือทางที่ดีที่สุด"

ด้าน "นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ" กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า นโยบายเร่งด่วน ที่จะเห็นผลไวและช่วยหนุนจีดีพีปีนี้ จะเป็นนโยบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งขึ้นอยู่กับเม็ดเงินที่จะใส่ลงในระบบเศรษฐกิจ แต่ประเมินตัวเลขไว้เบื้องต้นจะอยู่ที่ 0.1% ของจีดีพี แต่นโยบายที่เป็นโจทย์และเป็นตัวชี้วัดผลงานของรัฐบาล หากสามารถทำ ได้ดีจะมีผลกับเศรษฐกิจค่อนข้างมาก คือ การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ การกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคาเดียว เนื่องจากเป็นต้นทุนมหาศาล และเป็นต้นทุนที่แพงโดยไม่จำเป็น หากเทียบกับต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ จะมีต้นทุนค่าเดินทางที่ถูกกว่า และสะดวกกว่าไทย ทำให้ค่าครองชีพในการทำงานสูงขึ้น

การเดินหน้า "นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของทุกเส้นทาง จะเป็นไปได้หรือไม่!?! คงต้องฝากความหวังกับรัฐบาล "นายกฯอุ๊งอิ๊ง -สุริยะ รมว.คมนาคม" จะสร้างผลงานชิ้นโบว์แดงได้หรือไม่!?! ติดตามกันต่อไป


## People are waiting! Taking the train for 20 baht throughout the system is not easy! Various problems need to be solved. Will it happen or not!?!

The new government under Prime Minister Paetongtarn Shinawatra and her cabinet has officially started working after presenting their policies to the parliament.

From now on, the work according to the policies of each ministry will begin in full force, in order to impress the public and the opposition who are closely monitoring their work.

One policy that is considered to have achieved good results to some extent and is being prepared for continued implementation is the "20 baht train fare throughout the system" policy of the Ministry of Transport.

In the policy statement to the parliament, Deputy Prime Minister and Minister of Transport Suriya Jungrungreangkit stated that they will proceed with a "single fare" throughout the system, with the maximum fare for all train lines not exceeding 20 baht. This will be pushed to be completed by September 2025. This is to improve the transportation service system and support Thailand's logistics sector in all dimensions, covering land, rail, water, and air transportation to move forward continuously and without interruption.

In addition, a working group has been set up to expedite the details that will make the 20 baht maximum train fare policy a reality for all train lines in Bangkok and its vicinity, helping to reduce the cost of living for the people. Previously, the Ministry of Transport piloted this measure with two train lines starting from October 16, 2023: the Red Line (Bang Sue-Rangsit and Bang Sue-Taling Chan) and the Purple Line (Tao Poon-Bang Yai). The number of passengers on both lines has continuously increased.

However, currently, the study of compensation methods is underway. It is expected that a joint ticket fund will be established, with funds coming from various related parties, such as seeking support from the Energy Conservation Fund, government budget support, and revenue from the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA).

Preliminary study results estimate that the compensation amount will be around 8 billion baht per year. If the number of passengers increases, the compensation amount will continuously decrease.

Sources from the Ministry of Transport stated that the ministry is pushing for the 20 baht train fare policy for all routes to be completed by the target year of 2025. Based on the latest study data, they are confident that by mid-2025, the three currently operating train lines can be included in this policy, consisting of the Blue Line, the Pink Line (Khae Rai-Min Buri), and the Yellow Line (Lat Phrao-Samrong).

Meanwhile, Dr. Pichet Kunadhamraksa, Director-General of the Department of Rail Transport, stated that the 20 baht maximum train fare policy has resulted in more people using the train service. Currently, the 20 baht train fare policy is being implemented on the Red Line and the Purple Line. Data from the start of the implementation on October 16, 2023, until May 31, 2024, or about seven and a half months, shows that the average number of passengers on both lines combined is 20.86 million, an increase of 17.94% compared to the same period in 2023 (October 16, 2023-May 31, 2024), where the number of passengers was 17.68 million. The Red Line had 6.21 million passengers, an increase of 27.61%. The Purple Line had 14.29 million passengers, an increase of 11.53%. This increase in the number of users has resulted in a decrease in revenue loss for both lines from the estimated 300 million baht per year.

Bangkok Governor Chadchart Sittipunt commented on the Ministry of Transport's 20 baht train fare policy throughout the system, saying that he is personally pleased that the government will purchase the Green Line. Having the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) as the sole operator will allow for the distribution of revenue from each train line, making the implementation of the 20 baht train fare policy possible. However, under the government or MRTA's supervision, there may be multiple operators providing services, such as BTS, BEM, SRT, etc. But since each line currently has a concession, buying back the concession is more complicated.

"The cost of maintaining the train projects, such as the operating costs, is another reason why Bangkok is not building more train lines like the Silver Line and the Gray Line, and wants to transfer them back to MRTA for operation. Currently, Bangkok has an annual expenditure of about 90 billion baht per year, but has to pay 8 billion baht per year for the operating costs of the Green Line extensions 1 and 2, which is almost 10% of the budget expenditure. But after the concession expires in 2029, Bangkok will likely have more revenue from fares. Bangkok is not possessive, if any method benefits the people the most, that is the best way."

Burin Adulwattana, Managing Director and Chief Economist at Kasikorn Research Center, stated that the urgent policies that will show quick results and support GDP this year will be policies to help vulnerable groups through the digital wallet project, which depends on the amount of money injected into the economic system. However, the estimated preliminary figure will be 0.1% of GDP. But the policies that are challenges and indicators of the government's performance, if done well, will have a significant impact on the economy, are the restructuring of energy prices and the development of public transportation systems. Setting a single fare for trains is challenging because it involves a massive cost and is an unnecessary expense compared to other countries like Singapore, which has lower and more convenient travel costs than Thailand, leading to a higher cost of living for working people.

Whether the implementation of the "20 baht train fare policy for all routes" will be possible or not!?! We will have to leave our hopes with the government of "Prime Minister Paetongtarn-Suriya, Minister of Transport" to see if they can achieve this remarkable feat!?! Let's continue to follow their progress.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44638
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2024 9:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ประชาชนรอ! นั่งรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายเต็มระบบ!! ไม่ใช่เรื่องง่าย! สารพัดปัญหาที่ต้องแก้ไข ลุ้นเกิดไม่เกิด!?!
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
วันเสาร์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:09 น.



ปูเสื่อรอ??? รถไฟฟ้า 20 บาท ‘ทุกสาย ทุกสี’
หน้าโลกธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 10.48 น.

วันที่ 13 กันยายน 2567 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ปูเสื่อรอ...รถไฟฟ้า 20 บาท ”ทุกสาย ทุกสี“ ระบุว่าน่าตื่นเต้นที่กระทรวงคมนาคมจะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า “ทุกสายทุกสี” 20 บาทตลอดสาย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2568 เป็นต้นไป แย้มว่ามีเงินชดเชยให้เอกชนผู้รับสัมปทานได้ 2 ปี จนสิ้นสุดวาระของรัฐบาลนี้ จะทำได้จริงหรือไม่ ? และหลังจาก 2 ปีผ่านไปแล้ว รัฐบาลหน้าจะหาเงินมาจากไหน ? ต้องติดตาม !

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า “ทุกสายทุกสี” 20 บาทตลอดสาย หมายความว่าผู้โดยสารจ่ายเพียง 20 บาท จะขึ้นลงรถไฟฟ้าสายไหน สีไหน กี่เที่ยวก็ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภายใน 2 ชั่วโมง เป็นต้น


หลังจากมีการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย มาตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว กระทรวงคมนาคมเตรียมที่จะใช้อัตราค่าโดยสารนี้ให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าทุกสายทุกสี ไม่เฉพาะสายสีแดงและสายสีม่วงที่เป็นการลงทุนโดยภาครัฐ 100% ซึ่งสามารถลดค่าโดยสารได้ง่าย เพราะไม่กระทบต่อรายได้ของเอกชนดังเช่นรถไฟฟ้าสายที่มีเอกชนร่วมลงทุน

ในกรณีรถไฟฟ้าสายที่มีเอกชนร่วมลงทุน หากกระทรวงคมนาคมจะลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย รายได้ของเอกชนจะลดลง เป็นผลให้รัฐจะต้องชดเชยรายได้ส่วนที่ลดลงคืนให้เอกชน มิฉะนั้น เอกชนจะไม่ยอมลดค่าโดยสารแน่นอน

กระทรวงคมนาคมคำนวณว่าจะต้องชดเชยรายได้ให้เอกชนปีละประมาณ 8 พันล้านบาท แต่ผมคิดว่าไม่น่าจะพอ คาดว่าจะต้องใช้เงินมากกว่าปีละ 8 พันล้านบาท

กระทรวงคมนาคมแจงว่าในขณะนี้มีเงินพอที่จะชดเชยเอกชนได้ 2 ปี เป็นเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้เงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นเงินส่วนแบ่งรายได้จากการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยได้รับส่วนแบ่งมาจากเอกชนผู้รับสัมปทาน

ผมได้ตรวจสอบส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวแล้ว พบว่าตั้งแต่ปีแรกที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินคือปี 2547 รฟม.มีส่วนแบ่งรายได้ ดังนี้

(1) ถึงสิ้นปี 2566 มีส่วนแบ่งรายได้ 17,705 ล้านบาท

(2) ถึงสิ้นปี 2567 มีส่วนแบ่งรายได้ 21,517 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ)

(3) ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2568 (ก่อนเริ่มเก็บ 20 บาท ทุกสายทุกสีในเดือนกันยายน 2568) มีส่วนแบ่งรายได้ 24,860 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ)

ด้วยเหตุนี้ หากจะต้องชดเชยให้เอกชนปีละ 8 พันล้านบาทจริง ก็มีเงินใช้พอประมาณ 3 ปี แต่ผมคาดว่าจะต้องชดเชยให้เอกชนมากกว่าปีละ 8 พันล้านบาท และคาดว่าจะสามารถชดเชยให้เอกชนได้ปีเศษถึง 2 ปีเท่านั้น

หลังจากนั้น กระทรวงคมนาคมจะหาเงินมาจากไหน เพราะเมื่อเริ่มใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว รฟม.จะไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากเอกชนอีกต่อไป มีแต่จะต้องชดเชยรายได้ให้เขาเท่านั้น

อีกทั้ง หากกระทรวงคมนาคมต้องการจะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนจะต้องใช้เงินอีกก้อนใหญ่ ดูไปแล้วกระทรวงคมนาคมจะต้องแบกภาระทางการเงินหนักจริงๆ จะหาเงินจากการเก็บค่าผ่านทางเข้าย่านธุรกิจซึ่งมีรถติดที่เรียกกันว่าค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge หรือ Congestion Pricing) ตามที่กระทรวงคมนาคมคิดไว้ก็ยากที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

ที่สำคัญ หากกระทรวงคมนาคมจะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน จะต้องเลิกขยายสัมปทานให้เอกชนทุกราย รวมทั้งเอกชนผู้รับสัมปทานทางด่วนด้วย เพื่อทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าและค่าผ่านทางด่วนถูกลง เป็นการลดภาระค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน

โดยสรุป ผมเห็นด้วยที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ผมยังไม่แน่ใจหรือยังมีคำถามดังนี้

(1) จะเริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายทุกสี 20 บาทตลอดสาย ได้ทันเดือนกันยายน 2568 เป็นต้นไปจริงหรือ ?

(2) การคำนวณเงินชดเชยรายได้ให้เอกชนปีละ 8 พันล้านบาท ถูกต้องหรือไม่ ? ประเด็นนี้คงไม่ง่ายที่จะเจรจาตกลงกันได้ เพราะจะต้องคำนวณหารายได้ที่ลดลงของเอกชนแต่ละรายให้เป็นที่ยอมรับของทั้งกระทรวงคมนาคมและเอกชนผู้รับสัมปทาน

(3) จะทำอย่างไรให้นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ยั่งยืน ? ไม่ใช่ทำได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ แค่เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น

ทั้งหมดนี้ อยากให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกปัจจัยอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่จะทำให้นโยบายเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า “ทุกสายทุกสี” 20 บาทตลอดสาย ล้มเหลว และที่สำคัญ จะต้องไม่ทำให้คนที่ปูเสื่อรอต้องผิดหวัง!
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/1090899799069455?ref=embed_post
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 287, 288, 289  Next
Page 282 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©