Rotfaithai.Com :: View topic - 60 ปี การเปิดเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี (16-06-66)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/06/2023 8:03 pm Post subject: 60 ปี การเปิดเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี (16-06-66)
60 ปี การเปิดเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
https://www.facebook.com/1630436815/videos/6563896163662197/
เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี การเปิดเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ทางชมรมฯ ได้จัดทำสารคดีขนาดสั้นขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระนี้ โดยนำคลิปพิธิเปิดเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ที่จัดขึ้นที่สถานีหนองปลาดุก จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 มารวบรวมเข้ากับบทสัมภาษณ์ผู้คนที่เคยเกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายสุพรรณในทางใดทางหนึ่ง เพื่อเก็บความทรงจำเป็นจดหมายเหตุไว้ และเพื่อสะท้อนไว้ซึ่งความหวังในอนาคตต่อเส้นทางสายประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีแห่งนี้ ทางชมรมฯ ใคร่ขอบขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อข้อมูลต่างๆ และสละเวลาให้สัมภาษณ์ ดังนี้
.
- นายเอกพันธุ์ อินทร์ใจเอื้อ (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี)
- อาจารย์พุทธพร ส่องศรี (มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน)
- นาย เฮง สามคุ้มทิม (อดีตช่างซ่อมบำรุงทางรถไฟสายสุพรรณ)
- นายโสภณ บุญศรีวงศ์ (ทายาทเจ้าของที่ดินบริเวณสถานีรถไฟสุพรรณบุรี)
- นางทองไส รำพรรณ (ทายาทนายบุญช่วย รำพรรณ อดีตหัวหน้าช่างซ่อมบำรุงทางรถไฟสายสุพรรณ)
- นายอภัย ยะบุญวัน (ชาวบ้านตำบลมะขามล้ม)
- นายเดชวัต บุญศรีวงษ์ (ร้านอาหารเฉิ่ม)
- นายอภิรักษ์ แสงสว่าง (นักเรียน ร.ร.กรรณสูตศึกษาลัย)
- ด.ญ.รัญชิดา พงษ์เพียร (นักเรียน ร.ร.กรรณสูตศึกษาลัย)
- นายบุญเรือง จันทร์ตรี (ชาวบ้านตำบลมะขามล้ม)
- หนังสือพิมพ์คนสุพรรณ
- หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
- เพจโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
.
ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ
๑๖.๖.๖๖
https://www.youtube.com/watch?v=ldsAq9uuV2M
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/05/2024 10:13 am Post subject:
สุพรรณฯชงนายกฯ 10 พ.ค.หาซอฟต์โลน-เบรกค่าแรง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 - 10:01 น.
หอการค้าสุพรรณบุรีเตรียมชง 3 ประเด็นเสนอนายกฯเศรษฐาลงพื้นที่ 10 พ.ค.นี้ ทั้งการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ SMEs เรื่องสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่สุพรรณบุรี-สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท มีข้อเสียมากกว่าข้อดี ถือเป็นการปรับค่าแรงทั้งระบบ ไม่ใช่ปรับเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ
นายวีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์ เจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่ละมาย และประธานหอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาจังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ทางหอการค้าเตรียมประเด็นที่จะนำเสนอให้รัฐบาลช่วยผลักดันและแก้ไขปัญหา 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เรื่องเส้นทางคมนาคมโลจิสติกส์ และเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท
วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์
ประการแรกเรื่องการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งในอดีตมีหลายโครงการ แต่ปัจจุบันไม่มี และต้องการให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกันให้เหมือนในอดีต
โดยในส่วนเส้นทางคมนาคมโลจิสติกส์ อยากให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำเส้นทางขนส่งทางรางต่อเชื่อมรถไฟจากสุพรรณบุรีไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 40 กิโลเมตร เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางรถไฟจากนครปฐม-สุพรรณบุรี เป็นระยะทางที่สั้น จึงมีผู้ใช้บริการน้อย โดยผู้ใช้บริการน้อยมีเพียงพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้า และรถไฟมีวิ่งให้บริการเพียง 1 เที่ยวต่อวัน หากมีการต่อเชื่อมไปยังสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีถือเป็นชุมทางที่สามารถเชื่อมต่อไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือได้
นายวีระกล่าวต่อไปว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ภาครัฐอาจจะมองว่ามีข้อดี ประชาชนจะมีกำลังซื้อ มีกำลังในการจับจ่ายมากขึ้น แต่หลายจังหวัดเห็นว่า มีข้อเสียมากกว่าข้อดี การปรับค่าแรงขั้นต่ำไม่ใช่ปรับเฉพาะแรงงานขั้นต่ำฐานล่างสุด เพราะแรงงานมีฝีมือที่อยู่สูงขึ้นมาอีกขั้น ไม่ปรับก็ไม่ได้ จึงถือเป็นการปรับค่าแรงทั้งระบบไม่ใช่ปรับเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ
การปรับขึ้น 400 บาทเท่ากันทุกจังหวัด ถือเป็นการลดทอนการแข่งขันของพื้นที่ ปกติตามขั้นตอนของกฎหมาย การปรับค่าแรงขั้นต่ำทุกจังหวัดมีคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด โดยดูปัจจัยสภาวะเงินเฟ้อ และค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก จังหวัดที่มีค่าครองชีพสูงควรจะได้ค่าแรงมากกว่าจังหวัดที่มีค่าครองชีพต่ำ
อีกประเด็นที่หอการค้าหลายจังหวัดหารือกัน คือ จำนวนแรงงานที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นคนไทยน้อย ที่เหลือเป็นแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ยกตัวอย่างจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานต่างชาติจำนวนมาก แรงงานคนไทยที่จ่ายค่าแรงขั้นต่ำมีเพียง 20% แต่อีก 80% เป็นแรงงานต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายในประเทศไทยน้อย และส่งเงินกลับบ้านมากกว่า
หากถามว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ได้ประโยชน์สำหรับคนไทยหรือไม่ ถือว่าได้น้อย เพราะคนต่างชาติเหล่านี้จะจับจ่ายใช้สอยน้อย และส่งเงินกลับบ้านมากกว่า นอกจากนี้ พอมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำตามความต้องการของภาคการเมือง จะทำให้แรงงานไทยหรือแรงงานต่างชาติขาดแรงจูงใจในการพัฒนาฝีมือ เพราะทำงานอย่างไรก็ได้ ภาครัฐมีนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ทั้งที่จริง ๆ เรื่องการพัฒนาฝีมือถือเป็นเรื่องสำคัญ
จริง ๆ ผู้ประกอบการโรงงานอยากใช้แรงงานไทย แต่มาใหม่ ๆ ยังไม่เป็นงาน เราให้ตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำ แต่ทำไปได้สักพัก หากทำงานได้ตามหน้าที่ และมีความรับผิดชอบดี เจ้าของบริษัทก็ปรับขึ้นค่าแรงให้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว โดยที่ภาครัฐไม่ต้องมาสั่ง เพราะเราต้องการจูงใจให้คนทำงานเป็นอยู่กับเรา เพราะตอนนี้แรงงานหายาก หากเราไม่ปรับค่าแรงให้ เมื่อทำงานเป็นจะมีคนมาดึงตัวไปทำงานที่อื่น จริง ๆ นักการเมืองไม่ควรนำเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมาใช้เป็นประเด็นในการหาเสียง นายวีระกล่าวและว่า
ขณะเดียวกันพอมีการปรับค่าแรง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจทั้งระบบ เพราะทุกบริษัทต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น ก็ไปบวกเพิ่มค่าสินค้าต่าง ๆ ปรับขึ้นตามไปด้วย ในด้านบริการเช่นเดียวกัน และที่น่าห่วงมาก ๆ คือ ภาคการเกษตร พอค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ภาคการเกษตรต้องปรับค่าแรงให้คนงาน แต่เกษตรกรไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าของตัวเองได้ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ใช้หุ่นยนต์แขนกลทำงานแทนแรงงานกันจำนวนมาก จะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนโรงงานระดับ SMEs ที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่
"I want the State Railway of Thailand (SRT) to create a rail transport route connecting trains from Suphanburi to end at Ban Phachi Junction Railway Station in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, covering a distance of 40 kilometers.
Currently, the train route from Nakhon Pathom to Suphan Buri is short, resulting in few users, mainly limited to merchants using the service for goods transportation. Additionally, the train operates only once per day.
By establishing a connection to the Ban Phachi Junction train station, it would serve as a junction facilitating connections to the northeastern and northern regions." ---- Mr. Weera Tangwutthikraiwit, Owner of Mae Lamai Limited Partnership and President of the Suphanburi Provincial Chamber of Commerce
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
Posted: 10/09/2024 10:25 am Post subject:
คนสิงห์บุรีโอดครวญว่าไม่มีทางรถไฟต่อจากสุพรรณบุรีไปสิงห์บุรี
สาเหตุไม่ทำในยุคโบราณก็เพราะ สมัยนั้นการเดินทางด้วยเรือแดงจากท่าเตียนไปปากน้ำโพกำลังเฟื่องฟู อีกทั้งต่อมีปี 2486 บขส. ก็เดินรถ บขส. ระหว่างเมือง ต่อจากเมืองลพบุรี (เริ่มเดินถึงลพบุรี ปี 2483) ไปสิงห์บุรี เลยสิ้นความจำเป็นในการทำทางรถไฟไปสิงห์บุรี
อีกอย่าง เพราะ ใช้เงินการรถไฟเองไม่ได้ใช้เงินกู้ต่างประเทศก็เลยกุดแบบนั้นเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเอาง่ายๆ นอกจากนี้มีถนนพหลโบธินอยู่แล้วยิ่งทำให้หมดความจำเป็นในการทำทางรถไฟเข้าไปอีก
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=498900736191969&id=100082161393862
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/10/2024 5:00 pm Post subject:
เปิดแผนสร้างทางรถไฟเชื่อม "สุพรรณบุรี-อยุธยา" เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, October 23, 2024 12:53
จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดประชุมศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี-นครหลวง-ชุมทางบ้านภาชี ตั้งเป้า "เชื่อมโยงระบบขนส่งทางราง ลดอุบัติเหตุ ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน"
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมบึงพระราม อาคาร 1 ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้ นายณรงค์วิทย์ พบพาน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานการประชุมศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี-นครหลวง-ชุมทางบ้านภาชี
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ อบจ. หอการค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบข้อมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี-นครหลวง-ชุมทางบ้านภาชี การนำเสนอขอบเขตการศึกษา การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้ง การพิจารณาความเหมาะสมของแนวเส้นทางรถไฟเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่
จุดเริ่มต้นของโครงการ จุด A แยกออกจากแนวทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีสุพรรณบุรี โดยจะต้องตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) และเข้าสู่พื้นที่ของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และพื้นที่ชุมชนหนาแน่น
จุด B แยกออกจากทางรถไฟเดิมก่อนเข้าพื้นที่เมืองสุพรรณบุรี บริเวณก่อนถึงสถานีสุพรรณบุรีประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยเบี่ยงขวาออกจากทางรถไฟเดิมก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟกับทางหลวงหมายเลข 357 (ทางเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี) ประมาณ 2.7 กิโลเมตร จุดสิ้นสุดโครงการ
จุด C บริเวณก่อนถึงสะพานพระแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร ที่มีระยะห่างจากสถานีชุมทางบ้านภาชีประมาณ 6 กิโลเมตร รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งยกระดับของโครงการรถไฟความเร็วสูง จะวางตัวอยู่ด้านขวาของทางรถไฟเดิม
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างดังกล่าว การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด, บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และปัจจุบันโครงการอยู่ในขั้นตอนการเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่โครงการ โดยพื้นที่ศึกษาจะครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะประกอบด้วย 6 อำเภอ 38 ตำบล
โครงการก่อสร้างดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเส้นทางภาคเหนือ ภาคคะวันออกเฉียงเหนือ และสายสุพรรณบุรี-หนองปลาดุก-ภาคตะวันตกและภาคใต้ ช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง การขนส่ง และอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนนได้ ลดความแออัดของการขนส่งสินค้าผ่านระบบขนส่งทางรางเข้าไปกลางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด
Plans Unveiled for New Railway Connecting Suphan Buri and Ayutthaya to Boost Economic Opportunities
Source - Prachachat Business Website
Wednesday, October 23, 2024 12:53
Ayutthaya province held a meeting to discuss the feasibility study for a new railway line connecting Suphan Buri, Nakhon Luang, and Ban Phachi Junction. The project aims to enhance rail transport connectivity, reduce accidents, and bridge the economic gap for local communities.
On October 22, 2024, at the Bung Phra Ram meeting room in the Ayutthaya Provincial Hall, Mr. Niwat Rungsakorn, Governor of Ayutthaya, assigned Mr. Narongwit Phop Phan, Head of the Ayutthaya Provincial Office, to chair the meeting on the feasibility study for the Suphan Buri-Nakhon Luang-Ban Phachi Junction railway project.
Attendees included department heads, district chiefs, representatives from the Ayutthaya Provincial Administrative Organization, the Ayutthaya Chamber of Commerce, the Federation of Thai Industries Ayutthaya Chapter, and relevant state enterprises. The meeting covered project information, scope of the study, environmental impact assessment, public participation, and route alignment to minimize community impact.
The project proposes three starting points:
* Point A: Branching from the existing railway line at Suphan Buri Station, crossing Highway 321 (Malai Man Road), and passing through the Kan Suksa School and densely populated areas.
* Point B: Diverging from the existing line before entering Suphan Buri city, approximately 4.5 kilometers before Suphan Buri Station and 2.7 kilometers before the railway intersects with Highway 357 (Suphan Buri bypass). This is also the project's endpoint.
* Point C: Located about 1 kilometer before Phra Kaeo Bridge and 6 kilometers from Ban Phachi Junction. The elevated structure of the high-speed rail project will be positioned to the right of the existing railway.
The State Railway of Thailand (SRT) has commissioned a consortium of consulting firms MHPAM Co., Ltd., MAA Consultant Co., Ltd., and United Analyst and Engineering Consultant Co., Ltd. to conduct the feasibility study. Currently, the project is in the preparatory phase, with the study area encompassing three provinces: Suphan Buri, Ang Thong, and Ayutthaya. Within Ayutthaya, the study covers six districts and 38 sub-districts.
This railway project is expected to:
* Connect existing railway lines in the north, northeast, and the Suphan Buri-Nong Pladuk line to the west and south.
* Reduce travel costs, transportation expenses, and road accidents.
* Alleviate freight traffic congestion by shifting transportation to rail for goods entering Bangkok and its vicinity.
* Create economic opportunities for residents and businesses in all three provinces.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
Posted: 19/11/2024 11:14 am Post subject:
#รถไฟทาง คู่สายใหม่ #สุพรรณบุรี - #บ้านภาชี เลี่ยงกทม. เชื่อม เหนือ-อีสาน-ใต้
เปิด 2 ต้นทาง 4 เส้นทาง เปรียบเทียบความคุ้มค่า เชื่อมโยงระหว่างประเทศ จีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย
วันนี้เอาข่าวความคืบหน้าของเส้นทางรถไฟสายใหม่อีกเส้นที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ ระหว่างประเทศ ซึ่งมาแก้ปัญหาในการเชื่อมโยงระหว่างภาคใต้ กับ เหนือ-อีสาน-ตะวันออก
ซึ่งปัจจุบันรถไฟที่จะลงใต้ทั้งหมดต้องมาตั้งต้นที่ ชุมทางบางซื่อ เพื่อเปลี่ยนเส้นทาง
ทำให้ทั้งเสียเวลา และมีข้อจำกัดในการเข้ากรุงเทพได้แค่เฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น
ล่าสุดมีโครงการศึกษารายละเอียด โครงการ ทางรถไฟสายใหม่ สุพรรณบุรี-บ้านภาชี เพื่อมาศึกษาเส้นทาง และความเป็นไปได้ของโครงการ
ซึ่งจากการศึกษา มีการแบ่งการศึกษาต้นทางออกเป็น 2 จุดคือ
- ต่อจากปลายทางสถานีสุพรรณบุรี ผ่านถนนมาลัยแมน แล้วอ้อมเมืองสุพรรณบุรี ไปทางด้านเหนือ
- แยกเส้นทาง ออกจากเส้นทางปัจจุบัน ประมาณ 4.5 กิโลเมตร ก่อนถึงสถานีรถไฟสุพรรณบุรี (ก่อนถึงเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี
ปลายทางของโครงการ
จะไปบรรจบกับทางรถไฟสายเหนือ บริเวณ 1 กิโลเมตร ก่อนถึงสถานีพระแก้ว และห่างจากสถานีชุมทางบ้านภาชี ประมาณ 6 กิโลเมตร
เส้นทางรถไฟโครงการแบ่งเป็น 4 ทางเลือก ได้แก่
1. แนวเส้นทางเลือกที่ 1 : เริ่มจากสถานีสุพรรณบุรีเดิม มุ่งทิศเหนือผ่านทางหลวงหมายเลข 321 พื้นที่ในช่วงนี้เป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่น
จึงอาจจำเป็นต้องพิจารณาออกแบบเป็นสะพานยกระดับหรืออุโมงค์ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อลดผลกระทบด้านการโยกย้ายเวนคืน จากนั้นแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ด้านเหนือของเมืองสุพรรณบุรี มุ่งหน้าทิศตะวันออก ผ่านแม่น้ำท่าจีน ข้ามทางหลวงหมายเลข 340 ผ่านทางหลวงหมายเลข 357 เบี่ยงแนวเส้นทางเข้าใกล้ทางหลวงหมายเลข 33 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและทางหลวงหมายเลข 309 ใกล้ตัวเมืองป่าโมก ผ่านทางหลวงหมายเลข 32 และทางหลวงหมายเลข 347 แล้วจึงเบี่ยงแนวเส้นทางมุ่งทิศใต้ รองรับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือ อำเภอนครหลวง แล้วจึงเข้าบรรจบทางรถไฟเดิม ระยะทางรวมประมาณ 69 กิโลเมตร
(เอาไอเดียจากการคิดจะทำสายสุพรรณบุรี ผ่าน ป่าโมก ไปป่าหวายมาดัดแปลง)
2. แนวเส้นทางเลือกที่ 2 : เริ่มจากสถานีสุพรรณบุรีเดิม มุ่งทิศเหนือผ่านทางหลวงหมายเลข 321 พื้นที่ในช่วงนี้เป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่น จึงอาจจำเป็นต้องพิจารณาออกแบบเป็นสะพานยกระดับหรืออุโมงค์ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อลดผลกระทบด้านการโยกย้ายเวนคืน จากนั้นแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ด้านเหนือของเมืองสุพรรณบุรี มุ่งหน้าทิศตะวันออก ผ่านแม่น้ำท่าจีน ก่อนจะเบี่ยงแนวลงทิศใต้เข้ามาใช้ แนวเส้นทางตามการศึกษาของ MR10 ตัดทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งทิศตะวันออก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและทางหลวงหมายเลข 309 ด้านทิศใต้ของตัวเมืองป่าโมก แล้วจึงเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 32 และทางหลวงหมายเลข 33 แล้วจึงเข้าบรรจบทางรถไฟเดิม ระยะทางรวมประมาณ 68 กิโลเมตร
3. แนวเส้นทางเลือกที่ 3 : เริ่มแยกจากแนวทางรถไฟเดิม บริเวณก่อนถึงสถานีสุพรรณบุรีประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยเบี่ยงขวาออกจาก ทางรถไฟเดิมก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟกับทางหลวงหมายเลข 357 มุ่งทิศตะวันออก ขนานทางหลวงหมายเลข 357 แล้วจึงเบี่ยงแนว มุ่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือตัดทางหลวงหมายเลข 33 เข้ามาใช้แนวเส้นทางตามการศึกษาของ MR10 ตัดทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งทิศตะวันออก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและทางหลวงหมายเลข 309 ด้านทิศใต้ของตัวเมืองป่าโมก แล้วจึงเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 32 และทางหลวงหมายเลข 33 แล้วจึงเข้าบรรจบทางรถไฟเดิม ระยะทางรวมประมาณ 68 กิโลเมตร
4. แแนวเส้นทางเลือกที่ 4 : เริ่มแยกจากแนวทางรถไฟเดิม บริเวณก่อนถึงสถานีสุพรรณบุรีประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยเบี่ยงขวาออกจาก ทางรถไฟเดิมก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟกับทางหลวงหมายเลข 357 มุ่งทิศตะวันออก ขนานทางหลวงหมายเลข 357 ผ่านด่านทิศใต้ของบ้านผักไห่ ผ่านพื้นที่บ่อทรายขนาดใหญ่ด้านทิศใต้ของบ้านป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านทางหลวงหมายเลข 32 และทางหลวงหมายเลข 347 แล้วจึงเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 32 และทางหลวงหมายเลข 33 แล้วจึงเข้าบรรจบทางรถไฟเดิม ระยะทางรวมประมาณ 66 กิโลเมตร (สายนี้น่าจะถูกใจซีพี)
จุดเริ่มต้น:
จุด A : แยกออกจากทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีสุพรรณบุรี โดยจะต้องตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) และเข้าสู่พื้นที่ของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และพื้นที่ชุมชนหนาแน่น (ทางเลือก 1-2)
จุด B : แยกออกจากทางรถไฟเดิมก่อนเข้าพื้นที่เมืองสุพรรณบุรี บริเวณก่อนถึงสถานีสุพรรณบุรีประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยเบี่ยงขวาออกจากทางรถไฟเดิมก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟกับทางหลวงหมายเลข 357 (ทางเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี) ประมาณ 2.7 กิโลเมตร (ทางเลือก 3-4)
จุดสิ้นสุด:
จุด C : บริเวณก่อนถึงสถานีพระแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร ที่มีระยะห่างจากสถานีชุมทางบ้านภาชีประมาณ 6 กิโลเมตร รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งยกระดับของโครงการรถไฟความเร็วสูงจะวางตัวอยู่ด้านขวาทางของทางรถไฟเดิม
ซึ่งทั้ง 4 ทางเลือก มีทั้งข้อดี และข้อเสีย แตกต่างกัน ทางที่ปรึกษาน่าจะมีการนำเสนอ เส้นทางที่เหมาะสมมากที่สุด ก่อนจะนำมาระชุมครั้งถัดไปครับ
ซึ่งนอกจากเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางใหม่ที่จะรองรับการขนส่งสินค้าเลี่ยงกรุงเทพแล้ว ยังมีโอกาสเกิดขบวนรถไฟโดยสายเชื่อมภูมิภาคเกิดขึ้นด้วยได้เช่นกัน เช่น
- นครสวรรค์-สุพรรณบุรี-นครปฐม
- นครราชสีมา-สุพรรณบุรี-นครปฐม
ที่สำคัญที่สุด ถ้าเส้นทางนี้เกิดขึ้นจริง เราจะกลายเป็นเส้นทางเชื่อมโยงทางรางที่สมบูรณ์ขึ้นอีกมาก
จะสร้างโอกาสให้เอกชน และการรถไฟฯ ในการให้บริการขนส่งสินค้าใหม่ๆ ที่ตรอจากภาคใต้ และ มาเลเซีย เชื่อมไปส่งเข้าจีน ที่รถไฟลาว-จีนได้โดยตรง!!!
ใครที่สนใจรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ดูได้จากลิงค์ในคอมเมนท์ ครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/919402047002050
REF ลิงค์:
https://xn----5wfabmcb2eyaihzie7cn2an2afac9f9cwksacc0fm7efe50bwe7b.com/
เอกสารข้อมูลโครงการเบื้องต้น.pdf
https://line.me/R/ti/p/@352bdypm?ts=10011902&oat_content=url -
https://www.facebook.com/profile.php?id=61566621810893&mibextid=LQQJ4d
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/11/2024 12:36 pm Post subject:
หอการค้า 5 ภาคชงบิ๊กโปรเจ็กต์ รถไฟเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, November 20, 2024 10:27
หอการค้าจัดประชุมทั่วประเทศ ชงสมุดปกขาว รวมมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจถึงมือรัฐบาล เปิดแผน 5 ภาคปักหมุดโครงการยักษ์ แก้น้ำท่วม น้ำแล้ง หมอกควัน เร่งรัดรถไฟไฮสปีดต่อลมหายใจภาคตะวันออก ภาคใต้ไม่น้อยหน้าตั้งเป้ารถไฟเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน ด้วยงบ 5 หมื่นล้านบาท ไม่ทิ้งแลนด์บริดจ์ หออีสานโชว์เลี้ยงโคพรีเมี่ยมส่งออกตลาดโลก ภาคกลางเน้นสร้างถนนทะลวงปัญหาจราจร
# หอการค้าชงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายนนี้ ที่สวนนงนุช จังหวัดชลบุรี โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด สร้างไทยให้เติบโต สู่อนาคตที่ยั่งยืน : CONNECT FOR GROWTH INNOVATING FOR OUR SUSTAINABLE FUTURE
ทั้งนี้ หอการค้าไทย พร้อมด้วยเครือข่ายภาคเอกชนทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย หอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าต่างประเทศ สมาคมการค้า และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ระดมความเห็นเพื่อจัดทำเป็นแนวทางและข้อเสนอแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สมุดปกขาว หอการค้าไทย ปี 2567) ซึ่งจะมอบให้กับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตัวแทนของรัฐบาลรับมอบ
เนื้อหาสมุดปกขาว ประกอบไปด้วย ข้อเสนอเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน + 6 ประเด็นปลุกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งภาคเอกชนอยากเห็นประเทศไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ โดยมีเป้าหมายให้ GDP ไทยเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4%
# เหนือชง 5 หมื่นล้าน แก้น้ำท่วม
นายสมบัติ ชินสุขเสริม ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หอการค้าภาคเหนือจะนำเสนอโครงการพัฒนาภาคเหนือ ระยะปี 2567-2570 โดยมี 4 เรื่องสำคัญ ซึ่งคาดว่างบประมาณจะอยู่ที่ราว 50,000 ล้านบาท ได้แก่
1.แผนการบริหารจัดการภัยพิบัติ มี 2 โครงการ คือ 1) เรื่องน้ำ จากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายจังหวัดภาคเหนือปีนี้ ต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันเรื่องการบริหารจัดการน้ำที่ต้องแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะการผลักดันให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม อาทิ จังหวัดน่าน ที่ปริมาณอ่างเก็บน้ำไม่เพียงพอที่จะรองรับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ด้วย คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณราว 40,000 ล้านบาท 2) การแก้ปัญหาหมอกควัน และการผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลได้ช่วยผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนืออย่างจริงจังและเกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
2.โครงการส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนาด่านการค้าชายแดน ได้แก่ ด่านบ้านฮวก จังหวัดพะเยา และด่านห้วยโก๋น จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นด่านการค้าเชื่อมกับ สปป.ลาว ที่ต้องยกระดับการค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าอุปสรรคของการค้าคือ การทำงานของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่มีความทับซ้อนกัน
3.โครงการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ซึ่งภาคเหนือต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นหลังเหตุการณ์น้ำท่วม โดยข้อเสนอของแต่ละพื้นที่ต้องการให้มีการส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดกิจกรรมดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าสู่พื้นที่
4.โครงการเกษตรมูลค่าสูง จะผลักดันเส้นทางการปลูกกาแฟ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้เป็นเส้นทางปลูกกาแฟที่สำคัญของภาคเหนือที่เชื่อมโยงกัน เพื่อรองรับดีมานด์ของตลาดกาแฟที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเป็นการทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด ซึ่งจะช่วยลดปัญหา PM 2.5 ในระยะยาว นอกจากนี้ ข้อเสนอของหอการค้ากลุ่มจังหวัด ต้องการผลักดันให้เกิดศูนย์กระจายสินค้าและจุดถ่ายเทสินค้าที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อที่จะสามารถเก็บสต๊อกพืชผลทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทั้ง 3 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมการค้า การลงทุน โครงการท่องเที่ยวมูลค่าสูง และโครงการเกษตรมูลค่าสูง คาดว่างบประมาณอยู่ที่ราว 10,000 ล้านบาท โดยเมื่อรวมโครงการทั้งหมด 4 โครงการ งบประมาณจะอยู่ที่ราว 50,000 ล้านบาท
# ตะวันออกผนวกปราจีนฯสู่ EEC
นายปรัชญา สมะลาภา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับแผนงานและโครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีอยู่แล้ว ผลักดันให้สำเร็จโดยเร็ว โดยไม่ต้องไปทำโครงการใหม่ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี เพื่อรองรับการใช้น้ำในพื้นที่อีอีซี
นอกจากนี้ อยากให้นำพื้นที่บางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรีผนวกรวมเป็นพื้นที่อีอีซีด้วย เช่น พื้นที่บริเวณอำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตประกอบการอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก เพราะปัจจุบันโรงงานหลายแห่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับที่รัฐบาลส่งเสริม เพื่อจะให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับโรงงานที่ตั้งอยู่ในอีอีซี และเป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ปัจจุบันจังหวัดปราจีนบุรีมีนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน และสังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) หลายแห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมนับพันแห่งตั้งอยู่ เช่น เขตประกอบการอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี, สวนอุตสาหกรรม 3 แห่ง คือ สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง อำเภอกบินทร์บุรี, โรงงาน 304 อินดัสเตรียลปาร์ค อำเภอศรีมหาโพธิ, โรงงานโรจนะ อินดัสเตรียล แมเนจเม้นท์ อำเภอศรีมหาโพธิ, นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี และมีนิคมสังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) คือ 1.นิคมอุตสาหกรรม 304 จังหวัดปราจีนบุรี 2.นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 3.นิคมอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์
# อีสานศูนย์กลางเกษตรอาหาร
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลุ่มหอการค้าภาคอีสานจะเร่งรัดโครงการเดิมให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด จากการผลักดันด้านผลผลิตการเกษตร, การค้าชายแดน, การท่องเที่ยวและซัพพลายเชน
สิ่งที่จะเร่งรัดผลักดัน คือ ภาคการเกษตร ได้ตั้งเป้าหมายให้อีสานเป็น "พื้นที่เกษตรอาหาร" ยกระดับรายได้ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร พร้อมส่งเสริมการเป็นเกษตรสมัยใหม่ ตามหลักการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC - Bioeconomy) ได้แก่ โครงการสนับสนุนเลี้ยงโคพรีเมี่ยม ขยายพื้นที่การผลิตในแถบภาคอีสานตอนบนมากขึ้น เตรียมจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างโรงเชือดมาตรฐาน เพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลก
"รวมถึงการขับเคลื่อน จ.อุดรธานี ให้เป็นจังหวัดชายแดน สนับสนุนเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดหนองคาย เพื่อสิทธิประโยชน์ลงทุนของคนในพื้นที่ ต้องการผลักดันให้สอดรับกับโครงสร้างทางคมนาคมที่มีอยู่ ทั้งโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จึงอยากให้ลดความมั่นคง ให้มองเป็นเรื่องเศรษฐกิจ"
# หอภาคใต้ดันแลนด์บริดจ์
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และรักษาการประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ต้องการเร่งรัด 3 โครงการ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1.รถไฟเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน มี 2 เส้นทาง คือ สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี-ท่าเรือดอนสัก งบประมาณ 50,000 ล้านบาท หากโครงการแล้วเสร็จจะรองรับนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดฝั่งอันดามันได้มากขึ้น 2.โครงการแลนด์บริดจ์ ท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดชุมพร เเละจังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมท่าเรือ 2 เเห่ง ถ้าทำสำเร็จจะสร้างรายได้มหาศาล
3.รถไฟทางคู่ นครปฐม-ปาดังเบซาร์ จะช่วยให้การค้าและการลงทุนดีขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรจะโดยสารส่งผ่านระบบรางได้เร็วขึ้น
ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ โครงการสนามบินอันดามัน จ.พังงา เพื่อลดความแออัดของสนามบินภูเก็ตและกระบี่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์กลางทางการบิน งบประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวได้หลาย 10 ล้านคน รวมถึงโครงการที่เสนอไปแล้วอยู่ระหว่างการจัดงบประมาณ ได้แก่ โครงการขยายช่องจราจร ถนนระนอง-บ้านพะโต๊ะ-หลังสวน เสนอจาก 2 ช่อง ให้เป็น 4 ช่องจราจร เพื่อลดระยะเวลาการขนส่งระหว่างฝั่งอันดามัน-ฝั่งอ่าวไทย
# หอกลางชูปทุมฮับโลจิสติกส์
นายธวัชชัย เศรษฐจินดา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคกลาง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หอการค้า 5 ภาคเตรียมยื่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจบรรจุในสมุดปกขาว จะเร่งรัดโครงการต่าง ๆ ที่เคยเสนอไปแล้วให้เกิดเป็นรูปธรรม 1.โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ เช่น แก้ปัญหาการจราจร ถนนพระราม 2, โครงการสร้างทางรถไฟ (สุพรรณบุรี-อยุธยา) ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้, โครงการสร้างทางรถไฟ (สุพรรณบุรี-อยุธยา) ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงการผลักดันโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเมืองรองรับการอยู่อาศัยต่อจากกรุงเทพฯ เช่น ขนส่งมวลชน โลจิสติกส์
2.โครงการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น จะต้องทำฝาย ทำประตู ทำการขุดลอกคูคลองในเขตเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วม, ระยะกลาง ขอให้มีการศึกษาผังเมืองเพิ่มเติม พิจารณาแก้ปัญหาสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางน้ำสาธารณะ และระยะยาว จะมุ่งเน้นไปที่แผนจัดการลุ่มน้ำของไทย การจัดการน้ำทั้งระบบให้สามารถป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง
3.ด้านการเกษตร ส่งเสริมการทำเกษตรเชิงผสมผสาน เนื่องจากเกษตรเชิงเดี่ยวไม่สามารถสร้างรายได้และแก้ปัญหายากจนได้
4.ชูการพัฒนา Smart City โดยจะเริ่มจากการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเมืองให้รองรับการอยู่อาศัยต่อจากกรุงเทพฯ เช่น การแก้ไขผังเมือง, การจัดระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง, ระบบโลจิสติกส์, การขนส่งมวลชน รวมถึงส่งเสริมให้ จ.ปทุมธานี เป็นศูนย์การกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ เนื่องจากมีความพร้อมทางบกและทางอากาศ เส้นทางสัญจร รวมถึงคลังสินค้า DC
5.ส่งเสริมให้ จ.ปทุมธานี เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ เนื่องจากมีความพร้อมทางบกและทางอากาศ เส้นทางสัญจร รวมถึงคลังสินค้า DC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group