Main Menu
Homepage
Members Zone
·
ข้อมูลส่วนตัว
ข่าวสารส่วนตัว
·
บริการเว็บเมล์
·
กระดานข่าว
กระดานฝากข้อความ
·
รถไฟไทยแกลลอรี่
รายนามสมาชิก
·
แบบสำรวจ
สมุดเยี่ยม
·
เกี่ยวกับสมาชิก
News & Stories
·
เรื่องทั้งหมด
·
เนื้อหาสาระ
·
เรื่องสำหรับพิมพ์
·
ยอดฮิตติดอันดับ
·
ค้นหาข่าวสาร
·
ค้นหากระทู้เก่า
Contents
·
กำหนดเวลาเดินรถ
·
ประเภทขบวนรถโดยสาร
·
ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
·
แผนที่เส้นทางรถไฟ
·
อัตราค่าโดยสาร
·
คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
·
รูปแบบการให้บริการรถไฟ
·
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
·
ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
·
ระบบติดตามขบวนรถ
Services
·
Downloads
·
GoogleSearch
·
Hotels Booking
·
FlashGames
·
Wallpaper 1
·
Wallpaper 2
·
Wallpaper 3
·
Wallpaper 4
Information
·
เกี่ยวกับเรา
·
นโยบายความเป็นส่วนตัว
·
แผนผังเว็บไซต์ฯ
ส่งข้อแนะนำติชม
·
ติดต่อลงโฆษณา
·
แนะนำและบอกต่อ
·
สถิติทั้งหมด
·
สำหรับผู้ดูแลระบบ
Sponsors
Visitors
มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:
312283
ทั่วไป:
13929269
ทั้งหมด:
14241552
คน ตั้งแต่
01-08-2004
Rotfaithai.Com :: View topic - กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับรถไฟหลวง
Forum FAQ
Search
Usergroups
Profile
Log in to check your private messages
Log in
กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับรถไฟหลวง
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic
::
View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2025 1:53 am
Post subject:
สำเนาที่ ๑๖๑๔๙ รับวันที่ ๒๑ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
ที่พักเมืองราชบุรี
วันที่ ๑๙ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
ถึง พระยาสฤษดิ์
วันที่ ๑๒ สิงหาคม เวลาเช้าออกเรือจากบ้านบางลี่ล่องตาม
คลองสองพี่น้อง แลลำน้ำสุพรรณ์ เข้าเขตรแดนเมืองนครไชยศร
....
การที่จะสร้างตลาดของสดแลร้านชำนั้นหา ผู้มีทุนทำได้ง่าย เพราะค่าเช่าคงจะเปนดอกเบี้ย ไม่ต่ำกว่าชั่งแลบาท การที่ย้ายบ่อนไปคงจะพาให้ร้านที่มีอยู ่ในตลาดเดียวนี้ลดลงพอหายเยียดยัดกัน แบ่งที่สร้างตึกหรือโรงที่มั่นคงขึ้นในที่หลวงแห่งนี้ได้ การที่จะทำเปนการหลวงหรือจะขายที่หลวงให้ราษฎรทำก็ได้ทุกอย่าง ถ้าได้กะแผนที่แล้วอย่างช้าอิก ๓ ปีที่นี้คงเปนเมือง ด้วยรถไฟจะเปน กำลังใหญ่ที่จะช่วยบำรุง เวลานี้ได้พบพวกมิศเตอร์ถึงกำลังปักกรุย รถไฟเข้ามาในตอนคลองเจดีย์บูชาแล้ว ฟังเสียงพ่อค้าราษฎรในที่นี้อยู่ ข้างจะพากันนิยมเรื่องรถไฟเปนอันมาก มีคนมาขอให้ฉันบอกว่ารถไฟจะแล้วเมื่อใดหลายคน ตามความเห็นของพวกพ่อค้าเห็นว่าถ้ารถไฟสายนี้แล้ว พวกเขาจะได้ความบริบูรณ์ขึ้นอิกมาก เพราะทุกวันนี้การทำไร่ขายสินค้ามีความขัดข้องอยู่หลายอย่าง คือต้องหาบขนสินค้ามาขายที่พระปฐมเปนความลำบากแลเปลืองโสหุ้ย บางทีในระดูฝนเหมือนอย่างเดียวนี้ที่ไร่อยู ่ไกลก็มาค้าขายไม่ได้เพราะฝนชุกหนทางเปนหล่ม เปนโคลนใช้เกวียนหรือพาหนะอย่างใดไม่ได้ อิกประการหนึ่งสินค้าที่เอามาขายที่ตลาดพระปฐมราคายังต่ำเปนต้นว่าน้อยหน่า บางวันถ้ามา ขายมากด้วยกันขายได้เพียง ๑๐๐ ละ ๒ สลึง ต่อมาวันมีเรือมารับมากหรือคนมาขายน้อย จึงขึ้นราคาถึงกว่า ๑๐๐ ละ ๓ สลึง เพราะพวกที่รับคิดเพื่อเสียหายในระหว่างที่จะพาไปขาย น่านี้พอค่อยยังชั่ว ถ้าน่้ำแล้ง บางทีถึง ๔ วัน ๕ วัน จึงจะไปถึงกรุงเทพ, ถ้ามีรถไฟความลำบาก เหล่านี้จะหมดไปคงจะขายสินค้าได้ราคาดีขึ้นกว่าเดียวนี้ คนจึงหวังใจ ในรถไฟมาก
....
การทำไร่ในเวลานี้ได้ความว่ามากขึ้นกว่าแต่ก่อนเปนอันมากที่ป่า ถางเปนไร่ตลอดไปจนหนองแขม คงถึงห้วยกระบอกไม่ช้านัก ที่ทำไร่มากขึ้นได้ความว่า เพราะโจรผู ้ร้ายสงบลง คนกล้าออกไปอยู ่ที่เปลี่ยวไม่กลัวโจรไภย ประการหนึ่งเพราะมีจีนออกมาจากกรุงเทพ, เปนอันมากเนืองๆ ทำได้กำไรดี ในว่าจีนใหม่ออกมาทำการเปนลูกจ้างไม่ถึง ๒ ปี ก็ตั้งตัวทำการของตนเองได้ ได้ความดังนี้
ในการทำไร่ในอำเภอ พระปฐมนี้เห็นว่าเพราะเหตุที่ดินมีมากกว่าคนเท่านั้นเอง จึงได้ทิ้งไร่ เที่ยวเลือกที่ทำเอาใหม่ ไม่มีใครหวงแหนที่ดังที่นา ได้ลองถามพวกทำ ไร่ว่าเมื่อที่ไร่เก่าไปเสียแล้ว ทำไมจึงไม่ใช้ปุ๋ยช่วยกำลังดิน
พวกเหล่านั้น พากันหัวเราะว่าใช้ปุ๋ยต้องเปลืองโสหุ้ยมาก แต่น้ำยังไม่รดถ้าไปลงทุน 150 การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของ
ทำปุ๋ยจะเอากำไรที่ไหนมา สู ้ถางป่าเอาใหม่ไม่ได้ดังนี้ เห็นว่าเมื่อรถไฟแล้วสินค้าจำหน่ายได้มากขึ้น ราคาดีขึ้นคงจะมีคนทำไร่มากขึ้น เมื่อคน พอแก่ที่เมื่อมีเมื่อนั้นจึงจะเกิดหวงที่จึงจะจัดเรื่องการจับจองที่ดินในที่นี้ได้ตลอดไป แต่เรื่องเก็บสมพักศรนั้นควรต้องคิดเก็บตามเนื้อที่ดิน
ไม่ว่าที่พระปฐมนี้หรือที่ใดๆ ทั่วไป จึงจะเปนการเรียบร้อยแลเชื่อว่า จะได้เงินมากขึ้นด้วย
....
รายงานการตรวจราชการมณฑลกรุงเก่า
ศาลาว่าการมหาดไทย
วันที่ ๒๘ เดือนสิงหาคม รัตนโกสินทร ศก. ๑๑๗
วันที่ ๗ สิงหาคม เวลาเช้าขึ้นรถไฟไปกรุงเก่า กรมหมื่นมรุพงษ์ ๑ ยังไม่หายประชวรอยู่กรุงเทพฯ แต่ได้สั่งไว้ให้เลี้ยงดูตามเคย พบแต่หลวงอนุรักษ์ภูเบศร หม่อมเจ้าปฏิพัทธ์แลหลวงศัลวิธาน กินเข้าเช้า ที่บ้านข้าหลวงเทศาภิบาลแล้วข้ามไปดูการต่างๆ คือ โรงพลตระเวน ที่หลวงศัลวิธานปลูกขึ้นใหม่ ดูงามพอใช้แต่ยังไม่แล้วดี พลตระเวนยัง ต้องอาไศรยอยู่ในวังจันทร์ แต่พลตระเวนนี้ของเขาดีแน่ ดีทั้งที่คัดคนแลที่ฝึกหัดท่าทาง ใครขึ้นมาจากบางกอกแลเห็นคงจะต้องชม แลฟังข่าวการที่หลวงศัลวิธานมาจัด ดูกับหัวเมืองกลมเกลียวกันดีมาก เรื่อง พลตระเวนนี้เสียแต่มีนายไม่พอ ถ้าหานายได้ดีๆ สัก ๓ คน จะดีกว่านี้มาก แต่เรื่องตัวพลตระเวนนั้น หลวงศัลวิธานจัดการหาดี คือ ถ้าใครกลัวเปนทหารไม่เชื่อว่าจ้าง จะออกเมื่อไรก็ให้ออก, แก้กลัวกันด้วยกระบวนนี้ พอเลือกคัดหาคนที่ดีได้ทั้งรูปร่างแลความประพฤติ
.....
จดหมายรายวัน การเสด็จตรวจราชการเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๑๙
วันที่ ๓ มกราคม โดยสารรถไฟปากน้ำออกจากกรุงเทพฯ
เวลา ๒ โมงเช้า ไปลงเรืออรรคเรศที่เมืองสมุทปราการ พระยาชลยุทธโยธินทร์ได้เปนธุระช่วยจัดรถสลูนแลจัดเรือให้ไปในเที่ยวนี้ ตัวพระยาชลยุทธโยธินทร์กับพระยาสุขุมนัยวินิตได้ตามไปส่งถึง เมืองสมุทปราการ ที่นั้นพระสมุทบุรานุรักษแลกรมการนายทหาร ก็ได้มาคอยต้อนรับตามธรรมเนียม
วันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒ เวลาเช้าโมงครึ่งออก
รถไฟจากสะเตชั่นบางกอกน้อย พร้อมด้วยหม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ราช ปลัดสำรวจกระทรวงมหาดไทย นายร้อยตรีหม่อมเจ้าจุลดิศ กรมตำรวจภูธร ขุนอาจวิชาคม แพทย์ซึ่งกรมพยาบาลจัดให้ไปด้วย คนหนึ่ง
เวลา ๒ โมงเศษลงจากรถไฟที่สะเตชั่นวัดงิ้วราย แขวงเมือง นครไชยศรี ข้าราชการเมืองนครไชยศรี มีพระยาสุนทรบุรี ข้าหลวงเทศาภิบาล และพระยาศรีไชยบุรินทร์ ปลัดมณฑลเปนต้น กับนาย พิน ทิพรักษา ผู้จัดการบริษัทเดินเรือเมล์สุพรรณพร้อมกันมาคอยรับอยู่ที่นั้น ซึ่งเปนท่าเรือเมล์ของบริษัท แต่เรือปิกนิกซึ่งให้มาทางคลอง มหาสวัสดี ยังมาหาถึงไม่จึงต้องพักคอยอยู ่ที่พักของบริษัทเดินเรือเมล์ ได้กินอาหารของพวกหัวเมืองหาเลี้ยง และรอคอยเรืออยู่จนเวลา ๕ โมงเช้าจึงได้ออกเรือจากท่าวัดงิ้วราย เรือไปจูงขึ้นไปตามลำน้ำท่าจีน
เวลาบ่ายโมงหนึ่งถึงที่ว่าการอำเภอบางปลา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางเลน ในเขตร์นครไชยศรี แวะขึ้นตรวจการอำเภอครู่หนึ่งแล้ว ออกเรือต่อไป
เวลาบ่าย ๔ โมงถึงที่ว่าการอำเภอสองพี่น้อง ในแขวง สุพรรณบุรี จอดพักที่ที่ว่าการอำเภอ พระยาสุนทรบุรีตามขึ้นมาจาก เมืองนครไชยศรี พระยาสุนทรสงคราม ผู ้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี หลวงศรีสุพรรณนครเขตร์ปลัด และหลวงอุไภยภาติกะเขตร์นายอำเภอ สองพี่น้อง มาพร้อมกันอยู่ที่นี้ ได้ตรวจการอำเภอในบ่ายวันนั้น
วันที่ ๑ มีนาคม เวลาเช้าโมงเศษออกเรือจากบางปลาม้า เรือไฟจูงล่องตรงลงมาไม่ได้แวะที่ใด มาถึงท่าวัดงิ้วรายแขวงเมืองนครไชยศรี เวลาบ่าย ๔ โมง พอเวลาบ่าย ๕ โมงขึ้นรถไฟกลับมากรุงเทพฯ รวม ที่ได้ไปหัวเมืองคราวนี้ ๙ วัน
เรื่องเรือเมล์สุพรรณ
เมื่อ ร.ศ. ๑๑๗ ข้าพเจ้าไปเมืองสุพรรณบุรี ได้ทราบว่าชาวเมืองสุพรรณบุรีจะไปกรุงเทพฯ น่าน้ำต้องไปเรือจนถึงกรุงเทพฯ บ้าง บางทีไปเรือเพียงบ้านผักไห่ไปลงเรือเมล์ที่นั่น ถ้าน่าแล้งโดยมากมัก เดินทางบกไปลงเรือเมล์ที่บ้านผักไห่ เดี๋ยวนี้คนไปมาในระหว่างสุพรรณ กับกรุงเทพฯ ขึ้นลงที่สะเตชั่นวัดงิ้วรายวันละมากๆ จนกรมรถไฟจะ ทำทางรถไฟหลีกตรงนี้ และขยายสะเตชั่นให้ใหญ่ขึ้นกว่าแต่ก่อน การที่ชาวสุพรรณมาขึ้นลงรถไฟที่สะเตชั่นวัดงิ้วรายนี้ เพราะพระยา วัยวุฒิ หลวงโสภณเพ็ชรัตน์ นายพิน ทิพรักษา นายเพิ่ม เสนหา กับใคร อีกบ้างไม่ทราบ เข้าหุ้นกันเปน บริษัทจัดเรือไฟรับคนโดยสารขึ้นล่อง ในระหว่างวัดงิ้วรายกับเมืองสุพรรณบุรี มีขึ้นแต่ศก ๑๒๑ รับคนที่ ไปจากกรุงเทพฯ เวลาเช้าส่งถึงสุพรรณบุรี เวลาในค่ำวันนั้น รับคน สุพรรณบุรีเวลาเช้าล่องลงมาส่งรถไฟไปถึงกรุงเทพฯ ได้ในเวลาเย็น ไปมาสดวกขึ้นดังนี้ จึงมีคนโดยสารเรือไฟสายนี้ขึ้นล่องโดยมาก เปน ประโยชน์ทั้งเรือไฟและรถไฟด้วย เมื่อศก ๑๒๒ มิศเตอร์ซอนเดอร์ซัน ผู้จัดการเรือไฟเดินรับคนโดยสาร ระหว่างกรุงเก่ากับท่าเรือและเมือง ลพบุรี เอาเรือไฟมาเดินแย่งบริษัทสุพรรณบ้าง แย่งจนขาดทุนด้วย กันทั้งสองฝ่ายอยู่ช้านาน บัดนี้ทราบว่ามิศเตอร์ซอนเดอร์ซัน เลิกเรือ คืนไป โดยสู้บริษัทสุพรรณไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
ประการ ที่ ๑ บริษัทสุพรรณทำการก่อนได้ว่าเช่าที่วัดงิ้วราย และจัดหาที่ซึ่ง อยู ่ใกล้และตรงสะเตชั่นรถไฟไว้ทำท่าเรือเมล์เสียหมดบริเวณ คนจะลง เรือบริษัทซอนเดอร์ซัน ต้องเดินไกลได้ความลำบากกว่าลงเรือบริษัท สุพรรณ อีกประการหนึ่งเพราะบริษัทสุพรรณต่อเรือขึ้นใหม่ ว่าจะต่อถึง ๔ ลำ และขู่ว่าจะเอาขึ้นไปเดินแย่งทางบริษัทซอนเดอร์ซันเดินอยู ่ทางกรุงเก่าบ้าง บริษัทซอนเดอร์ซันจึงเลิกการแข่งขันกับบริษัทสุพรรณในแม่น้ำนี้ ที่จริงการที่มีเรือเดินแย่งกันหลายบริษัทในลำแม่น้ำ ซึ่งไม่มีคน โดยสารมากพอจะเดินหากำไรได้ด้วยกันโดยปรกติดังนี้ แม้ว่าจะเปนประโยชน์แก่คนโดยสาร เพราะบริษัททั้งสองฝ่ายต้องลดราคาแย่งกันก็จริง แต่เปนความลำบากแก่เจ้าพนักงานผู ้ปกครองท้องที่ตลอดจน คนโดยสารมากอยู่ เพราะการที่แย่งชิงผลประโยชน์กัน ย่อมเปนเหตุ ให้เกิดวิวาทกันไม่ใคร่ขาด ผู ้เจ้าของเรือก็เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เจ้าพนักงานก็มักถูกติเตียนว่าไม่รักษาความเรียบร้อย และบางที่ถูก นินทาว่าเข้าข้างฝ่ายโน้นบ้าง ฝ่ายนี้บ้าง ต้องระวังไหวพริบอยู่เสมอ ส่วนคนโดยสารนั้นก็ได้ความรำคาญตั้งแต่ถูกฉุดคร่าต้อนชิงแต่เวลา ลงรถไฟไป และบางทีพลอยไปได้ลำบากในเวลาเขาวิวาทกันด้วย เพราะเหตุนี้การที่เลิกแย่งชิงกันเสียดังนี้ ถึงคนโดยสารจะต้องขึ้นเงินอีกสักเล็กน้อยก็เห็นว่าควรจะยินดีอนุโมทนาด้วยกันทุกฝ่าย ด้วยเหตุที่เวรกรรมระงับไปนั้น
https://drive.google.com/file/d/1AhnuNj757jg3yLH3ntzW7usNmKoU2k25/view?
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2025 2:04 am
Post subject:
นิทานโบราณคดีเรื่องที่ ๑๐ เรื่อง ความไข้ที่เมืองเพชรบูรณ์
ฉันมาได้โอกาสไปเมืองเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ กะว่าจะไปทาง เรือจนถึงบางมูลนาค แล้วขึ้นเดินบกไปเมืองเพชรบูรณ์และเมืองหล่มสัก ขากลับจะลงเรือที่เมืองหล่มสัก ล่องลำแม่น้ำสักมายังเมืองวิเชียรบุรี แล้วเลยมาจนถึงเมืองสระบุรี ขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพฯ
....
ล่องเรือมาจากเพชรบูรณ์ ๖ วันถึงเมืองวิเชียร ตอนใกล้จะถึงเมืองวิเชียรพ้นที่เปลี่ยว ลำแม่น้ำสักค่อยกว้างออก แก่งก็ค่อยห่างยังมีแต่ขอนไม้กีดขวางทางเรือเป็นแห่งๆ แต่น้ำตื้นแจวเรือไม่ถนัด
ต้องใช้ถ่อจนถึงเมืองวิเชียร เมืองวิเชียรนั้นตั้งอยู ่ทางฝั่งตะวันออก เดิมเป็นหัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และมีเรื่องตำนานจะเล่าต่อไป ข้างหน้าเขตแดนกว้างขวางกว่าเมืองเพชรบูรณ์ แต่เป็นเมืองกันดาร เพราะเทือกภูเขาทั้งสองฝ่ายอยู ่ห่างที่แผ่นดินดอน ไม่มีลำห้วยพอ จะชักน้ำมาทำการเพาะปลูกได้เหมือนเมืองเพชรบูรณ์และเมือง หล่มสัก ได้แต่ทำนาน้ำฝนหรือทำในที่ลุ่มใกล้ลำน้ำสัก อาหารการกินอัตคัด บ้านเมืองจึงไม่เจริญ ตัวเมืองวิเชียรตั้งอยู่ห่างลำน้ำสัก ๒๐ เส้น ด้วยตอนริมน้ำเป็นที่ต่ำน้ำท่วมในฤดูฝน แลดูเหมือนกับหมู ่บ้านไม่เป็นเมืองมีสง่าราศี เพราะเป็นเมืองกันดารดังกล่าวมาแล้ว เมื่อตั้งมณฑลเพชรบูรณ์จึงลดเมืองวิเชียรลงเป็นแต่อำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์
ออกจากเมืองวิเชียร ล่องเรือมา ๓ วันถึงเมืองบัวชุม แต่เมืองบัวชุมมาวันหนึ่งถึงเมืองชัยบาดาล ลำน้ำสักตอนนี้กว้างแจวเรือได้ ถนัด ขอนไม้ที่กีดขวางทางเรือก็มีน้อยกว่าข้างเหนือ แต่ต้องหลีกแก่งกรวดแก่งหินถี่ขึ้น เมืองบัวชุมและเมืองชัยบาดาลเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองวิเชียร เมื่อตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ รวมตั้งเป็นอำเภอหนึ่งต่างหาก เรียกว่า อำเภอชัยบาดาล ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้คนมีมากกว่าอำเภอ วิเชียร ตั้งเรือนตามริมน้ำเป็นระยะมาตลอด ไม่เปลี่ยวเหมือนข้างเหนือ เพราะตอนนี้เทือกภูเขาเข้ามาใกล้ลำน้ำสักทั้งสองฝ่าย ท้องที่มีน้ำห้วย ทำไร่นาดี และเป็นปากดงพญากลาง ทางคนไปมาค้าขายกับเมือง นครราชสีมา มีสินค้าหาได้ในท้องที่ เช่นเสาและไม้แดง ใบลาน สีเสียด หาผลประโยชน์ได้มาก และอาจส่งสินค้ามาทางเรือถึงเมืองสระบุรีได้ สะดวกกว่าเมืองอื่นทางข้างเหนือด้วย ออกจากเมืองชัยบาดาลล่องมา ๔ วัน ก็ถึงปากเพรียวที่ตั้งเมืองสระบุรี นับจำนวนวันที่ล่องลำน้ำสัก แต่เมืองเพชรบูรณ์จนถึงที่ขึ้นรถไฟ ณ เมืองสระบุรีรวม ๑๔ วัน
https://drive.google.com/file/d/1AhnuNj757jg3yLH3ntzW7usNmKoU2k25/view?
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2025 2:13 am
Post subject:
Wisarut wrote:
15 ธันวาคม 2449
เวลาเช้า สมเด็จกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จขึ้นรถไฟที่ สถานีกรุงเทพ พร้อมด้วยพระยาจ่าแสนยาบดี ( เจ้ากรมพลัมภัง - กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ) เจ้าหมื่นศรีสรลักษ์ ( ผอ. รร. มหาดเล็ก ) และ คนอื่นๆ
เวลาเช้า 3 โมง ( 0900 ) รถไฟขบวนพิเศษออกจาก สถานีกรุงเทพ
เวลาเช้า 4 โมง 45 นาที ( 1045 ) รถไฟขบวนพิเศษถึง สถานีกรุงเก่า
เวลาเที่ยง 8 นาที ( 1208 ) รถไฟขบวนพิเศษถึง สถานีแก่งคอย เปลี่ยนรถจักรแล้วเดินทางต่อไป
เวลาบ่ายโมง 43 นาที ( 1343 ) รถไฟขบวนพิเศษถึง สถานีปากช่อง รถไฟหยุดรับน้ำ ( และฟืน ) แล้วออกเดินทางต่อไป
เวลาบ่าย 2 โมง 59 นาที ( 1459 ) รถไฟขบวนพิเศษถึง สถานีสูงเนิน
เวลาบ่าย 3 โมง 45 นาที ( 1545 ) รถไฟขบวนพิเศษถึง สถานีโคราช ( สถานีเมิองนครราชสีมา )
จากนั้น เดินทางไปพัก ณ เรือนแสนสุข ที่ทำขึ้นใหม่ที่ ตำบลหนองบัว นอกเมืองนครราชสีมา และเตรียมการที่จะเดินทางตรวจราชการ ในอีก 2 วันต่อมา
9 กุมภาพันธ์ 2449
เสด็จกลับถึงกรุงเทพ โดยไม่แวะค้างคืนที่โคราชเนื่องจากกาฬโรคระบาด
https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/450260957227763
ระยะทางกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน พ.ศ. ๒๔๔๙ ร.ศ. ๑๒๕ ที่ตีพิมพ์ในเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๔ ชื่อว่าระยะทางกรมหลวงดำรงตรวจราชการมณฑล อุดร และมณฑลอิสาน
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ เวลาเช้า มาขึ้นรถไฟพิเศษ ที่สถานีกรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระยาจ่าแสนบดี [(อวบ เปาโรหิต) ภายหลังเป็นเจ้าพระยามุขมนตรี] เจ้ากรมพลัมภัง ๑ เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ [(ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์ ณ อยุธยา) ภายหลังเป็นพระยาศรีวรวงศ์] ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล็ก กราบถวาย บังคมลาไปดูการปกครองท้องที่ ๑ หม่อมเจ้าประสบประสงค์ [หม่อมเจ้าประสบประสงค์ชุมพล เป็นหม่อมเจ้าชายใหญ่ในกรมหลวง สรรพสิทธิประสงค์ ออกไปศึกษาวิชาในยุโรปกลับมาแล้วได้รับราชการในกระทรวง มหาดไทย ภายหลังเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง] หลวงอนุชิตพิทักษ์ [(ชาย สุนทรารชุน) ภายหลังเป็นพระยาสฤษดิพจนกร] ๑ หมอแบรดด๊อก ๑ นายเดอลารอคา ช่างถ่ายรูป ๑ นายเอี๋ยน [นายเอี๋ยน โอวาทะสาร ภายหลังเป็นหลวงวิจารณ์ภักดี] มหาดเล็กมากับเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ ๑ นายทองสุก [นายทองสุก อินทรรัศมี ภายหลังเป็นหลวงจรูญชวนะพัฒน์] จะ ไปเป็นข้าหลวงธรรมการมณฑลอีสาน ๑ นายแก้วพนักงานกรมลหุโทษ จะไปฝึกหัดกดลายมือนักโทษตามหัวเมือง ๑ เป็นตัวนายที่ไปด้วย
พอเวลาเช้า ๓ โมงรถออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีกรุงเก่า เช้า ๔ โมง ๔๔ นาที ถึงสถานีแก่งคอยเวลาเที่ยง ๘ นาที เปลี่ยนรถจักร แล้วเดินรถต่อไปถึงสถานีปากช่องบ่ายโมง ๔๓ นาที รถไฟหยุดรับน้ำแล้วออกเดินต่อไปถึงสถานีสูงเนินบ่าย ๒ โมง ๕๙ นาที ถึงสถานีนครราชสีมาเวลาบ่าย ๓ โมง ๔๕ นาที ไปพัก ณ เรือนที่ทำขึ้นใหม่ ที่ตำบลหนองบัว นอกเมืองนครราชสีมา ได้ขนานนามเรือนนี้ว่า แสนสุข แล้วเตรียมการที่จะเดินทางอยู่ ๒ วัน
....
สินค้ายาสูบซึ่งปลูกริมน้ำตามฝั่งโขง แต่ก่อนเคยเป็นสินค้าเมืองนครพนมส่งไปขายถึงโคราช เดี๋ยวนี้ขายกันแต่เพียงในพื้นเมือง และขายไปมณฑลอีสาน แต่ไม่ส่งไปถึงโคราชเหมือนแต่ก่อน เพราะราคาตกด้วยยาหนองคายลงไปขายมาก และยากรุงเทพฯ ขึ้นมาทาง รถไฟด้วย
นที่ ๘ กุมภาพันธ์ เวลาย่ำรุ่งครึ่งออกจากที่พักแรมตำบล หนองบัวบ้านตูมมาตามทางโคกเข้าเขตบ้านกรูด บ้านทอก บ้านส้ม บ้านขาม บ้านมะดัน แล้วถึงบ้านช่องโคท่าช้างน้ำมูลที่พักแรมเวลา
เช้าโมงครึ่ง ระยะทาง ๒๒๖ เส้น
เมื่ออยู่ที่เมืองพิมายได้รับท้องตรามหาดไทยว่า มารดาไปกราบถวายบังคมทูลจะขึ้นมารับ มีรับสั่งว่าเวลานี้ที่เมืองนครราชสีมากำลังเกิดกาฬโรค อย่าไปเลยจะไปเจ็บไข้ แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาดไทยเชิญกระแสรับสั่งมาว่า ให้คิดอ่านเดินทางตรงไปสถานีรถไฟทีเดียว อย่าให้ไปแวะค้างคืนที่เมืองนครราชสีมา ด้วยเหตุนี้จึงได้พักแรมที่ตำบลท่าช้าง ระยะทางห่างเมืองนครราชสีมาเพียง ๔๕๐ เส้น
กลับกรุงเทพฯ
เวลา ๑๐ ทุ่ม ออกจากที่พักแรกตำบลท่าช้างข้ามลำน้ำมูล มาตามทาง พักที่บ้านพระผุดครู่หนึ่ง แล้วเดินทางต่อไป
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ เวลาเช้าโมงหนึ่งถึงบ้านมะเริง หม่อมเจ้าบวรเดช ผู ้บัญชาการกรมทหารมณฑลนครราชสีมา พระยาสุริยเดช วิเศษฤทธิ์ ปลัดเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา กับพระรำไพพงศ์ บริพัตร [พระรำไพพงศ์บริพัตร (จิตร บุนนาค) ต่อมาเป็นพระยาในนามเดิมจนเกษียนอายุปี พ.ศ. ๒๔๗๐] เจ้าพนักงานกรมรถไฟมารับถึงกลางทาง ผ่านที่พักแสนสุข มาถึงสถานีรถไฟเมืองนครราชสีมาเวลาเช้า ๒ โมง ๑๕ นาที ระยะทาง ๔๕๐ เส้น อำลาแลขอบใจพระกำแหงสงคราม ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครราชสีมา และข้าราชการมณฑลนครราชสีมาที่ไปด้วย
เสร็จแล้ว เวลาเช้า ๒ โมงครึ่ง รถไฟพิเศษเคลื่อนจากสถานีมาถึงแก่งคอยเวลาเที่ยง ๒๓ นาที เวลาบ่าย ๔ โมง ๕ นาที รถไฟพิเศษถึง สถานีกรุงเทพฯ เวลาค่ำได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่ง อัมพรสถานเป็นเสร็จการที่ไปมณฑลอุดรและมณฑลอีสาน รวมเวลา ตั้งแต่ออกจากกรุงเทพฯ จนกลับมาได้ ๕๖ วัน.
https://drive.google.com/file/d/1AhnuNj757jg3yLH3ntzW7usNmKoU2k25/view?
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2025 2:43 am
Post subject:
รายงานการเสด็จตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. ๒๔๕๑ ร.ศ. ๑๒๗
เมืองพิศณุโลก
วันที่ ๒๗ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๗
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมาถึงเมืองพิศณุโลกเวลาบ่าย ๕ โมง วันที่ ๒๕ ขอพระราชทานกราบทูลรายงานระยะทางอย่างย่อ ทางรถไฟแต่ปากน้ำโพขึ้นมาถึงพิศณุโลกไม่สนุกแลไม่มีอะไรน่าดูเลย ทางรถไฟผ่าน บึง ผ่านพงแลป่า หน้าตาเหมือนๆ กันอยู่แต่ในเหล่านี้ตลอดทาง ทาง เรือสนุกกว่ามาก มารถไฟยังซ้ำถูกรถไฟพัดมา ๑๑ ชั่วโมง ฟกเหลือประมาณ
...
ข้าพระพุทธเจ้าจะออกจากพิศณุโลกขึ้นไปเมืองอุตรดิฐวันที่ ๒๘ ได้ความว่ารถไฟทำงานเดินจากพิศณุโลกขึ้นไปได้ถึงสพานที่จะ ทำข้ามแม่น้ำที่บ้านดาราเหนือเมืองพิไชย ข้าพระพุทธเจ้าจะอาไศรย รถไฟทำงานขึ้นไปลงเรือที่บ้านดารา เขาว่ารถไฟยังต้องคลานจะต้องใช้เวลา ๔ ชั่วโมงเศษจึงจะถึงบ้านดารา แต่ก็ยังดีที่คุ้มเวลาได้ถึง ๒ วัน แต่ขากลับ ข้าพระพุทธเจ้าตั้งใจว่า จะล่องทางเรือจากอุตรดิฐลงมาจนพิศณุโลกจะได้ตรวจตามลำน้ำลงมาด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
...
เมืองพิศณุโลก
วันที่ ๒๗ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๗
ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้าจะออกจากพิศณุโลกขึ้นไปเมืองอุตรดิฐวันที่ ๒๘ พรุ่งนี้ จะอาไศรยรถไฟทำงานขึ้นไปจนถึงบ้านดาราเหนือเมือง พิไชย ลงเรือที่นั่น ซึ่งเปนปลายราง เวลานี้ว่าระยะทางจากเมืองพิศณุโลก ราว ๔ ชั่วโมง เพราะต้องค่อยๆ คลานไปช้าๆ แต่ก็เร็วกว่าทางเรือถึง ๒ วัน กะว่าจะไปพักแรมที่เมืองกรอง แลจะถึงอุตรดิฐในวันที่ ๒๙ ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลไปในจดหมายฉบับก่อนซึ่ง
เขียนเมื่อวันมาถึงพิศณุโลกในเวลาเย็นว่า เมืองพิศณุโลกดูไม่แปลกตานั้น เมื่อได้เที่ยวตรวจดู ๒ วันเต็มๆ เห็นการแปลกก็มีหลายอย่าง คือ
ข้างเหนือน้ำมีกองทหารมาปลูกสร้างโรงทหารงดงามอย่างที่เมืองนครสวรรค์ ส่วนข้างใต้ตลาดยี่สานดูครึกครื้นขึ้นมาก มีห้างหอมาตั้ง หลายร้าน ในลำแม่น้ำ เรือแพก็ดูมากขึ้น เพราะเหตุที่มีรถไฟนั้นเอง วันนี้ได้แลเห็นทุเรียนขายในตลาด ๒ ผล ได้ความว่าขายผลละ ๗ สลึง พอขายได้
...
ข้าพระพุทธเจ้ากะว่าขากลับจากอุตรดิฐจะล่องทางเรือตั้งแต่เมืองอุตรดิฐไปจนถึงปากน้ำโพ จะได้ดูตามลำแม่น้ำ แลจะได้แวะตรวจ ราชการตามอำเภอแลเมืองในระยะทางด้วย แลความจริงยังมีอิกอย่าง หนึ่ง เรื่องเบื่อรถไฟตอนนี้ ที่ไม่มีอะไรน่าดู ถูกแต่รถไฟพัดจนฟกเสียเหลือประมาณ แต่กำหนดวันที่ข้าพระพุทธเจ้าจะถึงกรุงเทพฯ คงจะ ถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม ตามที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม ไม่ต้องเลื่อน เพราะ จะตัดวันที่คิดจะอยู่นครสวรรค์เสียวันหนึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
.....
เมืองพิศณุโลก
วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๗
ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้ามีโอกาสที่จะส่งจดหมายฉบับนี้ที่เมืองพิศณุโลก เมื่อขากลับ ประมาณว่าจดหมายฉบับนี้จะได้ทูลเกล้าฯ ถวายก่อนข้าพระพุทธเจ้ากลับมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทสัก ๒-๓ วัน
ขอพระราชทานถวายรายงานโดยย่อเปนอนุสนธิสืบลำดับแต่ฉบับที่ได้ เขียนที่เมืองพิศณุโลก เมื่อณะวันที่ ๒๗ มิถุนายน นั้นมาทางรถไฟแต่เมืองพิศณุโลกขึ้นถึงบ้านดารา ซึ่งอยู ่เหนือเมือง พิไชยราวสัก ๓๐๐ เส้นนั้น ก็ใกล้แม่น้ำบ้าง ห่างแม่น้ำบ้าง อย่างทาง ขึ้นมาจากปากน้ำโพ ภูมิแผนที่ ๒ ข้างทางดีกว่าระหว่างปากน้ำโพ
สักหน่อย ด้วยมีที่สูงแลผ่านป่าแดงบ้าง บึงแลพงไม่มากเหมือนตอน ล่าง มารถไฟในทางนี้ตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นมา ทำให้ใจนึกมาตลอดทางว่า แผ่นดินที่ว่างเปล่า ที่อาจจะเปนประโยชน์ได้ยังมีอยู่มากนัก ถ้ามีใคร เอาเปนธุระตรวจตราแก้ไขความขัดข้องของภูมิท้องที่ กล่าวคือ แก้ ในกระบวนปิดน้ำหรือไขน้ำ หรือหาพืชพรรณไม้ที่จะถูกกับท้องที่มา ปลูก ยังจะเกิดผลประโยชน์แก่บ้านเมืองได้อิกมากทีเดียว ว่าโดยที่ จริง มารถไฟตอนนี้ถึงจะไม่สนุกแลไม่สบายอย่างขึ้นไปทางโคราช มาในที่สูงแลเห็นภูมิถานท้องที่ได้ถนัด แลเห็นได้ไกลกว่ามาทางเรือ สังเกตดูภูมิลำเนาที่ราษฎรตั้งอยู ่ตามท้องที่ในเวลานี้แถวริมน้ำมีบ้าน
เรือนตลอด แลไม่มีบ้านดอนอยู ่ข้างในอิกส่วนหนึ่ง เหตุว่าแผ่นดิน ตอนกลาง เปนที่ลุ่มเกินไปหรือแห้งเกินไป ทำการเพาะปลูกยังไม่ได้ มีที่บางแห่งนานๆ พบเปน ระยะที่มีไร่นาอยู ่ตอนกลางระหว่างริมน้ำ กับที่ดอนข้างนอก
.....
ที่ตลาดท่าอิฐ มีเรือนแถวทำให้เช่ามากขึ้นกว่าที่ได้เห็นแต่ก่อนหลายแถว เรือนแถวเหล่านี้ทำด้วยไม้มุงสังกะสีโดยมาก เรือนที่สร้าง แต่ก่อนทำชั้นเดียว แต่เรือนที่สร้างชั้นหลังมาทำเปนเรือน ๒ ชั้นแล ทำแขงแรงมั่นคงแต่จะเรียกว่ากิ้งกือหรือโกรเกไม่ได้เพราะไม่ได้ทาสี ค่าเช่าเรือน ๒ ชั้นเรียกกันห้องละ ๒๐ บาท ชั้นเดียวเรียกหลังละ ๑๐ บาทแล ๘ บาทเปนอย่างต่ำ ทางข้างเหนือหาดค่าเช่าแรง ข้างใต้ลง มาเปนที่ลุ่มมากค่าเช่าต่ำ ลงรถไฟกะจะตั้งสเตชั่นที่ท่าเสาเหนือ ท่าอิฐ ขี่นไป ทางสัก ๘๐ เส้นสะเตชั่น ๑ เทศาภิบาลเมืองพิไชยได้ตัดถนนต่อจากที่เมืองไปจนถึงท่าเสาสาย ๑ เวลานี้มีพวกจีนไปจับที่ตามริมถนน สายนั้น ทำบ้านเรือนขึ้นหลายราย ด้วยคาดล่วงน่าว่าเวลารถไฟถึง การค้าขายจะไปดีที่ท่าเสา แต่มักจะเปนคนที่มาใหม่ส่วนพวกที่ตั้งเปน หลักถานที่ท่าอิฐแล้วโดยมาก เชื่อว่าถึงรถไฟมาที่ท่าอิฐยังจะดีต่อไป ยังไม่คิดย้าย ถ้าแลดูผู ้คนแลบ้านช่อง เรือแพค้าขายที่เมืองอุตรดิฐ เวลานี้ดูเจริญขึ้นกว่าเมื่อเวลาเสด็จเกือบจะอิกเท่าหนึ่ง มีบ้านเรือนงามๆ ที่ทำ ขึ้นทางถนนไปเมืองลับแลทั้งสองฟากก็หลายบ้าน
ส่วนที่เมืองลับแล แลทุ่งยั้งนั้นดูไร่นามีมากแปลกตาขึ้นมาก เพราะมีคนดีประจำที่อยู่คนหนึ่ง คือหลวงศรีพนมมาศ (ทองอิน) ผู ้ที่เคยเสด็จไปบ้านเขานั้นเอง เปน
ผู้เอาใจใส่สนุกในการทำเหมืองทำฝายเลิกไร่นา ไม่รู้หยุด จนถึงพวก อินยินเนียรถไฟที่ได้ขึ้นมาเห็น บอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อขึ้นมาตาม
ทางว่า เรามีอินยิเนียดีอยู ่ที่เมืองลับแลคนหนึ่งสำหรับการเออริเลชั่น
...
ส่วนการค้าขายกับเมืองหลวงพระบางนั้น ได้ความว่าเจริญขึ้น มาก พวกเมืองอุตรดิฐไปตั้งร้านค้าขายที่เมืองหลวงพระบางก็มีบ้าง พวกเมืองหลวงพระบางมารับซื้อเชื่อสินค้าไปขายที่เมืองหลวงพระบาง ก็มีโดยมาก การค้าขายสดวกดี ฝรั่งเศสไม่ได้เรียกเก็บภาษีขาเข้า
จากสินค้าอย่างอื่น นอกจากไม้ขีดไฟแลน้ำมันเปโตรเลียม แต่สินค้าขาออกเรียกเก็บภาษีทุกอย่าง ในการค้าขายว่าโดยย่อ เมืองอุตรดิฐ
เปนตลาดของเมืองน่าน เมืองแพร่ เมืองนครลำปาง (เฉพาะแต่เกลือ เพราะบรรทุกเรือขึ้นไปทางน้ำวัง ราคาซื้อแรงกว่าอุตรดิฐ) เมืองหลวง พระบาง เมืองด่านซ้าย เมืองหล่มศักดิ์ เมืองนครไทย เวลารถไฟแล้วเมืองอุตรดิฐคงจะเจริญขึ้นอิก ถ้าหากว่ารถไฟไม่เรียกค่าบรรทุกเกินไป ในเวลานี้ไต่ถามตามพ่อค้า ได้ความว่าสินค้าที่ส่งจากกรุงเทพฯ มาเมืองอุตรดิฐจับบรรทุกรถไฟส่งถึงเมืองพิศณุโลกบ้างแล้ว สินค้า มาถึงเมืองอุตรดิฐแล้ว คิดค่าโสหุ้ยส่งลงเรือขึ้นมาจากปากน้ำโพ หรือ
ส่งลงเรือขึ้นมาจากพิษณุโลกเวลานี้เท่าๆ กัน ส่งพิศณุโลกได้เปรียบ เพียงเวลาเร็วเข้า แต่ราคาอาหารแลเครื่องบริโภคใช้สรอยที่เมืองอุตรดิฐ เวลานี้ฟังตามเสียงคนที่ขึ้นมาจากกรุงเทพฯ ว่าแพงกว่าที่กรุงเทพฯ ความข้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจว่า ความรู ้สึกมีแต่เฉภาะพวกที่มา จากกรุงเทพฯ ซึ่งมักพอใจบริโภคอาหารแลใช้สรอยอย่างอยู ่กรุงเทพฯ แต่ส่วนพื้นพลเมืองนั้นสืบถามดูตามพ่อค้าแลข้าราชการได้ความเปน อย่างเดียวกันว่า ทุกวันนี้ราษฎรบริบูรณ์โภคทรัพย์มากกว่าแต่ก่อนมาก
ข้อนี้จะพึงสังเกตุเห็นได้ในตลาด แต่ก่อนมาขายดีเพียงผ้าดิบ ที่ราษฎร ซื้อไปย้อมนุ่งห่ม เดี๋ยวนี้ขายได้จนแพรพรรณภาชนต่างๆ ตลอดจน ถึงเครื่องแต่งตัวที่เปนเครื่องเงินเครื่องทองของมีราคาก็ขายได้
การปกครองราษฎรสังเกตดูเปนการปรกติไม่มีเสียงร้องเดือด ร้อนอย่างอื่น นอกจากว่าผู้ร้ายล้วงลักโคกระบือเมื่อแล้งแล้ว ชุมขึ้นกว่าแต่ก่อน เหตุที่เกิดโจรผู ้ร้ายล้วงลักชุกชุมขึ้นนั้น เจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ก็แลเห็นเหตุตรงกับที่ได้เคยมีมาแล้วในมณฑลอื่นๆ กล่าวคือ การสร้างรถไฟมีคนสำส่อนเข้ามารับทำการกุลีมากอยู่คน พวกนี้ เปนชาวมณฑลอิสาณโดยมาก เที่ยวตั้งทับกระท่อมเรี่ยรายกันไปตามทางรถไฟที่มันรับจ้างทำงาน เปนคนติดฝิ่นก็มาก ทางรถไฟทำไปถึงไหนผู้ร้ายล้วงลักก็ชุมไปถึงนั่น จนทางรถไฟแล้วเมื่อใด ผู้ร้าย ก็ซา เปนเช่นนี้มาทุกๆ สายตั้งแต่สายนครราชสีมา ครั้นเจ้าพนักงานปกครองท้องที่จะบังคับตรวจตราพวกกุลีให้กวดขัน เช่น บังคับให้อยู่รวบรวมกันเปนตำแหน่งแห่งที่ แลให้มีตำรวจภูธรหรือเจ้าพนักงาน คอยตรวจตราคนเหล่านี้ การที่บังคับรบกวนพวกกุลีก็คงจะไปเกิด ติดขัดแก่การสร้างรถไฟที่จะหากุลียากเข้า จึงต้องผ่อนผันหันหาการ ทำรถไฟ อย่าให้ติดขัดเปนข้อสำคัญ ในเรื่องผู ้ร้ายลักโคกระบือนั้น สืบสวนตามกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ความว่า ก็เนื่องด้วยพวกกุลีทำทางรถไฟนี้ แต่มิใช่พวกกุลีเอง คือ ผู้ร้ายต่างเมืองเข้ามาแอบแฝงอาไศรยสมคบอยู ่กับพวกกุลี เวลาเจ้าพนักงาน ปกครองท้องที่ไปตรวจตราก็กลายเปนกุลีไป ครั้นราษฎรเผลอเมื่อไร พวกผู้ร้ายนั้นก็ลอบลักโคกระบือพาไปขายต่างเมือง มีชุกชุมเมื่อฤดูแล้ง แต่เดี๋ยวนี้ค่อยสงบไปแล้ว
...
ป.ล. ข้าพระพุทธเจ้าล่องจากอุตรดิฐเวลา ๒ โมงครึ่ง เวลาบ่ายสองโมง มาถึงเมืองพิไชย เวลาเย็นได้ขึ้นเดินดูตามท้องที่ ที่เมืองพิไชยเดี๋ยวนี้ ลดลงเปนแต่อำเภอ ที่ว่าการเมืองพิไชยยกไปตั้งอยู ่เมืองอุตรดิฐหลายปี มาแล้ว เปนธรรมดาอยู ่เองที่สถานที่ในรัฐบาลแลบ้านเรือนข้าราชการ ที่เคยมีแต่ก่อนเลิกร้างหายไปโดยมาก แต่ประหลาดใจที่ตลาดกลับ เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน มีโรงแถวแลร้านขายของมากขึ้น ไต่ถามจึงได้ ความว่า ตลาดยี่สานดีขึ้นนี้ เพราะรถไฟกำลังทำทาง มีพวกทำการ
รถไฟเปนผู ้ซื้อของในตลาดมากกว่าพวกอื่น ได้ความตลาดไปจนถึง เรื่องเรือเป็ดค้าขายที่มีมาจอดอยู ่เปนระยะตอนใต้อุตรดิฐมานี้ ก็เปน
พวกที่บรรทุกเข้าสารแลสิ่งของมาขายพวกทำการรถไฟโดยมาก
...
ดูตลาดแล้วไปที่โรงตำรวจภูธรพบพวกกุลีรถไฟถูกจับอยู่ด้วยเรื่องเล่นเบี้ยโบก ๑๐ คน ได้นั่งสนทนากับพวกกุลีเหล่านี้ ได้ความ ว่า การกุลีนั้นพนักงานสร้างรถไฟเขาจัดดังนี้ คือ แบ่งกุลีเปนกองๆ กองละ ๑๕ คน นายกุลีคน ๑ รวมเปน ๑๖ นายกุลีได้ค่าจ้างวันละ บาท ๑ กุลีได้ค่าจ้างวันละ ๓ สลึงหากินอยู่ของตัวเอง พวกกุลีรวมทุน กินด้วยกัน ๔ คนบ้าง มากกว่านั้นบ้าง น้อยกว่านั้นบ้าง บางทีนายกุลี เปนผู้หาเลี้ยงดูคิดหักเอาในค่าจ้าง กุลีคนหนึ่งหาได้ประมาณเดือนละ ๒๒ บาท ๒ สลึง กินเดือนละ ๕ บาท นุ่งห่มใช้สรอยอิกเดือนละ ๕ บาท คงได้เงินเหลือใช้สรอยราวประมาณเดือนละ ๑๒ บาท เงินที่ เหลือใช้สรอยนั้นบางคนเก็บไว้ได้จน ๘๐-๙๐ บาท กลับไปบ้านเสียที หนึ่งก็มี บางทีก็เล่นเบี้ยโบกกัน ใครรวยมากก็กลับบ้านได้เร็ว ใครเสียก็ต้องทำงานต่อไป คนกุลีตามคำชี้แจงของพวกนี้ว่าเปนคนมณฑลอิสาณโดยมาก คนพื้นเมืองไม่เข้ารับจ้างทำการกุลี มีคนจรไปแอบอิง อาไศรยเนืองๆ แต่ถ้าไม่ทำกุลี นายกุลีเขาไม่รับไว้เกินกว่า ๓ วัน ข้อนี้ สมจริงกับที่ได้ความจากกำนันผู ้ใหญ่บ้านว่า พวกผู ้ร้ายลักกระบือมัก จะมาแอบอิงอยู่กับพวกกุลีรถไฟดังได้กราบบังคมทูลมาข้างบนแล้ว
https://drive.google.com/file/d/1AhnuNj757jg3yLH3ntzW7usNmKoU2k25/view?
Back to top
Display posts from previous:
All Posts
1 Day
7 Days
2 Weeks
1 Month
3 Months
6 Months
1 Year
Oldest First
Newest First
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
All times are GMT + 7 Hours
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
Page
3
of
3
Share
|
Jump to:
Select a forum
General
----------------
ข้อตกลงและข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์ฯ
สัพเพเหระ
พักผ่อนหย่อนใจ
ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
Member's Zone
----------------
กำหนดตารางนัดหมาย
บทความ, เรื่องสั้นพิเศษ และทริปพิเศษ
คำถามเด็ดแฟนพันธุ์แท้รถไฟไทย
ซื้อขาย/แลกเปลี่ยน
กิจกรรมร่วมสนุก
สภากาแฟ
ภาพ/วิดีโอรถไฟไทยจากผลงานของสมาชิก
ทริปตะลอนทัวร์สไตล์รถไฟไทยดอทคอม
สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
Railway of Thailand
----------------
เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
Electrical Railways of Thailand
----------------
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
Foreign Zone (English Language Only)
----------------
General Topics
State Railway of Thailand/Thai Rail Fans
World Railways
----------------
เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
ภาพรถไฟต่างประเทศ
ภาพประสบการณ์เดินทางกับรถไฟต่างประเทศ
Railway Games & Models
----------------
Railway Games & Train Simulator
Railway Models
Problems & Support
----------------
Problems, Bugs & Helpdesk
You
cannot
post new topics in this forum
You
cannot
reply to topics in this forum
You
cannot
edit your posts in this forum
You
cannot
delete your posts in this forum
You
cannot
vote in polls in this forum
Powered by
phpBB
© 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©