RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13637393
ทั้งหมด:13949443
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับรถไฟสายตะวันออก
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับรถไฟสายตะวันออก
Goto page Previous  1, 2, 3, 4
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2007 11:52 am    Post subject: Reply with quote

เปิดยุทธศาสตร์ ทำคลอดโลจิสติกส์ไทย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2261 14 ต.ค. - 17 ต.ค. 2550

ความตั้งใจหนึ่งที่ "สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พยายามทำมาตั้งแต่วันเริ่มต้นการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คือ พยายามวางรากฐานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางบก ทางน้ำ เพื่อส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่อง หรือระบบโลจิสติกส์ ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นหัวใจสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ให้มีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคง เป็นรากฐานที่แข็งแรงต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว


ล่าสุด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) รวมถึงภาคเอกชน ช่วยกันกลั่นกรองออกมาเป็นแผนการพัฒนา ที่จะใช้เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบในอนาคต


โดยจะมีการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติกรอบการดำเนินโครงการ ในส่วนของแผนปฏิบัติ (Action Plan) ในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ จากนั้นจะมีแล้วก็จะกำหนดระยะดำเนินการ แนวทาง และงบประมาณที่ชัดเจนเพื่อนำมาสู่การปฏิบัติจริงในระยะต่อไป ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตั้งใจที่จะปรับกรอบเวลา จาก ที่หน่วยงานประเมินมาว่าจะวางกรอบดำเนินการไว้ในระยะ 7 ปี ให้เหลือเพียง 5 ปี โดยเริมนับหนึ่งตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป เพื่อให้ทันกับความต้องการที่มีมากในปัจจุบัน และยังมีแนวคิดที่จะตั้งคณะทำงานเพื่อประสานการทำงาน พิจารณาเรื่องเงินลงทุน และติดตามการดำเนินงานตามแผนงานหลังจากที่ ครม.เห็นชอบแล้วด้วย


สำหรับกรอบแผนงานที่กำหนดไว้นั้น จะมีโครงการนำร่อง คือ โครงการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าทางรถไฟในเส้นทางจ.ขอนแก่น-จ.นครราชสีมาไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และ จ.นครสวรรค์ – ICD ลาดกระบัง –ท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 20,541.40 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง 2 เส้นทางจากจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมต่อขนส่งรูปแบบต่างๆ ไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้


อีกทั้งยังมีเป้าหมายเพื่อประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และแก้ไขปัญหาการจราจรโดยการขนส่งด้วยระบบรางแทนการขนส่งทางถนน ซึ่งมีโครงการที่ได้เริ่มต้นแล้ว 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร ซึ่งการรถไฟฯ เจ้าของโครงการกำลังเร่งดำเนินการหาผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่ ซึ่งคาดว่าจะลงมือก่อสร้างได้ต้นปี 2551


ส่วนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะดำเนินการต่อไป มี 3 โครงการ รวมมูลค่า 20,198 ล้านบาท ซึ่งจะอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฯ ประกอบด้วย

1.1. โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร พร้อมระบบอาณัติสัญญาณ และ โทรคมนาคม รวมทั้งทางเลี่ยงเมือง (Chord Line) 3 แห่งที่ชุมทางฉะเชิงเทรา (1 กม.), ชุมทางแก่งคอย (3.7 กม.) และชุมทางบ้านภาชี (1 กม.) มูลค่า 7,648 ล้านบาท


1.2. รวมถึง โครงการคือ โครงการก่อสร้างคู่ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ปากช่อง-นครราชสีมา ระยะทาง 129 กิโลเมตร พร้อมปรับแก้แนวทางรถไฟเดิม (Realignment) บางส่วนรวมทั้งติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มูลค่า 11,640 ล้านบาท

1.3. อีกทั้งยังมีแผนการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 5 คัน พร้อมแคร่บรรทุกตู้สินค้า 125 คัน มูลค่า 910 ล้านบาท


นอกจากนั้นยังมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการท่าเรือฯ ด้วย คือ โครงการพัฒนาลานขนถ่ายตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ทางรถไฟบริเวณพื้นที่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C พื้นที่รวมประมาณ 318 ไร่ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม และประเมินราคาค่าก่อสร้าง


ยังมีแผนการพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมเข้าสู่ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) รวมมูลค่าการลงทุน 43.40 ล้านบาท ประกอบด้วย คือ

2.1. แผนการปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้า CY สถานีรถไฟท่าพระ จ.ขอนแก่น ให้มีความกว้าง 10 เมตร ระยะทาง 100 เมตร มูลค่า 1.40 ล้านบาท ซึ่งจะส่งมอบให้เทศบาลตำบลท่าพระ จ.ขอนแก่นรับไปดำเนินการ,

2.2. แผนการปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้า CY สถานีรถไฟกุดจิก จ.นครราชสีมา ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ ให้มีความกว้าง 10 เมตร ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร มูลค่า 19.60 ล้านบาท ซึ่งจะส่งมอบให้เทศบาลตำบลกุดจิก จ.นครราชสีมา

2.3. อีกทั้งยังมีโครงการปรับปรุงขยายถนนเชื่อม CY สถานีรถไฟบ้านเกาะ จ.นครราชสีมา (รับข้าวจากเจียเม้ง) ให้มีความกว้าง 10 เมตร ระยะทาง 200 เมตร มูลค่า 2.80 ล้านบาท ที่จะส่งมอบให้ อบต.บ้านเกาะ จ.นครราชสีมาดำเนินการ และ

2.4. สุดท้ายคือโครงการปรับปรุงพื้นผิวถนนเชื่อม CY สถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ทั้งสองเส้นทางให้แข็งแรง รวมทั้งขยายถนนให้มีความกว้าง 10 เมตร ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร มูลค่า 19.60 ล้านบาท โดยจะส่งมอบให้เทศบาลนคร จ.นครราชสีมา ดำเนินการ


3.1 แผนสุดท้ายคือแผนการจัดตั้งโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวใน จ.นครสวรรค์ มูลค่า 300 ล้านบาท ซึ่งงานนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว จ.นครสวรรค์ และภาคเอกชน จะร่วมกันหารือแนวทางการดำเนินต่อไป โดยแผนงานนี้จะมีข้อดีคือจะสามารถส่งออกทางรถไฟไปยังไอซีดีลาดกระบังและแหลมฉบังได้โดยตรง ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการขนถ่ายได้มากขึ้น


3.2 รวมทั้งมีแผนโครงการที่จะต้องพัฒนาระบบรางในอนาคตในการก่อสร้างรางคู่ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118กม. และ

3.3จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 4 คันและแคร่บรรทุกตู้สินค้า 80 คัน ที่จะต้องมีการประเมินวงเงินลงทุนในอนาคตด้วย


ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยังกล่าวด้วยว่า โครงการแรก ช่วง ขอนแก่น-นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาลทรายเป็นหลัก ซึ่งในปี 2549 มีปริมาณขนส่งสินค้าทางรถไฟรวม 22,000 ตันต่อเดือน คาดว่าความต้องการจะเพิ่มเป็น 48,000 ตันต่อเดือนทำ ให้ร.ฟ.ท.ต้องจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า และแคร่บรรทุกตู้สินค้าเพิ่มขึ้นตามแผนงาน รวมถึงต้องเพิ่มพนักงานขับหัวรถจักรอีก 54 คนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการรถไฟที่จะเพิ่มขบวนเที่ยววิ่งรถจาก 55 ขบวน/เดือนเป็น 120 ขบวน/เดือน ซึ่งเชื่อว่าหากดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้ จะลดต้นทุนค่าขนส่งได้ 94.56 ล้านบาทต่อปี ลดจำนวนการใช้รถบรรทุก 58,500 เที่ยว ต่อปี (ไป-กลับ) ช่วง นครสวรรค์-ICDลาดกระบัง- แหลมฉบัง จะเน้นขนส่งข้าวสาร ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งผ่านทางรถไฟ ไปยังICDลาดกระบัง และท่าเรือแหลมฉบัง เพียงปีละ 20,00 ตันได้


นายสรรเสริญ ยังกล่าวชี้แจงต่อว่า หลักในการพัฒนาโครงการต่างๆ ก็เพราะต้องการเพิ่มความจุของราง ด้วยการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเส้นทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากปัจจุบันสภาพรางเก่า รับน้ำหนักได้ต่ำกว่าพิกัด และยังเป็นเส้นทางรถไฟทางเดี่ยว จึงต้องมีการจัดหารถจักรและแคร่บรรทุกตู้สินค้าเพิ่ม เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่จะมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ เพื่อให้การบริหารจัดการขบวนรถไฟขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็จะต้องมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งต้นทางและปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการขยายถนนที่จะเชื่อมเข้าสู่ CY และพัฒนาลานขนถ่ายตู้สินค้า ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย

// --------------------------------------------------------

หนุนผุดรถไฟรางคู่อีสาน-แหลมฉบัง ลดโลกร้อนแถมทุ่นค่าขนส่งสินค้า
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2261 14 ต.ค. - 17 ต.ค. 2550

คมนาคมหนุนผุดรถไฟรางคู่ นำร่องเส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบัง และนครสวรรค์แหลมฉบัง หวังลดต้นทุนขนส่งและรับกระแสโลกร้อน คาดใช้เวลาดำเนินการ 7 ปี

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.กระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดการสัมมนา " โครงการการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ " ที่จังหวัดขอนแก่นว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจรจร (สนข.) , การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาการจรจาจร ในการขนส่งด้วยระบบรางแทนการขนส่งทางถนน โครงการนำร่องดังกล่าวนี้ ได้กำหนดเส้นทางนำร่อง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 เส้นทางขอนแก่น - นครราชสีมา – แหลมฉบัง ซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าจากสถานีท่าพระ จังหวัดขอนแก่น และสถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ส่วนเส้นทางที่ 2 เส้นทางนครสวรรค์ – ไอซีดีลาดกระบัง – แหลมฉบัง ซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าจากท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ ไปยังไอซีดีลาดกระบัง และท่าเรือแหลมฉบัง


โครงการเส้นทางนำร่องดังกล่าว จะเน้นการขนส่งระบบราง ซึ่งต่อไประบบรางจะมีความจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวจะดูตั้งแต่ภาคต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากการผลิต การขนส่ง จุดกระจายสินค้า การนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาระบบการขนส่ง รวมถึงวิธีการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน และสามารถขนส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโครงการนำร่องนี้ ตามแผนที่วางไว้คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 5 - 7 ปี และคงต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพื่อให้การขนส่งระบบรางมีประสิทธิภาพมากขึ้น


นายสรรเสริญ กล่าวต่อไปว่า เส้นทางขอนแก่น – นครราชสีมา – แหลมฉบัง จะต้องปรับปรุงระบบรางให้เป็นรางคู่ทั้งหมด โดยปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากขอนแก่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ต้องใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมง เพราะการขนส่งยังเป็นรางเดียว ต้องสลับระหว่างขาไป - กลับ ทำให้เสียเวลา แต่ถ้าหากเป็นรางคู่จะทำให้ร่นเวลาขนส่งได้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้มีการขนส่งสินค้าระบบรางไม่ได้หมายความว่า จะเลิกใช้การขนส่งโดยรถยนต์ แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีทางเลือกในการขนส่งมากขึ้น รวมถึงเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง และรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งภายหลังจากมีการระดมความคิดครั้งนี้ ก็จะนำไปสู่การจัดทำแผนโครงการย่อยในอีกหลายโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติโครงการต่อไป


นายวรเดช หาญประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักแผนงาน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สำหรับเส้นทางขอนแก่น – นครราชสีมา - แหลมฉบัง จากการศึกษาเส้นทางพบว่า มีสินค้าที่ส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังที่สำคัญ คือ ข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาล โดยจากสถิติการขนส่งทางรถไฟในปี 2549 พบว่า มีปริมาณการขนส่งรวมประมาณเดือนละ 22,000 ตัน หรือประมาณปีละ 264,000 ตัน แต่เนื่องจากการรถไฟมีข้อจำกัดในเรื่องของรถจักร และแคร่บรรทุกสินค้า รวมถึงบุคลากร ทำให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้


การขนส่งสินค้าหลักในภาคอีสานไปยังท่าเรือแหลมฉบังโดยรถไฟ ทั้งน้ำตาลทราย ข้าวสาร แป้งมันสำปะหลังเฉลี่ยเดือนละ 55 ขบวน แต่จากการสำรวจปริมาณสินค้าที่ขนส่งเส้นทางขอนแก่น – นครราชสีมา - แหลมฉบัง พบว่า มีความต้องการขนส่งที่แท้จริงเดือนละ 120 ขบวน ซึ่งหากจะรองรับปริมาณสินค้าได้อย่างเพียงพอนั้น การรถไฟฯ จะต้องเพิ่มรถจักรอีก 5 คัน แคร่บรรทุกสินค้าอีก 125 คัน และพนักงานอีก 54 คน เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางรถไฟที่เพิ่มขึ้น


นายวรเดช กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการนำร่อง เส้นทางขอนแก่น – นครราชสีมา - แหลมฉบัง ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 7 ปี คือ ปี 2551 - 2557 สำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ รฟท.ได้แก่ การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าเพิ่มเติม พร้อมแคร่บรรทุกสินค้า และการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางจากภาคอีสาน – ไอซีดีลาดกระบัง - ท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงการปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้าย่านกองเก็บตู้สินค้า ( Container Yard: CY ) ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20, 241.40 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของงบประมาณขณะนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะให้ภาคเอกชนเข้ามาลงร่วมลงทุนได้ในส่วนไหน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2007 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ตัดสิทธิ2บิ๊กรับเหมาจีน
เสี่ยงฮั้วประมูล "รถไฟรางคู่"
มติชน วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10867


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมที่จะตัดสิทธิกลุ่มบริษัท จำนวน 2 กลุ่ม ที่เข้าร่วมประมูลการก่อสร้างโครงการรถไฟรางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง มูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ได้แก่

1. กิจการร่วมค้าซีทีเอ็ม ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ไทยวัฒน์, บริษัท มอร์ มอเตอร์ จำกัด และบริษัท China Railway 13th Bureau Group

2.บริษัท KCT Joint Venture ที่มีกลุ่มบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด, China State Construction Engineering Corporation (CSCEC), Thai Engineer and Industry Co.,Ltd(TEC)

เนื่องจากอาจจะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเป็นรัฐบาลของประเทศจีนเหมือนกัน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท. ได้ส่งเรื่องไปยังกรมบัญชีกลางและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้ตีความในเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ทั้ง 2 หน่วยงานกลับไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าทั้ง 2 กลุ่มเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวหรือไม่ ร.ฟ.ท.จึงต้องส่งเรื่องไปยังสถานทูตจีนประจำประเทศไทยเพื่อให้มีการระบุว่าการเข้าถือหุ้นของรัฐบาลจีนของทั้ง 2 กลุ่มนั้นมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่

"ล่าสุดสถานทูตจีนได้ตอบกลับมาแล้ว ร.ฟ.ท.จึงเห็นว่าควรที่จะตัดสิทธิทั้ง 2 กลุ่มที่มีผู้รับเหมาจากจีนเข้ามาถือหุ้น เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเป็นรัฐบาลจีนเหมือนกัน อีกทั้งโครงการนี้ได้เกิดความล่าช้ามามากแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรีบตัดสินใจ เพื่อให้การก่อสร้างโครงการได้เริ่มดำเนินการได้"

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังถูกตัดสิทธิทั้ง 2 กลุ่มสามารถจะยื่นอุทธรณ์มายัง ร.ฟ.ท. ได้ภายใน 3 วัน ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 กลุ่มคงจะยื่นอุทธรณ์อย่างแน่นอน เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มอ้างว่าแม้จะมีรัฐบาลจีนถือหุ้นเหมือนกัน แต่การบริหารงานต่างๆ แยกออกจากกันอย่างชัดเจน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มบริษัทที่เหลือเข้าร่วมการเสนอราคา ประกอบด้วย

1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน),
2.กิจการร่วมค้า CKTU J/V มีกลุ่มบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บริษัท ช.การช่างฯ, บริษัท TOKYU Construction,บริษัท UNIQUE Engineering and Construction Public, บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด,

3.กิจการร่วมค้า ที.เอส.ซี. มีกลุ่มบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บริษัท ไทยพีคอน และอุตสาหกรรม จำกัด, บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด และบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด

4.กิจการร่วมค้า JNC JOINT VENTURE มีกลุ่มบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บริษัท จัสมิน เทเลคอมซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท นามประเสริฐก่อสร้าง จำกัด, Chon Wo Construction & Engineering Company Limited และ

5.กิจการร่วมค้า เอ ดี เค มีกลุ่มบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), DYWIDAG INTERNATIONAL GmbH (Dywidag)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2008 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟอืด สายสีแดงส่อรื้อ‘แหลมฉบัง’ล้ม

โพสต์ทูเดย์ 3/01/2008


ประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง-รางคู่ ส่อแววอืด “ขิงแก่” เปิดช่องรัฐบาลใหม่รื้อโครงการ

นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ทันในเดือน มี.ค. นี้ เนื่องจากการประกวดราคาคืบหน้าไปกว่า 80% และเชื่อว่าจะสามารถลงนามในสัญญากับผู้รับเหมาได้ในเดือน ก.ย. นี้


นอกจากนี้ ยังรายงานเรื่องผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ทั้งที่มีสัญญาเช่า ผู้บุกรุก และสลัม ว่ามีปัญหาในการดำเนินงาน


ขณะที่โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง มีความจำเป็นต้องเลื่อนการประมูลออกไปก่อน เนื่องจากมีปัญหาการตีความกฎหมาย หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตัดสิทธิกลุ่มกิจการร่วมค้าซีทีเอ็มที่เข้าร่วมประมูล


แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทั้ง 2 โครงการมีความคืบหน้าน้อยมาก จึงมีโอกาสสูงที่รัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามารื้อรายละเอียดโครงการใหม่อีก ขณะที่โครงการรถไฟรางคู่นั้นทางกลุ่มกรุงธนเอ็นจิเนียริ่งและจีนแจ้งว่า จะฟ้องร้องเรียนหากตัดสิทธิกลุ่มนี้


สำหรับกลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมประมูลประกอบด้วยกลุ่มบริษัท ไทยวัฒน์วิศวการทาง บริษัท มอร์ มอเตอร์ บริษัท China Railway 13th Bureau Group กับกลุ่มบริษัท KCT Joint Venture มีบริษัทร่วมจดทะเบียน คือ China State Construction Engineering Corporation, Thai Engineer and Industry Co.,Ltd, และบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2008 11:36 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.พร้อมเปิดประมูลรถไฟรางคู่ 14 ม.ค.นี้ คาดเอกชน 5 รายชิงดำ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2551

บอร์ด รฟท.คาดเปิดประมูล e-Auction โครงการก่อนสร้างรถไฟรางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กม. วันที่ 14 ม.ค.นี้ กำหนดราคากลาง 5,292 ล้านบาท

วันนี้(3 ม.ค.) นายนคร จันทศร รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) พิจารณาผลการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร(กม.) เปิดเผยว่ามีบริษัทที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นรวม 5 กลุ่ม จากที่ยื่นข้อเสนอทั้งหมด 8 กลุ่ม โดยคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจะประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อกำหนดวันยื่นค่าก่อสร้าง

แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวว่า รฟท.จะเปิดให้บริษัททั้ง 5 กลุ่มยื่นข้อเสนอประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ในวันที่ 14 ม.ค.51 หลังจากนั้นคณะกรรมการพิจารณาผลฯจะประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะรับราคาของบริษัทที่เสนอค่าก่อสร้างต่ำสุดหรือไม่ ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการ รฟท.อนุมัติการว่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ รฟท.กำหนดราคากลางไว้ที่ 5,292 ล้านบาท

"รฟท.ไม่จำเป็นต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบผลการประกวดราคา แต่ต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อให้ความเห็นชอบวงเงินค่าจ้าง โดยคาดว่าจะได้บริษัทผู้ชนะในเดือน ก.พ.หรือเดือนมี.ค.นี้"

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม กล่าวว่า การประกวดราคาก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ฯนั้น รฟท. สามารถดำเนินการประกวดราคาต่อไปตามขั้นตอน โดยไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ เพราะเป็นอำนาจการอนุมัติของบอร์ด รฟท.อยู่แล้ว

"ผมให้นโยบายบอร์ด รฟท.ชุดใหม่ว่า ให้สานงานที่ค้างอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ , รถไฟฟ้าสายสีแดง รวมทั้งโครงการทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ซึ่งมีประเด็นเรื่องการขยายเวลา ส่วนการประมูลงานที่มีปัญหาต้องทำให้ชัดเจน"

ทั้งนี้ บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ยื่นเอกสารประกวดราคา 8 ราย และได้ตัดสิทธิ 2 กลุ่มหลังพิจารณารัฐบาลของประเทศจีนถือหุ้นในบริษัทเหมือนกันจึงเกรงจะผิด พ.ร.บ.ฮั้ว เหลือ 6 ราย และล่าสุด กลุ่มกิจการร่วมค้า เอ ดี เค มีบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บมจ. แอสคอน คอนสตรัคชั่น(ASCON) , DYWIDAG INTERNATIONAL GmbH(Dywidag) ไม่ผ่านคุณสมบัติ

ฉะนั้น เหลือผู้รับหมา 5 รายเข้าร่วม e-Auction ประกอบด้วย

1.บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์(ITD)

2.กิจการร่วมค้า CKTU J/V มีบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บมจ.ช.การช่าง(CK) , บริษัท TOKYU Construction, บริษัท UNIQUE Engineering and Construction Public(UNIQ)

3.บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง(1964) จำกัด

4. กิจการร่วมค้า ที.เอส.ซี. มีบริษัทที่ร่วมจดทะเบียนคือ บริษัท ไทยพีค่อน และอุตสาหกรรม จำกัด , บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด และบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด และ

5.กิจการร่วมค้า JNC JOINT VENTURE มีบริษัทที่ร่วมจดทะเบียน คือ บมจ.จัสมิน เทเลคอมซิสเต็มส์(JTS) , บริษัท นามประเสริฐก่อสร้าง จำกัด , Chon Wo Construction & Engineering Company Limited
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2008 9:06 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ขึ้นค่าเช่าไอซีดีลาดกระบัง ด้านเอกชนเล็งเพิ่มค่าบริการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2294 07 ก.พ. - 09 ก.พ. 2551

รฟท. เปิดทางต่อสัญญาเช่าที่พร้อมปรับค่าเช่าสถานีไอซีดี ลาดกระบัง สรุปตัวเลขที่ 56 บาท/ตรม./เดือน เผยยอดรายได้ค่าเช่าตกปีละ 400 ล้านบาท ด้านผู้ประกอบการแจงรับได้ แต่ขอผ่อนจ่ายย้อนหลัง เล็งขึ้นค่าบริการ เหตุต้นทุนเพิ่มกว่า 20%

นายอารักษ์ ราษฎร์บูรณะ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) การรถไฟแห่งประเทศประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ได้สรุปตัวเลขอัตราค่าเช่าพื้นที่ภายในพื้นที่ภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง แล้ว โดยสรุปตัวเลขค่าเช่าที่ 56 บาท/ตารางเมตร/เดือน และจะมีการปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปีด้วย ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯ ได้รับรายได้จากส่วนนี้ปีละประมาณ 400 ล้านบาท โดยการต่อสัญญาใหม่นี้มีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2549 จนถึงปี 2554

ระหว่างนี้ การรถไฟฯ จะสรุปรายละเอียดส่งเข้าไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมรายงานต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อพิจารณา อนุมัติความเห็นชอบ จากนั้นจะได้ลงนามในสัญญาต่อไป ทั้งนี้การต่อสัญญาและการปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่ไอซีดีลาดกระบังนี้ เป็นไปตามขบวนการตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

ขณะที่ นายสุวิทย์ รัตนจินดา นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการเจรจาต่อสัญญาเช่าพื้นที่ และปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่ของไอซีดี ลาดกระบัง มาหลายครั้งแล้ว ในที่สุดก็สามารถตกลงราคาค่าเช่าได้ที่ 56 บาท/ตารางเมตร/เดือน ถือเป็นตัวเลขที่ผู้ประกอบการรับได้ และไม่สูงจนเกินไปนัก

อย่างไรก็ดี ในการต่อสัญญาครั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ขอเรียกเก็บค่าเช่าพื้นที่อัตราใหม่แบบย้อนหลัง นับจากวันหมดอายุสัญญาในปี 2549 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายเงินย้อนหลังให้การรถไฟฯ เป็นเวลา 2 ปี โดยในส่วนของทิฟฟ่าเอง ต้องจ่ายให้การรถไฟฯ เป็นเงินรวมประมาณ 20 ล้านบาท จึงได้เจรจาต่อรองขอผ่อนจ่าย 3 ปี เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการมากนัก

ประธานกรรมการ บจ.ทิฟฟ่าฯ กล่าวอีกว่า จากการปรับตัวเลขอัตราค่าเช่าครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีต้นทุนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ประสบภาวะที่ต้องแบกรับต้นทุนค่าน้ำมันที่สูง จนมีต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่แล้ว เมื่อรวมกับที่การรถไฟฯ เรียกเก็บค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นอีก ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพิ่มสูงขึ้นกว่า 20% ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราค่าบริการกับลูกค้าของบริษัท แม้จะมีกระทบต่อผู้ส่งออกและผู้นำเข้า แต่ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งขณะนี้กำลังหารือกับผู้ใช้บริการอยู่


อนึ่งผู้ประกอบการเอกชน หรือคู่สัญญาที่ได้รับสัมปทานประกอบการภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง มีทั้งสิ้น 6 ราย ประกอบด้วย

1 บริษัท สยามซอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี A,
2 บริษัท อีสเทิร์น ซี แหลมฉบัง เทอ์มินอล จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี B,
3 บริษัทเอเวอร์กรีน คอมเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี C,
4 บริษัท ทิฟฟ่าไอซีดี จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี D,
5 บริษัทไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัดได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี E และ
6 บริษัท เอ็น.วาย.เค.ดิสทริบิวเทชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี F

ซึ่งทั้งหมดนี้ได้หมดสัญญาการเช่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวกับการรถไฟฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มี.ค.49 ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4
Page 4 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©