Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13637331
ทั้งหมด:13949381
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ต่อไปนี้คงจะมีแต่เพียงตำนานของห้องตั๋วล่วงหน้า<คุณ sompot
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ต่อไปนี้คงจะมีแต่เพียงตำนานของห้องตั๋วล่วงหน้า<คุณ sompot

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2008 1:09 pm    Post subject: ต่อไปนี้คงจะมีแต่เพียงตำนานของห้องตั๋วล่วงหน้า<คุณ sompot Reply with quote

กระทู้โดย คุณ sompotch แห่ง www.railway.co.th ครับ
http://www.railway.co.th/seatcheck/guest/webboards/board_posts.asp?FID=8500

จากห้องสี่เหลี่ยมด้านนอกหัวลำโพง (บริเวณขายไก่ทอด KFC ปัจจุบัน) ขยับเข้ามาภายในอาคารหัวลำโพง บริเวณจุดแลกคูปองขายอาหารด้านทิศเหนือ ใกล้ๆ หน่วยบริการเดินทาง ภายหลังโรงแรมราชธานี ยุบเลิกกิจการไป ห้องโถงด้านล่างซึ่งใช้เป็นล็อบบี้ของโรงแรมราชธานี ก็กลายเป็น ที่ทำการ สดร.กท. เมื่อสดร.กท.ย้ายขึ้นไปอยู่บนชั้น 2 ห้องตั๋วล่วงหน้าก็ถูกขยับเข้าไปอยู่แทนจนกระทั่งปัจจุบัน จากช่วงเวลาอันยาวนานหลายสิบปี มีหัวหน้างานมาหลายท่าน บางท่านก็เกษียณอายุที่นี่ บางท่านก็เลื่อนระดับเป็นผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการก็มี

ห้องดังกล่าวเป็นห้องที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับหัวลำโพง เสาเป็นหินอ่อน มีพัดลมเพดาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ( ปัจจุบันยังใช้การได้ดี) เป็นห้องที่ใช้ในการ ดูงาน ฝึกงาน ทดลองงาน นอกจากนั้นยังใช้เป็นห้องแถลงข่าว เป็นห้องรับรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี (ท่านนายกสมัคร ก็ยังเคยมาดูงานที่ห้องนี้ ) ชาวเวียดนามที่คุณท้ายขบวนกล่าวถึง ก็เคยมาดูงานที่ห้องนี้

จากห้องที่ทำหน้าที่หลักในการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า หาเงิน เพื่อมาหล่อเลี้ยงหน่วยงานอื่นใน ร.ฟ.ท. ทั้งหมด รายได้ต่อวันหลักล้านขึ้นไป

เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย ที่ให้บริการทั้งวันไม่มีหยุดพักเที่ยง ไม่มีวันหยุด เสาร์-อาทิตย์

เป็นหน่วยงานแห่งแรก และแห่งเดียว ใน ร.ฟ.ท.ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ 90002

เป็นหน่วยงานแรกที่ให้บริการจำหน่ายตั๋วด้วยคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ สามารถจำหน่ายตั๋วโดยสารได้ทั้งไป และกลับ จองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ( ในอดีต )

ผู้โดยสารสามารถชำระค่าตั๋วด้วยบัตรเครดิต

จากระยะเวลา อันยาวนาน ปัจจุบัน ผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องไปที่หัวลำโพง การจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โอกาสผิดพลาดมีน้อย จากห้องที่เต็มไปด้วยผู้โดยสารจำนวนมากชนิดแน่นห้อง ทั้งวัน จากห้องที่เต็มไปด้วยเสียงตะโกนในการจองตั๋วทางโทรศัพท์ระหว่างห้องตั๋วล่วงหน้ากับสถานีต่างๆ ในภูมิภาค ปัจจุบันมีแต่เสียง เรียกคิว ที่เป็นเสียงผู้หญิง พูดว่า “หมายเลข…. เชิญช่อง ….. ค่ะ “ จากรายได้หลักล้านต่อวันเป็นหลักแสนต่อวัน ประกอบกับ ที่ห้องจำหน่ายตั๋วรายวัน (ด้านนอกบริเวณห้องโถงใหญ่ )ขาดแคลนบุคลากร ทำให้เครื่องคอมฯ ไม่มีเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋ว หลายช่อง เพื่อเป็นการประหยัด เพื่อการลดรายจ่าย และเพื่อความอยู่รอดขององค์กร (เป็นนโยบายของฝ่ายการเดินรถ) จากการประชุมของผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ก.พ. 51 มีผลสรุป ให้ย้ายเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า จากห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าไปทำ การขายตั๋วที่ห้องจำหน่ายตั๋วประจำวัน ด้านทิศตะวันออก ( ช่องหมายเลข 16 –24 ) ส่วนกำหนดวัน ที่แน่นอน หรือ อัตรากำลังจะไปขึ้นกับ สดร.กท . หรือ เงื่อนไขอื่นไดยังมิได้กำหนด ต่อไป ผู้โดยสารที่เป็นลูกค้าขาประจำของห้องจำหน่ายตั่วล่วงหน้าคงจะไม่มีบัตรคิวให้หยิบแล้ว ท่านคงจะไม่ได้ยินเสียงเรียกคิว หวานๆ ดังเดิม ( จะมีก็แต่เสียงประกาศของหน่วยบริการเดินทาง ทั้งวัน ) อาจจะมีการแสดงดนตรีให้ชมเป็นบางวัน คงจะไม่มีเก้าอี้ให้นั่งรอระหว่างซื้อตั๋ว อีกต่อไป ทุกท่านที่ต้องการซื้อตั๋วล่วงหน้าจะต้องไปเข้าคิว ด้านนอก หมายเลข 16 – 24 ภายในเร็ววันนี้ ส่วนมาตรฐาน ไอเอสโอ ที่มีเพียงแห่งเดียว ใน ร.ฟ.ท.ก็คงจะต้องถูกยกเลิกไป ( สิ้น พ.ค. 51 ) ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าเก่า คงจะให้บริการบางส่วน (เฉพาะ ตั๋วนำเที่ยว บังกโลขุนตาน และสำรองที่หมู่คณะ) พื้นที่ที่เหลือส่วนใหญ่ คงจะให้เอกชน มาเช่าดำเนินการ

ทั้งหมดถือว่า เป็นตำนานที่ยาวนาน และจบลงด้วยความเจ็บปวด ( เจ็บทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและความอยู่รอดขององค์กร เป็นหลัก หากท่านเป็นพนักงานรถไฟในปัจจุบัน ในอดีต หรือเคยสัมผัสกับห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า มาบ้างท่านรู้สึกอย่างไรบ้างครับ

ถึงเวลาหรือยัง ครับ พนักงานปัจจุบันทุกท่าน จะหันกลับมามองหน่วยงานของท่าน ว่ามีอะไรบ้างที่จะช่วยให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้ เพิ่มขึ้น มีวิธีใดที่จะพัฒนาหน่วยงานของตนให้ดีขึ้นบ้าง ท่านอุทิศเวลาให้แก่องค์กรมากเพียงใด ช่วยกันเถอะครับ อย่าหวังแต่การกอบโกบ เห็นแต่ผลประโยชน์ ส่วนตน เล็กๆ น้อยๆ มากกว่าผลประโยชน์ขององค์กรเลย ร่วมมือกันเถอะครับ เราจะได้อยู่รอด นี่เป็นเพียงมาตรการเพื่อความอยู่รอดมาตรการหนึ่งเท่านั้นที่ฝ่ายการเดินรถได้เริ่มกระทำ ยังคงจะมีมาตรการอื่นตามมาอีกเป็นแน่ อย่าหวังพึ่งรัฐบาลหรือเทวดาอื่นใดมาช่วยเลยครับ พ่วกเราชาว ครฟ.เท่านั้นที่จะต้องร่วมมือกัน


Last edited by Mongwin on 14/02/2008 4:00 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 14/02/2008 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าอนาคตการรถไฟต้องถูกแปรรูปเป็นบริษัท เหมือน ไปรษณีย์ โทรศัพท์ ปตท. เมื่อไหร่

ผมจะขายที่นาข้าว , ที่ไร่มันสำปะหลัง , อ้อย , ยูคาลิป , สวนมะม่วง , สวนหน่อไม้ วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ที่บ้านผมทั้งหมด เพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นบริษัท รถไฟไทย

เผื่อจะได้ไปเสนอแนวคิดในการบริหารแบบเขาบ้าง
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 14/02/2008 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

พอดีผมมีบัตรสำรองที่ และแผนผังที่นั่งซึ่งใช้สำหรับการจำหน่ายตั๋วโดยสารชั้นหนึ่ง ชั้นสองของห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า สถานีกรุงเทพ เมื่อกว่า ๒๐ ปีก่อน ในยุคที่ยังไม่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์มาใช้ในการจำหน่ายตั๋ว เลยอยากจะนำมาให้ชมพร้อมกับเล่าถึงกระบวนการในการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าในสมัยนั้นประกอบการนำเสนอ ให้เห็นว่ากว่าจะได้ซื้อตั๋วแข็ง หรือตั๋วบางสำหรับขบวนรถที่มีการสำรองที่นั่ง(รถด่วน รถเร็ว)นั้น มีขั้นตอนแตกต่างจากการซื้อตั๋วล่วงหน้าในสมัยนี้อย่างไรบ้างนะครับ Very Happy

ขั้นตอนที่หนึ่ง เวลาท่านจะไปซื้อตั๋วล่วงหน้าที่ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า สถานีกรุงเทพ ท่านจะต้องติดต่อที่เคาน์เตอร์หมายเลข ๑ ด้านหน้าสุด แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้แจกบัตรสำรองที่ตามภาพต่อไปนี้ ก่อนว่าท่านจะเดินทางวันที่เท่าไร ไปไหน ชั้นใด ถ้าทราบขบวนที่ต้องการโดยสารก็แจ้งได้เลยครับ

Click on the image for full size

พอเจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว หากวันเดินทางเป็นวันที่มีผู้โดยสารหนาแน่น รถชั้นที่ต้องการโดยสารเต็มแล้ว ก็จะมีการบันทึกข้อมูลไว้ในไวท์บอร์ดขนาดใหญ่ด้านหลังเคาน์เตอร์ ตีตารางเป็นช่องหมายเลขขบวนรถ ช่องรถชั้นต่างๆที่ขบวนรถนั้นมีบริการโดยระบุ วันที่ เดือนที่รถชั้นนั้นๆเต็มเอาไว้ เจ้าหน้าที่หันไปดูก็แจ้งได้ทันทีว่าขบวนรถในวันที่ที่ผู้ซื้อตั๋วประสงค์จะเดินทางนั้นเต็ม ไม่แจกบัตรสำรองที่ให้ นอกจากจะเปลี่ยนวันเดินทาง หรือเป็นกรณีที่ประสงค์จะเดินทางในวันที่ขบวนรถมีที่ว่างอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ถึงจะแจกบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นบัตรคิวไปด้วยในตัวให้นำไปติดต่อสำรองที่ที่เคาน์เตอร์ถัดไป คือ เคาน์เตอร์หมายเลข ๒,๓ สำหรับขบวนรถสายเหนือ-อีสาน เคาน์เตอร์หมายเลข ๔,๕ สำหรับขบวนรถสายใต้ ซึ่งใช้บัตรสำรองที่สีขาว ข้อความในบัตรสำรองที่ขบวนรถสายใต้เป็นทำนองเดียวกันกับบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น

ตามแบบฟอร์มในบัตรสำรองที่ตามภาพนั้น บางท่านอาจสงสัยข้อความที่ว่า “ขึ้นที่สถานี” มีไว้ทำไม ในเมื่อมีข้อความว่า “จาก.....ถึง......” อยู่แล้ว เดินทางจากสถานีใดก็ต้องขึ้นสถานีนั้นสิ จากประสบการณ์ในฐานะผู้โดยสารตัวเล็กๆ(ตอนนั้นยังเป็นเด็ก)คนหนึ่ง พออธิบายได้ว่า ข้อความว่า ขึ้นที่สถานีนั้นใช้ในกรณีที่ผู้โดยสารจะเดินทางในระยะทางต่ำกว่าที่อนุญาตให้ซื้อตั๋วล่วงหน้า เช่น การเดินทางรถด่วนสายใต้เที่ยวกลับ สมัยก่อนกำหนดระยะทางขั้นต่ำที่เปิดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ คือ ชุมพร-กรุงเทพ เท่านั้น หากจะเดินทางจากบางสะพานใหญ่ถึงกรุงเทพซึ่งเป็นระยะทางสั้นกว่าชุมพร-กรุงเทพ เจ้าหน้าที่ไม่อาจจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ได้ นอกจากจะซื้อตั๋วตามระยะทางขั้นต่ำที่สามารถจำหน่ายตั๋วให้ได้ คือ ชุมพร-กรุงเทพ แล้วแจ้งว่าขึ้นที่สถานีบางสะพานใหญ่ เจ้าหน้าที่ก็จะจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ได้โดยบันทึกในแบบฟอร์มบัตรสำรองที่ว่า จากชุมพร ถึงกรุงเทพ ขึ้นที่สถานี บางสะพานใหญ่ ครับ

ถ้าไม่มีการบันทึกไว้แบบนี้ก็จะไม่มีข้อมูลสำหรับ พรร.ขบวนรถใช้ตรวจตั๋ว พอถึงวันเดินทาง พรร.ไม่เห็นผู้โดยสารขึ้นที่ชุมพรก็จะถือว่าสละสิทธิสามารถจำหน่ายตั๋วเลขที่นั่งนี้แก่ผู้โดยสารอื่นได้ โดยไม่ต้องรอให้ขบวนรถถึงบางสะพานใหญ่เสียก่อน แต่ถ้ามีการบันทึกข้อมูลว่าขึ้นสถานีใดไว้ พรร. ก็จะยังเก็บที่นั่งนี้ไว้จนกว่าผู้โดยสารคนนี้ขึ้นรถที่สถานีบางสะพานใหญ่

สำหรับกรณีที่ขึ้นโดยสารตรงตามสถานีต้นทางในตั๋วอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะปล่อยว่างไว้ ไม่ต้องระบุในช่อง “ขึ้นที่สถานี” ให้ซ้ำกันอีก หรือในกรณีต้นทางเป็นสถานีกรุงเทพ หากจะขึ้นโดยสารจริงที่สถานีสามเสน ชุมทางบางซื่อ ก็ทำได้โดยไม่ต้องแจ้งในขั้นตอนการสำรองที่ว่าขึ้นสถานีใดแน่

ขั้นตอนที่สอง นำบัตรสำรองที่ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์สำรองที่นั่ง/นอน เจ้าหน้าที่จะถามข้อมูลอีกครั้งว่าจะเดินทางจากสถานีใดถึงสถานีใด วันไหน ขบวนรถอะไร โดยสารชั้นใด กี่คนเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ฯลฯ แล้วก็ไปพลิกดูข้อมูลในผังที่นั่งว่างของขบวนรถ ชั้นที่และวันที่ต้องการโดยสาร ลักษณะของผังที่นั่งเป็นไปตามภาพนี้ครับ

Click on the image for full size

ผังที่นั่งตามภาพเป็นผังของรถ บชท.ป. เวลาใช้งานจริงจะมีการกรอกข้อมูลหมายเลขขบวนรถ วันที่ ปลายทาง รถคันที่ เอาไว้ครบถ้วนเก็บรวมกันกับผังที่นั่งสำหรับวันเดินทางวันอื่นๆไว้ในแฟ้ม หน้าปกแฟ้มมีระบุหมายเลขขบวนรถ บชท.ป.คันที่ เอาไว้ชัดเจนสะดวกแก่การหยิบมาเปิดดูที่นั่งว่าง หากที่นั่งใดมีการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าไปแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงข้อมูลหมายเลขตั๋ว จากสถานีใดถึงสถานีใดเอาไว้ในช่องตารางสำหรับที่นั่งหมายเลขนั้นๆ แต่ถ้าช่องตารางของที่นั่งหมายเลขใดยังไม่มีการกรอกข้อมูลดังกล่าว ก็แสดงว่าที่นั่งยังว่างอยู่สามารถสำรองที่นั่งนั้นได้ เจ้าหน้าที่ก็จะกรอกข้อมูลลงในผังที่นั่งว่างแสดงว่ามีการสำรองที่นั่งเลขที่นี้แล้ว และกรอกแบบฟอร์มบัตรสำรองที่ให้ครบถ้วนโดยระบุหมายเลขรถคันที่ เลขที่นั่งเอาไว้ เว้นแต่ยังไม่กรอกเลขที่ตั๋ว เพราะในขั้นตอนนี้ยังไม่ได้ออกตั๋วให้ ผู้ซื้อตั๋วต้องนำบัตรสำรองที่ที่ผ่านการกรอกข้อมูลดังกล่าวไปติดต่อซื้อตั๋วเคาน์เตอร์ต่อไป ตามที่ระบุในบัตรสำรองที่ว่าให้ไปรับตั๋วที่เคาน์เตอร์หมายเลขใด

นอกจากการระบุข้อมูลที่นั่งว่างไว้ในผังตามภาพข้างต้นแล้ว ยังมีการลงข้อมูลที่นั่งว่างไว้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ลงข้อมูลในสมุดปกแข็งเล่มใหญ่ หน้าปกเขียนหมายเลขขบวนรถไว้ ภายในสมุดเป็นกระดาษเส้นบรรทัดประทับวันเดือนปี รถคันที่ ชั้นและประเภทรถไว้บนหัวกระดาษ แล้วเขียนหมายเลขที่นั่งเรียงไปตามแต่ละบรรทัดจากบนลงล่าง ส่วนมากการลงข้อมูลที่นั่งว่างในสมุดแบบนี้จะใช้สำหรับขบวนรถเที่ยวกลับ ซึ่งมีการกำหนดโควต้าที่นั่งเที่ยวกลับให้สถานีกรุงเทพจำหน่ายตั๋วแทนสถานีต้นทางที่ผู้โดยสารจะเดินทางเที่ยวกลับ เช่น เที่ยวกลับขบวน ๑๒ (ขบวน ๓๖ ในปัจจุบัน) ระยะทางจากหาดใหญ่-กรุงเทพ ก็จะมีข้อมูลลงไว้ในสมุดปกแข็งหน้าปกมีเลข ๑๒ ตัวใหญ่ๆ เปิดภายในก็จะไล่เรียงตั้งแต่หน้ากระดาษโควต้าที่นั่ง/นอนรถ บนอ.ป.คันที่ ๒ รถ บนอ.คันที่ ๓ รถ บนท.ป. คันที่ ๔ ของแต่ละวันเดินทาง โดยระบุหมายเลขที่นั่ง/นอนที่สถานีกรุงเทพได้โควต้ามาจำหน่ายตั๋วแทนเอาไว้ อย่างรถ บนท.ป. คันที่ ๔ ก็จะมีโควต้าหมายเลขที่นั่ง/นอน เลขที่ ๑-๑๒ เท่านั้น ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วเที่ยวกลับที่สถานีกรุงเทพจะเลือกหมายเลขอื่นไม่ได้ นอกจากที่นั่งตามโควต้าเต็มหมดแล้ว เจ้าหน้าที่อาจโทรศัพท์ติดต่อขอสำรองที่นั่งหมายเลขอื่นของรถบนท.ป.คันนี้จากสถานีชุมทางหาดใหญ่ให้เป็นรายๆไป ซึ่งจะสำเร็จสมประสงค์หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างครับ ถ้าที่นั่งของสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็เต็ม หรือเจ้าหน้าที่บางคนไม่โทรติดต่อให้ใช้วิธีบอกเอาง่ายๆตามข้อมูลในสมุดว่าเต็มแล้ว ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่โดนแบบนี้ก็ยอมจำนน แต่พวกแฟนรถไฟแบบเราๆท่านๆทราบว่า สามารถโทรขอโควต้าได้ก็จะบอกให้เจ้าหน้าที่คนนั้นช่วยโทรให้หน่อย แต่ถ้ายังบอกว่าโทรติดต่อไม่ได้ก็อดซื้อตั๋วล่วงหน้าเที่ยวกลับกันละครับ

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่โทรขอโควต้าที่นั่งเที่ยวกลับให้สำเร็จ ก็จะกรอกข้อมูลการติดต่อสำรองที่จากสถานีต้นทางเที่ยวกลับลงในแบบฟอร์มอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นเอกสารโรเนียวลงกระดาษสีขาวขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของกระดาษเอ ๔(ผมยังหาแบบฟอร์มนี้ไม่พบเลยครับ เลยไม่ได้นำภาพมาให้ชมกัน) มอบให้ผู้ซื้อตั๋วนำไปติดต่อรับตั๋วแทนบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น เป็นอย่างไรครับ เริ่มเห็นความลำบาก ยุ่งยากในการซื้อตั๋วล่วงหน้ายุคโบราณแล้วหรือยัง ช่างผิดกับยุคคอมพิวเตอร์นะครับ ถ้าไม่เล่าไว้ก็จะไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้อนุชนได้ศึกษาถึงวิวัฒนาการในการจำหน่ายตั๋ว(ว่าเข้าไปนั่น)

การจองตั๋ว(ซื้อตั๋ว)รถบนท.ป.สมัย ๒๐ กว่าปีที่แล้วนั้นซื้อได้ยากจริงๆ ถ้าไม่รีบซื้อตั๋วล่วงหน้านานๆรถ บนท.ป.มักจะเต็มก่อนเสมอ เนื่องจากสมัยปี ๒๕๒๕-๒๕๓๐ ยุคก่อนที่จะมีรถบนท.ป.๔๐ ที่ ล็อตใหญ่เข้ามาให้บริการในปี ๒๕๓๑ รถบนท.ป. มีแต่รุ่นเก่า ๓๒ ที่ เพียงรุ่นเดียว ทั้งประเทศมี ๑๖ คัน ปกติพ่วงกับขบวน ๑/๒(กรุงเทพ-อุบลฯ) ๗/๘(กรุงเทพ-เชียงใหม่) ๑๑/๑๒หรือ๑๕/๑๖(กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ/สุไหงโกลก) ๔๗/๔๘(กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช)ขบวนละหนึ่งคัน พ่วงขบวน ๑๙/๒๐(กรุงเทพ-ยะลา ซึ่งต่อมาขยายปลายทางไปถึงสุไหงโกลก เป็นขบวน ๓๗/๓๘ ในปัจจุบัน) ขบวนละสองคัน รวมรถบนท.ป.ที่นำออกให้บริการจริงตามปกติแค่ ๑๒ คันเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับรถ บนท. ในยุคนั้นที่มีเยอะ แต่ไปๆมาๆสมัยนี้กลับกันเสียแล้วนะครับ รถที่หาโดยสารยากกลับเป็นรถ บนท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เดินทางด้วยขบวนรถด่วนพิเศษจะไม่มีทางเลือกโดยสารรถ บนท.เลย เพราะรถนอนชั้นสองของขบวนรถด่วนพิเศษมีแต่รถ บนท.ป. ทั้งนั้น เล่าๆไปชักจะบ่นมากอีกแล้วกลับมาขั้นตอนต่อไปกันดีกว่าครับ

ขั้นตอนที่สาม ผู้ซื้อตั๋วนำบัตรสำรองที่ที่ผ่านการกรอกข้อมูลการสำรองที่ มีการระบุหมายเลขรถคันที่และเลขที่นั่งไว้เรียบร้อยแล้ว ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วตามที่ระบุไว้ในบัตรสำรองที่ว่า “โปรดรับตั๋วหมายเลข” เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วก็จะออกตั๋วให้ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในบัตรสำรองที่ว่าเดินทางวันไหน รถขบวนใด ชั้นใด คันที่เท่าไร เลขที่นั่ง/นอนใด จะได้ตั๋วแข็งหรือตั๋วบางก็ลุ้นระทึกกันตอนนี้ละครับ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะกรอกหมายเลขตั๋วลงในบัตรสำรองที่เพื่อสงไปลงข้อมูลหมายเลขตั๋วในผังหรือสมุดแสดงที่นั่งว่างตามแต่กรณีต่อไป ถ้าเป็นกรณีที่ออกตั๋วแข็งให้หลายใบสำหรับผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นตั๋วค่าโดยสาร ตั๋วค่าธรรมเนียมต่างๆ ก็ไม่ต้องกรอกหมายเลขตั๋วสำรับนั้นทุกใบลงในบัตรสำรองที่นะครับ กรอกแค่ข้อมูลหมายเลขตั๋วโดยสารซึ่งเป็นตั๋วใบหลักก็พอ เพราะว่าตั๋วค่าธรรมเนียมต่างๆไม่ว่าจะมีกี่ใบก็ต้องอ้างถึงตั๋วโดยสารอยู่แล้วว่าใช้ควบตั๋วโดยสารหมายเลขใด

พอเจ้าหน้าที่ออกตั๋วให้เสร็จก็จะเขียนซองตั๋วให้ด้วย สมัยก่อนข้อมูลหน้าซองตั๋วเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสารทั่วๆไปนะครับ เพราะข้อความตามตั๋ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๋วแข็งยังมีข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทางไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างตั๋วคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เช่น ไม่มีข้อมูลเวลารถออก ตั๋วบางใบก็ไม่ระบุรถคันที่ หมายเลขที่นั่ง/นอนไว้เลย เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะประทับตรายางแล้วกรอกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมให้ดังที่เคยนำเสนอไปแล้ว ผู้โดยสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติก็สามารถดูข้อมูลการเดินทางที่หน้าซองตั๋วได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาตั๋วแข็งไม่ให้กระจัดกระจายสูญหายไปก่อนใช้เดินทางด้วยครับ ส่วนการชำระค่าตั๋วก็ต้องเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่รับบัตรเครดิตเหมือนปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/02/2008 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลยอดเยี่ยมครับ อ.ตุ้ย ขอนับถือจริงๆ ... Sathu
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2008 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านบทความของ อ.ตุ้ย แล้วนึกถึงความหลังครับ
ปี 2530 ผมกับเพื่อนๆ 4-5 คน ชวนกันไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเล บางแสน ที่ มศว.บางแสนกันครับ (ปัจจุบันคือ ม.บูรพา)
นึกสนุก จะไปทางรถไฟกันครับ ไปลงสถานีรถไฟชลบุรี

ก็เข้าไปในห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้านี้แหละครับ มีน้าคนนึงที่นั่งอยู่หน้าห้อง ซึ่งคอยถามผู้โดยสารว่าจะจองตั๋วไปไหน จะได้จำแนกให้ว่าต้องเข้าไปช่องไหน

ผมเข้าใจผิดว่า รถไฟสายตะวันออก ไปชลบุรี สามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้
ก็เลยบอกว่า ไปชลบุรี น้าเจ้าหน้าที่ก็ทำหน้างงๆ แล้วก็ยื่นบัตรสำรองที่สำหรับรถนำเที่ยวมาให้ ซึ่งก็แน่นอนว่าเข้าไปแล้วก็รู้ว่าผิดที่ครับ

สุดท้ายเลยต้องไปซื้อตั๋วที่ช่องขายตั๋วตามปกติครับ ถึงสถานีชลบุรีต่อรถสองแถวไปบางแสนสมใจครับ ทริปนั้นเป็นทริปที่ประทับใจมากๆ ครับ แม้เพื่อนๆ กลุ่มนี้ต่างแยกย้ายกันไป ไม่ค่อยได้ติดต่อกันอีกเลย

ช่วง พ.ศ. 2530 กว่าๆ สมัยเรียน ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ผมใช้วิธีซื้อตั๋วล่วงหน้าที่สถานีบางเขนแทนครับ ขี้เกียจเข้าไปหัวลำโพง เจ้าหน้าที่ก็ใช้วิธีโทรศัพท์จองให้ครับ

ส่วนเมื่อกลับบ้านที่สงขลา จะจองตั๋วที่บริษัท ระโนดเดินรถ ครับ ซึ่งเป็นเอเย่นต์จำหน่ายตั๋วล่วงหน้าของการรถไฟครับ


Last edited by Mongwin on 14/02/2008 4:22 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
onekodak
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/06/2007
Posts: 295
Location: บางแสน ชลบุรี

PostPosted: 14/02/2008 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

อ.ตุ้ย บรรยายซะเห็นภาพเลยครับ แต่บรรยากาศเก่าๆในการจองตั๋งล่วงหน้ายังอยู่ในความทรงจำครับ
ในความคิดผมไม่อยากให้เป็นตำนานเลยครับ คำว่าจองตั๋วล่วงหน้าคือ ต้องการเดินทางแน่นอนและมีที่นั่ง-นอน ตามที่ตัวเองต้องการเดินทาง น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้
แสดงว่าหลายท่านเคยใช้บริการที่ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าซินะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2008 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

tuie wrote:

การจองตั๋ว(ซื้อตั๋ว)รถบนท.ป.สมัย ๒๐ กว่าปีที่แล้วนั้นซื้อได้ยากจริงๆ ถ้าไม่รีบซื้อตั๋วล่วงหน้านานๆรถ บนท.ป.มักจะเต็มก่อนเสมอ เนื่องจากสมัยปี ๒๕๒๕-๒๕๓๐ ยุคก่อนที่จะมีรถบนท.ป.๔๐ ที่ ล็อตใหญ่เข้ามาให้บริการในปี ๒๕๓๑ รถบนท.ป. มีแต่รุ่นเก่า ๓๒ ที่ เพียงรุ่นเดียว ทั้งประเทศมี ๑๖ คัน ปกติพ่วงกับขบวน ๑/๒(กรุงเทพ-อุบลฯ) ๗/๘(กรุงเทพ-เชียงใหม่) ๑๑/๑๒หรือ๑๕/๑๖(กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ/สุไหงโกลก) ๔๗/๔๘(กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช)ขบวนละหนึ่งคัน พ่วงขบวน ๑๙/๒๐(กรุงเทพ-ยะลา ซึ่งต่อมาขยายปลายทางไปถึงสุไหงโกลก เป็นขบวน ๓๗/๓๘ ในปัจจุบัน) ขบวนละสองคัน รวมรถบนท.ป.ที่นำออกให้บริการจริงตามปกติแค่ ๑๒ คันเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับรถ บนท. ในยุคนั้นที่มีเยอะ แต่ไปๆมาๆสมัยนี้กลับกันเสียแล้วนะครับ รถที่หาโดยสารยากกลับเป็นรถ บนท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เดินทางด้วยขบวนรถด่วนพิเศษจะไม่มีทางเลือกโดยสารรถ บนท.เลย เพราะรถนอนชั้นสองของขบวนรถด่วนพิเศษมีแต่รถ บนท.ป. ทั้งนั้น


เดี๋ยวนี้ ขบวน ๓๖ ก็มีแต่ บนท.ป. เสียแล้วครับ บนอ.ป.ก็ตัดทิ้งไว้แค่ ชท.หาดใหญ่
คิดถึงสมัยก่อนเมื่อ ปี ๒๕๒๙ ครับ ขบวน ๑๒ ยังพ่วง บชท. ด้วยซ้ำไปครับ
(ถ่ายที่ ปาดังเบซาร์ ครับ) ตอนนั้น อยู่ ม.๔ ครับ อิอิ
Click on the image for full size

ป.ล. บัตรสำรองที่ ถ้าผมจำไม่ผิด มันจะแยกเป็นสีๆ ตามสายด้วยใช่ไหมครับ สายเหนือ-อีสาน สีนึง สายใต้สีนึง รถนำเที่ยวสีนึง ส่วนสายตะวันออกกับสายตะวันตก สายมหาชัยแม่กลองไม่มีให้จอง Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 14/02/2008 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

ยังเคยมีโอกาสได้เห็น ขบวน 11/12 พ่วง บชท. เหมือนกันครับ(ช่วงท้ายๆก่อนจะเปลี่ยนเป็น 35/36)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 14/02/2008 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บัตรสำรองที่ ถ้าผมจำไม่ผิด มันจะแยกเป็นสีๆ ตามสายด้วยใช่ไหมครับ สายเหนือ-อีสาน สีนึง สายใต้สีนึง รถนำเที่ยวสีนึง ส่วนสายตะวันออกกับสายตะวันตก สายมหาชัยแม่กลองไม่มีให้จอง Very Happy


บัตรสำรองที่สีฟ้าที่นำมาให้ชมข้างต้นนั้น ใช้สำหรับสายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ครับ ส่วนสายใต้ ใช้บัตรสำรองที่สีขาว ขนาด แบบฟอร์ม และข้อความในบัตรเหมือนกับของสายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือครับ ผมจำได้ว่าเคยเก็บไว้เหมือนกันแต่ยังหาไม่พบ ไม่แน่ใจว่าจะหายตอนผมย้ายบ้านจากฝั่งพระนครมาฝั่งธนบุรี เมื่อปี ๒๕๓๐ หรือไม่ Confused

ในส่วนของรถนำเที่ยวนั้น แจกเป็นบัตรคิวครับ เป็นบัตรสีเขียวอ่อนขนาดใกล้เคียงกับนามบัตร ไม่มีตารางและช่องให้ลงข้อมูลแบบบัตรสำรองที่ข้างต้น รับบัตรคิวมาก็ไปนั่งรอหน้าช่องหมายเลข ๗ ซึ่งรับสำรองที่ และออกตั๋วรถนำเที่ยวและออกตั๋วผ่านเขต รอเรียกตามคิวได้เลยครับ

นอกจากนี้ ในห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า ยังมีการแจกบัตรคิวอีกประเภทหนึ่ง คือ บัตรคิวคืนตั๋ว หรือเปลี่ยนแปลงการเดินทาง เป็นบัตรเล็กๆสีน้ำตาล รับมาแล้วไปนั่งรอคิวที่ช่องหมายเลข ๖ ได้เลยครับ

เสียดายเหมือนกันครับที่จะยกเลิกการให้บริการที่ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้านี้ไป เมื่อไม่กี่วันผมยังไปใช้บริการอยู่เลยครับ Sad ผมว่าซื้อตั๋วในห้องนี้บรรยากาศสบายกว่าไปยืนเข้าแถวรอซื้อที่ช่องจำหน่ายตั๋วประจำวันเป็นไหนๆ เพราะจะพูดจากับเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องตะโกนผ่านช่อง จะดูผังที่นั่งก็ดูได้ง่าย จะรูดเครดิตการ์ดก็สะดวกฯลฯ หวังว่าพอยกเลิกบริการที่ห้องนี้โดยให้ไปซื้อที่ช่องจำหน่ายตั๋วฯยังจะคงมีบริการชำระค่าตั๋วด้วยบัตรเครดิตอยู่นะครับ Cool
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©