View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 28/03/2006 11:49 pm Post subject: เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า |
|
|
วันนี้มาดูของดีที่หายากดีกว่านะ
เอกสารหายาก - หนังสือนำเที่ยว Along the Line จากกรมรถไฟหลวง ฉบับปี คศ. 1935
ที่คุณ airlana ไปพบเข้าใน U. of Australia
Last edited by Wisarut on 24/11/2007 7:58 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 28/03/2006 11:50 pm Post subject: |
|
|
วันนี้ได้ภาพดีๆจากหนังสือ Railway Wonders of the World เขียนขึ้นโดย Winchester & Allen, พิมพ์เมื่อปี 2479 ในเล่ม 4 มีเรื่องกรมรถไฟหลวงประเทศสยาม และ
การรถไฟพม่าครับ
สถานีกรุงเทพที่หัวลำโพงก่อนปี 2473
สถานีสามเสน
วัดแจ้ง
สะพานพระราม 6
แผนที่ทางรถไฟสยนาม ช่วงปี 2474 - 2476 แม้เอกสารจะตีพิมพ์แต่ปี 2479
รถด่วนระหว่างประเทศ ไปร - กรุงเทพ ใช้เจ้าอีคลาสลากจูง
REF: Train in Siam : A Survey of an Extensive Narrow-Gauge System
https://railwaywondersoftheworld.com/siam.html
รถไฟพม่า ใช้รถจักรเบเยอร์กาแรตต์ บนทางขึ้นสะพานหอสูง Goteik ที่ชัน 1 ใน 25 (40 ใน 1000)
แผนที่รถไฟพม่า ที่ต้องหยุดชงัก หลังปี 1925
สถานีย่างกุ้งก่อนโดนระเบิดทำลาย
รถจักรเบเยอร์กาแรตต์ ที่ทางสายลาเฉียว เริ่มใช้แต่ปี 1924
REF: Burmas Metre-Gauge System : Developing the Resources of a Rich Territory
https://railwaywondersoftheworld.com/burmas-metre-gauge.html
Last edited by Wisarut on 23/01/2022 10:13 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 28/03/2006 11:53 pm Post subject: |
|
|
วันนี้ผมไปค้นเจอหนังสือที่โปรเฟสเซอร์ญี่ปุ่น (Prof. Ichiro Kakizaki) เขียนเกี่ยวกับ
รถไฟไทย (มีจำหน่ายที่ Amazon.com) พิมพ์ภาษาญี่ปุ่นปี 2543และ พิมพ์ภาษาอังกฤษ
เมื่อ 30 ธันวาคม 2547 ... ตอนนี้ หอสมุดปรีดีกำลังสั่งเข้ามาเสียด้วย
ท่านโปรเฟสเซอร์คาคิซากิบ่นให้เพื่อนๆฟังว่าหาข้อมูลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ที่กรุงเทพได้ยากกว่าการหาข้อมูลจาก ญี่ปุ่นและอเมริกาเสียอีก ท่านโปรแฟสเซอร์น่าจะจ้างคนไทยให้ทำงาน Down & Dirty Job ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้วท่านจะไม่ผิดหวังเด็ดขาดเทียวครับ
นี่คือเวบไซท์ของ ผศ. อิจิโร คาคิซากิ ผู้ชำนาญการรถไฟไทยชาวญี่ปุ่น
http://www.mizu.gr.jp/kikanshi/mizu_13/no13_b01.html
นี่คือข้อมูลจากหนังสือ Laying The Tracks: The Thai Economy And It's Railrways, 1885-1935 ฉบับภาษาญี่ปุ่น
http://thai.minidns.net/ts98/resume/ts99kakizaki_i.html |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 28/03/2006 11:59 pm Post subject: |
|
|
ตอนที่นั่งค้นที่ห้องสมุดศูนย์ฯสิรินธร ก็ได้ของดีเกี่ยวกะรถไฟตั้งเยอะแยะ
รวมทั้งภาพสถานีนครศรีธรรมราชฝีมือช่างกล้องกรมรถไฟหลวงปี 2477 และ
เหตุผลที่เลือกสร้างทางสายหนองปลาดุก - สุพรรณบุรีแทนที่จะสร้างจากนครปฐมไปสุพรรณบุรีอย่างที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ท่านตั้งพระทัยไว้
นี่แหละหนา เพราะทำผิดไปจากที่พระองค์ได้ตั้งปนิธานไว้ ทำให้ทางสายไปสุพรรณบุรี
ถึงได้วิบัติอย่างเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ตอนนี้เอาแค่สายสุพรรณบุรี - ป่าหวาย (ลพบุรี) ได้แจ้งเกิดก็นับว่าบุญโขแล้ว
ส่วนบ้านหมี - ลำนารายณ์มีไว้ก็ไม่เสียหายหนะ ...
ว่าแต่ว่าพี่ตึ๋งจะเอาภาพเจาะอดีตจาก แผ่นพับตารางเวลารถไฟที่แจกฟรีมาลงไว้ที่นี่เมื่อไหร่หนอหรือว่าผมจะต้องสูบแล้วโดยเข้า Image Bucket เอาเองหว่า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 12:45 am Post subject: |
|
|
วันนี้ขุดของดีจากหนังสืองานศพ ของ พระปัญญาคุณ ปุณฺณวํโส อดีต พล.ต.ต. ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร- (อดีตอธิบดีกรมรถไฟหลวง เมื่อปี 2485) เมื่อ 24 ธันวาคม 2530 ก็ได้ความว่า
1) ท่านได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นอธิบดีกรมรถไฟหลวงแทนหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ที่ติดราชการสนามที่เชียงตุง ขณะที่ อธิบดีชลอ กำลังลาพักผ่อน ประจำปีที่หัวหิน เมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม 2485 ตอนนั้นเป็นวันพักวันสุดท้ายก่อนขึ้นรถไฟ หัวหิน - กรุงเทพ เพื่อทำงานในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร กว่าจะรับมอบงานจากหลวงเสรีเริงฤทธิ์ และ หัวหน้ากองต่างๆ ในกรมรถไฟครบ ก็ใช้เวลา 10 กว่าวัน
2) เมื่อได้รับมอบงานจากหลวงเสรีเริงฤทธิ์ก็พบว่า มีงานค้าง 300 กว่าเรื่อง แต่สั่งการได้เองเพียง 30 กว่าเริ่อง นอกนั้น ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมกรมรถไฟ ที่ต้องประชุมทุกวันกว่าจะ เคลียร์เรื่องทั้ง 300 กว่าเรื่อง ได้ก็กินเวลาอีก 2 อาทิตย์เต็มๆ โดยกำชับให้หัวหน้าแผนก เสนอความเห็นของตนเองมาด้วยว่าต้องการอะไรก่อนยื่นเรื่องให้อธิบดีอนุมัติ ทุกครั้ง
2.1) ถ้าเห็นพ้องต้องกันก็ให้หัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนก สั่งการไปได้เลยไม่ต้องเสนออธิบดี
2.2) ถ้าเห็นขัดแย้งถึงให้หัวหน้ากอง เสนอความเห็นมายังอธิบดั เพื่อสั่งการหรือเข้าที่ประชุม
กรม เพื่อพิจารณาในคราวต่อไป ซึ่งวิธีใช้กับกรมสรรพากรและกรมราชทัณฑ์ได้ผลมาแล้ว
3) กรณีท่านผู้นำสั่งเลิกกินหมากพลู รัฐมนตรีมหาดไทยได้ยื่นเรื่องให้กรมรถไฟงดรับบรรทุกหมากพลู ไปขาย แต่กรมรถไฟ มีมติให้ขนหมากพลุต่อไปตามเดิม ทั้งกรณีส่งหมากพลูไปขายในประเทศหรือข้ามไปมลายู เพราะหมากมีประโยชน์ใช้ทำสีย้อม และฟอกหนัง ส่วนพลูใช้ทำยารักษาโรคได้ นอกเหนือจากการใช้เคี้ยวกินแล้ว และการปลุกหมากพลูเป็นอาชีพสุจริต ถ้างดการขนหมากพลูแล้วจะทำให้ชาวสวนหมากพลูตกงาน หมดอาชีพทำมาหากิน
จากนั้นกรมรถไฟหลวงได้เสนอมติกรมรถไฟให้รัฐมนตรีคมนาคม (ควง อภัยวงศ์) เกียวกับเรื่องการขนหมากพลูพร้อมสำเนาเรื่องคำร้องให้งดขนหมากพลูจากกระทรวงมหาดไทยไปให้รํฐมนตรีควง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่สุด คณะรับมนตรีจึงมีมติยินยอมให้กรมรถไฟขนหมากพลูได้ตามเดิม
4) ปลายปี 2485 ทาง บก. สูงสุด ได้ขอให้อธิบดีกรมรถไฟติดตามคณะนายทหาร ไปตรวจราชการที่เชียงตุง แต่อธิบดีแจ้งว่าท่าน ไปนอกเส้นทางรถไฟไม่ได้ ซึ่งต้องแก้โดยการแต่งตั้งอธิบดีกรมรถไฟให้เป็นนายทหารประจำ บก. สูงสุด ติดตาม นายกฯ และ คณะ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ถึงจะทำได้ และต้องจัดขบวนรถพิเศษไปลำปาง ก่อนไปต่อเชียงราย
ขณะเดินทางไปเชียงตุงก็มีข่าวลือว่า จะมีการเรียกตัวหลวงเสรีเริงฤทธิ์กลับเข้ารับตำแหน่ง อธิบดีกรมรถไฟ และโอนอธิบดี ชลอกลับเข้ากรมสรรพสามิตตามเดิม ทำให้อธิบดีชลอต้องขอเข้าพบ ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า ผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ให้โอนย้ายหลวงเสรีเริงฤทธิ์กลับเข้ากรมรถไฟ โดยที่ท่านไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย จะแก้ไขมติดังกล่าว
ก็ทำไม่ได้แต่ ท่านนายกฯให้รอกว่าจะกลับพระนครไปแล้ว 3 เดือน จึงจะดำเนินการ
พอกลับเข้าพระนครแล้ว 3 เดือนก็พบว่าท่านนายกฯได้ระงับมติให้ย้ายหลวงเสรีเริงฤทธิ์กลับ
เข้ากรมรถไฟ พร้อมฉีกใบลาออกจากราชการของอธิบดีชลอ ทิ้งเสีย
4) เสนาธิการของ พลโทอิชิดะ (ผบ. ขส. ทหาร แห่งกองทัพญี่ปุ่น) ได้ทำเรื่องขอให้กรมรถไฟจัดขบวนรถไฟทหาร ให้กองทัพญี่ปุ่น จากปาดังเบซาร์ไปกรุงเทพ วันละ 4 ขบวน แต่กรมรถไฟจัดให้ได้แค่วันละ 1 ขบวน ก่อนจะขนต่อไปที่พนมเปญแล้วต่อรถไฟจากไซ่ง่อนไปเมืองจีน
ต่อมาพลโทอิชิดะได้ชวนอธิบดีชลอ ไปเที่ยว ปีนัง, กัวลาลัมเปอร์และ สิงคโปร์ ตอนแรกตอบปฏิเสธ เพราะการท่องเที่ยวในภาวะสงครามนี่อันตรายมากและไม่สมควรทำอย่างยิ่ง ภายหลังถึงได้ไปเพราะพลโทอิชิดะแจ้งว่าเป็นแค่การเที่ยวเฉยๆ ไม่มีข้อราชการแอบแฝง แต่เอาเข้าจริงก็พบว่ากองทัพญี่ปุ่นมีข้อราชการให้ กรมรถไฟช่วยสร้างทางรถไฟสาย ชุมพร - กระบุรี เพื่อขนทหารญี่ปุ่นจากพม่าไปเมืองจีน ซึ่งอธิบดีชลอทำไม่ได้ไม่ได้เพราะขืนทำคอขาดบาดตายเช่นนั้นขณะไปเที่ยวก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง ก็เลยแนะให้ยื่นเรื่องผ่านกรมประสานงานสัมพันธมิตร (บก. สส.) แทน โดยอธิบดีชลอจะเป็นบุรุษไปรษณีย์ให้ แล้วให้พลโทอิชิดะไปตกลงกับ กรม ประสานงานสัมพันธมิตร แทน ให้พลโทอิชิดะไม่พอใจ จนต้องปิดการประชุม
5) ต้นปี 2486 รถจักรมิกาโด้ สำหรับลากจูงรถสินค้า ขาดมือ ทำให้ต้องจอดรถสินค้ารอไว้ที่สถานี
บางที่ก็ไม่มีการทำขบวนรถสินค้าทั้งๆที่ มีรถจักร ทำให้ต้องออกคำสั่งให้ทุกสถานีหารถจักรมาให้ได้ใน 24 ชั่วโมงหลังจากรถตู้บรรทุกสินค้าเสร็จแล้ว ทำให้แก้ปัญหาเรื่องรถจักรขาดมือไปได้บ้าง
6) ต่อมาเกิดปัญหารถตู้สินค้าขาดมือเพราะญี่ปุ่นเอาไปใช้ ทำให้เกิดมหกรรมการแย่งตู้สินค้า
ต้องเสียค่าใช้จายพิเศษให้จึงจะขนสินค้าไปได้ ทำให้มีดำริดังนี้:
6.1) ขอแยกกรมรถไฟออกเป็น "องค์การรถไฟ" เป็นรัฐวิสาหกิจ (ต้นรากของการรถไฟแห่งประเทศไทย) เพื่อปรับปรุงให้ งานบริหารสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยไม่ติดระเบียบราชการอันแสนยุ่งยาก เพราะอำนาจเด็ดขาดอยุ่ที่คณะกรรมการรถไฟ แบบเดียวกะบริษัทเอกชน
6.2) ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 600 ล้านบาท (ในยุคทองบาทละ 86 บาท ไม่ใช่ยุคบาทละ 25 บาทตอนก่อนสงคราม หรือ 400 บาทหลังสงครามโลกใหม่ๆ หรือ บาทละ 30000 บาทในบัจจุบัน) เพื่อ
6.2.1) ดำเนินการซื้อรถจักรใหม่ 200 ล้านบาท ซื้อรถจักรใหม่ 600 คัน (!) รถตู้บรรทุกสินค้า 20000 คัน
6.2.2) สร้างทางรถไฟคู่ทั่วพระราชอาณาจักร 200 ล้านบาท (เดียวนี้ต้องขั้นต่ำ เฉียดล้านล้านบาท)
6.2.3) เพิ่มแผนกช่างกล ที่บางซื่อ, บ้านภาชี, แก่งคอย, นครราชสีมา, อุตรดิตถ์, ชุมพร, ทุ่งสง, หาดใหญ่ และขยายโรงงานมักกะสัน ด้วยเงิน 200 ล้านบาท
6.3) แม้คณะรัฐมนตรี (เช่นนายกฯ และ รมต. คมนาคม) จะเห็นชอบในหลักการเรื่อง "องค์การรถไฟ" มูลค่า 600 ล้านบาท แต่รัฐบาลไม่มีเงิน
Note: ถ้าจะซื้อรถจักร 600 หัว (เดี๋ยวนี้ต้อง 1000 หัว) และ รถบตญ จำนวน 2หมื่นชุด (เดี๋ยวนี้ต้อง บตญ 5หมื่นหลัง หรือ รถ BCF + ตู้คอนเทนเนอร์ 40ฟุต จำนวน 5 หมื่น ชุด), กรุณาเชิญ ฝรั่งญี่ปุ่นและจีนแดงมาลงทุนตั้งโรงงานประกอบรถจักร และ และรถพ่วงได้แล้วครับ
7) ระหว่าง 21 กุมภาพันธ์ 2486 - 13 กันยายน 2486 อธิบดีชลอต้องทำงานในฐานะ
7.1) อธิบดี กรมรถไฟหลวง ซึ่งทำเฉพาะภาคเช้า
7.2) รักษาราชการอธิบดีกรมสรรพสามิต ซึ่งทำเฉพาะภาคบ่าย
7.3) ผู้บังคับการ ตำราจสันติบาล
7.4) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสนาม
งานฝ่ายตำรวจสนามและสันติบาลให้ยิ่นผ่านกรมรถไฟในตอนเช้าและกรมสรรพสามิตในตอนบ่าย
ที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟหลวงแล้วโดยให้กลับไปรับราชการกรมสรรพากรตามเดิม เมื่อ 14 กันยายน 2486 โดยได้รับตำแหน่งกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งก็เกิดเรื่องเกี่ยวกับที่ทรัพย์สินที่มีการใช้อิทธิพล
บังคับซื้อขายเอากำไรกัน ที่สุดก็ต้องระงับการขายที่ทรัพย์สินฯ ทุกรายการ
Last edited by Wisarut on 23/01/2022 10:20 pm; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 12:50 am Post subject: |
|
|
คำแถลงนโยบาย ของ คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๖
ราชการส่วนคมนาคม
๑. กรมรถไฟ
จะขยายและแก้ไขบริเวณสถานีกรุงเทพฯ ให้สะดวกและเพื่อเป็นความปลอดภัยยิ่งขึ้นแก่การเดินรถเข้าออก สำหรับทั้งสินค้าและคนโดยสาร การขยายและแก้ไขนี้จะเสร็จบริบูรณ์ในปี ๒๔๗๙
จะสร้างสถานีใหม่ที่บริเวณสถานีสับเปลี่ยนบางซื่อและตั้งเครื่องประกอบ เช่น หอคอยไฟฉายเป็นต้น งานนี้จะเสร็จในปี ๒๔๗๘
การวางทางคู่ จะทำต่อจากคลองรังสิตถึงบ้านพาชี แต่จะแล้วเสร็จตลอดได้ในปี ๒๔๘๑ ในระยะเวลา ๔ ปี จะเปิดใช้การสำหรับทางคู่ได้เพียงบางปะอิน
(เอาเข้าจริง เสร็จเปิดได้ถึงบ้านภาชีเมื่อ 24 มิถุนายน 2485)
การสร้างทางขอนแก่นถึงหนองคาย เป็นงานดินตลอดไปในปี ๒๔๘๐ คือ
ปีที่ ๔ ข้างหน้าจะเสร็จเพียงการวางรางแต่ ก.ม. ที่ ๕๔๑ ถึง ๕๗๑ การทำสะพาน แต่ ก.ม. ๔๗๔ ถึง ก.ม. ๕๔๑ การโรยหินแต่ก.ม. ๔๙๖ ถึง ก.ม. ๕๔๑ การสร้างสถานีและที่พักพนักงานแต่ ก.ม. ๔๙๖ ถึง ก.ม. ๕๔๑ และจะเปิดเดินรถได้ถึงกุมภวาปีในปี ๒๔๘๑ ถึงอุดรในปี ๒๔๘๒ และถึงหนองคายในปี ๒๔๘๔
(เอาเข้าจริงถึงอุดร 24 มิถุนายน 2484 และ หนองคาย 31 กรกฎาคม 2501) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 12:53 am Post subject: |
|
|
วันนี้อ่านเรื่อง "สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น" ที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิสกุล (พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2533) ท่านได้นิพนธ์ไว้แต่ปี 2486 แต่เพิ่งมาตีพิมพ์เปิดเผยเอาก็เมื่อปี 2546-47 นี้เอง ก็เจอกรณีอุบัติเหตุทางรถไฟที่สำคัญ ในปลายปี 2469 ช่วงเดินทางกลับจากการตามเสด็จ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ไปมณฑล พายัพ ( 6 มกราคม 5 กุมภาพันธ์ 2469)
.... ตอนนั้นรถตกราง ทำให้ต้องเดือดนายนายซากาเรีย นายช่างเอกชาวเดนมาร์กกะบรรดาครฟ. ที่ตามเสด็จ ช่วยกู้โบกี้โดยสารที่ตกราง กว่าจะกลับถึงพระนครได้ก็เวลา ตี 2 พอกลับไปที่วังวรดิศก็ทำให้คนในวังแตกตื่นเหมือนเห็นผี เพราะ คนในวังที่ถนนหลานหลวงได้ข่าวจากเจ้านายที่เป็นพระประยูรญาตในสมเด็จฯรำไพพรรณีที่ตามเสด็จมาด้วยกันว่า รถขบวนของกระหลวงดำรง กับ หม่อมพูนพิศมัย ตกราง ในเขตภูเขา ผู้โดยสาร ตาย หมดขบวนรถเลยทีเดียว
Last edited by Wisarut on 11/03/2021 10:19 am; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 1:15 am Post subject: |
|
|
วันนี้คุณ Ron ได้สแกนตารางรถไฟหายามาให้น่อ จากนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยว Bangkok Bulletin, No. 657, December 12, 1966 (12 ธันวาคม 2509)
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 1:37 am Post subject: |
|
|
รถไฟไทยปี 1953 - สะพานพระราม 6 ยังซ่อมไม่เสร็จ
ด่วนนครพิงค์ (Northern Express) กรุงเทพ <-> เชียงใหม่
ออกจากกรุงเทพ ทุกวันเว้นวันศุกร์ เวลา 18:05
ถึงกรุงเทพ ทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา 08:00
ด่วนทักษิณ (Southern Express) ธนบุรี <-> หาดใหญ่
ออกจากบางกอกน้อย (ธนบุรี) วันพุธ และ อาทิตย์ เวลา 12:00
ถึงบางกอกน้อย (ธนบุรี) วันพุธและเสาร์ เวลา 12:35
ด่วนอีสาน (Northeastern Express) กรุงเทพ - โคราช - อุบล
ออกจากกรุงเทพ วันอังคาร วันศุกร์ เวลา 11:30
ถึงกรุงเทพ วันพุธ วันเสาร์ เวลา 13:20
ด่วนอุดร (Udorn Express) กรุงเทพ - อุดร
ออกจากกรุงเทพ วันอังคาร วันพฤหัสเวลา 11:30
ถึงกรุงเทพ วันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ เวลา 13:20
สายตะวันออก (Eastern Line) กรุงเทพ - อรัญประเทศ
ออกจากกรุงเทพ ทุกวันเวลา 7:25
ถึงกรุงเทพ ทุกวัน เวลา 17:25
กรุงเทพ - หัวหิน - ปรานบุรี - กรุงเทพ กรุงเทพ - อรัญประเทศ
ออกจากกรุงเทพ ทุกวันเวลา 8:20
ถึงกรุงเทพ ทุกวัน เวลา 10:39 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 9:20 am Post subject: |
|
|
เอกสารรถไฟไทย จาก Railway Magazine ปีที่ 116 เล่มที่ 831 กรกฎาคม 1970
หน้าแรก
หน้าที่ 2
หน้าที่ 3
หน้าที่ 4
หน้าที่ 5
หน้าที่ 6
หน้าที่ 7
|
|
Back to top |
|
|
|