View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
khainooi
Warning 1
Joined: 03/07/2006 Posts: 154
|
Posted: 30/08/2006 6:37 pm Post subject: การพ่วงพหุ |
|
|
อยากทราบว่า การพ่วงพหุมีความหมายว่าอย่างไร แล้วทำให้หัวรถจักรมีกำลังมากขึ้นจริงหรือเปล่า
ผมเคยนั่งรถด่วนพิเศษจาก ชท.หาดใหญ่ไปกรุงเทพ แล้วรถไปจอดรอที่สถานีร่อนพิบูลย์ และมีหัวรถจักรจอดรออยู่อีกราง และหัวรถจักรดังกล่าวก็ถอยมาต่อกับหัวรถจักรที่ทำขบวนอยู่ แล้วจากนั้นจึงเร่งเครื่องออกไปควันโขมงขึ้นเขาไปยังชท.ทุ่งสงแล้วจึงถอดหัวออก แบบนี้ใช่ไหมครับที่เรียกว่าการพ่วงพหุ |
|
Back to top |
|
|
pitch
2nd Class Pass
Joined: 14/07/2006 Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ
|
Posted: 30/08/2006 7:04 pm Post subject: |
|
|
การพ่วงพหุ คือ ทำขบวนของรถจักรตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป โดยรถจักรทั้งสองคันนั้น ต้องต่อท่อลมเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการสั่งการไม่ว่าจะเป็นการเร่งเครื่องหรือลงห้ามล้อ ....แต่ถ้ารถจักรพ่วงกันโดยไม่ต่อท่อลมจะเรียกว่า รถจักรช่วยทำการ |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 30/08/2006 9:28 pm Post subject: |
|
|
ขออนุญาตนำเอาคำตอบ ที่ท่านต๊อบ เคยตอบเอาไว้ในเว็บเก่า มาเผยแพร่นะครับ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เนื่องจากอธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดเลยทีเดียว คือ
อันว่าการพ่วงพหุ มีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่....
1. Dubble Heading (แบบไม่สมบูรณ์, แบบช่วยทำการ)
เป็นการใช้รถจักร 2 คันขึ้นไป ทำขบวน โดยไม่มีการต่อสายจั๊ปเปอร์ไฟฟ้าบังคับการ ระหว่างรถจักร โดยจะมีการต่อแต่ท่อ BP (ห้ามล้อลมอัด) หรือท่อ VBP (ห้ามล้อสูญญากาศ) ระหว่างรถจักรและรถพ่วงในริ้วขบวน การต่อพ่วงลักษณะนี้ต้องใช้พนักงานรถจักร 2 ชุด สำหรับบังคับรถจักรทั้ง 2 คัน เพราะว่ารถจักรคันตามไม่ได้ต่อสายจั๊มเปอร์ บังคับการไฟฟ้าไว้ การบังคับการรถจักรทั้ง 2 คัน พนักงานจะสั่งการระหว่างกันด้วยวิทยุ หรือสัญญาณหวีด และการห้ามล้อ ขบวนรถใช้รถจักรคันนำบังคับการ ปัจจุบันนี้มีการใช้การทำพหุในลักษณะนี้ในขบวน 1 (นครพิงค์) , 51 ระหว่างแม่ตานน้อย-ขุนตาน และ 172 ระหว่างร่อนพิบูลย์-ช่องเขา หรือกับขบวนรถสินค้าที่วิ่งขึ้นทางลาดชันในช่วงทางเขา เช่น มาบกะเบา - ปากช่อง , ร่อนพิบูลย์ - ช่องเขา
2. Multiple Unit (แบบสมบูรณ์)
เป็นการใช้รถจักร 2 คันขึ้นไปเช่นกัน ในการทำขบวน โดยมีการต่อสายจั๊มเปอร์ บังคับการไฟฟ้าในรถจักรทั้ง 2 คัน, ท่อ MR (เฉลี่ยลมเอ็มอาร์ ระหว่างรถจักรทั้ง 2 คัน), ท่อ BP หรือ VBP แล้วแต่ชนิดของห้ามล้อที่ใช้ในขบวนนั้น ระหว่างรถจักรและรถพ่วงในริ้วขบวน (สำหรับรถจักรแต่ละรุ่น จะต้องต่อท่ออื่นๆอีก ซึ่งมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน เช่น รถจักรยีอีเอ จะมีท่อสำหรับเฉลี่ยลมห้ามล้อรถจักรเป็นต้น) การต่อพ่วงลักษณะนี้ จะใช้พนักงาน1 ชุดสำหรับรถคันนำ และพนักงานอีกอย่างน้อย 1 คนสำหรับคันตาม (เพราะมีกฎระเบียบให้มี พนักงานรถจักรอย่างน้อย1คนควบคุมรถจักรที่ติดเครื่องอยู่) การต่อพ่วงลักษณะนี้ รถจักรทั้ง 2 คันสามารถบังคับการได้พร้อมกัน ทั้งการกลับอาการ (เดินหน้า-ถอยหลัง) และการบังคับการเร่งรอบ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้มีการใช้การต่อพหุลักษณะนี้แล้ว เพราะว่ารางหลีกในย่านสถานีมีความยาวไม่พอสำหรับรถในริ้วขบวน ที่มีความยาวขนาดนี้
เท่าที่จำได้ ครั้งสุดท้าย ที่มีการพ่วงพหุแบบสมบูรณ์ (Multiple Unit) หรือสั่งการจากรถจักรคัน หน้าเพียงคันเดียว ก็คือ การทดลองลากขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์ จำนวน 64 คัน จาก ไอซีดี ลาดกระบัง ไปยังแหลมฉบัง โดยในครั้งนั้น ใช้รถจักร GEA จำนวน 2 คันทำการ
ขอขอบคุณท่านต๊อบ สำหรับคำตอบด้วยครับ |
|
Back to top |
|
|
Tob96
3rd Class Pass (Air)
Joined: 04/04/2006 Posts: 472
Location: ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา , ถนนเชื้อเพลิง ช่องนนทรี กทม.
|
Posted: 31/08/2006 1:23 pm Post subject: |
|
|
เพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยน่ะครับ
การต่อพหุแบบ Dubble Heading จะมีการใช้การลักษณะนี้ตามความจำเป็น เป็นคราวๆ ไป อาทิ ขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ ไทย - มาเลเซีย ช่วงระหว่างร่อนพิบูลย์ - ช่องเขา เป็นต้น ซึ่งเป็นขบวนรถสินค้าหนักช่วงทางภูเขาน่ะครับ 8)
ว่าแต่ว่า พี่บอมบ์ เรียกผมว่าท่านเลย แหะๆ อายจังครับ .... |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 31/08/2006 2:00 pm Post subject: |
|
|
Tob96 wrote: | ว่าแต่ว่า พี่บอมบ์ เรียกผมว่าท่านเลย แหะๆ อายจังครับ .... |
เขาเอาไว้เรียกกันในเว็บน่ะ ที่เว็บ Bit ที่ผมเล่นอยู่ประจำ เขาก็เรียกกัน ผมว่ามันดูฮาดีออกนะ
ฮ่าๆๆๆๆ
|
|
Back to top |
|
|
conrail
1st Class Pass (Air)
Joined: 28/03/2006 Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok
|
Posted: 31/08/2006 2:18 pm Post subject: |
|
|
รถจักรยีอีเอสองหัวที่ทดลองลากขบวนรถคอนเทนเนอร์64 บทต.จากI.C.D.ลาดกระบังไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นการต่อพ่วงพหุแบบสมบูรณ์ ( Mutiple Unit ) ก็จริงครับแต่ยังไม่ใช่ครั้งล่าสุด
ครั้งสุดท้ายล่าสุด คือ ขบวนรถครม.สัญจรที่ใช้รถจักรฮิตาชิสองหัวลากไงครับ |
|
Back to top |
|
|
Tob96
3rd Class Pass (Air)
Joined: 04/04/2006 Posts: 472
Location: ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา , ถนนเชื้อเพลิง ช่องนนทรี กทม.
|
Posted: 31/08/2006 4:59 pm Post subject: |
|
|
conrail wrote: | รถจักรยีอีเอสองหัวที่ทดลองลากขบวนรถคอนเทนเนอร์64 บทต.จากI.C.D.ลาดกระบังไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นการต่อพ่วงพหุแบบสมบูรณ์ ( Mutiple Unit ) ก็จริงครับแต่ยังไม่ใช่ครั้งล่าสุด
ครั้งสุดท้ายล่าสุด คือ ขบวนรถครม.สัญจรที่ใช้รถจักรฮิตาชิสองหัวลากไงครับ |
แอ๋ จำไม่ได้อ่า...ใช่คราวที่ไปสัญจรที่เส้นทางอีสานใต้ที่ฟางเคยถ่ายรูปไว้หรือเปล่า....เท่าที่จำได้คราวทดลองรถคอนเทนเนอร์มันหลังจากสัญจรนี่นา..... ..
คุณหนูหนึ่งเคยถ่ายรูปไว้นี่ครับ ขบวนทดลองรถจักรยีอีเอพหุ ไม่ทราบว่ายังเก็บรูปไว้หรือเปล่า รบกวนให้สมาชิกได้ชมอีกสักครั้งจะได้ไหมครับ (ขอวันที่ทดลองด้วยครับ ผมลืม..แหะๆ..) |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 31/08/2006 5:06 pm Post subject: |
|
|
กรณี Multiple Unit (แบบสมบูรณ์) ในอดีต มีการทดลองกับรถโดยสารในเส้นทางสายใต้
ช่วงเวลาประมาณ ปี 2528-2533โดยรถจักรเฮนเชล
จาก บางซื่อ - หาดใหญ่ - บางซื่อโดยขบวน รถเร็วกรุงเทพ สุไหงโกลก (ข.45/46*)
กับ บางซื่อ - ชุมทางทุ่งสง-บางซื่อ โดยรถเร็วกรุงเทพ นครศรีธรรมราช (ข47/48*)
จำได้ว่าเคยเห็น ภาพรถจักรจากวารสารรถไฟสัมพันธ์ ขณะทำขบวน 45/46*
โดยคุณ outrun เคยนำมาลง ครับ
* หมายเลขขบวนรถ เป็นเลขขบวน ในช่วงเวลา พ.ศ.2528-2533 |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 31/08/2006 5:59 pm Post subject: |
|
|
ผมเคยเห็น เฮนเช่ล ทำพหุ ( อาจไม่สมบูรณ์ เพราะทั้งสองคัน มี พขร.กับ ชค.ประจำอยู่ด้วย ) ข.เร็ว 37 / 38 กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ ระยะหนึ่ง ลองนับดูโบกี้จากสถานีนครลำปาง ราว 16 โบกี้
ก่อนที่หัวรถจักร อัลสตอม ที่สั่งมาใช้งานใหม่เอี่ยมจากประเทศฝรั่งเศส มารับหน้าที่ไป
แล้วเจอเมื่อไม่กี่ปีนี้ กับ ข.35 หรือ ด.ปรับศักย์ 51 ( ปัจจุบัน ) ที่ใช้อัลสตอม ทำพหุจริงๆ ทำขบวนที่ยาวเป็นพิเศษช่วงเทศกาลปีใหม่ ร่วม 22 โบกี้ แต่ใช้เวลาจอดให้ผู้โดยสารขึ้นลงตามสถานีรายทางค่อนข้างนาน จึงเปลี่ยนแปลงเป็นขบวนรถเร็ว , ด่วนพิเศษ เฉพาะกาล เดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน
พร้อมๆ กับ บขส. เริ่มจัดกองทัพรถประจำทางเสริมพิเศษส่งผู้โดยสารกลับบ้านที่เราเห็นกันทุกวันนี้ครับ |
|
Back to top |
|
|
OutRun
1st Class Pass (Air)
Joined: 26/05/2006 Posts: 1187
|
Posted: 01/09/2006 3:08 am Post subject: |
|
|
nathapong wrote: | กรณี Multiple Unit (แบบสมบูรณ์) ในอดีต มีการทดลองกับรถโดยสารในเส้นทางสายใต้
ช่วงเวลาประมาณ ปี 2528-2533โดยรถจักรเฮนเชล
จาก บางซื่อ - หาดใหญ่ - บางซื่อโดยขบวน รถเร็วกรุงเทพ สุไหงโกลก (ข.45/46*)
กับ บางซื่อ - ชุมทางทุ่งสง-บางซื่อ โดยรถเร็วกรุงเทพ นครศรีธรรมราช (ข47/48*)
จำได้ว่าเคยเห็น ภาพรถจักรจากวารสารรถไฟสัมพันธ์ ขณะทำขบวน 45/46*
โดยคุณ outrun เคยนำมาลง ครับ
* หมายเลขขบวนรถ เป็นเลขขบวน ในช่วงเวลา พ.ศ.2528-2533 |
จำแม่นจังนะป๋า ครับ ภาพจากแผ่นพับตารางเดินรถสายใต้ ฉบับภาษาอังกฤษ ปี 2535 ครับ ว่าแต่คุณ alderwood ดูหน่อยซิ มีอะไรพ่วงมาด้วยหว่า หวังว่าคงถูกใจ
_________________ นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ |
|
Back to top |
|
|
|