RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311899
ทั่วไป:13571573
ทั้งหมด:13883472
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนาม : สถานีรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนาม : สถานีรถไฟไทย
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 10:35 am    Post subject: เรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนาม : สถานีรถไฟไทย Reply with quote

ผมได้ขออนุญาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดจิต(เศวตจินดา)สนั่นไหว ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพและวิชาการทางสถาปัตยกรรม นำบทความใน Blog ที่ ผศ.สุดจิต ได้เขียนร่วมกับคุณปริญญา ชูแก้ว ชื่อเรื่องว่า "เรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนาม : สถานีรถไฟไทย" ผมเห็นว่าน่าจะเป็นสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์และเป็นความภาคภูมิใจในเรื่องราวของรถไฟไทยให้กับพวกเราชาวรถไฟไทยและสังคมจะได้รับครับ
-----------------------------------------------------

เรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนาม : สถานีรถไฟไทย
โพสต์20 ก.พ. 2554, 9:56โดยSudjit Sananwai [ อัปเดต 20 ก.พ. 2554, 10:53 ]
ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว และ ปริญญา ชูแก้ว

ระหว่างวันที่ 6-21 เมษายน 2553 ที่ผ่านมาสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดโครงการสำรวจรังวัดมรดกสถาปัตยกรรม (ASA VERNADOC 2010) สถานีรถไฟในแขวงลำปาง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่เทคนิคการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม ผ่านกระบวนการเขียนแบบที่เรียกว่า VERNADOC (Vernacular Documentation) อันเป็นเทคนิคพื้นฐาน ที่ทำได้ง่ายแต่ได้คุณภาพของผลงานสูง เพื่อร่วมอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เป็นที่ตระหนักถึงคุณค่า และหาทางช่วยกันดูแลในฐานะที่เป็นอาคารสาธารณะ และเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางเข้าสู่ชุมชน

โครงการนี้มีนักศึกษา อาจารย์ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 12 สถาบันที่สอนวิชาสถาปัตยกรรม จำนวนประมาณ 30 คน เข้าร่วมในนามสมาคมสถาปนิกสยามฯ ส่วนอีก 40 คนเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยรังสิต โดยผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ และวิทยากรร่วมในการอบรมตลอดทั้ง 2 สัปดาห์ โดยได้เลือกทำการสำรวจสถานีรถไฟที่มีรูปแบบ และสถานะแตกต่างกัน 3 แห่ง ได้แก่สถานีรถไฟชั้น 1 นครลำปาง สถานีรถไฟชั้น 2 แม่ทะ และสถานีรถไฟชั้น 3 บ้านปิน ในการปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และศูนย์เรียนรู้ปัทมะเสวี ตลอดจนชาวชุมชนที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยผลงานที่แล้วเสร็จได้ถูกนำจัดแสดงในบูทอนุรักษ์ ของงานสถาปนิก 53 ซึ่งได้ผลการตอบรับในทางที่ดีมากตามเป้าหมายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทอดพระเนตรผลงานอย่างใกล้ชิด ในวันเสด็จเปิดงานสถาปนิก 53 และได้ตรัสถามถึงการดำเนินงานขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้แล้วด้วยความสนพระทัย

Click on the image for full size

ทำไมต้องเป็นอาคารสถานีรถไฟ

อาคารสถานีรถไฟมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่กรมรถไฟเปิดการเดินรถเป็นครั้งแรกของประเทศจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดอยุธยา ในปี พ.ศ. 2439 ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเนื่องจากได้รับการออกแบบที่สอดคล้องกับการใช้สอยสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย รวมทั้งความงามในลักษณะพื้นถิ่นอีกด้วย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาคารสถานีรถไฟหลายแห่งได้รับการบูรณะซ่อมแซมและขยายต่อเติมเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีอาคารสถานีรถไฟอีกหลายแห่งโดยเฉพาะที่สร้างด้วยไม้ที่พบว่ายังไม่มีการดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูใดๆ และอาจต้องมีการรื้อถอนอาคารลงเหมือนเช่นอาคารสถานีรถไฟหลายแห่งที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการรถไฟยกระดับโฮปเวลล์ รวมทั้งโครงการรถไฟรางคู่จากสถานีรถไฟหัวหมากถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา และล่าสุดคือสถานีรถไฟเจ็ดเสมียนที่ถูกรื้อลงเนื่องจากได้งบประมาณสร้างอาคารใหม่จากโครงการไทยเข้มแข็ง


Last edited by BanPong1 on 22/02/2011 10:48 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 10:41 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เพราะมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของอาคารสถานีรถไฟเริ่มต้นขึ้นพร้อมๆ กับการก่อสร้างทางรถไฟและการพัฒนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทยตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี ที่ผ่านมา โดยในปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระราชสาสน์และเครื่องบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยมีรถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำและรถพ่วงครบขบวนที่วิ่งบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถไฟที่ใช้กันอยู่ในเกาะอังกฤษ รวมมากับของถวายอย่างอื่นด้วย ซึ่งทำให้เกิดความสนใจในราชสำนักและผู้ที่พบเห็นในขณะนั้นมาก แต่ในรัชสมัยของพระองค์ก็มิได้มีการก่อสร้างทางรถไฟแต่อย่างใด

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยได้รับแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งในขณะนั้นกำลังแพร่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชีย ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ พม่าและมาเลเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ส่วนลาวและกัมพูชาเป็นประเทศในอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐกันชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนโยบายของประเทศในขณะนั้นจึงเป็นไปเพื่อการป้องกันประเทศเป็นหลัก และการก่อสร้างทางรถไฟก็เป็นทางเลือกหนึ่งเนื่องจากสามารถลำเลียงทหาร อาวุธและอาหาร ระหว่าง กรุงเทพมหานครและจังหวัดตามแนวชายแดนได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการคมนาคมทางอื่น โดยเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2429 เมื่อรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์คในการสร้างทางรถไฟ และดำเนินกิจการเดินรถในรูปแบบของบริษัทเอกชนขึ้น ระหว่างกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้ได้ยกเลิกการใช้งานแล้ว

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งกรมรถไฟขึ้น โดยสังกัดอยู่กับกระทรวงโยธาธิการ และเปิดประมูลการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมา โดยบริษัทชาวอังกฤษเป็นผู้ชนะการประมูลและเริ่มดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟ รวมทั้งสถานีรถไฟ โรงงานซ่อมบำรุง และในอีก 40 ปีต่อมา การก่อสร้างทางรถไฟก็แล้วเสร็จทั่วประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2439 เปิดการเดินรถจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดอยุธยา เส้นทางสายใต้ถึงอำเภอสุไหง–โกลก ในปี พ.ศ. 2464 เปิดการเดินรถเส้นทางสายเหนือถึงจังหวัดเชียงใหม่ และเส้นทางสายตะวันออกถึงอำเภออรัญประเทศ ในปี พ.ศ. 2469 และเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือถึงจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2473

นอกจากการก่อสร้างทางรถไฟแล้ว ยังมีการก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟ โรงงานซ่อมบำรุง และที่พักอาศัยให้กับวิศวกร คนขับรถไฟ คนงานซ่อมบำรุงทางและครอบครัวได้อยู่อาศัย โดยมิได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์แต่อย่างใด โดยในระยะแรกกรมรถไฟได้จัดสร้างที่พักอาศัยขึ้นในบริเวณสถานีรถไฟขนาดใหญ่หรือชุมทางรถไฟก่อน เช่น ย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ บางซื่อ จิตรลดา และมักกะสัน เป็นต้น โดยผังบริเวณของนิคมบ้านพักอาศัยเหล่านี้ได้รับการออกแบบและจัดสร้างที่มีระบบและแบบแผนที่ชัดเจน หลังจากนั้นมีการก่อสร้างที่พักอาศัยในย่านสถานีรถไฟขนาดเล็กเพิ่มเติม เช่น ที่ตลิ่งชัน บางเขน สามเสน และคลองตัน เป็นต้น

สำหรับอาคารสถานีรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมีทั้งอาคารที่สร้างด้วยไม้และอาคารก่ออิฐฉาบปูน โดยมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลแบบผสมของยุโรป เนื่องจากผู้ออกแบบเป็นชาวต่างประเทศ เช่น อาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ อาคารสถานีรถไฟนครลำปาง อาคารสถานีรถไฟกันตัง และอาคารสถานีรถไฟสงขลา เป็นต้น โดยอาคารสถานีรถไฟทั้ง 4 แห่งนี้สามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้ได้เป็นอย่างดี

กิจการการรถไฟดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ย่านสถานีรถไฟกลายเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน กระตุ้นให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจขยายตัวทั้งชนิดและปริมาณ มีการก่อสร้างบ้านพักอาศัย เรือนแถวไม้ ตึกแถว และตลาดขึ้นในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่างปี พ.ศ. 2484 – 2488 ซึ่งการโจมตีทิ้งระเบิดและการกราดยิงด้วยปืนกลอากาศของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้เกิดความเสียหายต่อทางรถไฟ สะพาน สถานีและย่านสถานีสำคัญ โรงงาน โรงรถจักร ที่ทำการรับส่งสินค้า ถังน้ำรถจักร อาคารบ้านพัก เครื่องสื่อสารและอาณัติสัญญาณ ตลอดจนรถจักรและล้อเลื่อน นานาชนิด

ภายหลังสงคราม ได้มีการสร้างสถานีใหม่ ณ บริเวณสถานีเก่าซึ่งบางสถานีถูกทำลาย หรือได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ และบางสถานีเล็กคับแคบ ไม่สะดวกแก่การเข้าออกและการติดต่อของพ่อค้า ประชาชน และผู้โดยสาร สถานีรถไฟที่สร้างขึ้นมาใหม่ คือ สถานีรถไฟดอนเมือง ชุมทางบ้านภาชี หนองโดน บ้านกลับ บ้านหมี่ ช่องแค บ้านตาคลี หนองโพ นครสวรรค์ ปากน้ำโพ ตะพานหิน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ศิลาอาสน์ เด่นชัย เชียงใหม่ ชุมทางแก่งคอย ปากช่อง นครราชสีมา ชุมทางถนนจิระ บุรีรัมย์ ธนบุรี โพธาราม ชุมทางหนองปลาดุก ชุมพร สุราษฎร์ธานี นาสาร ชุมทางทุ่งสง ชุมทางหาดใหญ่ ยะลา ปาดังเบซาร์ และสุไหงโก-ลก เป็นต้น สำหรับสถานีปาดังเบซาร์ และสุไหงโก-ลก เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างฝ่ายละครึ่งกับการรถไฟมาเลเซียตามข้อผูกพันแห่งสัญญาเดินรถร่วมระหว่างการรถไฟไทยกับการรถไฟมาเลเซีย โดยอาคารสถานีรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกไทย เช่น หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ และนายไชยวัฒน์ อัตชู เป็นต้น

Click on the image for full size
ย่านสถานีรถไฟชุมพรเมื่อ พ.ศ. 2457(ภาพจาก www.rotfaithai.com)

Click on the image for full size
อาคารสถานีรถไฟชุมพรในปัจจุบัน(ภาพจากพิสิฐ หวังวิศาล)

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงผิวจราจรของทางหลวงและถนนเดิมให้แข็งแรงและเรียบขึ้น ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างชุมชนโดยทางรถยนต์ได้รับความนิยมมากขึ้นด้วย เพราะความสะดวกและรวดเร็วที่มีมากกว่าการเดินทางโดยรถไฟ นอกจากนี้ยังมีการสร้างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่อยู่ใกล้กับทางหลวง ส่งผลให้ย่านสถานีรถไฟหลายแห่งค่อยๆ ซบเซาลง เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมทางกายภาพ รวมทั้งการเสื่อมสลายทางระเบียบประเพณีวิถีชีวิต ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ย่านสถานีรถไฟวังกรด และย่านสถานีรถไฟท่าฬ่อ ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 10:56 am    Post subject: Reply with quote

พื้นที่ทำงาน : อาคารสถานีรถไฟนครลำปาง บ้านปิน และแม่ทะ

อาคารสถานีรถไฟนครลำปาง


เป็นสถานีชั้น 1 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสำหรับชั้นล่าง ส่วนชั้นบนเป็นไม้ อาคารมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยแกนของอาคารวางอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ อาคารหลักตรงกลางสูง 2 ชั้น เชื่อมด้วยปีกชั้นเดียวที่มีขนาดยาวไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างของอาคารหลักเป็นห้องขายตั๋วและโถงต้อนรับซึ่งมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงตั้งอยู่ ส่วนชั้นบนเป็นห้องทำงาน ห้องเก็บเอกสารและห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยมีระเบียงทางเดินล้อมรอบ 3 ด้าน ยกเว้นด้านที่ติดกับห้องน้ำ ปีกด้านตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ทำการนายสถานีและห้องเก็บพัสดุ ส่วนปีกด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นห้องประชุม ห้องน้ำ และห้องเก็บของ สำหรับหลังคาของอาคารหลักส่วนที่เป็น 2 ชั้น ผสมผสานระหว่างทรงจั่วและปั้นหยา ส่วนหลังคาของปีกทั้ง 2 ด้านเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องหลังคา CPAC Monier ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ บางช่องอาจถูกปรับเปลี่ยนเป็นลูกฟักกระจกบ้างตามการใช้สอยปัจจุบัน เหนือบานประตู หน้าต่าง และราวระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลาย อาคารสถานีรถไฟนครลำปางมีการบูรณะซ่อมแซมและขยายต่อเติมหลายครั้ง เช่น ส่วนพักคอยด้านติดรางรถไฟ ซุ้มด้านหน้าที่จอดรถซึ่งปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนแล้ว เป็นต้น สภาพของอาคารโดยทั่วไปอยู่ในสภาพดี

Click on the image for full size
อาคารสถานีรถไฟนครลำปาง
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 10:57 am    Post subject: Reply with quote

อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน

เป็นสถานีชั้น 3 ตั้งอยู่ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปาง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารที่มีการผสมผสานระหว่างไม้และการก่ออิฐถือปูนเช่นเดียวกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปาง อาคารมีผังพื้นเป็นรูปตัว T โดยแกนของอาคารวางอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างเป็นที่ทำการของสถานี และห้องประแจ โดยมีโถงพักคอยชั้นเดียวแยกตัวออกจากอาคารด้านช่องจำหน่ายตั๋ว ด้านหลังของอาคารมีห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ และมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงตั้งอยู่ ส่วนชั้นบนมีห้องน้ำ ห้องพักของนายสถานีและห้องนั่งเล่นด้านหน้าซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ห้องนี้ไม่ได้มีการใช้งานแล้ว สำหรับหลังคาของอาคารส่วนที่เป็น 2 ชั้น เป็นหลังคาจั่ว ส่วนหลังคาของโถงพักคอยเป็นหลังคาปั้นหยา ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตู หน้าต่าง และหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลาย สภาพของอาคารโดยทั่วไปอยู่ในสภาพดี

Click on the image for full size
อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 10:59 am    Post subject: Reply with quote

อาคารสถานีรถไฟแม่ทะ

เป็นสถานีชั้น 2 ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปางและบ้านปิน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารไม้ชั้นครึ่งตั้งอยู่บนตอม่อคอนกรีต และมีบางส่วนตั้งอยู่บนผนังก่ออิฐฉาบปูน อาคารมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยแกนของอาคารวางอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้เหมือนอาคารสถานีรถไฟบ้านปิน พื้นที่ใช้สอยประกอบด้วยที่ทำการนายสถานี ซึ่งมีมุขเครื่องอาณัติสัญญาณอยู่ด้านหน้า โดยมุขเครื่องอาณัติสัญญาณนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก นิจ หิรัญชีระนันท์ ในปี พ.ศ. 2495 ส่วนท้ายของห้องที่ทำการนายสถานีมีบันไดคอนกรีตจำนวน 5 ขั้น สำหรับเดินขึ้นห้องนอนของนายสถานี ด้านหลังของห้องนอนของนายสถานีมีระเบียงไม้ ส่วนโถงพักคอยอยู่ด้านข้างของที่ทำการนายสถานีและด้านหน้าของห้องนอนของนายสถานี นอกจากนี้ยังมีเรือนนอนอีกหลังหนึ่งซึ่งเป็นส่วนต่อเติมขึ้นภายหลัง เรือนนอนนี้ตั้งอยู่ด้านหลังระเบียงไม้ของห้องนอนนายสถานี โดยระดับพื้นของเรือนนอนต่ำกว่าระดับพื้นของระเบียงไม้ 2 เมตร ปัจจุบันเรือนนอนนี้ไม่ได้มีการใช้งานแล้ว สำหรับอาคารสถานีรถไฟแม่ทะนี้ไม่มีห้องน้ำภายในตัวเหมือนกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปาง และบ้านปิน หลังคาอาคารสถานีเป็นหลังคาจั่ว มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ส่วนเรือนนอนเป็นหลังคาจั่ว มุงด้วยสังกะสี ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตู หน้าต่าง ยอดจั่ว เชิงชาย ค้ำยัน และหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลาย สภาพของอาคารโดยทั่วไปอยู่ในสภาพปานกลาง ยกเว้นเรือนนอนที่มีสภาพทรุดโทรม

Click on the image for full size
อาคารสถานีรถไฟแม่ทะ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 11:00 am    Post subject: Reply with quote

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาและทำงานภาคสนาม

อาคารสถานีรถไฟถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น บ้านพักอาศัยที่สร้างด้วยไม้ สะพานเหล็ก อาคารโรงงาน หอควบคุมอาณัติสัญญาณ และถังสูงเก็บน้ำ เป็นต้น ที่ควรได้รับการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ย่านสถานีรถไฟดั้งเดิมที่มีปัญหาการเสื่อมโทรมทั้งทางกายภาพ และสภาพสังคมเศรษฐกิจ ควรได้รับการฟื้นฟู โดยแนวทางการฟื้นฟูย่านสถานีรถไฟที่มีความเป็นไปได้ คือ การผนวกการอนุรักษ์เข้าไว้ในแผนพัฒนาเมือง นั่นหมายความว่า แนวทางการพัฒนาพื้นที่จะต้องมีการผนวกการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมเข้าไว้ในแผนพัฒนาด้วย มีการออกกฎระเบียบควบคุมการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างเหมาะสม มีมาตรการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งต้องมีการดำเนินงานที่เน้นการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน

โดยโครงการ ASA VERNADOC 2010 ครั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานการสำรวจรังวัด และเขียนแบบด้วยความมานะจากกำลังของนักศึกษาและคณาจารย์ในครั้งนี้ จะส่งสัญญาณที่ดีไปสู่การรถไฟฯ และภาคประชาสังคมให้ลุกขึ้นมาร่วมกันดูและและอนุรักษ์รักษามรดกแห่งความทรงจำของการเดินทางที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดของไทยเหล่านี้ อย่างคงคุณค่า ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 22/02/2011 11:51 am    Post subject: Reply with quote

ขอบพระคุณ อ.วิรัตน์ เป็นอย่างยิ่งสำหรับข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาโพสต์ให้ชมครับ ได้ความรู้เกี่ยวกับสถานีสำคัญต่างๆ และได้เห็นแนวทางการทำงานที่ทำให้น่าชื่นใจได้ว่า สถานีรถไฟสวยๆ อีกหลายๆ แห่ง จะได้รับการดูแลและบำรุงรักษา ให้อยู่เป็นมรดกของลูกหลานตราบนานเท่านานครับ

Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

ต้องขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดจิต(เศวตจินดา)สนั่นไหว กับทีมงาน Vernadoc และสมาคมสถาปนิกสยามฯ มา ณ โอกาสนี้ครับ

มีงาน Drawing ที่เกี่ยวข้องใน Blog นี้อีกหลายชิ้นนะครับ
Click on the image for full size

สมาชิกสามารถเข้าไปดูได้ตาม Link นี้ครับ

VERNADOC around the world
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46846
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2011 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

เห็นแล้วดีใจครับที่เด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่จะเป็นสถาปนิกในอนาคต ให้ความสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แม้อาจจะไม่ใช่กลุ่มใหญ่มากนัก
ดูแล้วก็มีความหวังครับว่า อาคารสถานีรุ่นต่อไปจะไม่ได้เน้นแต่ประโยชน์ใช้สอยเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงความเป็น"พื้นถิ่น"ด้วย

ผมเห็นอาคารสมัยใหม่ เน้นหลังคาโค้ง ๆ แบบเดียวกับสถานีหัวลำโพง แรก ๆ เห็นก็ดูสวยดี แต่พอเจอบ่อย ๆ ผมว่ามันทำให้เบื่อได้ง่ายน่ะครับ ยังสงสัยอยู่ว่าถ้าให้เด็ก ๆ อนุบาล ประถมยุคนี้ วาดบ้าน 1 หลัง จะยังวาดบ้านหลังคาหน้าจั่ว ใต้ถุนสูงแบบสมัยผมอีกหรือเปล่า หรือวาดหลังคาโค้ง ๆ กันแล้ว

ดีใจที่ยังไม่มีสถานีรถไฟสร้างใหม่ ออกแบบโดยมีเสาโรมันนะครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/02/2011 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องสถาปนิกรุ่นใหม่ ผมก็ยังรู้สึกลึกๆว่าเรายังมีความหวังกับ "สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น" (Vernacular Architecture) ครับ
ถึงแม้ว่าการศึกษาทางสถาปัตย์ตั้งแต่อดีตมา เราใช้วิธีการเรียนรู้ในรูปแบบของทางตะวันตกเป็นหลัก
แค่ในสถาบันที่สอนทางด้านสถาปัตย์ ก็ยังจะให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอยู่ครับ มี Field Trip เื่พื่อศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจ รวมถึงมี Design Project ให้ได้ทดลองฝึกปฏิบัติครับ

แต่บางครั้งเรื่องรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เราเห็นปรากฎในปัจจุบัน มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องครับอาจารย์เอก
เช่น เรื่องระบบการผลิต ผลิตภัณฑ์ ราคาวัสดุ เทคโนโลยี ฯลฯ หลายครั้งก็มีเรื่องรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของโครงการเข้ามามีบทบาท
ก็ได้แต่ฝากความหวังกับคนรุ่นใหม่ให้คำนึงถึงบริบทของท้องถิ่น และวัฒนาธรรมด้วย
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©