View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 30/03/2012 8:46 am Post subject: ม.เกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ปี 2555 |
|
|
มก.ชู วิศวะฯ ระบบรางที่แรกในไทย
ไทยรัฐออนไลน์ 30 มีนาคม 2555, 05:15 น.
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการระบบขนส่งระบบรางมากขึ้น ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงและจากการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของการขนส่งระบบรางในไทยนั้นทำให้คาดว่าในอนาคตไทยอาจจะมีโรงงานประกอบยานยนต์ดังกล่าวขึ้น อีกทั้งการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังส่งผลในด้านการของประเทศและความต้องการตลาดแรงงานในภาคการขนส่งระบบราง ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ รวมทั้งวิศวกรรมด้านต่างๆ มก.ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความพร้อมในการเปิดใหม่ ด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ในปี 55 ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนครั้งแรกในไทย นอกจากนี้ ในอนาคต มก.จะเป็นศูนย์กลางความร่วมมือวิชาการ บริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการขนส่งฯ อย่างยั่งยืนต่อไป.
-----------
ภาพ-ข่าวจาก Facebook ของ ศูนย์ข่าวชุมชน ม.เกษตรศาสตร์
kucityfanpage wrote: | สาขานี้ ใหม่เลยครับ เหมือนอดีตที่เราเคยเปิดสาขาต่อเรือ สำหรับพาณิชย์นาวี และครั้งนี้เปิดเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งจะผุดขึ้นมามากมายในอนาคต ที่ประเทศไทย นะครับ
ลืมไป อย่างสาขาวิศวกรรมการบิน เราก็เปิดเป็นที่แรก เช่นกันครับ
มก.ของเรา ปรับตัวหลักสูตรได้ไวสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศครับ
ทราบมาว่า ทาง มก.จะพยายามเชิญคุณประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟฟ้ามหานคร มาเป็นอาจารย์พิเศษด้วยครับ
ซึ่งในการแถลงข่าว ได้เชิญท่านมาเป็นวิทยากรด้วยครับ
รวมถึงอาจจะเชิญตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้ามาบรรยายในหลักสูตรด้วยเช่นกันครับ เพราะในอนาคตประเทศไทยจะมีระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า รวมถึงการเชื่อมระบบรางกับอาเซียน
ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการวิศวกรฝ่ายซ่อมบำรุง นะครับ
รวมถึงโรงงานประกอบรถไฟแบบต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
โดยหลักสูตรนี้ จะเปิดในปีการศึกษา 2555 นี้เลยครับ
โดยเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วิศวกรรมเครื่องกล) โดยมีวิชาเลือกเฉพาะทางที่เกี่ยวยานยนต์ที่แล่นบนราง
ทราบมาว่าจะต้องมีรายวิชาวิศวกรรมรถไฟ ระดับ ป.ตรี ด้วยครับ เพื่อสร้างวิศวกรมาทำงานด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ทุกรูปแบบ
ในระยะยาว จะต้องมีการสร้างห้องทดสอบและวิจัยด้านการขนส่งระบบรางในประเทศ โดยร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม และสถาบันการศึกษาในต่างประเทศด้วยครับ |
|
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 30/03/2012 10:54 am Post subject: |
|
|
อ่า ....
เป็นโอกาสอันดี ถ้าจะมีการปรับปรุงทาง + ราง แถวๆ เกษตรกำแพงแสน เอาไว้ฝึกงานนะ
(บางเขนคงยาก เพราะขบวนรถวิ่งผ่านหนาแน่นทั้งวัน + พื้นที่ไม่ค่อยมี)
ยินดีกับ มก. ครับ
หมายเหตุ ... อนาคต อาจจะมีขบวนรถดีเซลราง ต้นทางบางเขน - กำแพงแสน นะเออ
(แบบเดียวกับ ธนบุรี - ศาลายา ซึ่งต้นกำเนิดมาจากจะบริการเจ้าหน้าที่, นักศึกษา ของมหาวิทยาลัย และให้บริการกับประชาชนทั่วไป) |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 30/03/2012 11:15 am Post subject: |
|
|
ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ตรงป้ายหยุดรถทุ่งบัว เป็นป่ารกร้างอยู่ครับ เอามาทำย่านสถานีไว้ฝึกงานได้เลย |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 31/03/2012 10:56 am Post subject: |
|
|
ขอแสดงความยินดีกับประเทศไทยเราที่จะมีการพัฒนาด้านนี้อย่างจริงจังในระดับต้นน้ำครับ
ยังมีหลักสูตรเฉพาะทางอีกหลายด้านที่ยังต้องจัดเตรียมเพื่อรองรับการพัฒนาครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/04/2012 3:37 pm Post subject: |
|
|
วิศวฯ ม.เกษตร เปิดสอนหลักสูตรด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบรางแห่งแรกของประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการขนส่งระบบรางในประเทศไทยมีความขาดแคลนบุคลากรในการดำเนินการด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาและวิจัยความต้องการจำนวนบุคลากรเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทยในเวลาเจ็ดปีข้างหน้าโดย สวทช. มีความต้องการบุคลากรใหม่ถึงกว่า 2000 อัตรา โดยยังมิได้มีการศึกษาความต้องการจากระบบขนส่งระบบรางอื่นที่กำลังมีการขยายตัวอย่างมากในขณะนี้ ทั้งรถไฟฟ้าระบบต่างๆ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ซึ่งระบบเหล่านี้มีความต้องการบุคลากรด้านการขนส่งระบบราง อีกทั้งการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจของชาติในอาเซียน ยิ่งจะทำให้การขนส่งระบบราง มีความสำคัญอย่างยิ่ง การขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ย่อมจะสร้างความเสียหายต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชาติในภาคการขนส่งในอนาคตอันใกล้นี้ได้ จึงทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบุคลากร ที่สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของระบบขนส่งระบบรางของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เพิ่มความสามารถในด้านการแข่งขันของประเทศ ด้านการขนส่งระบบรางในอาเซียนได้ต่อไป
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความพร้อมในการดำเนินการโครงการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ให้ประสบความสำเร็จได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบุคลากรด้านการขนส่งระบบราง ในระดับต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคการขนส่งระบบรางของประเทศไทยที่มีความขาดแคลนในขั้นวิกฤต
2. เพื่อสร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการขนส่งระบบราง รวมถึงการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือด้านวิชาการจากทุกส่วนในภาคการขนส่งระบบราง ทั้งจากกระทรวงคมนาคม ผู้ดำเนินกิจการทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ ผู้ผลิตรถไฟและองค์ประกอบของระบบขนส่งระบบราง สมาคมวิชาชีพต่างๆ สถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะที่มีการวิจัยด้านการขนส่งระบบรางในต่างประเทศ และ มีการสร้างบุคลากรด้านการขนส่งระบบราง
แนวทางการดำเนินการ
การพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบรางของประเทศ มีแนวทางการดำเนินการเป็นสามระยะ ซึ่งต้องมีการพัฒนาขึ้นพร้อมกันทั้งหมด แต่เกิดผลตอบสนองในระยะที่แตกต่างกันดังนี้
1.แนวทางการดำเนินการในระยะสั้น 1-2 ปี
1.1จัดระบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ และ เพิ่มศักยภาพของบุคลากรใหม่ ที่จะเข้าทำงานด้านการขนส่งระบบราง โดยมุ่งเน้นที่ประเภทของงานที่มีความขาดแคลน ทั้งในระดับผู้บริหาร ระดับผู้ปฏิบัติการด้านต่างๆ และ วิศวกรด้านต่างๆ ซึ่งทำได้โดยใช้ความร่วมมือทางวิชาการจากทุกส่วนในภาคการขนส่งระบบรางทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดทำหลักสูตร จัดหาวิทยากร สถานที่ฝึกงาน และ การทดสอบบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องมีการกำหนดจำนวนบุคลากรขั้นต่ำที่จะต้องมีการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในระยะสั้นนี้
1.2 ศึกษาวิจัย ความต้องการบุคลากรด้านการขนส่งระบบรางของประเทศไทย ตามแผนการพัฒนาของกระทรวงคมนาคม เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างชัดเจน
2. แนวทางการดำเนินการระยะกลาง 2-5 ปี
2.1 พัฒนารายวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรมรถไฟ ในหลักสูตรวิศวกรรมระดับปริญญาตรีสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อสร้างวิศวกรที่มีความพร้อมในการทำงานด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง ในการปฏิบัติการด้านต่างๆ โดยการดำเนินการจะอาศัยความร่วมมือด้านวิชาการจากทุกส่วนในภาคการขนส่งระบบรางทั้งในและต่างประเทศ
2.2 ร่วมพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ เพื่อผลิตบุคลากรในระดับช่างฝีมือ ที่มีความพร้อมในการรองรับงานด้านต่างๆ และ พัฒนาบุคลากรที่จบการศึกษาจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟเพื่อศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมสาขาต่างๆ โดยการดำเนินการจะอาศัยความร่วมมือด้านวิชาการจากทุกส่วนในภาคการขนส่งระบบราง ทั้งในและต่างประเทศ
3. แนวทางการดำเนินการระยะยาว 5-10 ปี
3.1 พัฒนาและสร้างห้องทดสอบและวิจัยด้านการขนส่งระบบรางในประเทศ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กระทรวงคมนาคม เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการขนส่งระบบรางอย่างยั่งยืน
3.2 สร้างบุคลากรด้านการขนส่งระบบรางทีมีความสามารถด้านวิชาการในขั้นสูง โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อใช้พัฒนาระบบการขนส่งระบบรางอย่างยั่งยืน |
|
Back to top |
|
|
ice1234
3rd Class Pass
Joined: 09/04/2010 Posts: 100
Location: เชียงใหม่ - ย่านศิลาอาสน์ - หลักสี่
|
Posted: 14/04/2012 12:59 pm Post subject: |
|
|
อยากให้มีภาคพิเศษครับ คนที่จบปริญญาไปแล้วใจรักจริงๆ อยากจะเรียนจะได้มีโอกาสแบบเด็กรุ่นใหม่บ้างครับ
Last edited by ice1234 on 23/04/2012 2:01 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
nutsiwat
2nd Class Pass
Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
|
Posted: 17/04/2012 1:31 pm Post subject: |
|
|
ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่มีโครงการนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้ และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญสำหรับบุคลากรและนักศึกษาที่มีความสนใจและต้องการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับระบบราง รวมทั้งบุคลากรของการรถไฟฯ, รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้า BTS ได้มาศึกษาในด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบราง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีขึ้น และมีระบบ ครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/07/2012 7:33 am Post subject: |
|
|
สอนวิศวะระบบราง
ไทยรัฐออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2555, 05:15 น.
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ได้เปิดสอนรายวิชา Rail System Technology by State Railway of Thailand ในภาคต้นปีการศึกษา 2555 แก่นิสิตปี 4 โดยคณาจารย์พิเศษจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือเป็นครั้งแรกและวิชาแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของไทย ปัจจุบันการขนส่งระบบรางในประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรจำนวนมาก จากการวิจัยบุคลากรเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทย 7 ปีข้างหน้า โดย สวทช.มีความ ต้องการบุคลากรใหม่ถึงกว่า 2,000 อัตรา ยังไม่รวมระบบรางอื่นที่กำลังขยายตัว อีกทั้งการรวมตัวทางเศรษฐกิจอาเซียนยิ่งทำให้การขนส่งระบบรางมีความสำคัญยิ่งขึ้น.
------------
ม.เกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง รับการขนส่งระบบรางของไทยและอาเซียน
ที่มา : งานประชาสัมพันธ์ มก., 23 กรกฎาคม 2555
ม.เกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง ครั้งแรกของประเทศไทย และวิชาแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ รองรับการขนส่งระบบรางของไทยและอาเซียน
รองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ใน ภาคต้น ปีการศึกษา 2555 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิศวกรรมระบบราง ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน และในอนาคต จะมีการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้มีความต้องการวิศวกรและบุคลากรด้านระบบรางเป็นจำนวนมาก
จากความสำคัญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนวิศวกรรมระบบราง ครั้งแรกของประเทศไทย และวิชาแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบราง โดยเน้นเทคโนโลยีที่ใช้โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 40 คน ซึ่งได้รับความสนใจและตื่นตัวของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การ เปิดรายวิชาวิศวกรรมระบบราง ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนของแผนการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมระบบราง ซึ่งปัจจุบันการขนส่งระบบรางในประเทศไทยมีความขาดแคลนบุคลากรในการดำเนินการด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งรถไฟฟ้าระบบต่างๆ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง จากการศึกษาและวิจัยความต้องการจำนวนบุคลากร ในเวลาอีก 7 ปีข้างหน้า มีความต้องการบุคลากรใหม่โดยเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทยมากกว่า 2000 อัตรา
สำหรับเนื้อหาวิชาจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ทางรถไฟ รถจักรและล้อเลื่อน และอาณัติสัญญาณ จะมีการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน เพื่อปูพื้นฐานด้านวิศวกรรมระบบราง และ มีการอบรมและศึกษาดูงาน (Field Trip) ด้าน Track Refurbishment และงานด้านอื่นๆ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีแผนการเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่แล่นบนราง เป็น 3 ระยะ คือ แผนระยะสั้น 1-2 ปี จะจัดฝึกอบรม พัฒนาทักษะเพิ่มศักยภาพบุคลากรใหม่ที่จะเข้าทำงานในภาคการขนส่ง แผนระยะกลาง 2-5 ปี พัฒนารายวิชาด้านวิศวกรรมรถไฟในระดับปริญญาตรีสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อสร้างวิศวกรที่มีความพร้อมในการทำงานด้านวิศวกรรมขนส่งระบบราง และแผนระยะยาว 5-10 ปี จะพัฒนาและสร้างห้องทดสอบและวิจัยด้านการขนส่งระบบรางในประเทศ ตลอดจนสร้างบุคลากรด้านการขนส่งระบบรางที่มีความสามารถด้านวิทยาการในขั้นสูงต่อไป |
|
Back to top |
|
|
ice1234
3rd Class Pass
Joined: 09/04/2010 Posts: 100
Location: เชียงใหม่ - ย่านศิลาอาสน์ - หลักสี่
|
Posted: 23/07/2012 4:06 pm Post subject: |
|
|
อยากเรียนมาเลยครับ จะมีภาคพิเศษไหมหน่อ ?? _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/10/2012 12:15 pm Post subject: |
|
|
ม.เกษตร ร่วมมือกับ อัลสตอม บริษัทผู้นำด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบรางระดับโลก พัฒนาศักยภาพบัณฑิตไทย ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าอัจฉริยะ รองรับศูนย์กลางการลงทุนในไทยและภูมิภาคเอเชีย
ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนรายวิชาวิศวกรรมระบบราง (Rail Engineering) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท ALSTOM East Asia Pacific Organization ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบราง ระบบไฟฟ้า ระบบการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งชั้นนำระดับโลกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรและนิสิตร่วมในกันอนาคต ดังนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ALSTOM East Asia Pacific Organization ขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง Mr.Jerome De Grandmaison, Vice President Human Resources, ALSTOM East Asia Pacific Organization และ รศ.ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก Mr.Didier Farez, President, ALSTOM (Thailand) Ltd. ร่วมเป็นสักขีพยาน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตไทย ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ครอบคลุมสาขาไฟฟ้ากำลัง ระบบโครงข่ายไฟฟ้า ระบบการขนส่ง และระบบการพัฒนาเทคโนโลยีโครงการรถไฟฟ้าอัจฉริยะ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะประสบการณ์ของนิสิตนักศึกษาไทยให้พร้อมที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้านระบบรถไฟฟ้าและสามารถทำงานได้จริง รองรับศูนย์กลางการลงทุนของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
โดยทางบริษัท อัลสตอม จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญให้กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้โปรแกรมการฝึกงานร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมสาขาระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบโครงข่ายไฟฟ้า และระบบเทคโนโลยีการขนส่ง ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่นิสิตในรูปของการฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จะคัดเลือกนิสิต/บัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ผู้มีความสามารถร่วมโครงการ Alstom Graduate Programme ซึ่งเป็นโครงการฝึกงานทั่วโลกมีระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะทำให้บัณฑิตได้รับประสบการณ์จริงและเมื่อจบการศึกษาสามารถทำงานได้จริง นอกจากนี้ คณะฯ จะต้องจัดเตรียมบัณฑิตและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา เพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ในด้านระบบไฟฟ้ากำลัง และระบบการขนส่งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียดำเนินการไปด้วยดี ประการสำคัญ ความร่วมมือนี้ยังลงลึกถึงหลักการการสร้างความร่วมมือระหว่างกันผ่านภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในด้านการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) และ ในด้านโรงงานไฟฟ้าครบวงจร ด้วย
ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ให้กับนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วยังเป็นการผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านคมนาคม และ ด้านวิศวกรรมระบบราง ให้กับประเทศไทยอีกด้วย
ที่มา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก., 8 ตุลาคม 2555 |
|
Back to top |
|
|
|