View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/01/2025 8:48 pm Post subject: ข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) |
|
|
สทร.ประกาศผลตัดสิน รถไฟในฝัน เยาวชนไทยโชว์ไอเดียพัฒนารางไทย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 มกราคม 2568 - 16:25 น.
สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. จัดงานประกาศผลการประกวดความคิดสร้างสรรค์ระดับเยาวชนหัวข้อ รถไฟในฝัน พร้อมมอบรางวัลทุนการศึกษามูลค่ารวม 420,000 บาท ดันศักยภาพเด็กไทยร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมรางของประเทศ
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. เปิดเผยว่า สทร.ได้จัดประกวดความคิดสร้างสรรค์ระดับเยาวชน หัวข้อ รถไฟในฝัน ซึ่งเป็นกิจกรรมนำร่องในโครงการ คิดใหญ่ไปให้สุดราง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบรางและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบรางของประเทศซึ่งเป็นพันธกิจหลักของ สทร.
ดร.จุลเทพ กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาดหมาย เพราะนับตั้งแต่เปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 มีนักเรียนนักศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจากทั่วประเทศมากถึง 433 ทีม แบ่งเป็นรุ่นอายุ 16-18 ปี 270 ทีม และรุ่น 18-22 ปี จำนวน 163 ทีม โดยคณะกรรมการได้ประกาศรายชื่อ 10 ทีมที่ผ่านรอบแรกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ซึ่งคัดเลือกจากทีมที่ได้คะแนนสูงสุดตามกรอบของเกณฑ์การตัดสิน ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ การนำไปใช้ได้จริง และการสื่อสารแนวคิด
อีกทั้งยังได้จัดกิจกรรม ส่องราง สำหรับสมาชิกทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเสนอผลงานรอบตัดสินในวันที่ 13 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นวันประกาศผลและมอบรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ และรางวัลพิเศษ เป็นทุนการศึกษารวมทั้งสิ้น 420,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและประกาศนียบัตร
ดร.จุลเทพ กล่าวอีกว่า การที่มีนักเรียนนักศึกษาสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมากในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจและความกระตือรือร้นของเยาวชนไทยที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบรางของประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมรางในอนาคตอันใกล้ โดยหนึ่งในภารกิจสำคัญของ สทร. คือการผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศผู้ผลิตแทนการนำเข้าขบวนรถไฟ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดินในการสั่งซื้อจากต่างประเทศลงได้ 20% จากราคาปัจจุบันขบวนรถไฟต่อคันอยู่ที่ 100-150 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รุ่นอายุ 16-18 ปี ได้แก่ ทีม Ben2 จาก โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ส่งผลงาน IN-TRAIN ROBOT เทคโนโลยีหุ่นยนต์ดูแลรถไฟ สร้างความปลอดภัยให้ระบบรางอย่างยั่งยืน และ รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Ruby on Rails จากโรงเรียนหอวัง ส่งผลงาน ROOTS ON RAILS ระบบขนส่งทางรางสำหรับสินค้าทางการเกษตร
ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รุ่นอายุ 18-22 ปี ได้แก่ ทีมตกหลุมราง จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส่งผลงาน Food Truck Food Train ตลาดนัดเคลื่อนที่ โบกี้เพื่อชุมชน และรางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม p:Hep จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่งผลงาน PHEP PROTOTYPE1 รถไฟอากาศสะอาด เป็นรถไฟฟ้าสำหรับวิ่งทางไกลโดยที่ไม่ต้องลงทุนพัฒนาระบบราง ขับเคลื่อนโดยใช้ระบบ Plug-in Hybrid Hydrogen Electric Power |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/01/2025 7:58 am Post subject: |
|
|
'เยาวชนไทย'โชว์ไอเดียล้ำปูทางคนคุณภาพอุตฯราง
Source - เดลินิวส์
Tuesday, January 14, 2025 07:17
นายจุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน)หรือ สทร. เปิดเผยว่า การจัดงานประกวดความคิดสร้างสรรค์ระดับเยาวชนในหัวข้อรถไฟในฝัน ประสบผลสำเร็จอย่างมาก โดยมีนักเรียนนักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดถึง 433 ทีม สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจและความกระตือรือร้นของเยาวชนไทยที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบรางของประเทศซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมรางในอนาคต
ทั้งนี้หนึ่งในภารกิจสำคัญของ สทร.คือการผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศผู้ผลิตแทนการนำเข้าขบวนรถไฟซึ่งจะช่วยประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดินในการสั่งซื้อจากต่างประเทศลงได้ 20% จากราคาปัจจุบันขบวนรถไฟต่อคันอยู่ที่ 100-150 ล้านบาท ยังมีแผนสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้มีส่วนร่วมการพัฒนาระบบรางต่อเนื่อง
สำหรับทีมเยาวชนที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศรุ่นอายุ 16-18 ปี ได้แก่ ทีม Ben2 จากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ส่งผล งาน IN-TRAINROBOT เทคโนโลยีหุ่นยนต์ดูแลรถไฟสร้างความปลอดภัยให้ระบบรางอย่างยั่งยืน ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรุ่นอายุ 18-22 ปี ได้แก่ ทีมตกหลุมรางจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส่งผลงาน FoodTruck Food Train ตลาดนัดเคลื่อนที่โบกี้เพื่อชุมชน
การจัดประกวดความคิดสร้างสรรค์ระดับเยาวชนครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมนำร่องในโครงการคิดใหญ่ไปให้สุดรางมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบรางและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบรางของประเทศ.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 ม.ค. 2568 (กรอบบ่าย) |
|
Back to top |
|
|
|