RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570978
ทั้งหมด:13882874
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 4) รถไฟความเร็วสูง 1





 

     เรื่องที่อยากจะเขียนถึงต่อไป คือ เรื่องรถไฟความเร็วสูง ถ้าไปประเทศญี่ปุ่นแล้วไม่พูดเรื่องรถไฟความเร็วสูง ก็ดูเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง จะว่าไปแล้วต้องถือว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นความภาคภูมิใจของชาวเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวญี่ปุ่น เพราะรถไฟความเร็วสูงสายแรกในโลก เกิดที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นส่วนตัวว่า “รถไฟความเร็วสูง เป็นเรื่องข่มกัน ทางเทคโนโลยี ของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม”

     แต่ก่อนจะเขียน ไปมากกว่านี้ คงต้องขอทำความเข้าใจ กันก่อนว่า รถไฟความเร็วสูง คืออะไร? เพราะรู้สึกว่า ยังมีคนคิด แบบชาวบ้าน อยู่มาก คือ รถไฟอื่นๆ ที่วิ่งเร็วกว่า รถไฟของการรถไฟฯ จะเป็นรถไฟ ความเร็วสูงไปเสียแล้ว จึงมีคนเคยคิด สร้างรถไฟความเร็วสูง ไปจังหวัดระยอง จะใช้เงินงบประมาณ (ตอนนั้นซึ่งนานประมาณสิบปีมาแล้ว) ประมาณ 64,000 ล้านบาท พออ่าน รายละเอียด ดูแล้ว รถไฟที่สร้างใหม่นี้ จะวิ่งแค่ 160 กม./ชม. เท่านั้นเอง ผู้เขียนจึงท้วงติงไปว่า อย่างนี้เขาไม่เรียก รถไฟความเร็วสูง เพราะสมัยที่ยังเป็นรถจักรไอน้ำ รถไฟในยุโรปมันก็วิ่ง 160 กม./ชม. อยู่แล้ว ขนาดรถไฟฝรั่งเศส ยังเคยทดลอง วิ่งรถจักรไอน้ำถึง 200 กม./ชม. มาแล้วด้วยซ้ำไป

     คำตอบ ที่ทำให้ผู้เขียน ถึงกับอึ้งไปเลยคือ “ผมต้องการทำอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่รถไฟของ รฟท.” อ้าว ! ไม่รู้จะจงเกลียดจงชังอะไรกันมากมายขนาดนั้น !

     จะกำหนดคำนิยามสำหรับรถไฟความเร็วสูงได้ คงต้องเข้าใจว่า ล้อเหล็กเมื่อกดลงบนรางเหล็กจะไม่ยุบตัว ( ตรงนี้คือพูดแบบชาวบ้าน ถ้าพูดแบบวิศวกรต้องพูดว่า มีการยุบตัวน้อยมาก) ต่างจากล้อยางที่เมื่อกดลงบนถนน จะยุบตัวมากกว่า

     รถไฟจึงต่างจากรถยนต์ ตรงจุดสัมผัสระหว่างล้อ กับราง ซึ่งมีขนาดเล็กมากเพราะล้อไม่ยุบตัว ฉะนั้น เวลาจะส่งผ่าน แรงขับเคลื่อน (Traction Force) หรือ แรงเบรค (Braking Force) ก็จะมีข้อจำกัด จะเบรครุนแรง แบบรถยนต์ไม่ได้ เพราะจุดสัมผัส ระหว่างล้อยางกับถนน มีขนาดกว้างกว่ามาก สามารถรับแรงดังกล่าว ได้มากกว่า รถไฟจึงอุ้ยอ้าย ออกตัวช้า หยุดช้า ไม่คล่องตัวเหมือนรถยนต์

     แต่การที่ล้อไม่ยุบตัว ก็มีข้อดี เพราะทำให้การเคลื่อนที่ ไปบนราง มีแรงต้านน้อยกว่าล้อยาง ที่เคลื่อนไปบนถนน จึงใช้พลังงาน ในการขับเคลื่อนน้อยกว่า ตรงนี้ คือ เหตุผลที่รถไฟประหยัดพลังงานมากกว่า

     ด้วยข้อจำกัดตรงจุดสัมผัสระหว่าง ล้อ กับราง ดังกล่าว รถไฟความเร็วสูง ต้องใช้ระยะทาง 15 ถึง 20 กม. จึงจะเร่งความเร็วถึง 300 กม./ชม. และใช้ระยะทางมากกว่า 2 กม. จึงจะเบรคจากความเร็ว 300 กม./ชม. จนถึงหยุดนิ่งได้ ระยะเบรคที่ไกลขนาดนั้น จะทำให้คนขับรถไฟ ไม่สามารถใช้สายตา ดู สัญญาณข้างทาง (Wayside Signal) แล้วควบคุมขบวนรถ ไปตามสัญญาณได้ รถไฟความเร็วสูง จึงไม่มีสัญญาณข้างทาง มีแต่สัญญาณอีเลคโทรนิคอยู่ในราง เมื่อรถวิ่งผ่าน เครื่องรับสัญญาณ ก็จะจับสัญญาณขึ้นมา แล้วแปลออกมา เป็น พิกัดความเร็ว (Speed Limit) คนขับรถไฟต้องควบคุมความเร็วขบวนรถไม่ให้เกินพิกัดความเร็วนั้น ถ้ายังฝ่าฝืนไม่ควบคุมความเร็วตาม ระบบเบรคก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อลดความเร็วขบวนรถลง สัญญาณแบบนี้เรียกว่า "Cab Signal" คนขับรถไฟไม่ต้องมองออกไปนอกหน้าต่าง เพียงแต่ดูที่จอมอนิเตอร์ แล้วคอยปฏิบัติตามพิกัดความเร็ว

     คำถาม คือ ความเร็วสักเท่าใด ที่คนขับรถไฟ ดูระบบสัญญาณ ประจำที่ข้างทางแล้ว ไม่สามารถควบคุม ขบวนรถได้ โดยทั่วไปก็คงประมาณ 200 กม./ชม. ขึ้นไป รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว ต่ำกว่านี้ ไม่น่าจะเรียกว่า เป็นรถไฟความเร็วสูง

     ระบบสัญญาณนี่เอง ที่ทำให้รถไฟความเร็วสูง มีราคาแพงมาก ดังนั้น ในศตวรรษที่ 21 นี้ ญี่ปุ่นจึงวาดวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงไว้ว่า จะหาวิธีการลดค่าใช้จ่าย ในการติดตั้งสัญญาณ โดยจะนำระบบ GPS มาใช้ แนวคิดก็คือ ใช้ระบบ Distance Locking โดยอ่านสภาพ ทางภูมิศาสตร์ ของทางรถไฟ เข้าไปเก็บไว้ ในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้ระบบ GPS ชี้ตำแหน่งรถ แต่ละขบวน จากนั้น จึงจัดระยะห่าง ของขบวนรถ ให้สัมพันธ์กับความเร็ว โดยให้ระยะห่าง สอดคล้องกับ ระยะเบรคปลอดภัย ที่ความเร็วต่างๆ ตัวอย่างเช่น ขบวนรถ ต้องอยู่ห่างกันมากกว่า 6,000 เมตร จึงจะสามารถ ใช้ความเร็วเต็มพิกัด 300 กม./ชม. ถ้าอยู่ห่างกันมากกว่า 3,000 เมตร แต่ไม่เกิน 6,000 เมตร ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 160 กม. / ชม. ความเร็วขบวนรถ ตั้งแต่ 30 กม. / ชม. ลงมา อนุญาตให้คนขับ ควบคุมขบวนรถ ตามที่ตามองเห็นได้

     ระบบดังกล่าวนี้ ยังไม่มีใช้งาน เป็นเพียงแนวคิด ซึ่งหากทำสำเร็จได้ ก็จะลดค่า ระบบสัญญาณ ของรถไฟความเร็วสูงลงได้ รถไฟความเร็วสูง จะมีราคาถูกลง ถึงเวลานั้น คนที่ไม่ร่ำรวยมาก แต่อยากนั่ง รถไฟความเร็วสูง ก็คงจะพอมีความฝัน ที่สามารถเป็นจริงได้

     ที่กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูง เป็นการข่มกัน ทางเทคโนโลยี ของประเทศอุตสาหกรรม ก็เพราะ การสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ต้องระดมเทคโนโลยีชั้นสูง ในงานวิศวกรรม แทบจะทุกสาขา มาไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้น หากคิดจะทำ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ก็จะเกิดการพัฒนา เทคโนโลยีของชาติ ซึ่งก่อให้เกิด ผลพลอยได้อื่นๆ ตามมาอีกมากมาย


รถไฟความเร็วสูง ชินกังเซน ของประเทศญี่ปุ่น

     เมื่อตอนที่ญี่ปุ่น ลงมือทำการวิจัย และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ในปี 2502 พวกฝรั่ง ยังวางเฉยต่อเรื่องนี้ เพราะคิดว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จะสร้างรถไฟ ซึ่งสามารถวิ่งเร็วกว่า 200 กม./ชม. ไม่มีใครเชื่อว่า ญี่ปุ่นจะทำได้ แต่ครั้นพอถึงปี 2507 เมื่อญี่ปุ่นเปิดเดิน ขบวนรถไฟความเร็วสูง สายแรกในโลก ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 210 กม./ชม. วงการอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น ก็ได้เชิดหน้าชูตาขึ้น ในระดับนานาชาติ ใครที่ไปญี่ปุ่นช่วงนั้น ก็จะพบแต่กับคำว่า "ชินกังเซน" (แปลว่า ทางสายใหม่) นักอุตสาหกรรม จากประเทศญี่ปุ่น เมื่อจะขายผลิตภัณฑ์อะไร ก็จะอ้างว่า “อันนี้ ชินกังเซนก็ใช้ อันนั้น ชินกังเซนก็ใช้” ใครได้ฟัง ก็เกิดศรัทธา ของที่ผลิตก็ขายได้ง่าย เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูขึ้น เป็นที่เชิดหน้าชูตากันไปทั้งประเทศ

     พอพวกฝรั่ง เห็นญี่ปุ่น ทำได้จริง ก็รู้สึกครั่นคร้าม ต้องรีบหันมา ให้ความสนใจ กับเรื่องรถไฟความเร็วสูง กันเป็นทิวแถว เริ่มจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา แต่ละชาติ ก็มีแนวทาง ของตนเอง ดังจะเล่าให้ฟังพอสังเขป ในตอนต่อไป

 
- จบตอนที่ 4 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-06-06 (3730 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©