RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180491
ทั้งหมด:13491725
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2006 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

MASS-TRANSIT PLANS
Only one line at a time, says Pridiyathorn
by Anoma Srisukkasem
The Nation Ocotber 8, 2006


Of the 10 proposed Bangkok rail routes, only the Blue Line (Blue Ring) may get go-ahead


MR Pridiyathorn Devakula, who is to be named deputy premier and finance minister in the Surayud government, said yesterday that the interim administration would probably implement only one of the 10 proposed rail mass-transit lines during its one-year tenure.


Speaking after a seminar entitled "Thailand's Investment Atmosphere in 2007", he said the government would probably pick the 27-kilometre circular Blue Line, running from Bang Sue to Hua Lamphong and Bang Khae, because it was the most important.


The investment cost is estimated to be around Bt60 billion, with 22km of the line being an elevated rail system and the remaining 5km underground (across rattanakosin Island).

MR Pridiyathorn said the rest of the proposed mass-transit lines could be implemented when the government had more resources.


Former premier Thaksin Shinawatra earlier announced his Thai Rak Thai Party would invest in a total of 10 lines worth in excess of Bt500 billion to relieve traffic congestion in Bangkok. Besides the finance portfolio, Pridiyathorn, the outgoing governor of the Bank of Thailand, is also expected to oversee the Transport Ministry, which is responsible for implementing mass-transit schemes.


Pridiyathorn said the Surayud government would also implement the water-resource management project initiated by the previous government so as to increase the competitiveness of the Thai agricultural sector.


Kosit Panpiemras, executive chairman of Bangkok Bank, will be named deputy premier overseeing the agriculture and industry ministries, according to sources close to the prime minister.


Meanwhile, Pridiyathorn, who has been the central bank's chief for the last four years, said the new government would do its best to restore investor confidence.


The government will be more transparent, he said, and would eliminate anything deemed to be a double standard.


He was confident there


would be greater integrity be-cause the new Cabinet would


not have any big businessmen as members and as a result the government would be unbiased in restructuring the economy and in facilitating private-sector business.


Businessmen should be happier because they will not have to be pro-government in order to be successful, as in the past five or six years, he said.


Politically, he said, the check-and-balance mechanisms and independent organisations will be able to function better under the new government, so there will be greater fairness in society. "When there are no more double standards in our society, conflicts, polarisation and discomfort will disappear," he said.


According to Pridiyathorn, the country will be heading towards a better future next year because a new constitution will be drafted and there will be a general election.


Quoting academic Seksan Prasertkul's definition of a functioning democracy, he said there must be three major elements: free and fair elections, freedom to express opinion, and public participation in politics. He said he was not sure if the interim government would allow all the three elements simultaneously or phase them in one by one.


The last general election, he said, was clearly biased because the previous Election Commission took sides.


"As a result, we had only half a democracy. A general election should be free and fair," he said. In addition, he said, freedom of expression had been curtailed for some years, so that for instance many civil servants were afraid that they would be penalised if they spoke out against the ruling politicians.


He said it would be good if the country returned to a fully democratic system soon.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2006 5:43 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ามาแล้ว

คอลัมน์ จอดป้ายประชาชื่น โดย อนุชา สุขสมโภชน์
มติชน 13 ตุลาคม 2549


ทำท่าว่าจะเลื่อนออกไปอีกหลายเดือน สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) ที่ประกอบด้วย

1) สายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
2) สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค และ
3) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คือสายสีแดงช่วงรังสิต-พญาไท

เพราะแม้ว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะออกมาการันตีว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต้องดำเนินต่อไปก็ตาม แต่ในส่วนของเงินกู้ที่คาดว่ารัฐบาลจะขอกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิค ขณะนี้ความคืบหน้ายังไม่ไปถึงไหน

โดยเจบิคจะต้องส่งคณะทำงานเข้ามาทำงานคู่ขนานไปกับ รฟม.และ ร.ฟ.ท.ทั้งหมดประมาณ 3 ชุด แต่ขณะนี้เพิ่งจะเข้ามาทำงานเพียงชุดเดียว

ชุดที่ 2 คาดว่าจะเข้ามาประมาณเดือนตุลาคมนี้ และชุดสุดท้ายคาดว่าจะเข้ามาประมาณเดือนพฤศจิกายน

ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังรีรอดูท่าทีของรัฐบาลไทยชุดใหม่ว่าจะดำเนินการโครงการเหล่านี้อย่างไรต่อ

แต่เมื่อรัฐบาลมีนโยบาย "ไฟเขียว" ที่จะทำโครงการต่อ ก็คาดว่าเร็วๆ นี้คณะทำงานของเจบิคคงจะเร่งทำงานเพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นต่อไป

ทั้งนี้ รัฐบาลคงจะต้องตัดสินใจในการลงทุนก่อสร้างสายหนึ่งสายใดก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ รฟม.

โดยสายสีน้ำเงินนั้น เป็นการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมมหานครที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งช่วงจากหัวลำโพงไปบางแค คาดว่าจะเป็นการก่อสร้างแบบใต้ดิน ขณะที่ช่วงบางซื่อไปท่าพระ จะก่อสร้างแบบลอยฟ้า

ส่วนสายสีม่วง เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางจากในเมืองไปสู่ย่านที่ประชาชนออกไปอยู่อาศัยมาก เช่น บางบัวทอง

ซึ่งทั้งสองเส้นทางได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว เหลือเพียงการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร

หลังจากนี้ คาดว่าความชัดเจนในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าคงจะยิ่งมีมากขึ้น และหากมีการก่อสร้างไป แล้วเปิดให้บริการไป โดยเฉพาะสายสีน้ำเงิน ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีในการแก้ไขปัญหาจราจรรวมทั้งการประหยัดน้ำมันในภาพรวมได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2006 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

กก.ผู้สูงอายุฯ แจ้งข่าวดี "ผู้สูงอายุ" ขึ้นรถเมล์-รถไฟฟ้าใต้ดินลดครึ่งราคา

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 ตุลาคม 2549 16:53 น.


นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่องการจัดงานมหกรรมสัปดาห์ผู้สูงอายุแห่งชาติและครอบครัว ในเดือนเมษายนปีหน้า โดยจะจัดอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา โดยมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินงาน 1 ชุด ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ เช่น การจัดขบวนคาราวานผู้สูงอายุออกไปบำเพ็ญประโยชน์ตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรายงานความก้าวหน้าเรื่องการลดหย่อนค่าโดยสารยานพาหนะให้แก่ผู้สูงอายุโดยตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลางได้มีมติลดค่าโดยสารร้อยละ 50 ให้แก่ผู้สูงอายุ ประกอบด้วย รถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัทผู้รับสัมปทานรถเอกชนร่วมบริการในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเวลา 09.00-15.00 น บริษัท ขนส่ง จำกัด เฉพาะรถโดยสารของบริษัท และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินร้อยละ 50 ให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุ 60 ปี จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ที่อายุ 65 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2549 -2 กรกฎาคม 2551
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2006 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size


คุณ totmaru ตั้งคำถามมาดังนี้

Quote:
ผมมีเรืองสงสัยเรื่อง สายสีน้ำเงิน เมื่อสร้างเสร็จหมดแล้วน่ะครับ ว่าเค้าจะเดินรถแบบไหน ผมไปลองคิดและทำแบบคร่าวๆมาแล้ว ได้มา 4 แบบ ครับ ผู้รู้มาตอบหน่อยนะ ต่ตามความเห็นผม ผมว่า แบบที่ 1 ดีที่สุด ลองลงมาก็ แบบที่ 2

รูปแบบการเดินรถ ( ตามแนวคิดของผม )

Click on the image for full size
แบบที่ 1 แบ่งเป็น 2 ช่วงการเดินรถ

ช่วงที่ 1 สถานีหัวลำโพง-สถานีท่าพระ ( ไป-กลับ )
ช่วงที่ 2 สถานีหัวลำโพง-สถานีท่าพระ-สถานีบางแค ( ไป-กลับ )

แบบที่ 2 แบ่งเป็น 2 ช่วงการเดินรถ

ช่วงที่ 1 ( วงกลม ) สถานีหัวลำโพง ( วนซ้าย-วนขวา)
ช่วงที่ 2 สถานีท่าพระ-สถานีบางแค ( ไป-กลับ )

แบบที่ 3 แบ่งเป็น 3 ช่วงการเดินรถ

ช่วงที่ 1 สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ ( ไป-กลับ )
ช่วงที่ 2 สถานีบางซื่อ-สถานีท่าพระ ( ไป-กลับ )
ช่วงที่ 3 สถานีหัวลำโพง-สถานีท่าพระ-สถานีบางแค ( ไป-กลับ )

แบบที่ 4 แบ่งเป็น 3 ช่วงการเดินรถ

ช่วงที่ 1 สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ ( ไป-กลับ )
ช่วงที่ 2 สถานีบางซื่อ-สถานีท่าพระ-สถานีหัวลำโพง ( ไป-กลับ )
ช่วงที่ 3 สถานีท่าพระ-สถานีบางแค ( ไป-กลับ )

แต่ แบบที่ 2 ค่อนข้างดีที่สุดครับ ( ความเห็นส่วนตัว ) นั่งเป็นวงกลมได้เลย ส่วนหางท่าพระ ก็ไปเปลี่ยนขบวนที่ สถานีท่าพระ เอา


คุณ thainotts ถามต่อว่า:

Quote:
ถ้าเป็นแบบที่ 2 อย่างที่คุณ totomaru ว่านี้ ชานชลาที่หัวลำโพงจะถูกจัดการยังไงเหรอครับ? จากความรู้ที่คงไม่เท่าคุณ totomaru ผมกลับคิดว่าทำไมเราไม่ให้รถไฟวิ่งจาก หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ-บางแค-หัวลำโพง เป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา และก็มีรถไฟวิ่งในวงกลมเดียวกันแต่ตามเข็มนาฬิกา ส่วนสถานีท่าพระก็จะเป็นสถานี interchange สำหรับคนที่อยู่ถนนจรัญฯ แล้วจะไปหัวลำโพง แต่ไม่ต้องการอ้อมไปบางแค

ผมคิดว่าวิธีนี้จะทำให้ผู้โดยสารสะดวกมากขึ้นเพราะว่าการเดินทางจะมีความต่อเนื่อง เมื่อผ่านสถานีหัวลำโพง.......


คุณ totomaru ตอบ:

Quote:
ตามที่คุณ thainotts ว่ามาผมก็ว่าดีครับลืมนึกถึงแบบนี้ไปเลยครับ

Click on the image for full size
แต่ปัญหาก็คือตอนไปถึง สถานีบางแค แล้วต้องรอไปกลับรถเนี่ยล่ะ ไม่รู้ต้องลงจากรถเหมือนมา สถานีอ่อนนุช ก่อนรึเปล่านะครับ แต่เป็นความคิดที่ดีครับ

ส่วน สถานีเตาปูน เป็นสถานียกระดับครับ เพราะ... สายสีม่วง ( บางซื่อ-บางใหญ่ ) เป็นเส้นทางยกระดับตลอดสายครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2006 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

นี่คือข้อมูลสายน้ำเงินที่คุณ Toitomaru ส่งมาครับ

Click on the image for full size

การออกแบบเบื้องต้นของโครงการ ได้จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องและมีอยู่พร้อม ซึ่งประกอบด้วย


• งานออกแบบเบื้องต้น แนวเส้นทางเดิม
• ข้อมูลการออกแบบโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล
• ข้อมูลการออกแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ

หัวข้อนี้ในรายงานกล่าวถึง แนวทางการออกแบบที่ใช้กับสถานีทุกประเภทของโครงการนี้ อันได้แก่ สถานีใต้ดิน สถานียกระดับ และสถานีร่วม ตลอดจนการอธิบายความจำป็นที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบสถานีบางแห่งที่มีข้อจำกัดแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่

หลักเกณฑ์ทั่วไปที่เกี่ยวกับการออกแบบสถานี

การออกแบบสถานี มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้ผู้โดยสารได้มีพื้นที่อย่างเพียงพอที่จะเดินเข้า-ออกสถานีได้อย่างปลอดภัย เพื่อใช้บริการโดยสารรถไฟฟ้าในลักษณะสะดวกสบายโดยไม่มีสิ่งใดกีดขวางทางเดิน การเคลื่อนตัวของผู้โดยสารขึ้นลงระหว่างชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารและชานชาลา จะต้องจัดให้ได้สมดุลและราบรื่น รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีเพื่อรองรับกับผู้โดยสารที่ร่างกายพิการตลอกระบวนการออกแบบสถานี

การคำนวณพื้นที่รองรับผู้โดยสารในสถานี ชานชาลา และขนาดของบันได อาศัยข้อมูลล่าสุดของการคาดการณ์จำนวน ผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปี ค.ศ. 2042 และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดที่ว่าด้วยทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบ (NFPA 130)

การออกแบบสถานี

ตามรายงานการศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิค รูปแบบของสถานีแบบทั่วไป(Typical) ที่
เหมาะสมที่สุด ได้แก่ สถานีที่ใช้ชานชาลากลาง (Centre Platform) โดยใช้งานได้สำหรับทั้ง
สถานียกระดับ และสถานีใต้ดิน

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานีและระบุประเภทของสถานีตามเส้นทางของโครงการ



การกำหนดที่ตั้งสถานีซึ่งพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะออกแบบเป็นสถานีแบบทั่วไป พร้อมชานชาลากลางปรากฏว่า โครงสร้างทางวิ่งยกระดับมีสถานีแบบทั่วไปอยู่ 18 สถานี ในขณะที่แนวเส้นทางใต้ดินมีสถานีแบบทั่วไปรวม 11 สถานี โดยที่จำนวนสถานีแบบทั่วไปที่ออกแบบไว้คิดเป็น 65% ของจำนวนสถานีทั้งหมดที่มิใช่สถานีร่วม (NonInterchangeStations) สถานีที่เหลือเป็นการออกแบบที่ต่างจากสถานีแบบทั่วไป เพื่อให้ตอบรับกับข้อจำกัดต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ ทั้งในแนวดิ่งหรือแนวราบ ซึ่งรวมถึงสภาพของดิน อุปสรรคทางกายภาพต่างๆ เช่น ทางลอดใต้ทางแยก ทางแยกยกระดับ หรือถนนที่แคบจนทำให้พื้นที่แนวเขตทาง (Right of way) ลดน้อยลงไป
การออกแบบสถานีร่วม เริ่มจากการใช้ผังรูปแบบชานชาลาและชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารที่เป็นแบบทั่วไป (Typical) เป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นจึงแก้ไขปรับปรุงผังรูปแบบโดยทั่วไปดังกล่าวให้สามารถรองรับกับจำนวนผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเสนอแนวทางที่เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารได้เดินทางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้อย่างมีข้อติดขัดน้อยที่สุดในเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมด 3 สาย จะมีสถานีร่วมรวมกัน 6 สถานี โดยที่แต่ละสถานีจะมีข้อแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ที่ตั้งอยู่

การออกแบบสถานียกระดับแบบทั่วไปพร้อมชานชาลากลาง

ที่ปรึกษาได้พัฒนาแนวทางในการออกแบบสถานียกระดับแบบทั่วไปมาจากงานออกแบบสถานีในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ได้ออกแบบลุล่วงไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้สถานียกระดับจะมีบันไดจากพื้นล่างจำนวน 4 บันได ครบทุกมุมเพื่อขึ้นสู่ชั้นจำหน่ายตั๋วซึ่งอยู่สูง 7.5 เมตรจากระดับถนน บันไดสถานียังใช้งานเป็นสะพานลอยข้ามถนนสำหรับคนที่สัญจรไปมาได้ เมื่อผู้โดยสารขึ้นมาถึงชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารแล้ว สามารถเดินไปซื้อตั๋วจากเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือจากห้องจำหน่ายตั๋ว และถือตั๋วเดินผ่านช่องเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ซึ่งจะตั้งเป็นแนวยาวไว้คอยอำนวยความสะดวก ในบริเวณนี้อาจเรียกว่า “พื้นที่ที่ยังไม่มีการชำระค่าโดยสาร” (Unpaid area)
เมื่อผู้โดยสารเดินผ่านประตูเก็บค่าโดยสารไปแล้ว จะเริ่มเข้าสู่บริเวณสำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว (Paid Concourse Area) จากนั้นต้องขึ้นบันไดหรือบันไดเลื่อนตรงหน้าเพื่อขึ้นไปยังชานชาลา ผู้โดยสารทุพลภาพอาจใช้ลิฟท์แทนบันไดเลื่อน โดยลิฟท์จะตั้งอยู่ถัดไปซึ่งสามารถขึ้นไปถึงชานชาลาได้เช่นกัน

บนชั้นจำหน่ายตั๋วใกล้ๆ แนวกึ่งกลางของชั้น จะเป็นห้องทำงานของเจ้าหน้าที่และห้องเครื่องกล โดยพื้นที่ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ตอนกลางเปิดเป็นช่องทางเดินเชื่อมทั้งสองฟากเพื่อช่วยลดการบดบังทางทัศนวิสัยตรงกลางสถานีไปได้มาก สถานียกระดับที่ออกแบบในครั้งนี้ จะแตกต่างจากสถานียกระดับในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ตรงที่ผู้โดยสารสามารถเดินจากฟากหนึ่งของชั้นจำหน่ายตั๋ว ไปยังอีกฟากหนึ่งของชั้นดังกล่าวโดยผ่านทางช่องทางเดินตรงกลาง (Footbridge)

การออกแบบสถานีใต้ดินแบบทั่วไปพร้อมชานชาลากลาง

การออกแบบสถานีใต้ดินแบบทั่วไป ได้แนวทางมาจากการออกแบบระบบรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่กำลังให้บริการเดินรถอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งการออกแบบสถานีในแนวเส้นทางเดิม สถานีใต้ดินที่ออกแบบใหม่ ประกอบด้วยทางขึ้น-ลง ของผู้โดยสาร 4 จุด เพื่อลงไปสู่ชั้นจำหน่ายตั๋วที่ลึกลงไป 11.5 เมตรจากระดับถนน ความลึกของชั้นจำหน่ายตั๋ว ขึ้นอยู่กับการใช้สอยพื้นที่ภายในของสถานี ตลอดจนข้อกำหนดสำหรับระยะห่าง 3 เมตร จากระดับถนนลงไปถึงส่วนบนสถานีใต้ดิน เพื่อใช้ติดตั้งระบบสาธารณูปโภค ทางขึ้น-ลงของสถานี มีอยู่ครบ 4 มุมทั้งสองฟากถนน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สัญจรไปมาใช้เดินลอดจากฟากหนึ่งของถนนไปยังอีกฟากได้ แต่ละสถานีจะมีช่องระบายอากาศตั้งอยู่ในระดับพื้นดินจุดหนึ่งเพื่อให้อากาศเข้ามา และอีกจุดหนึ่งเพื่อระบายอากาศออกไป เพื่อการถ่ายเทอากาศในบริเวณผู้โดยสารสัญจร พื้นที่ที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และในตัวอุโมงค์เดินรถนอกจากนี้โครงสร้างดังกล่าวยังจัดให้มีทางเข้าออกฉุกเฉิน (บันได) เพื่อใช้ในการดับเพลิงและพาผู้โดยสารขึ้นมาจากชานชาลาสู่พื้นดินได้อย่างปลอดภัยในบริเวณผู้โดยสารสัญจรภายในสถานีใต้ดิน ผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วโดยสารจาก
ตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ หรือจากห้องจำหน่ายตั๋ว และถือตั๋วเดินผ่านช่องเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ซึ่งตั้งเป็นแนวยาวไว้อำนวยความสะดวก ในบริเวณนี้อาจเรียกว่า “พื้นที่ที่ยังไม่มีการชำระค่าโดยสาร” (Unpaid Area) และมีทางเดินสำหรับประชาชนใช้เดินไปยังอีกฝั่งถนนได้ เมื่อผู้โดยสารเดินผ่านช่องเก็บตั๋วได้แล้ว จะเริ่มเข้าสู่บริเวณสำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว (Paid Concourse Area) จากนั้นต้องลงบันไดหรือบันไดเลื่อน เพื่อไปยังชานชาลา หรือผู้โดยสารคนพิการอาจใช้ลิฟท์ลงไปถึงชานชาลาได้ห้องเครื่องกลและห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ตั้งอยู่บนชั้นจำหน่ายตั๋วในส่วนหัว และส่วนปลายของสถานี

การออกแบบอาคารสถานีลักษณะพิเศษ (Non – Typical)

แบบ A – สถานีร่วม (Interchange Stations)

1. สถานีเตาปูน (PP 16 / BN 10) – ยกระดับ / ยกระดับ
2. สถานีท่าพระ (BN 17 / BS 14) – ยกระดับ / ยกระดับ
สถานีนี้เป็นสถานีปลายทางของสายสีน้ำเงิน (เหนือ) แต่การออกแบบจะรวมไปถึงส่วนต่อขยายของสายสีน้ำเงินใต้ในอนาคตด้วย ชานชาลาของทั้งสองสายจะเป็นแบบยกระดับอยู่เหนือชั้นจำหน่ายตั๋วโดยมีรูปแบบเหมือนกับสถานีเตาปูน
3. สถานีสะพานกรุงธนบุรี (BN 13 / OR 02) – ยกระดับ / ใต้ดิน
ชานชาลาของสายสีส้มจะอยู่ใต้ดินและอยู่ใกล้ถนนสิรินธร โดยเลี่ยงโครงสร้างฐานรากของสะพานลอยข้ามแยกที่วิ่งคู่ขนานกับแนวเส้นทาง
4. สถานีวังบูรพา (BS 11 / PP 23) – ใต้ดิน / ใต้ดิน
เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของสถานีอยู่ใกล้ถนนที่แคบมีการจราจรคับคั่งและอยู่ในเขตอนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ชานชาลาทั้งสองสายจึงเป็นแบบใต้ดิน
5. สถานีสามเสน (OR 03 / PP 19) – ใต้ดิน / ใต้ดิน
สถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้สี่แยกซังฮี้ในระดับผิวดิน ซึ่งถนนสามเสนและถนนราชวิถีวิ่งมาตัดกัน
6. สถานีศูนย์วัฒนธรรม (OR 09 / สายสีน้ำเงินที่ดำเนินการอยู่) – ใต้ดิน / ใต้ดิน
สถานีสายสีส้มจะสร้างอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมปัจจุบัน และการออกแบบสถานีนี้จะต้องคำนึงถึงโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีศูนย์วัฒนธรรม (สายสีน้ำเงิน) ในปัจจุบัน

แบบ B – สถานีใต้ดิน, อยู่ลึกมาก ใช้ชานชาลากลาง

สนามไชย – BS 12, อิสรภาพ – BS 13, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – OR 06,
ดินแดง – OR 07, ประชาสงเคราะห์ – OR 08
สถานีและแนวเส้นทางเป็นแบบมาตรฐานทั้งหมด แบบใต้ดิน ยกเว้นสถานีอิสรภาพและสถานีประชาสงเคราะห์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นถนน

แบบ C – สถานีใต้ดินลึก มีชานชาลากลาง และจะมีสะพานลอยข้ามแยก

ราชวิถี – OR 05
สถานีตั้งอยู่ใต้ถนนราชวิถี การออกแบบจะใช้รูปแบบตามแบบสถานีลึก 3 ระดับเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่จะมีอุปสรรคที่ กทม.มีโครงการจะสร้างสะพานข้ามแยกช่วงถนนราชวิถีซึ่งอยู่คร่อมสถานีพอดี

แบบ D – สถานีใต้ดินลึก มีชานชาลากลาง จะมีอุโมงค์ลอดสี่แยก

มไหสวรรค์ – PP 27
สถานีตั้งอยู่ใต้ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แนวเส้นทางอยู่ลึกโดยเผื่อไว้ให้ กทม.ก่อสร้างอุโมงค์ลอดสี่แยก ซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวจะอยู่เหนือตามยาวของสถานี

แบบ E – สถานีใต้ดิน, มีชานชาลากลาง มีสะพานลอยแบบ E

สนามกีฬาหัวหมาก – OR 14, หัวหมาก – OR 15, ลำสาลี – OR 16
สถานีเหล่านี้ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง โดยสถานีสนามกีฬาหัวหมากและลำสาลีจะอยู่ใต้สะพานลอยที่มีอยู่แล้ว และสถานีหัวหมากก็จะต้องออกแบบเผื่อไว้สำหรับการสร้างสะพานลอยกทม.ในอนาคตเช่นกัน

แบบ F – สถานียกระดับ โครงสร้างขนาดใหญ่

พรานนก – BN 15/1, ดาวคะนอง – PP 29
(ท่าพระ – BN 17, สะพานกรุงธน – BN 13)
เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับสะพานลอยและทางลอดที่มีอยู่ หรือที่จะสร้างขึ้นใหม่ ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานี จึงไม่สามารถวางส่วนยกระดับบนเสาเดี่ยวบนเกาะกลางถนน แต่จะต้องวางบนคานซึ่งรองรับด้วยเสาคู่แทน

แบบ G – สถานีใต้ดิน, ชานชาลาซ้อน แบบข้าง

วัดมังกร – BS 10, กรมชลประทาน – PP 18 ผ่านฟ้า – PP 22
สถานีวัดมังกร ตั้งอยู่ในซอยริมถนนเจริญกรุง การก่อสร้างสถานีนี้จะพยายามลดผลกระทบต่อพื้นที่รอบๆ ให้น้อยที่สุด โดยเสนอให้ใช้รูปแบบอุโมงค์ซ้อนกันในแนวตั้ง และใช้ชานชาลาแบบข้างในสถานี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรอบๆ สถานี

โครงสร้างส่วนประกอบ

ทางเข้า – ออกสถานีแบบมาตรฐาน

การออกแบบทางเข้า – ออกสถานีแบบมาตรฐานจะพยายามให้มีการเวนคืนพื้นที่ให้น้อยที่สุด และเสนอรูปแบบสถานีที่ไม่ใหญ่โตจนดูขัดตา แบบของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องมีเอกลักษณ์ให้ประชาชนรู้ได้ทันทีที่มองเห็น

ทางเข้า – ออกสถานีแบบพิเศษ

แนวเส้นทางสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง มีบางช่วงที่ตัดผ่านบริเวณใจกลางเมืองที่เป็นพื้นที่เก่าแก่ ซึ่งจะไม่เหมาะสมหากจะใช้ทางเข้า – ออกแบบมาตรฐาน ยิ่งไปกว่านั้นเส้นทางในบริเวณอนุรักษ์ดังกล่าวจะต้องเป็นแนวเส้นทางใต้ดิน การออกแบบทางเข้า – ออกสถานีใต้ดินในบริเวณเก่าแก่ดังกล่าว จึงควรมีลักษณะพิเศษที่ต้องสอดคล้องกับเขตอนุรักษ์และข้อกำหนดของการออกแบบสถานีใต้ดินอีกด้วย

อาคารระบายอากาศ

ทุกๆ สถานีใต้ดินจะมีโครงสร้างช่วยระบายอากาศตั้งอยู่ในระดับผิวดิน 2 ส่วน ตรงปลายแต่ละข้างของสถานี ปล่องระบายอากาศ (Intervention Shaft) จะตั้งอยู่ระหว่างสถานี และช่วยระบายอากาศออกจากอุโมงค์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเส้นทางอพยพของผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าขึ้นสู่ระดับผิวดิน โดยผ่านพื้นที่ระหว่างสถานีดังกล่าวในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

การเชื่อมต่อการเดินทาง (Intermodal)

ในโครงการนี้ได้มีการจัดเตรียม อาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ไว้ทั้งหมด 9 แห่งซึ่งโดยทั่วไปจะตั้งอยู่ร่วมกับสถานีปลายทาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่อยู่นอกเขตเมืองที่ต้องการใช้รถยนต์แล้วนำมาจอดทิ้งไว้ แล้วใช้บริการรถไฟฟ้าเข้ามายังใจกลางเมืองต่อไป

ข้อคำนึงในเรื่องความสวยงามทางสถาปัตยกรรม

การออกแบบสถานีและทางขึ้น – ลงแบบมาตรฐานของรถไฟฟ้ายกระดับและรถไฟฟ้าใต้ดินจะเน้นความสวยงามทางสถาปัตยกรรม ตลอดขั้นตอนของงานออกแบบกรอบรายละเอียดและงานออกแบบรายละเอียด อย่างไรก็ตามการออกแบบดังกล่าวจะอาศัยผลงานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ และสายเฉลิมรัชมงคลเป็นแนวทางสำคัญ เพราะผลงานการออกแบบของทั้งสองโครงการข้างต้นได้แสดงออกถึงความสวยงามเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปและมีหลายส่วนที่มีลักษณะร่วมกัน การดำรงไว้ซึ่งลักษณะดังกล่าวในโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ 3 โครงการนี้ เท่ากับเป็นการเสริมภาพลักษณ์ของ รฟม. ให้เด่นชัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร

ต้องขออภัย...ด้วยที่ยังไม่มีข้อมูลของ สายสีม่วง ( บางซื่อ-บางใหญ่ ) นะครับ มีแต่ส่วน ( บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ )
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2006 3:16 pm    Post subject: Reply with quote

แบบ B – สถานีใต้ดิน, อยู่ลึกมาก ใช้ชานชาลากลาง

สนามไชย – BS 12, อิสรภาพ – BS 13, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – OR 06,
ดินแดง – OR 07, ประชาสงเคราะห์ – OR 08
สถานีและแนวเส้นทางเป็นแบบมาตรฐานทั้งหมด แบบใต้ดิน ยกเว้น สถานีอิสรภาพ และ สถานีประชาสงเคราะห์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นถนน

BS : สายสีน้ำเงิน
OR : สายสีส้ม

สถานีบางกอกใหญ่ อยู่ ถนนอิสรภาพ ( บริเวณวัดใหม่พิเรนทร์ )
Click on the image for full size


สถานีประชาสงเคราะห์ อยู่ ถนนดินแดง ( บริเวณสี่แยกประชาสงเคราะห์ )
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2006 10:31 pm    Post subject: รถไฟฟ้าตามแบบเศรษฐกิจเพียงพอ Reply with quote

Click on the image for full size

สั่งทบทวนรถไฟฟ้า 5 สาย ประชาพิจารณ์ใน 2 เดือน
โดย ผู้จัดการรายวัน 8 พฤศจิกายน 2549 07:52 น.


ครม.สุรยุทธ์ รื้อแผนสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มจาก 3 สายเป็น 5 สาย วงเงิน 165,402 ล้านบาท สั่งทบทวนโครงการและทำประชาพิจารณ์ให้เสร็จใน 2 เดือน ดึงสีเขียวต่อขยายมาทำด้วย พร้อมปรับรูปแบบจากรัฐลงทุน 100% เป็นให้เอกชนร่วมทุน เหมือนรถไฟใต้ดินสายแรก ให้เวลา 4 เดือน ออกแบบรายละเอียด (Detail Dasign)เชื่อสร้างครบ 7 สาย คุมค่าโดยสารได้ เพราะผู้โดยสารเพิ่มเป็น 3.5 ล้านคน “ธีระ”ยอมรับยังกำหนดค่าโดยสารไม่ได้ และเข้าใจเรื่องสัมปทานต้องอาจเกิดการผูกขาด แต่ต้องมีทางออกที่ดี ยันต้องคุมค่าโดยสารแน่นอน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 7 พ.ย.49 มีมติเห็นชอบหลักการให้กระทรวงคมนาคมดำเนินงานโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 เส้นทางได้แก่ 1.สายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-มักกกะสัน-หัวหมาก 2. สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 3.ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 4.สายสีเขียว ช่วงตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทางรวม 118 กม.

ส่วนรูปแบบการก่อสร้างนั้นจะเปลี่ยนจากการออกแบบไปก่อสร้างไป(ดีไซน์แอนด์บิวด์) เป็นวิธีออกแบบให้เสร็จและหาผู้รับเหมา(ดีเทล-ดีไซน์) ยกเว้นในส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินให้ใช้รูปแบบดีไซน์แอนด์บิวด์ คาดว่าจะให้วงเงินงบประมาณ 1.65 แสนล้านบาท เท่ากับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

"การใช้รูปแบบดีเทลดีไซน์ทำให้งบประมาณการก่อสร้างลดลง ส่งผลให้รัฐบาลสามารถก่อสร้างเส้นทางเพิ่มจาก 3 สาย เป็น 5 สายภายในวงเงินงบประมาณเท่าเดิม เพราะเราพิจารณาแล้วเห็นว่ารูปแบบดีไซน์แอนด์บิวด์ ใช้วงเงินก่อสร้างสูง มีความเสี่ยง หลักการหลุดหู หลุดตาควบคุมยากไม่ละเอียดเหมือนดีเทลดีไซน์ และอาจมีปัญหาในเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการก่อสร้าง"

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จึงได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาแผนการเงินให้ความชัดเจน รวมถึงการสอบถามความคิดเห็นของประชาชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน รวมถึงการคิดอัตราค่าโดยสารที่เป็นแบบตั๋วร่วมที่ต้องมีการเจรจากับเอกชนอย่างจริงจังตามพระราชบัญญัติ(พรบ.)ร่วมทุนภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ซึ่งเชื่อว่าการใช้ตั๋วร่วมจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะคิดราคาตามระยะทาง หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดทีโออาร์ เพื่อให้ผู้สนใจยื่นซองประมูลในช่วงเดือนมี.ค.50 และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 3-5 ปี

สำหรับโครงสร้างเงินลงทุนจะมีการเจรจากับเอกชนหลายราย โดยเฉพาะธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) ที่เป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ที่เราให้ความสนใจ แต่เราก็มีทางเลือกในแหล่งเงินทุนอื่นด้วยเพื่อไม่ให้เราเสียเปรียบ โดยสัดส่วนการลงทุนนั้น รัฐบาลจะลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ตัวราง ขณะที่เอกชนจะร่วมลงทุนในส่วนของระบบไฟฟ้า การจัดหารถ ซึ่งจะมีการพิจารณาอีกครั้ง

“เรื่องแหล่งเงินกู้เราจะคุยกับเขาด้วยภาษาการเงิน ไม่ใช่ภาษาก่อสร้าง เพราะผมเป็นนักธนาคารเก่า คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เชื่อว่าการเจรจาจะไม่ทำให้การดำเนินงานล่าช้าแต่อย่างใด เราอย่าผูกติดกับแหล่งเงินเพียงเจ้าเดียว ต้องมีการผสมด้วย ไม่เฉพาะจากต่างประเทศทั้งหมด ที่สำคัญต้องดูไม่ให้เสียเปรียบ โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ต้องการให้วันประมูลมีคอนเซปชัดเจนทั้งหมด หากเส้นทางไหนมีความพร้อมก็ให้ดำเนินการก่อน

อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย จะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ เพราะมีความจำเป็นต่อประชาชน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แก้ปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะสายสีแดง และสายสีเขียวที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการมาก

**เปิดฟังเสียงประชาชนถึงสิ้นปี

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.ได้มีการหารือเกี่ยวกับโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯมหานครและปริมณฑล โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในการจัดลำดับความเร่งด่วนของการดำเนินการ 5 สาย 5 เส้นทาง ซึ่ง 5 สายนี้จะมีการออกแบบในรายละเอียดควบคู่กันไปพร้อมกับการพิจารณาวงเงินในการดำเนินงาน ซึ่งจะมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาร่วมกัน โดยภาครัฐจะต้องจัดหางบประมาณส่วนหนึ่ง และภาคเอกชนก็จะเข้ามาดำเนินการส่วนหนึ่ง โดยจะไปพิจารณาในพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ในปีพ.ศ.2535 ที่จะมีการพิจารณารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

“การพิจารณาดำเนินการตกลงใจจะขอรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน โดยจะให้เวลาประมาณ 2 เดือน คือสิ้นปีนี้ และในต้นเดือนมกราคา คณะรัฐมนตรีจะได้รวบรวมมาพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ และส่งความคิดเห็นผ่านมาให้กับทางราชการ โดยส่งมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาตกลงใจของคณะรัฐมนตรีในภาพรวมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งข้อคิดเห็นของภาคประชาชนก็จะครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม เส้นทาง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะขอรับฟังจากประชาชน”พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว

พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคมพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จำนวน 5 สาย โดยการยกเลิกแนวทางการให้รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด 100 % เป็นการให้รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน โดยรัฐจะลงทุนงานด้านโยธา การออกแบบและเวนคืนที่ดิน ส่วนการเดินรถ การจัดหารถ และระบบอาณัติสัญญาณให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติร่วมทุน พ.ศ. 2535

โดยให้ทบทวนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเงินการลงทุน และเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนชนทั้ง 5 สายทาง โดยให้สรุปภายในเวลา 2 เดือน และเสนอให้ที่ประชุมครม.รับทราบ หลังจากปีใหม่ จากนั้นจะสามารถเร่งรัดการดำเนินโครงการในเส้นทางที่มีความพร้อมที่สุด คาดว่าบางเส้นทางจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2550 ส่วนแหล่งเงินนั้นทางกระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะใช้เงินกู้หรือเงินงบประมาณในสัดส่วนอย่างไร

“นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เน้นเรื่องความโปร่งใส โดยหลักการที่ให้เอกชนร่วมทุนในส่วนของการเดินรถและตจัดหารถไฟฟ้านั้น เพราะรัฐลงทุนทั้งหมดไม่ไหว งบจะสูงมาก โดยเรื่องการให้สัมปทานจะปฎิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนมากแต่จะมีการเร่งรัด”รมว.คมนาคม กล่าว

พล.ร.อ.ธีระ ยอมรับว่า รัฐบาลคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับทั้งโครงข่ายที่เชื่อมโยง อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่งจะมีการศึกษารายละเอียดต่อไป ขณะนี้ยังไม่สามารกำหนดเรื่องอัตราค่าโดยสารได้ นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการให้สัมปทานแก่เอกชนเดินรถ ว่าจะเกิดการผูกขาดและการกำหนดค่าโดยสารซึ่งจะมีการกำหนดแนวทางควบคุมต่อไปแน่นอน

สำหรับรถไฟฟ้า 5 สาย ประกอบด้วย

1.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ-บางแค และหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. วงเงิน 52,581 ล้านบาท

2.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 29,160 ล้านบาท

3.สายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กม. วงเงิน 53,985 ล้านบาท

ส่วนช่วง บางซื่อ-มักกะสัน ระยะทาง 8 กม. จะต้องมีการปรับแบบรองรับรถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟทางไกล

4. สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 14,737 ล้านบาท
5.สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง –สมุทรปราการ ระยะทาง 14 กม. วงเงิน 14,939 ล้านบาท

**ศึกษาสีแดงยกระดับรถไฟชุมชน

ด้านนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา โดยเป็นการทบทวนแผนการดำเนินโครงการและปรับรูปแบบการลงทุน เพราะรัฐไม่สามารถลงทุนเองทั้งหมด จึงให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในด้านการเดินรถ จัดหาขบวนรถและระบบอาณัติสัญญาณ ส่วนรถไฟฟ้า 3 สาย (สีม่วง น้ำเงินและแดง) เดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติวงเงิน ประมาณ 1.63 แสนล้านบาทนั้น จะรวมค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าเวนคืนและรวมค่า ตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณอีก 40,000 กว่าล้านบาทด้วย ซึ่งเมื่อแยกงานส่วนเดินรถและอาณัติสัญญาณออกมาแล้ว จะทำให้มีเงินเหลือพอที่จะก่อสร้างได้เพิ่มอีก 2 สายคือสีเขียวเข้มและอ่อน

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้บริษัทที่ปรึกษาการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมในเส้นทางที่เป็นทางยกระดับส่วนเส้นทางใต้ดินจะเป็นแบบ Design & Built ซึ่งอาจจะมีการของบประมาณว่าจ้างออกแบบเพิ่มเติม โดยขณะนี้มีเพียงสายสีม่วงที่มีแบบละเอียด (Detail Dasign) พร้อมประมูลก่อสร้างแต่เนื่องจากต้องรอขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุน ในการให้เอกชนเข้ามาเดินรถ จึงมีความเป็นไปได้ที่สายสีแดงอาจจะได้ประมูลก่อนเพราะเป็นเส้นทางที่อยู่ แนวเขตที่ดินรถไฟและรถไฟจะเป็นผู้เดินรถเอง ไม่ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุน

**สร้างครบ 7 สาย คุมค่าโดยสารได้

โดยจะมีการศึกษาออกแบบเพิ่มเติม ในประเด็นโครงสร้าง เนื่องจากหลักการของสายสีแดงจะมีการยกระดับเส้นทางรถไฟในปัจจุบันที่อยู่ในระดับดินขึ้น เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนที่ทำให้เป็นปัญหาจราจรในเมืองอย่างมาก ตั้งแต่ รังสิต – ดอนเมือง – บางซื่อ ส่วนช่วงบางซื่อ – ยมราช –มักกะสัน จะมีการพิจารณาโครงสร้างที่เหมาะสมต่อไปเพราะเป็นเขตพื้นที่ชั้นในที่สำคัญ โดยจะมีการใช้แนวโครงสร้างเดิมของโครงการโฮปเวลล์ที่สามารถใช้การได้ ส่วนที่ไม่ใช้จะต้องมีการรื้อทิ้ง และเมื่อยกระดับแล้ว จะใช้โครงสร้างระบบรางแบบ 3 Track สำหรับรถไฟฟ้ายกระดับ ที่ขนาด 1.435 เมตรท รถไฟชานเมืองและ รถไฟทางไกล ขนาด 1 เมตร

ผอ.สนข. กล่าวว่า ในส่วนของการว่าจ้างออกแบบรายละเอียดนั้น คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 4 เดือน ให้แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการ คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยกเว้นสายสีเขียวเข้มและเขียวอ่อน ในเบื้องต้นทางสนข.จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกแบบในส่วนต่อขยาย โดยจะต้องมีการประสานกับทางกระทรวงมหาดไทย เพราะแนวเส้นทางที่ต่อขยายอยู่นอกอำนาจรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

นายไมตรีกล่าวว่า กรณีที่ให้สัมปทานเอกชนเดินรถ อาจทำให้มีเอกชนหลายราย ดังนั้นจะมีการจัดตั้งองค์กรกลาง (MTA ) ขึ้นมาควยคุม และมี Regulator ขึ้นมาดูแลควบคุมเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งเชื่อว่าการมีรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 5 สายและรวมกับที่มีอยู่แล้ว 2 สาย จะทำให้ทั้งโครงข่ายมีจำนวนผู้โดยสารถึง 3.5 ล้านคนต่อวัน ซึ่งจะทำให้ สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ต่ำได้

**ธปท.หนุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลอนุมัติสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวดีขึ้น รวมทั้งจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนภาคเอกชนได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดการจ้างงานตามมาด้วย

“หากมีการอนุมัติให้สร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ก็จะยิ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าในช่วงแรกจะใช้เงินเป็นจำนวนมากในการเวนคืนที่ดินหรือการก่อสร้างต่างๆ เพื่อให้เกิดรถไฟฟ้าขึ้น” นางสุชาดากล่าว

**รับเหมาพร้อมชิงงานสร้างรถไฟ

นายอนุกูล ตันติมาสน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK กล่าวบริษัทฯ ในฐานะเป็นหนึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างในประเทศก็ได้เตรียมความพร้อมทั้งเม็ดเงินลงทุน และบุคคลากร เพื่อรองรับการเข้าประมูลงานโครงการดังกล่าว

" จริงๆ แล้วโครงการรถไฟฟ้านี้มีมานานแล้ว และหากมีความชัดเจนก็ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการรับเหมา โดยเชื่อว่าผู้ประกอบการรับเหมาทุกรายมีความพร้อมเข้าประมูลเหมือนกับเราที่เตรียมพร้อมล่วงหน้ามาตลอด โดยจะเข้ามามีส่วนร่วมในทุกโครงการที่มีโอกาส "นายอนุกูล กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2006 7:59 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.แนะก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ควบคู่สรรหาผู้ประกอบการเดินรถ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 พฤศจิกายน 2549 16:38 น.


นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ยังคงมีความเป็นห่วงในเรื่องของเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการเปลี่ยนแบบเบื้องต้นจาก 3 สาย เป็น 5 สาย และการเร่งดำเนินการให้ได้ตามความต้องการของประชาชน แต่แนวทางของรัฐบาลที่ต้องทำไปพร้อมกัน คือความเป็นธรรม โปร่งใส ประหยัด มาประกอบด้วย อาจต้องใช้เวลามาก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการขั้นตอนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และการสรรหาผู้ประกอบการเดินรถ จะต้องมีการดำเนินการควบคู่กัน ทั้งนี้ หากไม่มีบริษัทที่สนใจเข้าร่วมประมูลการเดินรถ อาจมีการพักขั้นตอนต่างๆ ในส่วนของโครงการก่อสร้าง และจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อประชุมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
อย่างไรก็ตาม แบบของโครงการก่อสร้าง ที่ปรึกษาจากต่างประเทศมีเพียงสายสีน้ำเงิน ส่วนสายสีอื่นๆ กำลังขอให้ที่ปรึกษาจากต่างประเทศเข้ามาให้คำปรึกษาด้วย



// ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สนข.ห่วง "ออกแบบควบคู่ก่อสร้าง" อาจส่งผลรถไฟฟ้าเริ่มได้ช้า-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 พฤศจิกายน 2549 18:36 น.


การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกให้รัฐลงทุนก่อสร้างราง และให้เอกชนรับสัมปทานการเดินรถ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารโครงการรถไฟฟ้าเป็นห่วงว่าจะจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดเส้นทาง ตามเป้าหมายเดิมไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถควบคุมอัตราค่าโดยสารได้ เนื่องจากเอกชนที่เข้ามาดำเนินโครงการก็ต้องมุ่งหวังกำไร และมีการจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง
นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. แสดงความเป็นห่วงรูปแบบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เลือกใช้วิธีออกแบบควบคู่กับการก่อสร้าง ว่า อาจจะทำให้การก่อสร้างเริ่มได้ช้าอย่างน้อย 5 เดือน เนื่องจากต้องเสียเวลาว่าจ้างที่ปรึกษาใหม่ และอาจทำให้ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีรายงานว่า ค่าออกแบบจะเพิ่มเป็น 1,200 ล้านบาท
ตั้งแต่นี้ไป สนข. จะเร่งทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประมูล ซึ่งคาดว่าจะได้รายชื่อเอกชนที่ได้รับสัมปทานเดินรถ และผู้รับเหมาก่อสร้างภายในเดือนตุลาคมปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2006 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

ผังแปลนรถไฟฟ้า 3 สายโดยคุณ totomaru
Click on the image for full size

บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพก็ทำผังแปลนเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตกะเขาด้วย
Click on the image for full size

สร้างฝันคนกรุงอีกครั้ง เดินหน้ารถไฟฟ้า 5 สาย

เจาะแนวเส้นทาง สร้างทั้งมุดดิน-ลอยฟ้า เวนคืนกระจายทั่วกรุง
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ( ปรับปรุงแก้ไข โดย TOTOMARU )

หลังจากต้องสับสนกันอยู่นานกับความชัดเจนของการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า จากนี้ไปคนกรุงเทพฯ จะมีรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 5 สาย ภายในปี 2555 นี้ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เห็นชอบให้เดินหน้าโดยรัฐจะลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน และเปิดให้เอกชนลงทุนระบบไฟฟ้า

ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร มีรถไฟฟ้าให้บริการอยู่ 2 เส้นทางคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ลงทุนและบริหารงานโดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( บีทีเอส ) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ใน 2 สายคือ สายสุขุมวิทจากหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลมจากสถานีสยาม-สถานีสะพานตากสิน รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายเฉลิมมหานคร ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม. ) จาก บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 20 กิโลเมตร ให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2547

สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทางที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 165,402 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. เส้นทางสายสีแดง จาก รังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร วงเงิน 53,985 ล้านบาท
2. เส้นทางสายสีม่วง จากบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 29,160 ล้านบาท
3. เส้นทางส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ-บางแค และ หัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร วงเงิน 52,581 ล้านบาท
4. เส้นทางสายสีเขียวส่วนเหนือ จากหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 14,737 ล้านบาท
5. เส้นทางสายสีเขียวส่วนใต้ จากแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 14 กิโลเมตร วงเงิน 14,939 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินการในช่วงปี 2549-2555 โดยเส้นทางที่คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาก่อสร้างได้ภายในปี 2550 มี 2 เส้นทาง คือสายสีม่วงและสายสีแดง ซึ่งมีแบบรายละเอียด เรียบร้อยแล้ว

การตัดสินใจเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลในครั้งนี้ คนกรุงเทพฯ นับล้านชีวิตเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ ว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามนโยบายรัฐบาล หรือจะทำให้ฝันค้างจนชีวิตต้องผจญกับปัญหารถติด มลพิษอยู่ทุกวันโดยที่ไม่มีทางเลือกอื่นในการเดินทางเหมือนที่ผ่านมา

1. รถไฟฟ้าสายสีแดง ( รังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน )
รถไฟฟ้าสายสีแดงสายนี้ เป็นเส้นทางที่จะรองรับการเดินทางจากผู้ที่อาศัยอยู่ทางด้านเหนือของกรุงเทพฯ หลักสี่ดอนเมือง และเขตติดต่อจังหวัดปทุมธานีที่จะเดินทางเข้าเมืองและเชื่อมโยงการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างฝั่งธนฯ และฝั่งกรุงเทพฯ โดยรับการเดินทางจากย่านตลิ่งชัน พุทธมณฑล ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ซึ่งจะเข้ามาเชื่อมระบบรถไฟฟ้าวงแหวนรอบใน สายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อในปัจจุบัน

สำหรับแนวสายทางใช้เขตทางรถไฟสายเหนือ จากรังสิต ไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต ถึงบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ประกอบด้วย

*สถานีรังสิต
*สถานีหลักหก
*สถานีดอนเมือง
*สถานีการเคหะ
*สถานีหลักสี่
*สถานีทุ่งสองห้อง
*สถานีงามวงศ์วาน
*สถานีวัดเสมียนรารี
*สถานีหมอชิต 2
*สถานีบางซื่อ

จากนั้น ใช้แนวทางรถไฟสายใต้เดิม ยกระดับจากสถานีบางซื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินเมื่อข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จากนั้นวิ่งระดับดินไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน บริเวณจุดตัดกับถนนราชพฤกษ์ ในช่วงนี้จะมี

*สถานีหมอชิต 2
*สถานีประชาชื่น
*สถานีบางซ่อน
*สถานีภาณุรังสี
*สถานีบางบำหรุ
*สถานีตลิ่งชัน

ในแนวสายทางนี้จะมีการเวนคืนพื้นที่ในบริเวณที่จะก่อสร้างสถานี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่บุกรุกริมรถไฟ


2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ( บางใหญ่-บางซื่อ )

รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนย่านจังหวัดนนทบุรี บางบัวทอง บางใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยของประชาชน ที่จะเดินทางเข้าเมือง เพื่อมาเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

แนวสายทางเริ่มจากวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ไปตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามถนนรัตนาธิเบศร์จากนั้นเปลี่ยนแนววิ่งลงมาทางถนนติวานนท์ และถนนประชาราษฎร์ถึงบริเวณเตาปูนโดยจะมีทั้งหมด 16 สถานี คือ

*สถานีคลองไผ่
*สถานีตลาดบางใหญ่
*สถานีสามแยกบางใหญ่
*สถานีบางพลู
*สถานีบางรักใหญ่
*สถานีท่าอิฐ
*สถานีไทรม้า
*สถานีสะพานพระนั่งเกล้า
*สถานีแยกนนทบุรี 1
*สถานีศรีพรสวรรค์
*สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
*สถานีกระทรวงสาธารณสุข
*สถานีแยกติวานนท์
*สถานีวงศ์สว่าง
*สถานีบางซ่อน
*สถานีเตาปูน

ในเส้นทางนี้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนไว้แล้ว ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2548 โดยจุดที่จะเป็นทางขึ้น-ลงสถานี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม. ) ได้มีการเจรจาปรับรูปแบบกับเจ้าของพื้นที่ในบางสถานีแล้ว เพื่อให้กระทบการเวนคืนน้อยที่สุด โดยบางแห่งจะใช้วิธีการรอนสิทธิ์ เพื่อให้เจ้าของที่เดิมยังสามารถทำธุรกิจในพื้นที่เดิมได้

เห็นช่วงนึงเค้าเคยบอกว่าจะเพิ่ม สถานีบางซ่อน ใน สายสีม่วง เพื่อให้เชื่อมกับ สายสีแดงเข้ม ( ในปัจจุบัน ) แต่ทำไมความคิดนี้ถึงหายไปก็ไม่รู้


3. เส้นทางส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ( บางซื่อ-ท่าพระ-บางแค ) และ ( หัวลำโพง-ท่าพระ )

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบันได้เปิดให้บริการในช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งในการอนุมัติโครงการของคณะรัฐมนตรีครั้งนี้จะมีการต่อขยายให้เส้นทางครบเป็นวงกลมเพื่อให้บริการคนกรุงเทพฯ ในพื้นที่ชั้นในและภายในวงแหวนรัชดาภิเษกได้อย่างทั่วถึงโดยต่อจากบางซื่อ-ท่าพระ และมีส่วนแยกจากหัวลำโพง-บางแค เพื่อรองรับผู้โดยสารฝั่งธนฯ ในเส้นทางเพชรเกษม บางบอน หนองแขม โดยช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นลอยฟ้าทั้งหมดมี 10 สถานี เริ่มจาก

*สถานีรถไฟบางซื่อ ไต่ยกระดับขึ้นที่สามแยกเตาปูน มี
*สถานีเตาปูน จากนั้นจะอยู่แนวเกาะกลางถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถึงสามแยกบางโพ มี
*สถานีบางโพ แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางประมาณ 300 เมตร มาบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ 94-96 เลี้ยวซ้ายถนนจรัญสนิทวงศ์ มี
*สถานีบางอ้อ บริเวณโรงพยาบาลยันฮีไปตามแนวเกาะกลางถนนจรัญฯ เป็น
*สถานีจรัญฯ 81 บริเวณเขตบางพลัด
*สถานีสะพานกรุงธนบุรี บริเวณแยกบางพลัด
*สถานีบรมราชชนนี บริเวณจรัญฯ 42-44
*สถานีบางกอกน้อย บริเวณซอยจรัญฯ 35
*สถานีพรานนก บริเวณสามแยกไฟฉาย
*สถานีพาณิชย์ธนฯ บริเวณแยกพาณิชยการธนบุรี สิ้นสุดที่
*สถานีท่าพระ ที่สี่แยกท่าพระ

ส่วนช่วงหัวลำโพง-บางแค มีระยะทาง 14 กิโลเมตร มี 11 สถานี เป็นยกระดับ 9 กิโลเมตร 7 สถานี ใต้ดิน 5 กิโลเมตร 4 สถานี เริ่มจาก

*สถานีหัวลำโพง เป็นใต้ดินเข้าถนนพระราม 4 ถนนเจริญกรุง มี
*สถานีวัดมังกร บริเวณซอยเจริญกรุง 23
*สถานีวังบูรพา บริเวณแยกวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย มี
*สถานีสนามไชย บริเวณกระทรวงพาณิชย์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่เข้าถนนอิสรภาพ มี
*สถานีอิสรภาพ บริเวณซอยอิสรภาพ 34 ช่วงเปลี่ยนเป็นยกระดับเข้าสู่
*สถานีท่าพระ ที่แยกท่าพระ จุดนี้จะต้องเวนคืนพื้นที่กว้าง จากนั้นวิ่งไปตามเกาะกลางถนนเพชรเกษม มี
*สถานีบางไผ่ บริเวณโรงพยาบาลบางไผ่
*สถานีบางหว้า บริเวณจุดตัดถนนราชพฤกษ์
*สถานีเพชรเกษม 48 บริเวณซอยเพชรเกษม 48
*สถานีภาษีเจริญ บริเวณฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
*สถานีบางแค บริเวณซอยเพชรเกษม 65/3 และสิ้นสุดที่
*สถานีหลักสอง บริเวณซอยเพชรเกษม 82

ทั้งนี้ในแนวสายทางจะเวนคืนมากในส่วนที่เป็นสถานี โดยเฉพาะสถานีที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะต้องมีปล่องระบายอากาศเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ย่านเยาวราช วังบูรพาและพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างเสนอออก พ.ร.ฎ.เวนคืน

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนเหนือ จาก ( หมอชิต-สะพานใหม่ )

เป็นโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีหมอชิตของรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบัน ไปทางทิศเหนือถึงสะพานใหม่ เป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมด โดยแนวสายทางต่อจากสถานีหมอชิต ตรงข้ามแยกลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านสะพานข้ามแยกรัชโยธิน ตามแนวถนนรัชดาภิเษก สะพานข้ามแยกเกษตร และผ่านอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ บริเวณหลักสี่ไปจนถึงสะพานใหม่ มี 13 สถานี คือ

*สถานีวิภาวดีรังสิต ด้านข้างธนาคารทหารไทยสำนักงานใหญ่
*สถานีลาดพร้าว ด้านหน้าโรงเรียนหอวัง
*สถานีพหลโยธิน 24 บริเวณซอยพหลโยธิน 24
*สถานีรัชโยธิน บริเวณซอยพหลโยธิน 30
*สถานีเสนานิคม บริเวณซอยพหลโยธิน 32
*สถานีบางบัว บริเวณจุดตัดคลองบางบัว
*สถานีกรมทหารราบที่ 11 หน้าทางเข้ากรมทหารราบที่ 11
*สถานีบางเขน หน้าวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
*สถานีพหลโยธิน 57 บริเวณซอยพหลโยธิน 57
*สถานีพหลโยธิน 50 บริเวณซอยพหลโยธิน 50 และ
*สถานีสะพานใหม่ บริเวณซอยพหลโยธิน 52

ส่วนใหญ่จะใช้แนวถนนในการก่อสร้างรางและสถานี จึงไม่มีการเวนคืน

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนใต้ จาก ( แบริ่ง-สมุทรปราการ )

เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีแนวสายทางต่อขยายจากการก่อสร้างต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง ที่ กทม. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยจะสร้างต่อจากซอยแบริ่ง ( สุขุมวิท 107 ) ไปตามแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านสำโรงไปจนถึงสมุทรปราการ โดยจากสถานีอ่อนนุช ไปถึงซอยแบริ่ง มี 5 สถานี ได้แก่

*สถานีบางจาก
*สถานีปุณณวิถี ที่ปากซอยสุขุมวิท 101
*สถานีอุดมสุข ปากซอยอุดมสุข และ
*สถานีบางนา
*สถานีแบริ่ง หน้าปากซอยสุขุมวิท 107

ส่วนที่เหลือ คือ

*สถานีเอราวัณ อยู่บริเวณซอยอุดมเดช
*สถานีโรงเรียนนายเรือ อยู่ตรงข้ามโรงเรียนนายเรือ
*สถานีศาลากลาง บริเวณแยกศาลากลาง
*สถานีศรีนครินทร์ อยู่ใกล้ซอยเทศบาลและถนนศิริราษฎร์ศรัทธา
*สถานีแพรกษา ติดบิ๊กซีและโรงเรียนสมุทรปรการ
*สถานีสายลวด ติดซอยเทศบาลบางปู 45 และ
*สถานีเคหะสมุทรปราการ หน้าการเคหะสมุทรปราการ และอยู่เยื้องกับโรงเรียนบ้านคลองหลวง

ส่วนใหญ่ใช้แนวเกาะกลางถนนในการก่อสร้างรางและสถานีจึงไม่มีการเวนคืน
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 13/11/2006 10:36 am    Post subject: Reply with quote

เฮ่อ...อย่างน้อยๆ ความฝันคนกรุงและปริมณฑลจะได้สู่ความจริงเสียที 8)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 228, 229, 230  Next
Page 4 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©