RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179946
ทั้งหมด:13491178
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2006 12:33 am    Post subject: ทุรยุค Reply with quote

13 ตุลาคม 2476
เวลา 0300 ทหารเรือนำโดย นาวาเอกพระยาวิชิตชลธี (ผบ ทร) ไม่ยอมทำเพราะปืนใหญ่เรือรบ เป็๋นปืนวิถีราบ ไม่เหมาะจะยิงถล่มระยะๆไกลโดยไม่มีตารางการยิง และแผนที่บอกพิกัด เมือ่วังปารุสการยินยันจะให้ยิง

หลวงอำนวยสงคราม ได้นำกำลัง ร.พัน 8 ขึ้นรถไฟที่หัวฃลำโพง พร้อมขบวนรถ ขต. บรรทุกรถถัง 76 ที่ขับจากสะพานแดงมาหัวลำโพง พร้อมรถ ปตอ. 76 ก่อนมาจัดกระบวนใหม่ที่บางซื่อ (กม. 7.79) โดยให้ขบวนซ้าย (ฝั่งโรงปูน) เป็นของ ร. พัน 8 และ ขบวนขวาเป็นกองหนุน เพื่อยันทัพปฏิวัติ ที่ประกอบด้วย ร. พัน 15 ร. พัน 16 และ ป พัน 6 (นครราชสีมา ทั้ง 3 กองพัน) ซึ่งรุกจากฐานทัพดอนเมือง มายังสถานีบางเขน

รถ ขต. บรรทุก รถถัง 76 อยู่หน้าสุด ถัดมาเป็นรถจักรดีเซลที่หลวงอำนวยสงครามบัญชาการจากนันเป็นรถขต. บรรทุกรถถังคันที่ 2 จากนั้นเป็นรถ บขส.2 คันบรรทุกทหาร จาก ร.พัน 8 โดยให้ บขส. คันแรกบรรทหาร กองร้อย 4 พร้อมปืนกลหนัก 66 จำนวน 8 กระบอก บขส. คัน 2 บรรทุก ทหาร กองร้อย 1 และ 2

ตอนแรกได้แต่ยิงขู่กันทั้ง 2 ฝ่าย เวลาดึก เกิดฝนตกหนัก ต้องชะลอทัพทั้ง 2 ฝ่าย ทหารต้องนอนใต้รถ ขต. ราบไปกะไม้หมอน

เวลา 1345 ราชนาวีนำโดย นาวาเอกพระยาวิชิตชลธี (ผบ ทร)ประกาศตนเป็นกลาง นำเรือไปทอดสมอที่สรรพาวุธบางนา

ขณะเดียวกันรัฐบาลได้ออกแถลงการลงขชื่อพระยาพหลพลพยุหเสนา เปนการโฆษณาชวนเชื่อทำให้ รพัน 9 หันมาเป็นทหารรัฐบาลทันที และ ทหารลำปาง พิษณุโลก ลพบุรี นครสวรรค์
ก็พากันสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาล ตามทหารปราจีนบุรีด้วย ... เพราะ รัฐบาลจะไม่เอาโทษแก่ทหารที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลแต่โดยดี แม้แต่ทหารอากาศดอนเมืองก็ขับเครื่องบินนเบรเกต์
ร่อนลงสนามหลวง 3 ลำ ทำให้สิบตรี เสริม ชุมแสง ทหารนักบินกดอนเมืองกลายเป็นร้อยตรีทันที

ขณะเดียวกันพระยาเสนาสงครามไปเกลี่ยกล่อมทหารปืนใหญ่นครสวรรค์มาเป็นพวก แต่ไม่ได้เอารถถ ขต ขนปืนใหญ่ไปด้วย ทำให้ทหารปืนใหญ้เอาได้แต่ปืนเล็ก ปืนกล
พอถึงสถานีโคกกระเทียม ก็เจอทหารปืนใหญ่ และ ทหารนักบินจากโคกระเทียม (ร้อยเอกสันทัดยนตรกรรม - โทน บินดี) ถล่มรถไฟของพลตรีพระยาเสนาสงคราม
ด้วยกระสุนซ้อมยิง ที่หล่อปูนซีเมนต์ ทำให้ต้องเผ่นกลับนครราชสีมา ส่วนพระยาเสนาสงคราม ต้องปลอมตัวลงเรือยนต์ จากปากน้ำโพมายังดอนเมือง


14 ตุลาคม 2476 เวลาเช้า หลวงอำนวยสงครามได้เคลื่อนทัพรุกเข้าหาข้าศึก อย่างช้าๆ เข้าสถานีบางเขน (กม. 13)

เวลา 1000 เศษ พันเอกหลวงสงคราม (ถม เกษะโกมล - แม่ทัพรัฐบาล ผบ. ร. พัน ๘) ถูก ทหารฝ่ายพระองค์เจาบวรเดช ยิงปืนกลเบา ทะลุกระจกรถจักรดีเซล เข้าที่กกหู 2 นัด ถึงแก่กรรม ขณะบัญชาการทัพที่สะพานข้าคลองบางเขน หน้าวัดเทวสุนทร (วัดแคราย) เลยต้องรีบถอยรถ นำร่างหลวงอำนวยสงคราม ห่อผ้าแบล็งเกตนำไปเก็บที่ กองพัน บางซื่อ

จากนั้น พันโหลวงพิบูลย์สงครามนำ ปตอ 76 และ ปืนใหญ่ภูเขา 63 ถล่มรังปืนกลและทหารโคราช ของ ฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช ไม่ให้รุกมาถึงสถานีบางเขน ถึงขั้นสั่งให้ ร้อยโทบุศรินทร์ ภักดีกุล ยิง ปตอ 76 ถล่มศาลาการเปรียญและผนังโบสถ์วัดเทวสุนทรซึ่งมีรังปืนกลทหารโคราช ก่อนสั่งให้พันตรีหลวงพรหมโยธี (ผบ. ร. พัน 3) ส่งกำลังกวาดล้างในบั้นปลาย ทำให้พันโทหลวงจรูญฤทธิไกร (ผบ. ร. พัน 16 นครราชสีมา) ต้องถอนตัวมายังสถานีหลักสี่ พร้อม ขอกำลังเสริมจาก ดอนเมือง ก่อนทำลายสะพานข้ามคลองบางเขน มากวาดล้างสำเร็จเวลา 1100

เวลา 1130 พันตรีหลวงอาจรณรงค์ ผบ ม. พัน 3 (นครราชสีมา) สั่งให้ พันโทหลวงจรูญฤทธิไกร จัดปืนกลลเบา 2 กระบอก ไปช่วยแนวรบ

เสียงปืนใหญ่ปืนกล ปตอ. ลั่นไปถึงเชียงราก บางปะอิน และ สุพรรณบุรี Shocked

จากนั้นหลวงพิบูลสงครามสั่งให้ถล่มสถานีหลักสี่แต่อย่าให้ถูกเสาอากาศสถานีวิทยุคลื่นสั้น (บริเวณกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ปัจจุบัน) ผลคือยิงดดนสถานีวิทยุ ไล่คนที่ซ่อนตัวออกมา

ขณะนั้นมีการนำแท็กซี่บรรทุกทหารรัฐบาลไปเสริมกำลังที่บางซื่อ ขณะที่วิทยุกรมโฆษณาการได้สั่งให้ชาวบ้านย่าน บางเขนบางซื่อ สะพานแดง อพยพด่วน

เวลา 1600 เศษ รถถัง 73 และ รถ ปตอ 76 ของ ร.พัน 3 ได้ขึ้น รถขต. ในบังคับของ พันตรีหลวงกาจสงคราม ที่บางซื่อ เพื่อ กวาดล้างทหารกบฏ ที่เหลือ โดยจัดขบวนดังนี้

รถ ขต. บรรทุก ปืนใหญ่ 63 ในความควบคุมของ ร้อยโท ขุนศุกรนาคเสนีย์ พร้อมนายสิบปืนใหญ่ 1 นาย พลทหารปืนใหญ่ 4 นาย
รถขต. บรรทุก รถ ปตอ 76 ในความควบคุมของ ร้อยโทบุศรินทร์ ภักดีกุล
รถโบกี้ถังน้ำ เบอร์ 4 บรรจุน้ำเต็ม 25000 ลิตร
รถขต. บรรทุก รถถัง 73 จำนวน 2 คัน ร้อยโท ไชย ประทีปเสนควบคุม
รถ ขต. 2คัน บรรทุกทหาร รพัน 9 (ปราจีนบุรั) 1 หมวด ในบังคับบัญชาของขุนเฟื่องขบวนรถ
รถ พห มี พนักงานรถไฟ คนเดียว นอกนั้นเป็ทหารของหลวงกาจสงคราม
รถจักรไอน้ำขนาดกลาง 1 คัน

ส่วนขบวนซ้ายของพันตรีหลวงพรหมโยธี ประกอบด้วย
รถ ขต บรรทุกปืนใหญ่ 63 พร้อมนายสิบปืนใหญ่ 1 นาย พลทหาร 4 นาย จาก ร พัน 9
รถ ขต บรรทุกรถถัง 76 ของ ร้อยโทแสวง ทัพภสุต
รถ ขต. บรรทุก รถถัง 73 จำนวน 2 คัน ร้อยโท ไชย ประทีปเสนควบคุม
รถ ขต.2 คันบรรทุกทหาร รพัน 9 จำนวน 1 หมวด
รถ พห มี พนักงานรถไฟ คนเดียว นอกนั้นเป็ทหารของหลวงพรหมโธ
รถจักรไอน้ำขนาดกลาง

เวา 1700 รถไฟ 2 ขบวนดินทางช้าๆ ถึงสะพานบางเขน ต้องหยุดรอให้ พันโทพระอุดมโยธาธิยุทธ พร้อมทหารช่างและ คนงานรถไฟ ซ่อมสะพาน

เวลา 1400 พันเอกพระศรีสิทธิสงครามสั่งให้พันโทหลวงจรูญฤทธิไกรอ้อมไปตีปีกขวาของกองทัพรัฐบาล เวลา 1600 พันเอกพระศรีสิทธิสงครามสั่งให้ มพัน 4 ยึดวัดหลักสี่ ซึ่งเป็นการเดินทางที่ทุลักทุเล เพราะต้องแบกปืนกลพร้อมกระสุน 600 นัดลอยคอตามแนวคู กินเวลากงว่า 1 ชัโมงถึงคันคลองขุด จากนั้นหยุดพัก 15 นาทีถึงเดินทางต่อ เวลา 1800 ถึงทิศเหนือ คลิองบางเขน 500 เมตร จึ่งสั่งยึดเรรือทั้งหมดที่มีอยู่ในบริเวณ ขนทหารออกไปตามแผน

เวลา 2030 พันเอกพระยาเทพสงคราม (เลขาธิการทัพ) สั่งให้ร้อยเอก หลวงโหมรอนราญ นำทหารม้า (ม. พัน 4 สระบุรี) มพัน 3 ที่ หลักสี่ ซึ่งทำลายยแผนการรุกโดยการโอบปีก ของ ร้อยเอก หลวงโหมรอนราญโดยสิ้นเชิง ทหารม้าต้องเดินลุยน้ำจนรองเท้าขาด โดนหนามต้นมะขามเทศตำเท้ากัน

เวลา2400 มพัน 4 ถึงทำนบกั้นน้ำ ต้องหยุดทัพเพราะทหารม้าเหนื่อย เพราะต้องลอยคอ ลุยน้ำ กลับไปกลับมา ต้องปูใบไม้นอนตามคันคลอง

วันที่ 15 ตุลาคม 2476 เวลา 0700 ทหารรัฐบาลได้รับแจกข้าวห่อ 2 มื้อ มื้อเช้าเป็นข้าวไข่เค็มปลาทูทอด มื้อกลางวันเป็น ข้าวผัดไข่ดาว พอกินเสร็จก็รุกทันที
พันตรีหลวงวิชิตสงคราม รุกจากบางซื่อไปตลาดบางเขน

เวลา 0730 ร้อยตรี สลับ เรขารุจิ ได้มารายงานตัวกับพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งยึด หมู่บ้านข้างคลองเปรมประชากรเป็นที่มั่น

เวลา 0850 ม. พัน 3 (โคราช) ยิ่งถล่มทหารรัฐบาลที่ตลาดบางเขนก่อน จากนั้นทหารรัฐบาลตีโต้กลับ จนทหารราบ รพัน 15-16 และ ทหารม้า ม พัน 3 ต้องแตกร่นจากคันคลองเปรม มารวมกะมพัน 4 เวลา 1200

เวลา 1400 พันตรีหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหวัน) ทหาร พัน 9 จำนวน 2 หมวดซึ่งแปรพักตร์มาเข้ากับรัฐบาล ไล่ล่าทหารม้าของหลวงอาจรณรงค์ (ม พัน 3) ห่างจากแนวของ หลวงโหมชิงชัย (ม พัน 4) แล้วได้ยิง ถล่มที่ว่าการอำเภอบางเขนเพื่อล่อฝ่ายตรงข้าม ก่อนใช้กำลังที่คลองเปรม ยันทัพข้าศึกให้ถอยไปที่หลักสี่

เวลา 1700 ยึดที่ว่าการอำเภอบางเขน พบปืนเล็ก 20 กระบอก ปืนกลเบา 2 กระบอก กระสุนหลายร้อยนัด อาหารกระป๋อง และพลทหารข้าศึกนอนป่วย 4 นายจากนั้นให้ขุดสนามเพลาะ

ขณะนั้นที่ ฐานทัพปฏิววัติที่ดอนเมือง ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก พันตรีหลวงหาญสงคราม (เสนาธิการที่จบจากฝรั่งเศส) ได้ยิงตัวตายประท้วง จนต้องฝั่งไว้ที่วัดดอนเมือง พระยาศรีสิทธิสงครามได้กระซิบบอกให้ หม่มเจ้า สุขปรารภ กมลาสนี ด้วยภาษาเยอร์มัน ก่อน สั่งให้ พระยาเสนาสงคราม สั่งให้พนักงานรถไฟ ปล่อยรถจักรฮาโนแมกซ์ เบอร์ 277 เป็นตอปิโดบก ถล่มรถไฟของรัฐบาล โดยให้นายอรุณ บุนนาค ขับตอปิโดบก คันดังกล่าว

เวลา 1700 รถไฟทั้งโบกี้ และ รถจักรถอยหน้าถอยหลัง ที่สถานีหลักสี่อย่างผิดสังเกต เวลา 1720ขบวนค่อยๆ เคลื่อนมาทางทหารรัฐบาล

เวลา 1730 ปืนใหญ่รัฐบาล 4 กระบยอกปล่อยกระสุนยิงรถโบกี้ตกราง แอต่รถจักรฮาโนแม็กก็ยังพุ่งเข้ามาชนรถของรัฐบาล ปืนใหญ่ ปตอ. และปืน ยิงตอบโต้แต่โดนแค่ เสื้อหุ้มหม้อน้ำ แม้ปืนใหญ่จะยิงโดนห้องคนขับก็หยุดไม่อยู่ จะยิงต่อ โดยการกดปากกระบอกปืนก็ติด รถ ขต. รถจักรฮาโนแม็ก ได้เสยเอา รถ ขต บรรทุกปืนใหญ่ 63 ตกคูและดันรถโบกี้บรรทุกน้ำเบอร์ 4 จึงเริ่มหมดฤทธิ์ แต่รถขต. บรรทุกทหาร เริ่มแกว่ง เหวี่ยงทหารจนกลิ้งโค่โล่ ออกจากตัวรถ รถขตต. ทหารตกราง ไป อีก 3 คัน ทหารต้องดดนหนีเอาตัวรอดลงคู ไปตามๆกัน

ผล หลวงกาจสงครามบาดเจ็บ หูแหว่ง ร้อยโทหลวงศุกรนาคเสนีย์ โดนรถปตอ. 76 ทับตายจนพุงอืด ห้อยหัวลงมา พร้อมทหาร ปตอ. อีก 2 นาย นายร้อยน่วม ทองจรรยา นอนตายข้างรถ ทหารดดยรถขต. ที่ตกรางทับตาย อีก 9 นาย รวมเป็น 13 นาย หลวงพรหมโยธีต้อง ถอยรถขบวนซ้ายออกไปจากรถขบวนขวาที่โนรถฮาโนแม็กชน 1000 เมตร และ ได้สับประแจไปอีก 150 เมตร เพื่อกันรถตอปิโดบกมาว้ำอีก

งานนี้ กองทัพรัฐบาลชงัก ทำให้ กองทัพ กบฏ ถอยร่นมายังโคราชได้

วันที่ 16 ตุลาคม 2476 หลังจากปล่อยตอปิโดบกแล้ว ทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชนำโดยนายพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามได้รวบรวมกำลังทั้งหมด ถอยร่นสู่ภาคอิสานโดยทางรถไฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขบวน ที่ต้องใช้เวลานานก็เพราะพระองค์เจ้าบวรเดชท่านไม่ยอมให้ทหารของพระองค์ต้องตกเป็นเชลยฝ่ายรัฐบาลแม้แต่นายเดียว ทั้งๆที่ทหารทุกนายอยากจะหนีให้พ้นจากดอนเมืองโดยเร็วที่สุด

เวลา 0200 รถไฟนำกำลังถอยทัพออกจากสถานีดอนเมือง โดยขบวนที่ 1 คือ ม.พัน 3 (นครราชสีมา) และ ม. พัน 4 (สระบุรี) ซึ่งมาถึงดอนเมืองเวลาเกือบ 2 ยาม ของวันที่ 15 ตุลาคม พอกินข้าวเสร็จก็นอนหลับเป็นตายในโบกี้รถไฟเลยทีเดียวเพราะเหนื่อยจากการรบประวิง
เวลา นอกจากนี้ ป. พัน 5 และ ป. พัน 6 (นครราชสีมา) ได้นำปืนใหญ่ขึ้นรถ ขต. ไปด้วย ทั้งๆที่บางกระบบอกไม่ได้มีการยิงอะไรเลย เนื่องจากกระสุนถูกรัฐบาลสั่งถอดนัดดินไปตั้งแต่ก่อนการยกทัพมาดิอนเมือง ทำให้มีแต่กระสุนซ้อมยิงที่หล่อซีเมนต์มาเท่านั้น

ขบวนที่ 2 เป็นทหารราบ รพัน 17 (อุบลราชธานี) นำโดยพันตรีหลวงพลเดชวิสัย ซึ่งยังสดชื่นเพราะเพิ่งมาสมทบวันที่ 14 ตุลาคม นอกนั้นเปนทหารราบโคราช รพัน 15 ซึ่งเหนือยมาจากสนามรบ จนนอนหลับเป็นตายในรถ

ขบวนที่ 3 เป็นทหารราบโคราช รพัน 16 กับทหารช่างอยุธยาของพันตรีหลวงลพบาดาล และ พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ได้เสด็จมาในขบวนนี้ด้วย พอถึงสถานีคลองรังสิต (กม. 29) จึงหยุดรถรับพระอนุชาของท่าน (หม่อมเจ้า สิทธิพร กฤษฎากร) ขึ้นขบวนไปด้วย เนื่องจาก พระอนุชาในพระองค์เป็นที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง และ พระอง์เจ้าบวรเดชได้ร่างหนังสือกราบบังคมทูลให้ในหลวงรับทราบโดยให้นักบินนำใส่กระบอกเกตุทัศ (กระบอกนำสาร) ทิ้งที่สวนไกลกังวล หัวหิน

ขณะนั้น ผู้บังคับการกองพันอิสระเพชรบุรีได้รับการทาบทามจากพระยาสุรพันธ์เสนีย์ ข้าหลวงจัเทศาภิบาลเพชรบุรีให้เข้ารวมกับฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งได้นำกำลังจากภาคเหนือและภาคอีสานไม่ต่ำกว่า 3 กองพัน ยึดดอนเมืองแต่วันที่ 11 ตุลาคม และได้เปิดฉากโจมตีรัฐบาลในวันที่ 12 ตุลาคม หลังจากรัฐบาลประกาศกฏอัยการศึก โดยตามแผนจะให้ทหารเพชรบุรีและราชบุรียึด สถานีบางกอกน้อยและสะพานพระราม 6 พร้อมฝั่งธนบุรี เพื่อให้รัฐบาลยอมแพ้แต่โดยดี

วันที่ 13 ตุลาคม 2476 ในที่สุด พันตรี หลวงสรสิทธยานุกร ผู้บังคับการกองพันอิสระเพชรบุรี ได้ตัดสินใจร่วมหัวจมท้ายกับพระองค์เจ้าบรวเดชตามมติคณะนายทหารเพชรบุรี โดยประกาศ กฏอัยการศึกก่อน แล้วให้ระดมทหารกองหนุน 7 ปีซ้อน เพื่อเพื่มกำลังทหาร จาก 600 นาย เป็น 2000 นายตามแผน

จากนั้นวันที่ 14 ตุลาคม 2476 จึงให้อำนาจตามกฏอัยการศึกทั่วมณฑลเพชรบุรี

1) ยึดสถานีเพชรบุรี พร้อมกักรถตู้ทุกตู้ เพื่อใช้ในการทหาร
2) กักขบวนรถไฟทุกขบวน และ รถทุกคัน ไม่ให้ผ่านไปหัวหิน
3) ส่งทหารยึดสถานีบ้านน้อย (ปัจจุบันคือสถานีเขาย้อย) รอยต่อแดนกับราชบุรี

ขณะนั้นเองทหารราชบุรีได้ประกาศร่วมหัวจมท้ายกับรัฐบาล ทั้งๆที่อยู่ห่างกันแค่ 60 กิโลเมตร
โดยเย็นวันที่ 14 ตุลาคม 2476 พันตรีพระพิชัยศรแผลงได้นำกำลังทหารปืนใหญ่ 2 กองร้อย ไปสมทบกับรัฐบาล ถึงบางกอกน้อย เวลา 3 ทุ่มเศษๆ พอพบหน้าพันโทหลวงพิบูลย์สงคราม ก็ได้รับคำสั่งให้ทหารปืนใหญ่ราชบุรีกลับที่ตั้งด่วนที่สุด เพราะ ทางเพชรบุรีแข็งเมืองโดยประกาศกฏอัยการศึกพร้อมระดมพล ต้องให้ทหารราชบุรี ไปสกัดทัพไม่ให้ทหารเพชรบุรีผ่านราชบุรีไปได้
ทำให้ทหารราชบุรีอดนอน เพราะต้องไปตั้งแนวรับหน้าเมืองราชบุรีเพราะทหารเพชรบุรียกทัพเข้าเขตราชบุรีตั้งแต่บ่ายวันที่ 14 แล้ว Shocked

วันที่ 16 ตุลาคม 2476 พันโทหลวงพิบูลย์สงคราม ได้สั่งให้ทหารรัฐบาลรุกไปข้างหน้า เพื่อยึดดอนเมือง แล้วลงมือกวาดล้างทหารฝ่ายตรงข้าม ก็ได้พบบรรดาเชลยศึกได้แก่ พันตำรวจเอกพระกล้ากลางสมร สันติบาลผู้ตกเป็นเชลยตั้งแต่กระสุนนัดแรกที่ปากช่อง เมื่อ 11 ตุลาคม 2476 ร้อยเอกเทวฤทธิ์พันลึก ผู้ตกเป็นเชลยโดยไม่รู้อะไรด้วยเพราะบินจากฐานบินโคกกระเทียมมาดอนเมือง และเรือเอก เสนาะรักธรรม นักบินทหารเรือที่มาฝึกบินที่ดอนเมือง

ขณะนั้นรัฐบาลได้แปรสภาพสนามหลวงเป็นสนามบินให้นักบินที่สวามิภักดิ์กับรัฐบาลได้นำเครื่องลง ก่อนจะได้รับงานทิ้งสาร และ ใบปลิวทำลายขวัญ และ เมื่อขุนรณนภากาศ นำเครื่องลงที่ดอนเมือง เมื่อตอนสาย 16 ตุลาคม จึงรู้ว่าทหารนักบินที่ดอนเมืองได้ยกธงขาวยอมแพ้ต่อทหารรัฐบาลแล้ว จากนั้นทหารรัฐบาลจึงปรับกำลัง โดยให้ ร.พัน 8 กลับไปพัก แล้วให้ ร.พัน 3 และ ร.พัน 9 รับช่วงต่อ รพัน 4 ยึดดอนเมืองแล้ว ให้ รพัน 7 ของหลวงชำนาญยุทธศิลป์ ช่วยแปรสภาพเป็นกองบัญชาการช่วยรบ โดยเตรียมฝ่ายพลาธิการไว้

รพัน 6 ของ พันตรีหลวงวีรโยธา นั้นเกือบถูกหลวงพิบูลย์สงครามสั่งปลดอาวุธเนื่องจากทำตัวเป็นหอกข้างแคร่ เนื่องจากมีที่มั่นหลังวังปารุสกาวัน (ปัจจุบันคือ พล 1 รอ) แถมยังนับถือพระยาทรงสุรเดชซึ่งเป็นหนามแทงใจหลวงพิบูลย์สงครามยิ่งนัก กว่าจะเจรจากับ ผบ.ทบ. (พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา - นายกรัฐมนตรี) ในวังปารุสกาวัน ให้นำ ทหารร้อย 4 (ปืนกลหนัก) และ ทหารร้อย 1 ไปหัวลำโพงเพื่อสับเปลี่ยนกำลัง กับ รพัน 4 (ท่าพระจันทร์) แต่กว่าจะได้ไปจริงๆก็เย็นวันที่ 16 ตุลาคม 2476 แทนที่จะเป็นตอนบ่ายเพราะ รัฐบาลไม่จัดรถบรรทุกไปให้ Sad

ร้ายกว่านั้นตอนที่หลวงวีระโยธานัดพบ พลวงพิบูลย์สงคราม ที่บางซื่อก็ไม่ได้พบ เพราะติดภารกิจที่ดอนเมือง และ พันเอก พระสิทธิเรืองเดชพลสั่งให้ รพัน 6 หยุดรอที่ บางซื่อก่อน พอหลวง พิบูลสงครามมาพบ รพัน 6 ที่บางซื่อ ไม่ยอมเคลื่อนขบวนก็ชักหัวเสีย เกือบได้ยิงกันเองก็คราวนี้เอง นี่ดีนะที่พบรรดานายทหาร ช่งวยกันเจรจา และ ขวางไม่ให้ผู้บังคับกองผสมรัฐบาลได้ยิงกัน ที่สุด รพัน 6 ถึงได้ออกจากบางซื่อไปสับเปลี่ยนกำลังกับ รพัน 4 สำเร็จ

จากนั้น หลวงพิบูลย์สงครามให้ พันโทพระประจนปัจจานึก รับหน้าที่ ผู้บังคับกองผสม แทนตน
และให้ หลวงวีระโยธา ไปรับหน้าที่แทนหลวงพรหมโยธี จากนั้นจึงตรงไปเตรียมรบที่ชุมทางบ้านภาชี ซึ่งตอนนั้นมีทหารพรรคนาวิกโยธิน และ ทหารพรรคนาวิน 21 นาย ในบังคับของ หลวงศุภชลาศัย ที่ลงเรือสุริยมณฑล มาสมทบด้วย

เวลานั้นพระยาศรีสิทธิสงคราม ได้ต้งแนวรบในดงพระยาเย็นจากสถานีปากช่องมายังนครราชสีมา และให้ทหารช่างอยุธยาของหลวงลพบาดาล ทำลายสะพานและทางรถไฟเพื่อไม่ให้ทหารรัฐบาลรุกได้สะดวก หลังจากที่ขบวนรถจากดอนเมืองขบวนสุดท้าย มาถึงปากช่อง เวลา 1300 ของวันที่ 16 ตุลาคม พอ 1400 ถึงได้เป่าแตรประชุม ขณะนั้นขวัญและกำลังใจของทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช ระสำระสายอย่างหนัก ทหารแตกทัพไปสวามิภักดิ์กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นต้องยุบ รพัน 15-16 เป็น 1 กองพันทหารรับ มพัน 3-4 เป็น 1 กองพันทหารม้า ปพัน 5-6 เป็น 1 กองพันปืนใหญ่ และให้ ทหารอุบล (รพัน 17) เป็นกองหนุน รักษาเมืองโคราช
แต่เอาเข้าจริง รพัน 17 เตลิดโลดกลับฐานที่อุบล และรือ้ทำลายรางแผสะพานรถไฟ จากจันทึก ถึงโคราช ไม่ไห้ติดตามได้

พันตำรวจเอกพระขจัดทารุณกรรม (ผบ. ตำรวจภูธร) และ พันตำรวจตรีหลวงสุนทรพิทักษ์เขต (รองผบ. ตำรวจภูธร) เชลยที่ทหารบวรเดชจับกุมตัวจึงสบโอกาสหนีตามทหารอุบล เพื่อสั่งการให้ตำรวจในอัสานตอนล่างแปรสภาพเป็นกำลังของรัฐบาล

ส่วน ร พัน 18 (อุดรธานี) นั้น รั้งรอดูสถานการณ์ไปก่อน เนื่องจากต้องเคลื่อนทัพ จากอุดรธานีไปขึ้นรถไฟที่ขอนแก่นด้วยรถยนต์ตามทางเกวียน ซึ่งลำบากมากเพราะทางหลวงไม่มี พอได้ข่าวว่าทหารปฏิวัติแตกทัพมาดงพระยาเย็นก็เลยแปรพักตร์เป็นทหารรัฐบาลอีกหน่วย

ดังนั้น พลตรีพระยาเสนาสงครามจึงเปิดศึกชิงเมืองโคราชด้วยทหารม้าและทหารราบโคราช ซึ่งได้มาโดยง่ายเนื่องจาก ทั้งตำราจภูธรและ ทหารอุดร ไม่กล้านำทัพอกมาตี เพียงแต่ตั้งแนวสกัดตั้งแต่สถานีลำปลายมาศ เท่านั้น

17 ตุลาคม 2476 หลวงพิบูลย์สงคราม นำคณะนายทหาร เช่น ร้อบยโท เนตร เขมะโยธิน ร้อยตรี สุรจิต จารุเศรนี ขึ้นรถไฟไปเพชรบุรี เพื่อสมทบกับทหารราชบุรี แล้วเปิดการเจรจากับทหารเพชรบุรีก่อน ถ้าไม่ได้เรื่อง ก็ให้เผด็จศึกทหารเพชรบุรีเลย

ขณะนั้นมีพลอาสามาร่วมรบกับทหารเพชรบุรี ร่วม 2000 นาย เพราะต้องการรบเพื่อราชบัลลังก์ให้ในหลวง ถึงขั้นต้องแบ่งเครื่องแบบไปใส่ครึ่งท่อน คือ คนหนึ่งได้เสื้อ อีกคนได้กางเกง อีกคนได้หมวก แต่ไม่มีเสื้อกางเกงให้ แต่พอได้ข่าววิทยุว่าทหารบวรเดชถูกกวาดล้าง ผบ พันอิสระ ต้องสั่งเลิกทัพทันที และให้ตั้งแถวยอมแพ้แก่ทหารรัฐบาล และยอมปลดอาวุธทหารเพชรบุรีที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาน้อย) ห่างจากสถานีเพชรบุรี 10 กิโลเมตร เนื่องจากไม่ต้องการให้พลอาสา และ ชาวเมืองเพชรต้องสะเทือนใจไปมากกว่านี้ พอ ผบ. พันอิสระ เจอหน้าหลวงพิบูลสงคราม ก็บอกให้เอาตนไปยิงเป้า แต่ หลวงพิบูลสงคราม ท่านปลอบ ถ้ายอมแพ้แต่โดยดีเช่นนี้ก็จะไม่ทำอันตรายใดๆ นอกจากการลงโทษตามควร

จากนั้นรัฐบาลได้เปิดทางรถไฟไปภาคใต้ แล้วส่งพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นทูตเจรจาให้ในหลวง เสด็จจากสวนไกลกังวลพระนคร ซึ่งผิดพระราชประสงค์อย่างแรง เพราะการกลับพระนครถือว่าในหลวงยอมแพ้ตาม ทหารเพชรบุรี จะเป็นการเสือมพระบรมเดชานุภาพ

17 ตุลาคม 2476 ขณะถอนทัพมาที่สถานีจันทึก รอยร้าวฉานระหว่างพระองค์เจ้าบวรเดชและพระยาศรีสิทธิสงครามก็เริ่มปรากฏเด่นชัดขนาด พระองค์เจ้าบวรเดชมอบการบังคับบัญชาทหารทั้งหมดให้ พลตรีพระยาเสนาสงคราม แทนพันเอกศรีสิทธิสงคราม ผู้ริเริ่มการกบฎตัวจริง ส่วนพันตรีหลวงโหมชิงชัย (เวก สู่ชัย) เสนาธิการ หน้าซีด ท่าทางเสียสติไปแล้ว หลังจากที่ได้ยินจากปากแม่ทัพเรื่องหารมอบการบังคับบัญชาและการคาดคะเนว่าในหลวงจะเห็นชอบเรื่องหาทางสู้เพื่อตัดอำนาจรัฐบาลทั้งๆที่ หมดทางชนะแล้ว

ตอนนั้นทหารโคราชเสียขวัญอย่างหนักหลังได้ข่าวว่าทหารเพชรบุรียอมแพ้แล้ว ถึงขั้นแตกทัพหนีไปสวามิภักดด์ต่อรัฐบาล

คืนวันที่ 17 ต่อวันที่ 18 ตุลาคม 2476 ขณะประชุมกันในโบกี้ประทับของพระองค์เจ้าบวรเดช พระยาเสนาสงคราม พระยาเทพสงคราม หลวงเวหนเหินเห็จ หลวงโหมราญรอน ได้เห็น พันตรีหลวงโหมชิงชัย เรียกพี่ชายที่ยิงตัวตายที่ดอนเมือง ก่อนเอาปืนจ่อที่ขมับพม้อม รำพึงรำพันถึงความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และ ความห่วงใยบรรดาลูกเมียที่จะอดตายเพราะ บรรดาพ่อ ต้องลี้ภัยไปนอกเมืองไทย บรรดานายทหารช่วยกันอ้อนวอนไม่ให้ ยิงตัวตาย ... แต่อีก 10 นาทีต่อมา ได้ยินเสียงปืน 1 นัด และ พบว่า พันตรีหลวงโหมชิงชัยนอนตะแคงคว่ำหน้าจมกองเลือด เสียชีวิตแล้ว เลยต้องฝังกันที่จันทึก

19 ตุลาคม 2476 ตอนสาย ทหารบวรเดชมาจากจันทึก ถึงสถานีโคราช โดนใช้วลา 1 วันเต็มๆ เนื่องจากทหารอุบลได้รื้อราง และ เผาสะพานไม้จนเข้าเมืองโคราชไม่ได้สะดวก

ระหว่างการรบที่ สมรภูมิบางเขน มีนักข่าวจากกรุงเทพเดลิเมล์ไปทำข่าว หลายคน รวมทั้งนายแมคแคลเวย์ บก. แผนกภาษอังกฤษของกรุงเทพเดลิเมล์ พอกลับถึงสำนักงานที่สี่พระยา ก็บ่นให้นายหลุย คิรีวัติ ฟังว่า

Quote:
นี่มันการบอะไรกัน? ถ้าปรินซ์บวรเดชจะไปจ้างชาวเม็กซิกันสัก 10 คนมารบก้น่าจะทำให้การรบมีรสชาติมากกว่านี้


นายหลุน คิรีวัต ตอบแก้ว่า
Quote:
ก็เพราะปรินซ์บวรเดชไม่ต้องการเสียเลือดเนื้อทหารไทยด้วยกันจึงเอากำลังมาแค่ขู่ไม่ได้รบกันอย่างจริงจัง


Last edited by Wisarut on 10/09/2006 1:28 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2006 8:01 pm    Post subject: ทุรยุค .. นิราศจากไกลกังวลไปสงขลา Reply with quote

วันที่ 17 ตุลาคม 2476 เมื่อการเจรจาไม่เปนผล ในหลวงจึงเสด็จแปรพระราชฐานจากสวนไกลกังวล ประทับเรือศรวรุณ เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นจกาทหารที่รัฐบาลส่งมาอารักขา (มาจับกุม) ซึ่งมีผู้ตามเสด็จประทับเรือศรวรุณดังนี้

1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) พระบรมราชินี
3) สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒนวิศิษฏ์ - พระราชบิดาในสมเด็จพระบรมราชินี
4) พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี - พระราชมารดาในสมเด็จพระบรมราชินี
5) พระองค์เจ้าวรานันธวัช ในทูลกระหม่อมจุฑาธุช
6) พันตรี หม่อมเจ้าประสบศรี จิรประวัติ
7) หม่อมเจ้ากมลาลีสาณ ชุมพล
8) เรือเอกหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ร.น.
9) หม่อมเจ้า นันทิยาวัฒน สวัสดิ์วัฒน์
10) หม่อมเจ้าเศรษฐพันธ์ จักรพันธุ์
11) หลวงศักดิ์นายเวร (มหาดเล็ก)
12) นายเรือเอก หลวงปริยัตินาวายุทธ ร.น. (ราชองครักษ์)เป็นผู้บังคับการเรือ

มีพลประจำเรือพร้อมทหารรักษาวัง อีก 6-7 นาย และ ปืนกล (น่าจะเป็นปืนกลเบาที่ยกเอาได้สะดวกกว่าปืนกลหนักตามเอกสารที่พูดถึง) ไปด้วย

เวลาเย็น นายทหารเรือ ประจำเรือยามฝั่ง 3 ได้เข้าเฝ้าและชี้แจงว่าราชนาวีไทยขอเป็นกลาง ไม่เข้าร่วมเป็นทหารรัฐบาล เพราะไม่อยากใช้เรือปืน ถล่ม ทหารของชาติเดียวกัน ซึ่งประชาชนจะพลอยเดือดร้อนไปด้วยเพราะ ปืนใหญ่เรือรบเป็นวิถีราบ ไม่ใช่วิถีโค้ง

เวลา 2000 เรือศรวรุณเครื่องน้ำมันก๊าด ความเร็ว 15 น็อต ที่ไร้เข็มทิศและแผนที่เดินเรือทะเลลึก ออกจากฝั่งห่างจาก หาดหน้าสวนไกลกังวล 50 เมตร เพื่อไปยังจุดหมายที่สงขลาซึ่งห่างถึง 350 ไมล์ทะเล โดยมีเรือยามฝั่ง3 คอยคุ้มกันจนสิ้นเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เขาสามร้อยยอด จึงกราบังคมทูลลากลับไปบางนา เพื่อรายงานเหตุการณ์

พอถึงปากน้ำชุมพร ก็ให้จอดเรือและระดมซื้อน้ำมันก๊าดเติมเรือศรวรุณ โดยด่วน ถึงขั้นน้ำมันก๊าดหมดทั้งตัวจังหวัดชุมพร Shocked

ส่วนเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในอื่นต้องเสด็จทางรถไฟจากหัวหินไปสงขลา เพื่อหนีทุรยุค ได้แก่
1) กรมพระยาดำรงราชานุภาพและ พระโอรสธิดา

2) กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระโอรสธิดา

3) กรมหมื่นอนุวัตจาตุรนต์

4) พลโทพระยาวิชิตวุฒิไกร (สมุหราชองครักษ์)
5) พระยาอิศราธิราชเสวี
6) หม่อมเจ้าสุขสวัสดิ์ฯ (ผู้บังคับการทหารรักษาพระองค์)
6) บรรดา ข้าหลวงมหาดเล้กอีกหายสิบคน
7) ทหารรักษาพระองค์ 2 กองร้อย

งานนี้ ทหารรักษาพระองค์ และ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ (ข้าราชการกรมทางที่มาสำรวจเส้นทางจากประจวบไป ด่านสิงขร) ถึงขั้นต้องนำกำลังลักรถจักร และ รถโบกี้โดยสาร จากวังก์พง (ห่างจากหัวหิน 20 กิโลเมตร) เมื่อบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม 2476 เพราะ รัฐบาลไม่ยอมจัดเตรียมให้ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ต้องเป็น พขร. ให้ และ ทหารรักษาพระองค์ 1 หมู่ ต้องเป็นคนโยนฟืนและ ช่างไฟ ทั้ง 2

วันที่ 18 ตุลาคม 2476 เวลา 0100 รถไฟพิเศษทำขบวนออกจากหัวหินไปสงขลา ระหว่างทาง โดนกักขบวนรถ ที่สถานี เช่น ที่ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร หรือไม่ก็โดนพนักงานรถไฟถอดราง แถม กรมรถไฟรีบส่งโทรเลขล่วงหน้าตามสถานีต่างๆ ว่า ทหารรักษาพระองค์ลักรถจักร และ โบกี้โดยสารออกจากวังก์พง ให้ตามจับด่วน เพราะ อธิบดีกรมรถไฟเป็นทหารรัฐบาล ทำให้ ทหารรักษาพระองค์ ต้องติดดาบ เล็งปืน เพื่อกันไม่บรรดาตำรวจ พนักงานรถไฟ กรมการเมือง เข้ามาวุ่นวาย มากกว่าที่ควรจะเป็น คือยอมให้ตรวจแต่ไม่ให้ปลดอาวุธ

ถึงกระนั้นพวกตำรวจพากันรื้อค้นข้าวของกระจุยกระจาย เพื่อตามล่าหาพวกทหารบวรเดชที่แตกทัพ ทั้งๆ ที่มีพระบรมราชโองการให้นำรถไฟพิเศษไปที่สงขลาได้ ส่งนเรือ่งการกักรถไฟพิเศษนัเนเป็นการประจบรัฐบาล หาความชอบใส่ตน โดยแท้

ร้ายกว่านั้นระหว่างทางจากหัวหินไปประจวบคีรีขันธ์ มีการถอดรางเอาไปทิ้งหลายจุด ต้อง หยุดรถ ถอดเอารางที่ผ่านไปแล้วไปต่อ แทน รางที่โดนรื้อทิ้ง ทั้งเสี่ยงต่อการละเมิดกฏหมายลักษณะอาญา รศ 127 มาตรา 99 เรื่องการประทุษร้ายต่อ พระราชวงศ์

กรณีการกักรถที่สถานีประจวบคีรีขันธ์ นั้น ต้องเดือดร้อนให้หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ข้าหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันต์ต้องมาไกล่เกลี่ยไม่ให้มีการยิงกัน และ ให้ปล่อยขบวนรถ ก็ไม่เป็นผล ที่สุด สมุหราชองครักษ์ต้องโทรเลขไปยังนายกรัฐมนตรีที่วังปารุสกาวันให้ปล่อยขบวนรถออกสงขลาไปได้

ระหว่างรอโรเลขจากวังปารุศกาวัน บรรดาเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในต้องพึ่งพาข้าวต้มมัดกับกล้งวยทอด ประทังความหิวโหย ทั้งๆที่แต่ก่อนไม่เคยแม้แต่จะข้องแวะกับข้าวต้มมัด มื้นนั้นับว่าอร่อยอย่างวิเศษเลยทีเดียว

ต่อมาเจากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ เกิดอาการไข้ขึ้นสูง ถึง 104 ฟาเรนไฮต์ และไม่ได้กดินข้ามาเลยนับแต่การออกจากหัวหิน บรรดาฝ่ายหน้าฝ่ายในจึงก็เลยเรียกให้มากินข้าวด้วยกัน


วันที่ 19 ตุลาคม 2476 เวลา 0200 รถข้ามสะพานมาสถานีสุราษฎร์ธานี มีพระมาสวดชยันโต ชาวบ้านถือตะลุ่มห่อเครื่องต้น เพราะเข้าใจผิดว่าในหลวงเสด็จมาทางรถไฟ จากนั้นจึงเจอกับรถไฟที่ขนตำรวจจากนครศรีรรมราชสวนเข้ามา ก็เลยแนะให้พ่วงกับขบวนรถ และให้บรรดาทหารรักษาพระองค์คอยส่องไฟดูทาง โดยตลอด ... ตอนหลังได้ทราบว่า ถ้าแยกกันเป็น 2 ขบวน จะมีการกดระเบิด ให้ระไฟพระที่นั่งแหลกป็นจุล Shocked

เวลาเช้าเรือศรวรุณได้พบกับเรือวลัยของบริษัทอิสต์เอเชียติก (EAC) ซึ่งเดินในเส้นทางไปสงขลา กัปตันเรือวลัยชาวเดนมาร์ก จึงเชิญให้พระเจ้าอยุ่หัวและ พระราชินี พร้อมบรรดาผู้โดยสารและลูกเรือ ประทับบนเรือวลัย และให้พ่วงเรือศรวรุณ ไว้ท้ายเรือวลัย ... ทุรยาตราการฝ่าทะเลลึกจึงสิ้นสุดลงด้วยประการเช่นนี้

เวลาเย็น รถไฟมาถึงสถานีสงขลา บรรดา เจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายหน้าฝ่ายในรีบไปจวนอุปราชภาคใต้ เพื่อรีบจัดแจงปรับแต่งเป็นที่ประทับให้พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี

วันที่ 20 ตุลาคม 2476 เวลาเช้า เรือวลัยมาถึงปากอ่าวสงขลา ขณะนั้นปากอ่าวมีทัศนวิสัยทรามมาก ทำให้ไม่เห็นเรือรบหลวงสุโขทัย และ เรือรบหลวงเจ้าพระยา ในบังคับบัญชาของ นาวาเอกพระยาวิชิตชลธี ซึ่งมาตรวจอ่าวสงขลาแต่สมุหราชองครักษ์วึ่งอยู่บนเรือวลัย เห็นเรือรบ 2 ลำ จึงเขียนหนังสือส่งให้ชาวบ้านลงเรือเล็กไปส่งให้ผู้บังคับการเรือรบ

พอพระยาวิชิตชลธีได้รับหนังสือ จึงพา ทส. ไปหาสมุหราชองครักษ์ ไป เพื่อแจ้งให้ สมุหราชองครักษ์ ที่ลอยเรือเล้กกลางอ่าว จึงได้ความว่ามาตรวจอ่าวจริง แต่การจะให้ พระยาวิชิตชลธีเข้าเฝ้าฯ นั้น ต้องรอให้เรือวลัยมาเทียบกับเรือเล็ก พอ เทียบเรือแล้ว จึงให้ขึ้นเรือวลัยเพื่อเข้าเฝ้าในหลวง ในห้องซาลูน


Last edited by Wisarut on 24/01/2022 12:45 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2006 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

หลังจากที่ทหารอุบลแตกทัพ ทหารกองหนุนโคราช นำโดยพันอกพระประยุทธอริยั่น (เชื้อ มโหตระ - ผบ มทบ 3) และ พันโทพระศรสงคราม (สิทธิ ปถคามินทร์ - เสนาธิการ มทบ 3) สั่งปลดปล่อยทหารกองหนุนออกจากหน่วย และ ปล่อยเชลยออกจากที่คุมขัง เพราะทหารรัฐบาลทิ้งใบปลิวทุกวัน

ทหารฝ่ายปฏิวัติให้ พลตรีพระยาเสนาสงคราม ได้รับคำสั่งให้นำทหาร ม.พัน 4 และ ทหารราบเดนตาย สกัดกั้นทหารอุดร ส่วน ร.พัน 15 และ ร.พัน 16 ที่ดงพระยาเย็นแตกทัพเหลือทหารเพียง 100 ต้องให้ พันโทพระปัจจานึกพินาศ (ทหารม้า) ออกมาคุมทหารราบแตกทัพ

19 ตุลาคม 2476 ทหารทิ้งใบปลิวนำจับ พระองค์เจ้าบวรเดช 10,000 บาท พันเอก คนละ 5,000 บาท ผบ.พัน คนละ 1,000 บาท และ ผบ. ร้อย หัวละ 500 บาท

ส่วนแนวต้านทานดงพระยาเย็นมีเพียง ร.พัน 16 จำนวน 1 กองร้อย และ ม.พัน 3 จำนวน 1 กองร้อยและ ป.พัน 5 จำนวน 1 กองร้อย ที่มีกระสุนแต่ไม่มีนัดดิน และ ช.พัน 1 อีกเล็กน้อย รวมเป้น 300 คน

16 ตุลาคม 2476 กองบินทหารบก ไม่รู้ว่ากองทัพบวรเดช แตกทัพจากดอนเมือง อยู่ที่ไหน ที่หัวหินก็ไม่มี ที่ลพบุรี อยุธยาก็ไม่มี ที่สุดก็เจอเอาที่นครราชสีมา ทิ้งระเบิดชุดละ 5 ลูก รวม 2 ชุด ก็ไม่ถูกเป้าหมายทั้งๆที่เห็นขบวนรถไฟของกองทัพปฏิวัติแท้ๆ เพราะไม่มีเครื่องเล็ง ส่วนคนที่ชำนาญเขาก็ไม่กล้าทิ้งใส่ทหารด้วยกัน

พระยาศรีสิทธิสงคราม ปักหลักที่ กม.140 ใกล้ผาเสด็จ แล้วได้ตั้งแนวรบคอยตั้งรังปืนกลหนักที่เนินที่ชัยภูมิดีที่สุด ไล่ไประยะ 1 กิโลเมตร ถึง กม.144 เป้นที่มั่นสุดท้าย ใกล้สถานีหินลับ
เสร็จเอา 20 ตุลาคม 2476 พลปืนกลเห็นทหารรัฐบาลได้เด่นชัดแต่ทหารรัฐบาลมองไม่เห็นเพราะอำพรางไว้ดีมาก แต่ ทหารต้องพึ่งพาข้าวหลามกะเนื้อกระป๋องกันอดตาย

22 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดช เตรียมหนีไปที่แคว้นอินโดจีน โดยออกไปทาง สุรินทร์ และบุรีรัมย์

16 ตุลาคม 2476 ระหว่างนั้น ทหารรัฐบาลขึ้นจากดอนเมือง ไปสระบุรีได้ช้ามากเพราะ ต้องซ่อมทางรถไฟ และต้องคอยระวังพลซุ่มโจมตี

18 ตุลาคม 2476 กองทัพรัฐบาล ถึงแก่งคอย และได้จัดกำลังใหม่ให้พันโทพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ซึ่งเป็นหทารชาวโคราช เป็นผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ โดยใช้ ร.พัน 6 เป็นกำลังหลัก ในการลุยดงพระยาเย็น ส่วน หลวงวีระโยธาเป็นผู้บังคับกองผสม

19 ตุลาคม 2476 เวลา 0600 น. หลวงวีระโยธานำ ร.พัน 6 ขึ้นลุยดงพระยาเย็น

เวลา 0700 น. ปะทะกับแนวป้องกันที่ 1 ไม่นาน แนวที่ 1 ก็แตกเพราะหมดกำลังใจ ทหารรัฐบาลเจ็บ 2 - 3 นาย แต่โชคดีที่บางตอนใช้รถ ขต กำบังได้ ทั้งวันรุกได้ไม่กี่กิโลเมตร บางจุดต้องถอนตัวกลับมาที่ฐานแถวสถานีแก่งคอย

21 ตุลาคม 2476 หลวงพิบูลย์สงคราม มาตรวจแนวรบ ร.พัน 6 บรรยายสรุป หลวงพิบูลย์สงคราม สั่งเสียข้อราชการก่อนกลับพระนคร

22 ตุลาคม 2476 รุกถึงทับกวาง ได้รับการต่อต้านเล็กน้อย ทหารเจ็บ 4 - 5 นาย จากนั้น ทางรถไฟถูกรื้อหมด ต้องลงเดิน ทำให้เป็นเป้าให้ปืนกลหนักของฝ่ายปฏิวัติได้ง่าย แต่ที่สุดก็ยึดทับกวางได้

23 ตุลาคม 2476 ตอนเช้า หลวงวีระโยธาให้ ร้อยโทซันซอน นำกองร้อย 1 และ หมู่ปืนกลเบา ลุยไปตามทางรถไฟ
เวลา 1400 น.เศษ หลวงวีระโยธาให้ ร้อยโทตุ๊ จารุเสถียร ตีโอบหลังรังปืนกล แต่หลงทางเพราะหาตำแหน่งยาก

เวลา 1700 น. ร้อยโทตุ๊ จารุเสถียร (จอมพล ประภาส จารุเสถียร) มาอยู่กลางหมู่รบ ร้วมกับ ร้อย 1
เวลา 1800 น. ฟ้าเริ่มมืด พอทราบว่า ร้อยโทซันซอน กำลังสู้กับรังปืนกลหนัก 66 ก็เลยเตรียมติดดาบตะลุมบอนเพราะ ห่างกันแค่ 50 เมตร จ่านายสิบ สุข สังขไพรวัลย์ ยิงถูกหัวพลปืนกล (สิบโทน้อย) เลือดสาด พลยิงอีก 4 ออกมายอมจำนน
เวลา 1900 เศษ ร้อยโทตุ๊ จารุเสถียร ให้ ร้อยโทซันซอน คุมปืนกลหนักและเชลยทั้ง 4 ส่วน ร้อยโทตุ๊ จารุเสถียร และพทหาร 1 หมวดข้ามศพทหารปฏิวัติที่ล้มตาย 2 - 3 ศพ

เวลา 2000 พบ ทหาร 2 - 3 คนยืนขวางทางรถไฟ มีนายทหารเล็งปืนพกเข้ามา (พระยาศรีสิทธิสงครมกำลังมาตรวจแนวป้องกัน) ร้อยโทตุ๊ จารุเสถียร จึงยิงสวนไปทันทีและทหาร 1 หมวดต่างยิงไปที่เงาตะคุ่มๆ นั้น ในระยะเผาขน (ไม่เกิน 20 เมตร) พบร่าง คน 2 คน ... คนหนึ่งคือ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ที่เป็นศพไปแล้ว ที่เสาโทรเลขที่ 4 กม 143 ก่อนถึงหินลับ ส่วน ร้อยตรีบุญรอด เกตุสมัย ทหารช่างอยุธยาที่เป็น ทส. ให้ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แต่ตกเป็นเชลย และ ร.พัน 6 ยึดสถานี หินลับ (กม.145) ได้สำเร็จ ... ปากช่องเหลืออีกแค่ 35 กิโลเมตร

24 ตุลาคม 2476 เวลา 0700 น.พันโทหม่อมหลวงจรูญฤทธิไกร ถอยทัพมาโคราช แล้วรายงานพระองค์เจ้าบวรเดชว่า หินลับแตกแล้ว พระยาศรีสิทธิสงครามหายตัวไป จนได้รับวิทยุรัฐบาลว่า พระยาศรีสิทธิสงครามตายแล้ว จึงเตรียมหนีไปอินโดจีน

หลวงพิบูลย์สงครามเดินทางมาแก่งคอยเพื่อดูศพ พระศรีสิทธิสงคราม พอถึงแก่งคอยต้องขึ้นรถโยกเพราะทางขาด ที่ส6ดให้นำศพพระยาศรีสิทธิสงครามมาที่แก่งคอย ถึงเมื่อเวลา 1850 น.ในสภาพน่าอเน็จอนาถ เพราะมีทหารรัฐบาลเหยียบศพพระยาศรีสิทธิสงครามมา ... กระสุนนั้นดูเสมือนถูกยิงจากข้างหลัง คงเป็นเพราะ ถูกยิงขณะเอี้ยวตัวแน่ๆ

25 ตุลาคม 2476 เวลา 1330 น. พระองค์เจ้าบวรเดช และ หม่อมเจ้าหญิงผจงจิตร พระชายา ให้ พันตรี หลวงเวหนเหินเห็จ (ผล หงสกุล) ขับเครื่องบินจากโคราชไปพนมเปญ เนื่องจากสนามบินบุรีรัมย์ และสุรินทร์ใช้การไม่ได้ จากนั้นทหาร ม.พัน 3 จึงแตกทัพไปขึ้นรถไฟจาก ถนนจิระ ไป บุรีรัมย์

26 ตุลาคม 2476 เวลา 0500 น. ทหารที่ค้างที่สถานีบุรีรัมย์ ขึ้นม้าหนีไปแดนเขมร สิ้นสุดกันเสียที ....

หลังจากนั้นเป็นการชำระความพวกกบฎบวรเดช ทีร่ถูกส่งไปอยู่ในแดน 6 บางขวาง อย่างน้อยๆ ก็ 500 คน ซึ่งรวมถึงบรรดาพวกที่ทำโอษฐ์ภัยทั้งหลาย อย่างกรณีเล่นลิเกของคณะนายหรั่งที่ดังในย่าน ดอนหวาย, ท่าพูด, บางเตย, ทรงคะนอง ว่า

Quote:
“เจ้าคุณพหลเป็นต้นเหตุ พระองค์บวรเดชเป็นต้นเรื่อง
ขับเจ้าเข้าป่า แล้วเอาหมามานั่งเมือง”


ผลคือลิเกคณะนั้นแตกกระเจิงเพราะโอษฐ์ภัย .... Shocked


Last edited by Wisarut on 19/11/2006 9:37 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2006 12:58 am    Post subject: การนำคุณพระเศวตร ลง มายังพระนคร Reply with quote

23 มกราคม 2469 เวลา 0930 กท พระเจ้าอยู่หัว ทรงรถยนต์พร้อมสมเด็จพระบรมราชินี ได้เสด็จไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ที่เชิงดอยสุเทพ ซึ่งช้างสำคัญก็แสนรู้ ขนาด ในหลวงทรงเครื่องยศและเครื่องแบบ ชนิดเกี่ยวกับหม่อมเจ้า อมรทัต (ราชองครักษ์) ช้างสำคัญก็ยังชูงวงไปที่ในหลวง Embarassed Laughing จากนั้นจึงเสด็จทอดพระเนตรวัดพระเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ แล้วเสด็จทอดพระเนตรบริเวณนครเชียงใหม่แล้วเสด็จกลับ

เวลา 0330 ลท (1530) เสด็จลงประทับพลับพลาพรอ้มด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เจ้าแก้วนวรัฐ ได้นำชนชาติละว้าเฝ้าถวายดอกเอื้องแซะ ทรงรับและพระราชพร แล้วเสด็จขึ้น

27 มกราคม 2469 สมโภชช้างสำคัญที่เกิดขึ้น ณ เชียงใหม่ พระยาราชนกุล (สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ) และเจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่) นำมิสสเตอรืแม็คไฟ ผู้จัดการบริษัทอเนียวที่เชียงใหม่ เจ้าของนำถวาย เจ้าพนักงานฝ่ายมณฑลพายัพพร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมช้างต้น ได้จัดกระบวนแห่นำช้างพลายสำคัญออกจากโรงวเชิงดอยสุเทพมาสู่โรงหน้าศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ เจ้าพนักงานได้จัดการเตรียมการพระราชพิธีไว้ในโรงช้าง ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระชัยวัฒน์เงินหลังช้าง ตั้งพระเต้าปทุมนิมิตน้อยทองเงิน ตั้งอาสนสงฆื ทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านาย และ ปรำตั้งเก้าอี้ข้าราชการ ที่พลับพลาทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านาย

เวลา 4.30 ลท (1630) เสด็จออกพละบพลาพรอ้มสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้เดินกระบวนแห่ช้างสำคัญพร้อมกับลิงเผือกผ่านหน้าพลับพลาแล้ว เจ้าพนักงานนำช้างสำคัญยืนโรนงแล้ว พในหลสวงเสด็จพระราชดำเนินตามลาดพระบาท พร้อมสมเด็ตจพระบรมราชินี ทหารกองเกียรติยศวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงประเคนไตรย่ามให้พระสงฆ์ ที่จะสวดมนต์ออกไปครองผ้า แล้วกลับมานั่ง ทรงจุดเที่ยนเครื่องนมัสการ พระงสงฆ์ 20 รูป มีพระเทพมุนีเป็นประธาน สวดมนต์จบ ทรงประเคนใบวัตถุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโทนา พระราชาคณะถวายอติเรก ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และทรนงสวมพวงมาลัยพระราชทานช้างพลายสำคัญแล้ว โปรดให้พราหมณ์ เบิกแว่นเวียนเทียน สมโภชมีประโคม เมื่อครบ 3 รอบแล้ว พราหมณ์รวมแว่นดีบเทียนจุรณเจิมเสร็จ เสด็จขึ้น

วันนี้ได้ พระราชทานตรา ตช. ให้ เจ้าราชวงศ์ เจ้าบุรีรัตน์
จช. เจ้าราชภาคินัย เจ้าราชบุตร
เหรียยรัตนาภรณ์ชั้นที่ 3 ให้พระยาอมรวิสัยสรเดช
เหรียญจักรมาลาให้พระยาเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์

เวลา 8.00 ลท (2000) โปรดให้กรมพระดำรงราชานุภาพ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธืน เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าจามรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา และ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มารับพระราชทานอาหารในที่เสวย

เวลา 9.00 ลท (2100) เสด็จออกประทับพลับพลาพร้อมสเด็จพระบรมราชินี โปรดให้มีระบำซึ่งพระราชชายาดารารัศมี จัดมาสนองพระเดชพระคุณ และมีการรำโคมเนื่องในการสมโภชช้างพลายสำคัญ เสร็จ เสด็จขึ้น

จากนั้น ในหลวงให้สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และ กรมการจังหวัดเชียงใหม่ รับหน้าที่พิทักษ์ปรนช้างสำคัญ


ต่อมาในเดือน พฤศจิกายน 2470 ถึงเวลาสมควรนำช้างสำคัญลงมายังพระนคร จัดการสมโภชขึ้นระวาง จึงได้จัดการสมโภชที่เชียงใหม่ ถิ่นก่อเกิดช้างสำคัญ และได้มีการสมโภชน์ตามลำดับดังนี้ เวลาค่ำ พราหมณ์คู่สวด อ่านฉันท์กลอ่มช้างลาไพรทั้งคืน

7 พฤศจิกายน 2470
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองได้ตกแต่งโรงช้างเดิมเป้นโณงสมโภช ปลูงโรงอาบน้ำขึ้นใหม่ มีโรงมหรศพบ้างตามควร เวลาบ่านสมุหเทศาภิบาบล เจ้านายกรมการ ได้อาราธนาพระสงฆ์มาสวดมนต์ กรมหลวงกำแพงเพชรเป็นประธานในการนี้

8 พฤศจิกายน 2470
เวลาเช้าเลี้ยงพระ เวลาบ่ายเวียนเทียนสมโภช เวลาค่ำ พราหมณ์คู่สวด อ่านฉันท์กลอ่มช้างลาไพรทั้งคืน ฝ่ายบ้านเมืองมีมหรสพทั้งคืน

9 พฤศจิกายน 2470
โปรดให้กรมหลวงกำแพงเพชรเป็นผู้ทรงกำกับการยาตราช้างสำคัญ ได้สร้างรถขึ้นเฉพาะเพื่อการนี้ เป็นรถสูงใหญ่แข็งแรงกว่ารถธรรมดา และจัดให้มีบัวโปรยน้ำช้างและมีช่องใช้พัดลมไฟฟ้าให้เย็น ทั้งมีโทรศัพท์คุยกันได้ระหว่างวึ่งพ่วงอยู่ต้อท้ายขบวน ในรถช้างมีราวเหล้กเลื่อนได้สำหรับกันช้างแม่ ต่อท้ายรถช้างมีรถถังน้ำใหญ่สำหรับใช้ในการนี้ ข้างบนมีที่บรรทุกอาหารช้างด้วย รถนี้ได้ทำส่งล่วงหน้าขึ้นไปทดลองฝึกซ้อมช้างให้ขึ้นลงก่อน และมีรถเจ้าพนักงานกรมช้างและพราหมณ์เป็นต้นกับรถสมุหเทศาภิบาล กรมการเจ้าผู้ครองนครและเจ้านาย พวกหมอควาญไพร่พลเป็นผู้บริบาลช้าง

เวลาเช้าบ้านเมืองได้ตั้งกระบวนแห่ มีช้างใหญ่เข้ากระบยวนเป็นอันมาก แห่ช้างสำคัญและพังล่าผู้เป็นมารดา กับวานรเผือก ไปขึ้นรถไฟกระบวนพิเศษพร้อมแล้ว

เวลา 1034 กท. รถไฟพิเศษออกจากสถานีนครเชียงใหม่ ลอดถ้ำขุนตาล และข้ามสะพานสูงระหว่างเขามาโดยเรียบร้อย

เวลา 0350 ลท (1550) ถึงสถานีลำปาง มีเจ้านาย ข้าราชการ แต่เครื่องครึ่งยศ มารับที่สถานี เจ้าพนักงานพาช้างออกจากรถ เข้าสู่โรงพัก มีข้าหลวงและกรมการนครลำปางได้ปลุกโรงสมโภชและโรงอาบน้ำช้าง และโรงเล่นมหรสพไว้รับ ได้จัดการเวียนเทียนและมีมหรสพสมโภช เวลาค่ำ พราหมณ์คู่สวด อ่านฉันท์กลอ่มช้างลาไพรทั้งคืนด้วย

10 พฤศจิกายน 2470
พักปรนปรืออยู่ ณ นครลำปาง อีก 1 วัน คงมีการมหรสพสมโภชแต่หัวค่ำ เวลาค่ำ พราหมณ์คู่สวด อ่านฉันท์กลอ่มช้างลาไพรอีก 1 คืนด้วย

11 พฤศจิกายน 2470
เวลาเช้า เจ้าพนักงานพาช้างขึ้นรถไฟพิเศษ มีข้าราชการแต่งเครื่องครึ่งยศส่ง

เวลา 900 กท (0900) รถไฟออกจกาสถานีลำปาง
เวลาเที่ยงวัน 40 นาที ถึงสถานีเด่นชัย ปลูกโรงพักช้างไว้เหมือนกันแต่ไม่มีการนำช้างลงพก ณ ที่นั้น เป็นแต่เพียงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมการจังหวัดแพร่ ซึ่งแต่เครื่องครึ่งยศ มาคอยรับ ได้มีการเวียนเทียน มีการเวียนเทียนและการมหรสพสมโภชตามสมควร

เวลา 220 ลท (1420) รถไฟพิเศษออกจากสถานีเด่นชัย

เวลา 0705 ลท (1905) รถไฟพิเศษถึงสถานีพิษณุโลก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย) และ ข้าราชการแต่เครื่องครึ่งยศ รอรับที่สถานี เจ้าพนักงานพาช้างออกจากรถ เข้าสู่โรงพัก มีข้าหลวงและกรมการจังหวัดพิษณุโลก ได้ปลุกโรงสมโภชและโรงอาบน้ำช้าง และโรงเล่นมหรสพไว้รับ ได้จัดการเวียนเทียรนและมีมหรสพสมโภช เวลาค่ำ พราหมณ์คู่สวด อ่านฉันท์กลอ่มช้างลาไพรทั้งคืนด้วย พักแรมอยู่ 1 ราตรี


12 พฤศจิกายน 2470
เวลา 1000 กท สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมการจังหวัด มีเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป้นประธาน พร้อมกันนิมนต์พระ 10 รูป สวดมนต์ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาต เมื่อพระฉันแล้ว พราหมณ์เบิกแว่นเสวียนเทียนสมโภช เสร็จพิธีแล้ว

เวลา 1120 กท ได้พักช้างต่อไป การมหรสพได้ลงมือกันแต่เวลาช้างมาถึงและวันนี้ตั้งแต่เช้าจนบ่ายเวลาช้างออกจากพิษณุโลกแล้ว เวลาบ่ายเจ้าพนักงานนำช้างขึ้นรถ ที่สถานี

เวลา 600 ลท (1800) รถไฟออกจากพิษณุโลกเดินทางตลอดราตรีกาล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2006 12:49 am    Post subject: Reply with quote

13 พฤศจิกายน 2470
เวลาเช้าสมหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาและกรมการมณฑลอยุธยา พร้อมเจ้าพนักงานรักษาพระราชวังบางปะอิน และ เจ้าพนักงานจากพระนคร ได้จัดปลูกโรงสมโภช 3 โรง ตั้งอาศน์สงฆ์ ตั้งม้าหมู่น้อยสำหรับประดิษฐานพระชัยหลังช้าง ที่โรงอาบนำช้างมีตุ่มนางเลิ้ง ใหญ่สำหรับขังน้ำ


ที่แนนวหลังวศาลพระเจ้าปราสาททองได้ปลูกโรงมหรสพ 5 โรง คือ ละคอนไทย 1 โรง ลิเก 1 โณง เพลงทรงเครื่อง 1 โรง มอญรำ 1 โรง งิ้ว 1 โรง เวลาค่ำมีหนังไทนอีก 1 โรง ที่ชานสถานีรถไฟ ปลูกโรงพักช้าง มีตุ่มนางเลิ้ง ขั้งน้ำสำหรับบชำระแต่งตัวให้ช้าง 1 ลูก

เวลา 812 กท รถไฟพิเศษ ถึงสถานีบางปะอิน โปรดให้สมเด็จพระราชปิตุลา เสด็จขึ้นไปเป็นประธาน

เวลา 200 ลท. (1400) พระเจ้าอยู่หัวและสมเจพระบรมราชชินีเสด็จพระราชดำเนินโดยทางรถไฟจาก สถานีจิตรลดายังสถานีบางประอินเพื่อทอดพระเนตรช้างสำคัญ ที่บางปะอิน
เวลา 400 ลท (1600) เสด็จถึงบางปะอิน ทอดพระเนตรช้างสำคัญในโรงช้าง เจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่) และ พระยาราชนกูล (สมุหเทศาภิบาลมณฑบลพายัพ) มาเข้าเฝ้าฯ ที่ สถานีบางปะอิน

จากนั้นจึงเสด็จพระรชวังบางปะอินโดยทางเรือ เสด็จพระทับพระที่นั่งวโรภาศพิมาน ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้าง
จากนั้นจึงเสด็จประทับเรือประพาสแสงจันทร์ไปยังโรงพิธีพราหมณ์ ทอดพระเนตรพราหมน์พฤฒิบาศกระทำพระราชพิธี ธนญชัยบาศแล้วเสด็จืทอดพระเนตรเจ้าพนักงานกรมช้างต้นกระทำพิธีพัดชาทอดเชือก ดามเชือกดในโรงที่ตั้งบาศคุรุพระคชบาล แล้วเสด็จโรงสมโภช ทรงฟังพีราหมณ์คู่สวดอ่านกล่อมช้างลาไพร

เวลา 900 ลท (2100) พระองค์เสด็จกลับบพระนครด้วยเรือประพาสแสงจันทร์


14 พฤศจิกายน 2470
เวลา 800 กท เจ้าพนักงานแห่ช้างออกอาบน้ำมีประโคมแห่กลองชนะแล้ว แห่กลับเข้าโรงตามเดิม

เวลา 1030 กท สมเด็จพระราชปิตุลา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลงวงลพบุรี กับกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด้จประทับ พรอ้มเจ้าหน้าที่ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ ทรงศีลแล้วพระสงฆืถวายพระพรจบ ทรงประเคนอาหารบิณฑบาต ข้าราชการชั้นผู้ใหหญ่ปฏิบัติ พระสงฆ์ พระสงฆ์ฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถงวายอนุโมทนา ถวายอติเรก เจ้าพนักงานกรมช้างต้น ได้มีการสังเวยบาศครู และกระทำพิธีทอดเชือก รำพัดชาด้วย

เวลา 500 ลท (1700) สมเด็จพระราชปิตุลา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลงวงลพบุรี กับกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จประทับโรงสมโภช พร้อมเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี 5 ชั้น ทองเงินตองรองทองขาว พราหมณ์เบิกแว้นเวียนเทียน 5 รอบ พราหมณ์เป่าสังข์ เจ้าพนักงานประดคมฆ้องชัยปี่พาทย์ พราหมณ์รวมแว่นเจิมช้างแล้ว เวลาคำโรงสมโภช มีราชบัณฑิตบูชาจุฬาฐทิศ และพราหมณ์คู่สวดอ่านกล่อมช้างลาไพร และมีมหรสพตลอดวันตลอดคืน


15 พฤศจิกายน 2470

16 พฤศจิกายน 2470
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2006 1:43 am    Post subject: Reply with quote

หลังกบฏบวรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้แนะให้ นาย ประยูร ภมรมนตรีไปต่างประเทศ คือ ไปเป็นทูตทหารที่แคว้นอินโดจีนฝรั่งเศส เนื่องจากมัวหมองเพราะกรณีกบฏบวรเดช จึงให้ไปทำงานไถ่โทษโดยไปสืบราชการลับ แคว้นอินโดจีนฝรั่งเศส (จับตาพระองค์เจ้าบวรเดช) แทนการขึ้นศาลพิเศษ โดยให้ไปฝึกงานที่กรมพาณิชย์ก่อนแล้วจึงให้ไปฝึกงานที่กระทรวงการต่างประเทศ

7 มกราคม 2477 เวลา 0700 ได้ส่งนายประยูร ภมรมนตรีขึ้นรถไฟขบวน 51 ไปอรัญประเทศ ทั้งๆที่เวลานั้นอากาศเย็นมากจนหนาวเหน็บ ....

ภายหลังนายประยูรได้ส่งข้อมูลให้รัฐบาลและขออนุญาตแต่งงานกับคนรักของตนเพื่อจะให้คนรักของตนในเมืองไทย ไปช่วยงานสืบราชการลับโดย เอาข้อมูลจากบรรดาภริยาทูต มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อทางร่าชการ ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติตามคำขอ

ภายหลัง นายประยูรภมรมนตรีได้เดินทางไปดูงานด้านการทหารที่เยอร์มันี ได้พบกับนายพลรอมเมล ซึ่งได้แนะให้ลองนั่ง โลงผีเยอรมันี (รถถัง) ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าสภาพภายในรถถังเยอร์มันนั้นสมกับฉายาว่าโลงผีจริงๆ คนที่จะเป็นในนายพลคุมกองพลรถถังแบบนี้คต้องเป็นคนหนุ่มแน่นจริงๆ มิฉะนั้นจะทนสภาพไม่ไหว


Last edited by Wisarut on 24/01/2022 12:48 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2006 3:08 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2470
เป็นวันที่ยาตราช้างสำคัญ ลงมาถึงพระมหานคร เวลาเช้าเจ้าพนักงานจัดเตรียมเทียบกระบสนรถไฟพิเศษ จัดเตรียมไว้พร้อมสรรพโดยให้รถพ่วง หลัง 1 เป็นรถพระราชพิธี วางสายสิญจน์แขวนยัจนตร์ไว้ที่พระกรรณภิรมย์ มีเครื่องหมู่แขวนพระชัยหลังช้าง มีเคีริ่องวนมัสการกระบะมุงเชิง มีอาสนะสำหรับพระสงฆ์ 4 รูปสวดภาณวาร

เวลาบ่ายก่อนเวบลารถไฟออกมีการสวดชัยมงคลคถา รถไฟออกจากสถานีบางปะอินเวลา 0200 ลท (1400) ลงมายังสถานีจิตรลดากรุงเทพ

ฝ่ายทางกรุงเพมหานครได้ตกแต่งสถานีจิตรลดาเป็น พลับพลาพร้อมปลูกโขลนทวารสำหรับกระทำพิธีแห่ช้างสำคัญเข้าสู่พระนคร เตรียมขบวนแห่อย่างใหญ่ และ มีคู่แห่เครื่องสูงและกลองชนะ มีพระยาช้างและช้างสำคัญร่วมกระบวนแห่ด้วย

ส่วนทางพระราชวังดุสิตจได้ปลุกโรงช้างถาวร เปป็นโรงวพิธีและสมโภช ตามแบบโรงพิธีและโรงช้างภายนอก ตะงอาสน์สงฆ์และม้าหมู่ตั้งพระพุทธรูป 6 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปบุศยรัตน์น้อย พระพชัยประจำรัชกลปัจจุบัน พระชัยเงินหลังช้าง พระชัยนวโลหะรัชกาลที่สี่ พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ห้า พระพุทธรัตนนานาวิน พระเต้าเงิรน พระเจต้าทอง พระเต้าหิน หม้อนำเงินใหญ่ 5 ใบ หม้อน้ำ และ ทราย 2 ใบ ตั้งเครื่องนมัสการทองทิศ ตั้งพานทองรองอ้อยแดง 3 ท่อน
กรมะพระอาลักษณ์จารึกรนามช้างสำคัญ

เวลา 400 ลท (1600) พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระที่นั่งอัมพรสถานี มายังสถานีจิตลด่าเพื่อรับช้างสำคัญ
เวลา 0410 ลท (1610) รถไฟพิเศษมาถึงสถานีจิตรลดา เจ้าพนักงานพาช้างสำคัญ ช้างแม่และวานรเผือกผ่านโขลนทวาร และ แห้ไปตามถนนวสวรรคโลก จากนั้นเลี้ยวไปตามถนนศรีอยุธยา ผ่านวัดเบญจจมบพิตจร ถพระสงฆ์สวดชัยมงคลคถา ตนขบวนออกทางประตูประสิทธิ์สุรเดช เมื่อถึงโรงช้างแล้วพระสงฆ์ 20 รุป โดยมีการะประโคมสังข์แตรฆ้องชัย พระสังฆราเจ้าเป็นประธาน ได้สวดชัยมงคลคาถา การจัดกองเกียรติยศ และพระเจ้าอย่หะสวเสด็จเป้นองคืประธาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2006 12:10 am    Post subject: Reply with quote

3 พฤศจิกายน 2474ได้รับตัวแทนสันนิบาตชาติจากปีนังเพื่อเข้าร่วมการประชุมเรื่องการลดฝิ่นที่กรุงเทพ ขบวนรถออกเวลา 0910 ตามเวลาประเทศสยาม

4 พฤศจิกายน 2474รถด่วนสายใต้ที่นำตัวแทนสันนิบาตชาติ มาถึงถึงสถานีกรุงเทพเวลา 1650

15 พฤศจิกายน 2474 ได้นำตัวแทนสันนิบาตชาติขึ้นขบวนพิเศษไปยับางปะอินและอยุธยาเพื่อชมพระราชวังบางปะอิน และ ซากกรุงเก่า

Click on the image for full size

20 พฤศจิกายน 2474 เมอร์ซิเออร์ พาล เรโนด์ (Monsieur Paul Reynaud) เสนาบดีกระทรวงอาณานิคมฝรั้งเศส (Ministre de l'Outremer - Minister of Overseas France and her Colonies) ได้ขึ้นขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษจากกรุงเทพไปดอนเมืองเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่เยือนไซ่ง่อนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2474
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2006 9:26 pm    Post subject: Reply with quote

เออ ในจดหมายเหตุของ สมเด็จวังบูรพา (จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช) ได้กล่าวว่า


Quote:
9 พฤศจิกายน 2470 ตอนที่จะนำช้างสำคัญ และพังแป้นผู้เป็นมารดา ขึ้นรถไฟจากเชียงใหม่ ช้างทั้ง 2 อาละวาดซะเกือบแย่


ส่วนลุงสรศัลย์ แพ่งสภา ได้เล่าเสริมว่า:

Quote:
ภายหลัง พังแป้น ผู้เป็นมารดาในคุณพระเศวตรฯ ท่านมีชื่อมาในความแสนรู้ ถึงขั้นทรงบาตรให้พระสงฆ์ได้เอง เช่นเดียวกับคุณพระเศวตรฯ

แต่พอยุบกรมคชบาลก็มีปลดปล่อยช้างหลวงขึ้นไปทำปางไม้ให้บริษัทอิสต์เอเชียติกเสียสิ้น เหลือแต่คุณพระเศวตรฯ 2 ช้างที่ยังอยู่ในความดูแล โดยวังหลวง ซึ่งพังแป้นก็โดนพิษภัยจากการยุบกรมคชบาลในกระทรวงวังนี้ด้วย .... ตอนที่พังแป้นขึ้นไปภาคเหนือ ก็เป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นด้วย .... ยังไม่ทันถึงปางไม้ พังแป้นก็ล้มเสียก่อน ... Sad Crying or Very sad


Last edited by Wisarut on 01/07/2020 2:28 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2006 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 26 ฉบับที่ 11

เล่าไว้ในวันก่อน
ผู้พิชิตสมรภูมิบางเขน ด้วยกระสุน ป.ต.อ. เพียง ๙ นัด

บทความนี้คัดจากบันทึกของ "นายหนหวย" เรื่อง "พลโทบุศรินทร์ ภักดีกุล นายทหารประชาธิปไตย ผู้พิชิตสมรภูมิบางเขนด้วยกระสุน ป.ต.อ. เพียง ๙ นัด" ซึ่งลงพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทบุศรินทร์ ภักดีกุล ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

// -----------------------------------------------------------------------------------

ผมได้รู้จักคุ้นเคยกับพลโทบุศรินทร์ ภักดีกุล ผู้เป็นอาจารย์รุ่นก่อตั้งโรงเรียนนายร้อยเทคนิคท่านนี้เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๖ เป็นการพบในราชการสนามที่โคกกระเทียม ปีนั้นมีการฝึกความพร้อมรบเป็นครั้งแรกของซีโต้ การฝึกครั้งนี้ได้ชื่อว่า "การฝึกธนะรัชต์" เพื่อให้เกียรติแก่ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายพลสามเหล่าทัพขึ้นรสบัสคันใหญ่รวมกันในฐานะผู้สังเกตการณ์ ผมเป็นผู้สังเกตการณ์ด้านสื่อมวลชน ความจริงผมได้รู้จักท่านฝ่ายเดียวมานานแล้ว แต่ไม่เคยได้วิสาสะพูดจากัน เพราะท่านเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เพื่อนผมที่สำเร็จออกเป็นนายทหารจากโรงเรียนนายร้อยเทคนิค ได้พูดถึงความเป็นเอตทัคคะในวิชาปืนใหญ่ และเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในจำนวนอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการทหารชั้นสูง ท่านไม่ชอบเป็นข่าวจึงเป็นการยากที่ผู้มีอาชีพทางการข่าวอย่างผมจะเข้าไปวิสาสะ จากการติดตามข่าวทางการเมืองและการทหาร ผมรู้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญยิ่งของทหารฝ่ายรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่เรียกกันว่า "ศึกบวรเดช"

วันนั้นหลังอาหารกลางวันแบบช่วยตัวเองในสนามแล้วก็เป็นเวลาพัก ผมจึงเลียบเคียงเข้าไปคุยกับท่านสองต่อสอง ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเจ้ากรมแผนที่ทหาร สังเกตว่าท่านอารมณ์ดีพอสมควร ผมก็เริ่มสัมภาษณ์เรื่องในอดีตเมื่อครั้งปี ๒๔๗๖ ที่ท่านมียศร้อยโท ป.ต.อ. รุ่นแรกของเมืองไทย ท่านตรึกตรองอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็เอ่ยขึ้นว่า

Quote:
"ผมไม่อยากพูดถึงเหตุการณ์คราวนั้น เพราะมันอัปยศทหารไทยรบกันเองโดยเฉพาะผมต้องรบกับน้องชายของผมเอง"


ท่านหมายถึงร้อยโทเอกรินทร์ ภักดีกุล น้องชายร่วมสายโลหิตผู้สำเร็จวิชาทหารช่างจากเมืองนอกมาสดๆ ร้อนๆ กำลังจะเป็นมันสมองของเหล่าทหารช่าง แต่เวลานั้นโชคชะตาบันดาลให้อยู่ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดทหารช่างในกองพันทหารช่างที่ ๑ มีที่ตั้งปกติอยู่อยุธยาร่วมกับกองพันทหารช่างที่ ๒ ทหารช่างสองกองพันนี้ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม นำลงเรือมาขึ้นที่รังสิตอย่างเงียบกริบในคืนวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖ เป็นกำลังส่วนหน้าของฝ่ายปฏิวัติหลังจากเข้ายึดดอนเมืองในก่อนรุ่งอรุณของวันที่ ๑๒ แล้ว พันเอก พระยาศรีสิทธิสงครามก็สั่งให้พันตรี หลวงลบบาดาลนำทหารช่างส่วนหนึ่งที่รุกคืบหน้าเข้ามายึดสถานีรถไฟบางเขนทันที นายทหารช่างหนุ่มๆ ที่สำเร็จจากต่างประเทศมาสดๆ ร้อนๆ เพื่อเป็นมันสมองของเหล่าทหารช่างประจำการอยู่ในกองพันนี้ทั้งนั้น คือ ร้อยโทเอกรินทร์ ภักดีกุล ร้อยโท หม่อมหลวงชวนชื่น กำภู กับอีกหลายนาย ซึ่งต่อมาอยู่ในวงการวิศวกรชั้นนำของเมืองไทย

ท่านเล่าให้ฟังว่าหลังจากท่านสำเร็จวิชาทหารปืนใหญ่จากโรงเรียนโปลีเทคนิคของเบลเยียม ท่านก็กลับมาตุภูมิในปี ๒๔๗๖ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่ถึงปี และก่อนวิกฤตการณ์ทางการเมืองเล็กน้อย นับได้ว่าเป็นนายทหารในระบอบประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกและเป็นนายทหารปืนใหญ่คนล่าสุดของกองทัพบกที่สำเร็จจากยุโรปมาสดๆ ร้อนๆ ปืนใหญ่ที่ท่านเรียนสำเร็จมานั้นคือปืนใหญ่ชั้นสูง ต่อสู้อากาศยาน เป็นวิชาใหม่และเหล่าใหม่ที่ยังไม่มีในเมืองไทย แต่อยู่ในความดำริของพันโท หลวงพิบูลสงคราม ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองคนสำคัญ


ดังนั้นกองทัพบกจึงได้สั่งซื้อปืนต่อสู้อากาศยาน หรือที่เรียกกันว่า ป.ต.อ. พร้อมรถสายพานติดตั้งปืนมาเสร็จ ๑๐ คัน จากบริษัท บาโรเบราน์ตัวแทนขายในกรุงเทพฯ รถสายพานติดตั้ง ป.ต.อ. ขนาด ๔๐ มม. ทั้งรถทั้งปืนเป็นของบริษัท วิคเกอร์อาร์มสตรอง แต่ทางโรงงานส่งเข้ามาให้รุ่นแรกเพียง ๒ คัน ในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๖ ก่อนจะเกิดการต่อสู้ระหว่างทหารรัฐบาลกับทหารหัวเมืองในสมรภูมิบางเขน เมื่อเข้ามาถึงกองทัพบกได้มอบหมายให้ร้อยโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร ฝึกด้านการขับและเครื่องยนต์ ท่านเป็นครูฝึกการยิงปืน เวลานั้นยังไม่ได้จัดตั้งหน่วย ป.ต.อ. อาวุธใหม่จึงรวมอยู่ในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ ท่านเล่าว่ามีเวลาฝึกอยู่เพียงเดือนเศษ โดยใช้นายทหารที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยมาใหม่ๆ ทำหน้าที่พลยิง ที่จำได้และเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ คือว่าที่ร้อยตรีพิสิษฐ์ ฉายเหมือนวงษ์ ขณะที่คุยกันท่านได้ชี้ให้ผมดูรถถังของทหารอเมริกัน ๔-๕ คัน ที่ขับปุเลงๆ มาจากไหนไม่ทราบเข้ามาร่วมในการฝึกด้วย ท่านพูดยิ้มๆ ว่า "อเมริกันเขาคุยนักว่าเขาเป็นชาติแรกที่เอาปืนใหญ่ขึ้นติดตั้งบนรถถัง ที่จริงแล้วกองทัพไทยทำมาก่อนตั้งสามสิบกว่าปี" แล้วท่านก็หัวเราะ ผมมีเวลาคุยกับท่านเพียงเล็กน้อย เพราะท่านต้องเข้าไปรวมกลุ่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ท่านบอกกับผมว่า"วันหลังว่างๆ พบกันใหม่ที่กรมแผนที่ทหาร"

ผมได้พบกับท่านหลายครั้งทั้งในงานราชการและงานสังคมอื่นๆ จนเรียกได้ว่าคุ้นเคย ผมได้รับความรู้ต่างๆ ทั้งด้านการทหารและการเมืองจากท่านมากมายล้วนแต่ไม่อาจจะหาเรียนได้จากที่ไหน เพราะท่านมีประสบการณ์ในชีวิตสูงกว่าคนระดับเดียวกับท่าน เท่าที่ผมได้วิสาสะมา ในปีต่อมาผมได้มีโอกาสคุยกับท่านอย่างสนุกสนานเกือบตลอดคืน เพราะพบท่านในรถนอนชั้น ๑ ของรถด่วนกรุงเทพฯ-อุบลฯ ผมไปราชการและจองตู้นอนไว้ล่วงหน้า พอขึ้นรถก็พบท่านแต่งเครื่องแบบพลโทนั่งอยู่ในตู้นอนแล้ว มีนายทหารคนสนิทยศพันตรีติดตาม ๑ คน ผมแปลกใจจึงเรียนถามก็ได้รับคำตอบว่า ท่านจะไปจังหวัดศรีสะเกษเพื่อนำระฆังใหญ่ใบหนึ่งไปถวายวัดอะไรผมก็ลืมเสียแล้ว ทราบแต่ว่าอยู่นอกตัวจังหวัดออกไปอีก ผมเรียนถามเพราะแปลกใจที่นายทหารยศพลโทตำแหน่งเจ้ากรมสำคัญกรมหนึ่งเดินทางไปทำบุญระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร มีผู้ติดตามเพียงนายทหารคนสนิทเพียงคนเดียว ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า "การทำบุญเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ต้องกวนใคร"

ท่านให้คนงานยกระฆังใบใหญ่หนักประมาณ ๕๐-๖๐ กิโลกรัม ขึ้นรถไฟ ชาวบ้านที่ติดต่อให้มาคอยรับที่สถานีเข้าจะยกระฆังลงเอง เสร็จพิธีถวายแล้วท่านก็จะกลับกรุงเทพฯ ในเย็นของวันเดียวกัน โดยรถด่วนขบวนเก่าขาล่อง คุยกันจนดึกท่านก็เอาแซนด์วิชที่เตรียมมาออกมาสู่ผมกินไม่ต้องไปวุ่นวายรถเสบียงให้คนเกรงใจ เพราะท่านแต่งเครื่องแบบพลโท เมื่อได้ที่แล้วผมก็เรียนถามท่านว่า

"เมื่อคราวปะทะกับฝ่ายทหารหัวเมืองที่ทุ่งบางเขนปีศึกบวรเดช ฝ่ายรัฐบาลได้เปรียบเพราะมี ป.ต.อ. ๔๐ มม. ยิงกวาดล้างจนวัดเทวสุนทรพังใช่ไหม"

ท่านเล่าอย่างไม่ปิดบังเพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังรู้ความจริง เพราะผมบอกว่าผมจะนำเอาเรื่องราวทั้งหมดไปเขียนเป็นสารคดีออกเผยแพร่ โดยมีใจความดังต่อไปนี้

เมื่อได้ทราบว่าพระองค์เจ้าบวรเดชนำทหารต่างจังหวัดเข้ามายึดดอนเมือง ส่งส่วนล่วงหน้าขึ้นมายึดสถานีบางเขนไว้ ทหารส่วนหน้าเป็นทหารช่างอยุธยา ซึ่งน้องชายของท่านประจำการอยู่ แต่หน้าที่ก็คือหน้าที่ ท่านได้เข้าประจำกองผสมซึ่งพันโท หลวงพิบูลสงครามตั้งขึ้นโดยฉับพลันรวบรวมทหารทุกเหล่าในกรุงเทพฯ เป็นกำลังหลักทางฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำขาดซึ่งเป็นข้อเสนอของฝ่ายทหารหัวเมืองได้ จึงตัดสินใจใช้กำลังจากฐานสถานีบางซื่อเข้าตี โดยใช้กำลังทหารราบกองพันที่ ๘ ในบังคับบัญชาของพันตรี หลวงอำนวยสงคราม ในเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๖

เสียงปืนของทั้งสองฝ่ายกึกก้องท้องทุ่งบางเขนได้ยินไปถึงปทุมธานีและอยุธยาบางอำเภอ หลังจากการปะทะไม่กี่ชั่วโมง กองพันนี้ซึ่งรุกคืบหน้าบนรางรถไฟพร้อมกันทั้งสองราง โดยนำรถถังขึ้นบรรทุกรถ ข.ต. แล้วใช้รถจักรดันหลังให้เคลื่อนที่เข้าหาฝ่ายตรงกันข้าม ทหารราบอยู่ในรถคันหลัง มีรถบังคับการกองพันอยู่กลางขบวน เคลื่อนที่ช้าๆ ออกไปจากบางซื่อ มีวิธีเดียวเท่านี้ที่จะรุกคืบหน้าเข้าไปหาฝ่ายตรงกันข้ามในยามที่น้ำเจิ่งท้องทุ่งบางเขน รุกเข้าไปไม่นานก็ได้รับการต้านทานอย่างหนักด้วยปืนกลของฝ่ายหัวเมืองซึ่งเป็นทหาร ม.พัน ๔ สระบุรีขึ้นมาสับเปลี่ยนทหารช่างอยุธยาเมื่อตอนค่ำของวันที่ ๑๓ สักประเดี๋ยว กองพันนี้ก็ถอยกรูดกลับมาสถานีบางซื่อ เพราะพันตรี หลวงอำนวยสงคราม ผู้บังคับกองพันผู้เป็นมือขวาของพันโท หลวงพิบูลสงคราม ถูกกระสุนปืนกลที่ยิงเฉียงเข้ามาจากโบสถ์วัดเทวสุนทร (วัดแคราย) เลยวัดเสมียนนารีไปเล็กน้อย ร้อยตรีเผ่า ศรียานนท์ ซึ่งอยู่ในรถบังคับการร้องไห้เข้าไปรายงานพันโท หลวงพิบูลสงคราม เมื่อได้เก็บศพพันตรี หลวงอำนวยสงครามอย่างมิดชิดพร้อมกำชับให้ปิดข่าวแล้ว พันโท หลวงพิบูลสงคราม ก็ตัดสินใจเผด็จศึกด้วยอาวุธใหม่ที่เพิ่งตกเข้ามาทันที

ท่านได้เล่าให้ผมฟังถึงสมรรถนะของ ป.ต.อ. วิคเกอร์อาร์มสตรอง ขนาด ๔๐ มม. รุ่นแรกของกองทัพบกว่า ทันสมัยที่สุดในเวลานั้นเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในกองทัพอังกฤษ ใช้กระสุนเจาะเกราะและกระสุนระเบิดยิงได้นาทีละ ๒๐๐ นัด ทั้งวิถีราบและต่อสู้อากาศยาน ระยะยิงไกล ๖ กิโลเมตร กับ ๑๐๐ เมตร ส่วนรถสายพานเครื่องยนต์ ๘๗ แรงม้าไต่ลาดได้ ๔๕ องศา จัดได้ว่าเป็นปืนใหญ่ที่ทรงอานุภาพที่สุดแห่งยุคทหารไทยไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนเลย (ปืนที่ลำกล้องตั้งแต่ ๒๐ มม.ขึ้นไปจัดเข้าประเภทปืนใหญ่) ในวันที่ได้รับคำสั่งนั้น ท่านบอกว่าได้ใช้เพียงกระบอกเดียว อีกกระบอกหนึ่งเก็บสำรองไว้ก่อน เมื่อนำรถไปขึ้นบรรทุกบนรถ ข.ต. ที่หัวลำโพงก็เคลื่อนมาที่สถานีบางซื่อแล้วเคลื่อนขึ้นไปตามทางรถไฟโดยมีรถจักรดันหลัง รถปืน ป.ต.อ. นี้ใช้ทหารประจำรถเพียง ๕ คน รวมทั้งตัวท่านเอง เมื่อเคลื่อนเลยวัดเสมียนนารีไปได้หน่อยหนึ่งก็ตกอยู่ในวิถีกระสุนของฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ไม่ได้ยิงโต้ตอบ คงเคลื่อนที่เข้าไปช้าๆ เพราะมีเกราะกำบัง จนในที่สุดก็สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ารังปืนกลถาวรของฝ่ายตรงข้ามก็คือหน้าต่างโบสถ์วัดเทวสุนทร โดยพาดปืนกลเบาเข้ากับหน้าต่างโบสถ์ยิงต้านทานอย่างเหนียวแน่น เพราะได้ที่กำบังอย่างแข็งแรง เมื่อจำเป็นเช่นนี้ก็ต้องยิงทำลายที่มั่นถาวรของฝ่ายตรงข้ามเพื่อเผด็จศึกตามคำสั่ง

"ผมได้บอกทหารทุกคนที่อยู่ในรถ ป.ต.อ. ให้ยกมือไหว้ขอขมาที่จำเป็นต้องยิงโบสถ์และอธิษฐานขออย่าให้ถูกพระประธาน" ครั้นแล้วท่านก็ทำหน้าที่พลยิงด้วยตนเอง เพราะเป็นการยิงครั้งแรกของปืนชนิดนี้ ท่านได้ใช้กระสุนระเบิดในตับติดๆ กันไปอีก ๔ นัด เท่านี้เองฝ่ายตรงข้ามก็ชะงักทันที เพราะเพิ่งเคยเห็นปืนใหญ่ยิงได้รวดเร็วราวกับปืนกลและกระสุนระเบิดแม่นยำเกินกว่าที่เคยพบเห็นมาในเวลาซ้อมยิงปืนใหญ่แบบเก่าที่เคยมีในกองทัพบก ท่านเล่าต่อไปว่าได้ส่องกล้องดูเห็นคนวิ่งหนีออกไปจากโบสถ์ ๔-๕ คน ที่หมายต่อไปที่สงสัยว่าจะเป็นที่มั่นของฝ่ายตรงกันข้ามคือสถานีวิทยุต่างประเทศที่หลักสี่ จึงได้ยิงข่มขวัญไปอีก ๕ นัด เล็งสูงจากตัวอาคารเพราะเกรงจะได้รับความเสียหาย จากนั้นก็นำทหารราบรุกคืบหน้าไปโดยไม่ได้ยิงอีกเลย นับว่าเป็นยุทธวิธีที่ค่อนข้างแหวกแนวที่ปืนใหญ่ออกนำทหารราบและยิงวิถีราบอย่างปืนกล บทบาทของท่านมีเพียงวันเดียวฝ่ายทหารหัวเมืองถอนตัวจากดอนเมืองขึ้นตั้งรับในเทือกเขาดงพระยาเย็นต่อไป ซึ่งตอนนี้หมดภารกิจของท่านแล้ว ตกลง ป.ต.อ. รุ่นแรกของกองทัพบกได้บุกเบิกชัยชนะให้ฝ่ายรัฐบาลด้วยกระสุนเพียง ๙ นัดเท่านี้เอง


Last edited by Wisarut on 01/07/2020 2:43 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 5 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©