Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311851
ทั่วไป:13549600
ทั้งหมด:13861451
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 8:13 am    Post subject: เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง Reply with quote

สวัสดีครับชาวรถไฟไทยดอทคอมทุกท่าน

วันนี้ผมขอนำเสนอสถานีรถไฟในอดีตอีกแห่ง ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ครับ
คือสถานีเขาฝาชี อ.ละอุ่น จ.ระนอง

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 13/05/2009 8:42 am    Post subject: Reply with quote

ขอตามอ.เอกไปจ.ระนองเพื่อไปดูร่องรอยทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สายชุมพร-ปากจั่นด้วยคนครับ Very Happy

ผมเคยแต่นั่งรถผ่านระนอง ตอนล่องใต้ไปเที่ยวภูเก็ต-พังงาแค่ครั้งเดียวเอง Wink


Last edited by umic2000 on 13/05/2009 9:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 13/05/2009 9:30 am    Post subject: Reply with quote

รอติดตามชมครับ อาจารย์เอก

Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 10:03 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับน้องเอกและคุณบอมบ์ Very Happy
กระทู้นี้คงไม่ใช่การสำรวจเส้นทางรถไฟครับ แต่เป็นการเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ตั้ง และศึกษาหาข้อมูลเพื่อรวบรวมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต

ภาพป้ายแนะนำสถานที่ข้างบนนี้ ถ่ายเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2552 เวลา 14.14 น.
จะเห็นว่าอยู่ในสภาพทรุดโทรม ตัวอักษรหลุดลอกและเลอะเลือนหายไป
อ่านออกได้ไม่หมด ผมจึงขอนำภาพจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดระนอง
ซึงจัดทำโดยสำนักงานจังหวัดระนองที่ www.ranong.go.th มาประกอบครับ

Quote:
Click on the image for full size

สถานีเขาฝาชี่
KHAO FACHI RAILWAY STATION


* สถานีเขาฝาชี เป็นสถานีปลายทางของชุมทางรถไฟ
สายชุมพร-กระบุรี-เขาฝาชี (ผ่านคอคอดกระ) เริ่มจากสถานี
วังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่น สถานีทับหลี สถานีกระบุรี
สถานีคลองลำเลียง และสถานีเขาฝาชี กม.90+815.09 อาคาร
สถานีชั้นเดียวทำด้วยไม้ เปิดทำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2486
___________________
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 10:29 am    Post subject: Reply with quote

อาจารย์สารภี นิลเขียว ได้เขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสารฟ้าขาว วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์โรงเรียนสตรีระนอง ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ปีการศึกษา 2544
มีรายละเอียดที่น่าสนใจสำหรับคนรักรถไฟครับ
Arrow http://www.ranong.go.th/war2.htm

อาจารย์สารภี นิลเขียว ได้รับมอบหมายจากจังหวัดให้เป็นกรรมการศูนย์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บันทึกจากการสัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 (2484 - 2488 ) จำนวน 5 คน เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2544 และเรียบเรียงจากบันทึกเหตุการณ์ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ของ พ.ต.แสง จุละจาริตต์ ผู้แทนกรมการรถไฟประจำกองบัญชาการสูงสุด

ผมขอคัดข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไว้ที่นี่ครับ

Quote:
ก่อนปีพุทธศักราช 2484 บริเวณบ้านเขาฝาชีหรือตลาด กม. 30 ริมคลองละอุ่น ยังมีสภาพเป็นป่าชายเลนน้ำทะเลท่วมถึง อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้โกงกาง ไม้แสม ปราศจากบ้านเรือนหรือชุมชนดังเช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เส้นทางคมนาคม มีเพียงทางหลวงแผ่นดินสายเพชรเกษม หมายเลข 4 ซึ่งมาสิ้นสุดเพียงแค่คลองละอุ่นเพราะไม่มีสะพานข้าม หากจะเดินทางไปยังตัวเมืองระนองต้องใช้ เส้นทางเรือเท่านั้น

บ้านเรือนคนไทยดั้งเดิมมีประมาณ 5 หลังคาเรือน ตั้งเรียงรายอยู่ที่บ้านบางลัด ห่างจากบ้านเขาฝาชีไปทางทิศเหนือเยื้องไปด้านตะวันตกของเขาฝาชี ประมาณ 3 กิโลเมตร

ปีพุทธศักราช 2484 กองกำลังทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ณ ปากน้ำจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ได้ขอผ่านประเทศไทยเพื่อยกพลไปบุกยึดประเทศสหภาพพม่า และสามารถยึดเกาะสอง (วิคตอเรียปอยต์) ซึ่งอยู่เขตพม่าได้ในตอนเช้าวันที่ 9 ธันวาคม 2484

การเคลื่อนกำลังภาคพื้นดินระยะแรกได้อาศัยเส้นทางหลวงแผ่นดินเพชรเกษม หมายเลข 4 สายชุมพร - กระบุรี - คลองละอุ่น แต่ด้วยข้อจำกัดของสภาพถนนและภูมิประเทศ ทำให้การเคลื่อนย้ายลำเลียงกำลังพล เสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์กระทำได้อย่างลำบากเพราะถนนแคบ คดโค้ง บางช่วงสูงชัน การลำเลียงอาวุธหนัก ไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้ ซึ่งต่อมาได้มีแนวคิดที่จะสร้างเส้นทางรถไฟขนานกับทางหลวงหมายเลข 4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 10:37 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
สำหรับการสร้างเส้นทางรถไฟ สายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลำเลียงเสบียงอาหาร กำลังพล อาวุธหนักจากจังหวัดชุมพรไปฝั่งอันดามัน2 การสำรวจเริ่มเมื่อ 16 พฤษภาคม 2486 โดยญี่ปุ่น ได้ส่ง พ.ท. คุโมตะ กับพวกรวม 15 คน ฝ่ายไทยได้ส่ง พ.ต.ม.จ.ชิดชนก กฤดากร ไปร่วมสำรวจเส้นทางรถไฟโดยสร้างขนานกับทางหลวงสายชุมพร-กระบุรี จนถึงคลองละอุ่น รวมระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร โดยผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของไทย กับ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟผ่าน คอคอดกระขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2486

การสร้างทางมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมกรหายากเพราะราษฎรไทยส่วนใหญ่พากันเป็นลูกจ้างผู้รับเหมาช่วงทำสงครามให้แก่ทหารญี่ปุ่นไม่มีเครื่องทุ่นแรง การทำงานดินใช้กรรมกรชาวมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ มีชาวจีน ชาวไทย เป็น ส่วนน้อยซึ่งมักจะเป็นช่างไม้สำหรับทำสะพานไม้ชั่วคราวกองทหารญี่ปุ่นเริ่มงานเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2486 ในการก่อสร้างทางรถไฟมีเชลยศึกและกรรมกรล้มตายเป็นจำนวนมาก คนงานส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียที่ทหารญี่ปุ่นลำเลียงมาจากมลายูมาสถานีรถไฟชุมพร แล้วเดินไปตามแนวทางเพื่อทำงานได้ล้มป่วยด้วยโรคต่างๆ และถูกฝังไว้ตื้น ๆ บางทีก็ใช้น้ำมันราดแล้วจุดไฟเผา บางคนก็หลบหนีไปทางจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างทางได้ขออาหารจากคนไทยกินหน่วยงานทางราชการได้จัดที่พักให้อยู่ชั่วคราว และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ภายหลังทหารญี่ปุ่นได้รับตัวกลับไปและกวดขันมิให้หลบหนีอีก

การจัดหาไม้หมอน ไม้สะพาน และหินนั้น ทหารญี่ปุ่นได้จัดหาเองและให้นายช่างฝ่ายไทยร่วมด้วยรางรถไฟจะเป็นรางขนาด 50 ปอนด์ และ 60 ปอนด์ โดยนำมาจากมลายู แต่การสร้างทางสายชุมพรทำไม่ได้ตามแบบ เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีประแจทางหลีก ผู้ควบคุมงานฝ่ายญี่ปุ่น ชื่อ พ.อ.โองาวา ภายหลังเปลี่ยนเป็นนายอิชุอิ และมีนายกามาฮาชิ เป็นช่างก่อสร้างทางรถไฟชุมพร -กระบุรี

แนวรถไฟเริ่มจากด้านทิศใต้สถานีชุมพรตรงหลัก กม. 469 + 805.30 ตลอดทางมีสะพานชั่วคราว 31 สะพาน รางรถไฟรื้อมาจากเมืองกลันตัน (มลายู) บรรทุกมาโดยขบวนรถไฟพิเศษมาลงที่ชุมพรวางรางแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2486 มีรัศมีโค้งตั้งแต่ 400 เมตร ถึง 1,000 เมตร ประมาณ 137 โค้ง ตัดถนนเพชรเกษม ในปัจจุบัน 8 จุด

สถานีย่อยมีสถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่น สถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียง สถานีเขาฝาชี รวม 7 สถานี อาคารสถานีทำด้วยไม้เนื้ออ่อน และไม้ไผ่ มีลักษณะชั่วคราวเริ่มเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์โดยใช้รถแบบรถบรรทุกขนาดหนักของ ร.ฟ.ท. และรถยนต์บรรทุกที่วิ่งบนทางรถไฟลากจูงรถพ่วงไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ 2 ชม. เพื่อส่งต่อไปยังพม่า ญี่ปุ่นโดยใช้เส้นทางรถไฟลำเลียงอยู่ประมาณ 11 เดือน

จนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2487 เครื่องบินพันธมิตรขนาดสี่เครื่องยนต์ ประมาณ 20 ลำได้ทำการบิน โจมตีทิ้งระเบิดทำลายทางรถไฟเรือ เสบียง และเรือบรรทุกอาวุธ ที่รับขนถ่ายจากขบวนรถไฟ ถูกระเบิดจมน้ำที่คลองละอุ่นจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2488 ระหว่าง 14.00 - 18.00 น. เครื่องบินพันธมิตร 30 ลำ ได้ทิ้งลูกระเบิด และกราดยิงด้วยปืนกลบริเวณสถานีรถไฟชุมพร รางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี ค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาฝาชีซ้ำ จึงได้รับความเสียหายมาก

ทหารญี่ปุ่นได้พยายามซ่อมทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี ให้ใช้การได้ แต่แก้ปัญหาฝ่ายพันธมิตรมาโจมตีเรือบรรทุกอาวุธยุธโธปกรณ์ที่รับช่วงจากรถไฟไม่ได้ ทำให้เรือจมเสียหายมากจนไม่สามารถลำเลียงอาวุธตามเส้นทางนี้ได้อีก คงใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารกับสัมภาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่งให้หน่วยทหารที่รักษาการที่เกาะสอง ประเทศสหภาพพม่า เท่านั้น


Quote:
ก่อนระยะที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (กองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ 10 สิงหาคม 2488 ) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2488 ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้ เริ่มตั้งแต่ ท่าเรือเขาฝาชีตอน กม. 30 ถึง กม. 28 โดยแจ้งกับอนุกรรมการฝ่ายไทยว่า เพื่อเอารางไปวางในทางรถไฟบางตอนที่ถูกระเบิดบางแห่งทางใต้ ครั้งเมื่อสงครามยุติทหารสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย เมื่อ 19 สิงหาคม 2488 ต่อจากนั้นทหารอังกฤษจึงได้รื้อทางรถไฟสายนี้ต่อจากญี่ปุ่นบรรทุกรถไฟกลับไปเมืองกลันตันตามเดิมจึงไม่มีทางรถไฟสายนี้ให้เห็นดังเช่นทางรถไฟสาย ไทย - พม่า ด้านจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากแนวคันดินซึ่งอยู่ขนานกับถนนเพชรเกษม ตลอดช่วงระยะจากกระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 30 เส้นทางรถไฟสาย ชุมพร-กระบุรี ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกับทางรถไฟสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามเอเชียบูรพาตั้งแต่ต้นจนสงครามยุติลงแต่ปรากฎว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้จักเส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลอง ละอุ่น หรือที่รู้จักชื่อว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 10:39 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
สถานีรถไฟเขาฝาชี ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฐานเส้นทางรถไฟตัดผ่านกลางฐานมีลักษณะเป็นทางรถไฟคู่ขนานเพราะต้องใช้ในการกลับหัวรถจักรไอน้ำที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ส่วนบริเวณด้านทิศเหนือของสถานีรถไฟติดกับตีนเขาฝาชีบางส่วน(ที่ตั้งของโรงเรียนละอุ่นวิทยาคารในปัจจุบัน) เป็นสถานที่ฝังศพของเชลยศึกหรือกรรมกรสร้างทางรถไฟซึ่งล้มตายระหว่างสงคราม เป็นจำนวนมาก


//----------------------------
อ่านตรงส่วนนี้แล้วถ้าไม่มีวงเวียนกลับรถจักร มีเพียงทางรถไฟคู่ขนานก็คงกลับหัวรถจักรไม่ได้นะครับ --- Mongwin
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 10:49 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
การก่อสร้างทางรถไฟสายชุมพร – กระบุรี – เขาฝาชี ซึ่งสุดทางลงที่คลองละอุ่น รวมเป็นระยะทางประมาณ 90 กม. นั้น ฝ่ายไทยมีหน้าที่ดำเนินการเฉพาะภายในย่านสถานีชุมพรเท่านั้น ส่วนนอกจากนั้นฝ่ายญี่ปุ่นดำเนินการเองโดยตลอด เมื่อทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเข้าไปในเขตที่ดินของผู้ใด อนุกรรมการสร้างทางรถไฟทหารมีหน้าที่พิจารณาชดใช้ค่าเสียหายทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินโดยฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

กรมรถไฟได้พิจารณาแต่งตั้งนายเชถ รื่นใจชน ซึ่งดำรงตำแหน่งนายช่างบำรุงชุมพร อยู่ก่อนแล้ว แต่เดือนกันยายน2483 เป็นนายช่างก่อสร้างเขตชุมพร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2486 โดยมีนายกาจ โอภาส สารวัตรบำรุงทางชุมพร ได้ร่วมปฏิบัติงานด้วยในเดือนเดียวกันนี้


Quote:
ฝ่ายญี่ปุ่นได้ใช้กรรมกรชาวมาเลเซียเป็นส่วนมากทำงานดินในทางรถไฟ มีชาวจีนและไทยเป็นส่วนน้อย ซึ่งเป็นช่างไม้สำหรับทำสะพานไม้ชั่วคราว ตามที่มีผู้รับเหมาทำจากกองทหารญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง กองทหารญี่ปุ่นเริ่มงานเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.2486 โดยลงมือทำงานพร้อม ๆ กันไป กล่าวคือ หน่วยที่รับผิดชอบการทำงานดิน ก็ทำงานรุดหน้าเรื่อยไปจนเสร็จ และหน่วยที่รับผิดชอบการทำสะพานรวมทั้งการทำท่อระบายน้ำด้วย ก็มีหน้าที่ทำให้เสร็จไปโดยเร็ว

แนวทางรถไฟแยกออกจากประธานสายใต้ที่สถานีชุมพรตรงหลักกิโลเมตร 469 + 805.30 ห่างจากทางผ่านปัจจุบันประมาณ 34 เมตร ทางรถไฟขนานไปกับทางหลวงสายชุมพร – ระนอง มีสะพานชั่วคราวประมาณ 31 สะพาน ส่วนมากเป็นสะพานช่วงสั้น ยาวไม่เกิน 20 เมตร และเป็นท่อระบายน้ำขนาด 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร เมื่อได้ทำงานดิน, สะพานและท่อระบายน้ำแล้วเสร็จ กองทหารญี่ปุ่นได้นำรางเหล็กที่รื้อมาจากเมืองกลันตัน (มลายู) บรรทุกมาโดยขบวนรถไฟพิเศษมาลงที่ชุมพร แล้วได้ทการวางรางและลำเลียงรางเข้าไปโดยลำดับ การวางรางแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ทางรถไฟมีรัศมีโค้งตั้งแต่ 400 เมตร ถึง 1000 เมตร ประมาณ 137 โค้ง ลาดของทางตั้งแต่ 2 ถึง 4% ตัดกับถนนปัจจุบัน 8 จุด เป็นระยะทางยาวประมาณ 90 กม.


ที่มา : http://www.ranong.go.th/imgtopmenu/menu3/war2/more.htm
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 11:34 am    Post subject: Reply with quote

ประแจทางแยกไปสายคอคอดกระ น่าจะอยู่บริเวณนี้ครับ พิกัด 10.495200,99.167760
ด้านใต้ของสะพานท่าตะเภา ก่อนถึงจุดตัดถนนสายสี่แยกปฐมพร-เทศบาลชุมพร (ทางหลวงหมายเลข 327)

Click on the image for full size
ภาพถ่ายดาวเทียม QuickBird วันที่ 12 พ.ย. 2548
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46689
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2009 11:55 am    Post subject: Reply with quote

ผังการตั้งค่ายรบของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

Arrow http://www.ranong.go.th/imgtopmenu/menu3/war2/map.htm

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 1 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©