RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13151848
ทั้งหมด:13463064
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ไปไหว้พระ 3 วัด เอากุศลมาฝากทุกคนครับ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ไปไหว้พระ 3 วัด เอากุศลมาฝากทุกคนครับ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/04/2006 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

ทางด้านหลังองค์พระนอนจักรสีห์ ได้จัดแสดงวัตถุโบราณตั้งแสดงให้นักท่องเที่ยว ผู้มีจิตศรัทธา ได้เยี่ยมชมหลายอย่างครับ อย่างเช่น

Click on the image for full size

เครื่องเคลือบดินเผาโบราณจากจีน และญี่ปุ่น ที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายวัด ส่วนชิ้นใหญ่ๆ เกือบเท่าตัวคน ตั้งอยู่ด้านขวาภาพ ( ไม่ได้นำลงครับ )
ดูแล้วคิดถึงวัดเขาสุกิม จันทบุรี จังแฮะ...

Click on the image for full size

มีธนบัตรรุ่นเก่า สมัยบริษัท Thomas de la rue เป็นผู้จัดพิมพ์ ทางวัดได้นำมาแสดงที่นี่ด้วย

บ่ายคล้อยเต็มที่ เราจะเดินทางจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ไปยัง อ.ท่าช้าง เพื่อสรงน้ำพระที่วัดพิกุลทอง วัดหลวงพ่อแพ ที่มีผู้กล่าวเปรียบเสมือนเทพเจ้าแม่น้ำน้อย ครับ...
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/04/2006 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

ออกจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ก็เลี้ยวซ้าย แล่นต่อไปตามถนนสาย อ.ค่ายบางระจัน จนเลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงชนบท ก็จะถึงลานจอดรถบริเวณวัดพิกุลทอง ครับ...

( ไม่ต้องกลัวหลงทางครับ มีป้ายบอกทางไปวัดหลวงพ่อแพ ตลอดทางตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยา ไปจนถึงอ่างทองเชียวล่ะ )

Click on the image for full size

........ วัดพิกุลทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2434 โดยขุนสิทธิ์ ( เสือ ) , นายกลับ สถิตย์บุตร นายช่วง เป็นหัวหน้าดำเนินการสร้าง เดิมมีนามว่า " วัดใหม่พิกุลทอง " แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า " วัดใหม่ " เพราะเป็นวัดที่สร้างในเขตนี้ โดยมิได้เป็นวัดร้างมาก่อน

.........พ.ศ.2483 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น " วัดพิกุลทอง " มีเนื้อที่ทั้งหมด 189 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา พระราชทานวิสุงคามสีมาสองครั้ง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2515

.........พ.ศ.2532 ได้รับยกเป็น " พระอารามหลวง " และได้ยกเป็น " วัดพัฒนาตัวอย่าง " ประจำจังหวัดสิงห์บุรี

........ลำดับเจ้าอาวาส มี 6 รูป / รุ่น คือ

1. พระอธิการจันทร์.....................พ.ศ.2434 - 2441
2. พระอธิการปั่น.........................พ.ศ.2442 - 2445
3. พระอุปัชฌาย์พัน.....................พ.ศ.2445 - 2467
4. พระอธิการหยด.......................พ.ศ.2468 - 2473
5. พระธรรมมุนี ( หลวงพ่อแพ ).....พ.ศ.2474 - 2542
6. พระครูปริยัติธีราภรณ์...............พ.ศ.2542 ถึงปัจจุบัน

( คัดจากประวัติโดยย่อของวัดพิกุลทอง )

สำหรับบริเวณวัดพิกุลทอง ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งถนนครับ กว้างขวางมาก แต่ผมจะเข้าไปทางฝั่งด้านตะวันตก ติดแม่น้ำน้อย เพราะมีศาลาตั้งโกษฐ์ และหุ่นไฟเบอร์กลาส หลวงพ่อแพ อยู่ที่นั่น

ผ่านโบสถ์หลังใหญ่นี้ก่อน... ทางด้านเหนือ มีรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) และ รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ให้สักการะบูชาด้วยครับ

Click on the image for full size

สรงน้ำพระพุทธรูป กับรูปหล่อหลวงพ่อแพ ที่ศาลาโถง เอาสิริมงคลกันก่อนครับ ตอนนี้เย็นมากแล้ว ผู้คนเริ่มบางตา ถ้าเป็นเวลาปกติ ทางวัดจะแจกน้ำผลไม้ฟรีแก่ญาติโยมศรัทธาที่มาเยี่ยม คนละแก้ว ถ้าคอแห้ง จะขอเพิ่มอีกก็ไม่ว่ากัน Laughing

Click on the image for full size

เสร็จจากสรงน้ำแล้ว ผมถือโอกาสเดินเลยจากศาลาโถง ตรงไปที่ศาลาตั้งโกษฐ์ และหุ่นไฟเบอร์หลวงพ่อแพ ที่อยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อคารวะท่านอีกครั้งหนึ่ง

ดูจากภาพ...เหมือนกับท่านยังมีชีวิตอยู่นะครับ

Click on the image for full size

สำหรับประวัติหลวงพ่อแพ ขอคัดจากประวัติโดยย่อจากทางวัดมาให้อ่านกันนะครับ

.........หลวงพ่อแพ เป็นบุตรของนายเพียร นางหน่าย ใจมั่นคง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2448 ณ บ้านสวนกล้วย ม.8 ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี มีพี่น้อง 4 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง
.........บรรพชาเป็นสามเณร วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน 2461 ณ วัดพิกุลทอง อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2469 มีพระมงคลทิพยมุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงครามฯ กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่อน เจ้าอาวาสวัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนจารย์ มีฉายาว่า " เขมงฺกโร "
........การศึกษา สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ขณะเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ.2470 ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ และได้ศึกษาด้านจิตศาสตร์และวิทยาคมโดยเป็นศิษย์หลวงพ่อสี เกสโร เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสิงห์บุรี
........ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ " พระธรรมมุนี " พ.ศ.2539
........มรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 สิริอายุครบ 94 ปี


Last edited by black_express on 03/05/2006 5:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/05/2006 10:48 am    Post subject: Reply with quote

เสร็จจากคารวะหลวงพ่อแพแล้ว ขอพาเดินชมบริเวณวัด บริเวณติดแม่น้ำน้อย สักนิดหนึ่งนะครับ

Click on the image for full size

มีรูปหล่อของพระธรรมราชานุวัตร ( หลวงเตี่ย ) ตั้งไว้เพื่อสักการะอยู่ในบริเวณวัดด้วยครับ เอ...สงสัยแล้วล่ะว่า เกี่ยวข้องกับทางวัดทางใดบ้าง ?

Click on the image for full size

หลวงเตี่ย เป็นชาวนครปฐม เกิดเมื่อวันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2476 ที่ตำบลบางแขม อำเภอบางเลน ชื่อเดิม “หว่อยฮั้ว” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกมล ลิ้มศิริชัย บิดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนในตระกูล “ลิ้ม” ชื่อ นายอ่อง มารดาเป็นชาวนาไทยชื่อ นางหมา มีพี่น้องท้องเดียวกัน 9 คน เด็กชาย "หว่อยฮั้ว" มีฝาแฝดเป็นหญิงชื่อบุญเพิ่ม
ชีวิตของคนจีนโพ้นทะเลในยุคโน้น ถือเป็นรุ่นบุกเบิก คงไม่ต่างอะไรกับคนไทยที่ต้องไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในต่างแดน ทุกสิ่งจึงต้องเริ่มต้นจากศูนย์
พ่อพอมีหัวทางการค้าจึงเริ่มสร้างครอบครัวด้วยการค้าขายผ้าและของเบ็ดเตล็ด ในตลาดกำแพงแสน และตลาดนครปฐม แต่เกิดปัญหาน้ำท่วม กิจการค้าขาดทุน ต้องกลับไปทำนาในอาชีพเดิมของแม่
เด็กชาย “หว่อยฮั้ว” เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนลาดปลาเค้า ใกล้บ้าน แต่เรียนมาได้แค่จบชั้นประถมปีที่ 5 ก็ไม่มีทุนเรียนต่อ เพื่อนนักเรียนชั้นเดียวกันคือหลวงพ่อยิ้ม หรือพระครูพิพัฒน์สาธุกิจ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า เล่าว่า
เมื่อเป็นเด็ก ท่านเจ้าคุณเรียนคณิตศาสตร์เก่งที่สุด แต่ภาษาไทยไม่ค่อยเก่งนัก เป็นคนสนิทสนม เข้ากับทุกฝ่าย มนุษยสัมพันธ์ดี ต้องตาต้องใจผู้ใหญ่ เป็นที่รักของเพื่อนนักเรียนและศิษย์วัด
หลวงเตี่ย ในวัยเด็กยากจนมาก ท่านเล่าว่า ท่านเป็นคนจน ไปโรงเรียนนุ่งกางเกงตูดปะ ต้องเอาเศษผ้ามาปะเป็นรูปใบโพธิ์ แม้ที่บ้านจะทำนาแต่บางปีแล้งได้ข้าวไม่พอกินไปตลอดปี โยมแม่ ต้องเอาปลายข้าว มาทำขนมจีนไปแลกข้าวเปลือกบ้านชาวบ้านที่เขามีข้าวมากๆ แล้วเอามาตำ เลี้ยงลูก ตอนเย็นกลับมาจากโรงเรียนก็ช่วยโยมแม่ทำขนมจีน หรือไม่ก็คอยส่องตะเกียงให้โยมแม่ตำข้าว และเพราะความยากไร้นี่เอง พี่สาวไปรับจ้างหาบข้าว ได้สองหาบต่อหนึ่งสตางค์ พี่ชาย 3 คนพร้อมใจกันแก้ปัญหาไปรับจ้างหาบเกลือที่สมุทรสาคร
ท่านว่าตอนเด็กมีผักก็กินกัน วันไหนได้กินแกงไก่เหมือนได้ขึ้นสวรรค์
โอกาสทางการศึกษาในทางโลกปิดตัน แต่ด้วยความรักเรียนเด็กชายแห่งตระกูลลิ้มจึงตัดสินใจ “บวชเรียน” ด้วยการบวชเณรที่วัดห้วยจระเข้ ในอำเภอเมืองนครปฐมนั่นเอง โดยไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่า วันหนึ่งเณรน้อยรูปนี้ จะทำประโยชน์มหาศาลให้กับชุมชนไทย และการศึกษาภาษาไทยของกุลบุตรกุลธิดาไทยในต่างแดน
บวชเณรจำพรรษาอยู่วัดพระงาม อำเภอเดียวกัน โดยมุ่งหน้าเรียนหนังสือเพียงปีเดียวก็สอบได้นักธรรมตรี ปีต่อมาสอบได้นักธรรมโท และนักธรรมเอกในปีถัดไป เมื่ออายุได้ 15 ปี
แม้นครปฐมจะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แค่เอื้อม แต่การศึกษาในทางพระก็หมดแค่ตรงนั้น แต่เพราะทางวัด เห็นความตั้งใจของเณรน้อย จึงให้ทุนปีละ 30 ถึง 50 บาทเพื่อให้ไปเรียนต่อปริยัติธรรมแผนกบาลี โดยพระผู้ใหญ่มาฝากกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( เผื่อน ติสฺสทตฺโต ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ และเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต อันเป็นจุดหักเหที่สำคัญในชีวิต
ระหว่างเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ นอกจากได้ศึกษาจนสามารถสอบเปรียญธรรมได้ 3 ประโยคในเวลา 3 ปีแล้ว ยังได้มีโอกาสศึกษางานด้านเลขานุการของพระที่มีสมณศักดิ์สูง รวมทั้งงานด้านบริหารต่างๆ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ละน้อย
ปี 2487 เณร ได้กลับไปอุปสมบท เป็นพระที่วัดพระงาม มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เผื่อน) เป็นอุปัชฌาย์ ได้สมณฉายาว่า “โกวิโท” แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม และสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
พระมหาโกวิท โกวิโท ก็ยังไฝ่การเรียนไม่หยุดยั้ง ในทางวิชาสามัญ ท่านเรียนเองจนสอบได้มัธยมปีที่ 8 ( ม.8 ) ในยุคนั้น หากประชาชนทั่วไปจะเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครู ก็จะได้วุฒิ ครู ป.( ประโยคครูมูล ) แล้วเป็น ป.ป.( เทียบใกล้เคียงกับ ป.กศ.ต้น ) และ ป.ม.( เทียบเคียงกับ ป.กศ.สูง )
แต่ถ้าเรียนนอกระบบแล้วไปสอบวิชาชุดต่างๆเอง ในใบวุฒิบัตร จะเพิมคำว่า “พิเศษ” เช่นวุฒิ ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) จะเป็น ประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) แต่มีศักดิ์และสิทธิ เท่าเทียมกันทุกประการ แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ที่ไปสอบชุด จะต้องเป็นครูประจำการ ที่สอนหนังสือในสังกัดของโรงเรียน
ช่วงนี้เองที่ หลวงเตี่ย ได้เป็นครูและสามารถสอบสายครูได้จนถึงระดับประโยคครูพิเศษมัธยม หรือ พ.ม. ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น เพราะการศึกษาทั้งสองทางนี้เอง ทำให้ท่านได้ช่วยพระผู้ใหญ่ทำงานด้านบริหาร เช่นเป็นเลขานุการเจ้าอาวาส รวมทั้งที่สำคัญคือเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ปุณฺณสิริ ) หรือ “สมเด็จป๋า”
ในปี 2516 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะภาค 14 ดูแลกิจการคณะสงฆ์ 4 จังหวัดคือ กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี วาระ 4 ปี รวมถึง 4 สมัย 16 ปี ต่อมาเป็นเจ้าคณะภาค3 ดูแลลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาทและอุทัยธานี อีก 13 ปี
งานด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ หลวงเตี่ยได้จัดตั้งโรงเรียนสหศึกษาบาลีที่องค์พระปฐมเจดีย์ ได้นำข้อสอบภาษาบาลีสนามหลวงไปสอบที่จังหวัดนครปฐม
จัดเปิดการอบรมนักเรียนบาลีก่อนสอบ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนมาสอบนักธรรมเอกแล้วตกกันมาก จากความคิดตรงนี้ ได้กลายเป็น “ต้นแบบ” ในการจัดการศึกษาภาษาบาลี
ส่งเสริมการศึกษาพระเณรให้เรียนในระดับมัธยม จากแนวทางดังกล่าวเป็นที่มาของ โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่วัดพระเชตุพน ซึ่งหลวงเตี่ย “เป็นครู” สอนในโรงเรียนนี้ด้วย
ในช่วงที่เป็นเจ้าคณะภาค 3 ยังได้ส่งเสริมการศึกษาพระเณร ในระดับอุดมศึกษาด้วยการประสานกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ขยายสาขาไปเปิดห้องเรียน “คณะพุทธศาสตร์” ที่วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี โดยที่ท่านได้สอนในคณะวิชานั้นด้วย
จากการนักพัฒนาและเป็น “ครู” เหมือนกับหลวงเตี่ยได้ฝึกฝนทักษะด้านการพูดต่อหน้าคนหมู่มาก ซึ่งท่านมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้อยู่แล้ว ชื่อเสียงของท่านในฐานะพระนักเทศน์ และนักพัฒนา จึงเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ทำให้ท่านได้รับนิมนต์ ให้ทำรายการ “เทศน์ปุจฉา วิสัชนา” ในสถานีวิทยุเป็นประจำ ซึ่งต่อมาขยายไปสู่โทรทัศน์ด้วย
หลวงเตี่ย จะใช้ภาษาง่ายๆ โดยหยิบยกเอาเรื่องราวในชีวิตประจำวันมาสอน ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า


“เวลาผมจะพูด จะเทศน์ ต้องกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ผมไม่ลืมว่านี่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พูดที่ไหนพระพุทธเจ้าของเราวิเศษ และต้องยกย่องว่า บรรพบุรุษ ครูอาจารย์ พระมหาเถระเก่าๆ ที่ท่านสอนวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนาเอาไว้แล้ว บรรพบุรุษของเราเก่งมาก ย่อคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ เหลือ 2 คำ คือ บุญกับบาป สังเกตจากวิธีเขาสอนเด็ก เด็กเห็นพระห่มผ้าเหลืองยกมือสาธุ ผู้ใหญ่พูดว่า" ได้บุญลูก” ถ้าเด็กทำไม่ดีมักจะพูดว่า “บาปลูก” บุญกับบาป 2 คำเท่านั้นที่ฝังใจหล่อหลอมเรามา ทุกคนอยากได้บุญ ไม่มีใครอยากได้บาป ผมพูดสอนอย่างนี้”

ผู้ที่เคยฟังหลวงเตี่ยเทศน์ จะทราบว่าท่านมีวิธีที่จะแทรกความกตัญญู ไว้ในเนื้อหาต่างๆ เสมอ ท่านเน้น ให้ผู้ฟังรู้ซึ้งถึงคำว่า “พระในบ้าน” ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ที่เปี่ยมด้วยความรัก โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งเรามีหน้าที่ ต้องทำให้ท่านชื่นใจ ปลื้มใจและภูมิใจ
ในด้านต่างประเทศ ท่านเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2494 ท่านไปสังเกตการณ์พุทธศาสนาในประเทศลาว จากนั้นไปจำพรรษาที่ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ไปสิงคโปร์ ไปร่วมงานสังคายนาพระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ไปสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ไปนมัสการสังเวชนียสถานประเทศอินเดียและเนปาล
เป็นคณะสังฆกรรมพิธีผูกพัทธสีมาวัดไทยในต่างประเทศหลายแห่ง
เป็นเลขานุการตามเสด็จสมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ) ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต ไปเยี่ยมวัดพุทธประทีป ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และแถบยุโรป
จนกระทั่งปี 2512 มาจำพรรษาที่ลอสแอนเจลิส ในฐานะที่ปรึกษาการสร้างวัดไทยในนครแห่งนี้

วัดไทยในนครลอสแอนเจลิส เป็นวัดไทยแห่งแรกที่สร้างขึ้นในสหรัฐฯ เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2512 เมื่อพระครูวชิรธรรมโสภณ ( สีนวล ) จากวัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ เดินทางไปวอชิงตัน ขากลับได้รับนิมนต์ที่ลอสแอนเจลิสตามคำอารธนาของ บัญชา ชูประเสริฐ ท่านได้รับการปรารภจากคนไทยเกี่ยวกับการสร้างวัด
เมื่อกลับกรุงเทพฯ จึงได้ปรึกษากับทางประเทศไทย เพื่อนิมนต์พระไปจำพรรษา ในช่วงนี้ คนไทยในแอลเอได้จดทะเบียน “พุทธสมาคมอเมริกัน - ไทย” พร้อมทั้งมีหนังสือกราบนมัสการไปยังสมเด็จพระวันรัต และขออาราธนาพระสงฆ์ไปจำพรรษา
สมเด็จพระวันรัต ได้อนุมัติพระภิกษุ 3 รูป คือพระราชโมลี ( หลวงเตี่ย ) พระครูวชิรธรรมโสภณ และพระมหาสิงห์ทน นราสโภ พร้อมด้วยศิษย์ 2 คนคือธวัช จันทร์กาพรหม และสุทัศน์ พงษ์ขวัญ เดินทางมาลอสแอนเจลิส เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2512 เสาวภา บุตรานนท์ ได้มอบบ้านที่สติวดิโอซิตี้ เป็นสถานที่จำพรรษา
ปี 2514 พระธรรมโกศาจารย์ ( ชอบ ) ได้พบหารือกับ เกียรติ ประชาศรัยสรเดช และ พูนศักดิ์ ซอโสตถิกุล ตกลงจัดหาทุนซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดไทย ที่บ้านเลขที่ 16326 ถนน Chase เมือง Sepulveda เป็นบ้านหนึ่งหลัง แต่เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวอยู่ใกล้สนามบิน จึงไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างอาคารสูง
ต่อมา วิชัย-บุญสม ซอโสตถิกุล บิดามารดาของ พูนศักดิ์ ซอโสตถิกุล เป็นผู้ซื้อบ้านพัก 2 หลังพร้อม ที่ดินแปลงใหม่ในย่าน นอร์ท ฮอลลีวูด และต่อมาได้ถวายให้กับวัดไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2515
พระสงฆ์ไทยชุดแรกนำโดยพระมหาโสบิน โสปาโก และพระสงฆ์อีก 4 รูปมาจำพรรษาพร้อมอัญเชิญ “พระพุทธชินบพิตรลอสแอนเจลิสอภิปูชนีย์” มาเป็นพระประธานประจำวัดไทยองค์แรก
ในปี 2518 พระสงฆ์ชุดแรกหมดวาระ จึงมีพระสงฆ์ชุดที่ 2 มาปฏิบัติหน้าที่ นำโดยพระมงคลราชมุนี ปัจจุบันคือพระมงคลเทพโมลี วัดสุทัศน์เทพวราราม เดินทางมารับหน้าที่ต่อ
ครั้นพระสงฆ์ชุดที่ 2 หมดวาระอีกคณะกรรมการฯ ได้เลือก พระเทพโสภณ (หลวงเตี่ย) มารับหน้าที่ในชุดที่ 3 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522
ความจริงหลวงเตี่ยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างวัดไทยฯมาตั้งแต่ต้น จึงรู้ความเป็นไปเป็นอย่างดี และ เป็นที่ยอมรับว่าก่อนที่หลวงเตี่ยมารับตำแหน่ง การก่อสร้างอยู่ในภาวะชะงักงัน ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างมาก ในการสร้างศรัทธาทำให้การดำเนินการสร้างวัดก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ
ในวันที่ 11 มิถุนายน 2522 ได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็น วัดไทยลอสเอนเจลิส
อุโบสถที่เห็นอยู่หลังปัจจุบัน ค่อยๆก่อเป็นรูปร่างจากแรงศรัทธาของประชาชน งานหลายส่วน พระเป็นผู้ลงมือทำเอง แม้กระทั่งงานมุงหลังคาโบสถ์ แม้บางครั้งจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน หลวงเตี่ยเอง ก็เคยตกบันได แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อ งานส่วนไหนที่เกินกำลังจึงจ้างช่างมารับเป็นช่วงงานไป
เพราะความเป็นนักบริหาร นักพัฒนา และนักเทศน์ ทำให้วัดไทยได้รับการพัฒนามาเป็นระยะๆ จนกระทั่งวันที่ 21 ตุลาคม 2522 สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตร เสด็จมาทรงเป็นประธานยกช่อฟ้า ในงานนี้ ถูกบันทึกไว้ว่ามีพุทธศาสนิกชนมามากเป็นประวัติการณ์ ทั้งชาวไทย ชาวลาว ชาวเขมร ประมาณ 2,000 - 4,000 คน โดยที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งท้องถิ่นลงว่ามีคนเป็นหมื่น
วันที่ 26 ธันวาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระประธาน อันเป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก 9 นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระอุระ อันเป็นปางประธานพร และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานไว้ ณ ผ้าทิพย์ พระราชทานพระนามว่า “พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิตย์”
ในโอกาสนี้ ได้หล่อรูป พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิตย์จำลอง หน้าตักกว้าง 5 นิ้วและ 9 นิ้ว จำนวน 2522 องค์ด้วย
วันที่ 30 มีนาคม 2523 บริษัทการบินไทย ได้อัญเชิญ“พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิตย์” มาในโอกาสเที่ยวบินปฐมฤกษ์ระหว่างไทยกับอเมริกา โดยสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตร เสด็จมาด้วย
วันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2523 สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานประกอบพิธีอัญเชิญ “พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิตย์” ขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ
ด้วยงานพัฒนาและเผยแผ่ศาสนาของพระเทพโสภณ ( หลวงเตี่ย ) เป็นที่ประจักษ์ของชาวไทย และชาวต่างประเทศ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับของฝ่ายบ้านเมือง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2523 นายทอม แบรดเลย์ นายกเทศมนตรีนครลอสแอนเจลิส ได้ถวายกุญแจเมืองเป็นเกียรติแก่พระเทพโสภณ
วัดไทย ได้กลายเป็นศูนย์กลางของสังคม เป็นที่พึ่งทางใจของคนไกลบ้าน ที่สามารถมาประกอบพิธีกรรม มาทำบุญในโอกาสต่างๆ ในเวลาเดียวกันก็เป็นที่ให้ลูกหลานไทยที่พ่อแม่พามาวัดในวันหยุดได้วิ่งเล่น เมื่อพระเห็นเด็กมากันมากขึ้น จึงมีดำริที่จะสอนภาษาไทย โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2517 และเปิดเป็นทางการในนามโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไทย ( ซึ่งต่อมาได้ตัดคำว่าวันอาทิตย์ออก ) เมื่อ 4 เมษายน 2519 โดยพระสอนกันเอง และไม่สม่ำเสมอ ต่อมาก็มีประชาชนที่เคยเป็นครูมาอาสาสมัคร ในช่วงแรกอาทิเช่น ไสว ทองกุล เกษม พิมานมาศ โกวิท โพธิตะนัง ธรรมนูญ ปิ่นวัฒนะ รจิต ปิ่นวัฒนะ ดร.กรณี ฉันท์เจริญวานิช ฯลฯ
ในปี 2521 - 22 โรงเรียนหยุดสอนชั่วคราว เพราะต้องทุ่มเทกับงานสร้างโบสถ์ จนกระทั่ง 6 มกราคม 2523 หลวงเตี่ย ได้เริ่มต้นการเรียนการสอนอีกครั้ง จากนั้นในปี 2525 ได้มีโครงการการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน และได้มีการร่างหลักสูตร รวมทั้งมีอาจารย์จากครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาอาสาสมัครเป็นผู้สอน ซึ่งต่อมาโรงเรียนของวัดไทยได้เข้าไปอยู่ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน

หลวงเตี่ย เคยบอกไว้ว่า


“ ในส่วนของพระสงฆ์ทั้งหมด ก็เหน็ดเหนื่อยกับเรื่องเด็กพอสมควร จัดโต๊ะ กางเต็นท์ ช่วยดูแลเด็กก่อนเข้าเรียนและเมื่อเลิกเรียนแล้ว ต้องระวังไม่ให้เด็กออกไปเล่นข้างนอกบริเวณวัด จนกว่าผู้ปกครองจะมารับ เราทำเช่นนี้ก็ด้วยรำลึกตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ” เราจึงอยากตอบแทนความดีท่านทั้งหลายที่ให้การอุปถัมภ์มาโดยตลอด

ข้าพเจ้าเองนั้นตระหนักดีว่าคงจะก้าวสู่ทางนิพพานไม่ได้แน่"


( จากเรื่อง " หลวงเตี่ยและวัดไทย ( พงษ์ รำไพ ) ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เสรีชัย หนังสือพิมพ์คนไทยและเวปไซด์ http://www.sereechai.com ลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียบเรียงข้อมูลจากหนังสือ “โกวททานุสรณ์” โดยรับความเอื้อเฟื้อจาก คุณพิทยา พันธุมาศ )

จากเวปไซด์ของวัดไทยในลอส แองเจลิส ครับ http://61.19.145.7/student/web42106/509/509-2240/index.htm
และอีกเวปไซด์หนึ่ง สุสาน ดอทคอม http://www.susarn.com/susarnth/list%20of%20name/St/St.asp?nameid=55#prawat
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/05/2006 11:52 am    Post subject: Reply with quote

ถึงตอนนี้ ก็รู้ล่ะครับว่า หลวงเตี่ย ในช่วงที่เป็นเจ้าคณะภาค 3 ยังได้ส่งเสริมการศึกษาพระเณร ในระดับอุดมศึกษาด้วยการประสานกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ขยายสาขาไปเปิดห้องเรียน “คณะพุทธศาสตร์” ที่วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี โดยที่ท่านได้สอนในคณะวิชานั้นด้วย
สอดคล้องกับหลวงพ่อแพ ที่มีเมตตา ต่อญาติโยมตลอดลุ่มแม่น้ำน้อย ซึ่งวัดแห่งใด โรงเรียนใด สาธารณสมบัติที่ไหน เกินกำลังที่พี่น้องในท้องถิ่นดังกล่าวจะจัดสร้างได้ ก็อาศัยบารมีหลวงพ่อแพ กระทำการจนสำเร็จ จนเป็นที่มาของฉายาว่า " เทพเจ้าลุ่มแม่น้ำน้อย "

ลองดูตัวอย่างสาธารณสมบัติที่สำเร็จด้วยบารมีหลวงพ่อแพ และศิษยานุศิษย์ สักแห่งหนึ่งนะครับ " สะพานข้ามแม่น้ำน้อย " บริเวณหลังวัดพิกุลทองนี่เอง...

Click on the image for full size

สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่มีเส้นทางจราจรเดี่ยว ดูทางขึ้นสะพานก่อนนะครับ Very Happy
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะติดบริเวณวัดพอดี ไม่มีเส้นทางเลือกอื่น แต่ชาวบ้านก็ขับรถผ่านไปมาหน้าตาเฉยล่ะครับ เพราะชินทาง ( สิบล้อไม่เกี่ยวครับ )

Click on the image for full size

ทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ทางด้านเหนือ และด้านใต้ เอ...มีใครรู้ว่า แม่น้ำน้อย เริ่มต้นจากที่ไหน และสิ้นสุดตรงที่ไหนเอ่ย ? Very Happy

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ก็...ลาวัดพิกุลทอง ไปจุดหมายอีกแห่งหนึ่งตามที่เจ้าภาพร้องขอในวันนี้ โน่นครับ....อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน อยากตามไปดูไหมครับ ? Laughing

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/05/2006 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

ออกจากวัดพิกุลทอง ล่องใต้ไปตามทางหลวงชนบท ( ไม่ได้ใช้สะพานข้ามแม่น้ำหลังวัดหรอกครับ ใจยังไม่ถึง ตอนนี้ Very Happy ) ระยะทางสักกิโลเมตรเศษ มาบรรจบทางหลวงจังหวัดสาย อ่างทอง - อ.โพธิ์ทอง - อ.ท่าช้าง - อ.บางระจัน เลี้ยวขวาขึ้นเหนืออีกสักสิบ ก.ม.ก็จะถึงทางหลวงสายสิงห์บุรี - อ.ค่ายบางระจัน ( ถ้าไม่เลี้ยวไปที่วัดพิกุลทอง ก็มาโผล่ตรงสี่แยกนี้พอดี )

ลัดเลาะไปตามเส้นทางไม่นานนัก ก็เลี้ยวขวาเข้าสู่บริเวณอุทยานวีรชนค่ายบางระจัน ในเวลาหกโมงเย็นพอดี
ไม่สนใจป้ายบอกเวลาที่ประตูใหญ่ล่ะครับว่า ปิดเวลา 18.00 น. เพราะยังมีผู้เข้ามาเที่ยวหลายสิบคน Very Happy

Click on the image for full size

ผังบริเวณอุทยานวีรชนฯ ครับ

Click on the image for full size

สำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชมนะครับ เท่าที่ผมเห็น จะมีแผงขายหมากพลู บุหรี่ ให้ซื้อไปบูชาปู่ ย่าวีรชนฯ ด้วยสิ เหมือนเราไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ทำนองนั้น....

Click on the image for full size

ขอคัดลอกคำจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ฯ มาเผยแพร่ครับ...

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด
ณ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙
.................
เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ
ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่มคร้ามในฝีมือ
................
รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/05/2006 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

เอ้อ...แล้วจะรู้ว่าเป็นอนุสาวรีย์ของใครบ้างล่ะ รู้ๆ ว่ามีนายทองเหม็นคนหนึ่งละ...เพราะตำนานประวัติศาสตร์ระบุว่าขี่ควายลุยรบกับพวกพม่า... Very Happy

มีวิธีครับ จากกรมศิลปากร ดูแล้วคงเดาไม่ยากว่าเป็นใครกันบ้าง ?

Click on the image for full size

ด้านหน้า ตามหมายเลข...
1. นายทองแสงใหญ่ 2. นายอิน 9. นายโชติ 10. นายทองเหม็น 11. นายแท่น 6. นายดอก 8. ขุนสรรค์

Click on the image for full size

ด้านหลัง ตามหมายเลข...
8. ขุนสรรค์ 7. นายจัน 6. นายดอก 5. พันเรือง 1. นายทองแสงใหญ่ 4. นายเมือง 11. นายแท่น 3. นายทองแก้ว

Click on the image for full size

เส้นทางที่มองตรงจากอนุสาวรีย์ฯ จะไปบรรจบทางหลวงสาย สิงห์บุรี - อ.ค่ายบางระจัน ถัดจากนั้น จะเป็นวัดโพธิ์เก้าต้น ที่พำนักของพระอาจารย์ธรรมโชติ ศูนย์รวมกำลังใจของชาวบ้านบางระจัน มีค่ายลูกเสือจังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ที่นี่ครับ

Click on the image for full size

แล้วทัวร์วันนี้ก็สิ้นสุดลง Very Happy ขากลับ ผมย้อนเส้นทางเดิมถึงสี่แยกชันสูตร เลี้ยวขวาขึ้นเหนือ ไปถึงสี่แยกบ้านไหสี่หู อ.บางระจัน เข้าถนนชลประทานตรงไปออก อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท เข้าถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท เลี้ยวซ้ายเข้า อ.วัดสิงห์ ออก จ.อุทัยธานี ตียาวเข้า อ.ทัพทัน ถึงบ้านญาติราวสองทุ่มครึ่ง ทันฝนช่วงสงกรานต์พอดี

ปีนี้...ฝนไม่แล้งแน่นอนครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 02/05/2006 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ วันสุดท้ายที่ผมจะพาเที่ยววัดอีกแห่งหนึ่ง และเป็นวันเดินทางกลับของสองพี่น้องเราด้วยสิ...

หลังจากทำบุญตักบาตรที่วัดกับญาติพี่น้อง อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษแล้ว ราวสี่โมงเช้า..ออกจากอุทัยธานีเข้าเส้นทางสาย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท พอผ่านที่ทำการไปรษณีย์ เลี้ยวเข้าถนนแยกซ้ายถัดไป ลัดเลาะผ่านชุมชนในเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์ สักพักก็ข้ามสะพานปากคลองมะขามเฒ่า หรือ แม่น้ำท่าจีนนั่นแหละครับ เราจะไปไหว้สักการะหลวงปู่ศุข อดีตเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นที่เคารพของชาวชัยนาท และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ครับ...

Click on the image for full size

เส้นทางไปวัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากเส้นทางสาย อ.วัดสิงห์ ที่ค่อนข้างคดเคี้ยว พอสมควรแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางจากเส้นทางสายพหลโยธิน จาก จ.ชัยนาท หรือ จาก อ.มโนรมย์ ก็ได้ โดยเลี้ยวที่สามแยกบ้านดักคะนน ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท มาสิ้นสุดที่ท่าลงโป๊ะหน้าวัดปากคลองมะขามเฒ่าพอดี มีอยู่สองท่าครับ ค่าข้ามโป๊ะราวๆ 25 บาท

Click on the image for full size

แปลกที่ว่า เส้นทางแยกสายนี้ผ่านเขาธรรมามูล สถานที่สำคัญของจังหวัดชัยนาทด้วย แต่กรมทางหลวงยังไม่ได้ติดป้ายคืนให้ หลังจากขยายถนนเป็นสี่เลนแล้ว

ขอป้ายคืนด้วยครับ... 8)

Click on the image for full size

วันนี้...มีนักท่องเที่ยวค่อนข้างบางตา อาจเป็นเพราะไปทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษกันตามประเพณีก็ได้

Click on the image for full size

มาดูประวัติโดยย่อของวัดสักนิดหนึ่งนะครับ....
....วัดปากคลองมะขามเฒ่า ( วัดหลวงปู่ศุข ) ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า ( แม่น้ำท่าจีน ) แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมมีต้นมะขามใหญ่อยู่หน้าวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเกิดน้ำกัดเซาะตลิ่งมากจนต้นมะขามล้มหายไปตามน้ำ เหลือแต่เพียงชื่อวัด เป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียงทางพระเครื่องที่เรียกว่า " หลวงปู้ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า " ซึ่งประชาชนให้ความนับถือมาก ภายในวัดยังมีพระอุโบสถซึ่งมีภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อยู๋ที่ผนังโบสถ์ด้านหน้าของพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติ...
( จากป้ายประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย )

Click on the image for full size

ในศาลาโถง ผมได้มีโอกาสสรงน้ำสักการะรูปหล่อหลวงปู่ศุก และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในคราวนี้เอง รู้สึกว่ามีผู้ศรัทธามาก สังเกตจากทางคำเปลวที่ปิดจนหนาเตอะเชียวครับ

และถือโอกาสไปสักการะ หุ่นไฟเบอร์หลวงปู่ฯ ที่ศาลาด้านซ้ายมือ บูชาพระกริ่งหลวงปู่ฯ มาไว้ที่รถองค์หนึ่ง แถมด้วยเก็บภาพเก่าๆ มาฝากกันด้วยครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

เสร็จสรรพ ก็ออกสำรวจบริเวณวัดตามถนัดล่ะ
Click on the image for full size

Click on the image for full size

ไปหยุดที่โบสถ์หลวงปู่ศุข สร้างด้วยช่างชาวจีน แต่ฝากฝีไม้ลายมือให้ลูกหลานได้ชมกันสุดฝีมือเชียวครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 02/05/2006 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ใกล้ๆ โบสถ์หลวงปู่ศุก มีเรือประวัติศาสตร์ ตั้งแสดงอยู่ลำหนึ่งครับ เป็นเรือกลไฟ ที่คุณแม่ส้มจีน กำเนิดมณี ถวายหลวงปู่ศุก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางตามกิจนิมนต์ แต่วันเดือนปีที่ถวาย ต้องขอโทษจริงๆ ครับ ที่ลืม close up มาให้ดูชัดๆ แฮ่ะๆ...

Click on the image for full size

จากสภาพเรือ ดูแล้วน่าเสียดายมากๆ ครับ เพราะจัดตั้งไว้กลางแจ้ง จนทรุดโทรมไปต่อหน้าต่อตา แถมมีการกั้นห้อง เขียนถ้อยคำจนเลอะเทอะไปหมด ไม่มีการบูรณะรักษาไว้เลยSad

เออ...ฝีมือช่างเมืองชัยนาท หมดแล้วหรือไร ?

ถ้าไม่ต้องการให้รกหูรกตาก็เอาไปทิ้งทำฟืนดีกว่า 8)

Click on the image for full size

ไปดูสิ่งที่สร้างสรรค์บริเวณอื่นกันดีกว่าครับ.. วนเวียนออกมาทางหน้าวัดอีกครั้งหนึ่ง มีต้นโพธิ์ประวัติศาสตร์ซึ่งมีป้ายจารึกไว้ว่า เป็นสถานที่ปักกรดเพื่อภาวนาของหลวงปู่ศุขครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

เดินข้ามถนนลงมาที่ท่าน้ำหน้าวัดครับ อยู่ใต้ศาลาริมแม่น้ำ สวยงามมากครับ ( หากปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆ แล้วเสร็จบริบูรณ์ ) ตั้งใจว่าจะมาเลี้ยงปลา ซึ่งบริเวณหน้าวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด ของกรมประมง และเป็นเขตอภัยทาน ห้ามจับสัตว์น้ำของทางวัดอีกด้วย

Click on the image for full size

ลองทดสอบปริมาณปลาสักหน่อย....แค่อาหารเม็ด ฝูงปลาตัวเท่าแขน ขาผู้ใหญ่แย่งกันน้ำกระจาย Smile เชื่องนะครับ ขนาดเอื้อมมือไปจับตัวปลาเล่นยังได้

Click on the image for full size

สักพักก็มีเรือนำเที่ยว เข้ามาเทียบท่า ที่นี่มีบริการเรือนำเที่ยวด้วยครับ ติดต่อได้ที่ท่าน้ำหน้าวัด พอนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ลงจากเรือ ซื้อขนมปังแถวเล็กโปรยแจกปลา น้ำระเบิดเป็นสายด้วยฤทธิ์จากฝูงปลา โหย...ดูเพลินจนแทบลืมเวลาเดินทางต่อเชียวล่ะ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 02/05/2006 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

อ่ะ...ครบสามวัดแล้วล่ะนี่ ? ได้เวลาเดินทางกลับเสียทีครับ เพราะเป็นคนบ้านไกล Smile

ออกจากวัดปากคลองมะขามเฒ่า ก็ขับรถตียาวรวดเลยครับ ผ่านชัยนาท ข้ามถนนสายเอเซีย ( รถเริ่มแยะแล้วล่ะ ) เข้าถนนเลียบคลองชลประทานที่ตาคลี ช่องแค...
แวะทานมื้อเที่ยงริมทางแถวๆ อ.บ้านหมี่ ท้องฟ้าเริ่มครึ้ม ลมเริ่มโชยมาจากทางทิศใต้แล้วสิ....

ออกจากบ้านหมี่ เจอฝนช่วงสงกรานต์เข้าเต็มที่ ค่อยๆ ประคองรถไปเรื่อยๆ ผ่านโคกกระเทียม เข้าตัวเมืองลพบุรี ฝนขาดช่วงพอดี

น้องส่งผมที่หน้าสถานีลพบุรี ก่อนย้อนออกไปทางโคกสำโรง - ลำนารายณ์ ผ่านชัยภูมิ กลับบ้านที่ขอนแก่น

รายงานมาว่าเจอฝนที่ อ.ด่านขุนทด ถึงบ้านราวทุ่มครึ่งแน่ะ...ค่อยโล่งใจหน่อย

Click on the image for full size

ผมเข้าสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงกำหนดจำหน่ายตั๋ว ได้รับแจ้งว่า ข.112 เด่นชัย - กรุงเทพ ( รถเร็วปรับศักย์ ) จะหยุดที่ลพบุรี เวลาประมาณ 14.42 น. และยังไม่จำหน่ายตั๋วจนกว่า ข.209 กรุงเทพ - บ้านตาคลี จะผ่านลพบุรีไปแล้ว

เวลาที่เหลือ คงทำได้แต่นั่งรอดูท้องฟ้าที่มืดลงทุกขณะ สายฟ้าแลบที่สวยๆ เวลาอยู่ไกลๆ แล้ว ข. 209 เข้าชานชาลาพร้อมกับสายฝนที่เริ่มโปรยสู่ตัวเมืองลพบุรี

Click on the image for full size

จากประสบการณ์เมื่อ 2 วันก่อนหน้านี้ ข.112 เด่นชัย - กรุงเทพ จะต้องรอหลีกกับ ข.209 กรุงเทพ - บ้านตาคลี ที่สถานีโคกกระเทียม ก็จัดแจงซื้อตั๋วเข้าบางซื่อตามระเบียบ... Smile

Click on the image for full size

แล้ว ข.น้ำมันดิบ แม่น้ำ - บึงพระ ก็เข้าสู่ย่านสถานีลพบุรี ( ที่ทราบว่ามาจากสถานีแม่น้ำ เพราะมีถุงขยะฝากมากับ บทค. แถมเที่ยวนี้มีจานข้าวติดมาอีกด้วย โห... Sad ) ต้องรอหลีก ข. 112 ที่นี่แน่นอน

Click on the image for full size

เก็บเอาบรรยากาศนอกฤดูกาลไว้สักภาพเหอะน่า... Very Happy

Click on the image for full size

มาแล้วครับ ข.112 ที่รอคอย วันนี้มี HID ทำขบวนด้วยสิ ( แสดงว่าขบวนนี้ เขตเดินรถที่ 3 รับผิดชอบใช่ไหมเอ่ย? ใครทราบช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับ )

Click on the image for full size

วันนี้เดาใจได้ถูกครับว่า ขบวนนี้มีที่ให้นั่งแน่ๆ เพราะวันที่ 15 เมษายน พี่น้องชาวเหนือยังไปทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่กันอยู่ แถมขบวนนี้ออกต้นทางแต่เช้า เป็นรถเร็วด้วยสิ ผมเลยได้ที่นั่งอยู่ใกล้ๆ ห้องน้ำ แต่อยู่เหนือลม Very Happy
แถมรอบข้าง ปิดหน้าต่างกันหมด ฝนตกตลอดทางมาจนถึงบางปะอิน

Click on the image for full size

มาตื่นตัวกันอีกทีที่ดอนเมือง...ฝรั่งแบกเป้ตอนนี้ รู้จักขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ นะครับ ถูกกะตังค์ด้วยสิ สงสัยพวกนี้คงบอกทางสื่อในแวดวงต่อๆ กันมา

Click on the image for full size

ในที่สุด ก็ถึงจุดหมายของผมล่ะครับ ชุมทางบางซื่อ...
โชคดีที่ไม่ต้องห้อยโหนเหมือนขาไป ค่อยสะดวกสบายตัวหน่อย Very Happy

Click on the image for full size

ข. 112 น่าจะออกแล้วนะ แต่เดี๋ยว รออะไรหว่า ?
อ้อ...เขาฝาก Alsthom สองคัน พ่วงท้ายไปด้วยแฮะ Smile

Click on the image for full size

Alsthom คันท้ายนี่...เลขสวยครับ 4101 Laughing พ่วงท้ายขบวนเข้ากรุงเทพไปแล้ว

ก็มุดดินกลับเข้าบ้านเราบ้างสิ..... พอถึงที่พัก สิ่งแรกที่ทำคือเอาชุดเก่งเมื่อสามวันก่อนลงถังซักหมด หมักกลิ่นรถไฟมานานโข กลิ่นอมตะจริงๆ แฮะ ? Very Happy

ขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามทัวร์นี้มาจนตลอด
และขอให้กุศลผลบุญที่ได้มาจาก 3 วัดและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย...
ได้โปรดคุ้มครองทุกท่านได้ปราศจากภยันตรายทั้งปวง
มีความสุขความเจริญตลอดปีใหม่ไทยนี้ด้วยนะครับ....
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 05/07/2006 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

พี่ตึ๋งครับ ( ผมเรียกพี่ได้หรือเปล่าเนี่ย เพราะในกระทู้แนะนำตัวไม่มีข้อมูลของพี่ ๆ เลยสักคน สมาชิกใหม่ก็อยากรู้จักนะครับ จะได้เรียกถูก )

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร นี่ผมไม่แน่ใจว่าเคยไปหรือเปล่า แต่จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ ก็เคยไปเที่ยวที่วัดแห่งนึงเหมือนกัน มีพระนอนองค์ใหญ่มาก ๆ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ตอนนั้นกลัวมากเลย เพราะไม่เคยเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่แบบนี้มากก่อน Embarassed

สวนนกที่ชัยนาทนี่ก็ตอนเด็กเหมือนกัน แต่ผมไม่เคยไป ตอนนั้นเวลาจะกลับพิษณุโลก ถ้าไม่นั่งรถไฟ พ่อผมก็จะขับรถไปเอง มีหลายครั้งที่ชาวชัยนาทจัดงาน ก็จะมีหุ่นฟางนกตั้งอยู่ริมถนนที่ผมผ่าน พ่อก็บอกจะพาไป จนถึงป่านนี้ล่วงเลยมาเกือบ 20 ปีแล้ว ผมยังไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเลย... Sad

สะพานที่คล้าย ๆ กับสะพานข้ามแม่น้ำน้อยนี่ก็ยังมีอีกนะครับ อย่างน้อยที่ใกล้ ๆ ตัวเลยก็สะพานแถว ๆ เตาปูน ไงครับ... ทำไปได้

เรื่องสุดท้ายก็เป็นคราวที่ผมพาลูกชายไปเที่ยวโคราช ไปกับขบวนที่ 135 พอรู้ว่าขบวนนี้มี บชท. เป็นตู้สุดท้าย ก็คิดว่าคงโชคดี สะดวกที่จะได้ถ่ายรูปท้ายขบวนมาก ๆ เลย แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ถึงสระบุรี ก็มีผู้โดยสารซื้อตั๋วชั้น 3 มายืนเกาะอยู่ท้ายรถเต็มเลยครับ ผมเลยอดเลย แต่ก็มีบางครั้งที่ไปขอเขาถ่ายรูปเหมือนกันครับ คนไทยเหมือนกันคงคุยกันได้ แต่ยังไง ๆ ก็ไม่สะดวกเหมือนอย่างที่คิดไว้อยู่ดี ช่างมันดีกว่า เรื่องมันผ่านมาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©