RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181791
ทั้งหมด:13493030
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึก โครงการสร้างทางรถไฟแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๘๔
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึก โครงการสร้างทางรถไฟแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๘๔
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2009 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
จะโทษใครดีหละ เพราะปี 2482 รัฐบาลท่านมีมติ ครม. (29 ธค.2482) ก็ให้ตัดระยะการสร้างทางรถไฟ จากขอนแก่น ไปหนองคายไว้ที่ อุดรธานี โดยอ้างว่าหนองคาย และ เวียงจันทน์ คนน้อย ไม่คุ้มจะต่อระยะจากอุดร (ที่มั่นทางทหาร) ไปหนองคาย เพื่อขนเครื่องสีข้าวไปตั้งริมโขง เพราะสามารถสร้างถนนดินลูกรังทับทางเกวียน จากอุดรไปหนองคายได้ ซึ่งถูกกกว่ากัน 4 เท่า แถมยังสำทับอีกว่าหมดยุครถไฟแล้ว สร้างทางหลวงเพื่อกระจายให้ทั่วถึงจะดีกว่า

แต่เอาเข้าจริง สร้างได้แต่เฉพาะ ถนนดินลูกรัง สาย อุดร - สกลนคร - นครพนม (ทางหลวงสาย 22) เพราะ ติดสงคราม ซื้อราง และสะพานเหล้กจากยุโรปมาไม่ได้

ตอนที่สร้างทางสายอุดรเสร็จ ก็ขน ครฟ. + คนงานกะสร้่างทางรถไฟไปภูเก็ต ยุคดีบุกมีค่ามากหลาย ก็ดันติดสงคราม พอญี่ปุ่นบุก ก็ขอให้ญี่ปุ่นช่วยทางรถไฟสายไปภูเก็ต แต่ญี่ปุ่นไม่เอา เพราะไม่อยากเสี่ยงกับเรือดำน้ำ และทุ่นระเบิด เลยให้สร้างทางรถไฟสายมรณะอันลือชื่อแทน

ครั้นพอท่านผู้นำกลับมามีอำนาจ ก็ทำได้เพียงสร้างทางไปท่าขนอน ปี 2499 โดยเอาราง 60 ปอนด์ที่ได้จากการรื้อทางสายมรณะไปสร้าง จากนั้นไม่นานก็หมดอำนาจ ทางเลยดูท่าจะตายไปตามท่าน ไม่เหมือนทางหนองคายที่มีคุณมากพอที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐให้เงิน 4 ล้านดอลลลาร์ (80 ล้านบาทในยุคทองบาทละ 400) สร้างให้เสร็จใน 7 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 14/06/2009 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นไปตามวลีที่ว่า "ผู้ใหญ่เปลี่ยน นโยบายก็เปลี่ยนตาม" ครับ Confused

ยิ่งช่วงที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็มีการเร่งขยายเส้นทางถนน ประปา ไฟฟ้าตามนโยบาย "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี" เข้าไปในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือกับภาคอีสาน เพราะเริ่มมีปัญหาภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาแล้ว ทางรถไฟซึ่งใช้เงินทุนสูง สร้างได้ช้ากว่าก็เลยพลอยถูกลืมเลือนไป

ไม่น่าเชื่อนะครับว่าแค่เวลา 50 ปี การรถไฟฯจะถูกบอนไซจนแคระแกร็นได้ขนาดนี้ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 14/06/2009 7:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

ยุบ 355/356 เมื่อไหร่ สภาพทางคงคล้ายหาดใหญ่-สงขลาครับ ขอให้การยกเลิกการเดินรถสายสงขลา เมื่อปี 2521 เป็นบทเรียนบทสุดท้ายแล้วกันครับ
บ้านที่มีเจ้าของบ้านอาศัยอยู่ทุกวัน
กับบ้านที่ไม่มีคนอยู่ จ้างคนมาดูแลทำความสะอาดเป็นระยะ
อย่างไหนจะแข็งแรง คงทนกว่ากันครับ



ก็นั่นสิครับ แม้แต่กระผมยังเสียดายเลยว่า ได้มีการยกเลิกขบวนรถรวมที่ 345 และ 346(ธนบุรี-สุพรรณบุรี) ที่มีอยู่ในอดีตไป Crying or Very sad ทั้งนี้ก็เพราะหากยังมีขบวนรถรวมดังกล่าวนี้อยู่ ก็จะช่วยให้มีการลำเลียงรถสินค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยเฉพาะเป็นขบวนรถที่นำเอา บทต. ออกมาจากเส้นทางสายนี้ เพื่อมารอที่หนองปลาดุกได้ดีอีกด้วยนะสิครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 14/06/2009 9:54 pm    Post subject: Reply with quote

ลองเทียบกับญี่ปุ่นดูครับ

พ.ศ.2439 (ค.ศ.1896)ประเทศไทยมีทางรถไฟ 72 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ (ค.ศ.1901) 1,323 กิโลเมตร (ญี่ปุ่นเริ่มมีรถไฟ ค.ศ.1881 มีระยะทาง 122 กิโลเมตร)

พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ประเทศไทยมีทางรถไฟ 3,267 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ 18,400 กิโลเมตร

พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009)ประเทศไทยมีทางรถไฟ 4,346 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ 20,900 กิโลเมตร + 3400 กม.ของเอกชน
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2009 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

umic2000 wrote:
เป็นไปตามวลีที่ว่า "ผู้ใหญ่เปลี่ยน นโยบายก็เปลี่ยนตาม" ครับ Confused

ยิ่งช่วงที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็มีการเร่งขยายเส้นทางถนน ประปา ไฟฟ้าตามนโยบาย "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี" เข้าไปในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือกับภาคอีสาน เพราะเริ่มมีปัญหาภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาแล้ว ทางรถไฟซึ่งใช้เงินทุนสูง สร้างได้ช้ากว่าก็เลยพลอยถูกลืมเลือนไป

ไม่น่าเชื่อนะครับว่าแค่เวลา 50 ปี การรถไฟฯจะถูกบอนไซจนแคระแกร็นได้ขนาดนี้ Sad


กรณีเช่นนี้ น่าจะตรงกับที่ นายพุดซ้อนเล่าให้คุณชายคึกฤทธิ์ ฟังว่า เหตุใดปราสาทหินจึงไม่มีหลังไหนสร้างเส็จโดยสมบูรณ์

Quote:
สมเด็จองค์เดิมถึงสุรคตไป สมเด็จองค์ใหม่ไม่สร้างต่อ



BanPong1 wrote:
ลองเทียบกับญี่ปุ่นดูครับ

พ.ศ.2439 (ค.ศ.1896)ประเทศไทยมีทางรถไฟ 72 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ (ค.ศ.1901) 1,323 กิโลเมตร (ญี่ปุ่นเริ่มมีรถไฟ ค.ศ.1881 มีระยะทาง 122 กิโลเมตร)

พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ประเทศไทยมีทางรถไฟ 3,267 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ 18,400 กิโลเมตร

พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009)ประเทศไทยมีทางรถไฟ 4,346 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีทางรถไฟ 20,900 กิโลเมตร + 3400 กม.ของเอกชน


อา ... แม้แต่ สมัย สมเด็จมในกรม ปี 2466 หนังสือพิมพ์ ก็เขียนว่า กระทรวงรถไฟแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงทุน 70 ล้านเยน (สมัย 100 บาทแลกได้ 133 เ้ยน) สร้างทางคู่จากโตเกียวไปโกเบ (สายโตไกโดแน่ๆ) ถึงขนาดต้องทำทางยกระดับ สูงถึงหลังคาบ้าน ในเขตที่มีคนอยู่อาศัยกันเอยะเช่นในตัวเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
OutRun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 26/05/2006
Posts: 1187

PostPosted: 15/06/2009 12:37 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:


ผมสอนนิสิตอยู่บ่อยๆ ครับว่า ประเทศไทยเคยพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งระบบรางเป็นอย่างมากในสมัย ร.5-ร.6
แต่มาเริ่มยุคเสื่อมในสมัย 250X-ปัจจุบัน นี่แหละครับ

ผมก็คิดทำนองเดียวกับอาจารย์เอกครับ คิดที่จะพยายามซึมซับความคิดของเด็ก ๆ ให้มีรถไฟอยู่ในหัวบ้าง ที่ผมทำได้ก็คงมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. เอาโมเดลรถไฟไปประกอบการสอนเพื่อเป็นสิ่งดึงดูดให้เด็ก ๆ สนใจเมื่อมีโรงเรียนมาติดต่อกับทางเว็บไซต์เราให้ไปเป็นวิทยากร
2. เอาโมเดลรถไฟไปวิ่งโชว์ที่งานวันเด็ก เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของเด็กให้เข้ามาที่ซุ้มของ รถไฟไทยดอทคอม ของเรา
เผื่อจะซึมซับให้เด็ก ๆ รักและสนใจรถไฟขึ้นมาบ้าง เพราะทุกวันนี้ผมเห็นวงการโมเดลส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทาง โมเดลรถซะมากกว่า
เลยทำให้พอเด็ก ๆ โตมามักจะสนใจแต่พวกรถแต่งซิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาก็เห็นจะเป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศ
นาน ๆ ครับ ถึงจะเห็นเด็ก ๆ บ้ารถไฟเหมือนพวกเราสักที
_________________
นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 15/06/2009 9:54 am    Post subject: Reply with quote

OutRun wrote:
Mongwin wrote:


ผมสอนนิสิตอยู่บ่อยๆ ครับว่า ประเทศไทยเคยพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งระบบรางเป็นอย่างมากในสมัย ร.5-ร.6
แต่มาเริ่มยุคเสื่อมในสมัย 250X-ปัจจุบัน นี่แหละครับ

ผมก็คิดทำนองเดียวกับอาจารย์เอกครับ คิดที่จะพยายามซึมซับความคิดของเด็ก ๆ ให้มีรถไฟอยู่ในหัวบ้าง ที่ผมทำได้ก็คงมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. เอาโมเดลรถไฟไปประกอบการสอนเพื่อเป็นสิ่งดึงดูดให้เด็ก ๆ สนใจเมื่อมีโรงเรียนมาติดต่อกับทางเว็บไซต์เราให้ไปเป็นวิทยากร
2. เอาโมเดลรถไฟไปวิ่งโชว์ที่งานวันเด็ก เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของเด็กให้เข้ามาที่ซุ้มของ รถไฟไทยดอทคอม ของเรา
เผื่อจะซึมซับให้เด็ก ๆ รักและสนใจรถไฟขึ้นมาบ้าง เพราะทุกวันนี้ผมเห็นวงการโมเดลส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทาง โมเดลรถซะมากกว่า
เลยทำให้พอเด็ก ๆ โตมามักจะสนใจแต่พวกรถแต่งซิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาก็เห็นจะเป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศ
นาน ๆ ครับ ถึงจะเห็นเด็ก ๆ บ้ารถไฟเหมือนพวกเราสักที


Model รถไฟ เป็นความฝันในวัยเด็กของผมเลยครับ
ตอนเด็กไม่มีเงินซื้อหรอกครับ น้าๆอาๆเขาเอาเศษไม้มาต่อกันให้เป็นขบวนรถไฟ ก็ได้จินตนาการไปอีกแบบครับ
ตอนวัยรุ่นหน่อยได้แต่ไปเดินดูตามห้าง ถ้าชุดใหญ่ๆมีกลไกบังคับ มีรางหลายๆราง ราคามันมากกว่าเงินเดือนพ่อแม่รวมกันอีกครับ
พอทำงานได้เงินเดือนเอง ดันลืมซื้อครับ มัวแต่ยุ่งกับรถยนต์จริงๆมากไปหน่อย
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2009 2:06 am    Post subject: Reply with quote

ถ้ารักจะฟื้นฟูทางสายสุพรรณบุรี เห็นที จะต้องไป Link กันที่บ้านภาชี และ ต้องตัดผ่าน ท่าเรือ อยุธยา ของ ซีพี ริมแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอนครหลวง เสียแล้ว เพราะ มีท่าเรือใหม่ให้ล่อใจ - ตามข่าวต่อไปนี้
//----------------------------------------------------------------------------

ซี.พี.ปักธง ‘กรีนพอร์ต’ ทุ่มพันล้านผุดท่าเรือคอนเทนเนอร์
Written by Administrator
Transporrt Journal Tuesday 12 May 2009

ยักษ์ใหญ่ ซี.พี. แตกไลน์ธุรกิจ จุดพลุขนส่งทางน้ำ ยึดทำเลอำเภอนครหลวงสร้างท่าเรือคอนเทนเนอร์แม่น้ำใหญ่สุดแห่งแรกของไทย มูลค่า 1,000 ล้านบาท บริการขนส่งสินค้าทั่วไปวิ่งตรงจากอยุธยาสู่ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมจับมือพันธมิตรกลุ่ม SC Group ให้บริการเรือคอนเทนเนอร์ NGV เจ้าแรก พลิกโฉมสู่ “Green Port”


นายสุชาติ โรจน์พรประดิษฐ์ Vice President International Transport C.P. Intertrade Co.,Ltd ในฐานะผู้บริหาร Ayutthaya Port & ICD เปิดเผยกับ “TRANSPORT” ถึงท่าเรืออยุธยาพอร์ทและไอซีดี ว่า ถือเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์แห่งแรกของ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่ม ซี.พี. วัตถุประสงค์หลัก คือไว้ขนส่งสินค้าของกลุ่มและบริษัทในช่วงปีแรกและรองรับสินค้าของกลุ่มลูกค้าทั่วไปบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทองและรวมถึงลูกค้าทางภาคเหนือ ที่ต้องการเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าบริเวณอยุธยา

ท่าเรืออยุธยาและไอซีดี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 313 ไร่ โดยท่าเรือขณะนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยใช้เงินในการลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งท่าเรือมีความยาวหน้าท่า 276 เมตร มีเครนติดตั้งหน้าท่า 3 ตัว ติดตั้งเสร็จไปแล้ว 1 ตัว และเรือสามารถเข้าจอดเทียบท่าได้พร้อมกันครั้งละ 5 ลำ โดยในต้นเดือนหน้าจะมีการทดสอบเดินเรือจากท่าเรืออยุธยาไปท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นเรือคอนเทนเนอร์ที่สั่งต่อใหม่ทั้งหมดจำนวน 24 ลำ เป็นของกลุ่ม SC Group ซึ่งเป็นพันธมิตรการค้ากับกลุ่มบริษัท ซี.พี. เป็นเรือที่ใช้ก๊าซ NGV โดยเรือ 1 ลำ สามารถบรรทุกสินค้าได้ 60 ทีอียู และสั่งต่อเฉพาะเพื่อมาวิ่งในเส้นทางนี้เท่านั้น จึงมีการปรับระดับให้เหมาะสมกับสภาพแม่น้ำ โดยเรือสามารถวิ่งได้ทั้งปี

การสร้างท่าเรือที่อยุธยา ก็เหมือนท่าเรือสาธารณะทั่วไปที่มีไว้เพื่อบริการเรือ ขณะนี้ได้ตกลงกับกลุ่ม SC ให้มาวิ่งแต่เจ้าอื่นอีก 2-3 ราย ที่ได้ทาบทามไว้ว่าจะนำเรือเข้ามาวิ่งด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคุยรายละเอียดและเงื่อนไขที่จะตกลงร่วมกัน

“แนวคิดในการสร้างท่าเรือคอนเทนเนอร์ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2007 เนื่องจากผลการศึกษา พบว่า ลูกค้าในบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา และภาคเหนือ ต้องขนถ่ายสินค้าไปที่ลาดกระบัง ซึ่งทำให้เสียเวลาและปริมาณตู้สินค้าที่หนาแน่นเพิ่มขึ้น และไม่ทราบว่ารัฐบาลจะขยายพื้นที่เมื่อไร ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลได้ส่งเสริมเรื่องระบบโลจิสติกส์และการขนส่งทางแม่น้ำ บริษัทจึงสนใจที่จะสร้างท่าเรือ และในช่วงนั้นราคาน้ำมันก็ขยับตัวขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การขนส่งทางน้ำถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะต้นทุนต่ำและจากการศึกษาของทีมงานพบว่าพื้นที่บริเวณ อ.นครหลวง มีความเหมาะสมมากที่สุด” นายสุชาติ กล่าว

นายสุชาติ กล่าวอีกว่า ในอนาคตบริษัทไม่ได้มองแค่ท่าเรือและไอซีดีบริเวณนี้เท่าไร แต่ยังมองต่อในส่วนของรถไฟรางคู่ทางภาคเหนือ ถ้ามีการสร้างแล้วเสร็จและสามารถให้บริการได้เมื่อไรเราก็พร้อมที่จะสร้างส่วนต่อออกมาที่บริเวณ อ.บ้านภาชี เพื่อให้สอดรับกับแนวรถไฟรางคู่ของรัฐบาล และสามารถขนส่งสินค้าลงเรือได้ที่ท่าเรืออยุธยา

นายกมล สัจจา ผู้จัดการทั่วไปบริษัท Dynamic Intertransport Co ; LTd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ซี.พี. กล่าวว่า ท่าเรืออยุธยาถ้าสร้างเสร็จเต็มพื้นที่สามารถรองรับสินค้าได้ 400,000 ตู้ต่อปีและพื้นที่หลังท่าก็จะมีศูนย์กระจายสินค้าไว้รองรับ หรือในส่วนของไอซีดีซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 80 ไร่ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของไอซีดีมีไว้เพื่อให้บริการลูกค้าทั่วไป แต่คาดว่าในช่วง 1-2 ปีแรกสินค้าส่วนใหญ่ของเป็นของบริษัทมากกว่าลูกค้าภายนอก และหลังจากนั้นจะมีลูกค้าภายนอกเข้ามาใช้บริการความพิเศษของท่าเรือคือจะเน้นให้เป็นกรีนใช้พลังงานสะอาด เช่น เรือที่มาวิ่งก็ใช้ก๊าซ NGV เครนก็ใช้ไฟฟ้า

การสร้างท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นจุดที่เหมาะสม เพราะอยุธยามีผู้ส่งออกรายใหญ่หลายเจ้า มีทั้งสินค้าเกษตรเครื่องใช้ไฟฟ้า เฉพาะข้าวก็มีประมาณ 300,000 ตันต่อปี และในระยะยาวจะมองถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเพิ่มมากขึ้น เพราะในบริเวณอยุธยา และใกล้เคียงมีนิคมอุตสาหกรรม และโรงงานใหญ่ๆ หลายโรง และการขนส่งทางน้ำก็สะดวกมาก เพราะสามารถส่งสินค้าไปขึ้นเรือแม่ที่ท่าเรือแหลมฉบังได้เลย ซึ่งในช่วงแรกเราจะนำร่องด้วยสินค้าของ ซี.พี. ก่อน

การขนส่งสินค้าจากท่าเรืออยุธยาไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง จะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 22 ชั่วโมง ข้อดีคือสามารถขนสินค้าไปที่เรือแม่ได้เลย และจากการทำการตลาดโดยการสำรวจลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจที่จะเข้ามาใช้บริการ เพราะปัจจุบันลูกค้าจะขนสินค้าทางรถบรรทุกซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการขนสินค้าทางน้ำอย่างนั้น ซึ่งขณะนี้ทีมงานกำลังศึกษาอยู่ว่าการขนส่งสินค้าทางน้ำกับทางถนนไปที่ท่าเรือแหลมฉบังจะมีต้นทุนอยู่ที่เท่าไรและถูกกว่ากันกี่เปอร์เซ็นต์

“ต้นเดือนหน้าจะมีการทดลองการเดินเรือ โดยเรือที่เข้ามาครั้งแรกจะมี 4 ลำ ซึ่งเมื่อทดลองเดินเรือแล้วก็ทำให้รู้ถึงธรรมชาติการเดินเรือในเส้นทางนี้ว่าเป็นอย่างไร และมีข้อจำกัดในการเดินเรือในเรื่องไหนบ้าง ระยะเวลาจริงเท่าไร และเรือสามารถบรรทุกสินค้าได้เต็มที่จำนวนเท่าไร ทั้งนี้ หลังจากมีการทดสอบแล้วเราก็สามารถมากำหนดราคาค่าบริการได้” นายกมล กล่าว


//-----------------------------------------------------------------------------------
เกาะติดความพร้อม‘ท่าเรืออยุธยา’วิ่งตรงเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
Written by Administrator
Transporrt Journal Saturday, 03 October 2009 09:32

ซี.พี.ผงาดท่าเรือ & ICD กวาดลูกค้า 6 นิคม 4.5 แสนตู้กลาง ก.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4136 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

“ท่าเรืออยุธยา” ตั้งเป้ากวาดลูกค้าเขตภาคกลาง ภาคเหนือ และบริเวณนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ จับมือ 2 พันธมิตรเปิดบริการวิ่งตรงแหลมฉบัง

นายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การวางแนวทางโครงการก่อสร้างท่าเรือและคลังสินค้า ของบริษัทท่าเรืออยุธยาและไอซีดี จำกัด เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติพลังงาน ขณะนี้เฟสแรกมูลค่า 1,500 ล้านบาท บนพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ บริเวณแม่น้ำป่าสัก ห่างจากถนนสายหลักหมายเลข 239 นครหลวง-ภาชี 6 กม. และห่างจากสถานีรถไฟบ้านภาชี 16 กม. จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว - โดยลงทุนถึง 23.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขนตู้่คอนเทนเนอร์ 450,000 TEUs และจะลงทุนเพิ่มอีก 20.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ คลัีงสินค้าบนเนื้อที่ 313 ไร่

ท่าเรือแห่งนี้สามารถจอดเรือได้พร้อมกัน 5 ลำ สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์เต็มที่ได้ 450,000 ตู้ต่อปี มีบริเวณที่จะรองรับพื้นที่เก็บกองบรรจุสินค้าจากในตู้หรือขนถ่ายสินค้าออกจากตู้กว่า 100 ไร่ ส่วนโครงการก่อสร้างท่าเรือเฟส 2 จะเริ่มดำเนินการคงต้องรอดูการใช้งานในเฟสแรกก่อน

สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ตั้งเป้ารองรับลูกค้าในเขตภาคกลาง และภาคเหนือ และบริเวณนิคมอุตสาห กรรมรอบๆ เนื่องจากที่ตั้งของท่าเรืออยุธยาและไอซีดีปัจจุบันอยู่ห่างจากนิคมสหรัตนนคร 9 กม. ห่างจากนิคมโรจนะ 22 กม. ห่างจากนิคม Hi-Tech บ้านหว้า 35 กม. ห่างจากบางปะอิน 35 กม. ห่างจากหนองแค 22 กม. ห่างจากแก่งคอย 60 กม.

ทั้งนี้ ทางกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ ได้มีนโยบายให้ทางบริษัท ไดนามิคทรานสปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ รับหน้าที่รับจองตู้คอนเทนเนอร์ และทำงานด้านการตลาดหาผู้มาใช้บริการ ซึ่งช่วงแรกลูกค้าหลักจะอยู่ในกลุ่มการค้าระหว่างประเทศด้วยกัน และ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์เองที่อยู่นอกกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ

ส่วนลูกค้าภายนอกคงมีประมาณ 5-10% เช่น กลุ่มน้ำตาลมิตรผล และกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ซึ่งเป็นพันธมิตร ที่มีการประสานงานด้านการขนส่งกันอยู่ ส่วนเรือที่ใช้ในการขนส่ง ขณะนี้มีบริษัทที่ให้บริการด้านเรือขนส่ง 2 รายมาร่วมเป็นพันธมิตร และต่อเรือเฉพาะมาขนส่งสินค้าร่วมกับบริษัทท่าเรืออยุธยาและไอซีดี ได้แก่บริษัท เอส ซี กรุ๊ป จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ปิ่นเจริญ โดยเรือที่ให้บริการสามารถบรรทุกได้ถึง 1,200 ตันต่อลำ

นอกจากนี้ มีบริษัทเรือลากจูงติดต่อเข้ามาเสนอบริการ โดยเส้นทางที่เรือขนถ่ายสินค้าวิ่งจะเริ่มจากท่าเรือในแม่น้ำป่าสักไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่วัดพนัญเชิง ออกสู่ทะเลจนถึงท่าเรือแหลมฉบัง รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดไม่เกิน 12 ชั่วโมงตามแผนก่อสร้างท่าเรือและคลัง สินค้าแบ่งเป็น 2 เฟส มีพื้นที่รวมขนาด 97,600 ตร.ม. เฟสแรกมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนาดหน้าท่ากว้างประมาณ 276 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 22,000 ตร.ม. สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 250,000 ตู้ต่อปี ก่อสร้างคลังสินค้า 2 หลัง ขนาดหลังละ 9,800 ตร.ม. จะให้บริการโรงพักสินค้า เพื่อการตรวจปล่อยของเข้า และบรรจุของขาออก ที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตท่าเรือ แบบเดียวกับไอซีดีที่ลาดกระบัง มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงพักสินค้าขาเข้า-ออก รวม 4,800 ตร.ม. ลาดวางคอนเทนเนอร์ทั้งขาเข้า-ออก และตู้เปล่ารวม 25,000 ตร.ม. สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์เต็มที่ได้ 450,000 ตู้ต่อปี และมีพื้นที่สำรองอีก 41,000 ตร.ม.

“ในอนาคตเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งที่อาศัยลำน้ำเป็นหลักในการเพิ่มขีดความสามารถพัฒนาขยายธุรกิจ คงต้องฝากให้กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ช่วยพิจารณา รวมถึงเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลากรูปแบบ ที่จะเชื่อมระบบการขนส่งทั้งหมด ทั้งระบบราง ระบบถนน และระบบทางน้ำเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่าง ท่าเรืออยุธยา ปัจจุบันอยู่ไม่ห่างจากสถานี รถไฟชุมทางบ้านภาชี หากมีการเชื่อมต่อรางรถไฟเข้ามาจะทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่บริเวณนี้ได้ประโยชน์”
//-----------------------------------------------------

งานนี้ซีพีใช้เรือขนตู้คอนเทนเนอร์เครื่อง NGV ขนาด 60 TEUs จำนวน 24 ลำ - คู่แข่ง รถขบวน Lad Krabang ICD - แหลมฉบังแน่ๆ แม้่เพิ่งมาล็อตแรก 4 ลำ เพราะ คุยเขื่องว่า ใช้เวลา แค่ 22 ชั่วโมงก็ถึงแหลมฉบัง ขณะที่เรือแบบเก่า ใช้เวลา 48-52 ชั่วโมงกว่าจะถึงแหลมฉบัง
http://cms.jctrans.com/jcnet/news/osn/2009915801572.shtml
http://www.thaibsaa.com/publications/bsaa-news/download-bsaa-news/doc_download/168-bsaa-news-june-2009.html

//------------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/10/2009 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องนี้ ต้องรอความเห็นป๋าณัฐ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©