Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180150
ทั้งหมด:13491384
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การกู้เงินสำหรับกรมรถไฟ - การรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การกู้เงินสำหรับกรมรถไฟ - การรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2008 11:27 pm    Post subject: งบประมาณเพื่อการลงทุนกรมรถไฟ เพื่อสร้างทางขนาด 1 เมตร Reply with quote

ปี 2462 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 248,050 บาท แต่จ่ายจริงเพียง 5627.38 บาท สาย โคราช - อุบลราชธานี 271,425 บาท เพื่อซื้อที่ดิน แต่จ่ายจริง 15968.02 บาท

ปี 2463 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 2,895,750 บาท แต่ตั้งบ 3,000,000 บาท แต่จ่ายจริง 718,082.16 บาท เพราะติดปัญหาเรื่องรถขาดมือ

สาย โคราช - อุบลราชธานีกะว่าจะจ่าย 3,222,725 บาท แม้ตั้งงบจริง 2,972,000 บาท แต่จ่ายจริง 3,893,035.82 บาท เริ่มการหักร้างถางพง และทำทางถาวร

ปีนี้เริ่มมีการวางประแจพิเศษพร้อมราง 3 สาย กรุงเทพ - แปดริ้ว หมดไป 32815.63 บาท และได้เริ่มซื้อที่ดินเพื่อทำทางจาก บางซื่อ ไปตลิ่งชัน หมดไป 5975.43 บาท

ปี 2464 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 4,224,000 บาท แต่โดนตัดเหลือเพียง 2,598,000 บาท แต่จ่ายจริง 1,353,824.32 บาท สาย โคราช - อุบลราชธานี 3,450,700บาท แต่ตั้งงบไป 3,958,000 บาท แต่จ่ายจริง 2,708,874.38 บาท ทำทางถาวร และเริ่มโรยหินให้ได้อย่างน้อย 3 ชั้น ก่อนอัดหินแล้ววางไม้หมอนและราง

เริ่มลงมือติดตั้งรางที่ 3 และประแจพิเศษ ให้สายตะวันออก 330,000 บาท แต่จ่ายจริง 224511.81 บาท ปีนี้ทำพิธีตรึงหมุดที่สถานีแปดริ้วแห่งใหม่ที่ กม. 61 เมื่อ 5 มกราคม 2464 และ เริ่มทำทางจาก บางซื่อ ไปตลิ่งชัน ตั้งงบ 300,000 บาท แต่จ่ายจริง 29158.96 บาท

ปี 2465 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 3,423,772 บาทแต่ได้งบเพียง 2,721,000 บาท แต่จ่ายจริง 1,602,253.49 บาท

สาย โคราช -อุบลราชธานี 5,634,156 บาท ได้ได้งบ 2,836,000 บาท แต่จ่ายจริง 3,055,023.47 ทำทางถาวร และเริ่มโรยหินให้ได้อย่างน้อย 3 ชั้น ก่อนอัดหินแล้ววางไม้หมอนและราง

พร้อมติดตั้งรางที่ 3 และประแจพิเศษ ให้สายโคราช 316,893 บาท แตจ่ายจริง 172,741.64 บาท ปีนี้เปิดทางไปท่าช้าง 1 พฤศจิกายน 2465 โดยรถจักร อี-คลาส ซึ่งไปถึงโคราช แต่ต้นปี 2465 และได้รื้อรางที่ 3 สายแปดริ้ว หมดแล้ว เดือน ธันวาคม 2465 บริษัท ไดเด เริ่มทำงานสร้างสะพานพระราม 6 โดยตั้งงบ 1,500,000 แต่ จ่ายจริง 413589.72 บาท

ปี 2466 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 2,111,450 บาท แต่ได้งบ 3,525,000 บาท แต่จ่ายจริง 1975959.56 บาท สาย โคราช - อุบลราชธานี 3,020,600 บาท แต่ได้งบ 4,170,800 บาท เพื่อทำทางถาวร และเริ่มโรยหินให้ได้อย่างน้อย 3 ชั้น ก่อนอัดหินแล้ววางไม้หมอนและราง

ปีนี้ติดตั้งรางที่ 3 และประแจพิเศษให้สายเหนือ เป็นเงิน 256,082 บาท แต่ตั้งงบจริง 412,000 บาท แต่จ่ายจริง 136,436.60 บาท และ กรมหลวงกำแพงเพชรฯ วางหีบพระฤกษ์เมื่อ 8 เมษายน 2466 เพราะ ร.6 ท่านติดภารกิจในวังหลวง

นอกจากนี้ได้มีการจ่ายเงิน 239,000 บาท จัดซื้อที่ดินจาก กม.267 ไปถึง กม.450 ทางสายโคราช - ชนบท (ต่อมาเปลี่ยนเป็น โคราช - ขอนแก่น เพราะขอนแก่นกำลังรุ่ง แต่ ชนบทกำลังโรย) ปีนี้ ออกเงินสร้างสะพานพระราม 6 ไป 2,338,200 บาท แต่จ่ายจรริง 1,514,690.16 บาท

ปี 2467 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 639,650 บาท ตั้งงบ 286,100 บาท เพื่อปรับเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ สาย โคราช - อุบลราชธานี 2,215,950 บาท ตั้งงบ 286,100 บาท เพื่อปรับเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อทำทางถาวร และเริ่มโรยหินให้ได้อย่างน้อย 3 ชั้น ก่อนอัดหินแล้ววางไม้หมอนและราง พร้อมติดตั้งรางที่ 3 และประแจพิเศษให้สายเหนือ พร้อมรื้อรางที่ 3 ออกไปใช้สร้างทางสาย โคราช - อุบลฯ 273,436 บาท

นอกจากนี้ได้มีการจ่ายเงิน 1,390,400 บาท เริ่มงานหักร้างถางพงทำงานดิน ทางสายโคราช - ชนบท (ต่อมาเปลี่ยนเป็น โคราช - ขอนแก่น เพราะขอนแก่นกำลังรุ่ง แต่ชนบทกำลังโรย) ปีนี้เดินรถ อี-คลาส ไปถึงบ้านหมี่

ปี 2468 แม้จะประมาณกันว่าทางจะไปถึงอรัญประเทศ ตั้งแต่ปี 2467 แต่เปิดการเดินรถจริงเพียงกบินทร์บุรี เพราะคนรถไฟ และผู้รับเหมาโดนไข้ป่า เล่นงานเอาตายไป 4 คน และ เจ็บอีกนับร้อย แถวสระแก้ว ปีนี้ เปิดเดินรถถึงบุรีรัมย์ เมื่อ 1 เมษายน 2468 เริ่มสร้างย่าน สถานีจากบุรีรัมย์ ถึงสุรินทร์ เพราะทางรถไฟไปถึงสุรินทร์แล้ว โดยใช้งบ 969,100 บาท ส่วนการสร้างทางจากโคราช ไป ขอนแก่น ใช้เงิน 2,100,000 บาท แต่ได้จริงไม่ถึง เพราะต้องตัดทอนงบประมาณไปมาก ส่วนการรื้อรางที่ 3 ทำแล้วจากโคราช ไปแก่งคอย ตอนนี้ ย่านที่มีรางแบบ Mixed มีถึงอุตรดิตถ์ หมดเงินไป 222,504 บาท เพราะเริ่มกระบวนการแปลงล้อ ให้เอารถเก่ารางมาตรฐานไปใช้ทางสาย โคราช - อุบลฯ คู่กับ อี-คลาส เพราะ บอลด์วิน และ บาติกญอล เริ่มใช้กับทางสายใต้

ปี 2469 เปิดเดินรถถึงอรัญประเทศได้เสียที เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2469 หลังเปิดเดินรถถึงสุรินทร์เมื่อ 1 เมษายน 2469 และ เปิดสะพานพระราม 6 เมื่อ 1 มกราคม 2469 หลังล่าช้าไปหลายปี เพราะวางถังเคซองพลาดไม่ลงที่ เมื่อปี 2467 ทำให้ต้องวางถังใหม่

ปีนี้ ลงทุนสายโคราช - อุบลฯ 332,200 บาท เพราะคาดว่า ทางจะไปถึงอุบลฯ ปีนั้น แต่ กว่าทางจะไปถึงอุบลฯ จริง ก็ปลายปี 2472 และ เปิดใช้งาน 1 เมษายน 2473 เพราะ โดนตัดทอนงบประมาณให้เข้าดุลย์ และ ทางสาย โคราช - ขอนแก่น กะว่าจะจ่าย 2,100,000 บาท แต่จริงๆ จ่ายไม่ถึง เพราะสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางตัดงบ

ปีนี้ รถด่วนสายเหนือ ใช้ รถจักรบอลด์วิน จากอเมริกา และ รถจักร สวิส ตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2469 ถึงเวลาปลดระวางรถจักรรางมาตรฐานเสียที โดยปี่นี้ วางรางที่ 3 และเริ่มถอนราง 3 ตัวนอก พคร้อมปรับศูนย์กลางและเลื่อยไม้หมอน หมดไป 189,153 บาท

ปี 2470 เปิดทางไปห้วยทับทัน ที่เป้นจุดเติมน้ำก่อนถึงศรีสะเกษ และลงทุนทางสายโคราช - ขอนแก่น หมดไป 1,570,600 บาท แต่จริงๆ ให้รอไป ปีนี้ ลงทุน 300,000 บาท เรื่มการรื้อรางที่ 3 ออก และจำกัดให้รถรางมาตรฐานเดินเพียงท่าเสา

ปี 2471 จ่ายค่าสร้างทาง โคราช - ชนบท 2,174,000 บาท แต่กว่าจะเปิดทางถึง โนนสูง ก็ปี 2472 ถึงบัวใหญ่ 2474 และ ถึงขอนแก่น 1 เมษายน 2476 ปีนี้ทางไปถึง ศรีสะเกษ และเริ่มการถอนรางที่ 3 ต่อไป หมดไป 165,649 บาท ซึ่งกว่าจะสำเร็จถึงกรุงเทพ ก็ต้นปี 2473

ค่าสร้างสะพานพระราม 6 และทางจากบางซื่อ ไปตลิ่งชัน คาดว่าใช้ไป 3,572,000 บาท


Last edited by Wisarut on 10/05/2014 2:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2009 3:43 pm    Post subject: การกู้เงินธนาคารโลก ของ รฟท. Reply with quote

ปี 1950 - 54 รฟท. กู้เงินธนาคารโลก ไป 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในยุค 20.80 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์ และ 35 ดอลลาร์ซื้อทอง ได้ 1 ออนซ์) เพื่อ ซ่อมโรงรถจักรมักกะสัน และ วางราง 70 ปอนด์ แทนของเดินที่ถูกทำลายเพราะสงคราม

http://web.worldbank.org/external/projects/main?pagePK=64283627&piPK=73230&theSitePK=40941&menuPK=228424&Projectid=P004652

ปี 1955 - 60 รฟท. กู้เงินธนาคารโลก ไป 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในยุค 20.80 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์ และ 35 ดอลลาร์ซื้อทอง ได้ 1 ออนซ์) เพื่อ ซ่อมโรงรถจักรมักกะสัน และ ซื้อระบบสัญญาณใหม่แทนของเดิมที่ ถูกทำลายระหว่างสงคราม นอกเหนือจากการซื้อรถจักรรถพ่วง และ ราง 70 ปอนด์ พร้อมเปลี่ยนขอพ่วง

http://web.worldbank.org/external/projects/main?pagePK=64283627&piPK=73230&theSitePK=40941&menuPK=228424&Projectid=P004653

ปี 1961 - 67 รฟท. กู้เงินธนาคารโลก ไป 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในยุค 20.80 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์ และ 35 ดอลลาร์ซื้อทอง ได้ 1 ออนซ์) เพื่อ ซื้อ รถจักรดีเซล 65 หลัง รถพ่วงสินค้า 1650 หลัง ซื้อ ราง 70 ปอนด์ + หมอน + หิน เพื่อซ่อมทาง 600 กิโลเมตร

http://web.worldbank.org/external/projects/main?pagePK=64283627&piPK=73230&theSitePK=40941&menuPK=228424&Projectid=P004656

ปี 1973 - 77 รฟท. กู้เงินธนาคารโลก ไป 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ ซื้อ รถจักรดีเซล ติดตั้งระบบซ่อมรถจักรดีเซล และ ระบบจ่ายน้ำมัน - แก้ไขย่านบางซื่อ และ ย่านกรุงเทพ ซื้อสะพาน, ซื้อ ราง 70 ปอนด์ + หมอน + หิน เพื่อซ่อมทาง พร้อม ซื้อระบบสัญญาณและ ระบบ Interlocking และ สร้างอาคารใหม่

http://web.worldbank.org/external/projects/main?pagePK=64283627&piPK=73230&theSitePK=40941&menuPK=228424&Projectid=P004678

ปี 1977 - 81 รฟท. กู้เงินธนาคารโลก ไป 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ ซื้อ รถจักรดีเซล อัลสตอม (ตอนแรกสั่งแค่ 1800 แรงม้า แต่ ต่อมาเปลี่ยนใจ เอารถจักรอัลสตอม รุ่น AHK จำนวน 30 หลัง แทน) ผลิต รถโดยสาร 79 หลัง รถสินค้า 103 หลัง ซ่อมสะพานและราง พร้อมปรับระบบโทรคมนาคม และ ปรับปรุงโรงงานมักกะสันและโรงงานภูมิภาค

http://web.worldbank.org/external/projects/main?pagePK=64283627&piPK=73230&theSitePK=40941&menuPK=228424&Projectid=P004704
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2009 4:02 pm    Post subject: การกู้เงืน KfW (Kreditanstalt für Wiederaufbau) Reply with quote

รฟท. กู้เงิน 45 ล้านดอยช์มาร์ก (225 ล้านบาท) ดอกร้อยละ 4.5 เมื่อปี 1963 เพื่อสร้างทางรถไฟสายแก่งคอย - บัวใหญ่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/009/3.PDF

รฟท. กู้เงิน 7 ล้านดอยช์มาร์ก เมื่อปี 1987 ซื้อ รถ บซล. 90 หลัง
http://untreaty.un.org/unts/60001_120000/24/29/00047444.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2009 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

การกู้เงิน เพื่อกรมรถไฟ และ การอื่นๆ 2 ล้านปอนด์ทองคำ ดอกเบี้ยร้อยละ 7 เมื่อปี 2464
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/A/507.PDF

การกู้เงิน เพื่อกรมรถไฟ และ การอื่นๆ 3 ล้านปอนด์ทองคำ ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เมื่อปี 2466
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/A/302.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2009 3:25 am    Post subject: Reply with quote

บันทึกสัญญาการกู้เงิน 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารโลก เมื่อ 28 เมษายน 2504 เพื่อบูรณะการรถไฟเป็นคำรบ 3 พร้อมการจ่ายหนี้เป็นงวดๆ ดอกร้อยละ 0.75 และ คืนเงิืนต้นทุก 5% (รวม 5.75%) โดยเริ่มจ่้ายดอกเบี้ย ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 1964 ถึง 1 มิถุนายน 1981
http://untreaty.un.org/unts/1_60000/12/23/00023109.pdf

บันทึกสัญญาการกู้เงิน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารโลก เมื่อ 9 สิงหาคม 2498 เพื่อบูรณะการรถไฟเป็นคำรบ 3 พร้อมการจ่ายหนี้เป็นงวดๆ ดอกร้อยละ 0.75 และ คืนเงิืนต้นทุก 4.625% (รวม 5.375%) โดยเริ่มจ่้ายดอกเบี้ย ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 1958 ถึง 15 สิงหาคม 1970
http://untreaty.un.org/unts/1_60000/6/20/00010972.pdf

บันทึกการกู้เงิืน 65.024 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอกเบี้ยร้อละ 9.1 เมื่อ 31 สิงหาคม 2532 เพื่อเริ่มการติดตั้งระบบ CTC เริ่มจ่ายหนี้ 15 กรกฎาคม 2537 ถึง 15 มกราคม 2547
http://untreaty.un.org/unts/60001_120000/26/1/00050026.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 06/11/2009 8:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปี 2467 ทางสายแปดริ้ว - อรัญประเทศ จ่าย 639,650 บาท ตั้งงบ 366666525000 บาท 286,100 บาท เพื่อปรับเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ


รบกวนเฮียวิศ ช่วยตรวจสอบตัวเลขด้วยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2014 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

บันทึกการกู้เงินไจก้า เพื่อการ rehab ทาง เฟส 1-2-3
เฟส 1 - Lop Buri - Chumsaeng (148 กิโลเมตร) Hua Hin - Ban Krut (141 กิโลเมตร) รวม 289 กิโลเมตร กู้ 10,331 ล้านเยน จ่ายจริง 10,174 ล้านเยน ดอกเบี้ยร้อยละ 3.0 ต่อปี กำหนดชำระคืน 25 ปี - ปลอดดอกเบี้ย 7 ปี เมื่อ มกราคม 1993 สิ้นสุดการจ่ายเงินกู้ ให้โครงการ พฤศจิกายน 2001 กำหนดใช้เวลาก่อสร้าง 63 เดือน แต่มาเสร็จจริง 100 เดือน

เฟส 2 - Chumsaeng - Phitsanulog (108 กิโลเมตร) Chai Ya - Thung Song (150 กิโลเมตร) รวม 258 กิโลเมตร - กู้ 7,651 ล้านเยน จ่ายจริง 6,905 ล้านเยน ดอกเบี้ยร้อยละ 3.0 ต่อปี กำหนดชำระคืน 25 ปี - ปลอดดอกเบี้ย 7 ปี เมื่อ กันยายน 1994 สิ้นสุดการจ่ายเงินกู้ ให้โครงการ กรกฎาคม 2003 กำหนดใช้เวลาก่อสร้าง 63 เดือน แต่มาเสร็จจริง 89 เดือน

เฟส 3 - Ban Krut - Chai Ya รวม 244 กิโลเมตร กู้ 7,973 ล้านเยน จ่ายจริง 6,792 ล้านเยน ดอกเบี้ยร้อยละ 2.7 ต่อปี กำหนดชำระคืน 25 ปี - ปลอดดอกเบี้ย 7 ปี เมื่อ กันยายน 1996 สิ้นสุดการจ่ายเงินกู้ ให้โครงการ มกราคม 2004 กำหนดใช้เวลาก่อสร้าง 63 เดือน แต่มาเสร็จจริง 73 เดือน

กู้เพิ่มเติม - กู้ 2,979 ล้านเยน จ่ายจริง 2,428 ล้านเยน โดยจ่ายเป็นเงินบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2.2 ต่อปี กำหนดชำระคืน 25 ปี - ปลอดดอกเบี้ย 7 ปี เมื่อ กรกฎาคม 1998 เพราะ เศรษฐกิจตกต่ำ สิ้นสุดการจ่ายเงินกู้ ให้โครงการ กันยายน 2001 - เอาไปจ่ายให้ เฟส 1 เป็นเงิน 1,254 ล้านเยน เฟส 2 เป็นเงิน 531 ล้านเยน และ เฟส 3 เป็นเงิน 643 ล้านเยน

http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/monitoring/c8h0vm000001rdlp-att/2010_full_08_02.pdf
http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/post/2006/pdf/project02_full.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2014 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

การกู้เงินไจก้า สร้างสายศรีราชา - แหลมฉบัง ระยะทาง 9.3 กิโลเมตร มี หลีก 4 หลีก ยาว 5.1 กิโลเมตร โดยขอกู้ 1,013 ล้านเยน + กู้ในประเทศ 92 ล้านบาท (รวม 1,471 ล้านเยน) ในยุคที่ 1 บาท เท่ากะ 5 เยน เมื่อปี 1988 จ่ายจริง 1002 ล้านเยน + กู้ในประเทศ 345 ล้านบาท (รวม 2,403 ล้านเยน) ในยุคที่ 1 บาท เท่ากะ 4.06 เยน เมื่อปี 1994 หลังจากเริ่มประมูลปี 1990 โดย โครงการดังกล่าว เกิดปัญหางบบานปลาย เพราะ ค่าวัสดุก่อสร้างพุ่งสูงขึ้นจนถึงขั้นปูนซีเมนต์และเหล็กขาดตลาด และ ค่าแรงก็พุ่งสูงขึ้นด้วย และ การรถไฟต้องเปลี่ยนมาใช้ของในประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องกู้เงินต่างประเทศเพิ่มจนเกินไป โดยต้องขอให้รัฐบาลไทยหาแหล่งเงินกู้ในประเทศมาเสริมด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัยหาการติดตั้งระบบสัญญาณควบคุมการเดินรถ ทำให้ต้องใช้การคุมการเดินรถด้วยมือ กว่าระบบไฟสัญญาณจะติดตั้งเสร็จก็ ปี 1997
http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/post/1998/pdf/16.pdf

กู้เงินซื้อระบบสัญญาณการเดินรถ ขอกู้ 12,800 ล้านเยน จ่ายจริง 7,433 ล้านเยน อนุมัติ กันยายน 1983 - โดยกะจะติดระบบไฟสีให้ 328 สถานีพร้อมปรับระบบ block การเดินรถ 223 ช่วง แต่ ติดระบบไฟสีให้จริงแค่ 109 สถานีพร้อมปรับระบบ block การเดินรถ 116 ช่วง โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 16,760 ล้านเยน เป็นเงินกู้ 12,800 ล้านเยน + เงินกู้ในประเทศ 396 ล้าน บาท ในยุคที่ 1 บาทแลกได้ 10 เยน - แต่เมื่อเอาเข้าจริง โครงการดังกล่าวมีมูลค่า 8,630 ล้านเยน เป็นเงินกู้ 7,433 ล้านเยน + เงินกู้ในประเทศ 283 ล้าน บาท ในยุคที่ 1 บาทแลกได้ 4.90 เยน

กู้เงินซื้อระบบโทรศัพท์เพื่อการเดินรถ ขอกู้ 1,771 ล้านเยน จ่ายจริง 1524 ล้านเยน อนุมัติ กันยายน 1984 - โดยกะจะติดโทรศัพท์ให้ 518 เครือง พร้อม dispatch console 13 เครื่อง พร้อมเครื่องจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง 11 เครื่อง แต่เอาเข้าจริง แม้จะซื้อโทรศัพท์คุมการเดินรถให้ 518 เครื่อง แต่ ซื้อ dispatch console 14 เครื่อง พร้อมเครื่องจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง 14 เครื่อง โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 2,182 ล้านเยน เป็นเงินกู้ 1,771 ล้านเยน + เงินกู้ในประเทศ 41ล้าน บาท ในยุคที่ 1 บาทแลกได้ 10.1 เยน - แต่เมื่อเอาเข้าจริง โครงการดังกล่าวมีมูลค่า 644 ล้านเยน เป็นเงินกู้ 524 ล้านเยน + เงินกู้ในประเทศ 23 ล้าน บาท ในยุคที่ 1 บาทแลกได้ 4.50 เยน

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ เยนแข็งค่าขึ้นทำให้ ต้องลดขนาดโครงการลงมาให้พอกะเงินกู้
http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/post/1998/pdf/14.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2014 3:30 pm    Post subject: Reply with quote

เงินกู้โครงการ รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง 62,442 ล้านเยน แม้ว่ามูลค่าโคงการจริงๆ 241,198 ล้านเยน และ วงเงินกู้จริงๆ 111,284 ล้านเยน
http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/economic_cooperation/c8h0vm000001rdjt-att/thailand01.pdf

เงินกู้โครงการ รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงินรวม 222,426 ล้านเยน จ่ายจริง 216,456 ล้านเยน
เฟสแรกกู้ 26,586 ล้านเยน จ่ายจริง 26,586 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 2.7 ต่อปี ชำระใน 25 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย7 ปี อนุมัติ กันยายน 1996 จ่ายครั้งสุดท้าย มกราคม 2002
เฟสสองกู้ 32,659 ล้านเยน จ่ายจริง 32,581 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 2.7 ต่อปี ชำระใน 25 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย 7 ปี อนุมัติ กันยายน 1997 จ่ายครั้งสุดท้าย มกราคม 2003
เฟสสามกู้ 23,343 ล้านเยน จ่ายจริง 23,343 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี ชำระใน 40 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย 10 ปี อนุมัติ กันยายน 1998 จ่ายครั้งสุดท้าย มีนาคม 2004
เฟสสี่กู้ 64,228 ล้านเยน จ่ายจริง 64,156 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี ชำระใน 40 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย 10 ปี อนุมัติ กันยายน 1999 จ่ายครั้งสุดท้าย มกราคม 2006
เฟสห้ากู้ 45,818 ล้านเยน จ่ายจริง 39,999 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี ชำระใน 40 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย 10 ปี อนุมัติ กันยายน 2000 จ่ายครั้งสุดท้าย มีนาคม 2006
เงินกู้ในประเทศ 29,792 ล้านเยน จ่ายจริง 29,792 ล้านเยน - ดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี ชำระใน 40 ปี โดยปลอดดอกเบี้่ย 10 ปี อนุมัติ กันยายน 1997 จ่ายครั้งสุดท้าย กันยายน 2001

ในการนี้ สร้างส่วนใต้ 9.4 กิโลเมตร 9 สถานี ส่วนเหนือ 10.7 กิโลเมตร 9 สถานี - โรงซ่อม บนพื้นที่ 48 เฮกตาร์ วางรางรวมทั้งรางในย่าน 57,476 เมตร ติดตั้ง บันไดเลื่อน 259 ตัวจากตอนแรกติดเพียง 237 ตัว และติดตั้งลิฟท์ 62 ตัวจากเดิม 71 ตัว

มูลค่าโครงการ ตอนแรก 379,840 ล้านเยน หรือ 90,438 ล้านบาท แต่มูลค่าจริงๆ 358,928 ล้านเยน หรือ 120,858 ล้านบาท -
เป็นเงินกู้ต่างประเทศ ตอนแรก 177,937 ล้านเยน หรือ 42,366 ล้านบาท แต่มูลค่าจริงๆ 138,708 ล้านเยน หรือ 146,948 ล้านบาท -
เป็นเงินกู้ในประเทศ 201,903 ล้านเยน หรือ 48,072 ล้านบาท แต่มูลค่าจริงๆ 218,960 ล้านเยน หรือ 73,910 ล้านบาท -
อัตราแลกเปลี่ยน ตอนแรก 1 บาท = 4.20 เยน (กันยายน 1996) แต่ อัตราแลกเปลี่ยนจริงๆ 1 baht = 2.97 เยน (เฉลี่ย เมษายน 1997 - มีนาคม 2006)
ช่วงเวลาก่อสร้าง ตอนแรก กะว่า มีนาคม 1996 – ตุลาคม 2002 (6 ปี 8 เดือน) แต่เอาเข้าจริงๆ มีนาคม 1996 – กรกฎาคม 2004 (8 ปี 5 เดือน)

http://www.jica.go.jp/english/our_work/evaluation/oda_loan/post/2008/pdf/e_project09_full.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2015 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

จากปัญหาเรื่อง เงินเยนพิเศษ มูลค่า 15000 ล้านเยนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามมหาเอเซีย บูรพา นั้น แม้จะจ่ายเป็นเงินปอนด์สเตอริงไป 5400 ล้านเยน (5 ล้าน 4แสนปอนด์) ไปแล้ว เมื่อปี 2498 ก็ตาม แต่ ยังมีตกค้างอีก 9600 ล้านเยน ตอนแรกว่าจะเอาไปสร้างโรงกลั่นน้ำมัน แต่ พอเกิดรัฐประหารปี 2500 และปัญหาเรื่องการบังคับให้ไทยออกพันธบัตรให้รัฐบาลญี่ปุ่น ดอกเบี้ยร้อยละ 10 ซึ่งไทยรับไม่ได้ ที่สุดมาตกลงกันได้ปี 2505 โดยให้มีการใช้จ่ายเงิน เยนพิเศษ เพื่อ การพัฒนาประเทศดั่งนี้

การตั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มทหารของกระทรวงกลาโหม 1,600 ล้านเยน
เรื่อสำรวจการประมงน้ำลึก ที่สั่งซื้อจากนิอิกาตะ 200 ล้านเยน
อุปกรณ์รถไฟ 1,900 ล้านเยน
หัวจักรดีเซล 400 ล้านเยน -> น่าจะหมายถึงรถดีเซลราง หละมากกว่า

โรงผลิตไฟฟ้าเขื่อนน้ำอูน 200 ล้านเยน เป็นต้น

ยังคงเหลืออีก 3,000 ล้านเยน เมื่อสิ้นปี 2512 ...

http://jsat.or.th/wp-content/uploads/2015/01/Jsn-Vol.3-No.1-2013.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
Page 2 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©