RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181791
ทั้งหมด:13493030
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - [ช่วยกันปรับปรุง]ข้อมูลรถไฟ ในฐานข้อมูลของกรมศิลปากร
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

[ช่วยกันปรับปรุง]ข้อมูลรถไฟ ในฐานข้อมูลของกรมศิลปากร
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2010 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีชุมทางเขาชุมทองนี่ถือว่าเป็นสถานีพี่น้องกับสถานีสงขลาได้เลยครับ
หน้าตาคล้าย ๆ กัน Very Happy
เป็นสถานีในความทรงจำของผมด้วย เพราะเคยนั่งรถที่ทำขบวนด้วยรถจักรไอน้ำผ่านสมัยเด็ก ๆ ครับ
----------------------------
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติ

ความเป็นมาของการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

หลักการขึ้นทะเบียนโบราณ สถานนั้น ตามกฎหมายฉบับเดิม คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งมีอยู่แล้ว แต่มิได้คำว่า "ขึ้นทะเบียน" อย่างในกฎหมายฉบับปัจจุบัน แต่ใช้คำว่า "จัดทำบัญชี" ดัง จะเห็นได้จาก บทบัญญัติในมาตรา ๖ ของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "ให้อธิบดีจัดทำบัญชี บรรดาโบราณสถานทั้งหลาย ที่มีอยู่ในประเทศสยามขึ้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน ที่มีเจ้าของเป็นของเอกชนคนใด หรือไม่มีเจ้าของ หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน รวมทั้งโบสถ์ วัดวาอาราม และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นอันเกี่ยวแก่ศาสนา "บัญชีนั้นบุคคลใด ๆ ย่อมตรวจดู และขอคัดสำเนาได้ หรือขอรับสำเนาบัญชี หรือย่อรายการ อันรับรองว่าถูกต้องได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่อธิบดีจะกำหนดไว้แต่ไม่เกินห้าบาท"

แม้ในกฎหมายฉบับปัจจุบัน คำว่า "จัดทำบัญชี" ก็ยังหลงเหลือให้เห็นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่า "บรรดาโบราณสถาน ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้จัดทำบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่า เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของกฎหมาย ในอันที่จะคุ้มครอง ควบคุม ดูแลรักษาโบราณสถาน ปัจจุบันกฎหมายที่คุ้มครองโบราณสถานของไทย คือ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แม้กฎหมายฉบับนี้จะใช้บังคับ มาเป็นเวลาเกินกว่า ๓๐ ปีแล้วก็ตาม แต่บุคคลทั่วไปก็ยังมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนโบราณสถานน้อยมาก

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๗ ได้กำหนด เรื่องการขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้ว่า "เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษา และการควบคุมโบราณสถาน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ขึ้นทะเบียนโบราณสถานใด ๆ ตามที่อธิบดีเห็นสมควรได้ และให้มีอำนาจกำหนดเขตที่ดิน ตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของโบราณสถาน โดยให้ถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยก็ได้ ประกาศดังกล่าวนี้ อธิบดีจะเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้กระทำได้โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตามความในวรรคก่อน ถ้าโบราณสถานนั้น มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองทราบ ถ้าเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองไม่พอใจ ก็ให้มีสิทธิร้องต่อศาล ภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่อธิบดีแจ้งให้ทราบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียน และหรือ การกำหนดเขตที่ดิน ให้เป็นโบราณสถาน แล้วแต่กรณีได้ ถ้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง มิได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลมีคำสั่งคดีถึงที่สุด ให้ยกคำร้องขอของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้อธิบดีดำเนินการขึ้นทะเบียนได้

จากบทกฎหมายมาตรา ๗ ดังกล่าวข้างต้นหากสรุปเป็นหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนได้ดังนี้

(๑) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

๑. อสังหาริมทรัพย์ที่จะขึ้นทะเบียน ต้องเป็นโบราณสถานตามบทนิยามของกฎหมายของคำว่า "โบราณสถาน"

๒. อธิบดีกรมศิลปากรเป็นผู้มีอำนาจประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และมีอำนาจกำหนดเขตที่ดิน ตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของโบราณสถาน ซึ่งเขตของโบราณสถานนี้ให้ถือเป็นโบราณสถานด้วย

๓. หากโบราณสถานใด ที่อธิบดีกรมศิลปากรจะประกาศขึ้นทะเบียน มีเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมศิลปากรต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองทราบ หากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองไม่พอใจ ก็ให้ใช้สิทธิร้องต่อศาลภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งให้ทราบ หากศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียน และหรือ กำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถาน ก็ให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียนหรือการกำหนดเขตที่ดิน

หากเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองมิได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลมีคำสั่งคดีถึงที่สุด ให้ยกคำร้องขอของเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจขึ้นทะเบียนได้

ดังนั้น หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน ๓๐ วัน อธิบดีกรมศิลปากร จะประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานต่อไป

๔. อธิบดีกรมศิลปากร มีอำนาจเพิกถอน การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หรือแก้ไขเพิ่มเติม การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

๕. การประกาศขึ้นทะเบียน หรือประกาศเพิกถอน หรือประกาศแก้ไข เพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

๖. โบราณสถาน ที่อธิบดีกรมศิลปากรได้จัดทำบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ใช้บังคับให้ถือว่า เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2010 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

(๒) การขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง ซึ่งถูกทิ้งร้างไว้ ยังพบเห็นได้อยู่ทั่วไปตามป่าเขา ดังที่เป็นข่าวอยู่เนือง ๆ และเมื่อได้มีการตรวจสอบแล้ว เห็นว่าสมควรจะขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ในการ ดูแลรักษา และการควบคุมโบราณสถาน ก็ให้อำนาจอธิบดีกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนได้

นอกจากการประกาศขึ้นทะเบียน ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว กฎหมายยังให้อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจ กำหนดเขตที่ดินตามที่เห็นสมควร เป็นเขตของโบราณสถาน โดยให้ถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยก็ได้ มีข้อที่น่าสังเกตว่าในเรื่องการกำหนดเขตที่ดินนี้ ตามกฎหมายเดิมคือ พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.๒๔๗๗ มิได้บัญญัติไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากแต่เดิม การขึ้นโบราณสถาน ใช้วิธีการประกาศ ชื่อโบราณสถานเท่านั้น และไม่มีข้อยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะที่ดินว่างเปล่ายังมีอยู่มากมาย ปัญหาต่าง ๆ เช่น การบุกรุก ที่ดินโบราณสถานมักไม่ค่อยพบ ข้อบกพร่องของกฎหมายเดิมก็คือ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถจะ ชี้ชัดได้ว่า เขตของโบราณสถานมีอยู่แค่ไหนเพียงใด พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ฉบับที่ ใช้บังคับในปัจจุบัน จึงได้อุดช่องว่างนี้ โดยกำหนดหลักการให้มีการกำหนดเขตที่ดิน เป็นเขตโบราณสถาน โดยเขียนไว้ชัดว่า "ให้ถือว่าเป็นโบราณสถาน" ด้วย

(๓) การขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

โบราณสถานบางแห่งมีเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง เช่น อาจเป็นของเอกชนคนใดคนหนึ่ง พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา ๗ ไว้เป็นพิเศษ จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์ ที่จะยึดโบราณสถานที่มีเจ้าของ หรือผู้ครอบครองมาเป็นของรัฐ ดังที่มีบุคคลบางคนเข้าใจ กฎหมายยังให้ความเคารพในสิทธิของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ตาม การขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง อธิบดีกรมศิลปากร จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่ง อธิบดีกรมศิลปากรจะแจ้งให้ทราบนั้น จะต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ ครอบครองไม่พอใจ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ทำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางประการ ดังจะได้กล่าวต่อไป เจ้าของหรือผู้ครอบครอง จะต้องร้องต่อศาลภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งให้ทราบ เพื่อขอให้ศาล มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรระงับการขึ้นทะเบียน และหรือการกำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถาน ข้อที่ควรสังเกตอีกประการหนึ่ง ก็คือ การกำหนดให้ร้องต่อศาล ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการนี้ ถือว่าเป็น การเปลี่ยนหลักจากกฎหมายเดิม ที่กำหนดให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น (โปรดดูพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๔๗๗ มาตรา ๗(๒))

หากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มิได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองนั้น ก็ให้อธิบดีกรมศิลปากรดำเนินการขึ้นทะเบียนได้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2010 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

(๔) ผลของการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

โบราณสถานใดที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว จะมีผลดังนี้

การควบคุมการปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร เนื่องจากว่าปัญหาเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคาร เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อโบราณสถาน เพราะหากไม่มีการควบคุม ปล่อยให้มีการปลูกสร้างกันอย่างเสรี ย่อมทำให้สภาพภูมิทัศน์ของ โบราณสถานเสียไป ฉะนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๘ ข้อ ๑ ให้เพิ่ม มาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคาร ในเขตโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ดังนี้

"มาตรา ๗ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุม การก่อสร้างอาคาร ภายในเขตของโบราณสถาน ซึ่งอธิบดีได้ประกาศขึ้นทะเบียน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี

ในกรณีที่มีการ ปลูกสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาต ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งระงับการก่อสร้าง และให้รื้อถอนอาคาร หรือส่วนแห่งอาคารนั้น ภายในกำหนด หกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

ผู้ใดขัดขืนไม่ ระงับการก่อสร้าง หรือรื้อถอนอาคาร หรือส่วนแห่งอาคารตามคำสั่งอธิบดี มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และให้อธิบดีดำเนินการ รื้อถอนอาคาร หรือส่วนแห่งอาคารนั้นได้ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ปลูกสร้าง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือดำเนินคดีแก่ผู้รื้อถอนไม่ว่าด้วยประการใดทั้งสิ้น

สัมภาระที่รื้อ ถอน ถ้าเจ้าของไม่ขนย้ายออกไปจากเขตโบราณสถาน ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จ ให้อธิบดีจัดการขายทอดตลาดสัมภาระนั้น เงินที่ได้จากการขาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและการขายแล้วเหลือเท่าใดให้คืนเจ้าของ สัมภาระนั้น"

บทบัญญัติในมาตรา ๗ ทวิ มีลักษณะพิเศษ ซึ่งรวมมาตรการทั้ง ทางแพ่งและทางอาญา ไว้ในตัวเบ็ดเสร็จ

ในทางอาญานั้น บัญญัติไว้ในวรรคสาม กล่าวคือ ในกรณีที่ขัดขืนไม่ระงับการก่อสร้าง หรือรื้อถอนอาคาร หรือส่วนแห่งอาคาร ตามคำสั่งอธิบดีกรมศิลปากร มีความผิดฐาน ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ความผิดฐาน ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน จะต้องไปดู ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ ซึ่งบัญญัติว่า

"ผู้ใดทราบคำ สั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ส่วนมาตรการทางแพ่ง หากเปรียบเทียบแล้วมีความรุนแรงกว่าทางอาญาเสียอีก โดยได้กำหนดไว้ในวรรคสามเช่นกัน และได้กำหนดรายละเอียดไว้ในวรรคสี่ และวรรคห้า ด้วยว่า ในกรณีที่ขัดขืนไม่ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคาร ก็ให้ อธิบดีกรมศิลปากร ดำเนินการรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารนั้นได้ โดยเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง หรือผู้ปลูกสร้าง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือดำเนินคดี แก่ผู้รื้อถอนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น และสัมภาระที่รื้อถอน ถ้าเจ้าของ ไม่ขนย้ายออกไป จากเขตโบราณสถานภายในกำหนด ๕ วัน นับแต่วันที่รื้อถอนเสร็จ อธิบดีกรมศิลปากร ย่อมมีอำนาจ จัดการขายทอดตลาด สัมภาระนั้นได้ เมื่อได้เงิน จากการขายทอดตลาดนั้นแล้ว ก็ให้นำมาหักค่าใช้จ่าย ในการรื้อถอนและ การขายหากมีเหลือก็ต้องคืนเจ้าของสัมภาระไป

เหตุที่กฎหมายต้อง บัญญัติถึง "ผู้ปลูกสร้าง" และ "ผู้รื้อถอน" ไว้ด้วย ก็เพราะ การปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ เจ้าของผู้ครอบครองอาจไม่ได้ปลูกสร้างเอง แต่ว่าจ้าง บุคคลอื่นปลูกสร้าง หรือในทางตรงกันข้าม กรณีรื้อถอนอาคารก็เช่นกัน อธิบดีกรมศิลปากร อาจว่าจ้างบุคคลอื่น เช่น เอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นผู้รื้อถอน ฉะนั้นกฎหมายจำเป็นต้อง เขียนครอบคลุมบุคคลเหล่านี้ไว้ด้วย เพื่อมิให้ต้องรับผิดชอบในกรณีดังกล่าว

(๕) หน้าที่ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถาน

ตามปกติเจ้าของหรือผู้ครอบ ครองโบราณสถาน ไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนหรือไม่ ก็ต้องปฏิบัติตามที่ พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เช่น ตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๐ ทวิ อยู่แล้ว อย่างไรก็ดีในกรณีที่โบราณสถานนั้นได้ขึ้นทะเบียนแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองจะต้อง มีหน้าที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

๑. เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถาน ต้องแจ้งการชำรุด หักพัง หรือ เสียหาย ไม่ว่าด้วยประการใด เป็นหนังสือไปยังอธิบดีกรมศิลปากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่โบราณสถานนั้นชำรุด หักพังหรือเสียหาย (ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔) หากไม่แจ้งมีโทษตามมาตรา ๓๔ ซึ่งกำหนดให้จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒. เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถาน ต้องยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆ ซึ่งได้รับคำสั่งจาก อธิบดีกรมศิลปากรเข้าทำการซ่อมแซม หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อเป็นการบูรณะหรือรักษาไว้ ให้คงสภาพเดิม เมื่อได้รับการแจ้งเป็นหนังสือ จากอธิบดีกรมศิลปากรแล้ว (ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔) และในกรณีที่มีการขัดขวาง การปฏิบัติงานของพนักงาน เจ้าหน้าที่ ดังกล่าว แม้พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ จะมิได้บัญญัติฐานความผิดไว้ ก็ต้องพิจารณาจาก บทบัญญัติในมาตรา ๑๓๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งบัญญัติว่า

"ผู้ใดต่อสู้หรือขัด ขวางเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั่งปรับ

ถ้าการต่อสู้หรือขัด ขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

๓. เจ้าของหรือผู้ครองครอง ซึ่งเป็นผู้โอนโบราณสถานให้บุคคลอื่น จะต้องแจ้งการโอนเป็นหนังสือ โดยระบุ ชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอน และวันเดือนปีที่โอนไปยังอธิบดีกรมศิลปากร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันโอน และในกรณีที่เจ้าของผู้ได้รับกรรมสิทธิ์โบราณสถาน โดยทางมรดก หรือโดยพินัยกรรม ต้องแจ้งการได้รับกรรมสิทธิ์ ไปยังอธิบดีกรมศิลปากรภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หากมีผู้ได้รับกรรมสิทธิ์โบราณสถานเดียวกันหลายคน เมื่อได้มีการมอบหมายให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ รวมคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้แจ้งการรับกรรมสิทธิ์ และผู้ได้รับมอบหมายได้ปฏิบัติการแจ้งนั้น ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคนได้ปฏิบัติการแจ้งนั้นแล้วด้วย ทั้งนี้ตามมาตรา ๑๒ แห่ง พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ หากฝ่าฝืนย่อมมีโทษตามมาตรา ๓๔ ดังได้กล่าวในข้อ ๕(๑) แล้ว

๔. หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จัดให้มี การเรียกเก็บค่าเข้าชม หรือค่าบริการอื่น เป็นปกติธุระหรือจัดเก็บผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจาก โบราณสถานดังกล่าว เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานนั้น ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่อธิบดีกรมศิลปากรกำหนด

การกำหนดค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมดังกล่าว อธิบดีกรมศิลปากร จะแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ร่วมเป็นกรรมการด้วย

นอกจากหน้าที่ข้าง ต้นแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว พึงทราบถึง ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานนั้น ข้อกฎหมายที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ มาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจออกกฎกระทรวงให้ผู้เข้าชมโบราณสถานปฏิบัติบางประการในระหว่างเข้าชม เมื่อเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาพ ความปลอดภัย ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ดังนี้

๑. ไม่เคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ภายในโบราณสถาน

๒. ไม่ขีด เขียน หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใด ๆ ลงบนโบราณสถาน

๓. ไม่นำอาวุธ วัตถุระเบิด วัตถุเชื้อเพลิง หรือสารเคมี อันจะก่อให้เกิดอันตราย เข้าไปในโบราณสถาน

๔. ไม่ปีนป่ายโบราณสถาน หรือไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดเสียหาย หรือก่อให้เกิดความสกปรก และไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยแก่โบราณสถาน

๕. ไม่เทหรือถ่ายทิ้งขยะมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลลง ณ ที่ใด ๆ ภายในโบราณสถาน นอกจากที่ซึ่งจัดไว้

๖. ไม่กระทำการใด ๆ ภายในโบราณสถาน อันเป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่เสื่อมเสียต่อ ศีลธรรมอันดี หรือลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาและวัฒนธรรม หรือก่อความรำคาญแก่ผู้เข้าชมอื่น ๆ

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ ย่อมมีโทษตามมาตรา ๓๔ เช่นกัน

การเปิดให้เข้าชมโบราณสถานที่มีเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกเก็บค่าเข้าชมหรือค่าบริการอื่น

หากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง โบราณสถานโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าโบราณสถานนั้น จะขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยมีการเรียกเก็บค่าเข้าชม หรือค่าบริการอื่นจากผู้เข้าชม เจ้าของหรือผู้ครองครองโบราณสถานนั้น ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีกรมศิลปากรทราบก่อน ในส่วนของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโบราณสถาน ต้องปฏิบัตินั้น กรมศิลปากรได้ออกประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดให้เข้าชม โบราณสถานที่มีเจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกเก็บค่าเข้าชม หรือค่าบริการอื่นไว้แล้ว

การอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในบริเวณโบราณสถาน

อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจ อนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ ในบริเวณโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ ต้องเป็นการอนุญาตเพื่อประโยชน์ ในการส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ผู้ที่ได้รับอนุญาต ให้เข้าไปดำเนินกิจการต้องออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหมด ค่าสิทธิ ค่าตอบแทนและ ค่าธรรมเนียม เพื่อนำส่งเข้ากองทุนโบราณคดี

การเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน นั้น เจตนารมณ์ของกฎหมาย ก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและ การควบคุมโบราณสถาน ดังนั้น หากปรากฏต่อมาว่าโบราณสถานนั้นไม่มีประโยชน์ในการดูแลรักษา และการควบคุมอีกต่อไป กฎหมายก็ให้อำนาจอธิบดีกรมศิลปากรเพิกถอนการประกาศขึ้นทะเบียนนั้นได้ นอกจากนั้น เมื่อได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว อาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ขยายหรือลดเขตโบราณสถาน กฎหมายจึงได้กำหนดไว้ให้อธิบดีกรมศิลปากร มีอำนาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเพิกถอนหรือการ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ต้องประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาด้วย

เกี่ยวกับการเพิกถอนหรือ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศการขึ้นทะเบียนโบราณสถานนี้มีข้อที่น่าสังเกตว่า ในกรณีที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองนั้น กฎหมายกำหนดไว้ชัดว่า อธิบดีกรมศิลปากร จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ แต่การเพิกถอน หรือการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศดังกล่าว กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ แต่อย่างใด

ที่มา : กรมศิลปากร www.finearts.go.th
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2010 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 13/01/2010 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

เรียน อ.หม่อง จากเกณฑ์การขึ้นทะเบียน โบราณสถาน
จาก มาตรา 7 ถ้าหน่วยงานราชการ เป็นเจ้าของอาคาร วันดีคืนดีเผลอไผล ไปต่อเติมดัดแปลง อาคารที่ขึ้นทะเบียน โดยตั้งงบและทำการต่อเติมดัดแปลงเรียบร้อย แต่ยังไม่รับมอบ โอกาส ที่ผู้นำหน่วยงาน จะถูกหวย ความอาญาเพราะความพลั้งเผลอ แบบนี้ กรมศิลปากร ฯ จะว่าอย่างไรดี...

ปล.อาคารที่ว่าอยู่กลางกรุง เสียด้วยซิครับ อิอิ.....
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2010 8:38 am    Post subject: Reply with quote

อย่างนี้กระมังครับ เจ้าของอาคารถึงไม่ค่อยอยากให้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกัน
กลัวมีปัญหา Confused

-------------------------
ข้อมูลสถานีรถไฟธนบุรี ครับ
ประวัติโบราณสถาน
สถานีรถไฟธนบุรีหรือสถานีบางกอกน้อยเป็นสถานรถไฟสายใต้สายแรกของประเทศไทยเริ่มสร้างเมื่อราว พ.ศ.2443 ถึง 2446 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่มีการเริ่มสร้างทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือสร้างเสร็จแล้วทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นดูแลตรวจสถานที่ๆสำหรับสร้างทางรถไฟสายใต้เห็นว่าควรสร้างบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระย่าบริเวณปากคลองบางกอกน้อยฝั่งธนบุรีเพราะสะดวกต่อการเดินทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของมัสยิดและสุสานชุมชนของชาวมุสลิมเมื่อมีการก่อสร้างจึงต้องเวนคืนที่ดินครั้งใหญ่ทรงพระราชทานที่ดินฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นโรงเรือหลวงบางส่วนให้แก่ชุมชนนี้
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
ภายในสถานีรถไฟธนบุรีมีอาคารซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญจำนวน 4 หลังประกอบด้วยอาคารสถานีรถไฟธนบุรี 1 หลัง ที่ทำการรับส่งสินค้าธนบุรี 1 หลัง และโรงเก็บสินค้าจำนวน 2 หลัง มีชานชาลาขึ้นรถไฟทั้งหมด4 ช่อง และตัวเครื่องรถไฟเก่าซึ่งเลิกใช้งานแล้ว
สภาพปัจจุบัน
สถานีรถไฟธนบุรี(บางกอกน้อย)อยู่ในสภาพดีเนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการมอบที่ดินให้โรงพยาบาลศิริราชสร้างศูนย์อุบัติเหตุและพัฒนาปรับปรุงพื้นที่สถานีรถไฟธนบุรีเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ทำให้มีการปรับปรุงการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเช่นสร้างลานจอดรถซ่อมแซมอาคารจัดให้เป็นศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ซ่อมแซมและปรับปรุงโรงเก็บสินค้า(อาคารฉางข้าว)จำนวน1หลังพื้นที่ประมาณ 2 ตารางวา 25 งาน เพื่อเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวปัจจุบันเปลี่ยนสภาพไปเกื่อบหมด
ลักษณะการใช้งานปัจจุบัน
ปัจจุบันหยุดให้ทำการเดินรถแต่ยังคงเป็นสถานีต้นทางที่ให้บริการจำหน่ายตั๋วผู้โดยสารสามารถขึ้นรถที่ทางสถานีจัดไว้ให้เพื่อไปเริ่มที่เส้นทางสถานีบางกอกน้อย(ใหม่)
---------
Arrow สถานีธนบุรี คงไม่สามารถให้บริการจำหน่ายตั๋วได้แล้วใช่ไหมครับ ต้องไปซื้อที่สถานีธนบุรี (ใหม่)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©