RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180358
ทั้งหมด:13491592
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ระบบส่งกำลังขับเคลื่อนรถจักรดีเซล และรถดีเซลราง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ระบบส่งกำลังขับเคลื่อนรถจักรดีเซล และรถดีเซลราง
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 25/04/2010 12:29 pm    Post subject: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรลิคส์ Reply with quote

หายไปนานเลยครับสำหรับบทความชุดนี้ หวังว่าคงยังไม่ลืมกันนะครับจะพยายามลงให้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบ หรือจนกว่าจะไม่มีคนอ่านล่ะครับ และใครมีข้อมูลที่อัพเดทกว่า และมีข้อเสนอใด ๆ ก็ นำมาร่วมนำเสนอได้เลยนะครับ และรบกวนผู้ดูแลช่วยปักหมุดกระทู้นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

จากที่กล่าวมาแล้วในวิธีการขับเคลื่อนทั้งสองระบบ คือ ระบบขับเคลื่อนทางกล และระบบขับด้วยไฮโดรลิคส์ ซึ่งทั้งสองระบบนั้นมีข้อด้อย คือ ระบบขับเคลื่อนทางกลนั้นมีชิ้นส่วนเคลื่อนที่มาก และถ้าต้องการให้ส่งกำลังชิ้นส่วนที่ใช้ในการส่งกำลังจะมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ทำให้มีความยุ่งยากในการบังคับควบคุมตลอดจน ยากต่อการซ่อมบำรุง

ส่วนระบบการส่งกำลังด้วยไฮโดรลิคส์นั้น แม้จะมีชิ้นส่วนที่ใช้ในระบบส่งกำลังน้อยกว่า แต่ก็ต้องใช้สารตัวกลางในการส่งกำลังซึ่งในที่นี้ คือ น้ำมันไฮโดรลิคส์ เนื่องจากน้ำมันไฮโดรลิคส์นั้นเป็นของเหลว ดังนั้น จึงมีการรั่วไหลในขณะทำการส่งถ่ายกำลังงาน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่า ทำไมระบบการส่งกำลังด้วยไฮโดรลิคส์จึงไม่สามารถส่งกำลังได้เต็ม 100 เปอร์เซนต์ โดยจะส่งกำลังได้เพียง 90 – 95 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่า เพลาที่ส่งกำลังออกไปขับเคลื่อน กับเพลาที่รับกำลังเข้านั้น หมุนด้วยความเร็วไม่เท่ากันตลอดเวลาที่มีการส่งกำลัง ซึ่งเพลาส่งกำลังออกนั้น จะหมุนช้ากว่าเพลาที่รับกำลังเข้าเสมอ

และถ้าถามว่ากำลังงานที่ส่งนั้นหายไปไหน ก็ขอตอบว่าหายไปเป็นความร้อน เนื่องมาจากการลื่นไถลภายในเนื้อของของเหลวที่ใช้ในการส่งกำลัง ดังนั้น น้ำมันที่ใช้ในการส่งกำลังจึงต้องมีการระบายความร้อนเพื่อควบคุมความหนืดให้คงที่ เพื่อให้ได้สมรรถนะในการส่งกำลังได้สูงที่สุด และถ้าน้ำมันที่ใช้ในการส่งกำลังมีอุณหภูมิสูงเกินไป ก็จะทำให้สูญเสียสมรรถนะในการส่งกำลังเนื่องจากน้ำมันจะมีความหนืดลดลง ทำให้เกิดการรั่วไหลในระบบส่งกำลังมากขึ้น

ดัวยเหตุนี้ รถจักรที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรลิคส์จึงไม่เหมาะสมในการทำขบวนรถที่มีน้ำหนักมาก ๆ ขึ้นทางลาดชันด้วยความเร็วต่ำ ๆ เป็นเวลานาน ๆ หรือเป็นระยะทางไกล ๆ ครับ เพราะในการขับเคลื่อนดังลักษณะที่กล่าวมานี้ จะทำให้เพลารับกำลังเข้ากับเพลาส่งกำลังออกหมุนด้วยความเร็วต่างกันมาก เป็นผลทำให้น้ำมันส่งกำลังมีอุณหภูมิสูงอย่างต่อเนื่องจนน้ำมันไม่สามารถรักษาความหนืดเอาไว้ได้ เป็นเหตุให้ห้องส่งกำลังสูญเสียสมรรถนะในการส่งกำลังในที่สุด ดังนั้น ยานพาหนะที่ใช้ระบบการส่งกำลังด้วยไฮโดรลิคส์จึงจะต้องมีข้อกำหนดในการใช้งานในลักษณะว่า “ถ้าจำเป็นต้องขับเคลื่อนในลักษณะ บรรทุกหนัก หรือลากจูงขึ้นทางลาดชันด้วยความเร็วต่ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ จำเป็นจะต้องมีช่วงเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบส่งกำลังได้ลดอุณหภูมิลงบ้าง” ในรถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์ก็เช่นกัน และระบบส่งกำลังแบบไฮโดรลิคส์นั้น ยังมีข้อด้อยอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าเป็นระบบใหญ่ ๆ ที่สามารถส่งกำลังได้ในระดับเป็นพันแรงม้า ชุดเครื่องแปลงแรงบิด หรือทอร์คคอนเวอร์เตอร์นั้น จะมีขนาดใหญ่มาก ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็ให้ลองไปดูทอร์คคอนเวอร์ของรถปิคอัพ หรือรถเก๋งครับ เราจะเห็นว่ามีขนาดประมาณกระทะที่ใช้ทำกับข้าวในครัวบ้านเรานั่นล่ะครับ ถ้าเป็นของรถโดยสารขนาด รถเมล์ ขสมก. หรือรถแทรคเตอร์ขนาดสัก 200 แรงม้า ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ก็จะมีขนาดเท่า ๆ กระทะใบใหญ่ ๆ ที่เค้าทอดของขายในตลาดน่ะครับ

เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทอร์คคอนเวอร์เตอร์ของรถจักรดีเซลขนาดสัก 1,500 แรงม้า อย่างรถจักรกรุปป์ล่ะก็ ขนาดจะพอ ๆ กับกระทะใบบัวเอาเลยล่ะครับ เพราะฉะนั้นปริมาณน้ำมันส่งกำลังที่ใช้จะมากมายมหาศาลอย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ คาดไม่ถึงเอาเลยทีเดียว

ท่านผู้อ่านพอจะทราบไหมล่ะครับว่า รถยนต์เกียร์อัตโนมัติที่เรา ๆ ท่าน ๆ ขับกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ใช้น้ำมันในระบบส่งกำลังกี่ลิตร ก็ราว ๆ 5-8 ลิตรครับ แต่ถ้าเป็นรถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์ ที่ไม่ใช่รถสับเปลี่ยนล่ะก็ ไม่ต่ำกว่า 200 ลิตร ครับ เพราะฉะนั้น ความยุ่งยากอีกประการหนึ่งคือ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมครับ ถ้าพูดกันแบบซ่อมรถยนต์ทั่ว ๆ ไปก็คือว่า “รื้อเกียร์ทีนึงนี่แทบโกลาหลทั้งโรงซ่อมเอาเลยทีเดียวครับ”

และนอกจากนี้ ถ้าเราต้องการให้ระบบนี้มีความสามารถในการส่งกำลังได้มาก ๆ ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย ผลที่ตามมากจะทำให้ชิ้นต่าง ๆ ในชุดทอร์คคอนเวอร์เตอร์ เช่น อิมเพลเลอร์ เทอร์ไบน์ และสเตเตอร์ มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการใช้งานและการซ่อมบำรุง ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้งานสูง เพราะฉะนั้นจากข้อด้อยตรงนี้ จึงทำให้เราจำเป็นต้องพิจารณาระบบขับเคลื่อนอีกระบบคือ ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

ถ้าถามว่า ระหว่างระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรลิคส์ กับระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ระบบไหนถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานก่อนกัน ผมก็ขอตอบว่า ระบบไฟฟ้าครับ เพราะมาแทบจะไล่ ๆ กับรถจักรไอน้ำเอาเลยทีเดียว แต่เนื่องจากในยุคแรกนั้น วิศวกรไฟฟ้ายังไม่สามารถพัฒนาระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนให้สามารถส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มาก ๆ ในระทางไกล ๆ และ มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังฉุดลากสูง ๆ ตลอดจนเครื่องยนต์ดีเซลต้นกำลังที่มีสมรรถนะสูง และมีน้ำหนักไม่มากนักได้จึงทำให้วิศวกรรถไฟ และวิศวกรเครื่องกล จึงต้องหันไปหาระบบขับเคลื่อนไฮโดรลิคส์ก่อนระยะหนึ่ง ก่อนที่ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่ในเวลาต่อมา

เดี๋ยวเรามาคุยกันต่อในเรื่องของระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้ากันครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก


Last edited by Cummins on 25/04/2010 1:11 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 25/04/2010 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

รอติดตามครับ

ชอบพวกอิเล้กทรอนิกส์และเครื่องยนต์อยุ่แล้ว อ่านแล้วสนุกดี Very Happy
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Serberk
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006
Posts: 380
Location: Burirum United

PostPosted: 25/04/2010 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดเทอม ว่างแล้วอ่ะดิ อาจารย์กิตติ หรือว่ามีสอนซัมเมอร์อีก(จะรวยไปถึงไหน)

ไม่ได้กลับไปเยี่ยม ราชมงคลโคราชเลย ตั้งแต่จบไป ยังไงรักษาสุขภาพด้วยนะครับอาจารย์
ปล.อยากให้อาจารย์อยู่ที่นั่นอีกสัก 10-15ปี (จะได้สอนลูกชายผม เหมือนกับอาจารย์ที่สอนผม) ขอบคุณครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 25/04/2010 7:23 pm    Post subject: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า Reply with quote

ตอนที่ 3 ระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลง ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์และเครื่องจักรกลมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทางด้านของรถไฟ เพราะรถไฟนั้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การขนส่งทางบกนั้นรถไฟจะสามารถขนส่งสินค้า และมวลชนได้ในปริมาณมาก ๆ ในขณะที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนน้อยกว่าการขนส่งทางรถยนต์ในปริมาณเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า หรือขนส่งมวลชน

จากความสำเร็จในการนำเอาไฟฟ้ามาขับเคลื่อนรถราง จึงได้มีการนำเอาไฟฟ้ามาใช้ในการขับเคลื่อนรถไฟด้วย เนื่องจากว่า มีความต้องการในขนส่งสินค้าเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ

สมรรถนะของรถจักรไอน้ำเริ่มถึงจุดที่จะไม่สามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้ ในขณะที่ระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้ายังไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด ดังนั้น ระบบการขับเคลื่อนแบบดีเซลไฟฟ้าจึงได้ถูกเลือกเพื่อการนี้ ซึ่งในขณะนั้นเครื่องยนต์ดีเซลให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยมีขนาดที่เล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง มีกำลังขับเคลื่อนมากขึ้น มีความเร็วรอบหมุนสูงขึ้น ดังนั้น จึงได้เกิดเป็นแนวความคิดที่จะนำเอาเครื่องยนต์ดีเซลมาขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้วนำไฟฟ้าที่ได้จ่ายให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อนโดยตรง โดยผ่านชุดควบคุมเพื่อให้รถจักรสามารถขับเคลื่อนเดินหน้าถอยหลังได้

ในยุคแรก ๆ นั้น ระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป็นระบบที่ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรง และมอเตอร์ขับเคลื่อนก็ใช้มอเตอร์กระแสตรง หรือที่เราเรียกว่าระบบ DC-DC แต่เมื่อมีความต้องการกำลังขับเคลื่อนมากขึ้นจนเกินกว่าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจะตอบสนองได้ ระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ แต่ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนยังคงเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรงอยู่

และถ้าถามว่าแล้วเอาไฟฟ้ากระแสสลับมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างไร ผมก็จะตอบว่า ไฟฟ้ากระแสสลับจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะถูกนำไปผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าชุดเร็กติไฟเออร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เรียงกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง จากนั้น ก็จะนำไปผ่านชุดควบคุมก่อนที่จะนำไปป้อนให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อนต่อไป แต่เนื่องจากมอเตอร์ขับเคลื่อนแบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้นมีขีดจำกัดอยู่ตรงที่ว่า ถ้าต้องการให้มีกำลังขับเคลื่อนมาก ๆ มอเตอร์จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดอีกประการหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ถ้าให้ทำงานที่ความเร็วต่ำ ๆ เต็มกำลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ เช่น ใช้รถจักรทำขบวนเต็มหน่วยลากจูงขึ้นทางลาดชันด้วยความเร็วต่ำ ๆ เป็นระยะทางยาว ๆ ก็อาจทำให้มอเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง หรือเสียหายได้ครับ

จากขีดจำกัดข้อนี้ ทำให้วิศวกรไฟฟ้าจำเป็นต้องพัฒนามอเตอร์ขับเคลื่อนระบบไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นมาเพื่อใช้ในการนี้ ทั้งที่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ รวมไปถึงการกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์นั้น ยากกว่ามอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมาก แต่จากจุดเด่นที่ดีกว่าในโครงสร้างของมอเตอร์ที่สามารถทำงานแบบเต็มกำลังที่ความเร็วต่ำ ๆ ได้ดี และมีขนาดเล็กกว่า ตลอดจนน้ำหนักที่เบากว่า จึงทำให้วิศวกรรถไฟต้องหาทางนำมาใช้ในระบบขับเคลื่อนรถจักรดีเซลไฟฟ้าให้ได้ และในเวลาเดียวกัน จากการที่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทกำลังสูงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาดเล็กลง และมีสมรรถนะสูงขึ้น นั่นคือ สามารถทำงานที่แรงเคลื่อนสูง ๆ กระแสสูง ๆ ได้ดี ตลอดจนสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ดีนัก อย่างภายในห้องเครื่องของรถจักรดีเซลที่มีทั้งความร้อน ความชื้น ไอน้ำมัน หรือก๊าซไอเสียได้ดี ดังนั้น อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ในลักษณะโมดูลจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการนี้ทำให้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแบบ AC-AC ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในรถจักรดีเซลไฟฟ้าอย่างแพร่หลายครับ

แล้วเดี๋ยวเราจะมาดูรายละเอียดกันครับว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละระบบ และมอเตอร์ขับเคลื่อนในแต่ละระบบนั้น มีโครงสร้าง และหลักการทำงานอย่างไรกันบ้าง
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
tongchit
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง

PostPosted: 28/04/2010 2:01 am    Post subject: Re: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า Reply with quote

Cummins wrote:
ตอนที่ 3 ระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลง ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์และเครื่องจักรกลมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทางด้านของรถไฟ เพราะรถไฟนั้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การขนส่งทางบกนั้นรถไฟจะสามารถขนส่งสินค้า และมวลชนได้ในปริมาณมาก ๆ ในขณะที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนน้อยกว่าการขนส่งทางรถยนต์ในปริมาณเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า หรือขนส่งมวลชน

จากความสำเร็จในการนำเอาไฟฟ้ามาขับเคลื่อนรถราง จึงได้มีการนำเอาไฟฟ้ามาใช้ในการขับเคลื่อนรถไฟด้วย เนื่องจากว่า มีความต้องการในขนส่งสินค้าเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ

สมรรถนะของรถจักรไอน้ำเริ่มถึงจุดที่จะไม่สามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้ ในขณะที่ระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้ายังไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด ดังนั้น ระบบการขับเคลื่อนแบบดีเซลไฟฟ้าจึงได้ถูกเลือกเพื่อการนี้ ซึ่งในขณะนั้นเครื่องยนต์ดีเซลให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยมีขนาดที่เล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง มีกำลังขับเคลื่อนมากขึ้น มีความเร็วรอบหมุนสูงขึ้น ดังนั้น จึงได้เกิดเป็นแนวความคิดที่จะนำเอาเครื่องยนต์ดีเซลมาขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้วนำไฟฟ้าที่ได้จ่ายให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อนโดยตรง โดยผ่านชุดควบคุมเพื่อให้รถจักรสามารถขับเคลื่อนเดินหน้าถอยหลังได้

ในยุคแรก ๆ นั้น ระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป็นระบบที่ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรง และมอเตอร์ขับเคลื่อนก็ใช้มอเตอร์กระแสตรง หรือที่เราเรียกว่าระบบ DC-DC แต่เมื่อมีความต้องการกำลังขับเคลื่อนมากขึ้นจนเกินกว่าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจะตอบสนองได้ ระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ แต่ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนยังคงเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรงอยู่

และถ้าถามว่าแล้วเอาไฟฟ้ากระแสสลับมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างไร ผมก็จะตอบว่า ไฟฟ้ากระแสสลับจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะถูกนำไปผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าชุดเร็กติไฟเออร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เรียงกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง จากนั้น ก็จะนำไปผ่านชุดควบคุมก่อนที่จะนำไปป้อนให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อนต่อไป แต่เนื่องจากมอเตอร์ขับเคลื่อนแบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้นมีขีดจำกัดอยู่ตรงที่ว่า ถ้าต้องการให้มีกำลังขับเคลื่อนมาก ๆ มอเตอร์จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดอีกประการหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ถ้าให้ทำงานที่ความเร็วต่ำ ๆ เต็มกำลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ เช่น ใช้รถจักรทำขบวนเต็มหน่วยลากจูงขึ้นทางลาดชันด้วยความเร็วต่ำ ๆ เป็นระยะทางยาว ๆ ก็อาจทำให้มอเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง หรือเสียหายได้ครับ

จากขีดจำกัดข้อนี้ ทำให้วิศวกรไฟฟ้าจำเป็นต้องพัฒนามอเตอร์ขับเคลื่อนระบบไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นมาเพื่อใช้ในการนี้ ทั้งที่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ รวมไปถึงการกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์นั้น ยากกว่ามอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมาก แต่จากจุดเด่นที่ดีกว่าในโครงสร้างของมอเตอร์ที่สามารถทำงานแบบเต็มกำลังที่ความเร็วต่ำ ๆ ได้ดี และมีขนาดเล็กกว่า ตลอดจนน้ำหนักที่เบากว่า จึงทำให้วิศวกรรถไฟต้องหาทางนำมาใช้ในระบบขับเคลื่อนรถจักรดีเซลไฟฟ้าให้ได้ และในเวลาเดียวกัน จากการที่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทกำลังสูงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาดเล็กลง และมีสมรรถนะสูงขึ้น นั่นคือ สามารถทำงานที่แรงเคลื่อนสูง ๆ กระแสสูง ๆ ได้ดี ตลอดจนสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ดีนัก อย่างภายในห้องเครื่องของรถจักรดีเซลที่มีทั้งความร้อน ความชื้น ไอน้ำมัน หรือก๊าซไอเสียได้ดี ดังนั้น อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ในลักษณะโมดูลจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการนี้ทำให้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแบบ AC-AC ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในรถจักรดีเซลไฟฟ้าอย่างแพร่หลายครับ

แล้วเดี๋ยวเราจะมาดูรายละเอียดกันครับว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละระบบ และมอเตอร์ขับเคลื่อนในแต่ละระบบนั้นมีโครงสร้างและหลักการทำงานอย่างไรกันบ้าง[/color][/b]


อ.กิตติครับอันมันก็ไปสอดคล้องกับที่ป๋าณัฐเอามาลง ดีครับเป็นการขยายความรู้แบบที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น
_________________
ความผิดฅนอื่นเท่าขุนเขา ความผิดเราเท่าขุมขน
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 28/04/2010 10:57 am    Post subject: Reply with quote

ได้ความรู้มากขึ้นเยอะเลยครับจากบทความนี้
ฝากอาจารย์กิตติช่วย Edit ย่อหน้าให้ด้วยครับ จะได้ช่วยจังหวะในการอ่านให้สะดวกขึ้นครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/04/2010 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

แผนก Edit แจ้งว่าขอดูเนื้อหาอีกสักพัก แล้วจะดำเนินการให้ครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 28/04/2010 12:53 pm    Post subject: Re: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรลิคส์ Reply with quote

Cummins wrote:
หายไปนานเลยครับสำหรับบทความชุดนี้ หวังว่าคงยังไม่ลืมกันนะครับจะพยายามลงให้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบ หรือจนกว่าจะไม่มีคนอ่านล่ะครับ และใครมีข้อมูลที่อัพเดทกว่า และมีข้อเสนอใด ๆ ก็ นำมาร่วมนำเสนอได้เลยนะครับ และรบกวนผู้ดูแลช่วยปักหมุดกระทู้นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ


ที่หายไปเพราะเมียใช้เลี้ยงลูก ........ซะหละมั้ง.... Crying or Very sad

รออ่านเหมือน กันหงะ...ช่วย ๆ เขียนให้ต่อเนื่องหน่อย เด้อ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 28/04/2010 5:20 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
แผนก Edit แจ้งว่าขอดูเนื้อหาอีกสักพัก แล้วจะดำเนินการให้ครับ Laughing


ขอบคุณมากครับพี่ตึ๋ง Very Happy Very Happy

เท่าที่อ่านบทความดู ผมว่า รฟท.ของเราน่าจะพัฒนารถดีเซลรางขึ้นมาเองได้นะครับ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทยเรามีไม่ต่ำกว่า 50 สถาบัน น่าจะมีศักยภาพ
รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนได้แล้ว เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญอย่างแท้จริง
การเดินทางช่วงสั้นๆหรือการเดินทางในลักษณะ commuter ของคนชานเมือง
ทั้งระดับเมืองใหญ่ เมืองหลัก และตัวจังหวัด ในภูมิภาคจะได้รับความสะดวกขึ้นครับ Smile Smile
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 28/04/2010 5:46 pm    Post subject: Re: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรลิคส์ Reply with quote

nathapong wrote:


ที่หายไปเพราะเมียใช้เลี้ยงลูก ........ซะหละมั้ง.... Crying or Very sad

รออ่านเหมือน กันหงะ...ช่วย ๆ เขียนให้ต่อเนื่องหน่อย เด้อ Wink


สัญญาน่ะป๋ารับรองตอนนี้ได้โน๊ตบุคเครื่องใหม่เรียบร้อยแล้วติดตั้งโปรแกรม เซ็ทเครื่องทุกอย่างเกือบสมบูรณ์ ตอนนี้ลุยได้แล้วครับ

Quote:
เท่าที่อ่านบทความดู ผมว่า รฟท.ของเราน่าจะพัฒนารถดีเซลรางขึ้นมาเองได้นะครับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทยเรามีไม่ต่ำกว่า 50 สถาบัน น่าจะมีศักยภาพ
รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนได้แล้ว เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญอย่างแท้จริง
การเดินทางช่วงสั้นๆหรือการเดินทางในลักษณะ commuter ของคนชานเมือง
ทั้งระดับเมืองใหญ่ เมืองหลัก และตัวจังหวัด ในภูมิภาคจะได้รับความสะดวกขึ้นครับ


เดี๋ยวจะพูดให้ฟังครับ อาจารย์ครับเอาในฐานะอะไรดีล่ะครับ ฐานะช่าง หรือ ฐานะวิศวกร นักวิชาการ หรือภาพรวมทุก ๆ ด้านแต่ในเบื้องต้นนี้ขอบอกว่าถ้า ประกอบขึ้นใช้เองล่ะพอทำได้ครับ แต่ถ้าจะสร้างทั้งหมดก็เห็นทีจะยากครับอาจารย์ครับ

Quote:
แผนก Edit แจ้งว่าขอดูเนื้อหาอีกสักพัก แล้วจะดำเนินการให้ครับ


ขอบคุณมากครับพี่ตึ๋ง
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
Page 2 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©