Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180700
ทั้งหมด:13491935
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 22/05/2010 8:29 pm    Post subject: เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ Reply with quote

ก็อยากจะถามความเห็นก็แล้วกันล่ะครับว่า

เครื่องเย็น ได้แก่
-ตู้เย็น
-ตู้แช่
-โลงเย็น
-ห้องเย็น ทั้งห้องเย็นอยู่กับที่ และห้องเย็นคลื่อนที่

เครื่องปรับอากาศ
-รถเก๋ง
-รถสิบล้อ, รถบรรทุก, รถหัวลาก
-รถตู้โดยสาร
-รถแทรเตอร์, เครื่องจักรกลในการก่อสร้าง
-รถทัวร์
- ห้องขับหัวรถจักร
- รถดีเซลรางปรับอากาศ, โบกี้โดยสารปรับอากาศ

ถ้ากำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นว่าระบบเครื่องเย็น และระบบปรับอากาศที่กล่าวขึ้นมานี้เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดก๊าซ ซึ่งจะต้องมีเครื่องอัด (Compresser) เป็นอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้ครับ ผมของถามความเห็นทางเทคนิคครับว่าเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศที่กล่าวมานี้มีข้อแตกต่างทางเทคนิคตรงไหนบ้างครับ เพราะมีคำกล่าวว่าเครื่องปรับอากาศรถยนต์กับเครื่องปรับอากาศรถไฟนั้นไม่เหมือนกัน ของรถยนต์ใช้เฉพาะรถยนต์ ของรถไฟก็ใช้กับรถไฟ ไม่สามารถเอามาใช้ร่วมกันได้ ลอง ๆ มาแชร์ความคิดเห็นกันครับ ขอให้เป็นความเห็นในเชิงเทคนิคนะครับ ไม่เอาแบบกำปั้นทุบดินหรือลองของครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2010 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ คิตตี้,
ถ้ากรณีน้ำยาแอร์รั่ว (มีน้ำหยดติ๋งๆ และ มีน้ำแข็งพอกท่อทองแดง) เราจะทำอย่างไรดีครับ Embarassed Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 22/05/2010 9:09 pm    Post subject: Re: เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ Reply with quote

Cummins wrote:
ก็อยากจะถามความเห็นก็แล้วกันล่ะครับว่า................

ผมของถามความเห็นทางเทคนิคครับว่าเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศที่กล่าวมานี้มีข้อแตกต่างทางเทคนิคตรงไหนบ้างครับ

เพราะมีคำกล่าวว่าเครื่องปรับอากาศรถยนต์กับเครื่องปรับอากาศรถไฟนั้นไม่เหมือนกัน ของรถยนต์ใช้เฉพาะรถยนต์ ของรถไฟก็ใช้กับรถไฟ ไม่สามารถเอามาใช้ร่วมกันได้

ลอง ๆ มาแชร์ความคิดเห็นกันครับ ขอให้เป็นความเห็นในเชิงเทคนิคนะครับ ไม่เอาแบบกำปั้นทุบดินหรือลองของครับ


อิอิ....กำปั้น พึ่งโดนยิง ไม่ได้ทุบดินนิ....หรือ

อ.คิตตี้ โดนลองของ ซะแล้ว 555
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Lamnarai
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/02/2009
Posts: 29
Location: ลำนารายณ์

PostPosted: 23/05/2010 12:59 am    Post subject: Reply with quote

ถ้ากรณีน้ำยาแอร์รั่ว (มีน้ำหยดติ๋งๆ และ มีน้ำแข็งพอกท่อทองแดง) เราจะทำอย่างไรดีครับ

มันมีอยู่ 2 กรณี ครับ คุณ wisarut

1. คือ มีน้ำแข็งจับบริเวณ dryer และ comprasser แต่แอร์นั้นเย็นคือการที่เราเปิดแอร์เย็นจัด (อาจจะเปิด swith ปรับอุณหภูมิแรงเกินไป โดยที่ swith ปิดเปิดแอร์ อยู่ที่เบอร์ 1-2เท่านั้น) วิธีแก้คือ เบา swith อุณหภูมิลง ครับ

2. มีน้ำแข็งจับบริเวณ dryer และ comprasser แต่แอร์นั้นไม่เย็นคือน้ำยารั่วจริงๆครับ

(ยกเว้นน้ำยาไม่รั่ว แต่แอร์ไม่เย็น คือตู้ตันครับ)

ส่วนที่น้ำหยดนั้นจะเป็นน้ำที่มาจากตู้แอร์มากกว่า ครับ เป็นเรื่องปกติครับที่น้ำจะหยดลงพื้น
แต่ไม่ได้แสดงว่าตู้แอร์รั่วนะครับ เป็นจากการที่น้ำยาถูกฉีดเข้าไปในตู้แอร์ แล้วถูกพัดลมเป่าตู้เพื่อให้ความเย็นนั้นเข้าไปในห้องโดยสารครับ เมื่อตู้แอร์นั้นเย็นแล้วเจอลมพัดตลอดเวลาที่เปิดแอร์ ทำให้เกิดเป็นหยดน้ำครับ
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
tongchit
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง

PostPosted: 23/05/2010 10:44 am    Post subject: Reply with quote

ท่านราชครูว่า wrote:
เครื่องปรับอากาศ
-รถเก๋ง
-รถสิบล้อ, รถบรรทุก, รถหัวลาก
-รถตู้โดยสาร
-รถแทรเตอร์, เครื่องจักรกลในการก่อสร้าง
-รถทัวร์
- ห้องขับหัวรถจักร
- รถดีเซลรางปรับอากาศ, โบกี้โดยสารปรับอากาศ


ที่เน้นสีแดงไว้ผมว่านะความกว้าง-ยาว ของรถสิบล้อ-รถบรรทุก-รถลาก
ผมว่าน่าจะกว้างกว่าหัวรถจักร เสียด้วยซ้ำ
เคยเห็นหัวรถลากของ"VOLVO" อัดฅนเข้าไปอยู่ในแคบด้านหลังฅนขับประมาณ 5-6 ฅน
รถก็ยังเย็นอยู่ได้ Razz
_________________
ความผิดฅนอื่นเท่าขุนเขา ความผิดเราเท่าขุมขน
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Serberk
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006
Posts: 380
Location: Burirum United

PostPosted: 23/05/2010 11:22 am    Post subject: Reply with quote

ในความคิดของผมนะ

ผมว่า..ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถไฟ ระบบทำความเย็นและปรับอากาศนั้น ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างตรงที่ ขนาด เท่านั้น เพราะว่า
1. รถยนต์ขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดเล็ก และอีวาปอร์เรเตอร์ก็จะมีขนาดเล็กเพื่อให้มีความสามารถในการทำความเย็นเพียงพอกับห้องโดยสาร
2. รถไฟขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดใหญ่กว่า และอีวาปอร์เรเตอร์ก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย เพื่อที่จะได้ทำความเย็นให้เพียงพอกับห้องโดยสาร

ปล.1. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถไฟไปใส่รถยนต์ได้ไหม Question ตอบ..ได้แต่จะเอาพลังงานจากไหนมาขับคอมเพรสเซอร์ Idea Idea Idea

2. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถยนต์มาใส่รถไฟได้ไหม Question ตอบ..ได้แน่นอน แต่ต้องใช้กี่ตัวถึงจะเย็นทั้งห้องโดยสาร

เพราะฉะนั้น การที่เรา(ช่างไทย)จะทำรถดีเซลรางปรับอากาศนั้น ไม่ยากเย็นอะไรเลยเพราะชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่ของรถยนต์สามารถดัดแปลงมาใส่รถไฟได้ ไม่เชื่อก็ลองถามวิศวกรที่โรงงานเจ๊เกียวสิว่า ถ้าเปลี่ยนล้อรถบัสเป็นล้อรถไฟทำได้ไหม Question


Last edited by Serberk on 24/05/2010 10:13 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 23/05/2010 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

Serberk wrote:
ในความคิดของผมนะ

ผมว่า..ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถไฟ ระบบทำความเย็นและปรับอากาศนั้น ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างตรงที่ ขนาด เท่านั้น เพราะว่า
1. รถยนต์ขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดเล็ก และคอนเดนเซอร์ก็จะมีขนาดเล็กเพื่อให้มีความสามารถในการทำความเย็นเพียงพอกับห้องโดยสาร
2. รถไฟขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดใหญ่กว่า และคอนเดนเซอร์ก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย เพื่อที่จะได้ทำความเย็นให้เพียงพอกับห้องโดยสาร

ปล.1. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถไฟไปใส่รถยนต์ได้ไหม Question ตอบ..ได้แต่จะเอาพลังงานจากไหนมาขับคอมเพรสเซอร์ Idea Idea Idea

2. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถยนต์มาใส่รถไฟได้ไหม Question ตอบ..ได้แน่นอน แต่ต้องใช้กี่ตัวถึงจะเย็นทั้งห้องโดยสาร



ตอบ (พิเศษสำหรับนาย ....ข้าวผัดน้ำพริกนรกเลย)
ข้อ 1. คอมแอร์รถไฟ จะเอารถอะไร ถ้าเป็นห้องขับรถจักรคอมแอร์สิบล้อก็พอเหลือเฟือ แล้วจะเอากำลังงานจากไหนมาขับ ก็เครื่องยนต์ไง พอมั้ยล่ะ คอมรถตู้โดยสารก็ยังได้ และถ้าเป็นคอมแอร์โบกี้โดยสารก็ถามว่า มันต่างกับคอมแอร์รถทัวร์สองชั้นตรงไหน ลองตอบมาหน่อยซิ
ข้อ 2. กลับไปดูที่ข้อ 1.
ถ้าขืนมาแบบบ้องตื้นแบบนี้จะให้ ผศ.ชูชัย เอาเกรดวิชาเครื่องเย็นและระบบปรับอากาศคืน เรื่องแค่นี้จบวิศวเครื่องกลมายังมองไม่ออกหรือไง
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 23/05/2010 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

ช.007 wrote:
เหมือนได้ปรับพื้นวิชา เครื่องทำความเย็นไปในตัวเลย วุ้ยยยยย.......ชักมันขึ้นเรื่อยๆ


ช. มาปรับพื้นที่นี่ก็ได้สมาชิกคนอื่น ๆ ที่อยากรู้จะได้รู้ด้วย สมาชิกที่นี่ส่วนใหญ่เข้าที่โน้นไม่ได้ครับ ผมก็ขี้เกียจข้ามไปข้ามมาเหมือนกัน ไปเล่นอะไรที่โน่นมาก ๆ เดี๋ยวเขาจะหมั่นตับผมครับ ช. ครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 24/05/2010 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

ไปเจอมา wrote:
แอร์ที่ท่านวิศวกรท่านดำรินั้น ท่านต้องการแอร์ที่เป็นของที่ใช้กับรถไฟโดยตรง ซึ่งราคาก็แพง ต้องนำเข้าแต่ก็ต้องดัดแปลงเช่นกัน


เรียน
พี่น้องสมาชิกทั้งหลาย โดยเฉพาะนักศึกษาวิศวะหลาย ๆ สถาบันที่เป็นสมาชิกบอร์ดนี้ (เห็นหลายคนนะครับที่เอาโลโก้ภาควิชามาเป็นภาพประจำตัว) โดยเฉพาะที่เรียนเครื่องกลครับช่วยกันออกความเห็นหน่อยครับว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบปรับอากาศระหว่างรถนต์กับรถไฟนั้นมันมีรายละเอียดทางเทคนิคต่างกันยังไง เอาแค่ระหว่างห้องขับรถจักร กับหัวเก๋งสิบล้อก่อน แล้วค่อยไปเล่นของใหญ่ก็คือระหว่างโบกี้รถโดยสารกับรถทัวร์สองชั้น ไล่รายตัวเลยครับอย่างเช่น คอมเพรสเชอร์ต้องเป็นแบบไหน แบบเปิด แบบปิด หรือแบบกึ่งปิด ขับเคลื่อนด้วยอะไร ไฟฟ้า หรือใช้เครื่องยนต์ โครงสร้างเป็นแบบไหนเช่น โรตารี สูบชัก สวอทเพลท หรืออื่น ๆ ทำนองนี้ล่ะครับ ต่อไปก็เป็น
คอยล์ร้อน อะไรทำนองนี้ครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
beer45
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/06/2007
Posts: 4249
Location: ประเทศสยาม

PostPosted: 24/05/2010 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านกระทู้ของ อ. คิตตี้ แล้วชักมันส์ครับ ระบบปรับอากาศมันเป็นอะไรที่แตกต่างกันในรถแต่ละขนิด ในส่วนของรถไฟส่วนใหญ่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศก้จะแยกเป็น ระบบปรับอากาศที่ติดตั้งในรถ แดวู สปรินท์เตอร์ รถนอนต่างๆ มันก็จะใช้เครื่องยนต์ เป็นตัวขับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งก็เรียกเครื่องยนต์ชนิดนี้ว่า PGU DONKEY ENGINE บ้างซึ่งจะผลิตไฟฟ้า 380 โวลต์สำหรับใช้งานในระบบต่างๆ ลองชมบล๊อคไดอะแกรมการทำงานคร่าวๆกันครับ


Click on the image for full size


ขณะทำขบวนเมื่อได้รับแจ้งว่า แอร์ไม่เย็น , แอร์เสีย , แอร์ดับหรือแอร์ชำรุดด้วยเหตุใดก็ตาม เราเป็นพนักงานรถจักรซึ่งมีความรู้ด้านเทคนิค ควรจะไปตรวจดูที่รถคันที่มีปัญหาดังกล่าว เผื่อว่าจะสามารถแก้ไขได้โดยตรวจสอบตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


1 ) ก่อนอื่นให้ตรวจสอบว่า เครื่องยนต์ PGU ของรถคันนั้นดับหรือไม่ ถ้าดับให้หาสาเหตุและทดลองติดเครื่องยนต์ใหม่

2 ) ถ้าไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้เนื่องจากเครื่องยนต์ชำรุดหรือหาสาเหตุไม่พบ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ให้ทำการแชร์โหลด

3 ) ถ้าหากเครื่องยนต์ PGU ติดปกติหรือเกิดชำรุดงดใช้แต่ได้ทำการแชร์โหลดแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้ตรวจดูสวิทช์หรือเบรคเกอร์ในตู้ไฟฟ้า DISTRIBUTION BOARD อยู่บนรถ คันที่มีห้องขับจะอยู่ด้านหลัง พขร. ส่วนคันที่ไม่มีห้องขับจะอยู่ในห้องผู้โดยสารติดประตูเลื่อนใกล้ห้องน้ำ แล้วตรวจสอบดูว่าเบรคเกอร์หรือสวิทช์ต่าง ๆ ต่อไปนี้ว่าอยู่ในตำแหน่งถูกต้องหรือไม่

3 . 1 CS เป็นสวิทช์แชร์โหลด ปกติอยู่ในท่า “ N ” ยกเว้นมีการแชร์โหลด ( ถ้าไม่ได้มีการแชร์โหลดแต่ได้บิดสวิทช์ตัวนี้ไปไว้ตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ “ N ” จะมีผลให้ระบบปรับอากาศทำงานเพียงวงจรเดียว )

3 . 2 ตรวจสอบเบรคเกอร์ ACB ( AIR CONDITION CONTROL CIRCUIT BRAKER ) ต้องอยู่ในท่า “ ON ” ยกขึ้นเสมอ มิฉะนั้นระบบปรับอากาศจะไม่ทำงานทั้ง 2 วงจร ถึงแม้เครื่องยนต์ PGU ยังติดอยู่ก็ตาม เพราะเบรคเกอร์ ACB เป็นเบรคเกอร์ตัดตอนทางไฟฟ้า 380 โวลท์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ

3 . 3 ตรวจสอบสวิทช์ AIR CON. MAIN ปกติไว้ท่า “ FULL ” อยู่แล้วจะทำให้ระบบปรับอากาศทำงานทั้ง 2 วงจร ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ มีผลดังนี้
ก. HALF นั่นหมายถึงต้องการให้ระบบปรับอากาศจะทำงานเพียงวงจรเดียว
ข. FAN นั่นหมายถึงไม่ต้องการให้ระบบปรับอากาศทำงานทั้งสองวงจรแต่พัดลม
SUPPLY FAN ( เป็นพัดลมที่เป่าความเย็นออกทางช่องแอร์ ) ยังทำงานอยู่ หรือในกรณีต้องการละลายน้ำแข็งจับที่แผงคอล์ยเย็น ก็ให้บิดสวิทช์ไปในตำแหน่งนี้ เมื่อน้ำแข็งละลายหมดแล้วให้บิดกลับไปท่า “ FULL ” ตามเดิม


3 . 4 ตรวจดูสวิทช์ AIR CON. SPEED FAN ซึ่งเป็นสวิทช์ปรับความแรงลมที่เป่าออกจากช่องแอร์ ปกติไว้ตำแหน่ง “ HIGH ”

4 ) ขั้นตอนต่อไปทำการเปิดแผง Return Air Filter ออก แผงกรองกันฝุ่นนี้อยู่ในห้องผู้โดยสารด้านห้องขับหรือด้านหน้าถ้าไม่มีห้องขับ เมื่อเปิดแผงออกแล้วให้ตรวจสอบดังนี้
ก. หลอดสีเขียว UNIT ON ต้องติดแสดง หมายถึง ไฟ 220 โวลท์ ถูกจ่ายเข้าระบบควบคุมแล้ว

ข.เบรคเกอร์ซึ่งอยู่ที่กล่องควบคุม ต้องอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ดังนี้


เบรคเกอร์ CB เป็นเบรคเกอร์ตัดตอนทางไฟฟ้าก่อนเข้ากล่องควบคุม 220 โวลท์

” SFB ” ก่อนเข้ามอเตอร์พัดลม SUPPLY FAN 380 โวลท์

” CFB ” ก่อนเข้ามอเตอร์พัดลมCONDENSOR FAN 380 โวลท์

” CMB 1 , 2 ” ก่อนเข้ามอเตอร์ COMPRESSOR 380 โวลท์

ให้จำไว้ว่า เบรคเกอร์ทุกตัว ท่าปกติ ให้ปุ่มดำจม ปุ่มแดงเด้ง ถ้าพบว่าเบรคเกอร์ตัวใด ปุ่มดำเด้ง แต่ปุ่มแดงจม ให้กดปุ่มดำให้จม ถ้ามีอาการชำรุดอีกให้บันทึกซ่อม

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่พนักงานรถจักรจะต้องตรวจสอบก่อนที่จะหาสาเหตุอื่น ๆ เพราะเป็นการตรวจสอบที่มองเห็นง่ายและเป็นสิ่งสำคัญทุกขั้นตอนเกี่ยวข้องกันหมด คิดว่าคงจะไม่ยากเกินไปที่จะแก้ไข ต่อไปหลังจากที่ตรวจสอบอุปกรณ์ความพร้อมข้างต้นเรียบร้อยแล้วมาวิเคราะห์เรื่องแอร์ไม่เย็นตามหัวข้อต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©