RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181442
ทั้งหมด:13492680
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ดพ.ดีเซลราง ใช้อัตราค่าโดยสารพิเศษ อด.-ชม. เริ่ม 1 ก.ค. 53
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ดพ.ดีเซลราง ใช้อัตราค่าโดยสารพิเศษ อด.-ชม. เริ่ม 1 ก.ค. 53
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 01/07/2010 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

RORONOA wrote:
pattharachai wrote:
^
^
เหตุผลของเขาก็ถูกแล้วหละครับ

ถ้าเราเป็นผู้โดยสารบนขบวนรถด่วนพิเศษแล้วมีคนมายืนเต็มรถไปหมด มีแม่ค้ามาขายของเดินไปเดินมา เราคงรู้สึกว่ามันไม่คุ้มกับค่าโดยสาร แถมฐานะของความเป็นรถด่วนพิเศษ ก็ควรจะเป็นรถที่สะดวกสบาย สรุปง่ายๆคือจ่ายแพงมาแล้วทำไมต้องมาทำเหมือนรถธรรมดา

มิฉะนั้นถ้าจะให้ขายตั๋วอัตราพิเศษ ต้องขายแล้วระบุที่นั่ง เต็มแล้วไม่ขาย แบบนี้ก็คงเหมาะกว่า หรือไม่งั้นก็ยกเลิกระบบค่าโดยสาร+ค่าธรรมเนียมแบบตายตัวในปัจจุบันนี้ให้หมด แล้วคิดค่าโดยสารในอัตราตามระยะทางโดยรวมค่าธรรมเนียมไปด้วยในราคาค่าโดยสารที่แสดง

ว่าแต่อันนี้ถามเฉยว่า ปกติยังมีขบวน 262 อีกขบวนหนึ่งนี่ครับ ที่เวลาถึงบางซื่อ สามเสน และหัวลำโพง ไม่หนีไปจากขบวน 40 สักเท่าไหร่


รับทราบครับ เห็นด้วยเช่นกันโดยเฉพาะเรื่องแม่ค้า แต่ที่ข้อแย้งหน่อยก็คือ ที่ผมไม่พูดถึง 262 ก็นึกถึงความตรงเวลาและความหนาแน่นของผู้โดยสารแล้ว คงไม่ค่อยเหมาะที่จะนั่ง 262 เข้าไปเท่าไร หลายๆครั้งเห็น 40 ต้องมารอทางขบวน 262 ด้วยซ้ำ ผู้โดยสารที่ไปต่อรถที่ผมว่าส่วนใหญ่ก็เป็นพวกรถนอนแอร์ทั้งนั้น คงไม่ชอบที่จะมาเบียดเสียดบน 262 เท่าไรหรอกครับ ยิ่งเป็นช่วงวันหยุดด้วยแล้ว ผมจึงอยากเสนอให้เก็บอัตราพิเศษในอัตราที่แพงหน่อย สัก 100-120 อย่างที่ว่าเพื่อให้เหลือผู้โดยสารน้อยลงไม่ต้องขึ้นไปเบียดเสียดอีก หากใช้ราคานี้โดยรวมแล้วก็คงเหลือแต่ผู้โดยสารที่จำเป็นจริงๆ เช่น ต่อรถ คงจะไม่มีปัญหาว่าผู้โดยสารขึ้นไปเบียดเบียนผู้โดยสารระยะไกลเท่าไร พูดอีกอย่างก้คือมองความรู้สึกผู้โดยสารที่จองตั๋วชั้น 1 อย่างดี แต่ต้องนั่ง 262 เข้าไป คงไม่ถูกใจเท่าไรหรอกครับ ถึงแม้จะมีผู้โดยสารยอมเสียเต็มราคาไปนั่งสปินเตอร์อย่างนครปฐมก็ได้ข่าวว่ามีทุกวัน นานเข้าเมื่อมีรถทัวร์ซึ่งเดี๋ยวนี้มีวิ่งระหว่างภาคให้เต็มไปหมด จะแย่งผู้โดยสารไปหมดนะครับ

ส่วนอีกเรื่องที่ตั้งความหวัง คืออยากให้มีรถมาทดแทนแดวู สปินเตอร์ ให้ดีกว่าในปัจจุบันให้สมราคาที่ผู้โดยสารจ่ายเสียหน่อย แล้วนำรถแดวู สปินเตอร์ มาวิ่งระยะใกล้ๆ อย่างหัวหิน พัทยา นครราชสีมา นครสวรรค์ แทน ซึ่งถ้าทำได้อย่างนี้คงไม่ต้องนึกถึงอัตราพิเศษจากรถด่วนพิเศษแล้วล่ะครับ


เห็นด้วยครับในส่วนของการจัดหารถมาทดแทน เพราะตามการออกแบบจริงๆแล้ว รถดีเซลรางอย่าง Deawoo และ Sprinter เป็นรถชานเมือง แต่การใช้งานดูจะผิดวัตุประสงค์ไปนิดตั้งแต่ต้น เพราะรูปแบบของการโดยสาร ที่ใกล้เคียงกับรถทัวร์ทำให้ผู้คนนิยมเดินทางกันกับรถประเภทนี้มากกว่า

ซึ่งเรื่องค่าโดยสารอัตราพิเศษนี้เข้าใจว่าเป็นนโยบายการหารายได้เพิ่มกับรถที่มีอยู่ แต่ผลที่ออกมาถ้ามองตามมุมมองระหว่างผู้โดยสารระยะใกล้กับระยะไกล ที่ต้องมาใช้บริการร่วมกัน อาจจะดูไม่ค่อยแฮปปี้ทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้น ผมว่าการแก้ปัญหาที่ตรงจุด น่าจะเป็นการจัดหารถสำหรับเดินทางไกลที่เน้นความสะดวกสบายจริงๆเพิ่ม แล้วนำรถดีเซลรางไปใช้งานกับขบวนรถชานเมือง ซึ่งมีความคล่องตัวทั้งการทำเวลาในระยะทางที่ไม่ไกลมาก การเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมก็จะสามารถทำได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการทุกกลุ่มได้ดีกว่าครับ

Surprised Confused
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2010 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

^^
เหตุสำคัญที่ เลือก DMU ทำขบวนเพราะ ไต่ทื่สูงได้ดีกว่าหัวลาก และ ความคลฃ่องตัวที่เหนือกว่าหัวลาก นะครับ อย่าลืมข้อเท็จจริงข้อนี้นะ นี่คือเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดเช่นนั้นทำท่าจะเป็นหมันไป Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 02/07/2010 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณ คุณวิศรุตที่ช่วยชี้แนะครับ คงต้องรอดูกันต่อไปล่ะครับว่า การแข่งขันระหว่างถนนกับราง ใครจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้โดยสารได้ดีกว่า Rolling Eyes Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 02/07/2010 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

^^^

สำหรับผม ถ้านำรถ 2 ประเภท มาเริ่มต้นการเดินทางพร้อมกันที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ระหว่าง ด่วนพิเศษดีเซลรางขบวน 9/11 กับรถทัวร์ ป.1 (ไม่ต้องถึงระดับ VIP 24 ที่นั่ง) อย่างของนครชัยฯ ปลายทางที่สถานีรถไฟเชียงใหม่

ไม่ต้องคิดมากครับ เพราะยังไงๆ ผมเลือก นครชัยแอร์ แน่นอน Razz
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Compressor
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/12/2007
Posts: 1775
Location: ตลอดปลายทางอุบลราชธานี

PostPosted: 02/07/2010 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

รถสายนอก วิ่งเชียงใหม่มาอุตรดิตถ์

ส่วนใหญ่มีแต่ ม.1ข กับ ม.2 ที่ผมเองยังนั่งไม่สบายเลย

ม.1พ สายอุบล... บางทีก็วิ่งผ่านแยกวังสีสูบเฉยๆ ไม่เข้าเมือง สำหรับนครชัยแอร์ Cool

ส่วนรถระยอง ม.1พ พากันวิ่ง เถิน ตาก กำแพง กันหมด

**แดวูใช้เวลามากกว่านครชัยแอร์ 1 ชั่วโมง

ติดใจตรงนครชัยแอร์ วิ่งอุบล-โคราช 6 ชั่วโมงนี่แหละ รถท้องถิ่นยังเร็วกว่า ยิ่งแดวูวิ่งไม่ถึงสี่ชั่วโมงเลย Laughing


Last edited by Compressor on 02/07/2010 9:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 02/07/2010 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

ผมลองแยกความแตกต่างระหว่างรถบัสประจำทางกับรถไฟด่วนพิเศษดีเซลรางในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสารโดยตรงออกมาเป็นประเด็นๆ ดังนี้ครับ

1.ค่าโดยสาร
ปัจจุบันรถบัสประจำทางบางบริษัท แพงกว่ารถไฟแดวู หรือสปรินเตอร์ เสียอีก แต่แน่นอนว่า เค้าก็บริการได้ดีกว่ามาก
แต่ส่วนใหญ่ก็ยังถูกกว่ารถไฟอยู่

สรุป รถบัสดีกว่านะ

2.ระยะเวลาเดินทาง
ถ้าในอนาคต ประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบการบังคับใช้กฎหมายเรื่องความเร็วอย่างจริงจัง เช่นติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ จำนวนมากไ้ว้บนถนนสำคัญ หรือรณรงค์เรื่องการใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด
รถไฟบ้านเราก็ยังแข่งกับรถบัสไม่ได้ครับ
เพราะรถบัสน้อยคันเท่านั้น ที่จะขับ 90 กม/ชม นอกนั้นแล้ว วิ่งฉิว วิ่งไว วิ่งเร็วสุดๆ อย่างเมื่อวานนี้ ผมขับรถบนถนนมิตรภาพ โคราช-บ้านไผ่ ความเร็ว 90 กม/ชม เจอรถบัสหลายบริษัท แซงรถผมฉลุย ผมลองเหยียบคันเร่งถึง 120 กม/ชม ก็ยังกวดไม่ทัน

แล้วทางหลวงหลักๆ ทั่วประเทศไทย ตอนนี้ก็เป็น 4 เลน อย่างดีทั้งนั้น ถ้ารถบัสเครื่องแรงพอ ก็ 120 กม/ชม ได้สบายๆ
รถไฟต้องสู้เหนื่อยเลยล่ะ

สรุป รถบัสดีกว่าอีกนะ

3.เดินทางตรงตามเวลา
เป็นผลตามมาจาก ข้อ 2. ครับ
นอกจากรถบัสจะใช้เวลาเดินทางน้อยกว่ารถไฟแล้ว รถบัสยังแล่นผ่านจุดตรงตามเวลามากๆ และบางครั้งก็ก่อนเวลาด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงถึงจุดหมายก่อนเวลาเสมอๆ
แต่รถไฟนอกจากจะใช้เวลาเดินทางมากกว่ารถบัสแล้ว ยังถึงจุดหมายไม่ตรงเวลาอีก ช้าเสมอ แย่ไปซะทุกอย่าง

สรุป รถบัสดีกว่าอีก

4.รูปลักษณ์ของรถภายนอก ภายใน
บางบริษัท เน้นเรื่องนี้พอสมควรเลย ตกแต่งได้ดูหรูหรา สวยงาม ภูิมิฐาน น่าใช้บริการสุดๆ จริงๆ
จุดนี้ รถไฟต้องพัฒนาครับ แต่เอาแค่เรื่องความสะอาดทั้งภายนอก และภายในก็พอครับ ยังไม่ต้องแข่งเรื่องทำให้สวย ฯลฯ

สรุป รถบัสก็ยังดีกว่าอีก

5.ความปลอดภัยในการเดินทาง
แม้ว่าอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟในปัจจุบันนี้ หลายเหตุการณ์ค่อนข้างจะเป็นไปได้ว่า เกิดความประมาทของ พขร หรือ ครฟ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
แต่เมื่อเทียบเรื่องความปลอดภัยกับรถบัสแล้ว รถไฟยังคงเหนือกว่ารถบัสที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าจริงๆ
ซึ่งประเด็นนี้ คงไม่ต้องพิสูจน์กันนะครับ เพราะคงมีคนยกสถิติมาพิสูจน์ให้เห็นแบบชัดเจนแล้ว

สรุป รถไฟดีกว่าบ้าง

5.ความสะดวกสบายระหว่างการเดินทาง
ปัจจุบันรถบัสบางบริษัท มีเบาะนั่งที่ออกมาแบบทำให้นั่งสบาย หลับสบาย มากยิ่งขึ้นแล้ว สามารถเอนนอนได้มาก ระยะห่างระหว่างเบาะก็กว้าง
ส่วนรถไฟ แออัดมากๆ ครับ เบาะก็เอนได้น้อยมากๆ ยิ่งกว่ารถ ป.2 อีกต่างหาก
รถไฟ 1 ตู้ นั่งเกือบ 70 คน ซึ่งผมว่ามันแออัดมากเกินไปจริงๆ ครับ สำหรับรถทางไกล ควรจะปรับเหลือประมาณ 60 กว่าคนก็พอครับ โดยเอาเบาะออกไปซัก 4 แถว แล้วขยายระยะห่างระหว่างเบาะให้มากยิ่งขึ้น แล้วก็ให้ปรับเอนนอนได้มากกว่าเดิม

ถ้ายังไม่เปลี่ยน ผมเองแม้ว่าจะรักรถไฟ แต่ผมจะไม่นั่งรถสปรินเตอร์หรือแดวู ในตอนกลางคืนอีกเด็ดขาด เพราะมันเมื่อยมากๆ เมื่อยจริงๆ

สรุป รถบัสดีกว่าอีกแ้ล้ว

6.จุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร
ปัจจุบันรถบัสประจำทางหลายบริษัทที่เป็นรถทางไกล จะต้องจอดรับส่งผู้โดยสารเฉพาะตามสถานีขนส่งเท่านั้น
ซึ่งประเด็นนี้ ถือว่าไม่ได้แตกต่างจากรถไฟเลย

สรุป เสมอ

7.ทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง หรือเสน่ห์ในการเดินทาง
ประเด็นนี้ ต้องเอามาไว้ท้ายสุด เพราะมันมีผลสำหรับบางคนเท่านั้น ย้ำว่าบางคนจริงๆ เพราะบางคนไม่ว่าจะกลางวัน หรือกลางคืน ก็นอนหลับตลอด
วิวจะสวยแตกต่างกันหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น แต่บางคนเอาแค่เรื่องวิวอย่างเดียวก็เลือกนั่งรถไฟแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ความกว้างของทางรถไฟ จะแคบกว่าทางรถยนต์มาก และสองข้างทางรถไฟ ยังไม่ค่อยมีบ้านเรือน ประชาชนมากมาย เหมือนทางรถยนต์
ทำให้ทางรถไฟได้สัมผัสกับความงามตามธรรมชาติได้มากกว่าทางรถยนต์ ทำให้มีเสน่ห์ น่าติดตาม น่าสนใจที่จะชมมากกว่าทางรถยนต์อยู่บ้าง

สรุป รถไฟดีกว่านะ

รวมแล้ว รถบัสชนะ 5 รถไฟชนะ 2 เสมอกัน 1

ยังมีประเด็นไหนอีกไหมครับ



สรุป(อีกครั้ง) ถ้ารถไฟอยากจะแข่งกับรถบัสได้ ก็ต้องเอาชนะรถบัสในประเด็นต่างๆ ให้มากกว่าครับ คงไม่ต้องมากกว่าทุกประเด็นหรอก แต่เอาให้มากกว่าก็พอ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 02/07/2010 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องของความเร็วของรถยนต์ รวมไปถึงรถบัสทุกวันนี้ ส่วนนึงก็ด้วยเทคโนโลยีของยานยนต์ และการพัฒนาถนนหนทางที่ดีกว่าแต่ก่อนมาก ทำให้ความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางสูงขึ้น ความเร็ว 90 กม./ชม. ตามกฎหมาย กลายเป็นความเร็วที่ช้าเกินไป ซึ่งถ้าจะพูดกันจริงๆ ทุกวันนี้ หลักวิศวกรรมกับกฎหมาย ไม่ค่อยจะสอดคล้องกัน ยังไม่ต้องพูดถึงผลประโยชน์แอบแฝงต่างๆที่หลายๆท่านคงจะเคยได้มีประสบการณ์มาบ้าง โดยเฉพาะเวลาที่ขับรถออกต่างจังหวัด Twisted Evil Twisted Evil

บนถนนไฮเวย์ทุกวันนี้ รถบัสรุ่นใหม่ เครื่องยนต์แรงม้ามักไม่ต่ำกว่า 400-450 และทะลุเกิน 500 แรงม้าเข้าไปแล้วสำหรับบางคัน การทำความเร็ว 100 กม./ชม.ขึ้นไป ถือว่าเด็กๆครับ
เคยนั่งรถทัวร์สายใต้ จับความเร็วตาม GPS ส่วนใหญ่วิ่งกัน 120-140 กม./ชม. Shocked Shocked
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 02/07/2010 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

ผมเห็นว่า ความเร็ว ไม่ควรเกิน 100 กม/ชม นะครับ สำหรับทางหลวงทั่วไป

คือมองในเรื่องความปลอดภัยโดยภาพรวมของประเทศชาตินะครับ เพราะความเร็วสูงมาก เกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ก็เสียหายมหาศาล

ส่วนมอเตอร์เวย์ ก็ไม่ควรเกิน 120 กม/ชม

ลองค้นหาดู Speed Limit ของต่างประเทศได้ครับ ซึ่งหลายประเทศ สภาพถนนน่าจะดีกว่าประเทศไทยหลายเท่า แต่การจำัักัดความเร็วก็อยู่ที่ 90 กม/ชม เท่านั้น
ที่แล่นเร็วได้มาุกที่สุดโดยไม่จำกัดความเร็วนั้น อยู่ที่เยอรมันประเทศเดียวครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 02/07/2010 10:53 pm    Post subject: Reply with quote

rimura wrote:

บนถนนไฮเวย์ทุกวันนี้ รถบัสรุ่นใหม่ เครื่องยนต์แรงม้ามักไม่ต่ำกว่า 400-450 และทะลุเกิน 500 แรงม้าเข้าไปแล้วสำหรับบางคัน การทำความเร็ว 100 กม./ชม.ขึ้นไป ถือว่าเด็กๆครับ
เคยนั่งรถทัวร์สายใต้ จับความเร็วตาม GPS ส่วนใหญ่วิ่งกัน 120-140 กม./ชม. Shocked Shocked


เคยเจอมากับตัวแล้ว โดยเฉพาะช่วงสุราษฎ์ธานี-ประจวบฯ รถบัสแทบจะบินได้เลย...
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 04/07/2010 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:
ผมเห็นว่า ความเร็ว ไม่ควรเกิน 100 กม/ชม นะครับ สำหรับทางหลวงทั่วไป

คือมองในเรื่องความปลอดภัยโดยภาพรวมของประเทศชาตินะครับ เพราะความเร็วสูงมาก เกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ก็เสียหายมหาศาล

ส่วนมอเตอร์เวย์ ก็ไม่ควรเกิน 120 กม/ชม

ลองค้นหาดู Speed Limit ของต่างประเทศได้ครับ ซึ่งหลายประเทศ สภาพถนนน่าจะดีกว่าประเทศไทยหลายเท่า แต่การจำัักัดความเร็วก็อยู่ที่ 90 กม/ชม เท่านั้น
ที่แล่นเร็วได้มาุกที่สุดโดยไม่จำกัดความเร็วนั้น อยู่ที่เยอรมันประเทศเดียวครับ


ใช่ครับ แอบอิจฉาคนเยอรมันอยู่ลึกๆ.... แต่นั่น ทางที่ให้วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงไม่จำกัด หรือ Autobahn บ้านเขา ทั้งการออกแบบทาง ระบบความปลอดภัย รั้วกั้น สภาพทาง รวมไปถึงกฎหมายที่รองรับการให้รถใช้ความเร็วขนาดนั้นได้

ในประเทศไทย ถามว่า ถ้าเราจะทำแบบนั้นบ้างได้หรือไม่ ผมว่าทำได้ แต่ก็คงจะมีคำถามตามมาอีกว่า จะทำไปทำไม เพราะคงจะไม่มีความจำเป็นและสิ้นเปลือง โดยส่วนตัวผมเองก็เป็นคนที่ขับรถเร็วคนนึง ยอมรับครับว่าบ่อยครั้งที่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่บ่อยๆ ถ้ามองอย่างเป็นกลาง ในมุมมองของคนขับรถ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเดินทางไกลๆ การใช้ความเร็วสูงระดับหนึ่งที่เหมาะสม ไม่ช้าเกินไปจนอ่อนล้าและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการหลับใน และไม่เร็วเกินไปจนไม่อาจควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย จุดนี้ผมว่ามันก็ยังเป็นอะไรที่เหลื่อมล้ำกันไปมา เพราะรถยนต์เป็นพาหนะทีมีขีดความสามารถในการควบคุมไม่เท่ากัน คนขับก็ต่างใจต่างประสบการณ์ ขณะที่ต้องมาใช้ทางร่วมกันในช่วงเวลาเดียวกัน

ปัญหานี้ผมว่า ถ้ามองให้ลึก การฝ่าฝืนกฎจราจรเรื่องความเร็ว ก็เหมือนเป็นเรื่องพายเรือในอ่างอย่างนึงที่แก้ไขได้ยาก สาเหตุหลักๆก็คงมาจาก

1.ระบบการขนส่งสาธารณะที่ยังล้าหลัง ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนเดินทางได้ทั่วถึงและเป็นไปอย่างเหมาะสม การขนส่งระบบรางยังคงไปได้ช้ากว่ารถยนต์ สมมติว่าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ รถยนต์ใช้เวลา 7-9 ชั่วโมง ขณะที่รถไฟใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 12 ชั่วโมง

2. การพัฒนาการขนส่งที่ผิดทิศทาง เห็นได้ชัดบ้านเราที่ผ่านมาเน้นสร้างถนนมากกว่าสร้างราง มีการจัดหาล้อเลื่อนที่ใช้มาน้อยกว่าความต้องการ ทั้งๆที่การขนส่งระบบรางเป็นหัวใจหลักของการขนส่ง เมื่อสังคมเมืองและเศรฐกิจมีการขยายตัว ความต้องการในการเดินทางและขนส่งสินค้ามีมาก ทำให้อยู่ในสภาพรับไม่ทัน ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ขณะที่ถนนใหญ่น้อยตัดเพิ่มเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการดูแลจัดระเบียบที่ดีพอ

3. ค่านิยมรักความสะดวกสบายส่วนตัวที่มากเกินไปของคนไทย การขาดการปลูกฝังให้คิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว รวมถึงปัญหาการทุจริต เรื่องค่านิยมนี้ผมว่าแก้ยากพอสมควรครับ

เท่าที่ผมลองคิดได้ก็ประมาณนี้ล่ะครับ ตราบใดที่คนไทยในสังคมตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่างยังขาดจิตสำนึก เราก็คงจะได้เห็นแต่สภาพขาดๆเกินๆเช่นที่ส่งผลกระทบกับรถไฟไทยอย่างที่เป็นอยู่นี่ล่ะครับ

Wink Cool
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©