Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181335
ทั้งหมด:13492570
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 471, 472, 473  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 03/07/2010 3:54 pm    Post subject: Reply with quote

ประเด็นเรื่องการซื้อรถจักร โดยที่ชักชวนคนมาลงทุนสร้างรถจักรในบ้านเรา ของท่านสุพจน์

ถ้าจำไม่ผิด มีการตีปี๊บ รอบสองต่อนักลงทุนเมื่อประมาณปี 47 โดยจัดงานที่โรงแรมแชงกลีร่า
ตอนที่ย้ายหน่วยงาน BOI ที่สังกัดสำนักนายก ฯ มาอยู่ภายใต้ร่มของกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่สำคัญ มีสมาชิก บางท่านเป็นคนที่อยู่ในวีดีโอพรีเซนต์ ชุดนี้เสียด้วย
ส่วนรอบแรก มีการจัดโรดโชว์ต่อนักลงทุนเมื่อช่วงปี 2544

จนถึงวันนี้ ปี 2553 ได้นำมาปัดฝุ่นอีกครั้งหนึ่งจากข่าว (รอบสามแล้ว)
ซึ่งเงื่อนไข ที่ท่านปลัดกล่าวมานั้น
คงต้องแอบแซว กันเล็กน้อย ว่าการประกาศ ในเรื่องนี้
ท่านคงลืมไปว่ามาตรการกระตุ้นที่หน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม คือ BOI ที่ดูแลอยู่ ที่สำคัญ ท่านปลัดเองก็เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ เสียด้วย
ในการการขอส่งเสริมโครงการเมกะโปรเจค ในมาตรการกระตุ้นการลงทุน ต้องขอส่งเสริม ฯ ภายในปี2553 เท่านั้น

นอกจากว่า ท่านปลัดสุพจน์ ต้องไปสะกิดท่านนายกอภิสิทธิ์ ให้ขยายระยะเวลาประกาศของ BOI ออกไปอีก จนกว่าบรรดาโครงการต่าง ๆ ได้บรรลุจนถึงการเปิด ประมูลและคัดเลือกเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ลงทุนในโครงการดังกล่าว สามารถ ขอใช้สิทธิประโยชน์ และ มีผลต่อการสนับสนุน ผลที่ได้เป็นผลทางอ้อมต่อประเทศชาตของเรา และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เอาการ

การที่จะเชิญใครมาลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับระบบราง * ลองไปอ่านบทความของ สศอ ที่ผมแอ้บ ของมูลของพี่ๆ มาลงไว้ก่อนหน้านี้ คำตอบในระดับพื้นฐาน มีอยู่ที่นี่แล้ว

ส่วนเรื่องรถไฟความเร็วสูง นอกจากค่ายใหญ่ในเอเซีย ที่มองบ้านเรา อยู่ ขึ้นอยู่กับว่า บ้านเรา พร้อมแล้วหรือยัง ที่จะก้าวข้าม จากระบบราง จากที่ใช้รถจักรดีเซลไปสู่รถไฟ ความเร็วสูง โดยเฉพาะเรื่องการสร้างคนมาใช้และพัฒนาระบบของคน ในยุกรอยต่อความเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้

ที่ผ่านมาไม่กี่วันจากช่องข่าว
(จำไม่ได้ว่าของทีวีค่ายไหน เพราะเปิดมาเจอตอนตีหนึ่งกว่า ๆแบบงัวเงีย)

ว่าทางJR ได้ไปนำเสนอผลงานเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง พร้อมกับผู้ผลิตรถไฟของญี่ปุ่นผ่านทาง MiTI นำเสนอกับหน่วยงานของสหรัฐ ที่ดูแลเรื่องการขนส่ง

วัตถุประสงค์คือ สหรัฐเป็นผู้ก่อมลภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศ จึงเป็นคำตอบหนึ่งสหรัฐต้องการพัฒนาระบบรางของตัวเอง จากผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์ที่ดีกว่า และชักชวนให้ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์หลายด้านเช่นทางภาษีและไม่ใช่ภาษี

ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นไปสร้างโอกาสในการลงทุนในสหรัฐที่จะเป็นตลาดใหม่ของระบบราง นอกเหนือจากฝั่งเอเชีย


ส่งท้าย เรื่อง PPPs ฝากให้พิจารณาบริบท จาก กฟผ และ กฟภ และท้ายที่สุด มาสู่ คำว่า ค่า FT ตามค่าใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า ที่มาถึงบ้านเราได้อย่างไร

ปล.โปรเจครถไฟความเร็วสูงนี้......เป็นรายการ ป๋าชุนละเอียด ขอมาน่อ....... อิอิ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 03/07/2010 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

ป๋าชุนละเอียด ..... ตืออะไรครับป๋าณัฐ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 03/07/2010 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
ป๋าชุนละเอียด ..... ตืออะไรครับป๋าณัฐ


แหะ ๆ พี่ ก็ท่านกรอบศักดิ์ สภาวสุ อะครับ
ตอนที่ท่านคุม ก.คลัง ท่านเช็คทุกเม็ดในเรื่องบประมาณ เป็นที่มาของฉายา ของนักข่าวสายเศรษฐกิจว่า เป็นป๋าชุน ละเอียด ไงครับพี่ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 05/07/2010 12:38 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมรวบยอดซื้อหัวรถจักร
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน 2553 เวลา 7:27 น


นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า เป็นการติดตามงานการดำเนินการตามมติ ครม.ที่อนุมัติงบประมาณ 176,000 ล้านบาทในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานของ รฟท.ทั้งหมด 21 โครงการ ทั้งเรื่องการจัดหาหัวรถจักร การปรับปรุงราง การทำรางคู่ เป็นต้น

โดยในส่วนที่จะมีการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าขนาด 20 ตัน/เพลา จำนวน 13 คัน วงเงิน 2,145 ล้านบาท และโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทนรถจักร จีอี 50 คัน (ที่เก่ามาแต่ปี 2507-2509) วงเงิน 6,532 ล้านบาท โดยวงเงินรวมทั้ง 2 ส่วนอยู่ที่ 8,677 ล้านบาท

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่จะรวม 2 โครงการให้อยู่ในสัญญาเดียวกัน เพื่อเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจโครงการดังกล่าวเข้ามาประมูล แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องมีการเข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานในประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานและการใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศ

อย่างไรก็ตามจะสรุปเรื่องดังกล่าว เสนอครม.เพื่อขออนุมัติให้รวมเป็นสัญญาเดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2553 และคาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนได้ภายในเดือนก.ย.นี้

“เชื่อว่าเงื่อนไขที่เชิญชวนเอกชน เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตหัวรถจักรในประเทศ นั้นจะได้รับความสนใจจากเอกชน เช่น ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น เพราะเชื่อว่าวงเงินลงทุนสูงจะจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนได้ รวมทั้งอาจขยายผลไปถึงการซ่อม บำรุงหัวรถจักรในอนาคตได้อีก ซึ่ง รฟท.มีแผนซ่อมบำรุงหัวรถจักรอีก 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท”.


ลองใช้สูตรแบบอิหร่านก็ไม่เลวนะครับ

http://www.railcolor.net/index.php?nav=1407549&lang=1

แต่อย่าหยุดแค่รถจักร พ่วง รถไฟฟ้า และ รถไฟความเร็วสูงด้วย ทำให้เกิดเป็น
อุตสาหกรรมให้ได้ อย่าไปกลัวว่าจะกระทบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ มันคน
ละSegmentกัน เผลอๆเกื้อกูลกันได้ซะอีก คนมีงานทำ เงินหมุนอยู่ในประเทศ ต้นทุนการขนส่งประเทศลดลง ใครได้ประโยชน์?

หวังว่าคงจะเจอ บนๆ ล่างๆ ซ้ายขวาๆ บีเอๆ ไว้นะครับ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2010 1:45 am    Post subject: Reply with quote

^^^
แต่ อิหร่าก็เอาเงินที่ได้จากการขายน้ำมันให้จีนซื้อรถจักรจีนแดง
และ รถไฟฟ้าใต้ดิน และ รถโดยสารจากจีนแดงนอกเหนือ จากการสั่งจากฝรั่งเศสไม่ใช่่เหรือครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2010 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

คลังจุดพลุไฮสปีดเทรน 6.5 แสนล้าน เชิญ นลท.ไทย-เทศร่วมแสดงความเห็น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2553 14:57 น.

ลุยรถไฟเร็วสูง 6.5แสนล. ดึงเอกชนร่วม
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2553, 11:47 น.

น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.เตรียมออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ใน 4 เส้นทาง มูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ภายในเดือนกรกฎาคม 2553 นี้ ก่อนสรุปความเป็นไปได้ในการลงทุนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกันยายน 2553 นี้

"จะส่งหนังสือเชิญนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่มีเทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญการเดินรถไฟความเร็วสูง เช่น จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส มารับฟังแนวคิดของเราเกี่ยวกับการลงทุนรถไฟความเร็วสูง และให้เขาแสดงความเห็นว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความจำนงชัดเจนด้วยว่าจะเปิดโอกาสให้เข้าร่วมลงทุนด้วยคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม 2553 นี้ จะมีการหารือกัน"

ทั้งนี้ รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าวในระยะแรก 4 เส้นทาง ได้แก่
1.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
2.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
3.เส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ และ
4.เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง

การลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วย 1.เส้นทางการเดินรถ จะใช้เส้นทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 2.ระบบรางรัฐจะลงทุนเอง 3.การเดินรถและระบบบริหารจัดการจะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยรัฐร่วมลงทุนด้วยอาจจะมีสัดส่วน 50:50 หรือ 70:30 โดย สคร.มีหน้าที่กำหนดขอบเขตการลงทุนแล้วเชิญภาคเอกชนมาแสดงความคิดเห็นว่าควรทำหรือไม่ เมื่อโครงการเป็นรูปเป็นร่างแล้ว หน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการก็ต้องเดินหน้าต่อ เช่น จัดให้มีการประมูล เป็นต้น

ทั้งนี้ สคร.ประเมินผลตอบแทนการลงทุน 4 โครงการในเบื้องต้นดังนี้

1.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 2.09 แสนล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 14.55%
2.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 1.8 แสนล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 19.08%
3.เส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 2.34 แสนล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 19.23% และ
4.เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 5.66 หมื่นล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 15.40%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2010 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

ทบทวนแผนสร้างไอซีดีแห่งที่ 2
หน้าเศรษฐกิจ
เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 05 กรกฎาคม 2553 เวลา 0:00 น


นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนความเหมาะสมโครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) แห่งที่ 2 ซึ่งจะตั้งอยู่บนพื้นที่ใหม่ไกลจากไอซีดีแห่งที่ 1 (ลาดกระบัง) ประมาณ 4 กม. ใช้เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มูลค่าประมาณ 6,400 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืน 1,200 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 5,200 ล้านบาท รองรับตู้คอนเทเนอร์ได้ 7 ล้านทีอียู เพียงพอสำหรับการเติบโตของตู้คอนเทเนอร์ในอีก 30 ปี เนื่องจากการดำเนินโครงการใช้งบประมาณค่อนข้างสูงจึงต้องศึกษาให้รอบคอบ

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเติบโตของปริมาณตู้คอนเทเนอร์เพิ่มเติม รวมทั้งศึกษาด้วยว่าตู้สินค้าที่เข้า มาใช้ไอซีดีเป็นสินค้าที่มาจากแหล่งใดของประเทศ เพื่อที่จะพิจารณาว่าควรจะก่อสร้างไอซีดีบริเวณใด เช่น หากสินค้าส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ก็จะได้ก่อสร้างไอซีดีที่แก่งคอยหรือต่างจังหวัด เพื่อลดการเดินทางของสินค้าไม่ต้องแวะมาที่ไอซีดีลาดกระบัง แต่สามารถเดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้เลย

ขณะเดียวกันให้ศึกษาแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในไอซีดีแห่งที่ 1 เพื่อที่จะชะลอการลงทุนไอซีดีแห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันไอซีดีแห่งที่ 1 เต็มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าที่ 1.7 ล้านทีอียูแล้ว

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อมีการปรับปรุงอุปกรณ์ เช่น เครนยกตู้สินค้า และปรับปรุงระบบการบริการจัดการ เชื่อว่าจะส่งผลให้การขนส่งสินค้าในไอซีดีแห่งที่ 1 มีปริมาณมากขึ้นแน่นอน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2010 11:10 am    Post subject: Reply with quote

เงินอุดหนุนรฟท.แค่2.2พันล้าน
เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 07 กรกฎาคม 2553 เวลา 8:14 น

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินอุดหนุนสำหรับบริการสาธารณะประจำปี 2554 ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 2,285.41 ล้านบาท จากที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนสำหรับบริการสาธารณะวงเงิน 3,795.76 ล้านบาท ซึ่งเป็นคนละส่วนกับมาตรการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน

นอกจากนี้ครม.ยังให้หลักการการคำนวณต้นทุนการให้บริการสาธารณะตามหลักการของปีงบประมาณ 53 และมีสมมติฐานการประมาณการรายได้ที่ รฟท. ปรับราคา ค่าโดยสารภายในปีงบประมาณ 53 ซึ่งจะ ทำให้วงเงินอุดหนุนลดลงจากที่กระทรวงคมนาคมเสนอมา อีกทั้งต้องปรับกำหนดการขอรับเงินอุดหนุนจากข้อความว่าขอรับเงิน อุดหนุนทุกกิจกรรมล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็น ขอรับเงินอุดหนุนทุกกิจกรรมล่วงหน้า แบ่งเป็น 2 งวด คืองวดแรก สำหรับ 6 เดือนแรกหลังจากได้มีการ ลงนามในบันทึกข้อตกลงการให้บริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 54 และงวดที่ 2 สำหรับ 6 เดือนที่เหลือ เมื่อคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะให้ความเห็นชอบการ เบิกจ่าย

นายวัชระกล่าวว่า ครม.ยังให้ รฟท. ไปจัดทำรายงานแผนกลยุทธ์ที่จะปรับปรุงการดำเนินงานให้เข้าสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะต่อคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ตลอดจนเร่งปรับปรุงระบบบัญชีขององค์กรให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกิจกรรมของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ตามโครงสร้างการบริหารจัดการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการไว้ เพื่อให้การแยกบัญชีเชิงพาณิชย์และบัญชีเชิงสังคมมีความชัดเจนและถูกต้องโดยเร็วต่อไป.

ครม.อนุมัติเงินชดเชยรถไฟบริการเชิงสังคมอีก 2,285 ล้านบาท
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2553 06:44 น.

ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินอุดหนุนทางการเงินประจำปีงบประมาณ 2554 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 2,285.418 ล้านบาท ซึ่งเป็นการอุดหนุนบริการสาธารณะ หลังจากกระทรวงคมนาคมได้เสนอขอรับเงินอุดหนุนทางการเงินประจำปีงบประมาณ 2554 ของร.ฟ.ท. ให้คณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะพิจารณา โดยขอรับเงินอุดหนุนจำนวน 3,795.733 ล้านบาท สำหรับการให้บริการเดินขบวนรถเชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน เป็นรถโดยสารชั้น 3 ทั่วประเทศ ซึ่งคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ได้พิจารณาแล้ว โดยใช้หลักการกำหนดต้นทุนตามหลักการของปีงบประมาณ 2553 และสมมุติฐานประมาณการรายได้ที่ร.ฟ.ท.ปรับราคาค่าโดยสารภายในปีงบประมาณ 2553 ทำให้วงเงินลดลงเหลือ 2,285.418 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2010 6:07 pm    Post subject: Smart Station Plan Reply with quote

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. "ยุทธนา ทัพเจริญ" แผน 5 ปีปฏิรูปรถไฟไทย สู่ "Smart Station Smart Train"
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4226 หน้า 2
วันที่ 12-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รัฐวิสาหกิจกระทรวงคมนาคม ที่อายุยาวนาน 114 ปี มีบุคลากรรวมทั้งหมด 12,000 คน จะปฏิรูปองคาพยพเดินเข้าสู่โหมดการทำงานตามโครงสร้างใหม่

แยกเป็น 3 หน่วยธุรกิจ (Business Unit : BU) ประกอบด้วย
1. เดินรถ
2. ซ่อมบำรุง และ
3. บริหารทรัพย์สิน

กับอีก 1 บริษัทลูกที่ ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% คือ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่จะมาเดินรถโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ ร.ฟ.ท. เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีภาระหนี้และปัญหาหลายด้านสะสมมานาน ในฐานะเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร "ยุทธนา ทัพเจริญ" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กำลังเร่งเดินหน้าภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามโครงสร้างใหม่ โดยถือฤกษ์เดือนตุลาคมนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการรถไฟฯ

"กว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี เพราะจะค่อย ๆ ทยอยปฏิรูป ไม่ทำทีเดียว วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ที่เปลี่ยนแน่คือระบบบัญชี และจะมีซีอีโอที่แยกชัดเจนของแต่ละหน่วยธุรกิจ" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

โครงสร้างใหม่เป็นผลมาจากปี 2552 ที่ ร.ฟ.ท.เสนอแผนฟื้นฟูสถานะการเงิน โดยตั้ง 2 บริษัทลูก คือ
บริษัท บริหารทรัพย์สิน จำกัด และ
บริษัท เดินรถ จำกัด

ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 แต่ตอนหลังถูกเบรกโดย สหภาพรถไฟฯ แผนนี้จึงถูกพับไป

ต่อมากระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 ชุด มีด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านทรัพย์สิน ด้านกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ด้านบุคลากรและอัตรากำลัง ก่อนจะตกผลึกเป็น "แผนการปรับโครงสร้างองค์กร ร.ฟ.ท." ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2553-2557) ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 176,808 ล้านบาท

พร้อมแยกหน่วยธุรกิจเป็น 3 หน่วย คือ

เดินรถ
ซ่อมบำรุง
บริหารทรัพย์สิน กับ
อีก 1 บริษัทลูก คือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์

ส่วนโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ภายใต้ฝ่ายบริหาร คือ ร.ฟ.ท.ส่วนกลาง จากนั้นได้เสนอ ครม.พิจารณาหลายครั้ง ก่อนที่ ครม.จะมีมติเห็นชอบข้อเสนอของ ร.ฟ.ท. เมื่อ วันที่ 27 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา

"การแยก 3 หน่วยธุรกิจ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ร.ฟ.ท. รูปแบบโครงสร้างก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น เพียงแต่แยกหน่วยธุรกิจและส่วนบริษัทออกไป เพื่อให้รู้ต้นทุนและรายได้ที่ชัดเจน"

ในส่วน "บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด" จะมีคณะกรรมการบริษัท 11 คน
เป็นตัวแทนของกระทรวงการคลัง 1 คน
กระทรวงคมนาคม 1 คน
ผู้เชี่ยวชาญ 4 คน
นอกนั้นจะมาจากบอร์ด ร.ฟ.ท.
ขณะเดียวกันจะมี 1 คนที่เป็นซีอีโอ มาจากการสรรหา ส่วนการบริหาร เนื่องจากบริษัทลูกซึ่งเป็นของการรถไฟฯ 100% และจะเปิดดำเนินการได้ก็ต้องได้รับอนุมัติเงินจาก ครม. โดยได้ขอวงเงินจดทะเบียนเพิ่มจาก 500 ล้านบาท เป็น 2,000 ล้านบาท เพราะ ผลการศึกษาออกมา ถ้ามีเงินสดหมุนเวียน 2,000 ล้านบาท ในช่วงแรก จะมีรายได้เป็นบวกในปีที่ 5 ขณะที่ ร.ฟ.ท.มีหนี้เบื้องต้นในการจดทะเบียนบริษัทลูก ประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยเป็นหนี้จากการลงทุนโครงการแอร์พอร์ตลิงก์

"ตั้งแต่ปีที่ 5 จะมีรายได้เป็นบวก และทยอยใช้หนี้ไปเรื่อย ๆ

สำหรับแอร์พอร์ตลิงก์ ผู้โดยสารต่อวันต้องให้ได้ 7 หมื่นคน
แยกเป็นผู้โดยสาร city line 5 หมื่นคน/วัน
express line 2 หมื่นคน/วัน

แต่ปีแรกที่เปิดให้บริการประมาณการผู้โดยสารไว้ที่
3-5 หมื่นคน/วัน ในส่วน city line และ
express line 1 หมื่นคน/วัน"

"ยุทธนา" บอกว่า ในส่วนของหน่วยธุรกิจอื่นอย่าง "บริหารทรัพย์สิน เดินรถ ซ่อมบำรุง" กำลังว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงเงิน 40 ล้านบาท ศึกษารายละเอียดเชิงลึก ด้านโครงสร้างแต่ละ BU ในภาพรวมทั้งโครงสร้างองค์กร การเงิน รายได้ เป็นต้น จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

สำหรับ ร.ฟ.ท.เองจะมาดูระบบบัญชีทั้งหมด โดยว่าจ้าง "บริษัท รีลอยท์ฯ" วางกรอบโครงสร้างและรูปแบบระบบบัญชี เป้าหมายคือจะต้องมีคณะทำงานมาดู ซึ่งได้ประสานกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้จัดทำระบบอีอาร์พี (ระบบข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์ที่จะประสานงานทุกฝ่ายได้) เฉพาะส่วนที่จำเป็น คือ

ฝ่ายพัสดุกับ
ฝ่ายช่างกล

เพื่อตรวจสอบสต๊อกและอะไหล่ที่ขาดเหลือ ถ้าทำตรงนี้ได้ การบริหารจัดการรถไฟจะดีขึ้น รถไม่เสียเวลา การซ่อมรถจะเป็นไปตามเป้าหมาย

ระหว่างรอผลศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร.ฟ.ท.ก็ ไม่ได้อยู่นิ่ง แต่ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 ชุด เพื่อรองรับโครงสร้างใหม่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ คือคณะทำงานปรับปรุงระบบบัญชี แก้กฎระเบียบ ข้อมูลทางไอที รวมทั้งคณะทำงานมวลชนสัมพันธ์ที่จะ เดินสายพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงาน

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.บอกว่า ประโยชน์ของโครงสร้างใหม่คือ เมื่อแยกหน่วยธุรกิจแต่ละหน่วย จะรู้ต้นทุนกำไรที่ชัดเจน และมีผู้บริหารรับผิดชอบโดยตรงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

ขณะที่จำนวนบุคลากรก็ยังคงเดิมที่ 12,000 คน

มีพนักงาน ขับรถ 5,000 คน
ฝ่ายช่างกล 6,000 คน
ฝ่ายสื่อสาร 600 คน

เพียงแต่จัดรูประบบบัญชีใหม่ อำนาจการบริหารก็ยังอยู่ที่ผู้ว่าการเหมือนเดิม จะไม่มีการเออร์ลี่รีไทร์

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ย้ำว่า สาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบบัญชีก็เพื่อแก้จุดอ่อนของ ร.ฟ.ท. เนื่องจากที่ผ่านมา คนภายนอกไม่ค่อย เชื่อถือระบบบัญชีรถไฟ จึงต้องทำให้หน่วยงานอื่น ๆ อาทิ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกระทรวงการคลัง เชื่อเรื่องความสามารถในการบริหารต้นทุนกับเงินลงทุน 1.7 แสนล้านบาทที่กำลังจะเข้ามา

ส่วนประเด็นข้อขัดแย้งกับสหภาพคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา และ คงได้รับความร่วมมือ เพราะรูปแบบ BU มีมาหลายสิบปีแล้ว เพียงแต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ขยับทำเท่านั้น สหภาพยังมีอยู่ และต้องมองที่ประโยชน์ของสหภาพเป็นหลักด้วย

สำหรับภาระหนี้ เมื่อใช้โครงสร้างใหม่จะช่วยลดภาระหนี้ที่จะ เกิดจากโครงสร้างพื้นฐาน โดยรัฐบาลจะรับภาระทั้งหมดในอนาคต แต่ในส่วนที่เป็นล้อเลื่อน ร.ฟ.ท.จะต้องรับบริหารจัดการ

"เรื่องหนี้ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ ต้องไปต่อรองรัฐบาลว่าถ้าบริหารเป็นรูป BU แล้ว ใน 1 ปีบอกได้เลยว่า ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากบริหารทรัพย์สิน 1,500 ล้านบาท ต่อไปเมื่อมีโครงสร้างใหม่ รายได้จะเพิ่มเป็น 2,000-2,500 ล้านบาท จะเอารายได้ตรงนี้ไป ต่อรองกับรัฐบาล ขอลดหนี้เก่า ซึ่งวันนี้หนี้เก่าที่แขวนอยู่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ไม่รวมแอร์พอร์ตลิงก์ ถ้ารวมเบ็ดเสร็จน่าจะอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท"

"หนี้ 5.5 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้เก่าที่จะขอต่อรองกับรัฐบาลให้รับภาระไป 4 หมื่นล้านบาท เหลือไว้แค่ 15,000 ล้านบาท ปกติรัฐบาลจะจัดงบฯมาทุกปีให้การรถไฟฯมาชำระหนี้อยู่แล้ว หรืออีกทางหนึ่งให้รัฐรับภาระไปทั้งหมด แล้วมาว่ากันใหม่ แต่ต้องมั่นใจว่าการรถไฟฯจะไปรอด"



สำหรับรายได้ต้องยอมรับว่า ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการบริหารร่วม 9,000 ล้านบาท/ปี แต่เมื่อหักภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญแล้ว ติดลบถึง 16,000-17,000 ล้านบาท จึงต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อม ๆ กับหาทางเพิ่มรายได้ ซึ่งแนวทางหนึ่งจะมาจากบริหารทรัพย์สินที่จะต้องสร้างรายได้เพิ่ม สองเป็นเรื่องสินค้ากับผู้โดยสารจะประคองไม่ให้ตก จะนำที่ดินแปลงที่มีศักยภาพมาประมูล อย่างที่ดินย่านพหลโยธิน ริมแม่น้ำ มักกะสัน ต่อไปจะมีซีอีโอเป็นมืออาชีพเข้ามาบริหาร

อีกด้านจะมาจากการลงทุนเร่งด่วน 5 ปี วงเงิน 1.76 แสนล้านบาทที่ ครม.อนุมัติ โดยจะนำมาซื้อหัวรถจักร ล้อเลื่อน รถโดยสาร จะเห็นผลชัดเจนในอีก 2 ปีครึ่ง ซึ่งจะนำไปสู่การบริการที่ดีขึ้น ให้กับผู้โดยสาร ความปลอดภัยก็จะมีมากขึ้น ตอนนี้ที่ทำได้คือการสร้างภาพลักษณ์

หากทุกอย่างสามารถเดินหน้าได้ตามแผน อีก 5 ปีข้างหน้า ร.ฟ.ท.จะมีความสามารถในขนส่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2-3 เท่า คุณภาพด้านบริการและสถานะทางการเงินจะดีขึ้นอย่างพลิกโฉม สลัดภาพ "ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" สู่ "Smart Station Smart Train"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2010 6:37 pm    Post subject: รายละเอียดเกี่ยวกับ งบลงทุน 5 ปี 176,808.28 ล้านบาท Reply with quote

‘คมนาคม’ ทุ่ม 1.7 แสนล้านผ่าตัด ร.ฟ.ท. รวบสัญญาซื้อรถจักร-ซ่อมบำรุง
เขียนโดย by Administrator
หนังสือพิมพ์ ทรานสปอร์ตเจอร์นัล
อังคารที่ 6 กรกฎาคม 2553 04:13

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ขณะนี้ที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2553-2557 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 วงเงินรวม 176,808.28 ล้านบาท จำนวน 21 โครงการ โดยเฉพาะการจัดหาหัวรถจักร การปรับปรุงราง การทำรางคู่ เพื่อให้การรถไฟจัดทำแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน ก่อนที่จะรายงานคณะรัฐมนตรี

โดยในส่วนที่จะมีการจัดหารถจักรดีเซล จำนวน 13 คัน (20 ตัน/เพลา) วงเงิน 2,145 ล้านบาท ที่ประชุมมีแนวคิดว่าโครงการจัดหารถจักรตามแผนจำนวน 63 คัน มูลค่าประมาณ 8,700 ล้านบาท นั้น เห็นควรที่จะทำสัญญาร่วมกับโครงการซ่อมบำรุงรถจักรจำนวน 56 คัน มูลค่า 3,360 ล้านบาท เป็นสัญญาเดียว มูลค่ารวมประมาณ 12,067 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขให้เอกชนตั้งโรงงานประกอบรถจักรดีเซลไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานและการใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งจะสรุปเรื่องดังกล่าวเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติให้รวมเป็นสัญญาเดียวกันได้ภายในเดือนกรกฎาคม และจะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนได้ภายในเดือนกันยายนนี้
“ในอนาคตโรงงานดังกล่าวจะรับผิดชอบงานซ่อมบำรุงรถจักรอย่างน้อยประมาณ 10 ปี ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยหลายอย่างเช่น การสร้างงานในประเทศ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากที่สามารถที่จะใช้วัสดุภายในประเทศ โดยมั่นใจว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริษัทที่มีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน เช่น ประเทศฝรั่งเศส สเปนเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น”
สำหรับโครงการทั้งหมดแบ่งเป็น

1. โครงการที่มีความพร้อมและสามารถที่จะดำเนินการได้ทันทีจำนวน 11 โครงการ วงเงินลงทุน 87,529 ล้านบาท ซึ่งรัฐรับภาระ 84,024 ล้านบาท ร.ฟ.ท.รับภาระ 3,505 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่นำเสนอ ครม. พิจารณาแล้วจำนวน 4 โครงการ คือ

1. โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 เส้นทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น ช่วงสถานีสุรนารายณ์-ชุมทางบัวใหญ่ และช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 5,508 ล้านบาท ระยะการดำเนินการ 4 ปี

2. โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 6 เส้นทางสถานีชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร วงเงิน 6,779 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี

“ปัจจุบันโครงการปรับปรุงรางระยะที่ที่ 5 และ 6 ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ก็สามารถดำเนินการได้ โดยจะมีการทำแผนว่าจะเริ่มประมูลเมื่อไร ใช้เวลาก่อสร้างเท่าไร และแล้วเสร็จเมื่อใด”

3. โครงการก่อสร้างทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท

4. โครงการจัดหารถจักรดีเซลจำนวน 13 คัน (20 ตัน/เพลา) วงเงิน 2,145 ล้านบาท

5. โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย ระยะทาง 2,406 กิโลเมตร วงเงิน 23,670.750 ล้านบาท

6. โครงการปรับปรุงสะพานจำนวน 12,167 ล้านบาท
7. โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี 224 สถานี 11,358 ล้านบาท
8. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับจำนวน 1,284 แห่ง วงเงิน 5,456.20 ล้านบาท
9. งานติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ ระยะทาง 1,649 กิโลเมตร วงเงิน 4,736.55 ล้านบาท
10. โครงการสร้างโรงงานรถจักรแก่งคอย 1,000 ล้านบาท
11. โครงการสร้างโรงรถจักรศรีราชา และหน่วย 10 ลาดกระบัง 359.87 ล้านบาท

สำหรับ 10 โครงการที่เหลือวงเงินรวม 82,279 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมนำเสนอ ครม. ประกอบด้วย

1. การก่อสร้างทางคู่สายมาบกะเบา-ถนนจิระ วงเงิน 11,640 ล้านบาท
2. ทางคู่สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน วงเงิน 16,600 ล้านบาท
3. ทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 7,860 ล้านบาท
4. ทางคู่สายถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 13,010 ล้านบาท
5. ทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,000 ล้านบาท
6. การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน วงเงิน 6,526.50 ล้านบาท
7. ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท
8. จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่เชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,981.050 ล้านบาท
9. โครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) แห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้านบาท ซึ่ง ปัจจุบันได้ดำเนินงานถึงช่วงกลางการศึกษา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2553

10. โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม 2,200 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 471, 472, 473  Next
Page 98 of 473

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©