Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180138
ทั้งหมด:13491372
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2010 11:00 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์16ก.ค.ยึดแผงจตุจักรค้างค่าเช่าประมูลใหม่ เอกซเรย์ทำแผนพัฒนาต่อสัญญายาว
เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 07 กรกฎาคม 2553 เวลา 8:23 น

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (ตลาดนัดจตุจักร) เปิดเผยว่า หลังตลาดนัดได้จ่ายเช็คเป็นค่าเช่าแผงค้าให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 84 ล้านบาทไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในส่วนของการเรียกเก็บเงินค่าเช่าแผงจากผู้ค้า 8,807 แผง ซึ่งได้กำหนดให้จ่ายเงินภายในวันที่ 30 มิ.ย. นั้น จนถึงขณะนี้ตลาดนัดได้รับเงินค่าเช่าแล้วราว 63 ล้านบาท แยกเป็นเงินสดราว 30-40 ล้านบาท ที่เหลือผู้ค้าขอผ่อนผันจ่ายเป็นรายเดือน และยังเหลือมีผู้ค้าที่ไม่มาจ่ายเงินราว 1,000 แผง ตลาดนัดได้ขยายเวลาให้จ่ายค่าเช่าถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ โดยผู้ที่ยังไม่จ่ายต้องชำระค่าเช่าจำนวนเต็มพร้อมค่าปรับแผงละ 120 บาท ไม่สามารถจ่ายเป็นรายเดือนได้ และหากเลยกำหนดไปอีก ตลาดนัดจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดไม่ต่อสัญญาเช่าให้ และจะนำแผงค้าดังกล่าวมาเปิดประมูลให้ผู้ที่มีความประสงค์จะขายของในตลาดนัดจตุจักรได้มีสิทธิเข้าทำการค้าทันที

นายอรุณ กล่าวต่อว่า ส่วนการทำแผนการพัฒนาตลาดนัดระยะยาวเพื่อเตรียมเจรจากับรฟท.ในการขอต่อสัญญาไปอีก 30 ปี จากที่จะหมดสัญญาวันที่ 1 ม.ค. 2555 นั้น ตลาดนัดจะของบประมาณจากฝ่ายบริหารเพื่อจ้างที่ปรึกษาลงสำรวจตลาดนัดจตุจักรเพื่อเก็บข้อมูลครั้งใหญ่ หลังจากที่ไม่เคยดำเนินการเก็บข้อมูลมาเลย เพื่อสำรวจจำนวนแผงค้าที่ชัดเจน อาทิ ประเภทแผงค้าทั้งหมด จากที่เคยได้รับอนุมัติแต่เดิมมีการเปลี่ยนสินค้าหรือไม่อย่างไร มีการปล่อยให้เช่าช่วงจำนวนกี่แผง เช่าช่วงเท่าไหร่ เพราะทราบว่าปล่อยให้เช่าช่วงเฉลี่ย 7,000-30,000 บาท รวมทั้งสภาพของแผงค้า ความเดือดร้อนและความต้องการของผู้ค้าและประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาสรุปหาแนวทางแก้ไขปัญหารวมทั้งการจัดทำแผนการพัฒนาตลาดนัดในระยะยาว ทราบว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้แล้วและอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณดำเนินการหากได้รับงบประมาณจะดำเนินการทันทีใช้เวลาสำรวจราว 3 เดือน ทั้งนี้ก่อนหน้านี้รฟท.ได้ส่งบริษัทที่ปรึกษา 30 คนเข้ามาสำรวจพื้นที่ในตลาดนัดจตุจักรไปแล้ว โดยตรวจสอบสภาพการค้าทั้งหมดในตลาดนัดจตุจักร หลังจากกทม.ได้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับผลประกอบการ เช่น งบดุลต่าง ๆ ของตลาดนัดให้รฟท.ในฐานะคู่สัญญาเจ้าของที่ดิน.

pak_nampho wrote:
จากข่าวเฮียหมี นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) บอกถ้าชำระหนี้ 84 ล้านที่ค้างแล้ว กทม.ขอทำสัญญาเช่าต่ออีก 30 ปี..... Question

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
30 ปีนานไปมั้งเพราะรถไฟกำลังตั้งหน่วยงานใหม่มากำกับดูแลทรัพย์สินที่ดินในเร็ววันแล้ว...


ในวงการราชการนั้นเขาสอนกันว่า ให้ประวิงเวลาการจ่ายเงินให้นานที่สุดเท่านี่จะนานได้เพื่อประโยชน์ของตนนะครับ ทำเป็นเล่นไป Laughing Rolling Eyes Embarassed Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2010 6:17 pm    Post subject: เรื่องพิกล Reply with quote

ผู้บริหาร “จตุจักรพลาซ่า” ร้อง ตร.คุ้มครองถูกชายฉกรรจ์ข่มขู่

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 7 กรกฎาคม 2553 16:22 น.


วันนี้ (7 ก.ค.) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายเกษม อำพรรัตน์ ผู้จัดการบริษัท เจริญพลาซ่า จำกัด ผู้บริหารโครงการจตุจักรพลาซ่า เดินทางยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เพื่อขอกำลังตำรวจเข้ามาคุ้มครอง ภายหลังมีกลุ่มชายฉกรรจ์อ้างเป็นตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ พร้อมทั้งข่มขู่ผู้ค้า

นายเกษมกล่าวว่า บริษัท เจริญพลาซ่า เป็นผู้เช่าและครอบครองพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย พื้นที่ 6/3 โซนซี และขณะนี้ได้มีข้อพิพาทกับการรถไฟฯ โดยต่างฝ่าย ต่างฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกัน และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง และศาลอาญา แต่ปรากฏว่าได้มีชายฉกรรจ์จำนวนกว่า 100 คน อ้างว่าเป็นตัวแทนการรถไฟฯ บุกเข้ามารบกวนสิทธิในการครอบครองพื้นที่ของบริษัทฯ ทั้งได้ข่มขู่และใช้อิทธิพลเพื่อจะจัดเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าช่วง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อบีบบังคับให้บริษัทออกไปจากพื้นที่

นายเกษมกล่าวว่า ด้วยเหตุดังกล่าวบริษัทฯ จึงยื่นขอความคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจากศาล ซึ่งล่าสุดศาลแพ่งได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้การรถไฟฯ หรือตัวแทน เข้ามาจัดเก็บรายได้จากพื้นที่พิพาทแล้ว แต่ชายฉกรรจ์ดังกล่าวยังคงมารบกวน จึงอยากให้ พล.ต.อ.ปทีปสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล รวมถึงดำเนินการทางกฎหมายต่อกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2010 9:38 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ควัก84ล.เคลียร์ค่าเช่าตลาดจตุจักรแลกต่อสัญญาร.ฟ.ท.30ปี
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4225 วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8


นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ทำหนังสือทวงค่าเช่าอย่างเป็นทางการที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร จากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทาง กทม.ยอมจ่ายค่าเช่าให้แล้ว วงเงิน 84,422,902 บาท เป็นค่าเช่าค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2554 โดย เป็นอัตราค่าเช่าใหม่ที่ ร.ฟ.ท.ขอปรับขึ้นจากอัตราเดิมอยู่ที่ 32 บาท/ตร.ม. หรือปีละ 3.4 ล้านบาท เป็นอัตราใหม่

1. เมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2544-1 มกราคม 2551 อัตราค่าเช่าอยู่ที่ 64 บาท/ตร.ม. หรือปีละ 6.9 ล้านบาท และ
2. ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2551-1 มกราคม 2554 อัตรา 191.41 บาท/ตร.ม. หรือปีละ 20.8 ล้านบาท
3. หลังจากนั้นช่วงวันที่ 2 มกราคม 2554-1 มกราคม 2555 ทาง กทม.จะต้องจ่ายค่าเช่าให้กับ ร.ฟ.ท. ปีละ 24.2 ล้านบาท

"การรถไฟฯได้ทวงค่าเช่ากับ กทม.ไปหลายรอบ ตั้งแต่ปี 2548 แต่ กทม.ไม่ยอมมาตลอด จนกระทั่งมาได้ข้อสรุปเมื่อปลายปี 2550 กว่าจะเคลียร์เสร็จก็ขึ้นปี 2553 ส่วนการที่ กทม.จะต่อสัญญาเช่าอีก 30 ปี จะต้องมาพิจารณาผลตอบแทนกันใหม่ มี 3 ฝ่ายร่วมพิจารณา คือผู้ค้า กทม. และ ร.ฟ.ท. ซึ่งจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้กลับคืนมา เพื่อเป็นฐานข้อมูลเจรจากับ กทม. คงจะไม่ถูกเหมือนเก่า ทุกอย่างต้องสะท้อนความเป็นจริง โดยจะเจรจาก่อนหมดสัญญาวันที่ 1 มกราคม 2555 นี้ ส่วนจะต่อให้หรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการของ ร.ฟ.ท."
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2010 10:54 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดจี้รถไฟฯขนที่ดินปั๊มเงินขุด7ทำเลทอง
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 12 กรกฎาคม 2553 - 00:00


นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ได้เร่งรัดให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินหารายได้จากที่ดินทั้งหมดของ ร.ฟ.ท.ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนที่เป็นพื้นที่สถานีและพื้นที่อื่นที่สามารถจัดหาประโยชน์ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ 7 แห่งซึ่งเป็นทำเลทอง เช่น ย่านพหลโยธิน รัชดาภิเษก และมักกะสัน ให้มีการประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้

นายยุทธนากล่าวว่า แปลงไหนพร้อมก็เร่งรัดให้ดำเนินการทันที ส่วนที่กำลังศึกษาก็ต้องเร่งติดตามผล และต้องเน้นให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน เช่น

1. ย่านพหลโยธิน ซึ่งในอนาคตจะรองรับเป็นศูนย์กลางของรถไฟฟ้า และ
2. แปลงมักกะสันที่มีสถานีมักกะสันของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ รวมทั้ง
3. สถานีหัวหิน ปัจจุบันทำเป็นโครงการนำร่องเพื่อรองรับการท่องเที่ยว"

นายยุทธนากล่าวว่า ในปี 2553 คาดว่าจะมีรายได้จากการให้เช่าที่ดินจำนวน 2,207 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมารับรู้รายได้แล้วจำนวน 1,405 ล้านบาท ส่วนช่วงครึ่งปีหลังยังพอมีอีกหลายช่องทางที่จะเสริมรายได้เข้ามาให้ได้ตามเป้าหมาย

ส่วนปี 2554 คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีบางพื้นที่ได้มีการปรับปรุง เช่น

1. สวนจตุจักร (ตลาดนัด)
2. สวนรถไฟ (Energy Complex)

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ในภูมิภาคอีกหลายๆ แปลง ทั้ง

1. นครราชสีมา
2. ขอนแก่น
3. ย่านมหาชัย และ
4. หาดใหญ่

ที่จะทยอยนำเสนอให้ผู้สนใจเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 13/07/2010 6:11 pm    Post subject: ข่าวที่ดิน รฟท. Reply with quote

ข่าวๆนี้ นำมาจากข่าวหน้าหนึ่งในผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันจันทร์ที่ 12 ถึง วันอาทิตย์ที่18 กรกฎาคม 2553 นะครับ

ยึดจตุจักร !?
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 8 กรกฎาคม 2553 08:38 น.
* กทม.กับผู้ค้าลุ้นตัวโก่ง ยิ่งกว่าเชียร์บอล
* ต่อ-ไม่ต่อ สัญญาเช่าจตุจักรอีก 30 ปี ฉากสุดท้ายใครคว้าพุงปลาชิ้นเบิ้มไปครอบครอง
* เตือน กทม.อย่าเพิ่งระเริงว่ามติครม. คุ้มหัว โอกาสเปลี่ยนมีได้ทุกเมื่อ
* ผู้เช่าเตรียมสะอื้นกับราคาค่าเช่าแผงใหม่ อาจทะลุ 1.5 หมื่น

แม้กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะส่งมอบเงินค่าเช่าที่ดินที่กทม.ค้างจ่ายให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 84,422,922 ล้านบาท ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ใช่ว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาในปี 2555 กทม.จะได้รับพิจารณาจากรฟท.ให้ต่อสัญญาการเช่าที่ออกไป

"การต่อสัญญารอบใหม่นั้นต้องรอลุ้นบอร์ดการรถไฟพิจารณาอีกครั้ง" พรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่ากทม. เคยเปรยไว้เช่นนี้

ข่าวนี้ทำให้บรรดาผู้ค้านับหมื่นรายยังต้องลุ้นกันตัวโก่งอีกว่าบอร์ดการรถไฟ จะให้ใครได้สิทธิ์เป็นผู้เช่าที่ดินผืนงามนี้ต่อไป เอกชน หรือ กทม.

หากเป็นอย่างแรกอาจมี "โฮ" แต่ถ้าเป็นอย่างหลังอาจมี "เฮ" แต่กระแสข่าวที่แพลมออกมาน่าจะเป็นอย่างแรกมากกว่า

ชื่อที่มีการกล่าวขวัญกันมากที่สุดในเวลานี้คงหนีไม่พ้น "คิง เพาเวอร์" ของวิชัย รักศรีอักษร ผู้ใกล้ชิด เนวิน ชิดชอบ เจ้าของพรรคภูมิใจไทยตัวจริง

"ตรงนี้คิง เพาเวอร์เขารออยู่นานแล้ว เขาเตรียมอยู่นานแล้ว" แหล่งข่าวระดับบิ๊กใน กทม. บอกกับ "ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์" แต่ลึกๆในใจของแหล่งข่าวก็ยังไม่กล้าปักใจเชื่ออย่างเต็มที่ว่าเอกชนจะเข้ามา เนื่องจากมองว่าที่ดินตรงตลาดนัดจตุจักรนั้นรฟท. คงยากที่จะไม่ต่อสัญญากับกทม. เนื่องจากเป็นมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อ 30 ปีที่แล้วที่ต้องการช่วยเหลือบรรดาพ่อค้าแม่ขายที่ย้ายมาจากสนามหลวง ทางเดียวที่เอกชนจะคว้าที่ตรงนี้ไปบริหารจัดการได้ก็คือต้องเปลี่ยนมติครม.เดิมเท่านั้น

"แต่อย่างที่รู้กันแล้วว่าตอนนี้ใครใหญ่ และใครดูแลการรถไฟอยู่ การเมืองสั่งลงมาอย่างไรบอร์ดรฟม. คงไม่กล้าขัดขืนอยู่แล้ว" แหล่งข่าวคนเดิมให้ความเห็น

จ่ายค่าเช่าไม่คุ้มค่าที่ หารายใหม่ดีกว่า
หากพิจารณาผลตอบแทนของบรรดาผู้ประกอบการรายต่างๆ ที่มาทำสัญญาขอเช่าพื้นที่รฟท. อย่าง บริษัท เจริญพลาซ่า จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการจตุจักร พลาซ่า ย่านพหลโยธิน บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 แปลงที่ 6/3 ขนาดพื้นที่ราว 20,000 ตารางเมตร อายุสัญญา 3 ปี รฟท.ยังคิดค่าธรรมเนียมถึง 92,058,868 บาท ไม่รวมค่าเช่ารายเดือนอีกเดือนละ 754,809 บาท

เป็นตัวเลขผลตอบแทนที่ไม่น้อย แม้ทางเจริญพลาซ่าจะแห้วโครงการนี้ เนื่องจากเลยกำหนดระยะเวลาการต่อสัญญาระยะที่ 2 ไปหลายวัน

อันที่จริงจตุจักร พลาซ่า เป็นโครงการเดียวที่เช่าพื้นที่ของรฟท. ในย่านพหลโยธินแล้วไม่มีปัญหา เพราะไม่เคยผิดนัดจ่ายค่าเช่าเลยแม้แต่ครั้งเดียว ขณะที่โครงการอื่นๆ ล้วนมีปัญหาไม่ยอมจ่ายค่าเช่า ขณะเดียวกันการกำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่ของตลาดจตุจักร พลาซ่า ก็มีความเหมาะสม ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และหลักวิชาการทุกอย่าง คือคิดในอัตรา 36% ของมูลค่าที่ดินที่ให้เช่า โดยรายได้ของรฟท. จากโครงการดังกล่าว นอกจากค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์จำนวน 243 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญาเช่า 10 ปีแล้ว ยังได้ค่าเช่ารายเดือนอีกปีละ 8-10 ล้านบาท ซึ่งผลประโยชน์ที่รฟท.ได้รับมากกว่าตลาดเจเจ.มอลล์ หรือตลาดนัดจตุจักรที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าเสียอีก

ยิ่งเมื่อเทียบกับพื้นที่กว่า 70 ไร่ของสวนจตุจักร แบ่งเป็นพื้นที่การค้าในส่วนของตลาดนัด 109,180 ตรม. แต่จ่ายค่าเช่าให้กับรฟท. ชนิดไม่ค่อยได้น้ำได้เนื้อนัก หลายปีที่ผ่านมา รฟม.รับรายได้จากค่าเช่าจากกทม. เพียง 32 บาท/ตรม./ปี หรือประมาณ 3.2 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น กระทั่งปี 2544 หลังจากถกเถียงกันมานาน เนื่องจากรฟท.เห็นว่าราคาค่าเช่าเดิมถูกเกินไป จึงขอปรับค่าเช่าใหม่เป็น 64 บาท/ตรม./ปี

การจ่ายค่าเช่าราคาถูกแสนถูกของกทม.ให้กับรฟท. ทำให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติ เพราะเมื่อนำตัวเลขที่ได้จากกทม.ไปเปรียบเทียบกับผู้เช่าที่ดินของการรถไฟรายอื่น พบว่าต่างกันอย่างมากเหมือนกับรฟท.บกพร่อง จึงเป็นเหตุให้บอร์ดรฟท.ต้องมาเจรจาเพื่อขอขึ้นค่าเช่าอีกครั้งหนึ่ง โดยคราวนี้มีการเสนอว่าให้นำราคาเช่าของตลาด อ.ต.ก. ที่เป็นตลาดสดมาเป็นพื้นฐานในการคำนวณค่าเช่าใหม่ ปรากฏว่าออกมาเป็นตัวเลข 191 บาท/ตรม./ปี สำหรับปี 2551-2553 และในปี 2554-2555 จะขึ้นค่าเช่าเป็น 222 บาทต่อตรม.

แม้จะปรับขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังน้อยเมื่อเทียบกับผู้ได้รับสัมปทาน หรือผู้เช่าพื้นที่ของรฟท. รายอื่นๆ (อ่านข่าวประกอบเรื่อง แฉผลตอบแทนการรถไฟ โครงการไหนคุ้ม-ไม่คุ้ม)

อย่างไรก็ตาม รฟท. รู้ดีว่าคงไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าเช่าเพิ่มขึ้นได้ง่ายนัก เพราะบรรดาผู้ค้าเองก็ตั้งป้อมไม่ยอม ขณะเดียวกันกทม.เองก็ไม่เออออด้วย ดังจะเห็นได้จากช่วงก่อนหน้านี้ รฟท.เคยพยายามเจรจาเพื่อขอส่วนแบ่งจาก กทม. 30% ของรายได้ หรือ 50% ของกำไร และขอให้หน่วยงานภายนอกเข้าตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายของตลาดนัด กับขอส่งตัวแทนเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารตลาดนัด (บอร์ด) 1 ใน 3 นั้น แต่ปรากฏว่าไม่เป็นผล ซึ่งกทม.ยืนยันให้ รฟม. 1 ใน 3 ของกำไรที่ตกประมาณ 10 ล้านบาท จากกำไรต่อปี (ประมาณปี 2549) รวม 30 ล้านบาท โดย กทม.ให้เหตุผลว่าตัวเลข 50% ที่รฟท.เสนอมานั้นสูงเกินไป

ด้วยสถานการณ์ของรฟท. ที่ดูเหมือนจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบกทม. จึงทำให้ท่าทีต่อการต่อสัญญาเช่าที่ดินฉบับใหม่เริ่มไม่น่าไว้วางใจ สัญญาณแรก แม้ว่าสัญญาเช่าจะเหลือเวลาอีกเพียงแค่ 1 ปี 6 เดือน และที่ผ่านมาทาง กทม.พยายามเจรจาเรื่องการต่อสัญญามาเป็นเวลานาน แต่เนื่องจากทั้งกทม. และรฟท. ได้เปลี่ยนบอร์ดการเจรจาจึงยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้

สัญญาณที่สอง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รฟท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากบริษัทที่ปรึกษาจำนวน 30 คน ลงพื้นที่สำรวจตลาดจตุจักร ทั้งการสำรวจแผงค้ารวมทั้งสภาพความเป็นจริงในตลาดจตุจักรทั้งหมด โดยใช้เวลา 1 เดือน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณาเกี่ยวกับการต่อสัญญากับกทม.

การที่รฟท.ส่งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ กทม. ทำเรื่องถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอที่ประชุมครม. พิจารณามติครม.เดิมเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2522 ที่ระบุให้กทม.สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ของรฟท. เพื่อใช้ในการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย หมายความว่า รฟท.ไม่สามารถที่จะให้บริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจรายอื่นเข้ามาเช่าที่ดังกล่าวแทน เพราะมติของครม.กำกับอยู่ หากปล่อยให้ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่กทม.เช่าที่ต่อแสดงว่ารฟท.ขัดต่อมติครม.

"การที่ กทม.ต้องนำเสนอเรื่องให้ครม.พิจารณาเป็นเพราะที่ผ่านมา รฟท.ไม่ตอบรับหรือแสดงท่าทีในเรื่องการต่อสัญญาจาก กทม. แม้จะติดต่อประสานงานไปหลายครั้ง ทำให้กทม.ไม่สามารถวางแผนเรื่องการพัฒนาตลาดนัดจตุจักรได้" อรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดกรุงเทพ (จตุจักร) อธิบาย

การแสดงทีท่าเช่นนี้ของรฟท. อาจต้องการสะท้อนนัยบางอย่างไปยังกทม.ให้ต้องเตรียมอกเตรียมใจเอาไว้บ้าง เพราะรฟท. ยุคนี้คงไม่ยอมปล่อยให้ใครมาหาผลประโยชน์บนพื้นที่ค่ามหาศาลของตน แต่ให้ผลตอบแทนต่ำเตี้ยติดดินแบบนี้

8,805 แผง - กว่า 10,000 ชีวิต หมากสกัดผู้บริหารรายใหม่
หมากเด็ดประการเดียวที่ทำให้กทม.ยังดูเหมือนสบายอกสบายใจว่าจะได้รับการต่อสัญญากับ รฟท.ก็คือ มติ ครม. เมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่บางทีกทม.ก็คงลืมนึกไปว่า มติ.ครม.ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง หรืออีกกรณีหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า รฟท.อาจร้องขอให้ทบทวนมติ ครม. เดิม โดยให้เหตุผลว่าทำให้ รฟท.เสียหาย

"ที่ผ่านมามีข่าวอยู่เสมอว่า ครม.กำลังเตรียมการเอาบริษัทเอกชนต่างๆ เข้ามาบริหารจัดการแสวงหาประโยชน์ในการรถไฟฯ มาแล้ว และที่สำคัญรัฐบาลยังคงแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบของการรถไฟใหม่ให้ดีกว่าเดิม โดยมีสาเหตุปัจจัยสำคัญคือ 1.การแก้ปัญหาการบริหารงานที่ขาดทุน ในแต่ละปีการรถไฟฯขาดทุนหลายหมื่นล้านบาท 2.การเข้าไปจัดการทรัพย์สินของการรถไฟที่ถืออยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่ดินที่มีปัญหาเรื่องการจัดเก็บรายได้ของที่ดินการรถไฟ"

หากเกมออกมาในรูปนี้จริง ผู้ได้รับผลกระทบเต็มๆก็คือ 1.กทม. ในฐานะที่สูญเสียรายได้จากการบริหาร เวลานี้กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพฯ มีรายได้ราว 200 ล้านบาท นอกจากนี้เงินที่ได้จากการบริหารแต่ละปียังต้องนำส่งให้กับผู้ว่ากทม. เป็นเงินนอกงบประมาณเพื่อใช้ในกิจการของกทม. โดยเฉพาะ 2. ร้านค้า เนื่องจากสัญญาเช่าพื้นที่ที่ กทม. ทำไว้กับ รฟท. ระยะเวลา 30 ปีนั้นจะสิ้นสุดอายุสัญญาในวันที่ 31 ธ.ค. 54 ซึ่งในสัญญาใหม่นั้นจะมีการปรับค่าเช่าพื้นที่ตามสภาพความเป็นจริง หลังจากที่ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจพบว่า ขณะนี้ค่าเช่าแผงสำหรับคูหามาตรฐาน 3x4 ตรม. นั้นค่าเช่าขั้นต่ำอยู่ที่เดือนละ 1.5 หมื่นบาท ขณะนี้มีผู้ประกอบการอยู่ราว 8,805 ราย ขณะที่ค่าเช่าที่ กทม.จ่ายให้กับ รฟท.ปีละ 3.6 ล้านบาท เท่านั้น

เป็นไปได้ว่าค่าเช่าแผงในจตุจักรภายใต้สัญญาใหม่จะถีบตัวขึ้นไปสูงถึง 1.5 หมื่นบาทต่อแผง

สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ว่าตลาดนัดจตุจักรจะเป็นที่หมายปองจากผู้ประกอบการหลายราย ไม่ว่าจะเป็น คิง เพาเวอร์ ที่ตกอยู่เป็นข่าวอยู่เนืองๆ หรือแม้แต่ไพโรจน์ ทุ่งทอง ผู้บริหารสวนลุม ไนท์ บาร์ซาร์ เจ้าพ่อตลาดนัดยามค่ำคืน ที่แม้วันนี้จะยังไม่เป็นข่าว หรือผู้ประกอบการรายอื่น ที่เคยเป็นผู้ได้รับสัมปทานบริหารพื้นที่รอบจตุจักร แต่การเข้ามาบริหารยังพื้นที่ทองแห่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะแม้จะฝ่ามติ ครม. มาได้ แต่ก็ต้องเผชิญกับบรรดาพ่อค้าแม่ขาย ที่อย่าว่าแต่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการ รื้อระบบการเช่าแผงใหม่ เลย แม้แต่การขึ้นค่าเช่าก็ยังเป็นเรื่องยาก และหนักหนาเกินกว่าจะคาดคิด

ดีไม่ดีอาจจะออกมาหนักยิ่งกว่ากรณีตลาดคลองเตยก็เป็นได้

ที่บอกเช่นนี้ก็เพราะบรรดาผู้ประกอบการในจตุจักรไม่ใช่พ่อค้าแม่ค้าประเภทหาเช้ากินค่ำ หรือไม่มีความรู้ แต่เป็นพวกข้าราชการ ทนาย อาจารย์ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ มีการศึกษาหลากหลายตั้งแต่ป.4 ไปจนถึงจบปริญญาเอก การขับไล่ไสส่งจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก นอกจากนี้ยังมีบรรดามาเฟียที่อีกหลายต่อหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นมีบุคคลที่ชื่อเจ๊พร ที่ว่ากันว่าเป็นผู้บริหารจัดการแทนผู้อำนวยการตลาดนัด แต่ละเดือนเจ๊คนนี้จะเข้ามาจัดการเก็บค่าจอดรถ ทำให้ตลาดขาดทุนเดือนละ 2 แสนบาท จากปกติที่ต้องเก็บค่าที่จอดได้มากถึง 4 แสนบาท นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งรายได้อื่นๆอีก 22 รายการ ที่ไม่รู้ว่าเข้ากระเป๋ามาเฟียรายไหน

เจ้าของแผงรายใหญ่กระทบหนัก
ตอนนี้แผงค้าที่ขึ้นทะเบียนภายในโซนต่างๆ ขนาด 5 ตรม. มีทั้งหมด 8,805 แผง ค้าขายรอบหอนาฬิกา 500 แผง แผงที่ได้จากการประมูลพื้นที่ตรงกลางหอนาฬิกา 250 แผง และอีกราว 90 แผงขายรอบตลาดนัด แต่ก็มีผู้ค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมากมาค้าขายทั้งที่เป็นรถเข็น ปูผ้า และเร่ขาย

จริงแล้วแต่ละคนจะได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของแผงคนละเพียง 1 แผงเท่านั้น ส่วนจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับกิจการว่าขายสินค้าอะไร ถ้าเป็นอาหาร สัตว์เลี้ยง จะได้แผงค่อนข้างใหญ่ และมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม จากการที่พื้นที่เกือบทุกตารางนิ้วสามารถสร้างเงินตรากลับมาได้ ทำให้มีความพยายามของคนบางคนบางกลุ่มที่มีเงินเหลือเก็บกว้านซื้อแผงมาเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวกันเยอะมาก

"พอค้าขายรวยก็ซื้อแผง ตัวนี้ทำให้ตลาดนัดจตุจักรมันหายนะ ค่าเช่ามันสูง พอสูงตลาดนัดมีปัญหา แถวแนวรถไฟฟ้าไม่มีทางเซ้งต่ำกว่า 3-4 ล้าน เพื่อนำมาปล่อยให้เช่าเดือนละ 2 หมื่น มันเกินจะคุ้มคนก็กล้าซื้อ มันก็มีราคา แต่ตอนนี้คนที่มีแผงเยอะคงจะเริ่มรู้สึกหนาวๆร้อนๆกันแล้ว เพราะกทม.จะได้ต่อสัญญารึเปล่าก็ไม่รู้ บางคนมี 30-40 แผง ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย 5-10 แผง คนยิ่งรวยยิ่งซื้อในนี้" แหล่งข่าวในตลาดนัดเอ่ยถึงความร้อนแรงของตลาดนัดจตุจักรให้ฟัง แถมยังหยอดต่อด้วยว่า บางพื้นที่ให้เช่าวันละ 6,000 บาท ก็ยังมีร้านชาชักที่ใจกล้ามาเช่าขาย เรียกว่าต้องแจกฟรีถึง 200 แก้วจึงจะคืนเฉพาะค่าเช่า แต่ท้ายที่สุดทั้งวันขายได้กว่า 500 แก้ว

บทสรุปของที่ดินผืนงามริมถนนพหลโยธินแห่งนี้ สามารถพลิกไปได้หลายแนวทาง ทางหนึ่งคือ กทม.บริหารตามเดิม ทางที่สอง การรถไฟฯ ขอให้ครม.ทบทวนมติ แล้วนำที่ดินออกมาเปิดประมูล หรือให้สัมปทาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับรฟท.มากที่สุด ซึ่งมีคนคอยจ้องอยู่แล้วหลายต่อหลายราย ทางที่สาม กทม. ร่วมบริหารกับการรถไฟฯ

แต่ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ผู้ค้าต้องเสียเงินค่าเช่าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

JJ ตลาดนัดทรงอิทธิพลของโลก
มนต์เสน่ห์ตลาดนัดจตุจักรบนเนื้อที่ราวๆ 70 ไร่ ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นเมืองชอปปิ้งกลางแจ้งใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้รูปแบบวัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบไทยที่มีความเหนือกว่า และแตกต่างจากตลาดนัดที่มีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป

ตลาดนัด ช่องทางจำหน่ายขนาดใหญ่ที่ลดทอนต้นทุนด้วยค่าเช่าราคาถูก และเป็นการทำธุรกิจโดยตรงระหว่างผู้ผลิต และผู้ขายไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รูปแบบของตลาดนัดในอดีตมีการวิวัฒนาการเรื่อยมา ปรากฏการณ์ใหม่ที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจจัดตลาดนัด เติบโตแบบก้าวกระโดดสวนกระแสเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ถือเป็นช่วงบูมของธุรกิจจัดตลาดนัด

ในช่วงขณะนี้ตลาดนัดเกิดขึ้นมากมายบนพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดราวดอกเห็ด โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดนับร้อยแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ห้างสรรพสินค้า ก็หันมาสร้างรายได้เพิ่มจากการจัดตลาดนัด บริเวณพื้นทางด้านหน้าห้างบ้าง พื้นที่ลานจอดรถบ้าง ทุกวันนี้ตลาดนัดจึงกลายเป็นวิถีชีวิตหนึ่งที่อยู่คู่กับวิสัยนักชอปชาวไทย

อย่างไรก็ดี สิ่งที่แตกต่างของตลาดนัดจตุจักรแห่งนี้คือความเป็นมรดกชิ้นสำคัญของไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ว่ากันว่า ตลาดนัดกลางแจ้งขนาดใหญ่แห่งนี้ เป็น Destination 1 ใน 5 ของสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย บางลำพู วัดพระแก้ว เยาวราช และวัดโพธิ์ ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต้องมาชม และจับจ่ายซื้อสินค้า

จตุจักร คือรอยต่อระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ และกาลสมัย ความสำเร็จของตลาดนัดจตุจักรในวันนี้ ไม่ต่างจากความสำเร็จของการบริหารองค์กรธุรกิจ ที่ต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีชนิดสุดยอด

หลังจากเคลื่อนย้ายจากสนามหลวง ตลาดนัดจตุจักรกลายเป็นแบรนด์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในการสร้างแบรนด์ กว่าชื่อ "ตลาดนัดจตุจักร" จะติดตลาด เป็นที่ยอมรับของกลุ่มลูกค้าระดับประเทศและนานาชาติ

ความมีเอกลักษณ์พิเศษที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือก จากแผงค้า 8,805 แผง ทำให้ตลาดนัดจตุตักรถูกบันทึกลงในกินเนสบุ๊กว่าเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกลายเป็น Brand Identity ของตลาดนัดแห่งนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในแต่ละยุค ได้พยายามเร่งสร้างแบรนด์จตุจักร วางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ โดยผูกติดกับการท่องเที่ยวมาโดยตลอด

บทบาทใหม่ของตลาดจตุจักรในปัจจุบันได้แปรสภาพจากการเป็นตลาดนัดค้าปลีก เป็นตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ ที่มีผู้ผลิตรายใหญ่มารวมตัวกันมากมาย รูปแบบของการทำธุรกิจแบบ B2B หรือ Business to Business และ B2C หรือ Business to Customer สินค้าส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิตโดยตรง และใช้ตลาดนัดจตุจักรเป็นโชว์รูม เพื่อรับออเดอร์จากลูกค้าชาวต่างชาติ

ในแต่ละสัปดาห์มีผู้บริโภคเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในตลาดแห่งนี้ราวๆ 200,000-350,000 คน ตัวเงินสะพัดแต่ละสัปดาห์มากกว่า 200 ล้านบาท หากคิดเป็นต่อเดือนแล้วมันสูงถึงกว่า 800-1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว และการเติบโตด้านตัวเลขเงินสะพัดมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพตลาดนัดแห่งนี้

ระบบการจัดการในแบบ One Stop Shopping ถือได้ว่าไม่แตกต่างจากชอปปิ้งมอลล์อื่น แต่ตลาดนัดจตุจักร มีความโดดเด่นมากกว่าชอปปิ้งมอลล์ตรงที่ การให้ความรู้สึกในแบบที่ติดดิน ห้างสรรพสินค้า หรือชอปปิ้งมอลล์ อาจมีสินค้าหลากหลายมากมาย แต่สถานที่ทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาสูง กลุ่มเป้าหมายถูกวางไว้ให้เป็นนักชอปที่มีกำลังสูงระดับกลางถึงระดับสูง

ที่ตลาดนัดจตุจักร มีสินค้าในแบบเดียวกับชอปปิ้งมอลล์ แต่จะมีสินค้าให้เลือกมากมายหลายระดับ ตัวอย่างเช่นเสื้อยืด ที่นี่มีให้เลือกซื้อหลากหลายระดับราคา แตกต่างตามเนื้อผ้า และรูปแบบ ตั้งแต่ตัวละสิบกว่าบาท ถึงหลายร้อยบาท เสน่ห์ของตลาดนัดแห่งนี้อีกอย่างคือ ที่นี่คือศูนย์รวมของธุรกิจ SMEs จำนวนมาก สินค้าหลายตัวที่เติบโตไปยังตลาดต่างประเทศ ก็เกิดจากตลาดนัดแห่งนี้ อาทิ สินค้าประเภทเครื่องหอม สปา และสินค้าเฟอร์นิเจอร์จตกแต่งบ้าน เป็นต้น ทำให้ตลาดนัดจตุจักรจึงกลายเป็นแหล่งติดต่อธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ชอปปิ้งมอลล์ทั่วไปไม่มี

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนของตลาดนัดแห่งนี้ หลังจากการผุดขึ้นมาของรถไฟฟ้าใต้ดิน และมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่ติดกับตลาดนัด ส่งผลให้การเดินทางมาท่องเที่ยว และซื้อสินค้าของนักชอป และนักท่องเที่ยวสะดวกมากยิ่งขึ้น ผลที่ได้คือ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของตลาดนัดจตุจักรแบบก้าวกระโดด ไม่เพียงแต่เกิดธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมากมาย แต่ศักยภาพของตลาดนัดยังแผ่กระจายไปยังพื้นที่โดยรอบ ที่ดินผืนใหญ่รอบตลาดนัดจตุจักร ที่มีอยู่ราวๆ 2,000 ไร่ หลายพื้นที่มีบริษัทเอกชน เข้ามาเช่าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เจเจ.มอลล์ หรือจตุจักรซันเดย์

เกิดเป็นการแข่งขันของตลาดนัดในพื้นที่จตุจักรแห่งนี้ รวมถึงการแข่งขันของผู้ค้าในตลาดนัด ขณะที่ตลาดนัดจตุจักรเอง บรรดาแผงค้าโดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน มีการปรับปรุงหน้าร้านให้ดูทันสมัย และร่วมสมัยขึ้น รูปแบบเดิมๆ ที่มีการวางสินค้าสะเปะสะปะมีให้เห็นน้อยลง แต่ยังมีให้เห็นในโครงการด้านใน ซึ่งส่วนนี้ยังถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของตลาดนัดจตุจักร



ตลาดนัดจตุจักร สวรรค์นักชอป

ชื่อ "ตลาดนัดจตุจักร" ในยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นแหล่งรวมสินค้านานาชนิดและร้านค้ามากมาย สินค้าจากทั่วทุกมุมของประเทศไทยและยังเป็นตลาดขายส่งผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและฝีมือชาวบ้าน

ความหลากหลายในบรรยากาศที่คึกคักของตลาดนัดจตุจักร สร้างสีสันในวันหยุดสุดสัปดาห์ให้กับคนกรุงเทพฯ มาช้านาน จนนับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกจะต้องแวะเวียนมาสัมผัสหากเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นตลาดส่งออกสินค้าพื้นบ้านของไทยส่งออกสู่ต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นแหล่งสร้างอาชีพที่หลากหลายสร้างความร่ำรวยให้ผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาทำมาหากินบนพื้นที่แห่งนี้ จนเป็นตำนานแห่งตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตลาดนัดจตุจักร สำหรับผู้ที่ชอบซื้อของและต่อรองราคา ที่นี่คือ "สวรรค์ของนักชอป" ทั้งหลาย โดยทุกวันพุธและพฤหัสฯ จะเป็นตลาดค้าส่งต้นไม้ ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์นั้นจะเปลี่ยนเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์รวมร้านค้ากว่า 8,000 ร้านจากทุกภูมิภาคของประเทศ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 26 โครงการ บนเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ แบ่งเป็นโซนต่างๆ ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม เซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา ของแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ อาหารและเครื่องดื่ม ต้นไม้และอุปกรณ์ทำสวน ศิลปะ สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ หนังสือ ของเก่าของสะสม สินค้าเบ็ดเตล็ดและเสื้อผ้ามือสอง

ตลาดนัดจตุจักรเริ่มมาตั้งแต่ปี 2491 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯ นั้นได้เลือกสนามหลวง เป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่ก็เพียงระยะสั้นไม่ถึง 1 ปี ทางราชการก็ย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามชัย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี 2501

ต่อมาในปี 2521 ทางราชการได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนล่างต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพฯ เพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการเสร็จในปี 2525 โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดนัดย่านพหลโยธิน" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ตลาดนัดจตุจักร" ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียงกันตั้งแต่ปี 2530 และเรียกมาจนปัจจุบัน

ภายในสวนจตุจักรมีสิ่งน่าสนใจที่อยู่คู่กับสวนแห่งนี้มานานได้แก่ หอนาฬิกา นาฬิกาดอกไม้ ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง และมีประติมากรรมแห่งอาซียนจากประเทศต่างๆ รวม 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และประเทศไทย



จตุจักรคือประตูสู่เถ้าแก่ Gen-Y
ไม่น่าเชื่อว่าตลาดนัดจตุจักร ที่มีแผงค้ารวมๆ 8,805 แผง บนเนื้อที่ 70 ไร่ แผงค้าแต่ละแผงมีขนาดเล็กๆ ราวๆ 2-3 ตารางเมตร กลับมีราคาค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,000 บาท ไม่มีทั้งเครื่องปรับอากาศ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก เหมือนกับห้างสรรพสินค้าหรือชอปปิ้งมอลล์ทั่วไป ขณะที่เวลาการเปิดให้บริการก็มีเพียง 2 วันต่อสัปดาห์ คือเสาร์ และอาทิตย์ เพราะฉะนั้นเดือนหนึ่งผู้ค้าจะเปิดขายได้ประมาณ 8-10 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนที่ต้องการค้าขายอีกจำนวนมาก ต้องการเข้ามาเปิดร้านในตลาดนัดแห่งนี้

โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจไทยทรุดตัวในปี 2540 มีผู้ประกอบการค้าขายสินค้ารายย่อยเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ที่ถูกให้ออกจากงาน ผันตัวมาเป็นเถ้าแก่มือใหม่ หลายคนประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างเป็นธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางได้จนถึงปัจจุบัน

ในจำนวนนี้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาออกแบบผลิตสินค้า ด้วยรูปแบบงานสร้างสรรค์ เพื่อหาช่องทางจำหน่ายไปยังตลาดทั่วโลก และตลาดนัดจตุจักรก็เป็นช่องทาง และเป็นโอกาสหนึ่งที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้

ตลาดนัดจตุจักรจึงกลายเป็นแหล่งศูนย์รวมสินค้าที่มีความแตกต่าง และแปลกใหม่ เป็นสินค้าประเภทขายความคิด ตามสไตล์ของกลุ่มที่เรียกกันว่า Gen-Y แผงค้าของเถ้าแก่มือใหม่กลุ่มนี้จะเน้นการตกแต่งร้านให้ดูทันสมัย เตะตา ดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้อย่างดี สินค้าหลายชนิดเป็นงานสร้างสรรค์ชนิดที่เรียกว่า ทำด้วยมือ หรือ Hand-Made เป็นสินค้าที่ถูกอกถูกใจนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างประเทศแถบยุโรป และอเมริกา

สินค้าประเภทเสื้อผ้า แฟชั่น และสินค้ากลุ่มสปา เครื่องหอม มีให้เห็นหลากหลายรูปแบบ และแบรนด์ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ที่เกิดจากเถ้าแก่คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ ความเก๋ไก๋ มีเสน่ห์ และแตกต่าง เป็นจุดขายหลักของการสร้างแบรนด์

ขณะที่สินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน ทั้งสินค้าใหม่ และของเก่า ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง แต่สินค้าประเภทสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมอีกอย่างคือ สินค้าประเภทศิลปะ และภาพวาด

ภาพวาดจากเถ้าแก่ Gen-Y หลายชิ้น เริ่มได้รับการยอมรับ ภาพวาดบางภาพสามารถจำหน่ายได้ในราคาระดับหมื่นบาท และแสนบาท

เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจ ที่ตลาดนัดจตุจักรแห่งนี้ จะเป็นแหล่งค้าสำคัญของผู้ที่ต้องละทิ้งการเป็นมนุษย์เงินเดือน สู่หนทางเถ้าแก่ Gen-Y รุ่นใหม่ เพราะตลาดแห่งนี้เป็นทั้งศูนย์รวมโอกาสทางการตลาดที่สำคัญ ไม่เฉพาะกับตลาดนักชอปชาวไทย แต่ยังเป็นประตูสำคัญที่เปิดสู่ตลาดสากล ซึ่งผู้ค้าหลายๆ คนในตลาดแห่งนี้สามารถทำให้เห็น และปัจจุบันพวกเขาเหล่านี้ได้พัฒนากลายมาเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ ของตลาดนัดจตุจักร


แฉผลตอบแทนการรถไฟโครงการไหนคุ้ม ไม่คุ้ม

ปี 2553 เป็นปีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศประมูลที่ดินกว่า 20 ทำเลทอง เพื่อสร้างรายได้จากค่าเช่าที่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ การรถไฟฯ ถูกสังคมมองว่าไร้ประสิทธิภาพในการบริหาร เนื่องจากมีที่ดินจำนวนมากมายที่เป็นพื้นที่ทำเลทอง ทว่ากลับไม่สามารถแสวงหารายได้จากทรัพยากรที่ตัวเองมีจนทำให้ผลการดำเนินงานติดลบมาตลอด จนกระทั่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เซ็นทรัลพัฒนา กำลังจะหมดสัญญาเช่าที่ดินกับการรถไฟในพื้นที่เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ซึ่งมีทั้งศูนย์การค้า และโรงแรม ทำให้เป็นที่จับตาของสังคม หลังจากที่สัญญาเดิม การรถไฟฯ ไม่ได้รับผลตอบแทนเท่าที่ควรจะเป็น ขณะที่เอกชนเองกลับแสวงหาผลประโยชน์ได้เป็นกอบเป็นกำจากการเช่าที่ดินของการรถไฟฯ ในราคาที่ถูก

18 ธันวาคม 2521 เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน บนพื้นที่ 47.22 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว และโรงแรมโซฟิเทล มีระยะเวลาการเช่าที่ดินยาว 30 ปี ผลตอบแทน 166 ล้านบาท สัญญาสิ้นสุดวันที่ 18 ธันวาคม 2551 จากนั้นก็มีการเจรจาเพื่อต่อสัญญา ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีคนสนใจจะเข้าร่วมประมูลพื้นที่ สุดท้ายก็เป็นเซ็นทรัลที่ได้รับการต่อสัญญาฉบับใหม่

การต่อสัญญาเช่าบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินระหว่างเซ็นทรัลพัฒนา กับการรถไฟฯ เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2551 ช่วงที่ สันติ พร้อมพัฒน์ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และดูเป็นไปด้วยความรีบร้อน ไม่มีการเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ มีการต่อสัญญาเช่าเกิดขึ้นระหว่างที่มีการประชุม ครม.สัญจรในจังหวัดทางภาคเหนือ ทั้งนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการต่อสัญญาเช่าดังกล่าวก็เพื่อให้ทันก่อนที่จะมีการยุบพรรคพลังประชาชนในขณะนั้น ซึ่งสุดท้ายเซ็นทรัลก็ได้ต่อสัญญาตามที่ต้องการ โดยสัญญาเช่าฉบับล่าสุดมีอายุสัญญา 20 ปี โดยผลตอบแทนตลอด 20 ปีเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 21,298,833,000 บาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 11,580,001,322 บาท โดยแบ่งเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้า (upfront fee) 5 งวด ใน 4 ปี ประมาณ 20% ของมูลค่าปัจจุบันเป็นเงิน2,611,103,000 บาท และผ่อนชำระค่าเช่ารายปีอีก 20 งวด รวม18,687,730,000 บาท ไม่รวมค่าปรับปรุง ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่การรถไฟฯ จะได้รับจากการต่ออายุสัญญา

นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลยังมีการเช่าที่ดินการรถไฟฯ อีกหลายโครงการ เช่น การร่วมกับกลุ่มโรงแรมในเครือแอคคอร์จากฝรั่งเศส เข้าไปบริหารโรงแรมรถไฟในปี 2528 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมโซฟิเทล หัวหิน ระยะเวลาของสัญญา 30 ปี โดยจ่ายผลตอบแทนให้กับการรถไฟฯ 160 ล้านบาท โดยสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 มกราคม 2559 ซึ่งมีแนวโน้มที่การรถไฟฯ จะต่อสัญญาให้กับเซ็นทรัล ซึ่งแน่นอนว่าผลตอบแทนที่จะได้รับจากสัญญาฉบับใหม่ต้องมีมูลค่ามหาศาล เพราะปัจจุบันหัวหินมีการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสูง มีต่างชาติมาพักอาศัยค่อนข้างมาก มูลค่าที่ดินไม่ได้น้อยหน้าทำเลทองในกรุงเทพฯ แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ยังต้องจับตามองดีลสำคัญว่าการรถไฟฯ จะมีท่าทีอย่างไร เมื่อเซ็นทรัล อ้างเหตุการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ก่อให้เกิดความไม่สงบและทำการเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์จนได้รับความเสียหายและเสียโอกาสในการสร้างรายได้ โดยเซ็นทรัลขอคณะรัฐมนตรีให้ต่อสัญญาที่ดินลาดพร้าวออกไปอีก 1 ปี เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งต้องรอดูว่าหากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการต่อสัญญาแล้ว ผลประโยชน์ที่การรถไฟฯ จะได้รับคุ้มค่าเพียงใด อีกทั้งยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าการช่วยเหลือผู้ประกอบการก็ต้องดำเนินต่อไป ทว่าเซ็นทรัล ลาดพร้าว มิได้รับผลกระทบเหมือนเซ็นทรัลเวิลด์ ดังนั้น ควรที่จะขอขยายสัญญาที่เซ็นทรัลเวิลด์มากกว่า

กรณีการเช่าที่ดินการรถไฟฯ ของกลุ่มเซ็นทรัล ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าที่ดินในการครอบครองของการรถไฟฯ มีศักยภาพในการสร้างรายได้สูงมาก ดังนั้น โครงการอื่นๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินการรถไฟฯ จึงถูกจับตามองไปด้วย

ล่าสุด การรถไฟฯ มีแผนประมูลที่ดิน 20 ทำเลทอง โดยโครงการที่เป็นไฮไลต์คือ โครงการมักกะสัน ซึ่งประกอบด้วย 4 โซน คือ โซน A ส่วนธุรกิจการค้า (Commercial Zone) มีพื้นที่ 139.82 ไร่ โซน B ส่วนธุรกิจสำนักงาน (Bangkok Tower) มีพื้นที่ 117.31ไร่ โซน C ส่วนแสดงสินค้า (Merchandise Mart) มีพื้นที่ 151.40 ไร่ และสุดท้าย โซน D เป็นบางกอกแฟชั่น (Bangkok Fashion Zone) มีพื้นที่ 88.58 ไร่ โดยการรถไฟฯ จะพัฒนาโซน A ก่อนเนื่องจากไม่มีปัญหาชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ โดยการรถไฟฯ กำหนดค่าธรรมเนียมการจัดเก็บผลประโยชน์ไม่น้อยกว่า 2,971,027,200 บาท ค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 364,526,400 บาท อายุสัญญา 5+30+25 ปี ผลตอบแทนรวม 12,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดียังอยู่ระหว่างปรับปรุงผลการศึกษา

โครงการสถานีแม่น้ำเป็นอีกโครงการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ โดยตั้งอยู่บริเวณถนนพระราม 4 คลองเตย พระราม 3 มีพื้นที่ 277 ไร่ ราคาประเมินที่ดิน 5,245 ล้านบาท มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นย่านเศรษฐกิจในอนาคต โดยเปิดให้เอกชนสัมปทาน 30 ปี ค่าเช่าขั้นต่ำ 3 พันล้านบาท

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยงบ 19 ล้านบาทเพื่อศึกษา และออกแบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคาดว่าการลงทุนก่อสร้างเต็มโครงการจะต้องใช้งบประมาณถึง 58,386 ล้านบาท โดยมี 4 แนวทาง แนวทางแรก ค่าก่อสร้างงานสาธารณูปโภค 380 ล้านบาท ค่าก่อสร้างคอมเพล็กซ์ พลาซ่า 20,620 ล้านบาท ศูนย์ธุรกิจ 16,898 ล้านบาท ออฟฟิศ 14,487 ล้านบาท และที่พักอาศัย 6,001 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนโครงการ 18.97% มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทน 22,889 ล้านบาท ผลตอบแทนจากค่าเช่า 30 ปี มูลค่าประมาณ 3,098 ล้านบาท (คิดที่ 2.65% ต่อปี ปรับขึ้นปีละ 5%)

แนวทางที่ 2 ค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค 380 ล้านบาท ค่าก่อสร้างคอมเพล็กซ์ พลาซ่า 20,620 ล้านบาท ศูนย์ธุรกิจ 20,618 ล้านบาท ออฟฟิศ 31,648 ล้านบาท และที่พักอาศัย 21,788 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนโครงการ 16.64% มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทน 18,194 ล้านบาท ผลตอบแทนจากค่าเช่า 30 ปี มูลค่าประมาณ 3,098 ล้านบาท (คิดที่ 2.65% ต่อปี ปรับขึ้นปีละ 5%)

แนวทางที่ 3 ค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค 380 ล้านบาท คอมเพล็กซ์ พลาซ่า 20,620 ล้านบาท ศูนย์ธุรกิจ 16,898 ล้านบาท ออฟฟิศ 14,487 ล้านบาท และที่พักอาศัย 6,001 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนโครงการ 18.97% มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทน 135,306 ล้านบาท ผลตอบแทนจากค่าเช่า 30 ปี มูลค่าประมาณ 6,171 ล้านบาท (คิดที่ 2.65% ต่อปี ปรับขึ้นปีละ 5%)

และแนวทางสุดท้าย ค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค 380 ล้านบาท คอมเพล็กซ์ พลาซ่า 20,620 ล้านบาท ศูนย์ธุรกิจ 20,618 ล้านบาท ออฟฟิศ 31,648 ล้านบาท และที่พักอาศัย 21,788 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนโครงการ 16.64% มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนโครงการ 157,660 ล้านบาท ผลตอบแทนจากค่าเช่า 30 ปี มูลค่าประมาณ 6,171 ล้านบาท (คิดที่ 2.65% ต่อปี ปรับขึ้นปีละ 5%)

ทั้งนี้ ทุกแนวทางจะให้ผลตอบแทนของราคาที่ดินเมื่อครบ 30 ปีเท่ากับ 3,988 ล้านบาท อย่างไรก็ดียังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางต่างๆ โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ จะนำเสนอรายละเอียดให้คณะกรรมการการรถไฟฯ พิจารณาอีกครั้งเพื่อสรุปแนวทางที่ชัดเจนต่อไป โดยตามแผนต้องการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2557

นอกจากนี้ยังมีทำเลย่านพหลโยธิน ได้แก่ ที่ดินบริเวณสวนรถไฟและสนามกอล์ฟ มีพื้นที่ 70 ไร่ ซึ่งการรถไฟฯ มีแผนจะพัฒนาเป็นสปอร์ตคลับหารายได้ ส่วนบ้านพักรถไฟ กม.11 ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีพื้นที่ที่ 278.94 ไร่ ราคาประเมินที่ดิน 7,252.44 ไร่ มูลค่าโครงการประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท จะพัฒนาเป็นโรงแรม อาคารสูง อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ฯลฯ โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2554

ล่าสุดการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สินของการรถไฟฯ ได้มีนโยบายให้นำพื้นที่จำนวน 3 ทำเลคือ 1.ย่านรัชดาภิเษก แปลง 4-5-6 พื้นที่ 2 ไร่ 2.สถานีอยุธยา พื้นที่ประมาณ 9 ไร่เศษ และ 3.สถานีหัวหิน พื้นที่ประมาณ 7.9 ไร่ มาประมูลเพื่อสร้างรายได้ให้การรถไฟฯ โดยพื้นที่รัชดาภิเษกจะพัฒนาเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โดยกำลังอยู่ในกระบวนการร่าง TOR เพื่อเตรียมการประกาศขายซองประกวดราคาต่อไป ส่วนพื้นที่อื่นๆ อีก 3-4 แปลง อยู่ในกระบวนการทางศาล หลังจากนั้นจะนำมาประมูล โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากการเก็บค่าเช่าปีละ 150 ล้านบาท

ส่วนสถานีอยุธยา มีการว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาความเหมาะสมว่าจะสามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในรูปแบบใด พร้อมเตรียมร่าง TOR คาดว่าจะประกาศขายซองประกวดราคาได้ช่วงปลายปี 2553 และเชื่อว่าจะสามารถเก็บค่าเช่าได้ประมาณปีละ 100-150 ล้านบาท

สำหรับสถานีหัวหิน เห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่รองรับสวัสดิการพนักงานให้มากขึ้น โดยปรับให้มาอยู่ฝั่งเดียวกับสถานีในรูปแบบการก่อสร้างอาคารสูง 2 อาคาร รวมบ้านพักและที่ทำการเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยคาดว่าจะเก็บค่าเช่าประมาณ 200-300 ล้านบาท

ทว่ามีโครงการที่เป็นปัญหา การรถไฟฯ ต้องเร่งเคลียร์ก็คือพื้นที่จตุจักร โซน C โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 การรถไฟฯ ได้ฟ้องร้อง บริษัท เจริญพลาซ่า จำกัด เนื่องจากค้างชำระค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์พื้นที่ย่านพหลโยธิน แปลง 6/3 (โซน C) เป็นมูลค่ารวมกว่า 225 ล้านบาท นับตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 เป็นต้นมา แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 92 ล้านบาท ค่าใช้ประโยชน์พื้นที่อีก 88 ล้านบาท และค่าภาษีอีก 45 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี เจริญพลาซ่า ไม่ยอมออกจากพื้นที่ทำให้การรถไฟฯ ต้องฟ้องซ้ำเพื่อขับไล่ มิฉะนั้นการรถไฟฯก็ไม่สามารถหารายได้จากที่ดินดังกล่าวได้ โดยการรถไฟฯ ประกาศขายซองประกวดราคา จ้างเอกชนรายใหม่เข้าจัดเก็บรายได้ พร้อมกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ เริ่มต้นที่ห้องละ 1,000-4,200 บาท

ทั้งนี้ เอกชนรายใหม่ต้องเข้ามาจัดเก็บรายได้ ค่าเช่า ค่าใช้ประโยชน์ ค่าภาษี จากผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วง ซึ่งเดิมเจริญพลาซ่าเคยดำเนินการอยู่ในพื้นที่ 20,731 ตารางเมตร ตามอัตราค่าเช่าที่การรถไฟฯกำหนดและให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์สำหรับรายที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับเจริญพลาซ่า โดยมีระยะเวลาจัดเก็บ 1 ปี นับจากวันเซ็นสัญญาว่าจ้างขณะที่ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายได้ค่าเช่า ค่าใช้ประโยชน์ให้การรถไฟฯ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 755,000 บาท ภายในวันที่ 5 ของแต่ละเดือน

นอกจากนี้ก็ยังมีผู้เช่าที่มีปัญหาค้างชำระค่าเช่าอย่างกรุงเทพมหานครที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักรตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน เป็นมูลค่ากว่า 84 ล้านบาท จนการรถไฟฯ ต้องออกมาขู่ว่าจะยกเลิกให้กรุงเทพมหานครเช่าที่ดิน จนกระทั่งวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ส่งมอบเงินค่าเช่าพื้นที่จำนวน 84,422,904.20 บาท ให้แก่การรถไฟฯ จากนั้นได้มอบหมายให้ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมการควบคุมการจัดการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร เตรียมเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดนัดจตุจักรเพื่อเจรจาต่อสัญญาเช่าใหม่กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอีก 30 ปี โดยแผนพัฒนาพื้นที่จะต้องมีความชัดเจน และเป็นรูปธรรม เช่น การปรับปรุงทางเดิน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนการบริหารจัดการตลาดนัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ กทม.จะหมดสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร ในวันที่ 1 ม.ค.55 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต่อสัญญาใหม่กับ กทม. หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย

สำหรับผลประโยชน์ที่การรถไฟฯ ได้จาก กทม. ตามสัญญา ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2551-1 ม.ค.2554 กทม.จะต้องจ่ายเงินเช่าที่ตารางเมตรละ 191.41 บาท จากนั้นในปี 2554 การรถไฟฯ จะคิดอัตราค่าเช่าใหม่ ตารางเมตรละ 222.03 บาท ขณะที่คณะกรรมการตลาดนัดมีมติที่จะจัดเก็บค่าเช่าแผงจากผู้ค้าในอัตราใหม่ 500 บาทต่อแผง แต่เนื่องจากผู้ค้าขอผ่อนผัน ซึ่งหลังจาก กทม.จ่ายค่าเช่าค้างจ่ายทั้งหมดให้กับการรถไฟฯ แล้ว ก็จะเริ่มเก็บค่าเช่าแผงในอัตราใหม่พร้อมกับเก็บย้อนหลังทันทีในเดือนมิถุนายนนี้

จบ ว.8
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2010 6:21 am    Post subject: Reply with quote

สร้างกำไรจากที่ดินรถไฟ : ฝันที่ยากจะไปถึง ถ้าคนรถไฟยังไม่คิดเปลี่ยน
หน้า คมนาคม/ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ 17-20 กรกฎาคม 2553

ทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีอยู่มากมายกว่า 2.3 แสนไร่ทั่วประเทศ ซึ่งการมีที่ดินมากมายเช่นนี้ การรถไฟฯ น่าจะเป็นองค์กรที่มีรายได้สูงในการเลี้ยงตัวเอง และรัฐวิสาหกิจชั้นดีของประเทศไทย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ดินส่วนใหญ่ยังไม่ได้อยู่ในย่านธุรกิจ หรือมีศักยภาพในการพัฒนา เพื่อให้เกิดรายได้ มีเพียงประมาณ 40,000 ไร่เศษเท่านั้นที่สามารถนำมาพัฒนาในเชิงธุรกิจ แต่ในช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาที่ดินดังกล่าว ก็มิได้ถูกนำมาพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้การรถไฟฯ ยังคงเป็นองค์กรรัฐ วิสาหกิจที่ยากจนที่สุด มีหนี้สินสะสมเฉียด แสนล้านบาท

ปัจจุบันที่ดินของการรถไฟฯ มีประมาณ 239,000 ไร่ เป็นส่วนของกิจการ การเดินรถประมาณ 200,000 ไร่ ส่วนอีก เกือบ 40,000 ไร่ เป็นพื้นที่บริหารในเชิงธุรกิจ ที่มีศักยภาพสูงประมาณ 7,500 ไร่ ปานกลาง 7,000 ไร่ ส่วนที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ค่อนข้างต่ำมีประมาณ 20,000 กว่าไร่

ด้วยเหตุที่มีพื้นที่อยู่ในครอบครองจำนวนมหาศาล ร.ฟ.ท.จึงถูกจับตามองเป็นพิเศษว่าจะมีทิศทางการบริหารให้มีรายได้เลี้ยงองค์กรด้วยตัวเองได้อย่างไร? เพื่อที่จะไม่ต้องยกมือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอยู่ร่ำไป

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมีความเห็นว่า ทางออกในการแก้ปัญหาการรถไฟฯ ที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การสร้างรายได้จากที่ดินที่มีอยู่ แต่จะทำอย่างไรให้การพัฒนา เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้ผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และปราศจากปัญหาการคอร์รัปชั่น!

ล่าสุด คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีปลัดกระทรวงคมนาคม “สุพจน์ ทรัพย์ล้อม” เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. เร่งหารายได้จากที่ดินทั้งหมดของ ร.ฟ.ท. ทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นที่สถานี และพื้นที่อื่น ที่สามารถจัดหาประโยชน์ได้ ในที่ดินดังกล่าวนั้น มีที่ดินที่เป็นทำเลทองอยู่ 7 แห่ง เช่น ที่ดินย่านพหลโยธิน รัชดาภิเษก และ มักกะสัน เป็นต้น โดยจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูล เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว

ส่วนด้าน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. “ยุทธนา ทัพเจริญ” บอกว่า ที่ดินที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลมีประมาณ 7 แปลง โดยที่ดินที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ (Core Area) มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่

1.สถานีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ มีเป้าหมายเก็บค่าเช่าปีละ 100-150 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคา (TOR) ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการทำโครงการพัฒนา ที่ดิน 2.ย่านสถานีหัวหิน มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บท จากนั้นจะขออนุมัติออกประกาศเชิญชวน โดยมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 150-200 ล้านบาท

ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่สามารถจัดหาประโยชน์ได้ (Non Core Area) มี 5 แห่งได้แก่ 1.ที่ดินย่านพหลโยธินขนาดพื้นที่ประมาณ 279 ไร่ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ เบื้องต้นโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 คลับเฮาส์/สนามกอล์ฟ และฝ่ายบริหารงานบุคคลด้านฝึกอบรม โดยขณะนี้ที่ปรึกษาได้ส่งรายงานเบื้องต้นให้บอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาแล้ว

2.ที่ดินย่านรัชดาภิเษก ซึ่งได้ออกประกาศเชิญชวนเสนอโครงการเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน (แปลงเทิดพระเกียรติแปลงถาวร 1 และริมถนนรัชดาภิเษก แปลงที่ 4, 5 และ 6) รวม 2 แปลง ขนาดพื้นที่รวมประมาณ 6 ไร่ โดยเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าต่อปีไม่น้อยกว่า 13 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์) โดยผลตอบแทนรวมระยะเวลา 30 ปีประมาณรายได้ 350-400 ล้านบาท

3.ที่ดินย่านมักกะสัน ขนาดพื้นที่รวมทั้งหมด 745 ไร่ ขณะนี้รอบอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบรายงานฉบับสมบูรณ์ตามที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอ และอนุมัติให้ ร.ฟ.ท.นำพื้นที่โซน A ขนาดพื้นที่ประมาณ 140 ไร่ ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่ย่าน โรงงานมักกะสันออกประกาศเชิญชวนก่อน

4.ที่ดินย่านสถานีรถไฟแม่น้ำ ขนาดพื้นที่ประมาณ 277 ไร่ ขณะนี้ที่ปรึกษาได้ส่งรายงานขั้นกลางให้บอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาแล้ว และ 5.ที่ดินย่านสถานีรถไฟเชียงใหม่ บอร์ด ร.ฟ.ท. ได้อนุมัติให้นำพื้นที่จำนวน 15 ไร่ ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เทศบาลเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการจัดทำสวนสุขภาพ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ดินของ ร.ฟ.ท.นั้น เป็นแหล่งรวมขุมทรัพย์จำนวนมหาศาล หากใครได้ครอบครอง กล่าวได้เต็มปากว่ารวยตลอดชาติ แต่เมื่ออยู่ในครอบครองของ ร.ฟ.ท. สังคมจึงกล่าวขานกันว่า มีที่ดินมากมายก็จริง แต่บริหารไม่เป็นก็เท่านั้น รายได้ก็ไม่มีเข้าสู่องค์กร

รวมทั้ง ร.ฟ.ท.ยังถูกมองว่าเป็นแหล่งผลประโยชน์อันโอชะของผู้มีอำนาจทั้งภายนอกองค์กรและในองค์กร

ดังนั้นแม้ว่าจะมีแผนสวยหรูอย่างไร สุดท้ายรถไฟไทย ก็คงจะหนีไม่พ้นกับคำว่า “การบริหารงานแบบ เจ๊งกับเจ๊ง” ซึ่งเป็นคำสบประมาทที่ “ทีมข่าวคมนาคม” มองว่าถึงเวลาแล้วที่คนรถไฟจะต้องช่วยกันลบมันออกไปจากภาพความทรงจำของคนไทยสักที!
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/07/2010 8:26 am    Post subject: Reply with quote

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งในการให้เช่าที่ดินของการรถไฟฯ หากให้เช่าไปทำตลาด จะมีปัญหาด้านความสกปรก ความไม่เป็นระเบียบ รถจอดเกะกะสองข้างถนน ติดตามมาแทบทุกครั้งไป

ควรปรับปรุงด้านเงื่อนไขก่อนปล่อยให้เช่าที่ดินบ้างนะครับ นอกจากตลาดสดโทรมๆ สร้างมลภาวะกับชุมชนโดยรอบอย่างนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/07/2010 9:02 am    Post subject: Reply with quote

ก็ตลาดรถไฟรอบ ๆ สถานีรถไฟสงขลานี่แหละครับ
ตัวอย่างที่ดีของการบริหารที่ดินรถไฟ
นับเป็นตลาดสด ตลาดนัดและชุมชนแออัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้เลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2010 12:59 am    Post subject: Reply with quote

จี้ยุทธนาสรุปที่ดินรถไฟ ขู่เตะถ่วงสะเทือนเก้าอี้
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 28 กรกฎาคม 2553 - 00:00


นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เร่งจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินในเขตเมืองว่ามีกี่แปลง และรายละเอียดกับผู้เช่าที่ดินมีกี่สัญญา ภายในระยะเวลา 1 เดือนก่อนสรุปเพื่อบรรจุเข้าสู่การบริหารงานของหน่วยธุรกิจด้านทรัพย์สิน ซึ่งจะมีการบริหารงานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ต.ค.2553 นี้

"การประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. วันที่ 30 ก.ค.นี้ จะถามฝ่ายบริหารว่าการดำเนินการดังกล่าวคืบหน้าไปถึงไหน เพราะสั่งการมานานแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้ารายงานมาให้บอร์ดทราบ และจะให้เวลาประมาณ 30 วันในการจัดทำรายละเอียดให้เสร็จทั้งหมด รวมทั้งจะถามถึงความคืบหน้ากรณีที่เซ็นทรัลขอต่อสัญญาด้วยว่าจัดทำรายละเอียดถึงไหนแล้ว ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของที่ดิน หาก ร.ฟ.ท.ยังทำไม่เสร็จ ก็จะส่งผลถึงผลการประเมินผลงานของผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ด้วย" นายสุพจน์กล่าว

สำหรับการเตรียมความพร้อมในการบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ 3 หน่วย คือ หน่วยเดินรถ หน่วยทรัพย์สิน และหน่วยอำนวยการและซ่อมบำรุง ภายในเดือน ส.ค.นี้ จะได้รายชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของแต่ละหน่วยธุรกิจ

นายยุทธนากล่าวว่า การจัดทำรายละเอียดของที่ดินทั้งหมด จะเสร็จทันตามที่บอร์ดกำหนด.

//----------------------------------------------------------------------
ขาเก้าอี้โยก บอร์ดฉุนยุทธนา บริหารร.ฟ.ท.อืด

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 28 กรกฎาคม 2553 00:13 น.

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.วันที่ 30 ก.ค.นี้ จะมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของร.ฟ.ท. ในหลายเรื่อง ที่บอร์ดได้เคยมอบหมายให้ผู้บริหารร.ฟ.ท.ไปดำเนินการ เช่น รายละเอียดการบริหารจัดการด้านทรัพย์สิน การเตรียมความพร้อมในการบริหารงานของหน่วยธุรกิจ 3 หน่วย รวมถึงการสรุปกรณี บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือมายัง ร.ฟ.ท. เสนอขอขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินและทรัพย์สินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวน 47.22 ไร่ ออกไปอีก 2 ปี จากที่มีอายุสัญญา 20 ปี โดยระบุว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมย่านราชประสงค์

ทั้งนี้ หลายเรื่องที่บอร์ดได้สั่งการให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการ โดยเฉพาะ การจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินโดยเฉพาะที่ดินในเขตเมืองว่า มีกี่แปลงที่ดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ และที่มีสัญญาแล้วกี่แปลง ไม่มีสัญญากี่แปลง มีสัญญาแล้วแต่ร.ฟ.ท. ได้รับความเสียหายไม่เป็นไปตามสัญญากี่แปลง เป็นต้น แต่ปรากฎว่าทำงานล่าช้ามาก รวมถึงการเตรียมความพร้อมการบริหารงานของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ด้านทรัพย์สิน ซึ่งตั้งเป้าจะบริหารงานอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค. 2553 นี้ และในสิ้นเดือนส.ค. 2553 นี้ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของแต่ละหน่วยธุรกิจจะต้องเรียบร้อยด้วย

นายสุพจน์กล่าวว่า การทำงานที่ล่าช้าของผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในหลายเรื่องมีผลต่อการประเมินผลการทำงานของนายยุทธนาแน่นอน เพราะนโยบายของบอร์ดที่สั่งการไปทุกเรื่อง ต้อปฎิบัติตามและต้องไม่ล่าช้าด้วย ในขณะที่บอร์ดเอง ก็ไม่อยากเข้าไปยุ่งในหน้าที่ของผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.มากนัก เพราะจะถูกมองว่าเป็นการล้วงลูก แต่ไม่เข้าไปงานก็ไม่เดินตามเป้า

“บอร์ดจะถามว่าได้ดำเนินการแต่ละเรื่องไปถึงไหนแล้วและคิดว่าจะให้เวลาอีกประมาณ 30 วัน ในการจัดทำรายละเอียดให้เสร็จทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของที่ดินนั้น หากร.ฟ.ท.ยังทำไม่เสร็จ ก็จะส่งผลถึงผลการประเมินผลงานของผู้ว่าการร.ฟ.ท.ด้วย เพราะเรื่องการแยก 3 หน่วยธุรกิจร.ฟ.ท.นั้น บอร์ด ตั้งเป้าว่า จะให้บริษัทลูกเริ่มทำงานตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2554 คือ ต.ค.2553 และจะเห็นผลการทำงานของบริษัทลูกได้ในปี 2555”นายสุพจน์กล่าว

สำหรับ 3 หน่วยธุรกิจของร.ฟ.ท.ประกอบด้วย หน่วยธุรกิจเดินรถ หน่วยธุรกิจทรัพย์สิน และหน่วยธุรกิจอำนวยการและซ่อมบำรุง

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดของที่ดินทั้งหมดของร.ฟ.ท. คาดว่าการดำเนินการทั้งหมดจะเสร็จสิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจด้านทรัพย์สินได้ทันตามกำหนด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกเป็นที่ดินในเขตเมือง เช่น ที่ดินย่านรัชดา พหลโยธิน และแม่น้ำ ว่ามีทั้งหมดกี่แปลง มีสัญญาที่ทำไว้กับผู้เช่ากี่สัญญา และในแต่ละสัญญานั้น มีรายใดบ้างที่หมดสัญญาไปแล้ว หรือกำลังจะหมดสัญญา หรืออยู่ระหว่างการต่อสัญญา ส่วนที่ 2 คือที่ดินของร.ฟ.ท.ทั่วประเทศ ซึ่งจะดูรายละเอียดทั้งหมดว่ามีกี่แปลง และแต่ละแปลงมีการใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

โดยในส่วนของที่ดินของร.ฟ.ท.ในแปลงใหญ่ๆ นั้น ขณะนี้ร.ฟ.ท.มีแผนที่จะเร่งหารายได้จากที่ดินทั้งหมด โดยให้มีการประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ 7 แห่งที่เป็นทำเลทอง ทั่วประเทศ ประกอบด้วย พื้นที่สถานีอยุธยา และสถานีหัวหิน ซึ่งเป็นพื้นที่สถานี (Core Area) และพื้นที่ย่านพหลโยธิน รัชดาภิเษก มักกะสัน สถานีแม่น้ำ และสถานีเชียงใหม่ ที่เป็นพื้นที่อื่นที่สามารถจัดหาประโยชน์ได้ (Non Core Area)

สถานีอยุธยา มีขนาดพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ มีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 100-150 ล้านบาทซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคา (TOR) ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการทำโครงการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่สถานีหัวหิน ขนาดพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทของบริษัทที่ปรึกษา และเมื่อแล้วเสร็จจะได้ขออนุมัติออกประกาศเชิญชวนเสนอโครงการพัฒนาที่ดินต่อไป ซึ่งมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 150-200 ล้านบาท

ส่วนที่พื้นที่ย่านพหลโยธินขนาดพื้นที่ประมาณ 279 ไร่ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นโครงการพัฒนาพื้นที่ กิโลเมตร 11 บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 คลับเฮ้าส์/สนามกอล์ฟ และฝ่ายบริหารงานบุคคลด้านฝึกอบรม โดยขณะนี้ที่ปรึกษาได้ส่งรายงานเบื้องต้นให้บอร์ดร.ฟ.ท.พิจารณาแล้ว

พื้นที่ย่านรัชดาภิเษก ขณะนี้ได้ออกประกาศเชิญชวนเสนอโครงการเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน (แปลงเทิดพระเกียรติแปลงถาวร 1 และริมถนนรัชดาภิเษกแปลงที่ 4,5 และ6) รวม 2 แปลง ขนาดพื้นที่รวมประมาณ 6 ไร่ โดยเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าต่อปีไม่น้อยกว่า 13 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์) โดยผลตอบแทนรวมระยะเวลา 30 ปีประมาณรายได้ 350 -400 ล้านบาท

พื้นที่ย่านมักกะสัน ขนาดพื้นที่รวมทั้งหมด 745 ไร่ที่ขณะนี้รอบอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบรายงานฉบับสมบูรณ์ตามที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอและอนุมัติให้ ร.ฟ.ท.นำพื้นที่โซน A ขนาดพื้นที่ประมาณ 140 ไร่ ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันออกประกาศเชิญชวนก่อน

พื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ ขนาดพื้นที่ประมาณ 277 ไร่ขณะนี้ที่ปรึกษาได้ส่งรายงานขั้นกลางให้บอร์ดร.ฟ.ท.พิจารณาแล้ว และพื้นที่สถานีเชียงใหม่ ซึ่งบอร์ดร.ฟ.ท. ได้อนุมัติให้นำพื้นที่จำนวน 15 ไร่ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เทศบาลเชียงใหม่เพื่อดำเนินการจัดทำสวนสุขภาพออกให้เช่าโดยวิธีออกประกาศเชิญชวนเสนอโครงการพัฒนาที่ดิน

โดยในปี 2553 นี้ ร.ฟ.ท.ประมาณการว่าจะมีรายได้จากการให้เช่าที่ดินจำนวน 2,207 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เดือนพ.ค.2553) โดยที่ผ่านมารับรู้รายได้แล้วจำนวน 1,405 ล้านบาท ส่วนช่วงครึ่งปีหลังยังพอมีอีกหลายช่องทางที่จะเสริมรายได้เข้ามาให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนในปี 2554 คาดว่ารายได้จะต้องเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลายๆ พื้นที่เริ่มที่จะมีการรับรู้รายได้แล้ว หลังจากที่มีการศึกษาและปรับปรุงการพัฒนามาได้ระยะหนึ่ง ทั้ง สวนจตุจักร สวนรถไฟ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ในภูมิภาคอีกหลาย ๆ แปลง ทั้ง นครราชสีมา ขอนแก่น ย่านมหาชัย และหาดใหญ่ที่จะทยอยนำเสนอให้ผู้สนใจเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2010 3:42 am    Post subject: Reply with quote

ต่อสัญญาที่เช่า"เซ็นทรัล"จบไม่ลง ร.ฟ.ท.หารือ3หน่วยงานรัฐต่ออายุ1ปี"ทำได้หรือไม่"

หน้า 9 ประชาชาติธุรกิจ
ปีที่ 34 ฉบับที่ 4232 วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือหารือไป ยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการนโนบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินบริเวณพหลโยธิน พื้นที่ 47 ไร่เศษ ให้กับบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด ว่าสามารถทำได้หรือไม่

ภายหลังจากที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา เพื่อเป็นการชดเชยให้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ต้องเลือนการปรับปรุงไปอีก 1 ปี เพราะต้องใช้พื้นที่รองรับผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุจลาจลในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ในช่วงที่ผ่านมา แนวทางพิจารณา คือการต่ออายุสัมปทานจากเดิม 20 ปี ขยายเพิ่มเป็น 21 ปี เหตุผลที่ต้องหารือ เพราะเป็นรายละเอียด นอกเหนือจากสัญญาเช่าเดิมที่ได้ตกลงกันไปแล้ว

"หากทั้ง 3 หน่วยงานตอบกลับมาว่าทำได้ จะต้องบอกด้วยว่าให้ดำเนินการอย่างไร รวมถึงการตั้งคณะกรรมการมาตรา 13 มาพิจารณาถึงผลตอบแทนค่าเช่าต่าง ๆ ที่ ร.ฟ.ท.จะได้ ซึ่งจะมีกระบวนการต่าง ๆ อีกมาก อาจจะยังไม่ได้ข้อสรุปโดยเร็ว แต่หากเพิ่ม 1 ปี ทำไม่ได้ เรื่องก็จบ"

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวเพิ่มเติมว่า มติ ครม.ให้การรถไฟฯพิจารณาขยายอายุสัญญาเช่าให้เซ็นทรัลลาดพร้าว 1 ปี หลังจากมีมติ ครม.ไม่นาน ทางเซ็นทรัลฯทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ขอขยายเวลา 2 ปี ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้รายงานให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รับทราบแล้ว แต่แนวทางการพิจารณาจะดูแค่ 1 ปี ตามที่มติ ครม.มีนโยบายมา โดยทำเป็นเรื่องเร่งด่วนให้แล้วเสร็จใน 1-2 เดือนนี้ เพราะเป็นมาตรการชดเชย ตามนโยบายของรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนังสือที่บริษัทเซ็นทรัลฯส่งมาที่ ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 รายละเอียด เป็นการขอเลื่อนการบูรณะพัฒนาและการขอต่ออายุสัญญาเช่า คือ

1.ขอชะลอการบูรณะพัฒนาออกไปก่อน จะกลับมาเริ่มดำเนินการได้ ในอีก 1-2 ปี ตามความเหมาะสม เพราะเป็นการดำเนินการครั้งใหญ่ ต้องอาศัยเวลาในการเตรียมการนาน และต้องให้สอดคล้องกับการเยียวยาความเสียหายในส่วนของเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย โดยบริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป

2.ขออนุมัติขยายกำหนดการแล้วเสร็จตามสัญญาออกไปอีก 2 ปี จากปี 2554 และปี 2556 เป็นปี 2556 และปี 2558 เพราะในการชะลอการบูรณะพัฒนาจะมีผลกระทบให้ไม่อาจเสร็จสิ้นตามกำหนด 3 ปี หรือ 5 ปี ตามสัญญาเช่าได้

3.ขอขยายระยะเวลาเช่าเพิ่มเติมจากเดิมอีก 2 ปี สิ้นสุดสัญญาเช่าวันที่ 18 ธันวาคม 2573 จากเดิมสิ้นสุดปี 2571 โดยบริษัทจะชำระค่าเช่าในอัตราเช่าในหลักการเดิมในช่วง 2 ปีที่ขยายระยะเวลาเช่า เนื่องจากการปรับปรุงที่ล่าช้าออกไป ทำให้บริษัทและผู้เช่าช่วงหลักไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการบูรณะพัฒนาอาคารใหม่ได้อย่างเต็มที่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 197, 198, 199  Next
Page 27 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©