RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180580
ทั้งหมด:13491815
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pongsathon
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 02/06/2010
Posts: 22
Location: วงเวียนใหญ่ กทม.

PostPosted: 09/07/2010 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

BRT ยังไม่เคยลองนั่งเลยครับ

Mono rial จะมาอีกและ

เหอะๆ... Wink
_________________
ซื่อสัตย์ต่อความรักด้วย"ใจจริง"...แล้วจะได้ความ"จริงใจ"เป็นสิ่งตอบแทน
Back to top
View user's profile Send private message
komentrain
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 08/07/2010
Posts: 354
Location: ลำพูน

PostPosted: 09/07/2010 10:12 pm    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลก็ใช้ดีครับ แต่ช้า ผมเคนขึ้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ชมวิวจาว monorail ได้สวยมากครับ
_________________
Click on the image for full size
ผมเด็กลำพูน ชื่อโกเมน ชื่อเล่นต้น เรียนอยู่นครนายกครับ
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 10/07/2010 3:19 am    Post subject: Re: รถ Monorail ไปสุวรรณภูมิทำท่าจะยกชั้นเป็น LRT Reply with quote

Wisarut wrote:
เดินหน้าหาเดปโป้รถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิ ชวนเจ้าของที่ดินยื่นข้อเสนอ19-20ก.ค.
เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 09 กรกฎาคม 2553 เวลา 8:24 น

นายวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยว่า สจส.ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนยื่นข้อเสนอที่ดินเพื่อทำโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สาย บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ค.นี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการจัดหาระบบขนส่งมวลชนสายรองในเส้นทางดังกล่าว โดยที่ปรึกษาเสนอแนะใช้ก่อสร้างก่อนในช่วง 15 กิโลเมตร คือจากแยกบางนา ไปตามถนนบางนา-ตราด กม.ที่ 15 จำนวน 12 สถานี จากที่ศึกษาไว้ 18 กิโลเมตรซึ่งจะมีส่วนที่เลี้ยวเข้าไปถึงสนามบินฯอีก 3 กิโลเมตร


โดยก่อนหน้าที่มีการหารือพื้นที่ของบีทีเอสไว้ก็ยังอยู่ในการพิจารณาแต่ต้องการให้มีทางเลือกอื่น ๆ เข้ามาเพื่อให้กทม.พิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถยื่นข้อเสนอเข้ามาได้ในหลายรูปแบบ เช่น เสนอขอร่วมพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกับการจัดหาสถานีขนส่งผู้โดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

เป็นต้น อย่างไรก็ตามโครงการในเส้นทางนี้ เป็นระยะทางในเขตกทม. 5 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะต้องนำเข้าที่ประชุมสภาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการด้วย โดยสายบางนา-สุวรรณภูมิ จะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail) ซึ่งจะขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่าระบบโมโนเรล วงเงินงบประมาณ 16,000 ล้านบาท

นายวินัย กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการโมโนเรลที่ศึกษาไว้อีก 3 เส้นทาง ได้ข้อสรุปเรื่องพื้นที่สร้างเดปโป้ทั้ง 3 สายแล้ว คือ

1. โมโนเรลในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 สายนั้น ใช้พื้นที่ของจุฬาฯในการก่อสร้างเดปโป้ แต่จะต้องมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมีเงื่อนไขของมติ ครม.ที่ให้ระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองชั้นในต้องเป็นระบบใต้ดิน

2. ส่วนโมโนเรลสายกทม.2 (ดินแดง)-ซอยโยธี (ถนนพระราม 6) ใช้พื้นที่ของกองโรงงานช่างกลของ กทม. และ

3. โมโนเรลสายรามคำแหง-พระราม 9 จะใช้พื้นที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทย บริเวณสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน

ทั้งนี้ สจส.ได้เตรียมความพร้อมในรายละเอียดด้านต่าง ๆ ไว้เพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุด.

//-----------------------------------------------------------------------------

คาไว้ที่ บางนาตราด กม. 15 จะดีหรือครับท่าน - เพราะ 3 กิโลเมตรหนะ แค่ถึง คูน้ำด้านใต้สนามบินเองนะครับท่าน - จะไปให้ถึง Terminal ต้องอีก 8 กม. ถ้าจะงด ทำ 3 กิโลเมตรจาก ถนน บางนา - ตราด เข้าสนามบิน คงจะเสียการ เป็นแน่ Rolling Eyes


เฮียวิศ
ผมก็คาใจเหมือนกันว่า 3 กิดลเมตรเนี่ย มันไปได้แค่อาคารบางกอกแอร์เวย์แค่นั้นเองนะครับ (อาจจะไปถึงด้วยซ้ำเพราะเท่าที่ใช้เข็มไมล์ในรถดูระยะทางมันอยู่ที่ 3.4 กิโลเมตรนิ)

แต่ที่น่ากลัวกว่า คือ อยู่ในเขตของ กทม.แค่ 5 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นสมุทรปราการ....แล้วมันจะเป็นเหมือนกับ BTS ส่วนต่อขยายหน้าบ้านผมไหมหนอ ที่มันกุดอยู่แค่แบริ่ง (สุขุมวิท 107) เพราะเลยจากตรงนั้นไป กทม. ไม่มีอำนาจเนื่องจากเทศบาลปากน้ำยังไม่อนุมัติ!!!

กรณีนี้กลัวว่าถ้าแผนของ กทม. ผ่านแต่ต้องรอปากน้ำ มันก็จะกุดอยู่แค่บางนา กม. 5 หรือ อาคารเนชั่น เท่านั้นเองนะครับ!!!

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดีใจทีมีเส้นทาง รามคำแหง - พระราม 9 ในแผนด้วย.....แสนแสบ เอ็กเพลส กับตู้ซิ่งนรกจะได้มีคู่แข่งซะทีนึง (ว่าแต่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่อุตส่าห์เว้นที่ไว้ตรงสถานี MRT ศูนย์วัฒนธรรมล่ะครับ????? ลาดพร้าวจะได้นั่งไหมหนอ หรือว่าให้นั่งแค่รถเมล์สีส้ม ปลอบใจไปก่อน Embarassed

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
แล้วต่างจังหวัดใหญ่ๆ เชียงใหม่ - ภูเก็ต - โคราช - หาดใหญ่ - อุบลฯ - อุดรฯ จะว่าไงครับ??? จะได้มีมั่งมั้ยเอ่ย?
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2010 11:20 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เผย 3 โปรเจกต์ใหญ่ เตรียมทุ่มสร้างทางเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์-โมโนเรลเอกชนสายแรก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2553 09:15 น.

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ภายใต้โครงการ Together We Can รวมกันเราทำได้ ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนเองได้หารือร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ ผู้บริหารประตูน้ำเซ็นเตอร์ ผู้บริหารแพลทินัมแฟชั่นมอลล์ และ บ.กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของ กทม.ในการสร้างทางเดินลอยฟ้า หรือ Sky Walk เพื่อเชื่อมโยงรถไฟ้ฟ้าบีทีเอส ไปถึงแอร์พอร์ตลิงก์สถานีมักกะสัน (จริงๆ น่าจะเป็นสถานีราชปรารภ) โดยมีจุดเริ่มต้นจากห้างเกษรพลาซ่าต่อไปถึงท่าเรือคลองแสนแสบแล้วข้ามยังมาแพลทินั่มยาวต่อมาถึงประตูน้ำ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะสร้างเป็นแบบอุโมงค์แทนในช่วงข้ามแยกประตูน้ำรวมถึงอาจจะยาวต่อเนื่องถึงพันธุ์ทิพย์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการลงทุนโดยภาคเอกชนไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของ กทม.แต่อย่างใด อีกทั้งจะไม่มีการสร้างบนพื้นที่สาธารณะ เพราะจะสร้างบนพื้นที่เอกชนแต่หากจำเป็นก็จะใช้วิธีการสร้างเป็นอุโมงค์แทน เพื่อไม่เกิดคำครหา กทม.ให้เอกชนดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ Sky Walk เชื่อมบีทีเอส ถึงแอร์พอร์ตลิงก์ จะเน้นการออกแบบที่มีการเล่นระดับมีพื้นที่เขียวที่จะอยู่ชั้นบนของ Sky Walk ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ

นายธีระชน กล่าวอีกว่า ส่วนความร่วมมือกับภาคเอกชนในการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดเบา สำหรับเอกชนที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ที่อาศัยและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากที่ได้เคยหารือกับบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ โครงการแกรนด์ สแควร์ @ พระราม 9 ที่พร้อมจะลงทุนก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในโครงการของตนเอง ล่าสุด ทางบ.แกรนด์ฯ ได้เตรียมที่จะลงนามกับกรุงเทพธนาคมในเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลระยะทาง 825 เมตร งบก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะว่าจ้างให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและให้ปรึกษาซึ่งอัตราค่าจ้างนั้นจะคิดในแบบ Cost Plus คือ ต้นทุนในการดำเนินการเท่าไหร่ก็ให้บวกเพิ่มค่าดำเนินการตามที่ได้ตกลงไว้เข้าไปอีกส่วน ซึ่งจะไม่ทำให้เคทีขาดทุน ขณะเดียวกัน เจ้าของงานก็จะได้งานที่โปร่งใส ทั้งนี้ หากโครงการนี้สำเร็จจะเป็นต้นแบบในการกำหนดรถไฟฟ้าโนโนเรลเส้นทางอื่นๆ ต่อไป

รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลเฟสแรกเส้นทางสยามสแควร์-อาคารจามจุรีสแควร์ ระยะทาง 1.5 กม.งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ด้วยโมโนเรลนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อลงนาม MOU ระหว่าง กทม.และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทางจุฬาฯ ได้จัดสรรพื้นที่บริเวณสามย่าน ให้ กทม.สร้างศูนย์ซ่อมและบำรุง (Depot) รวมถึงจัดสรรพื้นที่สร้างศูนย์ราชการปทุมวัน จำนวน 2 แปลง ประมาณ 10 ไร่ มูลค่า 2,000 ล้านบาท ส่วนเฟสที่ 2 เส้นทางบรรทัดทอง และเฟสที่ 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ โดยตนเองจะผลักดันเส้นทางที่ 1 ให้เป็นรูปร่างภายใน 2 ปีนี้

//---------------------------------------------------------

กทม.พร้อมเดินหน้าโมโนเรล3เส้น โอดสนข.ปรับรถไฟฟ้าสีส้มทับซ้อน-ปรับแนวหนี
คอลัมน์ กทม. หน้า 28
ข่าวสดรายวัน ปีที่ 20 ฉบับที่ 7181 วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


รายงานข่าวจากศาลาว่าการ กทม.เปิดเผยความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว (โมโนเรล) ของ กทม.ว่า จากเดิมที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้นำเสนอแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 8 เส้นทางนั้น ขณะนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินการ 3 เส้นทาง ได้แก่

1.สายจุฬาฯ-สามย่าน อยู่ระหว่างออกแบบเบื้องต้น การจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอยกเว้นมติ ครม.ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนบนดินแทนใต้ดิน

2.สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี"54 และ

3.สายพระราม 9 ซึ่งจะมีเอกชนลงทุนโครงการกว่า 1,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนโครงการอื่นๆ เช่น สายศาลาว่าการ กทม.2- ถ.เพชรบุรี-ถ.หลานหลวง ต้องเปลี่ยนแนวสายทาง เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เปลี่ยนแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำให้เส้นทางทับซ้อนกันในแนว ถ.เพชรบุรี กทม. จึงต้องปรับแนวเป็นจากราชปรารภเข้า ซ.รางน้ำ ออก ซ.โยธี ผ่าน ร.พ.รามาธิบดี ซึ่ง กทม.มีโครงการจะทำทางเชื่อมลอยฟ้าหรือสกาย วอล์กเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง

แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้งนี้ สาเหตุที่ สนข.ปรับแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีส้มมาทับซ้อนเส้นทางโมโนเรลของกทม.ในแนวถ.เพชรบุรี เนื่องจากเห็นผลการรายงานคาดการณ์ผู้โดยสารของกทม.ในแนว ถ.เพชรบุรีมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กทม.เห็นว่าระบบของ สนข.เป็นแบบระบบหลักแต่ของกทม.เป็นระบบฟีดเดอร์ จึงได้หลีกทางให้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2010 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เตรียมเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับจุฬาฯ มอบพื้นที่15ไร่ทำเดปโป้-โมโนเรลสยาม-สามย่าน

คอลัมน์ กทม. หน้า 28
ข่าวสดรายวัน ปีที่ 20 ฉบับที่ 7182 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจุฬาฯ โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินเตรียมจะมอบพื้นที่ จำนวน 15 ไร่บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กับกทม.เพื่อเข้าดำเนินการใน 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดปโป้ โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือโมโนเรลเส้นทางสยาม-สามย่าน จำนวน 5 ไร่ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5 ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5 ไร่

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างที่นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกทม.ประสานความร่วมมือกับทางจุฬาฯ เพื่อเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยูการใช้พื้นที่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าภายในเดือนส.ค.นี้จะเกิดความชัดเจน

สำหรับโครงการก่อสร้างเดปโป้ จะก่อสร้างในพื้นที่ฝั่งสามย่าน ส่วนโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการนั้น จะเป็นโครงการก่อสร้างสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬาฯ ไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไปด้วย โดยสำนักงานเขตแห่งใหม่กทม.จะก่อสร้างเป็นอาคารสูง ชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง

ส่วนอาคารชั้นอื่นๆ นอกเหนือไปจากสำนักงานเขต กทม.อาจเปิดพื้นที่เพื่อให้เอกชนเข้ามาเช่า จะช่วยสร้างรายได้ให้กับ กทม.อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ จะมีสน.ปทุมวันเข้ามาใช้พื้นที่ดังกล่าวร่วมกันด้วย เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการจัดสรรพื้นที่ และจะสร้างสวนสาธารณะเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณดังกล่าวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2010 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

ชงครม.ผ่อนผันโมโนเรลลอยฟ้าจุฬาฯ
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2010 เวลา 10:49 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,556 12-14 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กทม.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบให้ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยว(โมโนเรล ) ช่วง สยามสแควร์-จามจุรีสแควร์ ระยะทาง1.5 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท สามารถก่อสร้างบนดินหรือแบบลอยฟ้าเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างที่สำคัญ เป็นโครงการขนาดไม่ใหญ่มาก เปิดให้บริการเดินรถเชื่อมในพื้นที่เฉพาะเท่านั้น

อย่างไรก็ดีเหตุผลที่ต้องขอผ่อนผัน รูปแบบการก่อสร้าง เนื่องจาก มติครม. ปี 2537 กำหนดให้ พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯชั้นในซึ่งเป็นเกาะรัตนโกสินทร์ รัศมี 25 ตารางกิโลเมตร เกือบ 5,000 ไร่ ห้ามก่อสร้าง โครงข่ายระบบรางแบบลอยฟ้า โดยจะต้องปรับรูปแบบให้มุดลงใต้ดินเท่านั้น เพราะเกรงว่าจะบดบังทัศนียภาพ และพื้นที่ชั้นในส่วนใหญ่จะมี พระบรมมหาราชวัง ศาสนสถาน ตลอดจนอาคารสถานที่สำคัญตั้งอยู่

รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า หาก กทม.ต้องปฏิบัติตามมติครม. จะส่งผลให้มีค่าก่อสร้างที่สูงไม่ต่ำกว่า 2 เท่าตัว เพราะต้องขุดเจาะลงใต้ดินที่ลึกพอสมควร นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินอ่อน และหัวใจสำคัญคือกระทบต่อสภาพการจราจรในย่านนั้นเพราะกรุงเทพฯชั้นในการจราจรค่อนข้างคับคั่งอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เปิดให้บริการเดินรถโดยผ่านพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในโดยเฉพาะสถานีสยาม ยังเป็นแบบลอยฟ้าได้ แต่เข้าใจ ว่า ช่วงที่บีทีเอสดำเนินการ เป็นช่วงก่อนหน้าที่มติครม.จะบังคับใช้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็น่าจะผ่อนผันให้โมโนเรลสามารถทำแบบลอยฟ้าได้

"มั่นใจว่า ครม.จะผ่อนผัน เพราะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา ไม่เหมือนบีทีเอส ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ และมีระยะทางช่วงสั้นๆแค่ 1.5 กิโลเมตร หากต้องมุดลงใต้ดินมองว่าไม่คุ้มค่า"

ส่วน"เดโป" ศูนย์ซ่อมและบำรุง ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้พื้นที่บริเวณสามย่าน กทม. เตรียมเซ็นเอ็มโอยู บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น ร่วมกับจุฬาฯ รวมถึงจัดสรรพื้นที่พัฒนาศูนย์ราชการ ปทุมวัน จำนวน 2แปลง เนื้อที่ประมาณ10 ไร่ มูลค่า 2,000 ล้านบาท ส่วนเฟสที่ 2 เส้นบรรทัดทองและเฟส 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ โดย โมโนเรล สยามสแควร์ -จามจุรีสแควร์ จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีแผนลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล แกรนด์สแควร์- พระราม 9 เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพระราม 9 ซึ่งอยู่ระหว่างหาข้อสรุปเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับภาคเอกชน

ด้านรศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเคหะการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของกทม. ประสานความร่วมมือกับจุฬา ฯ กล่าวว่า คาดว่าจะเซ็นเอ็มโอยูได้ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยสำนักงานทรัพย์สินจุฬา ฯ ได้มอบพื้นที่ 15 ไร่ย่านสามย่าน บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กทม.เข้าดำเนินการ 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดโป โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เส้นทางสยาม-สามย่าน(จามจุรีสแควร์) จำนวน 5 ไร่

โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5 ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5 ไร่ ทั้งนี้ โครงการศูนย์ราชการ จะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬา ฯไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไป โดยสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่ จะเป็นอาคารสูงชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง ส่วนอาคารชั้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ให้กับกทม.

หมายเหตุ: Monorail สายนี้ มี 4 สถานีคือ
1. จามจุรีสแควร์ (ต่อกับสถานีสามย่านรถใต้ดิน)
2. คณะบัญชี
3. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
4. สยาม (ต่อกับสถานีสยามรถลอยฟ้า)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2010 10:11 am    Post subject: Reply with quote

ชงโครงข่ายขนส่งกทม.3หมื่นล.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2010 เวลา 10:46 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,565 12-15 กันยายน พ.ศ. 2553


ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย กับ"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้เตรียมนำเสนอแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งมวลชนต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ไม่อยู่ในแผนแม่บทที่ได้อนุมัติไปแล้วจึงเห็นว่ากทม.น่าจะมีโอกาสในการดำเนินงานเพราะจะเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนให้สามารถเข้าถึงขนส่งมวลชนระบบหลักได้อย่างสะดวกขึ้น

โครงการดังกล่าวเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณ 30,000 ล้านบาทโดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลจะใช้งบมากกว่า โดยงบประมาณส่วนหนึ่งจำนวน 20,000 ล้านบาท จะได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ไปกู้จากธนาคารออมสิน นอกจากนั้นกทม.ยังเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ ด้วยการสนับสนุนให้ใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง ตลอดจนการเชื่อมต่อเข้าไปยังอาคาร สำนักงานตลอดแนวเส้นทางให้บริการ

ทั้งนี้สำหรับโครงการตามแผนพัฒนาที่อยู่ระหว่างเร่งนำเสนอผู้บริหารกทม.และครม.พิจารณานอกเหนือจากรถไฟฟ้าโมโนเรล เส้นทางจุฬาฯ-สยาม มูลค่า 5พันล้านบาท
ซึ่งมีรายละเอียด ดังที่กล่าวแล้วใน กทม.ทุ่ม5,000ล.ผุด'โมโนเรล'จุฬาฯ-สยาม ยังประกอบไปด้วย

แผนระยะที่ 1:
1. รถไฟฟ้าโมโนเรลเส้นทางบางนา-สุวรรณภูมิ งบประมาณ 8,000 ล้านบาท
2. เส้นทางยมราช-ถนนเพชรบุรี-ศาลาว่าการกทม. 2 ดินแดง งบประมาณ 5,000 ล้านบาท
3. เส้นทางรามคำแหง-เอกมัย-ทองหล่อ งบประมาณ 6,000 ล้านบาท

แผนระยะที่ 2:
1. เส้นทางรัชดาฯ-ลาดพร้าว-หมอชิต 2 -สวนจตุจักร งบประมาณ 1,500 ล้านบาท
2. เส้นทางกรุงธนบุรี-ถนนเจริญนคร-สุขสวัสดิ์ งบประมาณ 1,500 ล้านบาท
3. เส้นทางถนนกรุงธนบุรี-ถนนสมเด็จเจ้าพระยา งบประมาณ 1,000 ล้านบาท
4. และถนนสุขสวัสดิ์-ถนนประชาอุทิศ-ทุ่งครุ งบประมาณ 1,100 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการทำชัตเติลบัสอีก 3 เส้นทางโดยมอบหมายให้บริษัท บางกอกเมโทรบัส จำกัด เข้าไปวิ่งให้บริการโดย กทม.จะดำเนินการสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารให้ประกอบไปด้วย 3 เส้นทางคือ 1.เส้นทางสุขสวัสดิ์ 2. เกษตรฯ-นวมินทร์ และ3. ราษฎร์บูรณะซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเรื่องงบประมาณและรูปแบบที่ชัดเจนอีกครั้ง

ดร.ธีระชน กล่าวถึงแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายของกทม.อีกว่าในทางปฏิบัติจะทำควบคู่กันไป โดยจะไม่ขีดกรอบเวลากำกับเอาไว้ มีทั้งโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล รถโดยสารด่วนพิเศษชัตเติลบัส ตลอดจนเรือโดยสารในคลองต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะกันให้มากขึ้น

โดยได้นำร่องรถบีอาร์ทีไปแล้วในเส้นทางสาทร-ราชพฤกษ์ แผนงานระยะต่อไปจึงจะเปิดเดินรถไฟฟ้าโมโนเรลเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชน เช่น เส้นทางจุฬาฯ-สยามจะเป็นโครงการนำร่องให้เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอสได้อย่างสะดวก ส่วนความคืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดจุดก่อสร้างอู่จอดและซ่อมบำรุง (Depot) พร้อมกับจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับจุฬาฯ ที่ต้องการให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้

นอกจากนี้กทม. จะได้นำเสนอครม.ควบคู่กันไปใน 2 ประเด็น คือ ขออนุมัติก่อสร้างโครงการยกระดับในพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และขออนุมัติก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนที่อยู่นอกเหนือแผนแม่บท (M-Map) ตามมติ คจร.ที่ 1/2553 ดังนั้นกทม.จึงพร้อมเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาสนับสนุนหากต้องการจุดเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารโดยผู้ว่าฯ กทม.มอบหมายให้สำนักการโยธาไปควบคุมการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน

ดร.ธีระชนยังกล่าวถึงการเร่งรัดให้มีการออกแบบทางเดินลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติจากช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปจนถึงจุดสิ้นสุดรถไฟฟ้าบีทีเอส ณ สถานีแบริ่ง และเส้นทางช่วงรามคำแหง-ลำสาลีเพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ว่าได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) ดำเนินการซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งออกแบบเบื้องต้นของกลุ่มบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์แมเนจเม้นท์ จำกัด

โดยให้ดำเนินการไปพร้อมกับการประมาณราคาให้เสร็จช่วงต้นเดือนกันยายนนี้และให้เร่งจัดทำขอบเขตของงาน (TOR) เพื่อจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ให้แล้วเสร็จเช่นกัน ก่อนที่ เคที จะยื่นข้อเสนอโครงการให้ สจส. ตรวจสอบและพิจารณาข้อเสนอโครงการและลงนามสัญญาจ้างในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2553 จะแล้วเสร็จเปิดให้บริการเดือนธันวาคมปี 2554 ต่อไป

"โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่กทม.เร่งนำเสนอให้ครม.เห็นชอบในครั้งนี้น่าจะได้รับการตอบรับจากนักธุรกิจที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทั้งในวันนี้และในอนาคตเพราะจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แต่ละสถานที่ได้เป็นอย่างดี โดยจะเริ่มโครงการโมโนเรลก่อนที่จะขยายไปยังระบบอื่น ๆ หากโครงการไหนมีแนวโน้มที่ดีจึงจะค่อย ๆ ทยอยไปพัฒนาในเส้นทางอื่นต่อไป"

ทั้งนี้ในส่วนกรณีสะพานลอยฟ้าปรากฏว่าได้รับการสนับสนุนจากเอกชนแล้วหลายราย เช่นเดียวกับโมโนเรลสายนำร่องอย่างจุฬาฯ-สามย่าน ก็ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและอู่จอดรถจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนโครงการแกรนด์คาแนลแลนด์ที่ย่านพระราม 9 ที่กทม.เข้าไปสนับสนุนการออกแบบและอำนวยความสะดวกด้านการให้คำแนะนำเรื่องข้อกฎหมายและข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าของโครงการได้มอบหมายให้เคทีเข้าไปบริหารจัดการ ซึ่งได้เซ็นตกลงความร่วมมือต่อกันเรียบร้อยแล้วจึงคาดว่าจะเกิดรายได้ต่อกทม.ตามมาในที่สุด

Note: โผบัญชีสถานี สำหรับ Chula Monorail ที่ กทม. จะทำให้ประกอบด้วย

โดยระยะแรก เริ่มจากโมโนเรล ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร " จุฬาฯ-สยาม" (สยามสแควร์-จามจุรีสแควร์) ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่

เฟส1 สถานีสามย่าน-สยาม ตามเส้นพญาไท
1. สถานีสามย่าน (ข้างจามจุรีสแควร์)
2. สถานีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ - ใกล้ๆ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) และ
3. สถานีปลายทางสถานีสยาม (ระหว่างมาบุญครองและ สยามสแควร์)

โดยรถไฟฟ้าสายนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติงบประมาณลงทุนทั้งสิ้น กว่า 2,000 ล้านบาท โดยโมโนเรล ระยะแรก"จุฬาฯ-สยาม "จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปี นับจากนี้ หรือกำหนดวางศิลาฤกษ์ในเดือนธันวาคม 2554 และก่อสร้างพร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2555

ส่วนโมโนเรลระยะที่ 2 จะดำเนินการเส้นทางบรรทัดทอง หรือสายสยาม-สามย่าน-บรรทัดทอง ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร งบประมาณ 1,400 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม (จุฬาซอย 42)
2. ศูนย์กีฬาฯ (จุฬาซอย 9)
3. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
4. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (จุฬาซอย 12)

ระยะที่ 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ หรือ สยาม-อังรีดูนังต์-สามย่าน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร งบประมาณ 1,300 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2. ปากทางอังรีดูนังต์ (ใกล้ท่ารถเมล์สาย 21)
3. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ (ตรงข้ามโรงพยาบาลตำรวจฝั่งอังรีดูนังต์)
4. คณะเภสัชศาสตร์ (จุฬาซอย 64)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2010 10:13 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ดันโมโนเรล สายรามคำแหง-ทองหล่อ ใช้งบหมื่นล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2553 08:31 น.


นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายมหาวิทยาลัยรามคำแหง-ซอยทองหล่อ มีผู้ร่วมประชุมกว่า 200 คน ซึ่งสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่การรับฟังความคิดเห็นประชาชนในครั้งแรกเมื่อ 30 ก.ย.52 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่าร้อยละ 75 เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ โดยที่ปรึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาออกแบบโครงการในเส้นทางดังกล่าวเป็นระบบรถโมโนเรล ระยะทาง 11 กิโลเมตร เริ่มจากสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน วิ่งตามถนนรามคำแหง 24 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนถาวรธวัช เลี้ยวขวาเข้าคลองกะจะ เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 9 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรพระราม เลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยทองหล่อ 4 มีทั้งหมด 9 สถานี คือ สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน, ถาวรธวัช, แยกรามคำแหง, เพชรพระราม, ประเสริฐมนูกิจ, ทองหล่อ 20, ทองหล่อ 10 และสถานีทองหล่อ ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีทองหล่อ

ทั้งนี้ บริเวณจุดเริ่มต้นที่สถานีสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน จะมีเส้นทางแยกอีก 1 เส้นทาง วนอ้อมมหาวิทยาลัยรามคำแหงมาบรรจบกับกันบริเวณก่อนถึงสถานีถาวรธวัช โดยช่วงวนรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นรางเดี่ยวระยะทางประมาณ 3.6 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นรางคู่จากสถานีถาวรธวัช ถึงซอยทองหล่อ โดยใช้พื้นที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) บริเวณศูนย์กีฬาในร่ม สร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ชั้นล่างและสร้างศูนย์กีฬาทดแทนของเดิมอยู่ชั้นบน ใช้เนื้อที่ 6.5 ไร่ โครงการนี้ได้ออกแบบระบบให้รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 6,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง และได้เสนออัตราค่าโดยสารที่ 20 บาทตลอดสาย งบประมาณแบ่งเป็นค่าจัดทำเอกสารประกวดราคา และควบคุมงานก่อสร้าง 260 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐาน 6,505 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,735 ล้านบาท มูลค่าโครงการรวม 10,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังมีการแสดงความคิดเห็นในข้อกังวลเรื่องปัญหาการจราจรในบริเวณซอยทองหล่อ ซึ่งหากมีโครงสร้างโมโนเรล จะทำให้ผิวการจราจรหายไป 1 ช่อง และข้อกังวัลเรื่องการระบายน้ำในคลองกะจะที่มีแนวเส้นทางโมโนเรลวิ่งผ่าน ซึ่งยังไม่สรุปว่าจะใช้แนวริมคลองหรือลงเสาตอม่อบริเวณกลางคลอง

ด้านนายธนา วิชัยสาร รองผู้อำนวยการ สจส.กล่าวว่า ทางที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาเสนอให้ สจส.ภายในเดือน พ.ย.นี้ และจะนำเสนอต่อผู้บริหาร กทม.ต่อไป โครงการโมโนเรลสายดังกล่าวมีความพร้อมเป็นเส้นทางที่ 2 ต่อจากสายจุฬาฯ โดยตลอดสายทางไม่มีการเวนคืนพื้นที่ของประชาชน โครงสร้างขนาดเล็กก่อสร้างได้เร็ว และผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อย ในเส้นทางมีสถานีที่สามารถรองรับการเดินทางเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และสถานีทองหล่อของรถไฟฟ้าบีทีเอส และในอนาคตจะเชื่อมกับสายสีส้มและสีเทา ซึ่งอยู่ในแผนแม่บท 12 สายของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี เชื่อมที่สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนสายสีเทา วัชรพล-สะพานพระราม 9 เชื่อมที่สถานีประเสริฐมนูกิจ


ชงโมโนเรลสายรามฯ-ทองหล่อ

เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 17 กันยายน 2553 เวลา 9:05 น



เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 พ.ย. 53 ที่โรงแรมชาลีน่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (โมโนเรล) สายมหาวิทยาลัยรามคำแหง- ซอยทองหล่อ มีผู้ร่วมประชุมกว่า 200 คน ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาฯได้นำเสนอผลการศึกษา โครงการฯ ระยะทาง 11 กิโลเมตร เริ่มจากสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน วิ่งตามถนนรามคำแหง 24 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนถาวรธวัช เลี้ยวขวาเข้าคลองกะจะ เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 9 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรพระราม เลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยทองหล่อ 4 มีทั้งหมด 9 สถานี คือ

1. สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง,
2. ราชมังคลากีฬาสถาน,
3. ถาวรธวัช,
4. แยกรามคำแหง,
5. เพชรพระราม,
6. ประเสริฐมนูกิจ,
7. ทองหล่อ 20,
8. ทองหล่อ 10 และ
9. สถานีทองหล่อใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีทองหล่อ

โดยใช้พื้นที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) บริเวณศูนย์กีฬาในร่ม สร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ชั้นล่างและสร้างศูนย์กีฬาทดแทนของเดิมอยู่ชั้นบน ใช้เนื้อที่ 6.5 ไร่ รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 6,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง งบโครงการ 10,500 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดทำเอกสารประกวดราคาและควบคุมงานก่อสร้าง 260 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐาน 6,505 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,735 ล้านบาท ทั้งนี้ในที่ประชุมยังมีความกังวลในเรื่องของปัญหาการจราจรในบริเวณซอยทองหล่อ ซึ่งหากมีโครงสร้างโมโนเรลจะทำให้ผิวการจราจรหายไป 1 ช่อง และข้อกังวลเรื่องการระบายน้ำในคลองกะจะที่มีแนวเส้นทางโมโนเรลวิ่งผ่าน ซึ่งยังไม่สรุปว่าจะใช้แนว ริมคลองหรือลงเสาตอม่อบริเวณกลางคลอง ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 มีประชาชนเห็นด้วยกับโครงการกว่าร้อยละ 75

ด้านนายธนา วิชัยสาร รองผู้อำนวยการสจส. กล่าวว่า ทางที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาเสนอให้สจส.ภายในเดือน พ.ย.นี้ และจะ นำเสนอต่อผู้บริหารกทม.ต่อไป โครงการโมโนเรลสายดังกล่าวมีความพร้อมเป็นเส้นทางที่ 2 ต่อจากสายจุฬาฯ โดยตลอดสายทางไม่มีการเวนคืนพื้นที่ของประชาชน สามารถเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์และสถานีทองหล่อของรถไฟฟ้าบีทีเอส และในอนาคตจะเชื่อมกับสายสีส้มและสีเทาซึ่งอยู่ในแผนแม่บท 12 สายของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทั้งนี้การศึกษาได้เสนออัตราค่าโดยสารที่ 20 บาทตลอดสาย.
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 01/10/2010 8:32 am    Post subject: ความคืบหน้าในการสร้างโมโนเรล Reply with quote

ข่าวๆนี้คงจะเป็นการสะท้อนโครงการก่อสร้างโมโนเรลของทาง กทม. นี้ได้เป็นอย่างดีนะครับ Wink

ซึ่งก็ไม่ทราบว่าผลจะเหมือนกับในเมืองพัทยานี้หรือไม่นะครับ Question

ค้านสร้างโมโนเรลผ่านจุฬาฯ
30 กันยายน 2553 เวลา 20:56 น.
Click on the image for full size


กรรมการสภามหาวิทยาลัยค้านกทม.สร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลผ่านจุฬาฯ หวั่นเสียงครหาเอื้อประโยชน์ฝ่ายเดียวชาวบ้านไม่ได้ใช้ ด้านรองผู้ว่าฯยันช่วยแก้ปัญหาจราจร

นางอรพินท์ พานทอง กรรมการสภามหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เส้นทางสายสามย่าน-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สยาม ระยะทาง 1.5 กม. งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากเกรงจะถูกข้อครหาว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับจุฬาฯ เพียงฝ่ายเดียว แต่ประชาชนทั่วไปไม่ได้ใช้งาน

“ถ้า กทม.และจุฬาฯ ร่วมมือกันผลักดันโครงการจนสำเร็จ เชื่อว่าจะได้รับคำสรรเสริญชื่นชมทั้งสองฝ่าย แต่ทำอย่างไรจึงจะได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนรวม ซึ่งต้องไปคิดหาคำอธิบายมาให้ชัดเจน” นางอรพินท์ กล่าว

นางอรพินท์ กล่าวว่า หากต้องการหาแนวร่วมที่สนับสนุนโครงการนี้ ควรจะมีการสอบถามประชาคมจุฬาฯ และชาวบ้านในพื้นที่ด้วย เพราะมีทั้งฝ่ายได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ และเชื่อว่าหากโครงการโมโนเรลสร้างสำเร็จ ที่ดินของจุฬาฯ จะต้องมีราคาขึ้นสูงมาก

นางอรพินท์ กล่าวว่า หาก กทม.ปรับเปลี่ยนแผนการก่อสร้างใหม่ โดยเริ่มต้นสร้างเฟสที่ 3 ก่อน คือเส้นทางถนนอังรีดูนังต์ ระยะทาง 2.6 กม. ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนทั่วไปที่ต้องการไปโรงพยาบาลได้รับประโยชน์โดยตรง หลังจากนั้นเมื่อได้รับการยอมรับแล้วจึงค่อยกลับมาสร้างเฟสที่ 1 คือสายสามย่าน-จุฬาฯ-สยาม

ด้านนายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง กล่าวว่า โครงการโมโนเรลเป็นการใช้งบประมาณลงทุนของ กทม.ทั้งหมด และคาดว่าจะสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี แต่เส้นทางที่จะก่อสร้างกลับอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ เท่านั้น

“ถ้าจุฬาฯ ต้องการทำเพื่อมวลชนจริง จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีกว่าหรือไม่ หากให้จุฬาฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด”นายสมพงษ์ กล่าว

ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ กล่าวว่า ยืนยันว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพราะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม และรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการได้ และคาดว่าจะช่วยลดปัญหาการจราจรแออัดได้

“ตามธรรมชาติของคน เมื่อไม่เคยลอง ก็ไม่กล้าทำอะไร ซึ่งโมโนเรลสายนี้จะเป็นนวัตกรรมใหม่และเป็นสายแรกของประเทศไทย ดังนั้นต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเอง” นายธีระชน กล่าว

นายธีระชน กล่าวว่า กทม.ยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าโครงการต่อ โดยจะเริ่มต้นสายสามย่านเป็นสายแรก ส่วนสายถนนอังรีดูนังต์ และสายถนนบรรทัดทอง อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เพราะต้องมีการไล่รื้อชุมชน

อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า กทม.จะจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านอีกครั้ง

ด้านนายมานพ พงศทัต ที่ปรึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จะจัดให้มีการประกวดออกแบบรถไฟฟ้าโมโนเรลให้สวยงาม สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดกระแสกดดัน รวมทั้งจะเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อขอความเห็นชอบ

“อย่าคิดว่าถนนสายนี้เป็นของจุฬาฯ ฝ่ายเดียว แต่เป็นถนนสาธารณะ ฉะนั้นการตัดสินใจของจุฬาฯ จึงถือเป็นการเสียสละให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะทำ แม้จะถูกวิจารณ์ก็ตาม” นายมานพ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2010 9:44 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ข่าวเดียวกัน ดูได้ที่นี่

ค้านสร้างโมโนเรลผ่านจุฬาฯ ชี้บดบังทัศนียภาพ-ทำบ้านแตก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2553 18:59 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 30, 31, 32  Next
Page 2 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©