RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181726
ทั้งหมด:13492964
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - 110 ปีรถไฟไทย กับการพัฒนาต่อไปในอนาคต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

110 ปีรถไฟไทย กับการพัฒนาต่อไปในอนาคต
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 08/08/2010 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
Compressor wrote:

ทราบมาว่า O ที่ย้้ายมาจาก M นับพันคนนี้ จะแยกตัวเป็นเอกเทศ เป็นหน่วยงานอิสระ จะไม่ขึ้นกะฝ่ายใด Question Rolling Eyes


แล้วใครหละ...........ที่เป็นผู้บริหารนำคนกลุ่มนี้
ถ้าเป็นหน่วยอิสระ ควรจะตั้งเป็นหน่วยแยกออกไปต่างหาก ไม่ควรจะนำมารวมกัน

น้องปิ ลองค้น ๆ วิทยานิพนธ์ ของท่านผู้ว่า คนปัจจุบัน สมัยที่ท่านเรียนที่นิด้า แล้วจะเข้าใจ Question


วิทยานิพนธ์ท่านผู้ว่า เหมือนแผนแปรรูป ...เอ้ยไม่ใช่แผนปฏิรูปรถไฟที่ทำอยู่เลยใช่ไหมครับป๋า........ Sad
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 08/08/2010 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

ติดตามต่ออย่างใกล้ชิด....แต่ได้ข่าวลือว่า วันที่ 3 มีภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟังอยู่พอสมควรเลยนี่ครับป๋า....แล้วอย่างนี้ คือ ????????
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
NP_Nongkhai
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/07/2010
Posts: 11

PostPosted: 09/08/2010 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

ขอให้ตรงเวลาเสียที และขอให้รถไฟไทยใช้ตู้โดยสารที่คำนึงถึงการเดินทางไกลๆ จากหนอง-กรุงเทพ นั่งแบะพาสติก ขัดกันมากกับระยะทาง ที่สำคัญพนักงานไม่มีการพูดสุภาพ อธิบายอะไรก็ไม่อธิบายเวลาถามบางคนที่สถานีหนองคาย เปลี่ยนเสียที
_________________
ที่นี่สถานีหนองคาย(เก่า)ขบวนรถหนองคาย-กรุงเทพ จะออกจากสถานีเวลา 18.20 น.
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 10/08/2010 10:21 am    Post subject: Reply with quote

จากความเห็นข้างต้น ผู้ใช้บริการอยากได้ คือ
(ความเห็นขำๆ และที่ เป็นอยู่ในตอนนี้)
1.การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ

จริง ๆ พนักงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะแจ้งให้ผู้โดยสารทราบ ตั้งแต่สภาพ ความสมบรูณ์ รถจักร รถพ่วง
เช่นสภาพรถจักรเหลือ 4 ขา เครื่องยนต์ น้ำร้อน บ่อย และผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถหารถจักรคันใหม่เปลี่ยนให้ได้
มีผลต่อการเดินทางที่อาจจะไม่ตรงต่อเวลา เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบ และที่สำคัญกติการคืนค่าโดยสารที่เปิดให้ผู้ใช้บริการ สามารถคืนค่าโดยสารได้เต็ม คงแก้ไขเรื่องนี้ได้

2.กำหนดการเดินทางที่ตรงต่อเวลา

ผลพวงจากข้อ 1 ทางแก้ไข คือ ยืดเวลากำหนดการเดินรถให้สัมพันธ์ กับสภาพที่เป็นจริง เช่นรถจักรสมบรูณ์ สภาพทางสมบรูณ์ ใช้เวลาเดินทาง กี่ ชม ถ้ามีผลพวงจากข้อ 1 ก็ประกาศใหม่ไปเลยว่าใช้เวลาเดินทางกี่ชม.
ก็คงแก้ไขปัญหาได้

3.ชนิดรถโดยสารที่ให้บริการ.... (ประเด็นนี้ ไม่แน่ใจว่า ผู้โพส ใช้การโดยสารในรถใดไหนในการเดินทาง)

ประเด็นนี้ ถ้าเป็นรถไฟฟรี เพื่อประชาชน ก็อย่าบ่นเลยครับ ก็ มันฟรี นี่นา
ถ้าเสียเงินก็ต้องเปรียบเทียบกับรถทัวร์ เดินทางโดยวิธีไหนคุ้มค่าสำหรับท่านมากที่สุด

ท้ายที่สุด ผู้ใช้บริการ ก็จะเป็นผู้เลือกว่าท่านจะเลือกการเดินทางแบบไหน และเป็นแนวทางให้เดาๆ กันว่า ในปีที่ 113 และอนาคต จะเป็นอย่างไร .....

ส่วนที่คนไปฟังเป็นภาคเอกชน หลาย ๆ คนอยู่นั้น ..... ขี้เกียจเดา เพราะโพย เขาเขียนบทไว้แล้ว เหลือแต่คนใน รู้หรือไม่รู้ .... “ข้อย” ไม่เกี่ยว จะไปเกี่ยวก็ต่อเมื่อไปใช้บริหาร ก็เท่านั้น ... อ่านะ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 10/08/2010 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
ป๋าเป็นผู้ใช้บริหารเลยเหรอ????

ว่าแต่ไอเดียดนะครับ ทำให้รถไฟวิ่งตามตารางเวลาไม่ได้ ก็ทำตารางเวลาให้วิ่งตามรถไฟทัน

หรือผมจะโชคดีกันแน่ครับ ในรอบ 4-5 เดือนมานี้นั่งรถไฟเสียเวลาแบบหลุดโลกมีแค่ขบวนเดียว คือ กรุงเทพฯ - หนองคาย วันที่ทำทริปหลวงพระบาง ที่ 4517 หม้อน้ำแตก ดีเลย์เกือบๆ 2 ชั่วโมง นอกนั้นก่อนเวลาแทบทุกครั้ง โดยเฉพาะไปใต้ครั้งล่าสุด ทั้ง 167 และ 84 วิ่งทำเวลาดีมากๆ

ส่วนรถเบาะพลาสติก....ผมว่าน่าจะหมายถึงดีเซลราง NKF เบาะไฟเบอร์มั้งครับ...ก็เจ้า NKF น่ะมันไม่ได้ถูกออกแบบให้วิ่งยาวถึงหนองคายนี่นา (ตามแผนมันควรจะ Upgrade เป็น Daewoo ไปแล้วนี่เนอะ)

ส่วนถ้าผมจะเขียนว่าแนะนำให้พัฒนาโดยเอารถชั้น 3 ไปติดแอร์ให้หมด หรือ โละชั้น 3 ออกจากสารบบ สงสัยจะโดนเหยียบแหงๆ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 10/08/2010 2:06 pm    Post subject: Reply with quote

- ถ้าบนรถไฟมีระบบกระจายเสียง ให้ พขร หรือ ชค ประกาศบอกผู้โดยสารได้ก็จะไม่เลวนะครับ เผื่อกรณีที่หัวจักรน้ำร้อน, หัวจักรไปไม่ไหว ก็จะได้แจ้งให้ผู้โดยสารทราบได้ว่าจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร เผื่อผู้โดยสารที่รีบร้อนเดินทางอาจจะสามารถตัดสินใจลงที่สถานีใกล้เคียงเพื่อใช้บริการขนส่งอื่นๆแทน
ปัจจุบันใช้ให้ พรร หรือ พหล เดินประกาศแบบชัดเจนมั่ง ไม่ชัดเจนมั่ง อย่างไรชอบกล
Back to top
View user's profile Send private message
Kan
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง

PostPosted: 10/08/2010 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

ในใจคิดว่าโละรถชั้นสามให้หมดให้เหลือที่สบายน้อยที่สุดคือบชท. แล้วจัดซื้อชุดกำลังดีเซลรางเพิ่มไปวิ่งตามระยะทางสั้นๆ(อยู่ในแผนจัดทำงบประจำปีของฝ่ายการช่างกลแล้ว) แล้วนำรถจักรที่เหลือรถจักรก็หมุนเวียนทำวาระตามกำหนด น่าจะพอแล้วนะครับ อ้อสภาพรางขออย่าให้หลายมาตรฐานครับ ^^"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2010 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็ต้องกู้เงินหลายหมื่นล้านเพื่อซื้อรางใหม่ที่โตกว่าเดิมมาเปลี่ยน ถ้ายังตั้งโรงถลุงเหล็กเองไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2010 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยต้องเร่งพัฒนาการขนส่งระบบราง
โดย สมเกียรติ พงษ์กันทาอดีตหัวหน้าวิศวกรไฟฟ้าและเครื่องกลฝ่ายบำรุงรักษา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน San Francisco Bay
เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2553 เวลา 19:46 น

๑.๐ งานขนส่งสินค้า

ประชาชนไทยส่วนมากคงไม่ทราบ และ คงไม่สนใจที่จะวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจนให้เห็นว่าการดำรงชีวิตอยู่ดีกินดีที่มีคุณภาพของตนนั้นมีปัจจัยจากต้นทุนที่ต่ำของการขนส่งสินค้า และ เศรษฐกิจที่ดีของมหาอำนาจหลายประเทศในโลก รวมทั้งสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และ อินเดียนั้น เป็นผลมาจากต้นทุนที่ต่ำของการขนส่งสินค้าระบบรางทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชผลทางการเกษตร อาหารสำเร็จรูปสำหรับบริโภค เช่น อาหารเช้า ยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นซีเรียลหน้าสตรอว์เบอรี่ (Cereal tops with Strawberries) หรือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ อื่น เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง รถยนต์ รวมทั้ง ถ่านหินที่นำมาเข้าเตาเผาเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้านำมาใช้ในครัวเรือน และ ผลิตอุปกรณ์เพื่ออุปโภคและบริโภคทุกชนิด นั้น มาจากการขนส่งระบบรางทั้งสิ้น

[พูดให้ง่ายเข้าว่าก็คือ คนเราหลงคิดว่า การเดินรถไฟโดยสารสำคัญกว่าการขนสินค้า ซึ่งไปจากความจริง ที่เกิดขึ้นในโลก นี้ อย่างไกลสุดกู่ อาจจะเป็นเพราะ สิ่งแวดล้อมทำให้หลง ดุจ ปลาที่มองไม่เห็นน้ำทั้งที่มีน้ำอยู่รอบตัวแล]

๑.๑ งานขนส่งสินค้าของสหรัฐอเมริกา

นักเศรษฐศาสตร์การเงินผู้เข้าใจกรณีนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาชื่อ วอเร็น บัฟเฟทต์ (Warren Buffet) ได้ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุนในกิจการของบริษัทขนส่งสินค้าระบบรางชื่อเบอร์ลิงตันนอร์ทเทิร์นซานตาเฟ่ (Burlington Northern Santa Fe, BNSF) ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา ด้วยการซื้อหุ้นใหญ่เป็นจำนวนเงิน ๒๖.๔ พันล้านเหรียญ ($ 26.4 billion) และ ชำระหนี้ให้อีกต่างหากประมาณ ๑๐ พันล้านเหรียญ โดยผ่านบริษัทลงทุนของเขาชื่อ เบิร์กไชร์แฮตอเวย์ (Berkshire Hathaway) การลงทุนนี้ได้สร้างความมั่นใจให้อุตสาหกรรมการขนส่งระบบรางไปทั่วโลก

จากตัวเลขของบริษัทเบอร์ลิงตันนอร์ทเทิร์น ฯ ในปี ค.ศ.๒๐๐๙ ที่ผ่านมามีรายได้ ๑๔ พันล้านเหรียญ เป็นที่สองรองจากบริษัทยูเนียนแปซิฟิค (Union Pacific, UP) ซึ่งมีรายได้ ๑๔.๑ พันล้านเหรียญ ($ 14.1 billion revenues) บริษัทยูเนี่ยนแปซิฟิค มีรางรวมกันเป็นระยะทางประมาณ ๓๒,๐๐๐ ไมล์ เดินรถสินค้าใน ๒๓ รัฐทางแถบตะวันตกของรัฐมิสซิสซิปปี้ (Mississippi) มีหัวจักรรถสำหรับลากจูง (locomotives) 8,350 หัว มีตู้สินค้า (freight cars) 83,197 ตู้ สินค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตผลสินค้าเกษตร เช่น ผัก ผลไม้สด ข้าว ข้าวโพด ถั่วทุกชนิด วัสดุก่อสร้าง เช่น หิน กรวด ทราย เศษเหล็ก เศษโลหะ ไม้ท่อน ไม้ซุง เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องจักรพลังงานลม ถ่านหิน และ สินค้าอุปโภค บริโภค อื่นๆ ภายใต้คำขวัญว่า เพื่อสร้างอเมริกา (Building America) รถสินค้าของยูเนี่ยนแปซิฟิค แต่ละขบวนจะยาวมาก เฉลี่ยประมาณ ๒ กิโลเมตร ทุกขบวนถูกควบคุมด้วยระบบสัญญาณนำร่องจากดาวเทียมจีพีเอส (GPS) ที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและติดตามการเดินทางของแต่ละขบวน โดยมีรางวัลเป็นเงินให้พนักงานควบคุมรถในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

มีสถิติเทียบกับการขนส่งทางถนน ระบบรางขนได้ร้อยละ ๔๓ ของสินค้าทั้งประเทศ คำนวณเป็นจำนวนตันของสินค้าในระยะทาง ๑ ไมล์ (ton-miles) จะใช้พลังงานเพียงร้อยละ ๗ ของพลังงานที่ใช้ขนส่งสินค้าทั้งหมด

เทียบกับการขนส่งโดยรถบรรทุก ซึ่งมีปริมาณรวมกันร้อยละ ๓๑ แต่ใช้พลังงานมากถึง ร้อยละ ๖๖

คำนวณแล้ว ระบบรางขนสินค้าหนัก ๑ ตันในระยะทาง ๔๓๕ ไมล์ จะใช้น้ำมันดีเซล เพียง ๑ แกลลอนเท่านั้น

อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระบบรางมีส่วนช่วยพยุงสถานะทางเศรษฐกิจในการจ้างงานประมาณ ๑๕๒,๐๐๐ คน เป็นลูกจ้างของบริษัทรถไฟขนส่งสินค้า ในจำนวนนี้ ประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน อยู่ในรัฐเท๊กซัส ซึ่งมีระยะความยาวของรางประมาณ ๑๐,๘๐๐ ไมล์

๑.๒ งานขนส่งสินค้าของรัสเซีย

สหภาพโซเวียต (Russian Federation) มีรถไฟขนส่งสินค้าเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติอย่างมาก รถไฟของรัสเซียมีอายุ กว่า ๑๗๐ ปี เป็นองค์กรของรัฐ (Russian Railways) มีราง ๘๕,๕๐๐ กิโลเมตร ผ่าน ๑๑ เขตของเวลาที่ต่างกัน (Time Zones) ตั้งแต่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบอร์ก (St. Petersburg) ผ่าน กรุงมอสโคว์ ที่อยู่ทิศใต้ ไปด้านตะวันออกมีสายแยกเข้าจีน และ ต่อไปจนถึงเมืองวลาดิวอสต๊อก (Vladivostok) ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่สุดด้านตะวันออกของประเทศ รัสเซียมีตู้ขนสินค้า ๖๒๔,๙๐๐ ตู้ มีตู้โดยสารประมาณ ๔๐,๐๐๐ ตู้ สินค้าที่ขนระหว่างยุโรป รัสเซีย และ จีน รวมทั้งแถบตะวันออกของประเทศผ่านไซบีเรีย (Trans - Siberian Railway) มีทุกชนิด รวมไปถึง แร่ธาตุต่างๆ เช่น นิเกิ้ล โคบอลท์ เพชร และ ถ่านหินจากเหมืองในแถบ โนโวคุชเน็ช (Novokuznetsk) ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยประมาณ ๓ พันล้านตันต่อปี

การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าของการรถไฟรัสเซียปัจจุบันอยู่ในระยะปรับปรุง ทุกขบวนจะมีใบกำกับสินค้าระบุประเภทสินค้า ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ เก็บข้อมูลและติดตามโดยระบบสื่อสารสายส่งสัญญาณไยแก้ว (Fiber Optic) ติดต่อกันระหว่าง ๑๗ ศูนย์ข้อมูลทั่วประเทศ ซึ่งช้าและขาดประสิทธิภาพ การรถไฟรัสเซียจึงได้ตกลงจ้างบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) จากเมืองอาร์

มองค์ นิวยอร์ก (Armonk, New York) สหรัฐอเมริกา ให้ออกแบบ ผลิตอุปกรณ์ สร้างระบบ จัดการบริหาร ดำเนินการปฏิบัติงานขององค์กรทั้งหมด รวมถึงการจ่ายเงินเดือนแก่พนักงาน ออกตั๋วให้ผู้โดยสาร ซึ่งมีจำนวนรวมกันประมาณ ๒.๖ ล้านคน ติดตั้งอุปกรณ์ (Hardware) เขียนโปรแกรม (Software) ทดสอบ ควบคุมการดำเนินงาน (Operations) ทั้งหมด โดยกำหนดการออกแบบ ติดตั้ง ให้แล้วเสร็จใน ค.ศ. ๒๐๑๔

สถิติของไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ขนสินค้าร้อยละ ๒ ของการขนส่งทั้งหมด

๒.๐ งานขนส่งผู้โดยสาร

เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีพิธีฉลองครบปีที่ ๑๗๕ ของการเดินรถไฟระหว่าง

กรุงบรัสเซลล์ (Brussels) และเมืองเมคเคเลน (Mechelen) ในสหภาพยุโรป ที่เริ่มเป็นแห่งแรกมีระยะทาง ๒๓ กิโลเมตร และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกันนั้น ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการเดินรถขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ (Baltimore, Maryland) และ รัฐโอไฮโอ กับ กรุงวอชิงตัน ดีซี การขนส่งผู้โดยสารระบบรางได้พัฒนาตนเองต่อเนื่องตลอดมา จนปัจจุบัน

เกือบทุกประเทศทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญในการขนส่งผู้โดยสารระบบรางด้วยตระหนักว่าจะเป็นการขนส่งที่สนองนโยบายเศรษฐกิจระยะยาวที่ยั่งยืนโดยจัดให้มีการรับส่งผู้โดยสารให้ครบวงจรของการเดินทาง จากบ้าน ไปโรงเรียนและที่ทำงาน ในชุมชนเมือง และ ชนบท ระหว่างเมือง และ ระหว่างประเทศ ด้วยเชื่อว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง ลดปัญหาโลกร้อน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรทุกระดับ

สถิติของไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ขนผู้โดยสารร้อยละ ๖ ของผู้โดยสารทั้งประเทศ

๒.๑ ผลกระทบจากยานยนต์

ในระยะกลางศตวรรษที่ ๒๐ ได้มีเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของธุรกิจยานยนต์ หลายประเทศรวมทั้งไทย พยายามที่จะเลิก หรือลดการสนับสนุนการขนส่งระบบราง ด้วยถือเป็นการแย่งพื้นที่บนถนนจากรถยนต์ และ เห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย แต่หลายประเทศยังมีวิสัยทัศน์ได้พยายามปรับปรุง พัฒนา ให้ระบบรางของเขาทันสมัย ตอบสนองผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟขนสินค้า รถไฟฟ้าในเมือง รถไฟชานเมือง หรือ รถไฟฟ้าความเร็วสูง และจวบจน ณ วันนี้ เห็นได้ชัดว่า การขนส่งระบบรางนั้นน่าจะเป็นคำตอบสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน

๒.๒ บทพิสูจน์

กลางเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ไม่นานมานี้ ทั้งโลกได้เห็นคุณค่าของการขนส่งระบบรางอย่างแจ่มชัด เมื่อน่านฟ้าในภาคพื้นยุโรปและเอเชียตะวันตกถูกปิดด้วยควัน และ เถ้าถ่านที่เกิดจากการประทุของภูเขาไฟในประเทศไอซแลนด์ (Volcanic Eruption in Iceland) สายการบินและท่าอากาศยานของกว่า ๓๐ ชาติรวมประเทศไทย ได้รับผลกระทบ เป็นขณะช่วงวันหยุดของเทศกาลอีสเตอร์ ผู้โดยสารหลายล้านคนถูกบังคับให้เปลี่ยนจากการเดินทางทางอากาศเป็นทางบกโดยเฉพาะระบบรางของรถไฟฟ้าความเร็วสูง ในภูมิภาคยุโรปและรัสเซีย ระหว่างวันสุดสัปดาห์ที่ ๑๖ – ๑๗ เมษายน ๒๕๕๓ นั้นมีรายงานว่า เส้นทางระหว่าง ลอนดอน ปารีส และบรัสเซลล์ มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง ๑๖๕,๐๐๐ คน ทำให้บริษัทรถไฟยูโรสตาร์ (Eurostar) ต้องเพิ่มบริการมากขึ้น ถึง ๓๓ ขบวน และ เป็นที่น่าเสียดายว่าสหภาพแรงงานรถไฟฝรั่งเศส (SNCF) ที่ให้บริการรถไฟความเร็วสูง ทีจีวี (TGV) ผู้ทำสถิติ ๕๗๔ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้มีการนัดหยุดงานประท้วงในขณะนั้นจึงทำให้เสียโอกาส สร้างภาพทางลบให้แก่องค์กรเป็นอย่างมาก

สำหรับรถไฟของรัสเซีย (RZD’s Federal Passenger Company) นั้น มีรายงานว่า ผู้โดยสารเดินทางผ่านเข้าออกประเทศเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งหมื่นคน

๓.๐ รถไฟความเร็วสูง

เป็นที่แน่นอนแล้วว่ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจการขนส่งในอนาคตนั้น คือประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการระบบราง ไม่ว่าจะเป็นการขนสินค้า หรือ บริการสำหรับผู้โดยสาร การขนส่งระบบรางนั้นเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำ ลดมลพิษ ประสิทธิภาพสูง เคลื่อนย้ายคนได้จำนวนมากมาก ที่รัฐบาลเกือบทุกประเทศเห็นความสำคัญให้การพัฒนาอย่างเร่งรีบ

๓.๑ ประเทศจีน

กระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railway, MOR) รายงานว่า อีก ๑๐ ปี ใน ค.ศ. ๒๐๒๐ จะมีรางรถไฟสำหรับผู้โดยสารโดยเฉพาะ (Passenger Dedicated Lines, PDL) เพิ่มจาก ๘๖,๐๐๐ กิโลเมตร เป็น ๑๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร และ ในจำนวนนั้นประมาณ ๑๓,๐๐๐ กิโลเมตรจะเป็นการให้บริการของรถไฟที่มีความเร็ว ระหว่าง ๒๕๐ ถึง ๓๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ อีกประมาณ ๑๖,๐๐๐ กิโลเมตร จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการขนผู้โดยสาร (Throughputs) โดยเพิ่มตู้โดยสาร และเพิ่มความถี่ของการบริการ โครงการเหล่านี้ระบุไว้ในแผนของงบประมาณจำนวน ๓๐๐ พันล้านเหรียญ ($ 300 billion) ของประเทศ

ณ วันนี้ ประเทศจีนมีรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการ รวมแล้ว ๖๕๕๒ กิโลเมตร รวมเส้นทางระหว่างกรุงปักกิ่ง และเทียนสิน (Beijing – Tianjin) เชงโจวและชีอาน (Zhengzhou – Xi’an) และ ระหว่าง วูแฮนกับกวางเจา (Wuhan – Guangzhou) ระยะทาง ๑๐๖๘ กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงระยะทางไกลที่สุดสำหรับบริการรถไฟความเร็วสูง

นับตั้งแต่การเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงระบบแม่เหล็ก (Magnetic Levitation, Maglev) ที่เปิดให้บริการระหว่างเมืองเซี่ยงไฮ้และสนามบินผู่ดองใน ค.ศ. ๒๐๐๒ แล้ว การรถไฟความเร็วสูงของจีน (China Rail High Speed, CRH) ได้มองเห็นหลายปัญหาของระบบแม่เหล็ก จึงได้ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนากลับมาเป็นระบบรถไฟล้อเหล็กรางเหล็ก (Conventional Rail System) โดยมีแผนแม่บทในการสร้างโครงข่ายการขนส่งผู้โดยสารเป็นระบบรางให้เชื่อมต่อกันเป็นระบบความเร็วสูง (High Speed) ความเร็วปานกลาง (Intercity and Commuter Rails) ระบบรางในเมือง (Tram, Trolley, Metro Rail and Rapid Transit Rail Systems) ทั่วประเทศ โดยมีสายหลักหลายเส้นทาง เช่น

สายปักกิ่ง - ฮาร์บิน (Beijing-Harbin) โดยผ่านเมืองฟูชิน และ เช็นหยาง (Fuxin and Shenyang)

สายปักกิ่ง - เซี่ยงไฮ้ ผ่านเมืองเทียนสินและนานจิง (Tianjin, Nanjing) ให้มีกำหนดแล้วเสร็จใน ค.ศ. ๒๐๑๒

สายปักกิ่ง - ฮ่องกง ผ่านเมืองเฉ็งโจว กวางเจา เสนเจ้น (Zhengzhou, Guangzhou, Shenzhen)

สายเซี่ยงไฮ้ - เสนเจ้น

สายเซี่ยงไฮ้ - เช็งดู (Shanghai – Chengdu) ผ่านเมืองนานจิง และ จงกิง (Nanjing, Chongqing)

สายชิงเด่า - ไต้หย่วน (Qingdao – Taiyuan) ผ่านเมืองใจนาน (Jinan)

สายเซี่ยงไฮ้ - คุนหมิง (Shanghai – Kunming) ผ่านเมือง หางโจว (Hangzhou) และ

สายซูโจว - ลังโจว (Xuzhou – Lanzhou) ผ่านเมืองชีอาน (Xi’ an)

เมื่อทุกสายเปิดให้บริการทั้งหมดจะต้องการรถอย่างน้อยที่สุด ๕๒๖ ขบวน ตู้โดยสารประมาณ ๔๕๐๐ ตู้

รถไฟความเร็วสูงของจีนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟจีน (China Railways, CR) ซึ่งมอบความรับผิดชอบให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงของรัฐชื่อ ซีอาร์เฮช (China Railway High Speed, CRH) เป็นภาษาจีนว่าเฮซี่เห่า (Hexie Hoa) หมายถึงความกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม (harmony)

การรถไฟความเร็วสูงของจีน ได้รวมข้อดีของทุกระบบ เช่น ของญี่ปุ่น (Shinkansen, Kawasaki) และ ของยุโรป เช่น ซีเมนส์ (Siemens) บอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) อัลส์ตอม (Alstom) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถความเร็วสูงต่างๆ เช่น ทีจีวี (TGV) เรจินา (Regina) เวลาโร่ (Velaro) และ เพนโดลิโน (Pendolino) ที่ให้บริการอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก ให้เข้ามาร่วมธุรกรรมการผลิตรถและอุปกรณ์รถไฟฟ้าในประเทศกับจีน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี่นำสมัย เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก มีเอกลักษณ์ของตนเองโดยใช้ชื่อบริษัทว่า ซีเอสอาร์ (CSR Corporation Limited) สำนักงานใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง กำหนดข้อจำกัดใหม่ (specifications) ให้เหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพของการบริการ เป็นขบวนละ ๘ ตู้ และ ๑๖ ตู้ บางตู้มีมอร์เตอร์ขับเคลื่อนของตนเอง บางตู้ต้องถูกลากจูง มีตู้โดยสารสำหรับนั่ง และนอน ให้เลือกตามฐานะทางเศรษฐกิจ และการเดินทาง ทุกขบวนใช้รางกว้างขนาดมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร ขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์รับกระแส แพนโตกร๊าฟ (pantograph) จากสายส่ง (catenary) กระแสไฟสลับ ๒๕ กิโลโวล์ท ๕๐ เฮิร์ซ (25 kV. 50 Hz.) ที่ขึงระหว่างเสาเหนือหลังคารถ การก่อสร้างของทุกสายได้ดำเนินไปพร้อมกันทั่วประเทศ หลายสายได้แล้วเสร็จ บางสายอยู่ในระยะทดลองรถ ความปลอดภัยของอุปกรณ์ ทยอยเปิดให้บริการเป็นช่วงๆ เมื่อครบแล้วเสร็จตามแผนแม่บทที่กำหนดไว้ใน ค.ศ. ๒๐๒๐ ประเทศจีนจะเป็นมหาอำนาจของโลกการขนส่งรถไฟความเร็วสูง และ ระบบรางที่มีประสิทธิภาพ

๓.๒ สหรัฐอเมริกา

จากการศึกษาของสมาคมการขนส่งสาธารณะของสหรัฐอเมริกา (American Public Transportation Association, APTA) พบว่า รถไฟความเร็วสูงจะประหยัดเชื้อเพลิงต่อคนมากกว่าการขนส่งโดยรถยนต์ เกินหกเท่า และ ปล่อยไอเสียเพียงร้อยละ ๑๓ ของไอเสียทั้งหมด และพบว่า รถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดปริมาณความหนาแน่นของผู้โดยสารในท่าอากาศยาน ๒๖ แห่ง และจะสามารถแบ่งผู้โดยสารได้ถึงร้อยละ ๕๐ ในระยะทาง ๕๐๐ ไมล์ และ ระบบรางให้ความปลอดภัยสูง สถิติใน ค.ศ. ๒๐๐๘ ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ๔๓,๐๐๐ คน และ ไม่มีผู้เสียชีวิตจากระบบราง

๓.๒.๑ รถไฟโดยสารของสหรัฐอเมริกา

แอมแถร็ก (Amtrak)

มีชื่อเต็มว่าบริษัทรถไฟขนส่งผู้โดยสารแห่งชาติ (National Railroad Passenger Corporation) เป็นกิจการของรัฐ (Government - Owned Corporation) ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๗๑ เพื่อให้บริการการขนส่งผู้โดยสารระบบราง มีพนักงานประมาณ ๑๙,๐๐๐ คน ให้บริการ ๕๐๐ สถานี ใน ๔๖ รัฐ และ ๓ เมืองในแคนาดา รวมระยะทางประมาณ ๓๔,๐๐๐ กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรางของบริษัทรถไฟขนส่งสินค้า ใน ค.ศ. ๒๐๐๘ ขนผู้โดยสาร ๒๙ ล้านคน

๓.๒.๒ รถไฟความเร็วสูงในสหรัฐอเมริกา

มีเพียงสายเดียว ชื่อว่า อเซล่าเอ๊กเพรส (Acela Express) เป็นของแอมแถร็ก วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ๒๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เฉลี่ย ๑๒๙ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระหว่างเมืองบอสตัน รัฐแมสสาชูเสสท์ (Boston, MA) กับ กรุงวอชิงตัน ดีซี (Washington, DC) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ (Northeast Corridor) ระยะทาง ๗๓๔ กิโลเมตร ๑๔ สถานี มีผู้โดยสารเฉลี่ย ๘,๓๐๐ คน ต่อวัน ใช้เวลาเดินทาง ๗ ชั่วโมง เริ่มโครงการใน ค.ศ. ๑๙๙๖ โดยกิจการร่วมค้าของบริษัทบอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) และบริษัทอัลสตอม (Alstom) ใช้รถคล้ายกับทีจีวี (TGV) ในฝรั่งเศส มีปัญหาเรื่องขาดทุน ต้องรับการสนับสนุนจากรัฐตลอดมา ใน ค.ศ. ๒๐๐๙ มีผู้โดยสารมากกว่า ๓ ล้านคน สามารถทำกำไรได้ในส่วนของตนเอง

๓.๒.๓ ศักราชใหม่ของรถไฟความเร็วสูง

ในการปราศรัยต่อสภาและประชาชนครั้งแรก (First State of Union Address) เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ประธานาธิบดีโอบาม่า ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเริ่มปรับปรุงโครงสร้างการขนส่งพื้นฐานของชาตินับตั้งแต่รางรถไฟไปถึง ถนน ทางด่วน เพื่อเป็นการสร้างงาน และ เป็นการแข่งขันในอนาคตที่ยั่งยืนจึงได้จัดสรรงบประมาณ ๘ พันล้านเหรียญเพื่อการเริ่มงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ รวมอยู่ในกฎหมายเพื่อ ซ่อม สร้าง ลงทุนใหม่ ของประเทศ (The American Recovery and Reinvestment Act, ARRA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ งบประมาณนี้ถือเป็นการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งคมนาคมก้อนใหญ่ที่สุดนับจากที่สมัยประธานาธิบดีไอเซ่นฮาวเว่อร์ (Dwight Eisenhower) ได้อนุมัติงบลงทุนสร้างถนนและทางด่วนเพื่อยุทธศาสตร์ทั่วประเทศ

ระบบรางของสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้การกำกับนโยบาย แผน ความปลอดภัย และงบประมาณ ของหน่วยงานสองแห่งคือ สำนักบริหารกิจการรถไฟฟ้าในเมือง เอฟทีเอ (Federal Transit Administration, FTA) และ สำนักบริหารกิจการรถไฟ เอฟอาร์เอ (Federal Railroad Administration, FRA) ทั้งสององค์กรอยู่ในการกำกับของกระทรวงการขนส่ง (Dept. of Transportation, DOT) สำหรับรถไฟความเร็วสูงนี้จะอยู่ในความดูแลกำกับของสำนักบริหารกิจการรถไฟ

มีรายงานว่าสำนักบริหารกิจการรถไฟ เอฟอาร์เอ ของรัฐบาลกลาง ได้รับการเสนอเพื่อขอรับการช่วยเหลือสร้างรถไฟความเร็วสูงจาก ๓๔ รัฐ เป็นเงินทั้งหมด ๕๗ พันล้านเหรียญ ($ 57 billion) !!

คาดกันว่าโครงการพร้อมลงทุนที่มีคุณสมบัติตามกรอบที่กำหนดของเอฟอาร์เอ เข้าข่ายดำเนินการได้ทันที คงจะเป็นโครงการที่ได้เริ่มทำการศึกษามาก่อน เกี่ยวกับปริมาณผู้โดยสาร การคุ้มทุน ผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม อยู่ในชุมชนหนาแน่น ระยะทางไกล มีระบบส่งต่อให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ซึ่งคงมีไม่มากนัก เช่น โครงการของรัฐฟลอริด้า (Florida Corridor) ของรัฐนิวอิงแลนด์ (Northern New England) ฝั่งตะวันตกด้านเหนือของรัฐโอเรกอน (Pacific Northwest) กลุ่มใกล้ชิคาโก้ (Chicago Hub) ภาคใต้ของประเทศ (Gulf Coast and South Central Projects) และ โครงการหนึ่งที่ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วกว่า ๑๐ ปี คือ โครงการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California Corridor)

๓.๒.๔ รถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย

โครงการนี้เริ่มโดยประชาชนของรัฐแคลิฟอร์เนียที่ปกติชอบความสะดวกสบาย มีความรักผูกพัน ยึดติดกับรถยนต์ ด้วยเห็นปัญหาใน ๒๐ ปีข้างหน้าว่า จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก ๑๕ ล้านคน รถยนต์จะมากขึ้น น้ำมันจะแพงและหายาก ไม่มีพื้นที่ในการขยายถนนสำหรับเพิ่มช่องจราจรบนทางด่วน ท่าอากาศยานมีพื้นที่จำกัดขยายไม่ได้ หรือ ทำได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก การสร้างระบบรางความเร็วสูงจึงเป็นทางเลือก เช่นตัวอย่าง ในยุโรปและญี่ปุ่น จึงได้ตั้งองค์กรเพื่อศึกษา จัดการ ดำเนินโครงการนี้ มีชื่อว่า การรถไฟความเร็วสูงแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (California’s High Speed Rail Authority, CHSRA) และ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ประชาชนในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ร่วมกันรณรงค์ให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติตามข้อเสนอ (Proposition 1A) ให้ออกพันธบัตรเงินกู้ ๙.๙๕ พันล้านเหรียญสำหรับเป็นทุนสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ($ 9.95 billion in High Speed Rail Bonds) ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีโอบาม่า และ สภาคองเกรสจะลงมติอนุมัติให้งบ ๘ พันล้านเหรียญ ใน ค.ศ. ๒๐๐๙

รถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นโครงการแรกที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลกลางของสหรัฐให้เริ่มงานก่อสร้างได้ โดยมีงบช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ๒.๓ พันล้านเหรียญ ($ 2.3 billion federal grant) สมทบกับ ๑๐ พันล้านเหรียญที่จะได้จากการขายพันธบัตรเงินกู้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย การรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนียจึงดำเนินการจ้างบริษัทที่ปรึกษา กำหนดเปิดประมูลงานก่อสร้าง ทาง ฐานรองรับ และ ราง สำหรับช่วงแรก (Phase 1) ใน ค.ศ. ๒๐๑๒ เป็นระยะทาง ๗๐๐ กิโลเมตร ระหว่างเมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco) และ เมืองลอสแองเจลีส (Los Angeles) หลังเสร็จการประชาพิจารณ์แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๑๑ จากระยะทางของโครงการทั้งหมดประมาณ ๑๓๐๐ กิโลเมตร ระหว่างเมืองแซกคราเมนโต้ (Sacramento) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ อยู่ทางเหนือและ เมืองซานดิเอโก้ (San Diego) ซึ่งอยู่ทิศใต้สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อแล้วเสร็จจะใช้เวลาเดินทาง เพียง ๓ ชั่วโมงครึ่ง ด้วยความเร็วสูงสุด ๓๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง คำนวณว่าใน ค.ศ. ๒๐๓๐ จะมีผู้ใช้บริการ ๑๑๗ ล้านคน

๔.๐ สำหรับประเทศไทย

เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hub) ในการคมนาคมขนส่งทางถนน ที่สามารถขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า ลาว เขมร และมาเลเซีย ได้ มีถนนหลัก (Asian Highways) ผ่านประเทศ สองสาย สายตะวันตก - ตะวันออก และสายเหนือ - ใต้ ตัดกันเป็นชุมทาง (Junction) ที่จังหวัดพิษณุโลก

๔.๑ การขนส่งระบบรางของไทย

การขนส่งระบบรางของประเทศอ่อนแอ อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการ การแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลเห็นปัญหาและได้อนุมัติงบประมาณหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นล้านบาท เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา โครงสร้าง อุปกรณ์ และ ระบบขององค์กร

มี ๓ องค์กร เป็นหน่วยปฏิบัติการ คือ

การรถไฟแห่งประเทศไทย, รฟท. ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการรถไฟฟ้าสายสนามบินสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ซึ่งถือเป็นการให้บริการระบบรางชานเมือง (commuter rail system)

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, รฟม. ซึ่งเป็นผู้ควบคุมให้สัมปทานการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินของบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) และ

กรุงเทพมหานคร,กทม ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานการเดินรถไฟฟ้าบนทางยกระดับของบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ซึ่งถือเป็นการขนส่งผู้โดยสารระบบรางในเขตชุมชนเมือง (metro rail transit system)

ทุกองค์กรและหน่วยงาน ต่างก็เป็นอิสระ มีมาตรฐาน และ คู่มือปฏิบัติการ (operations) ของตน ขาดหน่วยงานอิสระตามหลักวิชาชีพที่จะกำหนดมาตรฐานการให้บริการ การบูรณาการ การประเมิน ตรวจสอบคุณภาพ และ ความปลอดภัย

๔.๒ ปัญหาความกว้างของราง

รถไฟฟ้าสายสนามบินสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) รถไฟฟ้าใต้ดินของรถไฟฟ้ากรุงเทพ (Metro) และ รถไฟฟ้ายกระดับ บีทีเอส (metropolitan railway) ต่างก็ใช้รางกว้างขนาดมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร (standard gauge) ในขณะที่รางของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นกว้าง ๑ เมตร (meter gauge)

รัฐบาลมีดำริที่จะขอความช่วยเหลือจากจีนในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง รวมทั้งเชื่อมต่อกับรางกับรถไฟของจีน เพื่อที่จะเป็นโครงข่าย ขยายเส้นทางจากจีน ผ่านประเทศไทยลงไปถึงแหลมมลายู แต่เนื่องจากความแตกต่างของขนาดความกว้างของราง จึงไม่สามารถจะใช้รางร่วมกัน เช่น หลายประเทศในยุโรปได้

๔.๓ การรถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศไทย (High Speed Train Authority of Thailand)

เพื่อตามให้ทันตลาดและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รัฐบาลไทยคงไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องลงทุน สร้างองค์กรใหม่ พัฒนารถไฟความเร็วสูงให้มีรางเป็นขนาดมาตรฐานกว้าง ๑.๔๓๕ เมตรซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับรถไฟความเร็วที่สูงกว่า ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อรับกับเทคโนโลยี่มาตรฐานเฉพาะทางที่มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง เช่น ตัวรถเอียงได้เมื่อเข้าโค้ง (tilting trains) เพิ่มความเร็ว ความปลอดภัย และ ความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง

๔.๔ สถาบันระบบราง (Rail Transportation Commission / Authority)

คงไม่สายเกินไปที่ประเทศไทยจะตั้งองค์กร หน่วยงานระบบราง (Rail Institute, Authority) โดยเฉพาะ เพื่อกำกับ ดูแล (Regulate) ควบคุมค่าโดยสาร สร้างมาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ และ ความปลอดภัย จัดให้มีการประสานส่งต่อผู้โดยสาร ให้ความสะดวก รวดเร็ว สูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ การพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ตั๋วต่อตั๋วร่วม รวมทั้งงานด้านเทคโนโลยีระบบรางใหม่ๆ การศึกษา ค้นคว้า วิจัย (Think Tank) ที่นำผลไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติ สร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สามารถเป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน ทางเทคโนโลยี่การขนส่งระบบราง โดยไม่ต้องจ้างชาวต่างประเทศ และ

สำคัญสุด เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ประชาชนทราบว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้เงินงบประมาณจากภาษีอากรและเงินกู้ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะจำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล อย่างมีประสิทธิภาพไม่รั่วไหล และ ได้ประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 11/08/2010 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

^
ผมติดตามอ่านบทความของคุณสมเกียรติ พงษ์กันทา มาหลายครั้งแล้ว
เป็นประโยชน์กับการพัฒนาระบบรางเป็นอย่างมาก อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ
และบทความนี้เป็นบทความที่ทันสมัยน่าอ่านมากๆครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 6 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©