RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258530
ทั้งหมด:13569807
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
dueramae
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/02/2010
Posts: 18
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

PostPosted: 20/09/2010 12:13 am    Post subject: Reply with quote

สวัสดครับพี่น้อง ช่วงนี้งานเยอะมาก ถึงมากที่สุด(แฮะ แฮะ รับหลายจ็อบ) ก็เลยไม่ค่อยมีเวลามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ
วันนี้มีโอกาสดี เลยเอาข่าวมาฝากครับ
ผมเขียนเอง เอาลงหนังสือพิมพ์ทางไทที่หาดใหญ่แล้วครับ พูดถึงท่าเรือปากบารา กับท่าเรือนาเกลือด้วย

ผมเขียนหลายกรอบ เลยเอามายำเป็นชิ้นเดียว ข้อมูลล้วนๆ อ่านแล้วตาลาย ก็ขออภัยด้วยน่ะขอรับ เริ่มจากภาพนี้ก่อน

เป็นภาพแสดงแนวก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา (เส้นประ)

ภาพจากเอกสารโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บริเวณอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย – เมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ระยะที่ 2

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website AIM Address Yahoo Messenger MSN Messenger
dueramae
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/02/2010
Posts: 18
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

PostPosted: 20/09/2010 12:23 am    Post subject: Reply with quote

ส่วน เนื้อหา ก็ตามนี้เลยครับ

......

ผุดถนนหมื่นล้านภาคใต้
ADBชี้อนาคตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ADBชี้อนาคตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ทบทวนโรดแมป IMT – GT กลั่นเหลือ 10 โครงการเร่งด่วน รวมมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ 2 เมกะโปรเจกส์ในไทยติดโผ มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ชายแดนมาเลเซียราคาหมื่นล้าน รับเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดามหานคร ท่าเรือน้ำลึกปากบาราหลุด รอผู้นำ 3 ประเทศเห็นชอบในคราวประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เวียดนาม


เมื่อเอ่ยถึง IMT - GT หลายคนคงจะรู้ว่าคือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย แต่ก็คงไม่เคยเห็นว่า IMT - GT ทำอะไรบ้าง แต่นับจากนี้ เชื่อว่าคนไทยโดยเฉพาะคนภาคใต้จะเข้าใจมากขึ้น

ด้วยเพราะจะมีโครงการอันเป็นรูปธรรมตำตาเกิดขึ้นในอีกไม่นาน นั่นคือ โทลเวย์หาดใหญ่ – สะเดา มูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท

โทลเวย์ หรือทางด่วนหาดใหญ่ – สะเดา เป็น 1 ใน 10 โครงการเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค (Priority Connectivity Projects: PCPs) ที่ ADB หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย พร้อมให้การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับประเทศเจ้าของโครงการ ภายใต้กรอบความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย หรือ Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle: IMT-GT

ความเคลื่อนไหวสำคัญของ IMT-GT ที่ทำให้มองเห็นการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นครั้งนี้ อยู่ที่การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 17 และระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ 7 แผนงาน IMT-GT ระหว่างวันที่ 3 - 5 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

เมื่อ ADB หรือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ได้นำเสนอผลการทบทวนกลางทางของแผนที่นำทาง หรือ โรดแมป IMT-GT ปี 2007 – 2011 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา โดยผลการประชุมครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำ IMT-GT ครั้งที่ 5 ที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามปลายปีนี้

จาก 37 โครงการ กลั่นลงมาเป็น 12 แผนงาน จนในที่สุดก็เหลือ 10 โครงการ

ในจำนวน 10 โครงการดังกล่าว แบ่งเป็นโครงการในประเทศไทย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์หรือโทลเวย์หาดใหญ่ – สะเดา จังหวัดสงขลา โดยมีวงเงินที่ ADB พร้อมสนับสนุนสูงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 9,000 ล้านบาท

ขณะที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรี IMT – GT กล่าวว่า โทลเวย์สายสะเดามายังหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่พูดกันมานานแล้ว และเป็นความต้องการร่วมกันของทั้งสามประเทศ คือ ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย จึงถูกนำมาบรรจุไว้ในโครงการที่มีความเป็นไปได้สูง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแล้ว

พร้อมกับย้ำว่า ความเป็นไปได้ของโครงการนี้ก็คือ จะเป็นการจัดงบประมาณของฝั่งไทยเอง ขณะนี้กรมทางหลวงอยู่ในระหว่างทบทวนเรื่องการศึกษาออกแบบ คิดว่าทุกอย่างจะชัดเจนและตั้งงบประมาณสนับสนุนก้อนแรกได้ภายในปีงบประมาณ 2555

“โทลเวย์เส้นนี้ มีความยาวเกือบร้อยกิโลเมตร ใช้เงินประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9 พันกว่าล้านบาท น่าจะเป็นโทลเวย์ที่แพงที่สุดในประเทศไทย” นายสาทิตย์ กล่าว

ไม่เพียงแต่โทลเวย์หาดใหญ่ – สะเดาเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าทางด้านการพัฒนาของพื้นที่ตามแนวเส้นทางนี้ไป แต่ยังเรื่องการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดาด้วย

เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ จะใช้รูปแบบเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก – เมืองเมียวดี ประเทศพม่า ปัจจุบันมีการร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดออกมาแล้ว กำลังรอนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรอยู่

เนื่องจากก่อนหน้านี้ เมื่อปลายปี 2552 สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ร่วมกับสำนักงานวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บริเวณอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย – เมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ระยะที่ 2

โครงการศึกษาดังกล่าว สภาพัฒน์ ได้ว่าจ้างบริษัท โซซิโอ – เอคโคโนมิค คอนซัลแตนส์ จำกัดเป็นที่ปรึกษา ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 6 แห่ง โดยชี้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด คือ พื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย บ้านทับโกบ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา เนื้อที่ 990 ไร่

โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวจะประกอบด้วยพื้นที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป อุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมยานยนต์ สถานศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สถานีขนส่งสินค้า คลังสินค้า หรือ Inland Container Depot (ICD) ธุรกิจการให้บริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมอาหารและบริการฮาลาล

ที่สำคัญพื้นที่ทับโกบ ตั้งอยู่ใกล้แนวมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา ตามที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2548

ส่วนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนฝั่งเมืองบูกิตกายูฮิตัม ทางมาเลเซียได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักทางด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านบาท ปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลกว่าของไทยแล้ว

ขณะเดียวกัน ADB ได้บรรจุโครงการพัฒนาระบบศุลกากร หรือ ICQs มูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาไว้ใน 10 โครงการดังกล่าวด้วย

อีกโครงการหนึ่งที่ฝ่ายไทยกำลังเร่งพัฒนาอยู่ คือ การก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ มูลค่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย ที่บ้านจังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาปัจจุบันมีความแออัดมาก

แม้การก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่นี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2545 แล้ว แต่โครงการมีความล่าช้ามาก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องค่าชดเชย เพราะที่ตั้งด่านศุลกากรแห่งใหม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองล่าปัง ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเด เนื้อที่ประมาณ 765 ไร่ ถูกชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางทำสวนยางพาราและไม้ผลจำนวนมาก

เฉพาะงบประมาณลงทุนก่อสร้างโทลเวย์กับด่านศุลกากรกรสะเดาแห่งใหม่มีสูงกว่า 10,000 ล้าน บาท ยังไม่รวมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีกที่จะทำให้เกิดการลงทุนอีกมหาศาล แต่การทุ่มงบประมาณจำนวนนี้น่าจะคุ้มค่ามาก หากเทียบกับมูลค่าการค้าชายแดนในอำเภอสะเดาที่สูงถึง 400,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นได้อีก

ส่วนอีก 1 ใน 10 โครงการที่อยู่ในประเทศไทย คือ โครงการพัฒนาท่าเรือในภาคใต้ของไทย ได้แก่ ท่าเรือภูเก็ตและท่าเรือบ้านนาเกลือ จังหวัดตรัง วงเงิน 28 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 900 ล้านบาท

ส่วนท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูลกับท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่มีหลายฝ่ายออกมาผลักดันอยู่ในขณะนี้ ถูกตัดออกจากโครงการของ ADB ไปแล้ว

นายบุญช่วย จังศิริวัฒนธำรง ประธานสภาธุรกิจชายแดนใต้ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนไทย ภายใต้แผนงาน IMT – GT กล่าวว่า สภาธุรกิจชายแดนใต้เสนอให้โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เข้าไปอยู่ในโครงการเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค (Priority Connectivity Projects: PCPs) ของ ADB ด้วย แต่ ADB ก็ตัดออก

ขณะที่นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส IMT – GT ฝ่ายไทย กล่าวว่า เหตุที่ ADB ตัดโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะเป็นโครงการที่มีความไม่แน่นอนสูง ยังมีการต่อต้านจากชาวบ้านอยู่

ส่วนโครงการอื่นๆ ในจำนวน 10 โครงการ ที่เหลือเป็นของมาเลเซีย 2 โครงการ และของอินโดนีเซียอีก 6 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมเงินมูลค่าทั้ง 10 โครงการเป็นเงิน 5.19 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท

เมื่อโทลเวย์หาดใหญ่ – สะเดา เกิดขึ้นมาแล้ว เชื่อว่าจะพลิกโฉมหน้าการพัฒนาในภูมิภาค IMT – GT ไปอีกระดับหนึ่ง จากนั้นเมกะโปรเจกส์อื่นๆ ก็อาจผุดขึ้นมาตามๆกัน

..............................................
ล้อมกรอบ 1
(เดิมเป็นตาราง ผมทำไม่เป็น เลยจัดมาอย่างนี้ หวังว่าดูออกน่ะครับ)

10 โครงการเร่งด่วนโรดแมปADB

ชื่อโครงการ วงเงินงบประมาณ
(ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา)
อินโดนีเซีย
โครงการพัฒนาท่าเรือสุมาตรา
ประกอบด้วยท่าเรืออูลีหลิว ท่าเรือมาลาฮายาตี
ท่าเรือเบลาวัน และท่าเรือกัวลาอีนก 57.4

โครงการเชื่อมการคมนาคมขนส่งที่หลากหลาย
ตามเส้นทางเศรษฐกิจมะละกา(มาเลเซีย) – ดูไม(อินโดนีเซีย)
ประกอบด้วย ท่าเรือดูไม และถนนสายปือกันบารู – ดูไม 875.2

โครงการทางด่วนสุมาตรา
ประกอบด้วย ทางด่วนปาเล็มบังและอินดารลายา
ทางด่วนสายปาเล็มบัง – บือตง 493.0

โครงการเชื่อมโยงพลังงาน
ระหว่างมะละกา(มาเลเซีย) – ปือกันบารู(อินโดนีเซีย) 300.0
โครงการทางด่วนบันดาร์ลัมปุง – บาเกาเฮนี
(ทางด่วนตะวันตกเชื่อมต่อกับเกาะชวา) 820.0

โครงการพัฒนาทางด่วนบันดา อาเจะห์ – กัวลา ซิมปัง 2,000.0
รวม 4,545.6

มาเลเซีย
โครงการเชื่อมโยงพลังงานระหว่าง
มะละกา(มาเลเซีย) – ปือกันบารู(อินโดนีเซีย) 200.0
โครงการพัฒนาระบบศุลกากร หรือ ICQs
ที่ด่านบูเก็ตกายูฮิตัม ฝั่งตรงข้ามกับด่านสะเดา จังหวัดสงขลา 120.0
รวม 320

ไทย
การพัฒนาท่าเรือในภาคใต้
ประกอบด้วย ท่าเรือภูเก็ต กับท่าเรือบ้านนาเกลือ จังหวัดตรัง 28.0

ทางด่วนระหว่างเมืองหาดใหญ่ – สะเดา 300.0
รวม 328.0

รวมทั้งสิ้น 5,193.6

...................................................
ล้อมกรอบ 2

มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา

โครงการศึกษาเรื่องการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่-ด่านสะเดาระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ แต่มีผลการศึกษาออกมาจริงๆ ในปี 2548 โดยมีวงเงินลงทุนตามผลการศึกษาขณะนั้น มูลค่าประมาณ 10,055 ล้านบาท

นายชูศักดิ์ เสวี ผู้อำนวยการสำนักแผนงานกรมทางหลวง(ทล.) เหตุที่มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดา สายนี้ยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่องจากผลการศึกษาขณะนั้น ระบุว่า ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจึงไม่เร่งผลักดันโครงการ แต่ผลการศึกษาระบุว่า จะเริ่มเห็นผลได้ในปี 2558

“แม้ผลการศึกษาดังกล่าว ระบุว่าจะเห็นผลในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ขณะนี้ได้เริ่มมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่ - ด่านสะเดาแล้ว เพียงแต่ต้องมาวิเคราะห์งบประมาณในส่วนต่างๆ ใหม่อีกครั้งเท่านั้น โดยเฉพาะการเปิดสัมปทานภายใต้งบประมาณการลงทุนระยะเวลา 30 ปี” นายชูศักดิ์ กล่าว

ปัจจุบันสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รื้อแผนโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดาขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปรับระยะทางเป็น 55 กิโลเมตร เพื่อรองรับการจราจรที่แออัดในถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักสายเดียวจากหาดใหญ่ไปยังด่านสะเดา

แม้ สนข.ได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่เส้นทางใหม่ก็ยังผ่านบริเวณนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือนิคมฉลุง อำเภอหาดใหญ่ เชื่อมกับเส้นทางเดิม โดยมีการเสนอให้สร้างอุโมงค์ลอดทางแยกสำคัญๆ

ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ด้วย เนื่องจากด่านพรมแดนไทย – มาเลเซียที่บ้านด่านนอกปัจจุบัน ก็มีความแออัดเช่นกัน

ส่วนข้อมูลโครงการเดิม ระบุว่า การก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายนี้จะลดจุดตัดสำคัญ 3 จุด ในอำเภอหาดใหญ่ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา และที่ด่านสะเดา เพื่อให้รถใช้ความเร็วได้สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียผ่านด่านสะเดา

สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ใกล้กับ ไปสิ้นสุดที่ด่านสะเดาติดกับชายแดนประเทศมาเลเซียระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร มีทั้งส่วนที่เป็นถนนระดับพื้นและทางยกระดับ เขตทางกว้าง 70 เมตร ทิศทางไป-กลับฝั่งละ 2 ช่องจราจร

โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ตำบลฉุลง อำเภอหาดใหญ่ ใกล้ๆ กับที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือ นิคมฉลุง ผ่านพื้นที่ใกล้กับสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เข้าไปในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง แล้วเชื่อมต่อกับถนนกาญจวนิชก่อนถึงด่านสะเดา แต่อาจมีการเปลี่ยนแนวในบริเวณนี้ เพื่อรองรับด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่

ตลอดเส้นจะมีการติดตั้งรั้วกั้นระหว่างทางหลวงพิเศษและทางบริการชุมชนอื่นๆ จะมีการจัดส่วนไว้รองรับบริการ(Service Track) จะมีทางเข้า – ออก บริเวณที่ผ่านพื้นที่ชุมชนและพื้นที่สีเขียวจะต้องมีการเวนคืนบางส่วน

สำหรับวงเงินลงทุนเดิม 10,055 ล้านบาทนั้น แบ่งออกเป็นค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 641 ล้านบาท ค่าออกแบบรายละเอียด 120 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้าง 120 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 6,875 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการโครงการ 1,456 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาประจำปี(รวม 26 ปี) 312 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา (ทุกๆ 7 ปี) 531 ล้านบาท

ระยะเวลาตั้งแต่การออกแบบจนก่อสร้างแล้วเสร็จใช้เวลา 4 ปี และเปิดใช้เส้นทางอีก26 ปี รวมเป็น 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website AIM Address Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2010 6:41 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับคุณดือราแม ที่นำข่าวมาฝากเหมือนเช่นเคย
น่าเสียดายที่ไม่มีรถไฟเข้ามาเกี่ยวข้องเลยในข่าวครั้้งนี้นะครับ Confused

พูดถึงโครงการสร้างท่าเรือที่บ้านนาเกลือ งานนี้เห็นทีจะสร้างทางรถไฟเข้าไปถึงท่าเรือได้ลำบากมาก (ถ้าจะสร้างกันจริง ๆ) โดยเฉพาะการต่อรางจากสถานีกันตังออกไป
เพราะติดปากแม่น้ำแล้ว และเต็มไปด้วยที่ลุ่ม ป่าชายเลน

ก็คงเป็นโครงการท่าเรืออีกแห่ง ที่ไม่มีขนส่งระบบรางเข้ามาเกี่ยวข้องครับ Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2010 10:06 am    Post subject: Reply with quote

^^^
คงเพราะ การขนตู้คอนเทนเนอร์ยังไม่มากพอที่จะต่อรางเข้าท่าเรือ กันตังใหม่ที่บ้านนาเกลือ
ที่ต้องรุกเข้าป่าชายเลนนี่ครับเลยใช้การทำ Container Yard ที่กันตังแทน เพื่อรับตู้คอนเทนเนอร์จากทั้ง 2 ท่าไปก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 20/09/2010 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
^^^
คงเพราะ การขนตู้คอนเทนเนอร์ยังไม่มากพอที่จะต่อรางเข้าท่าเรือ กันตังใหม่ที่บ้านนาเกลือ
ที่ต้องรุกเข้าป่าชายเลนนี่ครับเลยใช้การทำ Container Yard ที่กันตังแทน เพื่อรับตู้คอนเทนเนอร์จากทั้ง 2 ท่าไปก่อน


ที่ท่าเรือคลองเตยก็มีการขนตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าท่าเรือกันตังหลายเท่า แต่ก็ยังโดนรื้อรางที่เข้ามาในท่าเรือทิ้งเลย(เหลือแต่รางที่ผ่านข้างกำแพงท่าเรือ)
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2010 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
นั่นมันเรื่องเกี่ยวกับนโยบายของการท่าเรือ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับกรณีท่าเรือกันตังที่เทศบาลเมืองกันตังเป็นเจ้าของเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2010 5:42 pm    Post subject: ข่าวแห้ง: สิงคโปร์อยู่เบื้องหลังการล้มปากบารา? Reply with quote

อิตาเลียนไทยฮุบ เมกะ 'ทวาย' 4 แสนล้าน
โดย : ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 กันยายน 2553 01:00

อภิมหาโปรเจคในการสร้างประตูการค้า (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกบนอ่าวทวาย ประเทศพม่า ด้วยการสร้างนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึก (Deep Sea Port) แห่งใหม่ในมหาสมุทรอินเดีย แม้หลายคนจะมองว่าเป็น "ฝันกลางวัน" ที่ยากจะเกิดขึ้นได้ในพ.ศ.นี้

ทว่าโปรเจคนี้กลับ "ส่อเค้า" เป็นไปได้ เมื่อรัฐบาลพม่าชุดนี้ "เปิดไฟเขียว" โครงการบนพื้นที่ 4 แสนไร่ (250 ตร.กม.) ซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าการก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท หรือ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท

รัฐบาลไทยเองก็ออกแรงผลักดันโปรเจคนี้เต็มสูบ เห็นได้จากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จัดขึ้นที่หัวหินเมื่อเดือนตุลาคม 2552 นายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลงนามกับพล.อ.เต็ง เซ่ง นายกรัฐมนตรีพม่า เพื่อร่วมผลักดันโครงการนี้ในระดับยุทธศาสตร์ประเทศ

ขณะที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อลงกรณ์ พลบุตร ก็ได้ไปเยือนพม่าพร้อมกับคณะนักธุรกิจ หน่วยงานราชการเป็นรอบที่ 3 เพื่อสำรวจพื้นที่และพบปะกับรัฐมนตรีพม่า

จึงเป็นการสานต่อจากสิ่งที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศเคยลงนามกันไว้ โดยเฉพาะการกล่อมให้รัฐบาลพม่า "ใจอ่อน" ประกาศให้พื้นที่บริเวณอ่าวทวายเป็น "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" เพื่อใช้กฎหมายพิเศษในการกำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ เพื่อดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว

"ก่อน" ที่พม่าจะมีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ในวันที่ 7 พ.ย.2553

เพราะไม่มีใครรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น! ภายหลังการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของพม่า

ลองประเมินสถานการณ์ หากผู้รับเหมาไทยสามารถหยิบชิ้นปลามันโปรเจคยักษ์นี้ได้สำเร็จ นอกจากประโยชน์จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่ว่านี้แล้ว ในแง่ของประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ ในการเข้าใช้พื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมหนักในอนาคต

ความหวังของรัฐบาลชุดนี้ ต้องการผลักดันให้ทวายเป็นเหมือน "ปานามา แลนด์บริดจ์" ที่เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทวายจะทำหน้าที่เป็นแลนด์บริดจ์เชื่อมทวายไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ตามยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน

เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) โลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชีย

อ่าวทวายนั้นมีชัยภูมิที่ดี เพราะเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างสินค้าที่จะผ่านจากตะวันตกสู่ตะวันออก (East-West Economic Corridor, EWEC) โดยที่เรือบรรทุกสินค้าดังกล่าวไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับมหาสมุทรอินเดีย

นอกจากนี้ ยังรองรับสินค้าที่จะผ่านมาจากจีนตอนใต้ไปสู่ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปได้ นี่คือโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนไทย เมื่อเทียบกับนักลงทุนพม่าที่ยังเพิ่งเตาะแตะ

บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD ถือเป็นบริษัทไทยรายแรกๆ ที่มองเห็นโอกาสของโครงการยักษ์แห่งนี้ โดยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (ปี2551) อิตาเลียนไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) กับหน่วยงานของรัฐบาลพม่าเพื่อให้อิตาเลียนไทยเข้าไปศึกษา-สำรวจรูปแบบและศักยภาพของโครงการดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การจัดกรอบการลงนามร่วมกัน (Framework Agreement)

ถ้าไม่มีอะไรผิดแผน "วงใน" ยืนยันว่า จะมีการลงนามใน Framework Agreement อย่างเป็นทางการระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทยกับ Myanmar Port Authority (การท่าเรือพม่า) ปลายเดือนกันยายนนี้ เพื่อเปิดทางให้บริษัทอิตาเลียนไทยเข้าพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสาธารณูปโภคโครงการนี้บนพื้นที่ 4 แสนไร่ (เพียงรายเดียว) ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึกจำนวน 2 ท่า และนิคมอุตสาหกรรม

ดังนั้น หากมีการลงนามเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็น "ประวัติศาสตร์" หน้าสำคัญของอิตาเลียนไทยในฐานะผู้พัฒนาโครงการ (Developer) ที่สามารถคว้าโครงการมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาทมาไว้ในมือ

ถือเป็นมูลค่าโครงการที่ "มากที่สุด" นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2501 หรือ 52 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มต้นจากทุนจดทะเบียนเพียง 2 ล้านบาท

Framework Agreement นี่เอง ที่บอสใหญ่อิตาเลียนไทยอย่างเปรมชัย กรรณสูต ต้องการเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนำไปใช้สร้างความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินให้ปล่อยวงเงินกู้ระยะยาว รวมถึงเหล่าพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ที่จะ "รับช่วง" งานก่อสร้างสาธารณูปโภคต่อจากอิตาเลียนไทย หลังจากที่เปรมชัยรอคอยโปรเจคนี้มาอย่างเสืออดทน

โปรเจคนี้ยังเป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ของชัยยุทธ กรรณสูต ผู้พ่อและผู้ก่อตั้งอิตาเลียนไทย

โดยอิตาเลียนไทยได้เข้าไปทำธุรกิจในพม่ามากว่า 10 ปี มีทั้งธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก เหมืองแร่เหล็ก รวมถึงโรงไฟฟ้า ทำให้มีคอนเนคชั่นกับทางรัฐบาลพม่าพอตัว เป็นเหตุผลให้รัฐบาลพม่าเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ

ศิรพัชร ตฤณวุฒิพงษ์ ผู้ประสานงานโครงการต่างประเทศของอิตาเลียนไทยบอกว่า ภายหลังอิตาเลียนไทยลงนามกับ Myanmar Port Authority ตามเงื่อนไขจะต้องเข้าไปก่อสร้างสาธารณูปโภค 3 ระยะ ภายในเวลา 10 ปี ประกอบด้วย

ระยะแรก (ปีที่ 1-5) จะเป็นการก่อสร้างท่าเรือ 1 ท่า และก่อสร้างถนน 4 เลน (Road Link) เชื่อมจากทวายมายังด่านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 160 กม.

ระยะที่ 2 (ปีที่ 6-10) จะต้องขยายจากถนนเส้นเดิม 4 เลน เป็น 8 เลน พร้อมกับการสร้างท่าเรือเพิ่มอีก 1 ท่า

ขณะที่ระยะที่ 3 จะเป็นเรื่องการเก็บงานในระยะแรกและระยะที่สองให้สมบูรณ์แบบ

โดยในโครงการจะมีนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำพร้อมกับที่พักอาศัยของพนักงาน ตลอดจนการให้บริการด้านเอกสารแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำหรับผู้ขอลงทะเบียน ขอใบอนุญาต รวมถึงการผ่านแดน

ศิรพัชรเล่าว่า ขณะนี้อิตาเลียนไทยได้เข้าไปตั้งสำนักงานชั่วคราวและวางผังโครงการเพื่อกำหนดโซนนิคมอุตสาหกรรมและถนนชัดเจนเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยได้รับการอำนวยสะดวกเป็นอย่างดีจากรัฐบาลพม่าที่ต้องการเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นในเร็ววัน

วงในวงการรับเหมายังบอกว่า หลังจากการลงนาม Framework Agreement แล้ว ตามกำหนดการภายในปลายปี 2553 (ก่อนการเลือกตั้งของพม่า) อิตาเลียนไทยจะต้องลงนามกับหน่วยงานของรัฐบาลพม่า เพื่อประกาศให้พื้นที่อ่าวทวายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็น "ขั้นกว่า" ของความสำเร็จ

เพราะนั่นหมายถึง การที่อิตาเลียนไทย สามารถคว้าสัญญาสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวมาไว้ในครอบครอง ภายใต้ระยะเวลาที่เคยพูดคุยไว้ที่ 70 ปี

เมื่อถึงเวลานั้น ย่อมจะมีภาษีที่ดีพอในการเจรจากับบรรดานักลงทุนไทย-เทศ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ "มากขึ้น"

ทั้งนี้สัญญาที่จะลงนามกับรัฐบาลพม่าจะเป็นลักษณะ Private Agreement ไม่ได้ลงนามกับรัฐบาลไทย แต่อิตาเลียนไทยก็ไม่ต่างจากตัวแทนของรัฐบาลไทย ที่เข้าไปลงทุนในโปรเจคนี้

หลังจากการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว เท่ากับว่าอิตาเลียนไทยจะแปลงตัวเองจากผู้พัฒนาโครงการ เป็น "ผู้ร่วมทุน" ด้วยการตั้งบริษัท Holding Company ขึ้นมาร่วมทุนกับพันธมิตรทันที

ถือเป็นการแบ่งเบาและลดความเสี่ยงทางการเงินที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโปรเจคหลายแสนล้าน และยังเสริมความแข็งแกร่งในการเนรมิตรพื้นที่ขนาดมหึมา ที่อย่างไรเสีย ก็ไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง เนื่องจากตามระเบียบการรับสัมปทานจากรัฐบาลพม่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานจะต้องหาวงเงินค้ำประกันโครงการ 1% ของมูลค่าโครงการ (ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท)

ยิ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าลงทุนสูง การวางเงินค้ำประกันหากไม่บริหารจัดการให้ดี ก็อาจส่งผลกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ได้เช่นกัน

ที่ผ่านมา เปรมชัยจึงเพียรเดินสายโรดโชว์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนหลายชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ให้เข้าร่วมรับช่วงงานสาธารณูปโภค และตัดขายพื้นที่หรือร่วมทุนกับผู้ลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพราะรู้ดีว่า ตัวเองกระเป๋าไม่ตุงพอ

โดยก่อนหน้านี้ มีข่าวว่า นิปปอน สตีล บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการโรงถลุงเหล็ก ขณะที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ก็สนใจร่วมในเมกะโปรเจคนี้เช่นกัน

ยังมีรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีนที่มีแผนจะเข้ามาลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์กำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี และโรงงานเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในท่าเรือทวาย มูลค่าประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาทอีกด้วย

รวมถึงกลุ่มทุนที่ไม่ใช่บริษัทรับเหมาในไทยที่รวมกลุ่มกัน โดยหวังจะเข้ามาร่วมกับโครงการนี้ ก่อนจะรับช่วงงานไปเป็นทอดๆ ให้กับผู้รับเหมาอื่น

สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย อดีตผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ยาวนานถึง 10 ปี เป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญที่เข้ามาปลุกปั้นเมกะโปรเจคท่าเรือน้ำลึกให้เป็นรูปเป็นร่าง

โปรไฟล์ที่เขาเป็นอดีตผู้ว่ากนอ.มายาวนาน กลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อิตาเลียนไทยเลือกใช้เขา

"โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ถือเป็นโครงการที่ใหญ่มาก ทำให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน นั่นคือความจำเป็นทำให้ต้องดึงพันธมิตรที่ถนัดในเรื่องนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเข้ามา เพราะอิตาเลียนไทยถนัดในงานก่อสร้างสาธารณูปโภคมากกว่าเรื่องของการวางระบบและบริหารจัดการ" สมเจตน์บอก

วงในว่ากันว่า อิตาเลียนไทยได้ทาบทามวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอมตะ คอร์ปอเรชัน ผู้พัฒนาและจัดการนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งในไทย และ 1 แห่งในเวียดนามให้มาร่วมปลุกปั้นนิคมอุตสาหกรรมทวายร่วมกัน

ทว่า วิกรมยังคงแบ่งรับแบ่งสู้ จนทำท่าว่าอิตาเลียนไทย จะต้องมองหาพันธมิตรรายใหม่

สมเจตน์ยังบอกถึง ความเป็นไปได้ของการระดมทุนก่อสร้างสาธารณูปโภคโครงการยักษ์ที่อิตาเลียนไทยจะเลือกใช้ นั่นคือ การใช้เงินกองทุนจากรัฐบาลจีนเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก บนเงื่อนไขจากทางจีนว่า จะต้องใช้ผู้รับเหมาจีน

โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนได้จัดตั้งกองทุน CHINA -ASEAN Investment Cooperation Fund วงเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และกองทุน CHINA-ASEAN US สำหรับปล่อยกู้วงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน

ขณะเดียวกันก็อาจจะให้ญี่ปุ่นรับหน้าที่ตัดถนนเส้นทางทวายไปยังด่านพุน้ำร้อน ภายใต้การสนับสนุนเงินกู้ของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)

นอกจากนี้ ในการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงโตเกียว นายยูกิโอะ ฮาโตยามา นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศจะให้เงิน ODA (Official Development Assistance) ในลักษณะเงินกู้และเงินให้เปล่าวงเงิน 5 แสนล้านเยน หรือราว 187,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในระเวลา 3 ปี

โดย 80% ของเงินจำนวนนี้ จะเป็นการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้ในโครงการต่างๆ เช่น การก่อสร้างเส้นทางหลวงเชื่อมต่อภูมิภาค และสร้างสาธารณูปโภค เป็นต้น

ทว่า แม้จะเห็นโอกาสคว้าสัญญาสัมปทานตรงหน้า แต่ใช่ว่า โปรเจคนี้จะสะดวกโยธินสำหรับอิตาเลียนไทยนัก

ผลประโยชน์ที่รออยู่ ย่อมทำให้นักลงทุนชาติอื่นกระหายที่จะไขว่คว้าและขัดขวาง โดยพร้อมเสียบหากอิตาเลียนไทยเพลี่ยงพล้ำ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลัง "ลุ้น" กันตัวโก่งเช่นนี้ อย่างเช่น กลุ่มทุนจากแดนมังกรและกลุ่มทุนแดนลอดช่อง

โดยกลุ่มทุนแดนมังกร เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าจับตา จากความพยายามของรัฐบาลจีนที่ต้องการสนับสนุนให้ทุนจีนออกไปลงทุนนอกประเทศ แถมยังมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการลงทุนดังกล่าว

จึงกลายเป็นแรงจูงใจสำคัญทำให้นักลงทุนจีนจับจ้องโครงการนี้ตาเป็นมัน

หรือมีแรงล็อบบี้จากรัฐบาลสิงคโปร์ที่ไม่ต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้น
เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียประโยชน์มหาศาลจากเรือสินค้าที่จะหันมาใช้ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่นี้แทนช่องแคบมะละกา

เพราะสามารถร่นระยะเวลาเดินทางมากกว่า 5-7 วัน หรือสามารถสร้างทางเลือกจากท่าเรือทวายขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยทางถนน เพื่อต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบังก่อนจะไปจีนได้ เช่นกัน

ทั้งมีการคาดการณ์กันว่า จะทำให้กลุ่มผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (Logistic Provider) มากกว่าครึ่งย้ายฐานจากสิงคโปร์มายังอ่าวทวาย จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ขวางโครงการนี้

ขณะเดียวกันปัญหาทางการเมืองและชนกลุ่มน้อยของพม่า ที่ยังไม่รวมเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการสร้างชาติของพม่า ก็กลายเป็นอีกความเสี่ยง

ทว่า เมื่อพิจารณาถึงแรงดึงดูดของผลประโยชน์จากการค้าโลกในอนาคต ถือว่า "มากพอ" ที่จะทำให้พม่าต้องเลือกผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่แห่งนี้

เกมนี้ เปรมชัย กรรณสูตร คงระทึกกว่าใคร

//----------------------------------------------------------------------------------

เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ยื่นหนังสือสถานทูตสิงคโปร์

ประชาไท 22 กันยายน 2553 23:59


เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมนกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไทจัดเสวนาระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิฐและสังคม เจาะลึกเชิงประเด็นและนำเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด ร่วมกันเสนอแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน วิเคราะห์และสังเคราะห็ผลจากเวทีรับฟังความคิดเห็นประมวลสรุปในประเด็นการเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างความเป็นธรรมของสังคมเพื่อนำไปประกอบการจัดทำแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติและปฎิรูปประเทศ โดยมีการแยกเป็นกลุ่มประเด็นการจัดการแผนพัฒนาภาคใต้,การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัว และปัญหาความไม่เป็นธรรมและคุณภาพชีวิตคนในสังคม โดยมีนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวเปิดงาน

แหล่งข่าวเปิดเผยว่านายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวเปิดเวทีเสวนาดังกล่าวโดยมีเนื้อหาบางตอนพาดพิงว่าไม่รู้พวกไหนมารวมตัวกันคัดค้านขัดขวางความเจริญของจังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเคลื่อนไหวโดยนำชาวบ้านคัดค้านต่อต้านโครงการต่างๆ อีกทั้งได้ข่าวว่ามีกลุ่มกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากประเทศสิงคโปร์ให้มาเคลื่อนไหวต่อต้านท่าเรือน้ำลึกปากบาราซึ่งอาจเป็นคู่แข่งกับสิงคโปร์

นายจรัส งะสมัน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ2540 จ.สตูล กล่าวว่าคนสตูลจะต้องตื่นตัว ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจากการมีโครงการขนาดใหญ่ทะยอยลงพื้นที่ใน จ.สตูล โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมด้านข้อมูลข่าวสาร การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หน่วยงานภาครัฐรับใช้แต่คนข้างบนชนชั้นปกครอง โดยไม่ดูแลสารทุกข์สุขดิบของคนสตูล เอาแต่เสี้ยมเขาให้วัวชนกันทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน รู้ๆกันอยู่ว่าผลประโยชน์ได้กับกลุ่มไหน ชาวบ้านได้อะไรบ้าง คนสตูลต้องรวมตัวกันให้แข้มแข็งเพื่อสตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ เป็นความจริงต่อไป

นายอุสมาน มะอะหมีน ประชาชนภาคพลเมือง จ.สตูล กล่าวว่า ปัญหาที่รัฐควรเร่งแก้ไข คือการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการที่เกี่ยวข้อง ที่ยังไม่มีความชัดเจนในการก่อสร้าง ซึ่งรัฐควรให้ความรู้พื้นฐานกับประชาชนก่อนเริ่มโครงการ

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี แกนนำเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า หลังจากที่เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเพื่อให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล และยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อให้ทบทวนโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการต่อเนื่อง ผ่านนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล 2-3 ครั้ง เครือข่ายฯได้เคลื่อนไหวโดยแสดงเจตจำนงชัดเจนขัดขวางโครงการที่รัฐผลักดัน เราไม่ต้องการโครงการที่รัฐยัดเยียดลงในพื้นที่โดยไม่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เราแค่ต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดรับกับศักยภาพของจังหวัดสตูล ไม่ใช่ต่อต้านขัดขวางความเจริญอยากนุ่งใบไม้

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี เปิดเผยต่อว่า เครือข่ายฯดำเนินการให้ความรู้เผยแพร่ข้อมูลรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ที่ระบุผังเขตนิคมอุตสาหกรรม150,000 ไร่,แหล่งขุดทรายที่บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านปากละงู บ้านหัวหิน,ระเบิดหินที่ตำบลทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลง 4 ลูก ตำบลควนกาหลงอำเภอควนกาหลง 2 ลูก ตำบลป่าแก่บ่อหินอำเภอทุ่งหว้าและตำบลกำแพงคาบเกี่ยวกับตำบลเขาขาวแห่งละ 1 ลูก,ทางรถไฟรางคู่,แนวท่อขนถ่ายน้ำมันฯลฯ โดยเครือข่ายฯได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า และสภาองค์กรชุมชนอันเป็นภาษีของประชาชน โปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้

"เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล สงสัยและกังขาว่ามีบุคคลกลุ่มไหนที่ได้รับเม็ดเงินงบประมาณสนับสนุนจากประเทศสิงคโปร์เพื่อลงมาเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทางเครือข่ายฯเข้าใจว่าถ้าไม่มีข้อมูลน่าเชื่อถือผู้ว่าฯคงไม่พูดออกมา ดังนั้นเครือข่ายฯจะทำหนังสือยื่นไปยังสถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยผ่านนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เพื่อให้สถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่าประเทศสิงคโปร์ได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อต่อต้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง"
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 26/09/2010 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

จากข่าวท่าเรือทวาย

ถ้าย้อนอดีตกลับไป เมื่อเริ่มโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ

ฝาก ท่าน ห.หมี ขุดข่าว พอเป็นกระสาย ว่า
ใครเป็นผอ.สนามบินคนแรก ในช่วงก่อสร้าง
ใครได้งานทำรันเวย์
ใครได้่งานระบบสาธารณูปโภค สนามบิน
และที่นิคมอมตะ คณะที่ปรึกษา ของคุณวิกรม .... ใครหนอ

ว่าแต่ที่โพสวันนี้ พรุ่งนี้จะโดนรับเชิญไปกินกาแฟ ที่ไหนมั่งหว่า ...เฮ้อ Question
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2010 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
จากอิตาเลียนไทยดิเวลอปเมนต์หรือเปล่าครับ?
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 26/09/2010 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
^^^
จากอิตาเลียนไทยดิเวลอปเมนต์หรือเปล่าครับ?


ง่า... ที่นี่คงอันดับท้าย ๆ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 50, 51, 52  Next
Page 15 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©