RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180355
ทั้งหมด:13491589
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - พฤกษศาสตร์ภาคสนาม ที่ศรีสำราญ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

พฤกษศาสตร์ภาคสนาม ที่ศรีสำราญ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 02/10/2010 11:55 pm    Post subject: Re: พฤกษศาสตร์ภาคสนาม ที่ศรีสำราญ Reply with quote

Mongwin wrote:
สวัสดีครับ
เทอมหน้า คือปลายปีนี้ ผมได้รับคำร้องขอจากสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ให้สอนนิสิตวิชา 01401461 พฤกษศาสตร์ภาคสนาม (Field Botany) สำหรับนิสิตที่เรียนหลักสูตร วท.บ.(วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ที่ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสนครับ

เนื้อหาที่ผมต้องสอนมีดังนี้ครับ
Plant communities analysis and implementation I
- plant communities analysis
- photo & map reading for plant density
Plant communities analysis and implementation I
- geographical information system (GIS)
Plant communities analysis and implementation II
- satellite remote information technology (SRS)
- global position system (GPS)
นั่นคือเป็นการใช้ระบบ GPS ภูมิสารสนเทศ ภาพถ่าย แผนที่ ดาวเทียม เพื่อการวิเคราะห์สังคมพืช หาความหนาแน่นของพืชครับ


ความสำคัญของศาสตร์แขนงนี้ กำลังจะได้รับการผลักดันให้เป็นรูปธรรมในระดับสากลครับ หากกล่าวว่างานภูมิสถาปัตยกรรมมีเพียงการออกแบบสร้างใหม่...
เหมือนเขียนลงบนกระดาษเปล่านั้น ไม่เป็นความจริงเอาเสียเลย เพราะนันเท่ากับเป็นการ "สร้าง" บนการ "ทำลาย" นั่นเอง

สมัยก่อนที่ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาให้สำคัญเท่าปัจจุบัน เจ้าของโครงการมักตัดสินใจบนความ "คุ้ม" โดยวัดเป็นมาตราเงิน
ดังนั้น หากไม่ติดข้อกฎหมายชัดเจน เจ้าของโครงการหลายแห่งมักเลือกที่จะ "ถาง" ให้เป็นที่โล่งๆ สร้างอาคารจนเกือบแล้วเสร็จ
แล้วใช้พรรณไม้ที่ย้ายมาจากแหล่งอื่นปลูกในโครงการของตน

แต่ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลของพืชพรรณ/พืชพันธุ์ ในที่ตั้งโครงการมีความสำคัญมากขึ้น ดังนี้

๑. ในแง่บทบัญญัติ โครงการขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษต้องทำ EIA เพื่อขออนุญาต ข้อมูลพันธุ์ไม้เดิมก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องรวบรวม
เพื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบพืชพรรณใหม่ในโครงการ

๒. ในแง่นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์ การถางพืชพันธุ์เดิมออกแล้วนำพืชพันธุ์จากแหล่งอื่น มองผิวเผินอาจเป็นการทดแทนกันได้
แต่แท้ที่จริงแล้ว มันนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การกระจายละอองเกสรไปขยายพันธ์แข่งกับพืชพันธุ์เดิมในท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงแหล่งอาหารของสัตว์ในบริเวณนั้น การนำมาซึ่งศัตรูพืชชนิดใหม่ที่พืชระแวกนั้นยังไม่มีภูมิต้านทาน
สังเกตได้ว่าโครงการทางรถไฟที่จีนสร้างไปธิเบต เขาเก็บพืชพันธุ์ (วัชพืช) ที่แนวทางรถไฟตัดผ้านมาเพาะเลี้ยงรักษาไว้
พองานโยธาของทางรถไฟแล้วเสร็จ เขาก็นำพืชเดิมที่รักษาไว้นั่นแลมาปลูกคลุมลาดทางรถไฟ เพราะเขาต้องการรักษานิเวศน์วิทยา
และสภาพแวดล้อมของท้องที่ที่เส้นทางตัดผ่านไว้ให้มากที่สุด (เส้นทางดังกล่าวตัดผ่านบริเวณที่มีความอ่อนไหวของสภาพแวดล้อมมาก)

๓. ในแง่สุนทรียภาพ ในปัจจุบันโครงการต่างๆ มักรักษาไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่อยู่ที่เดิม แล้วออกแบบส่งเสริมให้ไม้ที่รักษาไว้ดังกล่าวเป็นจุดเด่น
เช่น อยู่ในวงเวียน อยู่ในสวนสาธารณะ หรือเป็น Landmark หน้าโครงการ ปัจจุบันแนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยม
เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาก การรักษาต้นไม้เดิมไว้จึงไม่ใช่เรื่องลำบากหรือสิ้นเปลืองแบบสมัยก่อน

เป็นข้อมูลจากแง่มุมของผู้ออกแบบที่มองเห็นถึงความสำคัญของวิชานี้ จึงนำมาสนับสนุนกระทู้ของอาจารย์ ครับ หวังว่าอนาคต
คงได้ร่วมงานกับผู้ที่ได้รับการเคี่ยวกรำให้เห็นความสำคัญของวิชานี้อย่างจริงจัง...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2010 8:17 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณคุณต้นมากครับ สำหรับข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ จะได้นำไปถ่ายทอดให้นิสิตฟังเป็นแนวคิด และเห็นความสำคัญของวิชานี้ครับ Smile

อ่านเรื่องการรักษาพืชพรรณของทางรถไฟไปทิเบตแล้ว เห็นความสำคัญจริง ๆ ครับ สมัยผมเด็ก ๆ บริเวณริมทางรถไฟสายใต้ในภาคใต้ตอนล่าง จะมีต้นนมแมวขึ้นอยู่บนคันทางเป็นระยะ ดอกหอม ผลก็รสชาติอร่อย เป็นของกินเล่นของเด็ก ๆ แถวนั้น

ปัจจุบันไม่เคยเห็นอีกเลย เหลือเพียงหญ้าปกคลุม นี่ก็เป็นผลจากการพัฒนาเช่นกัน น่าเสียดายครับ นมแมวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauwenhoffia siamensis เห็นไหมครับ ตรงชื่อวิทยาศาสตร์ยังมีคำว่า สยาม อยู่ด้วยครับ เป็นพืชประจำถิ่นของไทยอย่างแท้จริง

Click on the image for full size
ภาพและข้อมูลจาก rmutphysics.com นำมาจาก ไม้ดอกหอม โดย อาจารย์เศรษมันตร์ กาญจนกุล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2010 8:20 am    Post subject: Reply with quote

มองไปทางด้านเหนือ (ทางไปสุพรรณบุรี) ครับ เห็นป้ายสถานีอยู่ไกลลิบ ๆ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 03/10/2010 11:01 am    Post subject: Re: พฤกษศาสตร์ภาคสนาม ที่ศรีสำราญ Reply with quote

headtrack wrote:
Mongwin wrote:
สวัสดีครับ
เทอมหน้า คือปลายปีนี้ ผมได้รับคำร้องขอจากสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ให้สอนนิสิตวิชา 01401461 พฤกษศาสตร์ภาคสนาม (Field Botany) สำหรับนิสิตที่เรียนหลักสูตร วท.บ.(วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ที่ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสนครับ

เนื้อหาที่ผมต้องสอนมีดังนี้ครับ
Plant communities analysis and implementation I
- plant communities analysis
- photo & map reading for plant density
Plant communities analysis and implementation I
- geographical information system (GIS)
Plant communities analysis and implementation II
- satellite remote information technology (SRS)
- global position system (GPS)
นั่นคือเป็นการใช้ระบบ GPS ภูมิสารสนเทศ ภาพถ่าย แผนที่ ดาวเทียม เพื่อการวิเคราะห์สังคมพืช หาความหนาแน่นของพืชครับ



ความสำคัญของศาสตร์แขนงนี้ กำลังจะได้รับการผลักดันให้เป็นรูปธรรมในระดับสากลครับ หากกล่าวว่างานภูมิสถาปัตยกรรมมีเพียงการออกแบบสร้างใหม่...
เหมือนเขียนลงบนกระดาษเปล่านั้น ไม่เป็นความจริงเอาเสียเลย เพราะนันเท่ากับเป็นการ "สร้าง" บนการ "ทำลาย" นั่นเอง

สมัยก่อนที่ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาให้สำคัญเท่าปัจจุบัน เจ้าของโครงการมักตัดสินใจบนความ "คุ้ม" โดยวัดเป็นมาตราเงิน
ดังนั้น หากไม่ติดข้อกฎหมายชัดเจน เจ้าของโครงการหลายแห่งมักเลือกที่จะ "ถาง" ให้เป็นที่โล่งๆ สร้างอาคารจนเกือบแล้วเสร็จ
แล้วใช้พรรณไม้ที่ย้ายมาจากแหล่งอื่นปลูกในโครงการของตน

แต่ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลของพืชพรรณ/พืชพันธุ์ ในที่ตั้งโครงการมีความสำคัญมากขึ้น ดังนี้

๑. ในแง่บทบัญญัติ โครงการขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษต้องทำ EIA เพื่อขออนุญาต ข้อมูลพันธุ์ไม้เดิมก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องรวบรวม
เพื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบพืชพรรณใหม่ในโครงการ

๒. ในแง่นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์ การถางพืชพันธุ์เดิมออกแล้วนำพืชพันธุ์จากแหล่งอื่น มองผิวเผินอาจเป็นการทดแทนกันได้
แต่แท้ที่จริงแล้ว มันนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การกระจายละอองเกสรไปขยายพันธ์แข่งกับพืชพันธุ์เดิมในท้องถิ่น

การเปลี่ยนแปลงแหล่งอาหารของสัตว์ในบริเวณนั้น การนำมาซึ่งศัตรูพืชชนิดใหม่ที่พืชระแวกนั้นยังไม่มีภูมิต้านทาน
สังเกตได้ว่าโครงการทางรถไฟที่จีนสร้างไปธิเบต เขาเก็บพืชพันธุ์ (วัชพืช) ที่แนวทางรถไฟตัดผ้านมาเพาะเลี้ยงรักษาไว้
พองานโยธาของทางรถไฟแล้วเสร็จ เขาก็นำพืชเดิมที่รักษาไว้นั่นแลมาปลูกคลุมลาดทางรถไฟ เพราะเขาต้องการรักษานิเวศน์วิทยา
และสภาพแวดล้อมของท้องที่ที่เส้นทางตัดผ่านไว้ให้มากที่สุด (เส้นทางดังกล่าวตัดผ่านบริเวณที่มีความอ่อนไหวของสภาพแวดล้อมมาก)

๓. ในแง่สุนทรียภาพ ในปัจจุบันโครงการต่างๆ มักรักษาไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่อยู่ที่เดิม แล้วออกแบบส่งเสริมให้ไม้ที่รักษาไว้ดังกล่าวเป็นจุดเด่น
เช่น อยู่ในวงเวียน อยู่ในสวนสาธารณะ หรือเป็น Landmark หน้าโครงการ ปัจจุบันแนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยม
เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาก การรักษาต้นไม้เดิมไว้จึงไม่ใช่เรื่องลำบากหรือสิ้นเปลืองแบบสมัยก่อน

เป็นข้อมูลจากแง่มุมของผู้ออกแบบที่มองเห็นถึงความสำคัญของวิชานี้ จึงนำมาสนับสนุนกระทู้ของอาจารย์ ครับ หวังว่าอนาคต
คงได้ร่วมงานกับผู้ที่ได้รับการเคี่ยวกรำให้เห็นความสำคัญของวิชานี้อย่างจริงจัง...


ผมเห็นด้วยกับคุณ headtrack ครับ ที่วัดนาผักขวงบ้านผมท่านเจ้าอธิการวิรัตน์ วีระธัมมโม เจ้าอาวาสวัดนาผักขวงท่านได้นำชาวบ้านที่มีความเชียวชาญเรื่องพืชสมุนไพร
สำรวจพืชสมุนไพรที่มีอยู่ที่บริเวณป่าช้าสาธารณะประโชชน์ของวัด ว่ามีอะไรบ้างและขาดอะไรบ้าง ตอนนี้กำลังรวบรวมอยู่ส่วนที่ขาดก็นำไปปลูกเสริม
ต้นไม้ประจำถิ่นที่มีอยู่ก็เว้นไว้ การที่จะนำต้นไม้มาปลูกเสริม ก็นำพันธ์ไม้ประจำถิ่นมาปลูกเสริม เป็นหลัก ครับ

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

ปล.ตามแนวทางรถไฟแถว ๆ บ้านผม ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเป็นแปลงสับปะรด จากที่เคย มีต้นไม้นานาชนิด
มากมายไม่แพ้ที่สุพรรณบ้านอาจารย์เอก ที่น่าเป็นห่วงปัจจุบันใช้สารเคมีปราบวัชพืช เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสับปะรด ใช้สารเคมีทุกขั้นตอน

รอติดตามชม ครับ ลูกนมแมวบ้านผมปัจจุบันแทบไม่มีเลยถูกยาปราบวัชพืชตายหมด ยังพอมีลูกนมวัว ในสวนหลังบ้านผมเว้นไว้ต้นหนึ่งเอาเก็บไว้ดู ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2010 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

ต้นนมวัว นมควาย เป็นพืชในวงศ์เดียวกับนมแมว คือ วงศ์กระดังงาครับ
สังเกตดูดอกจะคล้าย ๆ กันทั้งนมแมว นมวัว นมควาย
อ้อ คล้ายกับดอกน้อยหน่าด้วยครับ
แต่ผมไม่เคยเห็นต้นนมวัวของจริงที่ออกลูกเลยครับ เห็นแต่ต้นขายอยู่ที่ตลาดนัดจตุจักร Wink

เดินผ่านทางรถไฟที่ขนาบไปด้วยดงวัชพืช ไปดูป้ายสถานีฝั่งเหนือกันครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2010 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

พืชที่โตเร็ว มีเมล็ดมากและยากแก่การควบคุม สำหรับที่ดอน เห็นจะเป็นกระถินนี่แหละครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2010 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

ป้ายสถานีศรีสำราญฝั่งเหนือ อยู่ที่พิกัด 14.229810,100.008137 ครับ
ถ้ามองจาก Google Earth จะเห็นมีบ้านพักอยู่ด้วย
แต่วันที่ผมไป วัชพืชขึ้นรกมากจนบดบัง ไม่สามารถมองเห็นได้เลยว่าบ้านพักหลังดังกล่าวถูกรื้อไปหรือยังครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2010 7:17 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองจากป้ายฝั่งเหนือไปทางทิศใต้ (มองไปทางชุมทางหนองปลาดุก) ครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2010 7:25 am    Post subject: Reply with quote

จากนั้น เดินขึ้นไปทางทิศเหนือ พร้อมกับมองตามแนวซากรางหลีก ที่ซ่อนอยู่ในดงต้นสาบเสือและวัชพืชอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดที่รางหลีกเริ่มเบี่ยงเข้าหารางประธานครับ

ภาพนี้มองย้อนกลับไปทางทิศใต้ มองเห็นป้ายฝั่งเหนือและศาลาที่พักผู้โดยสารอยู่ลิบ ๆ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2010 7:36 am    Post subject: Reply with quote

จากการตรวจสอบกับภาพถ่ายทางอากาศปี 2518 ทำให้ทราบว่า ในอดีต ประแจฝั่งเหนืออยู่ห่างจากป้ายสถานีฝั่งเหนือ 200 เมตร และห่างจากศูนย์กลางอาคารสถานี 300 เมตร
ดังนั้น ชานชาลาสถานีศรีสำราญ มีความยาว 200 เมตร และรางหลีกยาว 600 เมตรครับ
จึงนับว่ารางหลีกมีความยาวมาตรฐานเหมือนเส้นทางสายหลัก สามารถรองรับขบวนรถสินค้าที่มีความยาวมาก ๆ ได้

นอกจากบริเวณหน้าศาลาที่พักผู้โดยสาร ซึ่งมีทางเดินชาวบ้านสัญจรไปมา จนเห็นซากรางหลีกแล้ว บริเวณอื่น ๆ จะถูกปกคลุมด้วยวัชพืช ยากแก่การมองเห็นครับ เป็นแบบนี้

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
Page 4 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©